พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ฆฏิการสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36086
อ่าน  1,020

[เล่มที่ 21] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1

ราชวรรค

๑. ฆฏิการสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 21]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1

๑. ฆฏิการสูตร

[๔๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จแวะออกจากทางแล้วได้ทรงแย้มพระสรวลในประเทศแห่งหนึ่ง. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดว่า เหตุอะไรหนอ ปัจจัยอะไร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแย้มพระสรวล พระตถาคตทั้งหลายจะทรงแย้มพระสรวลโดยหาเหตุมิได้นั้นไม่มีดังนี้. ท่านพระอานนท์จึงทําผ้าอุตตราสงค์ เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุอะไรหนอ ปัจจัยอะไร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแย้มพระสรวล พระตถาคตทั้งหลายจะทรงแย้มพระสรวลโดยหาเหตุมิได้นั้นไม่มี.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 2

[๔๐๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ที่ประเทศนี้ได้มีนิคมชื่อเวภฬิคะ เป็นนิคมมั่งคั่งและเจริญ มีคนมาก มีมนุษย์หนาแน่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยเวภฬิคนิคมอยู่. ดูก่อนอานนท์ ได้ยินว่า ที่นี้เป็นพระอารามของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งตรัสสอนภิกษุสงฆ์ที่นี้.

[๔๐๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ปูผ้าสังฆาฏิสี่ชั้นถวาย แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเถิด เมื่อเป็นเช่นนี้ ภูมิประเทศนี้จักได้เป็นส่วนที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์ทรงบริโภค. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่ท่านพระอานนท์ปูถวายแล้ว จึงตรัสกะพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในประเทศนี้มีนิคมชื่อเวภฬิคะ เป็นนิคมมั่งคั่งและเจริญ มีคนมาก มีมนุษย์หนาแน่น. ดูก่อนอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยเวภฬิคนิคมอยู่. ได้ยินว่า ที่นี้เป็นพระอารามของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งตรัสสอนภิกษุสงฆ์ที่นี้. และในเวภฬิคนิคม มีช่างหม้อชื่อฆฏิการะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอุปัฏฐากผู้เลิศ. มีมาณพชื่อโชติปาละเป็นสหายของช่างหม้อชื่อฆฏิการะ เป็นสหายที่รัก. ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อเรียกโชติปาลมาณพมาว่า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 3

เจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี.

โชติปาลสมาทาน

[๔๐๖] ดูก่อนอานนท์ เมื่อฆฏิการะช่างหม้อกล่าวอย่างนี้แล้ว โชติปาลมาณพได้กล่าวว่าอย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า. ดูก่อนอานนท์ แม้ครั้งที่สอง ฆฏิการะช่างหม้อก็ได้กล่าวกะโชติปาลมาณพว่า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นสมมติกันว่าเป็นความดี แม้ครั้งที่สอง โชติปาลมาณพก็ได้กล่าวว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า แม้ครั้งที่สาม ฆฏิการะช่างหม้อก็ได้กล่าวว่า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี. ดูก่อนอานนท์ แม้ครั้งที่สาม โชติปาลมาณพก็กล่าวว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า.

ฆ. เพื่อนโชติปาละ ถ้าอย่างนั้น เรามาถือเอาเครื่องสําหรับสีตัวเมื่อเวลาอาบน้ำไปแม่น้ำเพื่ออาบน้ำกันเถิด. โชติปาลมาณพรับคําฆฏิการะช่างหม้อแล้ว.

[๔๐๗] ดูก่อนอานนท์ ลําดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพได้ถือเอาเครื่องสําหรับสีตัวเมื่อเวลาอาบน้ำไปยังแม่น้ำเพื่ออาบน้ำ. ครั้ง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 4

นั้นแล ฆฏิการะช่างหม้อได้เรียกโชติปาลมาณพมากล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ นี้ก็ไม่ไกลพระอารามของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี.

[๔๐๘] ดูก่อนอานนท์ เมื่อฆฏิการะช่างหม้อกล่าวอย่างนี้แล้ว โชติปาลมาณพได้กล่าวกะฆฏิการะช่างหม้อว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า. แม้ครั้งที่สอง... แม้ครั้งที่สาม ฆฏิการะช่างหม้อก็ได้เรียกโชติปาลมาณพมากล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ นี้ไม่ไกลพระอารามของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี. แม้ครั้งที่สาม โชติปาลมาณพก็ได้กล่าวกะฆฏิการะช่างหม้อว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า.

[๔๐๙] ดูก่อนอานนท์ ลําดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อได้จับโชติปาลมาณพที่ชายพกแล้วกล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ นี้ก็ไม่ไกลพระอารามของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี. ลําดับนั้น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 5

โชติปาลมาณพให้ฆฏิการะช่างหม้อปล่อยชายพกแล้วกล่าวว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า.

ดูก่อนอานนท์ ลําดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อจับโชติปาละผู้อาบน้ำดําเกล้าที่ผมแล้วกล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ นี้ไม่ไกลพระอารามของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี. ครั้งนั้น โชติปาลมาณพมีความคิดว่า น่าอัศจรรย์หนอท่าน ไม่เคยมีมาหนอท่าน ที่ฆฎิการะช่างหม้อผู้มีชาติต่ํามาจับที่ผมของเราผู้อาบน้ำดําเกล้าแล้ว การที่เราจะไปนี้เห็นจะไม่เป็นการไปเล็กน้อยหนอ ดังนี้แล้วได้กล่าวกะฆฏิการะช่างหม้อว่า เพื่อนฆฏิการะ การที่เพื่อนทําความพยายามตั้งแต่ชักชวนด้วยวาจา จับที่ชายพกจนล่วงเลยถึงจับที่ผมนั้น ก็เพื่อจะชวนให้กันไปในสํานักพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เท่านั้นเองหรือ.

ฆ. เท่านั้นเองเพื่อนโชติปาละ จริงเช่นนั้นเพื่อน ก็การที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นความดี.

โช. เพื่อนฆฏิการะ ถ้าอย่างนั้น จงปล่อยเถิด เราจักไป.

[๔๑๐] ดูก่อนอานนท์ ครั้นนั้น ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ แล้วฆฏิการะช่างหม้อถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ส่วนโชติปาลมาณพได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 6

พระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ฆฏิการะช่างหม้อนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้โชติปาลมาณพเป็นสหายที่รักของข้าพระพุทธเจ้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมแก่โชติปาลมาณพนี้เถิด.

[๔๑๑] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงยังฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา. ลําดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา เพลิดเพลินชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทําประทักษิณแล้วหลีกไป.

[๔๑๒] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น โชติปาลมาณพได้ถามฆฏิการะช่างหม้อว่า เพื่อนฆฏิการะ เมื่อท่านฟังธรรมนี้อยู่ และเมื่อเช่นนั้น ท่านจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตหรือหนอ.

ฆ. เพื่อนโชติปาละ ท่านก็รู้อยู่ว่า เราต้องเลี้ยงมารดาบิดา ซึ่งเป็นคนตาบอดผู้ชราแล้วมิใช่หรือ.

โช. เพื่อนฆฏิการะ ถ้าเช่นนั้น เราจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 7

โชติปาลบรรพชาอุปสมบท

[๔๑๓] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ฆฏิการะช่างหม้อได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้โชติปาลมาณพเป็นสหายที่รักของข้าพระพุทธเจ้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้โชติปาลมาณพนี้บวชเถิดดังนี้. โชติปาลมาณพได้บรรพชาอุปสมบทแล้วในสํานักพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. ครั้นเมื่อโชติปาลมาณพอุปสมบทแล้วไม่นาน ประมาณกึ่งเดือน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมนาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ในเวภฬิคนิคมตามควรแก่พระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จหลีกจาริกไปทางพระนครพาราณสี เสด็จจาริกไปโดยลําดับ ถึงพระนครพาราณสีแล้ว.

[๔๑๔] ดูก่อนอานนท์ ได้ยินว่า ในคราวนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีทรงพระนามว่ากิกิได้ทรงสดับว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จถึงพระนครพาราณสี ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราชรับสั่งให้เทียบราชยานที่ดีๆ แล้วทรงราชยานอย่างดีเสด็จออกจากพระนครพาราณสีด้วยราชยานอย่างดี ด้วยราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จไปโดยเท่าที่ยาน

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 8

จะไปได้แล้ว เสด็จลงจากราชยาน เสด็จพระราชดําเนินด้วยพระบาทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๔๑๕] ดูก่อนอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงยังพระเจ้ากิกิกาสิราชให้ทรงเห็นแจ้ง ให้ทรงสมาทาน ให้ทรงอาจหาญ ให้ทรงร่าเริง ด้วยธรรมีกถา. ลําดับนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราชอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ทรงเห็นแจ้ง ให้ทรงสมาทาน ให้ทรงอาจหาญ ให้ทรงร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงทรงรับภัตตาหารของหม่อมฉันในวันพรุ่งนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรับด้วยอาการดุษณีภาพ. พระเจ้ากิกิกาสิราชทรงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ ถวายบังคม ทรงทําประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป. พอล่วงราตรีนั้นไป พระเจ้ากิกิกาสิราชรับสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียะอันประณีต ล้วนแต่เป็นข้าวสาลีอันขาวและอ่อน มีสิ่งดําเก็บออกหมดแล้ว มีแกงและกับเป็นอเนก ในพระราชนิเวศน์ของท้าวเธอ แล้วรับสั่งให้ราชบุรุษไปกราบทูลภัตกาลว่า ได้เวลาแล้ว พระเจ้าข้า ภัตตาหารสําเร็จแล้ว.

ว่าด้วยเสด็จเข้าไปยังพระราชนิเวศน์

[๔๑๖] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงนุ่งแล้วทรงถือบาตร

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 9

และจีวร เสด็จเข้าไปยังพระราชนิเวศน์ของพระเจ้ากิกิกาสิราช ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. ลําดับนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราชทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้อิ่มหนําเพียงพอด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยพระหัตถ์ของท้าวเธอ. ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยเสร็จ วางพระหัตถ์จากบาตรแล้ว พระเจ้ากิกิกาสิราช ทรงถืออาสนะต่ําอันหนึ่ง ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับการอยู่จําพรรษา ณ เมืองพาราณสี ของหม่อมฉันเถิด หม่อมฉันจักได้บํารุงพระสงฆ์เห็นปานนี้.

พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า อย่าเลย มหาบพิตร อาตมภาพรับการอยู่จําพรรษาเสียแล้ว. แม้ครั้งที่สอง... แม้ครั้งที่สาม พระเจ้ากิกิกาสิราชได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับการอยู่จําพรรษา ณ เมืองพาราณสีของหม่อมฉันเถิด หม่อมฉันจักได้บํารุงพระสงฆ์เห็นปานนี้.

แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสว่า อย่าเลย มหาบพิตร อาตมภาพรับการอยู่จําพรรษาเสียแล้ว. ครั้งนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราชทรงเสียพระทัย ทรงโทมนัสว่า พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงรับการอยู่จําพรรษา ณ เมืองพาราณสีของเราเสียแล้ว ดังนี้ แล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีใครอื่นที่เป็นอุปัฏฐากยิ่งกว่าหม่อมฉันหรือ.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 10

ว่าด้วยทรงสรรเสริญฆฏิการะ

[๔๑๗] มีอยู่ มหาบพิตร นิคมชื่อเวภฬิคะ ช่างหม้อชื่อฆฏิการะ อยู่ในนิคมนั้น เขาเป็นอุปัฏฐากของอาตมภาพ นับเป็นอุปัฏฐากชั้นเลิศ พระองค์แลทรงเสียพระทัยมีความโทมนัสว่า พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ทรงรับการอยู่จําพรรษาในเมืองพาราณสีของเราเสียแล้ว ความเสียใจและความโทมนัสนี้นั้น ย่อมไม่มีและจักไม่มีในช่างหม้อฆฏิการะ ดูก่อนมหาบพิตร ช่างหม้อฆฏิการะแล ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนมหาบพิตร ช่างหม้อฆฏิการะเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะเจ้าใคร่ ดูก่อนมหาบพิตร ช่างหม้อฆฏิการะ เป็นผู้หมดสงสัยในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บริโภคภัตมื้อเดียว ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม ปล่อยวางแก้วมณีและทองคํา ปราศจากการใช้ทองและเงิน ดูก่อนมหาบพิตร ช่างหม้อฆฏิการะแล ไม่ขุดแผ่นดินด้วยสากและด้วยมือของตน นํามาแต่ดินตลิ่งพังหรือขุยหนูซึ่งมีอยู่ด้วยหาบ ทําเป็นภาชนะแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ในภาชนะนี้ ผู้ใดต้องการ ผู้นั้นจงวางถุงใส่ข้าวสาร ถุงใส่ถั่วเขียว หรือถุงใส่ถั่วดําไว้ แล้วนําภาชนะที่ต้องการนั้นไปเถิด ดูก่อนมหาบพิตร ช่างหม้อฆฏิการะ เลี้ยงมารดาบิดา ผู้ชรา ตาบอด ช่างหม้อฆฏิการะเป็นอุปปาติกะ จะปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ห้าประการหมดสิ้นไป.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 11

[๔๑๘] ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่นิคมชื่อเวภฬิคะนั้นเอง เวลาเช้า อาตมภาพนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปหามารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูเถิด นี่คนหาอาหารไปไหนเสียเล่า. มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปัฏฐากของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาข้าวสุกจากหม้อข้าวนี้ เอาแกงจากหม้อแกงนี้เสวยเถิด. ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้น อาตมภาพได้เอาข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกงฉันแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป. ลําดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ใครมาเอาข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกงบริโภคแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป. มารดาบิดาบอกว่า ดูก่อนพ่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเอาข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกงเสวยแล้วเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป. ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อมีความคิดเห็นว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เรา. ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่ละฆฏิการะช่างหม้อตลอดกึ่งเดือน ไม่ละมารดาบิดาตลอดเจ็ดวัน.

[๔๑๙] ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่เวภฬิคนิคมนั้นเอง. ครั้นนั้นเวลาเช้า อาตมภาพนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปหามารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูเถิด นี่คนหาอาหารไปไหนเสียเล่า. มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปัฏฐากของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาขนมสดจากกระเช้านี้ เอาแกงจากหม้อแกงเสวยเถิด. ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้น อาตมภาพได้เอาขนมสดจากกระเช้า เอาแกงจากหม้อแกงฉันแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป. ลําดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ใครมาเอาขนมสดจากกระเช้า

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 12

เอาแกงจากหม้อแกงบริโภค แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป. มารดาบิดาบอกว่า ดูก่อนพ่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเอาขนมสดจากกระเช้า เอาแกงจากหม้อแกงเสวยแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป. ครั้งนั้น ฆฎิการะช่างหม้อมีความคิดเห็นว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงคุ้นเคยอย่างยิ่ง เช่นนี้แก่เรา. ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่ละฆฏิการะช่างหม้อตลอดกึ่งเดือน ไม่ละมารดาบิดาตลอดเจ็ดวัน.

[๔๒๐] ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่เวภฬิคนิคมนั้นเอง ก็สมัยนั้น กุฏิรั่ว. อาตมภาพจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพากันไปดูหญ้าที่นิเวศน์ของฆฏิการะช่างหม้อ. เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกะอาตมภาพว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หญ้าที่นิเวศน์ของฆฏิการะช่างหม้อไม่มี มีแต่หญ้าที่มุงหลังคาเรือนที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่เท่านั้น. อาตมภาพได้สั่งภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพากันไปรื้อหญ้าที่มุงหลังคาเรือน ที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่มาเถิด. ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้นภิกษุเหล่านั้นได้ไปรื้อหญ้าที่มุงหลังคาเรือนที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่มาแล้ว. ลําดับนั้น มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ใครมารื้อหญ้ามุงหลังคาเรือนเล่า. ภิกษุทั้งหลายตอบว่า ดูก่อนน้องหญิง กุฎีของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า รั่ว. มารดาบิดาฆฏิการะช่างหม้อได้กล่าวว่าเอาไปเถิดเจ้าข้า เอาไปตามสะดวกเถิด ท่านผู้เจริญ. ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ใครมารื้อหญ้ามุงหลังคาเรือนเสียเล่า. มารดาบิดาตอบว่า ดูก่อนพ่อ ภิกษุทั้งหลายบอกว่า กุฎีของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า รั่ว. ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้น

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 13

ฆฏิการะช่างหม้อมีความคิดเห็นว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เรา. ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่ละฆฏิการะช่างหม้อตลอดกึ่งเดือน ไม่ละมารดาบิดาตลอดเจ็ดวัน. และครั้งนั้น เรือนที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่ทั้งหลังนั้นมีอากาศเป็นหลังคาอยู่ตลอดสามเดือน ถึงฝนตกก็ไม่รั่ว ดูก่อนมหาบพิตร ฆฏิการะช่างหม้อมีคุณเห็นปานนี้.

กิกิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นลาภของฆฏิการะช่างหม้อแล้ว ฆฏิการะช่างหม้อได้ดีแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เขา.

[๔๒๑] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราชได้ส่งเกวียนบรรทุกข้าวสารข้าวปัณฑุมุฑิกสาลีประมาณห้าร้อยเล่ม และเครื่องแกงอันสมควรแก่ข้าวสารนั้น ไปพระราชทานแก่ฆฏิการะช่างหม้อ. ครั้งนั้น ราชบุรุษทั้งหลายเข้าไปหาฆฏิการะช่างหม้อแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ นี้ข้าวสารข้าวปัณฑุมุฑิกสาลีบรรทุกเกวียนประมาณห้าร้อยเล่ม และเครื่องแกงอันสมควรแก่ข้าวสารนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราชส่งมาพระราชทานแก่ท่านแล้ว จงรับของพระราชทานเหล่านั้นไว้เถิด.

ฆฏิการะช่างหม้อได้ตอบว่า พระราชามีพระราชกิจมาก มีราชกรณียะมาก ของที่พระราชทานมานี้ อย่าเป็นของข้าพเจ้าเลย จงเป็นของหลวงเถิด.

[๔๒๒] ดูก่อนอานนท์ เธอจะพึงมีความคิดเห็นว่า สมัยนั้น คนอื่นได้เป็นโชติปาลมาณพแน่นอน แต่ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นอย่างนั้น สมัยนั้นเราได้เป็นโชติปาลมาณพ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดังนี้แล.

จบฆฏิการสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 14

ราชวรรควรรณนา

อรรถกถาฆฏิการสูตร

ฆฏิการสูตรมีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

พึงทราบวินิจฉัยในฆฏิการสูตรนั้นดังต่อไปนี้.

บทว่า สิตํ ปาตฺวากาสิ ทรงกระทําความแย้มพระโอษฐ์ให้ปรากฏ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดําเนินไปโดยมหามรรคา ทรงตรวจดูภูมิประเทศแห่งหนึ่ง แล้วทรงรําพึงว่า เมื่อเราประพฤติจริยาอยู่ เคยอยู่ในที่นี้บ้างหรือหนอ ดังนี้ ทรงเห็นว่า เมื่อศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้า ที่นี้เป็นนิคมชื่อว่า เวภัลลิคะ (๑) ในกาลนั้น เราเป็นมาณพชื่อ โชติปาละ เรามีสหายเป็นช่างหม้อชื่อ ฆฏิการะ เรากับนายฆฏิการะนั้นได้กระทําเหตุอันดีไว้อย่างหนึ่งในที่นี้ ความดีนั้นยังปกปิดอยู่ ยังไม่ปรากฏแก่ภิกษุสงฆ์ เอาเถิด เราจะกระทําเรื่องนั้นให้ปรากฏแก่ภิกษุสงฆ์ทรงดําริดังนี้แล้ว ทรงหลีกออกจากทางประทับยืนอยู่ ณ ประเทศหนึ่งเทียว ทรงกระทําความแย้มพระโอษฐ์ให้ปรากฏ ทรงแย้มพระโอษฐ์.

พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ทรงพระสรวล เหมือนอย่างพวกมนุษย์ชาวโลกีย์ ย่อมตีท้องหัวเราะว่า ที่ไหน ที่ไหน ดังนี้. ส่วนการยิ้มแย้มของพระพุทธเจ้าทั้งหลายปรากฏเพียงอาการยินดีร่าเริงเท่านั้น.

อนึ่ง การหัวเราะนั้นมีได้ด้วยจิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัส ๑๓ ดวง. ในบรรดาจิตเหล่านั้น มหาชนชาวโลกย่อมหัวเราะด้วยจิต ๘ ดวง คือ โดยอกุศลจิต ๔ ดวง โดยกามาวจรกุศลจิต ๔ ดวง. พระเสกขบุคคลย่อมหัวเราะด้วยจิต ๖ ดวง นําจิตที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิฝ่ายอกุศลออก ๒ ดวง. พระขีณาสพย่อมยิ้มแย้มด้วยจิต ๕ ดวง คือ ด้วยกิริยาจิตที่เป็น


(๑) ฉ เวคะลิงคะ. สี. เวหลิงคะ.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 15

สเหตุกะ ๔ ดวง ด้วยกิริยาจิตที่เป็นอเหตุกะ ๑ ดวง. แม้ในจิตเหล่านั้นเมื่ออารมณ์มีกําลังมาปรากฏย่อมยิ้มแย้มด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยญาณ ๒ ดวง. เมื่ออารมณ์ทุรพลมาปรากฏ ย่อมยิ้มแย้มด้วยจิต ๓ ดวง คือ ด้วยทุเหตุกจิต ๒ ดวง ด้วยอเหตุกะ ๑ ดวง.

แต่ในที่นี้ จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสอันเป็นมโนวิญญาณธาตุฝ่ายกิริยาอเหตุกจิตทําให้ความหัวเราะเพียงอาการยินดีร่าเริงให้เกิดแต่ภวังค์เท่านั้น.

อนึ่ง ความแย้มนี้นั้น ถึงมีประมาณเล็กน้อยอย่างนี้ ก็ได้ปรากฏแก่พระเถระ.

ถามว่า ปรากฏอย่างไร.

ตอบว่า ธรรมดาในกาลเช่นนั้น เกลียวรัศมีมีประมาณเท่าต้นตาลใหญ่ รุ่งเรืองแปลบปลาบประดุจสายฟ้ามีช่อตั้ง ๑๐๐ จากพระโอษฐ์ ประหนึ่งมหาเมฆที่จะยังฝนให้ตกในทวีปทั้ง ๔ ตั้งขึ้นจากพระเขี้ยวแก้วทั้ง ๔ กระทําประทักษิณพระเศียรอันประเสริฐ ๓ รอบ แล้วก็อันตรธานหายไป ณ ปลายพระเขี้ยวแก้วนั่นแล. เพราะเหตุนั้นท่านพระอานนท์ถึงจะเดินตามไปข้างพระปฤษฎางค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทราบถึงความแย้มพระโอษฐ์ด้วยสัญญานั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า โส ภควนฺตํ เอตทโวจ นี้ ดังต่อไปนี้ นัยว่า ท่านพระอานนท์ คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ย่อมทรงโอวาทภิกษุสงฆ์ ทรงกระทําการประกาศสัจจธรรมทั้ง ๔ เราจักให้พระผู้มีพระภาคเจ้าพอพระทัยประทับนั่ง ณ ที่นี้ ภูมิภาคนี้ จักเป็นอันพระพุทธเจ้าถึงสองพระองค์ทรงใช้สอย มหาชนจักบูชา ด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น จักกระทําเจดีย์สถานบํารุงอยู่ก็จักมีสวรรค์เป็นที่ไปในภายหน้า ดังนี้แล้ว จึงได้กราบทูลคําว่า ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้เป็นต้นนั้น.

บทว่า มุณฺฑเกน สมณเกน ความว่า จะเรียกคนศีรษะโล้นว่าคนโล้น หรือเรียกสมณะว่า สมณะ ย่อมสมควร.

ก็แลโชติปาละนี้ระอาอยู่ด้วย

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 16

โวหารที่ตนเรียนแล้ว ในพราหมณสกุล เพราะยังมีญาณไม่แก่กล้าแล้ว จึงกล่าวอย่างนั้น.

บทว่า โสตฺติสินานํ ได้แก่ ผงบดที่ทําไว้สําหรับอาบน้ำ. ที่เคล้าจุณหินสีดังพลอยแดงกับด่างทําแล้วท่านเรียกว่า ผงบด.

ซึ่งท่านหมายเอากล่าวไว้ว่า เตน โข ปน สมเยน ฉพฺพคฺคิยา ภิกฺขู กุรุวินฺทิยสุตฺติกายนหายนฺติ (๑) ก็ครั้งนั้นแล ภิกษุฉัพพัคคีย์ อาบน้ำด้วยผงหินแดงสําหรับขัดสีตัว. สหายทั้งสองนั้นถือเอาผงหินแดงสําหรับขีดสีตัวนั้นไปขัดสีตัว.

บทว่า เอวํ สมฺม ความว่า แม้ในปัจจุบันนี้ พวกมนุษย์ มีใครชวนว่า พวกเราไปไหว้พระเจดีย์ ไปฟังธรรมกันเถอะ จะไม่กระทําความอุตสาหะ แต่ใครๆ ชวนว่า พวกเราไปดูฟ้อนรําขับร้องเป็นต้น กันเถอะ ดังนี้ จะรับคําด้วยการชักชวนเพียงครั้งเดียวฉันใด โชติปาละก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อฆฏิการะชวนว่า ไปอาบน้ำกันเถอะ ก็รับคําด้วยการชวนคําเดียว จึงตอบไปอย่างนั้น.

บทว่า โชติปาลํ มาณวํ อามนฺเตสิ ความว่า ฆฏิการะช่างหม้ออาบน้ำด้วยการบริหารอย่างดีที่ข้างหนึ่งแล้วขึ้นก่อนยืนรออยู่ เมื่อโชติปาละอาบอยู่ด้วยการบริหารอย่างผู้มีอิสริยยศอันใหญ่ จนอาบเสร็จแล้วเรียก โชติปาละผู้นุ่งห่มแล้ว กําลังกระทําผมให้แห้งอยู่. ฆฏิการะเมื่อจะแนะนําจึงกล่าวว่า อยํ เพราะโชติปาละมาณพอยู่ใกล้กัน.

บทว่า โอวฏฏิกํ วินิเวเตฺวา ความว่า พระโพธิสัตว์ผู้มีกําลังดุจช้างสารเอนไปหน่อยหนึ่งกล่าวว่า ถอยไปสหาย ให้ฆฏิการะช่างหม้อปล่อยการจับที่จับไว้แล้ว.

บทว่า เกเสสุ ปรามสิตฺวา เอตทโวจ ความว่า ได้ยินว่า ฆฏิการะนั้น ดําริว่า มาณพโชติปาละนี้ เป็นคนมีปัญญา เมื่อได้เห็นครั้งเดียวจักเลื่อมใสในการเห็นพระตถาคตด้วย จักเลื่อมใสในธรรมกถาด้วย ธรรมดาผู้ที่เลื่อมใสแล้วจักอาจทําอาการที่ได้เลื่อมใส ชื่อว่า มิตรย่อมมีคุณประโยชน์


(๑) วิ. จุ ๗/๓

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 17

อันนี้ เราจักทําอย่างใดอย่างหนึ่ง จับสหายผู้เสมอ ไปยังสํานักพระทศพลให้จงได้ ดังนั้น จึงจับโชติปาลมาณพนั้นที่ผมแล้วได้กล่าวคํานั้น.

บทว่า อิตรชจฺโจ ความว่า ฆฏิการะ มีชาติเป็นอย่างอื่น คือ มีชาติไม่เสมอกันกับเรา หมายความว่า มีชาติต่ํา.

บทว่า น วตีทํ นี้ ได้ถึงความตกลงในการจับนั่นแหละว่า การจับเรานี้ จักไม่เป็นการจับที่ทราม คือ ไม่ใช่การจับที่เล็กน้อย จักเป็นการจับที่ใหญ่ คือ ฆฏิการะช่างหม้อนี้ มิได้จับด้วยกําลังของตน จับด้วยพระกําลังของพระศาสดา ดังนี้.

อักษร หิ อักษร และ ปิ อักษรในคําว่า ยาวตโทหิปิ นี้ เป็นนิบาต ความว่า เท่านั้นเป็นอย่างยิ่ง.

คํานี้มีอรรถาธิบายว่า เรียกด้วยวาจา และจับที่ชายพก เลยไปจนถึงจับผม ควรทําประโยคเพื่อการจับในข้อนั้น.

บทว่า ธมฺมิยา กถาย ได้แก่ พึงทราบธรรมิกถาที่ปฏิสังยุตด้วยปุพเพนิวาสญาณเพื่อได้เฉพาะซึ่งสติในที่นี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสธรรมกถาเพื่อให้โชติปาละนั้นกลับได้สติโดยนัยนี้ว่า ดูก่อนโชติปาละ ตัวท่านมิใช่สัตว์ผู้หยั่งลงสู่ฐานะอันต่ําทราม แต่ท่านปรารถนาสัพพัญุตญาณหยั่งลง ณ มหาโพธิบัลลังก์ ธรรมดาคนเช่นท่านไม่ควรอยู่ด้วยความประมาท ดังนี้.

ฝ่ายพระเถระผู้อยู่ ณ สมุทรข้างโน้นกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมิกถาว่า โชติปาละ เราบําเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ตรัสรู้สัพพัญุตญาณ มีภิกษุสองหมื่นแวดล้อม เที่ยวไปในโลกด้วยประการใด แม้ตัวท่านก็จงบําเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ แทงตลอดสัพพัญุตญาณ มีหมู่สมณะเป็นบริวาร ท่องเที่ยวไปในโลก ด้วยประการเช่นเดียวอย่างนั้นเถิด เราเห็นปานนี้ไม่สมควรจะต้องประมาท ดังนี้ จิตของโชติปาละนั้นย่อมน้อมไปในบรรพชาด้วยประการใด ก็ทรงสั่งสอนถึงโทษในกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในการออกบวชด้วยประการนั้น.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 18

บทว่า อลตฺถ โข อานนฺท ปพฺพชฺชํ อลตฺถ อุปสมฺปทํ ความว่า โชติปาลมาณพบวชแล้วได้กระทําอย่างไร ที่ผู้เป็นพระโพธิสัตว์จะพึงกระทํา.

ธรรมดาพระโพธิสัตว์ย่อมบรรพชาในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ก็แลครั้นบวชแล้วย่อมไม่เป็นผู้มีเขาอันตกแล้วดุจสัตว์นอกนี้ ตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีลแล้วเล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก สมาทานธุดงค์ ๑๓ เข้าป่า บําเพ็ญคตวัตร และ ปัจจาคตวัตร กระทําสมณธรรม เจริญวิปัสสนา จนถึงอนุโลมญาณจึงหยุด ไม่กระทําความพยายามเพื่อมรรคผลต่อไป แม้โชติปาลมาณพ ก็ได้กระทําอย่างนั้นเหมือนกัน.

บทว่า อฑฺฒมาสูปสมฺปนฺเน ความว่า ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังทารกแห่งตระกูลให้บวชแล้ว ไม่ประทับอยู่หนึ่งเดือน เสด็จไปแล้ว ความเศร้าโศกของมารดาบิดาไม่สงบ. เขายังไม่รู้การถือบาตรและจีวร ความคุ้นเคยกับภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลายยังไม่เกิด ความเยื่อใยกับพระเถระทั้งหลายยังไม่มั่นคง ยังไม่เกิดความยินดีในที่ที่ไปแล้วๆ แต่เมื่ออยู่ตลอดเวลามีประมาณเท่านี้ มารดาบิดา ก็ย่อมได้เพื่อเห็น ด้วยเหตุนั้น ความโศกของมารดาและบิดานั้น ย่อมเบาบางลง ย่อมรู้การถือบาตรและจีวร ย่อมเกิดความคุ้นเคยกับสามเณรและภิกษุหนุ่มทั้งหลาย ความเยื่อใยกับพระเถระทั้งหลาย ย่อมตั้งมั่น ในที่ไปแล้วๆ ย่อมมีความยินดียิ่ง ย่อมไม่กระสัน เพราะฉะนั้น จึงควรอยู่ตลอดกาลมีประมาณเพียงนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป ทรงประทับอยู่สิ้นกึ่งเดือน ทรงหลีกไปแล้ว.

บทว่า ปณฺฑุมุทิกสฺส สาลิโน ได้แก่ ข้าวสาลีแดงที่กระทําให้อ่อนนุ่มแห้งแล้ว.

ได้ยินว่า ข้าวสาลีนั้นตั้งแต่หว่านไปมีการบริหาร ดังนี้ แปลงนา ต้องมีกระทําบริกรรมเป็นอย่างดี แล้วเอาพืชวางในที่นั้น รดด้วยน้ำหอม. ในเวลาหว่าน ผูกลําแพนมีผ้าอยู่เบื้องบน ทำดุจเพดาน เวลาแก่ ก็

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 19

เกี่ยวรวงข้าวเปลือกทําเป็นกําๆ ผูกเชือกห้อยตากให้แห้ง ลาดจุณของหอมให้เต็มฉางเก็บไว้แล้วเปิด ทุกสามปี. ข้าวสาลีแดงกลิ่นหอมที่เก็บไว้ถึงสามปีอย่างนี้ ซ้อมเป็นข้าวสารบริสุทธิ์ดี ไม่มีเมล็ดดํา จะตกแต่งเป็นของเคี้ยวชนิดต่างๆ ก็ได้ เป็นข้าวสวยก็ได้.

ท่านหมายเอาคํานั้น จึงกล่าวว่า ปณีตฺจ ขาทนียํ โภชนียํ ฯลฯ กาลํ อาโรจาเปสิ แปลว่า ตกแต่งขาทนียะโภชนียะอันประณีต ฯเปฯ แล้วให้ราชบุรุษกราบทูลภัตตกาล ดังนี้.

สองบทว่า อธิวุฏโ เม ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสป ตรัสหมายถึงอย่างไร? ตรัสหมายถึงว่า ในเวลาพระองค์เสด็จออกจากเวภัลลิคะ ฆฏิการะได้ถือเอาปฏิญญาเพื่อให้เสด็จประทับอยู่จําพรรษาในสํานักของตนนั้นเสียแล้ว. ตรัสหมายถึงการจําพรรษานั้น.

บทว่า อหุเทว อฺถตฺตํ อหุ โทมนสุสํ ความว่า พระเจ้ากิกิกาสิราชทรงปรารภถึงความไม่มีลาภ มีความเสียพระทัย มีจิตโทมนัสว่า เราไม่ได้เพื่อถวายทานตลอดไตรมาส และไม่ได้เพื่อฟังพระธรรม และไม่ได้เพื่อปฏิบัติพระภิกษุถึง ๒ หมื่นรูป โดยทํานองนี้เสียแล้ว. ไม่ทรงปรารภพระตถาคต.

ถามว่า เพราะเหตุไร.

ตอบว่า เพราะพระองค์เป็นพระโสดาบัน.

ได้ยินมาว่า แต่ก่อนพระเจ้ากิกิกาสิราชนั้นทรงนับถือพราหมณ์. ต่อมาสมัยหนึ่ง เมื่อชายแดนกําเริบขึ้น ทรงเสด็จไประงับ จึงตรัสสั่งธิดา พระนามว่า อุรัจฉทา ว่า ลูกรัก เจ้าจงอย่าประมาทในเทวดา ของเรา. พวกพราหมณ์ทั้งหลายเห็นราชธิดานั้นแล้ว ต่างหมดความสําคัญไป. ราชบุรุษทั้งหลายเมื่อพระนางถามว่า คนพวกนี้คือใคร ก็ตอบว่า เป็นเทวดา (๑) ของพระองค์. พระราชธิดาตรัสถามว่า ชื่อว่า ภุมเทวดา มีรูปอย่างนี้เอง แล้วทรงเสด็จขึ้นปราสาท.

วันหนึ่ง พระนางทรงยืนทอดพระเนตรถนนหลวง ทรงเห็นพระ


(๑) ฎีกาว่า เตสํ สมฺา สมัยนั้นเรียก พราหมณ์เหล่านั้นว่า ภุมเทวดา

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 20

อัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป ทรงสั่งให้นิมนต์มาแล้ว ถวายบิณฑบาต ทรงสดับอนุโมทนาอยู่เทียว ได้เป็นพระโสดาบัน จึงตรัสถามว่า ภิกษุรูปอื่นๆ ยังมีอีกบ้างไหม ได้ทรงสดับว่า พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์สองหมื่นรูป เสด็จประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนะ จึงทรงให้ไปนิมนต์มาแล้วทรงถวายทาน.

พระราชาทรงยังพระราชอาณาเขตให้สงบแล้ว เสด็จกลับแล้ว. ทีนั้นพวกพราหมณ์ทั้งหลายมาเฝ้าพระราชาก่อนกว่าทีเดียว กล่าวโทษพระธิดาแล้วแตกกัน. แต่พระราชาได้ทรงประทานพรไว้ในเวลาพระราชธิดาประสูติ. พระญาติทั้งหลาย ขอพรถวายพระนางว่า ขอให้ครองราชย์ ๗ วัน. ครั้งนั้นพระราชาจึงทรงมอบราชสมบัติให้พระราชธิดาสิ้น ๗ วัน.

พระราชธิดาทรงยังพระศาสดาให้เสวยอยู่ สั่งให้เชิญพระราชาเสด็จประทับนั่ง ณ ภายนอกม่านแล้ว. พอพระราชาได้ทรงสดับอนุโมทนาของพระศาสดาก็ได้เป็นพระโสดาบัน.

ก็ธรรมดาพระโสดาบันจะไม่ทรงมีอาฆาตปรารภพระตถาคต. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า น ตถาคตํ อารพฺภ แปลว่า ความเสียใจ ความโทมนัสใจ ไม่ได้ปรารภพระตถาคต.

บทว่า ยํ อิจฺฉติ ตํ หรตุ ความว่า ได้ยินว่า ฆฏิการะช่างหม้อทําภาชนะทั้งหลายไว้ ไม่กระทําการซื้อและการขาย. ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงไปสู่ป่า เพื่อหาฟืนบ้าง เพื่อหาดินบ้าง เพื่อหาใบไม้บ้าง. มหาชนได้ยินว่าฆฏิการะช่างหม้อทําภาชนะเสร็จแล้ว จึงถือเอาข้าวสาร เกลือ นมส้ม น้ำมัน และน้ำอ้อยที่อย่างดีๆ เป็นต้นมา. ถ้าภาชนะมีค่ามาก มูลค่า มีน้อย. จะต้องให้สิ่งของสมควรกันจึงค่อยเอาไป ฉะนั้นมหาชนจึงยังไม่เอาภาชนะนั้นไป. จะต้องไปนําเอามูลค่ามาอีกด้วยคิดว่า ฆฏิการะช่างหม้อเป็นพ่อค้า ประกอบด้วยธรรมปฏิบัติบํารุงมารดาบิดา บํารุงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อกุศลจักมีแก่เราเป็นอันมากดังนี้. แต่ถ้าภาชนะมีค่าน้อย มูลค่าที่เขานํามามีมาก จะช่วยเก็บงํามูลค่าที่นํา

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 21

มาให้ดีเหมือนเจ้าของบ้านแล้วจึงไปด้วยคิดว่า ฆฏิการะช่างหม้อ เป็นพ่อค้าที่ประกอบด้วยธรรม จักเป็นบุญของพวกเรา ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป เมื่อจะทรงตัดขาดคลองแห่งพระดํารัสของพระราชาว่า ก็ฆฏิการะช่างหม้อมีคุณถึงอย่างนี้ เหตุไรจึงยังไม่บวช จึงตรัสว่า ฆฏิการะช่างหม้อเลี้ยงมารดาบิดา ผู้ตาบอด ผู้แก่เฒ่า ดังนี้.

บทว่า โก นุ โข ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ฆฏิการะช่างหม้อไปไหนละ.

บทว่า กุมฺภิยา แปลว่าจากหม้อข้าว.

บทว่า ปริโยคา แปลว่า จากหม้อแกง.

บทว่า ปริภุฺช แปลว่า จงบริโภคเถิด.

ถามว่า ก็มารดาบิดาของฆฏิการะกล่าวอย่างนั้นเพราะเหตุไร.

ตอบว่า ได้ยินว่า ฆฏิการะช่างหม้อหุงข้าวแล้วต้มแกงแล้ว ให้มารดาบิดาบริโภคแล้ว ตัวเองจึงบริโภค แล้วตั้งข้าว ตั้งแกงที่ตักไว้ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ปูลาดอาสนะไว้ นําอาหารเข้าไปวางไว้ใกล้ ตั้งน้ำไว้ให้สัญญาแก่มารดาบิดาแล้วจึงไปสู่ป่า เพราะฉะนั้นจึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า อภิวิสฺสฏโ แปลว่า ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่ง.

บทว่า ปีติสุขํ น วิชหิ ความว่า ฆฏิการะช่างหม้อไม่ละปิติสุขตลอดไป โดยแท้จริง ฆฏิการะช่างหม้อระลึกอยู่เนืองๆ ไม่ว่าขณะใดๆ เป็นกลางคืนก็ตาม กลางวันก็ตาม ทั้งในบ้านทั้งในป่าว่า พระผู้ยอดบุคคลในโลกที่เรียกว่า พร้อมทั้งเทวโลก ทรงเข้ามาในบ้านเรา ถือเอาอามิสไปบริโภค ช่างเป็นลาภของเราหนอ ปีติมีวรรณะ ๕ ย่อมเกิดขึ้นทุกขณะๆ. ท่านกล่าวคํานั้นหมายถึงเรื่องนี้.

บทว่า กโฬปิยา แปลว่า จากกระเช้า.

ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทําอย่างนี้ได้หรือ.

ตอบว่า เป็นเหตุอันชอบธรรม เช่นเดียวกับข้าวในบาตรของภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงกระทําอย่างนั้น.

อนึ่ง การบัญญัติสิกขาบท ย่อมมีแก่พระสาวกทั้งหลายเท่านั้น ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 22

เขตแดนแห่งสิกขาบทย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เหมือนอย่างว่าดอกไม้และผลไม้ที่มีอยู่ในพระราชอุทยาน คนเหล่าอื่นเก็บดอกไม้แลผลไม้เหล่านั้นไปย่อมมีโทษ ส่วนพระราชาทรงบริโภคได้ตามพระราชอัธยาศัย ข้อนี้ก็มีอุปไมยเหมือนอย่างนั้น. ส่วนเถระผู้อยู่ ณ ฝังสมุทรข้างโน้น กล่าวว่า ได้ยินว่า พวกเทวดาทั้งหลายจัดแจงถวายแล้ว ดังนี้.

บทว่า หรถ ภนฺเต หรถ ภทฺรมุขา ความว่า ลูกของเรา เมื่อถามว่า จะไปไหน. ก็ตอบว่า ไปสํานักพระทศพล. มัวไปที่ไหนเสียกระมังหนอ จึงไม่รู้ว่าที่ประทับของพระศาสดารั่ว เป็นผู้มีจิตยินดีแล้วในการถือเอา มีความสําคัญว่าไม่มีความผิด จึงกล่าวอย่างนั้น.

บทว่า เตมาสํ อากาสจฺฉทนํ อฏาสิ ความว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเลยไปเดือนหนึ่ง สําหรับฤดูฝน ๔ เดือน จึงทรงให้ภิกษุไปนําหญ้ามุงมา เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น.

อนึ่ง ความเฉพาะบทในเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า มีอากาศเป็นเครื่องมุง เพราะอรรถว่า อากาศเป็นเครื่องมุงของเรือนนั้น.

บทว่า น จาติวสฺสิ (๑) ความว่า มิใช่ว่า ฝนจะไม่รั่วอย่างเดียว ตามธรรมดา หยดน้ำแม้สักหยดหนึ่ง มิได้รั่วแล้วในภายในที่น้ำตก แห่งชายคาที่เรือนฆฏิการะช่างหม้อนี้ ฉันใด แม้ลมและแดดก็ไม่ทําความเบียดเบียนเหมือนดังภายในเรือนที่มีเครื่องมุง อันแน่นหนา ฉันนั้น. การแผ่ไปแห่งฤดูก็ได้มีตามธรรมดานั่นเอง. ในภายหลัง เมื่อนิคมนั้นแม้ร้างไปแล้ว ที่ตรงนั้น ฝนก็ไม่ตกรดอยู่นั่นเทียว. พวกมนุษย์ เมื่อกระทําการงานในเมื่อฝนตกก็จะเก็บผ้าสาฎกไว้ที่ตรงนั้นแล้วกระทําการงาน. ที่ตรงนั้นจักเป็นเช่นนั้นเรื่อยไปตลอดการปรากฏกัปหนึ่ง.

ก็อาการที่เป็นเช่นนั้นนั่นแล มิใช่ด้วยอิทธานุภาพของพระตถาคต แต่ด้วยคุณสมบัติของมารดาและบิดาของ


(๑) ฉ. น เทโวติวสฺสิ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 23

ฆฏิการะช่างหม้อนั้นนั่นเทียว.

แท้จริง มารดาและบิดาของฆฏิการะช่างหม้อนั้น มิได้เกิดโทมนัส เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัยว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงได้ในที่ไหนจึงทรงให้ทําการรื้อหลังคานิเวสน์ของเรา ผู้ตาบอดทั้งสองคน. แต่เกิดความโสมนัสอย่างมีกําลังมิใช่น้อยแก่เขาว่า พระผู้ยอดบุคคลในโลกทั้งเทวโลกให้มานําหญ้าจากนิเวศน์ของเราไปมุงพระคันธกฏี ดังนี้.

บัณฑิตพึงทราบว่า ปาฏิหาริย์นี้เกิดขึ้นด้วยคุณสมบัติของมารดาบิดาฆฏิการะช่างหม้อนั้นนั่นเทียว ด้วยประการฉะนี้.

ในคําว่า ตณฺฑุลวาหสตาทิ นี้ พึงทราบว่า สองร้อยเกวียน เป็นวาหะ หนึ่ง.

คําว่า เครื่องแกง อันสมควรแก่ข้าวสารนั้น ความว่า วัตถุมีน้ำมัน น้ำอ้อยเป็นต้นที่สมควรแก่ข้าวสารนั้นเพื่อสูปะ ได้ยินว่า พระราชาทรงส่งของมีประมาณเท่านี้ไปด้วย ทรงสําคัญว่า ภัตรจักมีแก่ภิกษุ พันรูป เพื่อประโยชน์ไตรมาส.

คําว่า อย่าเป็นของข้าพเจ้าเลย จงเป็นของหลวงเถิด ฆฏิการะช่างหม้อ ปฏิเสธแล้ว เพราะเหตุไร. เพราะเป็นผู้บรรลุความมีความปรารถนาน้อย.

ได้ยินว่า ฆฏิการะช่างหม้อนั้น มีความคิดอย่างนี้ว่า พระราชาไม่เคยทรงเห็นเรา ส่งมาแล้วเพื่ออะไรหนอแล. แต่นั้นจึงดําริว่า พระศาสดาเสด็จไปยังพระนครพาราณสี พระองค์เมื่อถูกพระราชาทูลวิงวอนให้อยู่จําพรรษาก็ตรัสบอกว่า ทรงรับปฏิญญาของเราไว้แล้วจะตรัสบอกคุณกถาของเราแน่แท้ ก็ผู้ที่มีลาภแห่งคุณกถาที่ได้แล้ว ย่อมเป็นเหมือนลาภที่คนฟ้อน ฟ้อนแล้วจึงได้ และเหมือนลาภที่คนขับ ขับแล้วได้แล้ว ประโยชน์อะไรด้วยสิ่งนี้แก่เรา เราอาจกระทําการบํารุงทั้งมารดาและบิดา ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยลาภที่เรากระทําการงานแล้วเกิดขึ้น ดังนี้.

คําที่เหลือในที่ทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาฆฏิการสูตรที่ ๑