พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. มธุรสูตร ปัญหาว่าด้วยวรรณะ ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36089
อ่าน  770

[เล่มที่ 21] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 90

๔. มธุรสูตร

ปัญหาว่าด้วยวรรณะ ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 21]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 90

๔. มธุรสูตร

ปัญหาว่าด้วยวรรณะ ๔

[๔๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะ อยู่ที่ป่าคุนธาวัน ใกล้เมืองมธุรา. พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตรได้ทรงสดับว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่าพระสมณะนามว่ากัจจานะ อยู่ที่ป่าคุนธาวัน ใกล้เมืองมธุรา กิตติศัพท์อันงามของท่านกัจจานะนั้นขจรไปว่า เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคําวิจิตร [แสดงธรรมได้กว้างขวาง] มีปฏิภาณงาม เป็นผู้ใหญ่และเป็นพระอรหันต์ ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นความดี ดังนี้.

ลําดับนั้น พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร รับสั่งให้เทียมยานอย่างดีๆ เสด็จขึ้นประทับยานอย่างดี เสด็จออกจากเมืองมธุราโดยกระบวนพระที่นั่งอย่างดีๆ ด้วยราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อจะพบเห็นท่านพระมหากัจจานะ เสด็จไปด้วยยานจนสุดทางแล้ว จึงเสด็จลงจากยานพระที่นั่ง ทรงดําเนินเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ทรงปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ตรัสกะท่านพระมหากัจจานะว่า ข้าแต่ท่านกัจจานะผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า วรรณะที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดํา พวกพราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์ทั้งหลายเป็นบุตรของพรหมเป็นโอรสเกิดแต่ปากพรหม เกิดแต่พรหม อันพรหมสร้าง เป็นทายาทของพรหมดังนี้ เรื่องนี้ท่านพระกัจจานะจะว่าอย่างไร.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 91

[๔๖๕] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า ดูก่อนมหาบพิตร วาทะที่พวกพราหมณ์กล่าวว่า วรรณะที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดํา พวกพราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่มิใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์ทั้งหลายเป็นบุตรของพรหม เป็นโอรสเกิดแต่ปากพรหม เกิดแต่พรหม อันพรหมสร้าง เป็นทายาทของพรหม ดังนี้ นั่นเป็นคําโฆษณาในโลกเท่านั้น ดูก่อนมหาบพิตร คําที่อาตมภาพกล่าวนี้ว่า วรรณะที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ พราหมณ์เป็นทายาทของพรหม นั่นเป็นแต่คําโฆษณาในโลกเท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสําเร็จแก่กษัตริย์ ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทอง แม้กษัตริย์... พราหมณ์... แพศย์... ศูทร... ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อกษัตริย์นั้น.

ราชา. ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสําเร็จแก่กษัตริย์ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทอง แม้กษัตริย์... พราหมณ์... แพศย์... ศูทร... ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนที่หลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะแก่กษัตริย์นั้น.

[๔๖๖] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสําเร็จแก่พราหมณ์ ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทอง แม้พราหมณ์... แพศย์... ศูทร... กษัตริย์... ก็จะพึงลุกขึ้นก่อนนอนทีหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะแก่พราหมณ์นั้น.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสําเร็จแก่พราหมณ์ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทอง แม้พราหมณ์... แพศย์...

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 92

ศูทร... กษัตริย์... ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะแก่พราหมณ์นั้น.

[๔๖๗] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสําเร็จแก่แพศย์ ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทอง แม้แพศย์... ศูทร... กษัตริย์... พราหมณ์... ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะแก่แพศย์นั้น.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสําเร็จแก่แพศย์ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทอง แม้แพศย์... ศูทร... กษัตริย์... พราหมณ์... ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะแก่แพศย์นั้น.

[๔๖๘] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสําเร็จแก่ศูทร ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทอง แม้ศูทร... กษัตริย์... พราหมณ์... แพศย์... ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะแก่ศูทรนั้น.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสําเร็จแก่ศูทรด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทอง แม้ศูทร... กษัตริย์... พราหมณ์... แพศย์ ก็จะลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยฟังรับใช้ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะแก่ศูทรนั้น.

[๔๖๙] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณะสี่เหล่านั้นย่อมเป็นผู้เสมอกันหรือมิใช่ หรือมหาบพิตรจะทรงมีความเข้าพระทัยในวรรณะสี่เหล่านี้อย่างไร.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณะสี่เหล่านี้เป็นผู้เสมอกันหมด ในวรรณะสี่เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นจะต่างอะไรกัน.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 93

[๔๗๐] ดูก่อนมหาบพิตร คําที่อาตมภาพกล่าวนี้ว่า วรรณะที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว... พราหมณ์เป็นทายาทของพรหม นั้นเป็นแต่คําโฆษณาเท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน กษัตริย์ในโลกนี้พึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคําหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไปพึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกหรือมิใช่ หรือมหาบพิตรจะทรงมีความเข้าพระทัยในเรื่องนี้อย่างไร.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ความจริง ถึงเป็นกษัตริย์ เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคําหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป ก็พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง ข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแต่พระอรหันต์ทั้งหลายก็เช่นนั้น.

[๔๗๑] ดีละๆ มหาบพิตร เป็นความดีที่มหาบพิตรมีความเข้าพระทัยข้อนี้อย่างนั้น และเป็นความดีที่มหาบพิตรได้ทรงสดับข้อนี้มาแต่พระอรหันต์ทั้งหลาย ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณ์... แพศย์... ศูทร... ในโลกนี้ เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคําหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป ก็พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกหรือมิใช่ หรือมหาบพิตรจะทรงมีความเข้าพระทัยในเรื่องนี้อย่างไร.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ความจริง ถึงจะเป็นพราหมณ์... เป็นแพศย์... เป็นศูทรก็ดี เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคําหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฐิ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 94

เมื่อตายไป ก็พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้ามีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง ข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแต่พระอรหันต์ทั้งหลายก็เช่นนั้น.

[๔๗๒] ดีละๆ มหาบพิตร เป็นความดีที่มหาบพิตรมีความเข้าพระทัยข้อนี้อย่างนั้น อนึ่ง เป็นความดีที่มหาบพิตรได้ทรงสดับข้อนี้มาแต่พระอรหันต์ทั้งหลาย ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณะสี่เหล่านี้เป็นผู้เสมอกันทั้งหมดหรือมิใช่ หรือมหาบพิตรจะทรงมีความเข้าพระทัยในวรรณะสี่เหล่านี้อย่างไร.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณะสี่เหล่านี้ก็เป็นผู้เสมอกันหมด ในวรรณะสี่เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นจะต่างอะไรกัน.

[๔๗๓] ดูก่อนมหาบพิตร คําที่อาตมภาพกล่าวนี้ว่า วรรณะที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว... พราหมณ์เป็นทายาทของพรหม นั่นเป็นแต่คําโฆษณาในโลกเท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน กษัตริย์ในโลกนี้พึงเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคําส่อเสียด เว้นขาดจากคําหยาบ เว้นขาดจากคําเพ้อเจ้อ ไม่มักโลภ มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ หรือมิใช่ หรือมหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้อย่างไร.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ความจริง ถึงเป็นกษัตริย์ เมื่อเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคําส่อเสียด เว้นขาดจากคําหยาบ เว้นขาดจากคําเพ้อเจ้อ ไม่มักโลภ มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป พึง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 95

เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพเจ้ามีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง ข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแต่พระอรหันต์ทั้งหลายก็เช่นนั้น.

[๔๗๔] ดีละๆ มหาบพิตร เป็นความดีที่มหาบพิตรมีความเข้าพระทัยข้อนี้อย่างนั้น และเป็นความดีที่มหาบพิตรได้ทรงสดับข้อนี้มาแต่พระอรหันต์ทั้งหลาย ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณ์... แพศย์... ศูทรในโลกนี้ พึงเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคําส่อเสียด เว้นขาดจากคําหยาบ เว้นขาดจากคําเพ้อเจ้อ ไม่มักโลภ มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์หรือมิใช่ หรือมหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้อย่างไร.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ความจริง ถึงเป็นพราหมณ์... เป็นแพทย์... เป็นศูทรก็ดี เมื่อเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคําส่อเสียด เว้นขาดจากคําหยาบ เว้นขาดจากคําเพ้อเจ้อ ไม่มักโลภ มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพเจ้ามีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง ข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแต่พระอรหันต์ทั้งหลายก็เช่นนั้น.

[๔๗๕] ดีละๆ มหาบพิตร เป็นความดีที่มหาบพิตรมีความเข้าพระทัยข้อนี้อย่างนั้น และเป็นความดีที่มหาบพิตรได้ทรงสดับข้อนี้มาแต่พระอรหันต์ทั้งหลาย ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณะสี่เหล่านี้เป็นผู้เสมอกันหรือมิใช่ หรือมหาบพิตรจะทรงมีความเข้าพระทัยในวรรณะสี่เหล่านี้อย่างไร.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณะสี่เหล่านี้ก็เป็นผู้เสมอกันหมด ในวรรณะสี่เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นจะต่างอะไรกัน.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 96

[๔๗๖] ดูก่อนมหาบพิตร คําที่อาตมภาพกล่าวนี้ว่า วรรณะที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น... พราหมณ์เป็นทายาทของพรหม นั่นเป็นแต่คําโฆษณาในโลกเท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน กษัตริย์ในโลกนี้ พึงตัดช่องหรือย่องเบา พึงทําการปล้นหรือดักคอยทําร้ายคนที่ทางเปลี่ยว หรือพึงคบหาภริยาของผู้อื่น ถ้าราชบุรุษทั้งหลายจับเขาได้แล้ว พึงแสดงว่า ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจรประพฤติผิดต่อพระองค์ พระองค์ทรงปรารถนาจะลงพระราชอาญาสถานใดแก่โจรนี้ ขอจงทรงโปรดให้ลงพระราชอาญาสถานนั้นเถิด ดังนี้ มหาบพิตรจะพึงโปรดให้ทําอย่างไรกะโจรนั้น.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ข้าพเจ้าก็พึงให้ฆ่าเสียหรือพึงผ่าอกเสีย พึงเนรเทศเสีย หรือพึงทําตามสมควรแก่เหตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชื่อเมื่อก่อนของเขาว่ากษัตริย์นั้น หายไปเสียแล้ว เขาย่อมถึงการนับว่าเป็นโจรนั่นเทียว.

[๔๗๗] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณ์... แพทย์... ศูทรในโลกนี้ พึงตัดช่องหรือย่องเบา พึงทําการปล้น หรือดักคอยทําร้ายคนที่ทางเปลี่ยว หรือพึงคบหาภริยาของผู้อื่น ถ้าราชบุรุษทั้งหลายจับเขาได้ แล้วพึงแสดงว่า ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจร ประพฤติผิดต่อพระองค์ พระองค์ทรงปรารถนาจะลงพระราชอาญาสถานใดแก่โจรนี้ ขอจงทรงโปรดให้ลงพระราชอาญาสถานนั้นเถิด ดังนี้ มหาบพิตรจะพึงโปรดให้ทําอย่างไรกะโจรนั้น.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ข้าพเจ้าก็พึงให้ฆ่าเสียหรือพึงให้ผ่าอกเสีย พึงเนรเทศเสียหรือพึงทําตามสมควรแก่เหตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชื่อ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 97

เมื่อก่อนของเขาว่าศูทรนั้น หายไปเสียแล้ว เขาย่อมถึงการนับว่าเป็นโจรนั่นเทียว.

[๔๗๘] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณะสี่เหล่านี้ก็เป็นผู้เสมอกันหมดหรือมิใช่ หรือมหาบพิตรจะมีความเข้าพระทัยในวรรณะสี่เหล่านั้นอย่างไร.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณะสี่เหล่านี้ก็เป็นผู้เสมอกันหมด ในวรรณะสี่เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นจะต่างอะไรกัน.

[๔๗๙] ดูก่อนมหาบพิตร คําที่อาตมภาพกล่าวว่า วรรณะที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว... พราหมณ์เป็นทายาทของพรหม นั่นเป็นแต่คําโฆษณาในโลกเท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน กษัตริย์ในโลกนี้พึงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงนุ่งห่มผ้ากาสายะเสด็จจากพระราชนิเวศน์ ทรงผนวชเป็นบรรพชิต ทรงเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ทรงเว้นขาดจากการลักทรัพย์ ทรงเว้นขาดจากการพูดเท็จ ฉันภัตตาหารครั้งเดียว ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีลมีกัลยาณธรรม มหาบพิตรจะทรงทําอย่างไรกะราชบรรพชิตนั้น.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ข้าพเจ้าพึงกราบไหว้บ้าง พึงลุกรับบ้าง พึงเชื้อเชิญด้วยอาสนะบ้าง พึงบํารุงราชบรรพชิตนั้นด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง พึงจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองอันเป็นธรรมกะราชบรรพชิตนั้นบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชื่อเมื่อก่อนของเขาว่ากษัตริย์นั้นหายไปแล้ว เขาย่อมถึงการนับว่าสมณะนั่นเทียว.

[๔๘๐] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณ์... แพศย์... ศูทรในโลกนี้ พึงปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้า-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 98

กาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ฉันภัตตาหารครั้งเดียว ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม มหาบพิตร จะพึงทําอย่างไรกับบรรพชิตนั้น.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ข้าพเจ้าพึงกราบไหว้บ้าง พึงลุกรับบ้าง พึงเชื้อเชิญด้วยอาสนะบ้าง พึงบํารุงบรรพชิตนั้นๆ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง พึงจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองอันเป็นธรรมแก่บรรพชิตนั้นๆ บ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชื่อเมื่อก่อนของผู้นั้นว่าศูทร นั้นหายไปแล้ว เขาย่อมถึงการนับว่าสมณะนั่นเทียว.

[๔๘๑] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณะสี่เหล่านี้ก็เป็นผู้เสมอกันหมดหรือมิใช่ หรือในวรรณะสี่เหล่านี้มหาบพิตรจะมีความเข้าพระทัยอย่างไร.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณะสี่เหล่านั้นก็เป็นผู้เสมอกันหมด ในวรรณะสี่เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นจะต่างอะไรกัน.

[๔๘๒] ดูก่อนมหาบพิตร คําที่อาตมภาพกล่าวนี้ว่า วรรณะที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดํา พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้มิใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตรพรหม เป็นโอรสเกิดแต่ปากพรหม เกิดแต่พรหม อันพรหมนิรมิต เป็นทายาทของพรหม นั่นเป็นแต่คําโฆษณาในโลกเท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยปริยายนี้.

[๔๘๓] เมื่อท่านพระมหากัจจานะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตรได้ตรัสว่า ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 99

ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระกัจจานะผู้เจริญประกาศธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ข้าพเจ้านี้ขอถึงพระกัจจานะผู้เจริญ พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระกัจจานะผู้เจริญ จงจําข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

[๔๘๔] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรอย่าทรงถึงอาตมภาพว่าเป็นสรณะเลย จงทรงถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าที่อาตมภาพถึงว่าเป็นสรณะ นั้นว่าเป็นสรณะเถิด.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน.

ดูก่อนมหาบพิตร เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว.

[๔๘๕] ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ก็ถ้าข้าพเจ้าพึงได้ฟังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น [ประทับอยู่] ในทางสิบโยชน์ ข้าพเจ้าก็พึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้สิ้นทางสิบโยชน์... สามสิบโยชน์... สี่สิบโยชน์... ห้าสิบโยชน์... แม้ร้อยโยชน์ ข้าพเจ้าก็จะพึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้สิ้นทางร้อยโยชน์ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระกัจจานะผู้เจริญ จงจําคําข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบมธุรสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 100

อรรถกถามธุรสูตร

มธุรสูตรมีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

ในพระสูตรนั้น บทว่า มหากัจจานะ คือ บุตรของปุโรหิต แห่งพระเจ้าอุชเชนีก์ในกาลเป็นคฤหัสถ์ มีรูปงาม น่าดู นํามาซึ่งความเลื่อมใสและมีผิวดังทองคํา.

บทว่า มธุรายํ คือ ในพระนครมีชื่ออย่างนั้น.

บทว่า คุนฺธาวเน คือ ในพระราชอุทยาน ชื่อ กัณหกคุนธาวัน.

บทว่า อวนฺติปุตฺโต ได้แก่ เป็นบุตรของธิดาแห่งพระราชาในอวันติรัฐ.

คําว่า วุฑฺโฒ เจว อรหา จ ความว่า ทั้งหนุ่ม ทั้งสมควร คือ มิได้ยกย่องอย่างคนแก่ฉะนั้น. ส่วนพระเถระเป็นผู้เจริญด้วย เป็นพระอรหันต์ด้วย.

คําว่า พฺราหฺมณา โภ กจฺจาน ความว่า ได้ยินว่า พระราชานั้นถือลัทธิพราหมณ์ ฉะนั้นจึงกล่าวอย่างนั้น.

ในคําเป็นต้นว่า พฺราหฺมณาว เสฏฺา วณฺณา ท่านแสดงว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในฐานะที่ปรากฏแห่งชาติและโคตรเป็นต้น.

บทว่า หีโน อฺโ วณฺโณ วรรณะอื่นต่ํา ความว่า ท่านกล่าวว่าวรรณะสามนอกนี้เป็นวรรณะต่ําชั่ว.

บทว่า สุกฺโก แปลว่า ขาว.

บทว่า กณฺโห แปลว่า ดํา.

บทว่า สุชฺฌนฺติ ความว่า บริสุทธิ์ในฐานะที่ปรากฏแห่งชาติและโคตรเป็นต้น.

บทว่า พฺรหฺมุโน ปุตฺตา ได้แก่ บุตรของมหาพรหม.

บทว่า โอรสา มุขโต ชาตา ความว่า อยู่ในอก ออกมาจากปาก ชื่อว่า โอรส เพราะอรรถว่า กระทําไว้ที่อกให้เจริญดีแล้ว.

บทว่า พฺรหฺมชา แปลว่า บังเกิดจากพระพรหม.

บทว่า พฺรหฺมนิมฺมิตา ได้แก่ พระพรหมนิรมิตแล้ว.

บทว่า พฺรหฺมทายาทา คือ เป็นทายาทแห่งพระพรหม.

บทว่า โฆโสเยว โข เอโส นั้น เพียงเป็นโวหาร.

บทว่า อิชฺเณยฺย แปลว่า พึงสําเร็จ.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 101

หมายความว่า ปรารถนาทรัพย์เป็นต้น มีประมาณเท่าใด มโนรถของเขาก็พึงเต็มด้วยทรัพย์เป็นต้น มีประมาณเพียงนั้น.

บทว่า ขตฺติโยปิสฺส ตัดบทว่า ขตฺติโย อปิ อสฺส คือ เป็นผู้ลุกขึ้นก่อนสําหรับผู้ถึงความเป็นใหญ่.

บทว่า น เตสํ เอตฺถ กิฺจิ (๑) ความว่า ในวรรณะ ๔ เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นจะต่างอะไรกัน.

บทว่า อาสเนน วา นิมนฺเตยฺยาม ความว่า พึงปัดอาสนะที่สําหรับนั่งแล้วเชิญว่า เชิญนั่งที่นี้.

บทว่า อภินิมนฺเตยฺยาม วา ตํ ความว่า นําอาสนะนั้นมาแล้ว เชื้อเชิญ.

ในการเชื้อเชิญนั้น อภิหาร (ความเคารพ) มี ๒ อย่าง คือ ทั้งทางวาจา ทั้งทางกาย. คือ เมื่อพูดว่า ท่านมีความต้องการด้วยจีวรเป็นต้นอย่างใด ก็ขอจงบอกมาเถิดในขณะที่ท่านต้องการแล้วๆ ดังนี้ ชื่อว่า เชื้อเชิญ เคารพทางวาจา. แต่เมื่อกําหนดเห็นความวิการแห่งจีวรเป็นต้น กล่าวว่า ท่านจงเอาผืนนี้ไปเถิด ถวายจีวรเหล่านั้น ชื่อว่า เคารพบูชาเชื้อเชิญทางกาย. ท่านกล่าวว่า อภินิมนฺเตยฺยาม วา ตํ ดังนี้ หมายเอาการเชื้อเชิญแม้ทั้งสองนั้น.

บทว่า รกฺขาวรณคุตฺติํ ได้แก่ การคุ้มครอง กล่าวคือ การรักษา และกล่าวคือ การป้องกัน.

ก็การรักษาที่เขาจัดตั้งบุคคลให้ถืออาวุธอยู่ ไม่ชื่อว่า การจัดแจงประกอบด้วยธรรม. ส่วนการจัดแจงห้ามมิให้คนหาฟืนและคนหาใบไม้เป็นต้น เข้าไปในเวลาที่ไม่ควร ห้ามพรานเนื้อเป็นต้น มิให้จับเนื้อหรือปลาภายในเขตวิหาร ก็ชื่อว่า การจัดแจงที่ประกอบด้วยธรรม. ท่านกล่าวว่า ธมฺมิกํ เพราะหมายเอาการห้ามอันนั้น.

บทว่า เอวํ สนฺเต ความว่า เมื่อบรรพชิตทั้ง ๔ วรรณะเสมอกัน สักการะว่าเป็นนักบวช มีอยู่.

คําที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามธุรสูตรที่ ๔


(๑) บาลี นาหํ เอตฺถ กิฺจิ