พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. โพธิราชกุมารสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36090
อ่าน  1,007

[เล่มที่ 21] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 102

๕. โพธิราชกุมารสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 21]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 102

๕. โพธิราชกุมารสูตร

[๔๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬามิคทายวัน เขตนครสุงสุมารคิระ ในภัคคชนบท. ก็สมัยนั้น ปราสาทชื่อโกกนุท ของพระราชกุมารพระนามว่าโพธิ สร้างแล้วใหม่ๆ สมณพราหมณ์หรือมนุษย์คนใดคนหนึ่งยังไม่ได้เข้าอยู่ ครั้งนั้น โพธิราชกุมารเรียกมาณพนามว่าสัญชิกาบุตร มาว่า มานี่แน่ เพื่อนสัญชิกาบุตร ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วจงถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า มีพระกําลัง ทรงพระสําราญ ตามคําของเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพธิราชกุมารถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า มีพระกําลัง ทรงพระสําราญ และจงทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์ จงรับภัตตาหารเพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ของโพธิราชกุมารเถิด. มาณพสัญชิกาบุตรรับคําสั่งโพธิราชกุมารแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ทรงรับนิมนต์

[๔๘๗] ครั้นมาณพสัญชิกาบุตรนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โพธิราชกุมารถวาย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 103

บังคมพระบาทด้วยเศียรเกล้าและรับสั่งถามถึงพระโคดมผู้เจริญ ผู้มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า ทรงมีพระกําลัง ทรงพระสําราญ และรับสั่งมาอย่างนี้ว่า ขอพระโคดมผู้เจริญกับพระภิกษุสงฆ์ จงรับภัตตาหารเพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ของโพธิราชกุมารเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยพระอาการดุษณีภาพ ครั้งนั้น มาณพสัญชิกาบุตรทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าโพธิราชกุมาร แล้วทูลว่า เกล้ากระหม่อมได้กราบทูลพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น ตามรับสั่งของพระองค์แล้ว และพระสมณโคดมทรงรับนิมนต์แล้ว. พอล่วงราตรีนั้นไป โพธิราชกุมารรับสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอย่างประณีตในนิเวศน์ และรับสั่งให้เอาผ้าขาวปูลาดโกกนุทปราสาทตลอดถึงบันไดขั้นสุด แล้วตรัสเรียกมาณพสัญชิกาบุตร มาว่า มานี่แน่ เพื่อนสัญชิกาบุตร ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับแล้ว จงกราบทูลภัตตกาลว่า ได้เวลาแล้ว พระเจ้าข้า ภัตตาหารสําเร็จแล้ว. มาณพสัญชิกาบุตรรับคําสั่งโพธิราชกุมารแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ กราบทูลภัตตกาลว่า ได้เวลาแล้ว พระโคดมผู้เจริญ ภัตตาหารสําเร็จแล้ว.

[๔๘๘] ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้วทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของโพธิราชกุมาร. สมัยนั้น โพธิราชกุมารประทับยืนคอยรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ที่ภายนอกซุ้มประตู ได้ทรงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากําลังเสด็จมาแต่ไกล จึงเสด็จออกต้อนรับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเสด็จนําหน้าเข้าไปยังโกกนุทปราสาท. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าหยุดประทับอยู่ที่บันไดขั้นสุด. โพธิราชกุมารจึงกราบทูลว่า ขอนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิด พระเจ้าข้า ขอนิมนต์พระสุคตเจ้าทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิด พระเจ้าข้า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 104

ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน. เมื่อโพธิราชกุมารกราบทูลเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิ่งเสีย. แม้ครั้งที่สอง โพธิราชกุมารก็กราบทูลว่า ขอนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิด พระเจ้าข้า ขอนิมนต์พระสุคตเจ้าทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิด พระเจ้าข้า ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน. เมื่อโพธิราชกุมารทูลเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิ่งเสีย แม้ครั้งที่สาม โพธิราชกุมารก็กราบทูลว่า ขอนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิด พระเจ้าข้า ขอนิมนต์พระสุคตเจ้าทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิด พระเจ้าข้า ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน.

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทอดพระเนตรท่านพระอานนท์. ท่านพระอานนท์ได้ถวายพระพรว่า ดูก่อนพระราชกุมาร จงเก็บผ้าขาวเสียเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเหยียบแผ่นผ้า พระตถาคตเจ้าทรงแลดูประชุมชนผู้เกิดในภายหลัง โพธิราชกุมาร รับสั่งให้เก็บผ้าแล้วให้ปูลาดอาสนะที่โกกนุทปราสาทชั้นบน. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จขึ้นโกกนุทปราสาท แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ถวายพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. โพธิราชกุมารทรงอังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขให้อิ่มหนําเพียงพอด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จ วางพระหัตถ์จากบาตรแล้ว โพธิราชกุมารถือเอาอาสนะต่ําแห่งหนึ่งประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความสุขไม่มี ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความทุกข์แล.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 105

เสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบส

[๔๘๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราชกุมาร ก่อนแต่ตรัสรู้ แม้เมื่ออาตมภาพยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ก็มีความคิดเห็นว่า ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความสุขไม่มี ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยทุกข์แล.

ดูก่อนราชกุมาร สมัยต่อมา เมื่ออาตมภาพยังเป็นหนุ่ม มีผมดําสนิท ประกอบด้วยวัยกําลังเจริญ เป็นปฐมวัย เมื่อมารดาบิดาไม่ปรารถนา [จะให้บวช] ร้องไห้น้ำตานองหน้าอยู่ ได้ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ครั้นบวชอย่างนี้แล้ว แสวงหาว่าอะไรจะเป็นกุศล ค้นคว้าสันติวรบทอันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า จึงได้เข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร แล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออาตมภาพกล่าวเช่นนี้แล้ว อาฬารดาบส กาลามโคตรได้กล่าวกะอาตมภาพว่า ท่านจงอยู่เถิด ธรรมนี้เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่บุรุษผู้ฉลาดพึงทําลัทธิของอาจารย์นั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วบรรลุไม่นานเลย. อาตมภาพเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลันไม่นานเลย. กล่าวญาณวาทและเถรวาทได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจาเท่านั้น อนึ่ง ทั้งอาตมภาพและผู้อื่นปฏิญาณได้ว่าเรารู้เราเห็น.

อาตมภาพนั้นมีความคิดว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร จะประกาศได้ว่า เราทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงศรัทธาเท่านั้น ดังนี้ ก็หาไม่ ที่จริง อาฬารดาบส กาลามโคตรรู้เห็นธรรมนี้อยู่. ครั้นแล้วอาตมภาพเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านกาลามะ ท่านทําธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุแล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ. เมื่ออาตมภาพกล่าวเช่นนี้แล้ว อาฬารดาบส กาลามโคตรได้ประกาศ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 106

อากิญจัญญายตนะ. อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้น มีศรัทธาหามิได้ ถึงเราก็มีศรัทธา อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้น มีความเพียร... มีสติ... มีสมาธิ..มีปัญญา หามิได้ ถึงเราก็มีความเพียร... มีสติ... มีสมาธิ... มีปัญญา อย่ากระนั้นเลย เราพึงตั้งความเพียรเพื่อทําธรรมที่อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศว่า ทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่นั้นให้แจ้งเถิด. อาตมภาพนั้นทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วบรรลุธรรมนั้นโดยฉับพลันไม่นานเลย ครั้นแล้วได้เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วได้ถามว่า ดูก่อนกาลามะ ท่านทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้ประกาศให้ทราบ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ.

อาฬารดาบส กาลามโคตรตอบว่า ดูก่อนอาวุโส เราทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้แล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

อาตมภาพได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส แม้เราก็ทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้แล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

อาฬารดาบส กาลามโคตรกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส เป็นลาภของเราทั้งหลายหนอ เราทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่เราทั้งหลายได้พบท่านสพรหมจารีเช่นท่าน เราทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมใดแล้วประกาศให้ทราบ ท่านก็ทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนั้นแล้วประกาศให้ทราบ ท่านทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมใดแล้วประกาศให้ทราบ เราก็ทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนั้นแล้วประกาศให้ทราบ ดังนี้ เรารู้ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น ดังนี้ เราเช่นใด ท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น ดังนี้. ดูก่อนอาวุโส บัดนี้ เราทั้งสองจงมาอยู่ช่วยกันบริหารหมู่คณะนี้เถิด.

ดูก่อนราชกุมาร อาฬารดาบส กาลามโคตร เป็นอาจารย์ของอาตมภาพยังตั้งให้อาตมภาพผู้เป็นอันเตวาสิกไว้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 107

เสมอตน และยังบูชาอาตมภาพด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ด้วยประการฉะนี้. อาตมภาพนั้นมีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกําหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ย่อมเป็นไปเพียงให้อุปบัติในอากิญจัญญายตนพรหมเท่านั้น อาตมภาพไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นแล้วหลีกไปเสีย.

เสด็จเข้าไปหาอุทกดาบส

[๔๙๐] ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออาตมภาพแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ค้นคว้าสันติวรบทอันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งไปกว่า จึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตร แล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้. เมื่ออาตมภาพกล่าวเช่นนี้แล้ว อุทกดาบส รามบุตร ได้กล่าวว่าอยู่เถิดท่าน บุรุษผู้ฉลาดพึงทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ไม่นานเลยก็บรรลุลัทธิของอาจารย์ตนแล้วอยู่ในธรรมใด ธรรมนี้เช่นนั้น อาตมภาพเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลันไม่นานเลย กล่าวญาณวาทและเถรวาทได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจาเท่านั้น อนึ่ง ทั้งอาตมภาพและผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้เราเห็น. อาตมภาพมีความคิดเห็นว่า ท่านรามบุตรจะได้ประกาศว่า เราทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมนี้ด้วยอาการเพียงศรัทธาเท่านั้น ดังนี้ก็หาไม่ ที่จริงท่านรามบุตรรู้เห็นธรรมนี้อยู่. ครั้นแล้วอาตมภาพจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตร แล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านรามะ ท่านทําธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุแล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ.

เมื่ออาตมภาพกล่าวเช่นนี้ อุทกดาบส รามบุตร ได้ประกาศเนวสัญญานาสัญญายตนะ. อาตมภาพมีความคิดเห็นว่าท่านรามะเท่านั้นมีศรัทธาหามิได้ ถึงเราก็มีศรัทธา ท่านรามะเท่านั้น มีความเพียร... มีสติ... มีสมาธิ... มีปัญญาหามิได้ ถึงเราก็มีความเพียร... มีสติ... มีสมาธิ... มีปัญญา อย่ากระนั้น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 108

เลย เราพึงตั้งความเพียรเพื่อทําธรรมที่ท่านรามะประกาศว่า ทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วบรรลุธรรมนั้นให้แจ้งเถิด. อาตมภาพได้ทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วบรรลุธรรมนั้นโดยฉับพลัน ไม่นานเลย. ครั้นแล้วอาตมภาพเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตร แล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านรามะ ท่านทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้แล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ.

อุทกดาบส รามบุตร ตอบว่า ดูก่อนอาวุโส เราทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้แล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

อาตมภาพได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส แม้เราก็ทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

อุทกดาบส รามบุตร กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส เป็นลาภของเราทั้งหลาย เราทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่เราทั้งหลายได้พบท่านสพรหมจารีเช่นท่าน รามะทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมใดแล้วประกาศให้ทราบ ท่านก็ทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุถึงธรรมนั้นอยู่ ท่านทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุถึงธรรมใด รามะก็ทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุถึงธรรมนั้น แล้วประกาศให้ทราบ ดังนี้ รามะรู้ยิ่งธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใดรามะก็รู้ยิ่งธรรมนั้น ดังนี้ รามะเช่นใด ท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด รามะก็เช่นนั้น ดังนี้ ดูก่อนอาวุโส บัดนี้ เชิญท่านมาบริหารหมู่คณะนี้เถิด.

ดูก่อนราชกุมาร อุทกดาบสรามบุตรเป็นเพื่อนสพรหมจารีของอาตมภาพ ตั้งอาตมภาพไว้ในตําแหน่งอาจารย์ และบูชาอาตมภาพด้วยการบูชาอย่างยิ่ง. อาตมภาพมีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อหน่าย เพื่อคลายกําหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไป

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 109

เพียงให้อุปบัติในเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมเท่านั้น. อาตมภาพไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไป.

[๔๙๑] ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออาตมภาพแสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล ค้นคว้าสันติวรบทอันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า เที่ยวจาริกไปในมคธชนบทโดยลําดับ บรรลุถึงอุรุเวลาเสนานิคม ณ ที่นั้น อาตมภาพได้เห็นภาคพื้นน่ารื่นรมย์ มีไพรสณฑ์น่าเลื่อมใส มีแม่น้ำไหลอยู่ น้ำเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ และมีโคจรตามโดยรอบ. อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ภาคพื้นน่ารื่นรมย์หนอ ไพรสณฑ์ ก็น่าเลื่อมใส แม่น้ำก็ไหล น้ำเย็นจืดสนิท ท่าน้ำก็ราบเรียบ น่ารื่นรมย์ และโคจรคามก็มีโดยรอบ สถานที่เช่นนี้สมควรเป็นที่ตั้งความเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการความเพียรหนอ. ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพนั่งอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเอง ด้วยคิดเห็นว่า สถานที่เช่นนี้สมควรเป็นที่ทําความเพียร.

อุปมา ๓ ข้อ

[๔๙๒] ดูก่อนราชกุมาร ครั้งนั้น อุปมาสามข้อน่าอัศจรรย์ ไม่ได้เคยฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแก่อาตมภาพ.

เปรียบเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำ ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จักถือเอาไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟ จักทําไฟให้ปรากฏ ดังนี้ ดูก่อนราชกุมาร พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้สดชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำมาสีไฟ พึงให้ไฟเกิด พึงทําไฟให้ปรากฏได้บ้างหรือ.

โพธิราชกุมารทูลว่า ข้อนี้ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้ยังสดชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำ บุรุษนั้นก็จะพึงเหน็ดเหนื่อยลําบากกายเปล่า.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 110

ดูก่อนราชกุมาร ข้อนี้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ฉันนั้น มีกายยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจในกาม ยังเสน่หาในกาม ยังหลงอยู่ในกาม ยังระหายในกาม ยังมีความเร่าร้อนเพราะกาม ยังละไม่ได้ด้วยดี ยังให้สงบระงับไม่ได้ด้วยดีในภายใน ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ถึงจะไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ดูก่อนราชกุมาร อุปมาข้อที่หนึ่งนี้แลน่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในก่อน มาปรากฏแก่อาตมภาพ.

[๔๙๓] ดูก่อนราชกุมาร อุปมาข้อที่สอง น่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแก่อาตมภาพ เปรียบเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยางตั้งอยู่บนบกไกลน้ำ ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จะเอาไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟ จักทําไฟให้ปรากฏ. ดูก่อนราชกุมาร พระองค์จะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้สดชุ่มด้วยยางตั้งอยู่บนบกไกลน้ำมาสีไฟ พึงให้ไฟเกิด พึงทําไฟให้ปรากฏได้บ้างหรือ.

ข้อนี้ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้นั้นยังสดชุ่มด้วยยาง แม้จะตั้งอยู่บนบกไกลน้ำ บุรุษนั้นก็จะพึงเหน็ดเหนื่อยลําบากกายเปล่า.

ดูก่อนราชกุมาร ข้อนี้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีกายหลีกออกจากกาม แต่ยังมีความพอใจในกาม ยิ่งเสน่หาในกาม ยังหลงอยู่ในกาม มีความระหายในกาม มีความเร่าร้อนเพราะกาม ยังละไม่ได้ด้วยดี ยังให้สงบระงับไม่ได้ด้วยดีในภายใน ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ถึงแม้จะไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 111

เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญา เครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ดูก่อนราชกุมาร อุปมาข้อที่สองนี้ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแก่อาตมภาพ.

[๔๙๔] ดูก่อนราชกุมาร อุปมาข้อที่สามน่าอัศจรรย์ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อนมาปรากฏแก่อาตมภาพ เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะทั้งตั้งอยู่บนบกไกลน้ำ ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จักเอาไม้นั้นมาสีให้ไฟเกิด จักทําไฟให้ปรากฏ ดังนี้. ดูก่อนราชกุมาร พระองค์จะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้แห้งเกราะทั้งตั้งอยู่บนบกไกลน้ำนั้นมาสีไฟ พึงให้ไฟเกิด พึงทําให้ไฟปรากฏได้บ้างหรือ.

อย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้นั้นแห้งเกราะและทั้งตั้งอยู่บนบกไกลน้ำ.

ดูก่อนราชกุมาร ข้อนี้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ฉันนั้นแล มีกายหลีกออกจากกามแล้ว ไม่มีความพอใจในกาม ไม่เสน่หาในกาม ไม่หลงอยู่ในกาม ไม่ระหายในกาม ไม่เร่าร้อนเพราะกาม ละได้ด้วยดีให้สงบระงับด้วยดีในภายใน ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อน อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ถึงจะไม่ได้เสวยทุกข์เวทนาที่กล้าเผ็ดร้อน อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าได้. ดูก่อนราชกุมาร อุปมาข้อที่สามนี้น่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อนนี้แล มาปรากฏแก่อาตมภาพ. ดูก่อนราชกุมาร อุปมาสามข้อน่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อนเหล่านี้แลมาปรากฏแก่อาตมภาพ.

[๔๙๕] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไรเราพึงกดฟันด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยใจ บีบให้แน่น ให้ร้อนจัด.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 112

แล้วอาตมภาพก็กดฟันด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบให้แน่น ให้ร้อนจัด. เมื่ออาตมภาพกดฟันด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบให้แน่น ให้เร่าร้อนอยู่ เหงื่อก็ไหลจากรักแร้. ดูก่อนราชกุมาร เปรียบเหมือนบุรุษมีกําลังพึงจับบุรุษมีกําลังน้อยกว่าที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วกดบีบไว้ให้เร่าร้อนก็ฉันนั้น เหงื่อไหลออกจากรักแร้ ดูก่อนราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพปรารภแล้ว จะย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้แล้ว จะฟันเฟือนก็หามิได้ แต่การที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง กระสับกระส่ายไม่สงบระงับ.

[๔๙๖] ดูก่อนราชกุมาร อาตมาภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เกิด แล้วอาตมภาพก็กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากและทางจมูก เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากและทางจมูก เสียงลมที่ออกทางช่องหูทั้งสองดังเหลือประมาณ. เปรียบเหมือนเสียงสูบของช่างทองที่กําลังสูบอยู่ดังเหลือประมาณ ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากและทางจมูก เสียงลมที่ออกทางช่องหูทั้งสองก็ดังเหลือประมาณ ฉันนั้น. ดูก่อนราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมาภาพปรารภแล้วจะย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้แล้วจะได้ฟันเฟือนก็หามิได้ แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว.

ฌานไม่มีลมปราณ

[๔๙๗] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด. แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะ-

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 113

ปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมกล้ายิ่งย่อมเสียดแทงศีรษะ. ดูก่อนราชกุมาร เปรียบเหมือนบุรุษมีกําลังพึงเชือดศีรษะด้วยมีดโกนอันคมฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมกล้ายิ่งย่อมเสียดแทงศีรษะ ฉันนั้น. ดูก่อนราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้แล้วจะได้ฟันเฟือนก็หามิได้ แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพ ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว.

[๔๙๘] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด. แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู. เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็ปวดศีรษะเหลือทน. ดูก่อนราชกุมาร เปรียบเหมือนบุรุษมีกําลังพึงรัดศีรษะด้วยเชือกอันเขม็ง ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็ปวดศีรษะเหลือทน ฉันนั้น. ดูก่อนราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้จะได้ฟันเฟือนก็หามิได้ แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพ ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแล เสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว.

[๔๙๙] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมกล้าเหลือประมาณ ย่อมเสียดแทงท้อง ดูก่อนราชกุมาร เปรียบเหมือนนายโคฆาต หรือลูกมือนายโคฆาตผู้ขยัน พึงเชือดท้องโคด้วยมีดเชือดโคอันคม ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมกล้าเหลือประมาณ ย่อม

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 114

เสียดแทงท้อง ฉันนั้น. ดูก่อนราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้จะได้ฟันเฟือนก็หามิได้ แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมาภาพ ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแหละเสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว.

[๕๐๐] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด. แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู. เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความร้อนในกายเหลือทน. ดูก่อนราชกุมาร เปรียบเหมือนบุรุษมีกําลังสองคน ช่วยกันจับบุรุษมีกําลังน้อยที่แขนคนละข้าง ย่างรมไว้ที่หลุมถ่านเพลิง ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความร้อนในกายเหลือทน ฉันนั้น. ดูก่อนราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมาภาพปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้จะได้ฟันเฟือนก็หามิได้ แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพ ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว.

[๕๐๑] ดูก่อนราชกุมาร โอ เทวดาทั้งหลายเห็นอาตมาภาพแล้ว กล่าวกันอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทํากาละเสียแล้ว. เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่ได้ทํากาละแล้ว แต่กําลังทํากาละ. เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่ได้ทํากาละแล้ว กําลังทํากาละก็หามิได้ พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ความอยู่เห็นปานนี้ นับว่าเป็นวิหารธรรมของพระอรหันต์.

[๕๐๒] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวงเถิด. ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 115

เข้ามาหาอาตมภาพแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวง ข้าพเจ้าทั้งหลายจักแซกโอชาอันเป็นทิพย์ตามขุมขนของท่าน ท่านจักได้ยังชีวิตให้เป็นอยู่ด้วยโอชาอันเป็นทิพย์นั้น. อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า เราเองด้วยพึงปฏิญาณการไม่บริโภคอาหารโดยประการทั้งปวง เทวดาเหล่านี้ด้วยพึงแซกโอชาอันเป็นทิพย์ตามขุนขนของเรา เราพึงยังชีวิตให้เป็นไปด้วยโอชาอันเป็นทิพย์นั้นด้วย ข้อนั้นพึงเป็นมุสาแก่เรา ดังนี้. อาตมภาพบอกเลิกกะเทวดาเหล่านั้น จึงกล่าวว่าอย่าเลย. แล้วอาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงบริโภคอาหารลดลงวันละน้อยๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดําบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง. อาตมภาพจึงบริโภคอาหารลดลงวันละน้อย คือวันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดําบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง. เมื่อบริโภคอาหารลดลงวันละน้อยๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดําบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง กายก็ผอมเหลือเกิน.

[๕๐๓] เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อยนั่นเอง อวัยวะน้อยใหญ่ของอาตมภาพย่อมเป็นเหมือนเถาวัลย์มีข้อมาก หรือเถาวัลย์มีข้อดำ ฉันนั้น ตะโพกของอาตมภาพเป็นเหมือนเท้าอูฐ ฉะนั้น กระดูกสันหลังของอาตมภาพผุดระกะเปรียบเหมือนเถาวัฏฏนาวฬี ซี่โครงของอาตมภาพขึ้นนูนเป็นร่องๆ ดังกลอนศาลาเก่ามีเครื่องมุงอันหล่นโทรมอยู่ ฉะนั้น ดวงตาของอาตมภาพถล่มลึกเข้าไปในเบ้าตา ประหนึ่งดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำลึก ฉะนั้น ผิวศีรษะของอาตมภาพที่รับสัมผัสอยู่ก็เหี่ยวแห้ง ดุจดังผลน้ำเต้าที่ตัดมาสดๆ อันลมและแดดกระทบอยู่ก็เหี่ยวแห้ง ฉะนั้น. อาตมภาพคิดว่าจะลูบผิวหนังท้อง ก็จับถูกกระดูกสันหลัง คิดว่าจะลูบกระดูกสันหลัง ก็จับถูกผิวหนังท้อง. ผิวหนังท้องกับกระดูกสันหลัง

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 116

ของอาตมภาพติดถึงกัน เมื่ออาตมภาพคิดว่าจะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็เซซวนล้มลงในที่นั้นเอง เมื่อจะให้กายนี้แลมีความสบาย จึงเอาฝ่ามือลูบตัว เมื่ออาตมภาพเอาฝ่ามือลูบตัว ขนทั้งหลายมีรากเน่าก็หล่นตกจากกาย มนุษย์ทั้งหลายเห็นอาตมภาพแล้วกล่าวกันอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมดําไป. มนุษย์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่ดํา เป็นแต่คล้ำไป. มนุษย์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า จะว่าพระสมณโคดมดําไปก็ไม่ใช่ จะว่าคล้ำไปก็ไม่ใช่ เป็นแต่พร้อยไป. ดูก่อนราชกุมาร ฉวีวรรณอันบริสุทธิ์ผุดผ่องของอาตมภาพถูกกําจัดเสียแล้ว เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อยนั่นเอง.

[๕๐๔] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ จักไม่ยิ่งไปกว่านี้. สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน ได้เสวยอยู่ซึ่งทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ จะไม่ยิ่งไปกว่านี้. แต่เราก็ไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัศนวิเสส [ความรู้ความเห็นของพระอริยะอันวิเศษอย่างสามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์] ด้วยทุกกรกิริยาที่เผ็ดร้อนนี้ จะพึงมีทางเพื่อตรัสรู้อย่างอื่นกระมังหนอ.

เสวยพระกระยาหาร

[๕๐๕] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า เราจําได้อยู่ เมื่องานวัปปมงคลของท้าวศากยะผู้พระบิดา เรานั่งอยู่ที่ร่มไม้หว้าอันเยือกเย็น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 117

และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนี้แลหนอ พึงเป็นทางเพื่อตรัสรู้. อาตมภาพได้มีความรู้สึกอันแล่นไปตามสติว่าทางนี้แหละ เป็นทางเพื่อตรัสรู้. อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า เราจะกลัวแต่สุขซึ่งเป็นสุขเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมหรือ. และมีความคิดเห็นต่อไปว่า เราไม่กลัวแต่สุขซึ่งเป็นสุขเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมละ การที่บุคคลผู้มีกายผอมเหลือเกินอย่างนี้ จะถึงความสุขนั้น ไม่ใช่ทําได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงบริโภคอาหารหยาบคือข้าวสุก ขนมสดเถิด. อาตมภาพจึงบริโภคอาหารหยาบคือข้าวสุก ขนมสด. ก็สมัยนั้น ปัญจวัคคีย์ภิกษุ บํารุงอาตมภาพอยู่ด้วยหวังว่าพระสมณโคดมจักบรรลุธรรมใด ก็จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย นับแต่อาตมภาพบริโภคอาหารหยาบคือข้าวสุก ขนมสด ปัญจวัคคีย์ภิกษุก็พากันเบื่อหน่ายจากอาตมภาพหลีกไปด้วยความเข้าใจว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากไปเสียแล้ว. ครั้นอาตมภาพบริโภคอาหารหยาบมีกําลังขึ้นแล้ว ก็สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.

บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.

มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ตติยฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข.

บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

[๕๐๖] อาตมภาพนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 118

โน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ. อาตมภาพนั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ อาตมภาพนั้นย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้. ดูก่อนราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่หนึ่งที่อาตมภาพได้บรรลุแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่อาตมภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.

[๕๐๗] อาตมภาพนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย. อาตมภาพนั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้. ดูก่อนราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่สองที่อาตมภาพได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชาถูกกําจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกําจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่อาตมภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียรมีตนส่งไปแล้วอยู่.

[๕๐๘] อาตมภาพนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ. ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้ อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา. เมื่ออาตมภาพนั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 119

อย่างนี้มิได้มี. ดูก่อนราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่สามที่อาตมภาพได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาถูกกําจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกําจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่อาตมภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.

ความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย

[๕๐๙] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพนั้นได้มีความคิดเห็นว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้เป็นธรรมลึก ยากที่จะเห็นได้ สัตว์อื่นจะตรัสรู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงได้ด้วยความตรึก เป็นธรรมละเอียด อันบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง. ก็หมู่สัตว์นี้มีความอาลัยเป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในความอาลัย บันเทิงนักในความอาลัย. ก็การที่หมู่สัตว์ผู้มีความอาลัยเป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในความอาลัย บันเทิงนักในความอาลัย จะเห็นฐานะนี้ได้โดยยาก คือ สภาพที่อาศัยกันเกิดขึ้นเพราะความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย. แม้ฐานะนี้ก็เห็นได้ยาก คือ สภาพเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความปราศจากความกําหนัด ความดับโดยไม่เหลือ นิพพาน. ก็เราพึงแสดงธรรม และสัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่รู้ทั่วถึงธรรมของเรา นั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่า เป็นความลําบากเปล่าของเรา. ดูก่อนราชกุมาร ทีนั้น คาถาอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแจ่มแจ้งกะอาตมภาพว่า

บัดนี้ ยังไม่สมควรจะประกาศธรรมที่เราบรรลุได้โดยยาก ธรรมนี้อันสัตว์ทั้งหลาย ผู้ถูกราคะโทสะครอบงํา ไม่ตรัสรู้ได้ง่าย สัตว์ทั้งหลาย อันราคะย้อม

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 120

แล้ว อันกองมืดหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็น ธรรม อันยังสัตว์ให้ไปทวนกระแส ละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู ดั้งนี้.

ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออาตมภาพเห็นตระหนักอยู่ดังนี้ จิตของอาตมาภาพก็น้อมไปเพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม.

[๕๑๐] ดูก่อนราชกุมาร ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกแห่งใจของอาตมภาพด้วยใจแล้ว ได้มีความปริวิตกว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ โลกจะฉิบหายละหนอ ดูก่อนท่านผู้เจริญ โลกจะฉิบหายละหนอ เพราะจิตของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าน้อมไปเพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม. ครั้นแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมหายไปในพรหมโลกมาปรากฏข้างหน้าของอาตมภาพ เปรียบเหมือนบุรุษมีกําลัง พึงเหยียดแขนที่คู้ออก หรือพึงคู้แขนที่เหยียดเข้าฉะนั้น. ลําดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีมาทางอาตมภาพแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรมเถิด สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยมีอยู่ ย่อมจะเสื่อมเพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์ทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักยังมีอยู่.

ดูก่อนราชกุมาร ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวคํานี้แล้ว ครั้นแล้ว ภายหลังได้กล่าวคาถาประพันธ์อื่นนี้อีกว่า

ธรรมที่ผู้มีมลทินทั้งหลายคิดกันแล้ว ไม่บริสุทธิ์ ได้ปรากฏในชนชาวมคธทั้งหลายมาก่อนแล้ว ขอพระองค์จงเปิดอริยมรรค อันเป็นประตูพระนิพพานเถิด

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 121

ขอสัตว์ทั้งหลายจงได้ฟังธรรมที่พระองค์ผู้ปราศจากมลทิน ตรัสรู้แล้วเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้มีเมธาดี มีจักษุรอบคอบ ขอพระองค์ผู้ปราศจากความโศก จงเสด็จขึ้นปัญญาปราสาทอันแล้วด้วยธรรม ทรงพิจารณาดูประชุมชนผู้เกลื่อนกล่นด้วยความโศก อันชาติชราครอบงําแล้ว เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขาหินล้วน พึงเห็นประชุมชนโดยรอบ ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า ทรงชนะสงความแล้ว ผู้นําสัตว์ออกจากกันดาร ผู้ไม่เป็นหนี้ ขอจงเสด็จลุกขึ้นเที่ยวไปในโลกเถิด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมเถิด สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงจักมีอยู่.

สัตว์เปรียบด้วยดอกบัว ๓ เหล่า

[๕๑๑] ดูก่อนราชกุมาร ครั้นอาตมภาพทราบว่าท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนาและอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ. เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปรกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี. เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 122

หรือดอกบัวขาว ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด ฉันใด. ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้น ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปรกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี.

ดูก่อนราชกุมาร ครั้งนั้น อาตมภาพได้กล่าวรับท้าวสหัมบดีพรหมด้วยคาถาว่า

ดูก่อนพรหม เราเปิดประตูอมตนิพพานแล้ว เมื่อสัตว์ทั้งหลายผู้มีโสต จงปล่อยศรัทธามาเถิด เราสําคัญว่าจะลําบาก จึงไม่กล่าวธรรมอันคล่องแคล่ว ประณีต ในมนุษย์ทั้งหลาย.

ลําดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิดโอกาสเพื่อจะแสดงธรรมแล้ว จึงอภิวาทอาตมภาพ ทําประทักษิณ แล้วหายไปในที่นั้นเอง.

ทรงปรารภปฐมเทศนา

[๕๑๒] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความดําริว่า เราพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน.ครั้นแล้วอาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรนี้ เป็นบัณฑิต ฉลาด มีเมธา มีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยมานาน ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรมแก่อาฬารดาบส กาลามโคตรก่อนเถิด เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้โดยฉับพลัน. ทีนั้น เทวดาทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 123

เข้ามาหาอาตมภาพแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาฬารดาบส กาลามโคตร ทําการละเสียเจ็ดวันแล้ว. และความรู้ความเห็นก็เกิดขึ้นแก่อาตมภาพว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร ทํากาละเสียเจ็ดวันแล้ว. อาตมภาพได้มีความคิคเห็นว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร เป็นผู้เสื่อมใหญ่แล ก็ถ้าเธอพึงได้ฟังธรรมนี้ พึงรู้ทั่วถึงได้ฉับพลันทีเดียว. ครั้นแล้วอาตมาภาพได้มีความดําริว่า เราพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน. แล้วอาตมาภาพได้มีความคิดเห็นว่า อุทกดาบสรามบุตรนี้ เป็นบัณฑิต ฉลาด มีเมธา มีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยมานาน ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรมแก่อุทกดาบสรามบุตรก่อนเถิด เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน. ทีนั้น เทวดาทั้งหลายเข้ามาหาอาตมภาพ แล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุทกดาบสรามบุตรทํากาละเสียแล้วเมื่อพลบค่ํานี้เอง. และความรู้ความเห็นก็เกิดขึ้นแก่อาตมภาพว่า อุทกดาบสรามบุตร ทํากาละเสียแล้วเมื่อพลบค่ํานี้เอง. อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า อุทกดาบสรามบุตรเป็นผู้เสื่อมใหญ่แล ก็ถ้าเธอพึงได้ฟังธรรมนี้ ก็จะพึงรู้ทั่วถึงได้ฉับพลันทีเดียว. ครั้นแล้ว อาตมภาพได้มีความดำริว่า เราพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน. แล้วอาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะแก่เรามาก บํารุงเราผู้มีตนส่งไปแล้ว เพื่อความเพียร ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อนเถิด. แล้วอาตมภาพได้มีความดําริว่า เดี๋ยวนี้ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ. ก็ได้เห็นภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. ครั้นอาตมภาพอยู่ที่ตําบลอุรุเวลาตามควรแล้ว จึงได้หลีกจาริกไปทางเมืองพาราณสี.

[๕๑๓] ดูก่อนราชกุมาร อุปกาชีวกได้พบอาตมภาพผู้เดินทางไกล ที่ระหว่างแม่น้ำคยาและไม้โพธิ์ต่อกัน แล้วได้กล่าวกะอาตมภาพว่า ดูก่อน

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 124

ผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร.

ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออุปกาชีวกกล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมภาพได้กล่าวตอบอุปกาชีวกด้วยคาถาว่า

เราเป็นผู้ครอบงําธรรมทั้งปวง เป็นผู้รู้ธรรมทั้งปวง อันตัณหาและทิฐิไม่ติดแล้วในธรรมทั้งปวง เป็นผู้ละธรรมทั้งปวง น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว รู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเอง จะพึงเจาะจงใครเล่า อาจารย์ของเราไม่มี คนผู้เช่นกับด้วยเราก็ไม่มี บุคคลผู้เปรียบด้วยเรา ไม่มีในโลกกับทั้งเทวโลก เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลก เป็นศาสดา ไม่มีศาสดาอันยิ่งขึ้นไปกว่า เราผู้เดียวตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้เย็น เป็นผู้ดับสนิทแล้ว เราจะไปยังเมืองกาสี เพื่อจะยังธรรมจักรให้เป็นไป เมื่อสัตวโลกเป็นผู้มืด เราได้ตีกลองประกาศอมตธรรมแล้ว.

อุปกาชีวกถามว่าดูก่อนผู้มีอายุ ท่านปฏิญาณว่า ท่านเป็นพระอรหันต์อนันตชินะ (ผู้ชนะไม่มีที่สิ้นสุด) ฉะนั้นหรือ.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 125

อาตมภาพตอบว่า

ชนทั้งหลายผู้ถึงธรรมที่สิ้นตัณหาเช่นเราแหละ ชื่อว่าเป็นผู้ชนะ บาปธรรมทั้งหลายอันเราชนะแล้ว เหตุนั้นแหละ อุปกะ เราจึงว่า ผู้ชนะ.

ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว อุปกาชีวก กล่าวว่า พึงเป็นให้พอเถิดท่าน สั่นศีรษะแลบลิ้นแล้วหลีกไปคนละทาง.

เสด็จเข้าไปหาปัญจวัคคีย์

[๕๑๔] ครั้งนั้น อาตมภาพเที่ยวจาริกไปโดยลําดับ ได้เข้าไปหาภิกษุปัญจวัคคีย์ยังป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี. ดูก่อนราชกุมาร ภิกษุปัญจวัคคีย์ ได้เห็นอาตมภาพกําลังมาแต่ไกลเทียว แล้วได้ตั้งกติกาสัญญากันไว้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมพระองค์นี้ เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก กําลังมาอยู่ เราทั้งหลายไม่พึงกราบไหว้ ไม่พึงลุกรับ ไม่พึงรับบาตรและจีวร แต่พึงแต่งตั้งอาสนะไว้ ถ้าเธอปรารถนาก็จักนั่ง. อาตมภาพเข้าไปใกล้ภิกษุปัญจวัคคีย์ ด้วยประการใดๆ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ไม่อาจจะตั้งอยู่ในกติกาของตน ด้วยประการนั้นๆ บางรูปลุกรับอาตมาภาพ รับบาตรและจีวร บางรูปปูลาดอาสนะ บางรูปตั้งน้ำล้างเท้า แต่ยังร้องเรียกอาตมาภาพโดยชื่อ และยังใช้คําว่า อาวุโส.

เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวเช่นนี้ อาตมาภาพได้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าร้องเรียกตถาคตโดยชื่อ และใช้คําว่าอาวุโสเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 126

ปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไรก็จักทําให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสโคดม แม้ด้วยอิริยาบถนั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น ท่านยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสนวิเสสเลย ก็เดี๋ยวนี้ท่านเป็นคนมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสนวิเสสอย่างไรเล่า.

เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวเช่นนี้แล้ว อาตมภาพได้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ได้เป็นคนมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจักสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไรก็จักทําให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่. ดูก่อนราชกุมาร แม้ครั้งที่สอง ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสโคดม แม้ด้วยอิริยาบถนั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น ท่านยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสนวิเสสเลย ก็เดี๋ยวนี้ ท่านเป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสนวิเสสได้อย่างไรเล่า. ดูก่อนราชกุมาร แม้ครั้งที่สอง อาตมภาพก็ได้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ได้เป็นคนมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 127

เราจะแสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไรก็จักทําให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่. ดูก่อนราชกุมาร แม้ครั้งที่สาม ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสโคดม แม้ด้วยอิริยาบถนั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น ท่านยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสนวิเสสเลย ก็เดี๋ยวนี้ ท่านเป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญานทัสนวิเสสได้อย่างไรเล่า.

เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวเช่นนี้ อาตมาภาพได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจําได้หรือไม่ว่า ในกาลก่อนแต่นี้ เราได้กล่าวคําเห็นปานนี้.

ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้ตอบว่า หามิได้ พระเจ้าข้า.

อาตมภาพจึงได้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไรก็จักทําให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่.

ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพสามารถให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ยินยอมแล้ว. วันหนึ่ง อาตมาภาพกล่าวสอนภิกษุแต่สองรูป. ภิกษุสามรูปไปเที่ยวบิณฑบาต. ภิกษุสามรูปไปเที่ยวบิณฑบาตได้สิ่งใดมา ภิกษุทั้งหกรูปก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้น. อาตมภาพกล่าวสอนภิกษุแต่สามรูป. ภิกษุสองรูปไปเที่ยวบิณฑบาต ได้สิ่งใดมา ภิกษุทั้งหกรูปก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้น.

ครั้งนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์ที่อาตมภาพกล่าวสอน พร่ําสอนอยู่เช่นนี้ ไม่นานเลย ก็ทําให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 128

ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่.

[๕๑๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โพธิราชกุมาร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุได้พระตถาคตเป็นผู้แนะนําโดยกาลนานเพียงไรหนอ จึงทําให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่าที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราชกุมาร ถ้ากระนั้น ในข้อนี้ อาตมภาพจักย้อนถามบพิตรก่อน บพิตรพึงตอบตามที่พอพระทัย บพิตรจักทรงสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บพิตรเป็นผู้ฉลาดในศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอหรือ.

โพธิราชกุมารทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า หม่อมฉันเป็นผู้ฉลาดในศิลปศาสตร์ คือการขึ้นช้าง การถือขอ.

[๕๑๖] ดูก่อนราชกุมาร บพิตรจักทรงสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษพึงมาในเมืองนี้ด้วยคิดว่า โพธิราชกุมารทรงรู้ศิลปศาสตร์ คือการขึ้นช้าง การถือขอ เราจักศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสํานักโพธิราชกุมารนั้น. แต่เขาไม่มีศรัทธา จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีศรัทธาพึงบรรลุ ๑ เขามีอาพาธมาก จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีอาพาธน้อยพึงบรรลุ ๑ เขาเป็นคนโอ้อวด มีมายา จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายาพึงบรรลุ ๑ เขาเป็นผู้เกียจคร้าน จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ปรารภความเพียรพึงบรรลุ ๑ เขาเป็นผู้มีปัญญาทราม จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีปัญญาพึงบรรลุ ๑ ดูก่อนราชกุมาร บพิตรจะทรงสําคัญความข้อนั้น

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 129

เป็นไฉน บุรุษนั้นควรจะศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสํานักของบพิตรบ้างหรือหนอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นแม้จะประกอบด้วยองค์เพียงองค์หนึ่ง ก็ไม่ควรจะศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสํานักของหม่อมฉัน จะป่วยกล่าวไปไยถึงครบองค์ห้าเล่า.

ตรัสถามถึงการขึ้นช้างเป็นต้น

[๕๑๗] ดูก่อนราชกุมาร บพิตรจักทรงสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษพึงมาในเมืองนี้ ด้วยคิดว่า โพธิราชกุมาร ทรงรู้ศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ เราจักศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสํานักโพธิราชกุมารนั้น. เขาเป็นผู้มีศรัทธา จะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีศรัทธาพึงบรรลุ ๑ เขาเป็นผู้มีอาพาธน้อยจะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีอาพาธน้อยพึงบรรลุ ๑ เขาเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา จะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงบรรลุ ๑ เขาเป็นผู้ปรารภความเพียร จะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ปรารภความเพียรพึงบรรลุ ๑ เขาเป็นผู้มีปัญญา จะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีปัญญาพึงบรรลุ ๑. ดูก่อนราชกุมาร บพิตรจะทรงสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นควรจะศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสํานักของบพิตรบ้างหรือหนอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นแม้ประกอบด้วยองค์เพียงองค์หนึ่ง ก็ควรจะศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสํานักของหม่อมฉันได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงครบองค์ห้าเล่า.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 130

องค์ของผู้มีความเพียร ๕

[๕๑๘] ดูก่อนราชกุมาร องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ เหล่านี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน องค์ภิกษุผู้มีความเพียร ๕ เป็นไฉน.

๑. ดูก่อนราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกพระธรรม.

๒. เธอเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสําหรับย่อยอาหารสม่ําเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง ควรแก่ความเพียร.

๓. เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เปิดเผยตนตามความเป็นจริง ในพระศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญูทั้งหลาย.

๔. เธอเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้เข้าถึงพร้อม เป็นผู้มีกําลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.

๕. เธอเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิดและดับเป็นอริยะ สามารถชําแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

ดูก่อนราชกุมาร องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้แล. ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้แล เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนํา พึงทําให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] เจ็ดปี. ดูก่อนราชกุมาร เจ็ดปี

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 131

จงยกไว้. ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนําพึงทําให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าพึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] หกปี... ห้าปี... สี่ปี... สามปี... สองปี... หนึ่งปี. ดูก่อนราชกุมาร หนึ่งปีจงยกไว้. ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนํา พึงทําให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] เจ็ดเดือน. ดูก่อนราชกุมาร เจ็ดเดือนจงยกไว้. ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนํา พึงทําให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] หกเดือน... ห้าเดือน... สี่เดือน... สามเดือน... สองเดือน... หนึ่งเดือน... ครึ่งเดือน. ดูก่อนราชกุมาร ครึ่งเดือนจงยกไว้. ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนํา พึงทําให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] เจ็ดคืนเจ็ดวัน. ดูก่อนราชกุมาร เจ็ดคืนเจ็ดวันจงยกไว้. ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนํา พึงทําให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมยิ่งอื่นกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นพรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] หกคืนหกวัน... ห้าคืนห้าวัน... สี่คืนสี่วัน... สามคืนสามวัน... สอง

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 132

คืนสองวัน... หนึ่งคืนหนึ่งวัน. ดูก่อนราชกุมาร หนึ่งคืนหนึ่งวันจงยกไว้. ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนํา ตถาคตสั่งสอนในเวลาเย็น จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเช้า ตถาคตสั่งสอนในเวลาเช้า จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเย็น.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โพธิราชกุมารได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้ามีพระคุณเป็นอัศจรรย์ พระธรรมมีพระคุณเป็นอัศจรรย์ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วเป็นอัศจรรย์ เพราะภิกษุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนในเวลาเย็น จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเช้า ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนในเวลาเช้า จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเย็น.

[๕๑๙] เมื่อโพธิราชกุมารตรัสอย่างนี้แล้ว มาณพสัญชิกาบุตรได้ทูลโพธิราชกุมารว่า ก็ท่านโพธิราชกุมารองค์นี้ ทรงประกาศไว้ว่า พระพุทธเจ้ามีพระคุณเป็นอัศจรรย์ พระธรรมมีพระคุณเป็นอัศจรรย์ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วเป็นอัศจรรย์อย่างนี้เท่านั้น ก็แต่ท่านหาได้ทรงถึงพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสมณะไม่.

ว่าด้วยไตรสรณคมน์

[๕๒๐] โพธิราชกุมารตรัสว่า ดูก่อนเพื่อนสัญชิกาบุตร ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ดูก่อนเพื่อนสัญชิกาบุตร ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ดูก่อนสัญชิกาบุตร เรื่องนั้นเราได้ฟังมา ได้รับมาต่อหน้าเจ้าแม่ของเราแล้ว คือครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้น เจ้าแม่ของเรากําลังทรงครรภ์ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลูกคนอยู่ในครรภ์ของหม่อมฉันนี้

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 133

เป็นชายก็ตาม เป็นหญิงก็ตาม เขาย่อมถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจําเขาว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดูก่อนเพื่อนสัญชิกาบุตร ครั้งหนึ่ง พระผู้มีภาคเจ้าประทับอยู่ในป่าเภสกฬามิคทายวัน ใกล้เมืองสุงสุมารคิระ ในภัคคชนบทนี้แล ครั้งนั้น แม่นมอุ้มเราเข้าสะเอวพาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพธิราชกุมารพระองค์นี้ ย่อมถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจําโพธิราชกุมารนั้นว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดูก่อนเพื่อนสัญชิกาบุตร เรานี้ย่อมถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ แม้ในครั้งที่สาม ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจําหม่อมฉันว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนี้แล.

จบโพธิราชกุมารสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 134

อรรถกถาโพธิราชกุมารสูตร

โพธิราชกุมารสูตรมีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

ในสูตรนั้น บทว่า โกกนโท ความว่า ดอกปทุมท่านเรียกว่าโกกนท. ก็ปราสาทอันเป็นมงคลนั้น ท่านสร้างแสดงให้เหมือนดอกปทุมที่มองเห็นอยู่ เพราะฉะนั้น จึงถึงการนับว่า โกกนทปราสาท.

แผ่นบันไดขั้นแรก ท่านเรียกว่า บันไดขั้นสุดท้าย ในคําว่า ยาว ปจฺฉิมโสปานกเฬวรา นี้.

บทว่า อทฺทสา โข ความว่า ผู้ที่ยืนอยู่ที่ซุ้มประตูนั้นแล เพื่อต้องการดู ก็เห็นแล้ว.

บทว่า ภควา ตุณฺหี อโหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรําพึงอยู่ว่า พระราชกุมารทรงกระทําสักการะใหญ่นี้เพื่อประสงค์อะไรหนอ จึงทรงทราบว่า ทรงกระทําเพราะปรารถนาพระโอรส.

ก็พระราชกุมารนั้นไม่มีโอรส ทรงปรารถนาพระโอรส ได้ยินว่า ชนทั้งหลายกระทําอธิการ การกระทําที่ยิ่งใหญ่ แด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงจะได้สิ่งดังที่ใจปรารถนา ดังนี้. พระองค์ทรงกระทําความปรารถนาว่า ถ้าเราจักได้บุตรไซร้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จักทรงเหยียบแผ่นผ้าน้อยของเรา ถ้าเราจักไม่ได้ก็จักไม่ทรงเหยียบ จึงรับสั่งให้ลาดผ้าไว้.

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรําพึงว่า บุตรของพระราชานี้จักบังเกิดหรือไม่หนอ แล้วทรงเห็นว่า จักไม่บังเกิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ได้ยินว่า ในปางก่อน พระราชานั้นทรงอยู่ในเกาะแห่งหนึ่ง ทรงกินลูกนก ด้วยมีฉันทะเสมอกัน. ถ้าหากมาตุคามของพระองค์จะพึงมีจิตเป็นอย่างอื่นไซร้ ก็จะได้บุตร แต่คนทั้งสอง มีฉันทะเสมอกัน กระทําบาปกรรมไว้ ฉะนั้น บุตรของเขาจึงไม่เกิด ดังนี้. แต่เมื่อ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 135

เราเหยียบผ้า พระราชกุมารก็จะถือเอาผิดได้ว่า เสียงเล่าลือกันในโลกว่า บุคคลทําอธิการแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ย่อมจะได้สิ่งที่ตนปรารถนาแล้วๆ เราเองได้กระทําอภินิหารเสียมากมายด้วย เราก็ไม่ได้บุตรด้วย คําเล่าลือนี้ไม่จริง.

แม้พวกเดียรถีย์ทั้งหลายก็จะติเตียนว่า ชื่อว่า สิ่งที่ไม่ควรทําของสมณะทั้งหลายไม่มี พวกสมณะเหยียบย่ําผ้าน้อยเที่ยวไป ดังนี้.

และเมื่อเหยียบไปในบัดนี้ ภิกษุเป็นอันมากเป็นผู้รู้จิตของคนอื่น ภิกษุเหล่านั้น ทราบว่าควรก็จักเหยียบ ที่ทราบว่าไม่ควรก็จักไม่เหยียบ ก็ในอนาคตจักมีอุปนิสัยน้อย ชนทั้งหลายจักไม่รู้อนาคต. เมื่อภิกษุเหล่านั้นเหยียบ ถ้าสิ่งที่เขาปรารถนา สําเร็จไซร้ ข้อนั้นก็จักว่าเป็นความดี ถ้าไม่สําเร็จ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงปรารถนาจะเหยียบจึงทรงนิ่งเสีย ด้วยเหตุเหล่านี้ คือ พวกมนุษย์จักมีความเดือดร้อนในภายหลังว่า แต่ก่อนบุคคลกระทําอภินิหารแก่ภิกษุสงฆ์ ย่อมได้สิ่งที่ปรารถนาแล้วๆ การทำนั้น บัดนี้ หาได้ไม่ ภิกษุทั้งหลายที่ปฏิบัติบริบูรณ์ เห็นจะเป็นพวกภิกษุเหล่านั้น ภิกษุพวกนี้ ย่อมไม่อาจปฏิบัติให้สมบูรณ์ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเหยียบผืนผ้าน้อย. (๑) แต่เมื่อภิกษุทั้งหลายไม่ก้าวล่วงบทบัญญัติ เพื่อความเป็นมงคล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงวางอนุบัญญัติเพื่อให้เหยียบได้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์ต้องการมงคล เราอนุญาตเพื่อความเป็นมงคลแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ดังนี้. (๒)

บทว่า ปจฺฉิมํ ขนตํ ตถาคโต อปโลเกติ ความว่า พระเถระกล่าวหมายเอาเหตุที่ ๓ ในบรรดาเหตุที่กล่าวแล้ว.

ท่านกล่าวคําว่า น โข สุเขน สุขํ เพราะเหตุไร. ท่านสําคัญอยู่ว่า ชะรอยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังมีความสําคัญในกามสุขัลลิกานุโยค จึงไม่ทรงเหยียบ เพราะฉะนั้น แม้เราก็จักมีฉันทะเสมอ


(๑) วิ. ๔/๒๖๗ ๗/๔๙

(๒) วิ. ๔/๒๖๘ ๗/๔๙

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 136

ด้วยพระศาสดา ดังนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น.

บทว่า โส โข อหํ เป็นอาทิ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในมหาสัจจกะ (๑) จนถึง ยาว รตฺติยา ปจฺฉิเม ยาเม. ต่อจากนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในปาสราสิสูตร (๒) ตั้งแต่ ปฺจวคฺคิยานํ อาสวกฺขยา.

บทว่า องฺกุสคณฺเห สิปฺเป ศิลปะของผู้ถือขอ. บทว่ากุสโอ อหํ ความว่า เราเป็นผู้ฉลาด. ก็กุมารนี้ เรียนศิลปะในสํานักของใคร. บิดาเรียนในสํานักของปู่ กุมารนี้ก็เรียนในสํานักบิดา.

ได้ยินมาว่า ในพระนครโกสัมพี พระราชาพระนามว่า ปรันตปะ ทรงครองราชย์อยู่. พระราชมเหสีมีพระครรภ์แก่ทรงนั่งห่มผ้ากัมพลมีสีแดง ผิงแดดอ่อนอยู่กับพระราชาที่ชายพระตําหนัก. มีนกหัสดีลิงค์ตัวหนึ่ง สําคัญว่าเป็นชิ้นเนื้อบินมาโฉบเอา (พระนาง) ไปทางอากาศ. พระนางเกรงว่านกจะทิ้งพระองค์ลง จึงทรงเงียบเสียงเสีย. นกนั้นพาพระนางไปลงที่ค่าคบไม้ ณ เชิงเขาแห่งหนึ่ง. พระนางจึงตบพระหัตถ์ทําเสียงดังขึ้น. นกก็ตกใจหนีไปแล้ว พระนางก็คลอดพระโอรสบนค่าคบไม้นั้นนั่นแล. เมื่อฝนตกลงมาในกลางคืน. เวลายามสาม พระนางจึงเอาผ้ากัมพลห่มประทับนั่งอยู่. และในที่ไม่ไกลเชิงเขานั้น มีดาบสรูปหนึ่งอาศัยอยู่. ด้วยเสียงร้องของพระนางนั้น ดาบสจึงมายังโคนไม้เมื่ออรุณขึ้น ถามพระนางถึงชาติ แล้วพาดบันไดให้นางลงมา พาไปยังที่อยู่ของตนให้ดื่มข้าวยาคู. เพราะทารกถือเอาฤดูแห่งเมฆและฤดูแห่งภูเขาเกิดแล้ว จึงตั้งชื่อว่า อุเทน. พระดาบสหาผลไม้มาเลี้ยงดูชนทั้ง ๒. วันหนึ่ง พระนางกระทําการต้อนรับในเวลาดาบสกลับ แสดงมารยาของหญิงทําดาบสให้ถึงสีลเภทแล้ว. เมื่อคนเหล่านั้นอยู่ร่วมกัน กาลเวลาก็ผ่านไป พระเจ้าปรันตปะ


(๑) ม. ๑/๒๙๙ ๑๒/๒๓๔

(๒) ม. ๑/๒๑๖ ๑๒/๒๓๑

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 137

สวรรคตแล้ว. ดาบสแหงนดูนักษัตรในเวลาราตรีก็รู้ว่าพระราชาสวรรคต จึงถามว่า พระราชาของท่านสวรรคตแล้ว ต้องการจะให้บุตรของท่านอยู่ในที่นี้หรือ หรือจะให้ยกฉัตรในราชสมบัติของพระบิดา. พระนางจึงเล่าความเป็นมาทั้งหมดตั้งแต่ต้นมาแก่พระโอรส ทราบว่า พระโอรสต้องการจะยกเศวตฉัตรของพระบิดา จึงบอกแก่ดาบส. ก็ดาบสรู้วิชาจับช้าง. ถามว่าวิชานั้นดาบสได้มาแต่ไหน. ตอบว่า ได้มาแต่สํานักท้าวสักกะ. ได้ยินว่า ในกาลก่อนท้าวสักกะเสด็จมาบํารุงดาบสนั้น ได้ถามว่า พระคุณเจ้าลําบากด้วยเรื่องอะไรบ้าง. พระดาบสจึงทูลว่า มีอันตรายเกี่ยวกับช้าง. ท้าวสักกะจึงประทานวิชาจับช้างและพิณแก่ดาบสนั้น ตรัสสอนว่า เมื่อต้องการจะให้ช้างหนีจงดีดสายนี้แล้วร่ายโศลกนี้ เมื่อมีความประสงค์จะให้ช้างมา ก็จงร่ายโศลกนี้ ดังนี้. ดาบสจึงสอนศิลปะนั้นแก่กุมาร. พระกุมารนั้นขึ้นต้นไม้ไทรต้นหนึ่ง เมื่อช้างทั้งหลายมาแล้ว ก็ดีดพิณร่ายโศลก. ช้างทั้งหลายกลัวหนีไปแล้ว. พระกุมารทราบอานุภาพของศิลปะ วันรุ่งขึ้นจึงประกอบศิลปะเรียกช้าง. ช้างที่เป็นจ่าฝูงก็มาน้อมคอเข้าไปใกล้. พระกุมารขึ้นคอช้างแล้วเลือกช้างหนุ่มๆ ที่พอจะรบได้แล้ว ถือเอาผ้ากัมพลและพระธํามรงค์ไปไหว้มารดาบิดาออกไปโดยลําดับ เข้าไปยังหมู่บ้านนั้นๆ รวบรวมคนบอกว่า เราเป็นโอรสของพระราชา ต้องการสมบัติจึงได้มา แล้วไปล้อมพระนครไว้แจ้งว่า เราเป็นโอรสของพระราชา ขอท่านทั้งหลายจงมอบฉัตรแก่เรา เมื่อพวกเขาไม่เชื่ออยู่ ก็แสดงผ้ากัมพลและพระธํามรงค์ให้ดู ได้ยกฉัตรขึ้นครองราชย์แล้ว. พระราชานั้นมีพระทัยใส่แต่ช้าง เมื่อเขาทูลว่าที่ตรงโน้นมีช้างงาม ก็ทรงเสด็จไปจับ. พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงดําริว่า เราจักเรียนศิลปะในสํานักของพระเจ้าอุเทนนั้น จึงรับสั่งให้ประกอบช้างไม้ขึ้น จัดให้ทหารนั่งอยู่ภายในช้างไม้นั้น พอพระราชานั้นเสด็จมาเพื่อทรงจับช้าง ก็ถูกจับได้ ส่งพระธิดาไปเพื่อเรียนศิลปะจับช้างในสํานัก

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 138

ของพระราชา. พระองค์ได้สําเร็จสังวาสกันกับพระธิดานั้น แล้วพากันหนีไปยังพระนครของพระองค์. พระโพธิราชกุมารนี้ทรงเกิดในพระครรภ์ของพระธิดานั้น จึงได้เรียนศิลปะ (มนต์) ในสํานักของพระชนกของพระองค์.

บทว่า ปธานิยงฺคานิ ความว่า ความเริ่มตั้ง ท่านเรียกว่า ปธานะ (ความเพียร). ความเพียรของภิกษุนั้นมีอยู่ เหตุนั้นภิกษุนั้น ชื่อว่า ปธานียะ ผู้มีความเพียร. องค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร เหตุนั้น ชื่อว่า ปธานิยังคะ.

บทว่า สทฺโธ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยศรัทธา. ก็ศรัทธานั้นมี ๔ ประการ คือ อาคมนศรัทธา ๑ อธิคมนศรัทธา ๑ โอกัปปนศรัทธา ๑ ปสาทศรัทธา ๑.

ในบรรดาศรัทธา ๔ อย่างนั้น ความเชื่อต่อพระสัพพัญูโพธิสัตว์ ชื่อว่า อาคมนศรัทธา เพราะมาแล้วจําเดิมแต่ตั้งความปรารถนา. ชื่อว่าอธิคมนศรัทธา เพราะบรรลุแล้วด้วยการแทงตลอดแห่งพระอริยสาวกทั้งหลาย. ความปลงใจเชื่อโดยความไม่หวั่นไหวเมื่อเขากล่าวว่า พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ชื่อว่า โอกัปปนศรัทธา. ความบังเกิดขึ้นแห่งความเลื่อมใส ชื่อว่า ปสาทศรัทธา. ในที่นี้ประสงค์เอาโอกัปปนศรัทธา.

บทว่า โพธิ ได้แก่ มัคคญาณ ๔. บุคคลย่อมเชื่อว่า พระตถาคตทรงแทงตลอดมัคคญาณ ๔ นั้นดีแล้ว. อนึ่ง คํานี้เป็นยอดแห่งเทศนาทีเดียว. ก็ความเชื่อในพระรัตนะทั้ง ๓ ท่านประสงค์เอาแล้วด้วยองค์นี้. คือ ผู้ใดมีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเป็นต้น อย่างแรงกล้า ปธานวีริยะของผู้นั้น ย่อมสําเร็จ.

บทว่า อปฺปาพาโธ ได้แก่ ความไม่มีโรค.

บทว่า อปฺปาตงฺโก ได้แก่ ความไม่มีทุกข์.

บทว่า สมเวปากินิยา ความว่า มีวิปากเสมอกัน.

บทว่า คหณิยา ได้แก่ เตโชธาตุ อันเกิดแต่กรรม.

บทว่า นาติสีตาย นาจฺจุณฺหาย ความว่า ก็ผู้มีธาตุอันเย็นจัด ก็กลัวความเย็น ผู้มีธาตุร้อนจัด ก็กลัวความร้อน. ความเพียรของคนเหล่านั้นจะไม่สําเร็จ. จะสําเร็จแก่ผู้มีธาตุเป็นกลางๆ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มชฺฌิมาย

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 139

ปธานกฺขมาย.

บทว่า ยถาภูตํ อตฺตานํ อาวิกตฺตา ความว่า ประกาศโทษใช่คุณของตนตามเป็นจริง.

บทว่า อุทยตฺถคามินิยา ความว่า สามารถเพื่อจะถึง คือ จะกําหนดถึงความเกิดและความดับ. ด้วยคํานี้ท่านกล่าวถึงอุทยัพพยญาณอันกําหนดลักษณะ ๕๐.

บทว่า อริยาย ได้แก่บริสุทธิ์.

บทว่า นิพฺเพธิกาย ความว่า สามารถชําแรกกองโลภเป็นต้นได้ในกาลก่อน.

บทว่า สมฺมาทุกฺขกฺขยคามินิยา ความว่า ให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์ที่จะต้องทําให้สิ้นนั้น เพราะละกิเลสทั้งหลายเสียได้ด้วยตทังคปหาน.

ด้วยบทเหล่านี้ทั้งหมดตรัสวิปัสสนาปัญญาอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้.

จริงอยู่ ความเพียรย่อมไม่สําเร็จแก่ผู้มีปัญญาทราม.

อนึ่ง ด้วยคํานี้พึงทราบว่า องค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียรทั้งห้าเป็นโลกิยะเท่านั้น.

บทว่า สายมนุสิฏโ ปาโต วิเสสมธิคจฺฉติ สอนตอนเย็น บรรลุคุณวิเศษในตอนเช้า ความว่า เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคต ก็พร่ําสอน พออรุณขึ้นก็บรรลุคุณวิเศษ.

คําว่า ปาตมนุสิฏโ สายํ ความว่า พออรุณขึ้น ก็พร่ําสอน ในเวลาพระอาทิตย์อัสดงคตก็บรรลุคุณวิเศษ.

ก็แลพระเทศนานี้ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งไนยบุคคล. จริงอยู่ ไนยบุคคลแม้มีปัญญาทรามก็บรรลุอรหัตต์ได้โดย ๗ วัน. มีปัญญากล้าแข็ง โดยวันเดียว. พึงทราบคําที่เหลือด้วยสามารถแห่งปัญญาพอกลางๆ.

บทว่า อโห พุทฺโธ อโห ธมฺโม อโห ธมฺมสฺส สฺวากฺขาตตา ความว่า เพราะภิกษุให้อาจารย์บอกกัมมัฏฐานในเวลาเช้า ในตอนเย็นบรรลุอรหัตต์ เพราะความที่ธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีคุณโอฬาร และเพราะความที่พระธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว ฉะนั้น เมื่อจะสรรเสริญจึงกล่าวอย่างนั้น.

บทว่า ยตฺร หิ นาม เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า น่าอัศจรรย์.

บทว่า กุจฺฉิมติ ได้แก่ สัตว์ที่ใกล้จุติ.

บทว่า โย เม อยํ ภนฺเต กุจฺฉิคโต ความว่า ก็สรณะย่อมเป็นอันถือเอาแล้วด้วย

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 140

อาการอย่างนี้หรือ. ยังไม่เป็นอันถือเอาแล้ว. ธรรมดาการถึงสรณะด้วยอจิตตกะย่อมไม่มี. ส่วนการรักษาย่อมปรากฏเฉพาะแล้ว. ภายหลังมารดาบิดาได้เตือนกุมารนั้นให้ระลึกได้ว่า ดูก่อนลูก เมื่ออยู่ในครรภ์ก็ให้ถือเอาสรณะนั้น ดังนี้ เมื่อเวลาแก่ และพระกุมารนั้น ก็กําหนดได้แล้ว ยังสติให้เกิดขึ้นว่า เราเป็นอุบาสกถึงสรณะแล้ว ดังนี้ ในกาลใด. ในกาลนั้น ย่อมชื่อว่า ถือสรณะแล้ว.

คําที่เหลือในที่ทั้งปวงตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาโพธิราชกุมารสูตรที่ ๕