๖. อังคุลิมาลสูตร
[เล่มที่ 21] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 141
๖. อังคุลิมาลสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 21]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 141
๖. อังคุลิมาลสูตร
[๕๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ก็สมัยนั้นแล ในแว่นแคว้นของพระเจ้าปเสนทิโกศล มีโจรชื่อว่าองคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า มีผ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจมั่นในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย. องคุลิมาลโจรนั้น กระทําบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทํานิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทําชนบทไม่ให้เป็นชนบทบ้าง. เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้.
ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นแล้วในเวลาปัจฉาภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ทรงเก็บเสนาสนะ ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จดําเนินไปตามทางที่องคุลิมาลโจรซุ่มอยู่. พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวกชาวนาที่เดินมา ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดําเนินไปตามทางที่องคุลิมาลโจรซุ่มอยู่ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่สมณะ อย่าเดินไปทางนั้น ที่ทางนั้นมีโจรชื่อว่าองคุลิมาลเป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าดี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย องคุลิมาลโจรนั้น กระทําบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทํานิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทําชนบทไม่ให้เป็นชนบทบ้าง เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้ ข้าแต่สมณะ พวกบุรุษสิบคนก็ดี ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี สี่สิบคนก็ดี ย่อมรวมเป็นพวกเดียวกันเดินทางนี้ แม้บุรุษผู้นั้นก็ยังถึงความพินาศ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 142
เพราะมือขององคุลิมาลโจร เมื่อคนพวกนั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิ่ง ได้เสด็จไปแล้ว.
[๕๒๒] แม้ครั้งที่สอง พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวกชาวนาที่เดินมา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่สมณะ อย่าเดินไปทางนั้น ที่ทางนั้นมีโจรชื่อว่าองคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย องคุลิมาลโจรนั้น กระทําบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทํานิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทําชนบทไม่ให้เป็นชนบทบ้าง เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้ ข้าแต่สมณะ พวกบุรุษสิบคนก็ดี ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี สี่สิบคนก็ดี ย่อมรวมเป็นพวกเดียวกันเดินทางนี้ ข้าแต่สมณะ แม้บุรุษพวกนั้นก็ยังถึงความพินาศเพราะมือขององคุลิมาลโจร ดังนี้. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิ่ง ได้เสด็จไปแล้ว.
[๕๒๓] แม้ครั้งที่สาม พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวกชาวนาที่เดินมา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่สมณะ อย่าเดินไปทางนั้น ที่ทางนั้นมีโจรชื่อว่าองคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย องคุลิมาลโจรนั้น กระทําบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทํานิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทําชนบทไม่ให้เป็นชนบทบ้าง เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้ ข้าแต่สมณะ พวกบุรุษสิบคนก็ดี ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี สี่สิบคนก็ดี ย่อมรวมเป็นพวกเดียวกันเดินทางนี้ ข้าแต่สมณะ แม้บุรุษพวกนั้นก็ยังถึงความพินาศเพราะมือขององคุลิมาลโจร ดังนี้. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิ่ง ได้เสด็จไปแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 143
ทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร
[๕๒๔] องคุลิมาโจรได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล. ครั้นแล้ว เขาได้มีความดําริว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยมีเลย พวกบุรุษสิบคนก็ดี ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี สี่สิบคนก็ดี ก็ยังต้องรวมเป็นพวกเดียวกันเดินทางนี้ แม้บุรุษพวกนั้นยังถึงความพินาศเพราะมือเรา เออก็สมณะนี้ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนชรอยจะมาข่ม ถ้ากระไร เราพึงปลงสมณะเสียจากชีวิตเถิด. ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรถือดาบและโล่ผูกสอดแล่งธนู ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปทางพระปฤษฎางค์. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร โดยประการที่องคุลิมาลโจรจะวิ่งจนสุดกําลัง ก็ไม่อาจทันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จไปตามปกติ.
ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรได้มีความดําริว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยมีเลย ด้วยว่าเมื่อก่อน แม้ช้างกําลังวิ่ง ม้ากําลังวิ่ง รถกําลังแล่น เนื้อกําลังวิ่ง เราก็ยังวิ่งตามจับได้ แต่ว่าเราวิ่งจนสุดกําลัง ยังไม่อาจทันสมณะนี้ซึ่งเดินไปตามปรกติดังนี้ จึงหยุดยืนกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จงหยุดก่อนสมณะ จงหยุดก่อนสมณะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราหยุดแล้ว องคุลิมาลท่านเล่า จงหยุดเถิด.
[๕๒๕] ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรดําริว่า สมณศากยบุตรเหล่านั้น มักเป็นคนพูดจริง มีปฏิญญาจริง แต่สมณะรูปนี้เดินไปอยู่เทียว กลับพูดว่า เราหยุดแล้วองคุลิมาล ท่านเล่าจงหยุดเถิด ถ้ากระไร เราพึงถามสมณะรูปนี้เถิด. ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 144
ดูก่อนสมณะ ท่านกําลังเดินไป ยังกล่าวว่า เราหยุดแล้ว และท่านยังไม่หยุด ยังกล่าวกะข้าพเจ้าผู้หยุดแล้วว่าไม่หยุด ดูก่อนสมณะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน ท่านทยุดแล้วเป็นอย่างไร ข้าพเจ้ายังไม่หยุดแล้วเป็นอย่างไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนองคุลิมาล เราวางอาชญาในสรรพสัตว์ได้แล้ว จึงชื่อว่าหยุดแล้วในกาลทุกเมื่อ ส่วนท่านไม่สํารวมในสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าหยุดแล้ว ท่านยังไม่หยุด.
องคุลิมาลโจรทูลว่า
ดูก่อนสมณะ ท่านอันเทวดามนุษย์บูชาแล้ว แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่มาถึงป่าใหญ่เพื่อจะสงเคราะห์ข้าพเจ้าสิ้นกาลนานหนอ ข้าพเจ้านั้นจักประพฤติละบาปเพราะฟังคาถาอันประกอบด้วยธรรมของท่าน องคุลิมาลโจรกล่าวดังนี้แล้ว ได้ทิ้งดาบและอาวุธลงในเหวลึกมีหน้าผาชัน องคุลิมาลโจรได้ถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระสุคต แล้วได้ทูลขอบรรพชากะพระสุคต ณ ที่นั้นเอง. ก็แลพระพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 145
ผู้ทรงประกอบด้วยพระกรุณา ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นศาสดาของโลกกับทั้งเทวโลก ได้ตรัสกะองคุลิมาลโจรในเวลานั้นว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด อันนี้แหละเป็นภิกษุภาวะขององคุลิมาลโจรนั้น ดังนี้.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระองคุลิมาลเป็นปัจฉาสมณะ เสด็จจาริกไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลําดับ เสด็จถึงพระนครสาวัตถีแล้ว.
เสด็จเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
[๕๒๖] ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ก็สมัยนั้น หมู่มหาชนประชุมกันอยู่ที่ประตูพระราชวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล ส่งเสียงอื้ออึงว่า ข้าแต่สมมติเทพ ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีโจรชื่อว่าองคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย องคุลิมาลโจรนั้น กระทําบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทํานิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทําชนบทไม่ให้เป็นชนบทบ้าง เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้ ขอพระองค์จงกําจัดมันเสียเถิด.
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากพระนครสาวัตถี ด้วยกระบวนม้าประมาณ ๕๐๐ เสด็จเข้าไปทางพระอารามแต่ยังวันทีเดียว เสด็จไปด้วยพระยานจนสุดภูมิประเทศที่ยานจะไปได้ เสด็จลงจากพระยานแล้ว ทรง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 146
พระดําเนินด้วยพระบาทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๕๒๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระเจ้าแผ่นดินมคธจอมเสนา ทรงพระนามว่า พิมพิสาร ทรงทําให้พระองค์ทรงขัดเคืองหรือหนอ หรือเจ้าลิจฉวี เมืองเวสาลี หรือว่าพระราชาผู้เป็นปฏิปักษ์เหล่าอื่น.
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าแผ่นดินมคธ จอมเสนาทรงพระนามว่า พิมพิสาร มิได้ทรงทําหม่อมฉันให้ขัดเคือง แม้เจ้าลิจฉวีเมืองเวสาลี ก็มิได้ทรงทําให้หม่อมฉันขัดเคือง แม้พระราชาที่เป็นปฏิปักษ์เหล่าอื่น ก็มิได้ทําให้หม่อมฉันขัดเคือง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในแว่นแคว้นของหม่อมฉัน มีโจรชื่อว่าองคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย องคุลิมาลโจรนั้น กระทําบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทํานิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทําชนบทไม่ให้เป็นชนบทบ้าง เขาเช่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้ หม่อมฉันจักกําจัดมันเสีย.
ภ. ดูก่อนมหาราช ถ้ามหาบพิตรพึงทอดพระเนตรองคุลิมาลผู้ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการพูดเท็จ ฉันภัตตาหารหนเดียว ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม มหาบพิตรจะพึงทรงกระทําอย่างไรกะเขา.
ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันพึงไหว้ พึงลุกรับ พึงเชื้อเชิญด้วยอาสนะ พึงบํารุงเขาด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือพึงจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองอย่างเป็นธรรม ข้าแต่พระองค์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 147
ผู้เจริญ แต่องคุลิมาลโจรนั้น เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม จักมีความสํารวมด้วยศีลเห็นปานนี้ แต่ที่ไหน.
[๕๒๘] ก็สมัยนั้น ท่านพระองคุลิมาลนั่งอยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกพระหัตถ์เบื้องขวาขึ้นชี้ตรัสบอกพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ดูก่อนมหาบพิตร นั่นองคุลิมาล. ลําดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีความกลัว ทรงหวาดหวั่น พระโลมชาติชูชันแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกลัว ทรงหวาดหวั่น มีพระโลมชาติชูชันแล้ว จึงได้ตรัสกะพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร ภัยแต่องคุลิมาลนี้ไม่มีแก่มหาบพิตร. ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงระงับความกลัว ความหวาดหวั่น หรือโลมชาติชูชันได้แล้ว จึงเสด็จเข้าไปหาท่านองคุลิมาลถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ตรัสกะท่านองคุลิมาลว่า ท่านผู้เจริญ พระองคุลิมาลผู้เป็นเจ้าของเรา.
ท่านพระองคุลิมาลถวายพระพรว่า อย่างนั้น มหาบพิตร.
ป. บิดาของพระผู้เป็นเจ้ามีโคตรอย่างไร มารดาของพระผู้เป็นเจ้ามีโคตรอย่างไร.
อ. ดูก่อนมหาบพิตร บิดาชื่อ คัคคะ มารดาชื่อ มันตานี.
ป. ท่านผู้เจริญ ขอพระผู้เป็นเจ้าคัคคะมันตานีบุตร จงอภิรมย์เถิด ข้าพเจ้าจักทําความขวนขวาย เพื่อจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แก่พระผู้เป็นเจ้าคัคคะมันตานีบุตร.
ก็สมัยนั้น ท่านองคุลิมาล ถือการอยู่ในป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือผ้าสามผืนเป็นวัตร. ครั้งนั้น ท่านองคุลิมาลได้ถวายพระพรพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า อย่าเลย มหาบพิตร ไตรจีวรของอาตมภาพบริบูรณ์แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 148
ทูลลากลับ
[๕๒๙] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจึงประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรมานได้ซึ่งบุคคลที่ใครๆ ทรมานไม่ได้ ทรงยังบุคคลที่ใครๆ ให้สงบไม่ได้ ให้สงบได้ ทรงยังบุคคลที่ใครๆ ให้ดับไม่ได้ ให้ดับได้ เพราะว่าหม่อมฉันไม่สามารถจะทรมานผู้ใดได้ แม้ด้วยอาชญา แม้ด้วยศาสตรา ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรมานได้โดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศาสตรา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันขอทูลลาไปในบัดนี้ หม่อมฉันมีกิจมาก มีกรณียะมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ขอมหาบพิตรจงทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ลําดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศเสด็จลุกจากที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เสด็จหลีกไป.
[๕๓๐] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลครองอันตรวาสกแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี. กําลังเที่ยวบิณฑบาตตามลําดับตรอกอยู่ในพระนครสาวัตถี ได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่หนัก ครั้นแล้วได้มีความดําริว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ ดังนี้. ครั้งนั้น ท่านพระองคุลิมาลเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี กําลังเที่ยวบิณฑบาตตามลําดับตรอกอยู่ในพระนคร
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 149
สาวัตถี ได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่หนัก ครั้นแล้วได้มีความดําริว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ ดังนี้.
[๕๓๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนองคุลิมาล ถ้าอย่างนั้นเธอจงเข้าไปหาสตรีนั้นแล้วกล่าวกะสตรีนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดมาแล้วจะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตหามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่านเถิด.
ท่านพระองคุลิมาลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อาการนั้นจักเป็นอันข้าพระองค์กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่เป็นแน่ เพราะข้าพระองค์แกล้งปลงสัตว์เสียจากชีวิตเป็นอันมาก.
ภ. ดูก่อนองคุลิมาล ถ้าอย่างนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้น แล้วกล่าวกะสตรีนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดแล้วในอริยชาติ จะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์เสียจากชีวิตหามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่านเถิด.
พระองคุลิมาลทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะหญิงนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่เวลาที่ฉันเกิดแล้วในอริยชาติ จะแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตทั้งรู้หามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่านเถิด.
ครั้งนั้น ความสวัสดีได้มีแก่หญิง ความสวัสดีได้มีแก่ครรภ์ของหญิงแล้ว.
พระองคุลิมาลบรรลุพระอรหัตต์
[๕๓๒] ครั้งนั้นท่านพระองคุลิมาล หลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ไม่นานนัก ก็กระทําให้แจ้ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 150
ซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกมิได้มีดังนี้. ก็ท่านพระองคุลิมาลได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในจํานวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
[๕๓๓] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี. ก็เวลานั้น ก้อนดิน... ท่อนไม้... ก้อนกรวดที่บุคคลขว้างไปแม้โดยทางอื่นก็มาตกลงที่กายของท่านพระองคุลิมาล. ท่านพระองคุลิมาลศีรษะแตก โลหิตไหล บาตรก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ฉีกขาด เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรท่านพระองคุลิมาลเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ตรัสกะท่านพระองคุลิมาลว่า เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอได้เสวยผลกรรมซึ่งเป็นเหตุจะให้เธอพึงหมกไหม้อยู่ในนรกตลอดปีเป็นอันมาก ตลอดร้อยปีเป็นอันมาก ตลอดพันปีเป็นอันมาก ในปัจจุบันนี้เท่านั้น.
พระองคุลิมาลอุทาน
[๕๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระองคุลิมาลไปในที่ลับเร้นอยู่ เสวยวิมุตติสุข เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ก็ผู้ใด เมื่อก่อนประมาท ภายหลังผู้นั้นไม่ประมาท เขาย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดังพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น ผู้ใดทํากรรมอันเป็นบาปแล้ว ย่อมปิดเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 151
ดุจพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น ภิกษุใดแล ยังเป็นหนุ่ม ย่อมขวนขวายในพระพุทธศาสนา ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น.
ขอศัตรูทั้งหลายของเราจงฟังธรรมกถาเถิด ขอศัตรูทั้งหลายของเราจงขวนขวายในพระพุทธศาสนาเถิด ขอมนุษย์ทั้งหลายที่เป็นศัตรูของเรา จงคบสัตบุรุษผู้ชวนให้ถือธรรมเถิด.
ขอจงคบความผ่องแผ่ว คือ ขันติ ความสรรเสริญ คือ เมตตาเถิด ขอจงฟังธรรมตามกาลและจงกระทําตามธรรมนั้นเถิด ผู้ที่เป็นศัตรูนั้น ไม่พึงเบียดเบียนเราหรือใครๆ อื่นนั้นเลย ผู้ถึงความสงบอย่างยิ่งแล้วพึงรักษาไว้ซึ่งสัตว์ที่สะดุ้งและที่มั่นคง
คนทดน้ำย่อมชักน้ำไปได้ ช่างศรย่อมดัดลูกศรได้ ช่างถากย่อมถากไม้ได้ ฉันใด บัณฑิตทั้งหลายย่อมทรมานตนได้ ฉันนั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 152
คนบางพวกย่อมฝึกสัตว์ ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยขอบ้าง ด้วยแส้บ้าง เราเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้วโดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศาสตรา เมื่อก่อนเรามีชื่อว่าอหิงสกะ แต่ยังเบียดเบียนสัตว์อยู่ วันนี้เรามีชื่อตรงความจริง เราไม่เบียดเบียนใครๆ เลย เมื่อก่อน เราเป็นโจรปรากฏชื่อว่าองคุลิมาล ถูกกิเลสดุจห้วงน้ำใหญ่พัดไป มาถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะแล้ว เมื่อก่อนเรามีมือเปื้อนเลือด ปรากฏชื่อว่า องคุลิมาล ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ จึงถอนตัณหาอันจะนําไปสู่ภพเสียได้ เรากระทํากรรมที่จะให้ถึงทุคติเช่นนั้นไว้มาก อันวิบากของกรรมถูกต้องแล้ว เป็นผู้ไม่มีหนี้ บริโภคโภชนะ พวกชนที่เป็นพาลทรามปัญญา ย่อมประกอบตามซึ่งความประมาท ส่วนนักปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์อันประเสริฐ ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงอย่าประกอบตามซึ่งความประมาท อย่าประกอบตามความชิดชมด้วยสามารถความยินดีในกาม เพราะว่าผู้ไม่ประมาทแล้ว เพ่งอยู่ ย่อมถึงความสุขอัน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 153
ไพบูลย์ การที่เรามาสู่พระพุทธศาสนานี้นั้น เป็นการมาดีแล้ว ไม่ปราศจากประโยชน์ ไม่เป็นการคิดผิด บรรดาธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจําแนกไว้ดีแล้ว เราก็ได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐสุดแล้ว (นิพพาน) การที่เราได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐสุดนี้นั้น เป็นการถึงดีแล้ว ไม่ปราศจากประโยชน์ ไม่เป็นการคิดผิด วิชชา ๓ เราบรรลุแล้ว คําสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทําแล้วดังนี้.
จบอังคุลิมาลสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 154
อรรถกถาอังคุลิมาลสูตร
อังคุลิมาลสูตรมีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
ถามว่า ในพระสูตรนั้น คําว่า ทรงระเบียบแห่งนิ้วมือ ทรงไว้เพราะเหตุไร.
ตอบว่า ทรงไว้ตามคําของอาจารย์.
ในข้อนั้น มีอนุปุพพิกถาดังต่อไปนี้.
ได้ยินว่า พระองคุลิมาลนี้ ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์แห่งนางพราหมณีชื่อ มันตานี แห่งปุโรหิตของพระเจ้าโกศล. นางพราหมณีได้คลอดบุตรออกในเวลากลางคืน. ในเวลาที่อังคุลิมาลนั้นคลอดออกจากครรภ์มารดา อาวุธทั้งหลายในนครทั้งสิ้นช่วงโชติขึ้น. แม้พระแสงที่เป็นมงคลของพระราชา แม้กระทั่งฝักดาบที่อยู่ในห้องพระบรรทมอันเป็นศิริก็รุ่งเรือง. พราหมณ์จึงลุกออกมาแหงนดูดาวนักษัตร ก็รู้ว่าบุตรเกิดโดยดาวฤกษ์โจร จึงเข้าเฝ้าพระราชาทูลถามถึงความบรรทมอันเป็นสุข.
พระราชาตรัสว่า ท่านอาจารย์ เราจะนอนเป็นสุขอยู่ได้แต่ไหน อาวุธที่เป็นมงคลของเราส่องแสงรุ่งเรือง เห็นจะมีอันตรายแก่รัฐหรือแก่ชีวิต. ปุโรหิตทูลว่า ข้าแต่มหาราช อย่าทรงกลัวเลย กุมารเกิดแล้วในเรือนของหม่อมฉัน อาวุธทั้งหลายมิใช่จะรุ่งเรืองด้วยอานุภาพของกุมารนั้น.
จักมีเหตุอะไร ท่านอาจารย์. ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เขาจักเป็นโจร. เขาจะเป็นโจรคนเดียวหรือว่าจะเป็นโจรประทุษร้ายราชสมบัติ. เขาจะเป็นโจรธรรมดาคนเดียวพะยะค่ะ.
ก็แลปุโรหิตครั้นทูลอย่างนั้นแล้ว เพื่อจะเอาพระทัยพระราชาจึงทูลว่า จงฆ่ามันเสียเถอะ พระเจ้าค่ะ.
พระราชา. เป็นโจรธรรมดาคนเดียวจักทําอะไรได้ เหมือนรวงข้าวสาลีรวงเดียว ในนาตั้งพันกรีส จงบํารุงเขาไว้เถอะ. เมื่อจะตั้งชื่อกุมารนั้น สิ่งของเหล่านี้คือ ฝักดาบอันเป็นมงคลที่วางไว้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 155
ณ ที่นอน ลูกศรที่วางไว้ที่มุม มีดน้อยสําหรับตัดขั้วตาลซึ่งวางไว้ในปุยฝ้าย ต่างโพลงขึ้นส่องแสงแต่ไม่เบียดเบียนกัน ฉะนั้น จึงตั้งชื่อว่า อหิงสกะ. พอเวลาจะให้เรียนศิลปะก็ส่งเขายังเมืองตักกสิลา.
อหิงสกะกุมารนั้น เป็นธัมมันเตวาสิก เริ่มเรียนศิลปะแล้ว. เป็นคนถึงพร้อมด้วยวัตร ตั้งใจคอยรับใช้ ประพฤติเป็นที่พอใจ พูดจาไพเราะ. ส่วนอันเตวาสิกที่เหลือ เป็นอันเตวาสิกภายนอก. อันเตวาสิกเหล่านั้น นั่งปรึกษากันว่า จําเดิมแต่เวลาที่อหิงสกมาณพมา พวกเราไม่ปรากฏเลย เราจะทําลายเขาได้อย่างไร จะพูดว่าเป็นคนโง่ ก็พูดไม่ได้ เพราะมีปัญญายิ่งกว่าทุกคน จะว่ามีวัตรไม่ดีก็ไม่อาจพูด เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร จะว่ามีชาติต่ํา ก็พูดไม่ได้ เพราะสมบูรณ์ด้วยชาติ พวกเราจักทําอย่างไรกัน ขณะนั้นปรึกษากับคนมีความคิดเฉียบแหลมคนหนึ่งว่า เราจะกระทําช่องของอาจารย์ทําลายเขาเสีย แบ่งเป็นสามพวก พวกแรกต่างคนต่างเข้าไปหาอาจารย์ไหว้แล้วยืนอยู่.
อาจารย์ถามว่า อะไรพ่อ. ก็บอกว่าพวกกระผมได้ฟังเรื่องหนึ่งในเรือนนี้. เมื่ออาจารย์ถามว่า อะไรพ่อ. ก็กล่าวว่าพวกเราทราบว่า อหิงสกมาณพจะประทุษร้ายระหว่างท่านอาจารย์. อาจารย์จึงก็ตะคอกไล่ออกมาว่า ออกไป เจ้าถ่อย เจ้าอย่าทําลายบุตรของเราในระหว่างเราเสียเลย. ต่อแต่นั้น ก็ไปอีกพวกหนึ่ง แต่นั้น ก็อีกพวกหนึ่ง ทั้งสามพวกมากล่าวทํานองเดียวกัน แล้วก็กล่าวว่า เมื่ออาจารย์ไม่เชื่อพวกข้าพเจ้า ก็จงใคร่ครวญรู้เอาเองเถิด ดังนี้.
ท่านอาจารย์เห็นศิษย์ทั้งหลายกล่าวว่าด้วยความห่วงใย จึงตัดสินใจว่า เห็นจะมีความจริง จึงคิดว่า เราจะฆ่ามันเสีย.
ต่อไปจึงคิดอีกว่า ถ้าเราฆ่ามัน ใครๆ ที่คิดว่าท่านอาจารย์ทิสาปาโมกข์ ยังโทษให้เกิดขึ้นในมาณพผู้มาเรียนศิลปะยังสํานักของตนแล้ว ปลงชีวิตเสีย ดังนี้ ก็จักไม่มาเพื่อเล่าเรียนศิลปะอีก ด้วยอาการอย่างนี้ เราก็จะเสื่อมลาภ อย่ากระนั้นเลย เราจะบอกมันว่า ยังมีคําสําหรับศิลปะ วิชา ขั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 156
สุดท้ายอยู่ แล้วกล่าวว่า เจ้าจะต้องฆ่าคนให้ได้พันคน ในเรื่องนี้ เจ้าจะเป็นผู้เดียวลุกขึ้น ฆ่าเขาให้ได้ครบพัน. ทีนั้นอาจารย์จึงกล่าวกะอหิงสกกุมารว่า มาเถอะพ่อ เจ้าจงฆ่าให้ได้พันคน เมื่อทําได้เช่นนี้ ก็จักเป็นอันกระทําอุปจาระแก่ศิลปะ การบูชาครู ดังนี้.
อหิงสกกุมารจึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลที่ไม่เบียดเบียน ข้าพเจ้าไม่อาจทําเช่นนั้น. ศิลปะที่ไม่ได้ค่าบูชาครูก็จะไม่ให้ผลนะพ่อ. อหิงสกกุมารนั้นจึงถืออาวุธ ๕ ประการ ไหว้อาจารย์เข้าสู่ดงยืน ณ ที่คนจะเข้าไปสู่ดงบ้าง ที่ตรงกลางดงบ้าง ตรงที่ที่คนจะออกจากดงบ้าง ฆ่าคนเสียเป็นอันมาก. ก็ไม่ถือเอาผ้าหรือผ้าโพกศีรษะ กระทําเพียงกําหนดว่า ๑, ๒, ดังนี้เดินไป แม้การนับก็กําหนดไม่ได้. แต่โดยธรรมดาอหิงสกกุมารนี้ เป็นคนมีปัญญา แต่จิตใจไม่ดํารงอยู่ได้ เพราะปาณาติบาต. ฉะนั้น จึงกําหนดแม้การนับไม่ได้ตามลําดับ. เขาตัดนิ้วได้หนึ่งๆ ก็เก็บไว้. ในที่ที่เก็บไว้ นิ้วมือก็เสียหายไป. ต่อแต่นั้นจึงร้อยทําเป็นมาลัยนิ้วมือคล้องคอไว้. ด้วยเหตุนั้นแล เขาจึงปรากฏชื่อว่า องคุลิมาล.
องคุลิมาลนั้นท่องเที่ยวไปยังป่าทั้งสิ้น จนไม่มีใครสามารถไปป่าเพื่อหาฟืนเป็นต้น. ในตอนกลางคืนก็เข้ามายังภายในบ้านเอาเท้าถีบประตู. แต่นั้นก็ฆ่าคนที่นอนนั้นแหละ กําหนดว่า ๑, ๑, เดินไป. บ้านก็ร่นถอยไปตั้งในนิคม. นิคมก็ร่นถอยไปตั้งอยู่ในเมือง. พวกมนุษย์ทิ้งบ้านเรือนจูงลูกเดินทางมาล้อมพระนครสาวัตถี เป็นระยะทางถึงสามโยชน์ ตั้งค่ายพักประชุมกันที่ลานหลวง ต่างคร่ําครวญกล่าวกันว่า ข้าแต่สมมติเทพ ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีโจรชื่อองคุลิมาลเป็นต้น.
ในลําดับนั้น พราหมณ์รู้ว่า โจรองคุลิมาลนั้นจักเป็นบุตรของเรา จึงกล่าวกะนางพราหมณีว่า แน่ะนางผู้เจริญ เกิดโจรชื่อองคุลิมาลขึ้นแล้ว โจรนั้นไม่ใช่ใครอื่น คืออหิงสกกุมารลูกของเจ้า บัดนี้ พระราชาจักเสด็จออกไปจับเขา เราควรจะทําอย่างไร. นางพราหมณีพูดว่า นายท่านไปเถอะ จง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 157
ไปพาลูกของเรามา. พราหมณ์พูดว่า แน่ะนางผู้เจริญ ฉันไม่กล้าไป เพราะไม่ควรวางใจในคน ๔ จําพวก คือโจรที่เป็นเพื่อนเก่าของเรามา ก็ไม่ควรไว้ใจ เพื่อนฝูงที่เคยมีสันถวไมตรีกันมาก่อนของเราก็ไม่ควรไว้ใจ พระราชาก็ไม่ควรไว้ใจว่า นับถือเรา. หญิงก็ไม่ควรไว้ใจว่านับอยู่ในเครือญาติของเรา แต่หัวใจของแม่เป็นหัวใจที่อ่อน ฉะนั้น นางพราหมณีจึงกล่าวว่า ฉันจะไปพาลูกของฉันมา ดังนี้ ออกไปแล้ว.
และในวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง ทรงเห็นองคุลิมาล จึงทรงพระดําริว่า เมื่อเราไปจักเป็นความสวัสดีแก่เธอ ผู้ที่อยู่ในป่าอันหาบ้านมิได้ ครั้นได้ฟังคาถาอันประกอบด้วยบท ๔ ออกบวชในสํานักของเราแล้ว จักกระทําให้แจ้งซึ่งอภิญญา ๖ ถ้าเราไม่ไป เธอจะผิดในมารดา จักเป็นผู้อันใครๆ ยกขึ้นไม่ได้ เราจักกระทําความสงเคราะห์เธอ ดังนี้แล้ว ทรงนุ่งเวลาเช้าแล้วเข้าไปเพื่อบิณฑบาต ทรงกระทําภัตตกิจเสร็จแล้ว ประสงค์จะสงเคราะห์เธอ จึงเสด็จออกไปจากวิหาร. เพื่อจะแสดงความข้อนี้ ท่านจึงกล่าวว่า "อถ โข ภควา" ดังนี้เป็นต้น.
คําว่า สงฺคริตฺวา สงฺคริตฺวา ความว่า เป็นพวกๆ คอยสังเกต.
บทว่า หตฺถตฺถํ คจฺฉนฺติ ความว่า ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ในมือ คือ พินาศไป.
ถามว่า ก็คนเหล่านั้นจําพระผู้มีพระภาคเจ้าได้แล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า จําไม่ได้หรือ?
ตอบว่า จําไม่ได้. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าจําแลงเพศ เสด็จไปเพียงพระองค์เดียว.
ในสมัยนั้น แม้โจรหงุดหงิดใจเพราะบริโภคอย่างฝืดเคือง และนอนลําบากมาเป็นเวลานาน. อนึ่ง พวกมนุษย์ถูกโจรองคุลิมาลฆ่าไปเท่าไร. ถูกฆ่าไป ๙๙๙ คนแล้ว. ก็โจรนั้นมีความสําคัญว่า เดี๋ยวนี้ได้อีกคนเดียวก็จะครบพัน ตั้งใจว่า เห็นผู้ใดก่อนก็จะฆ่าผู้นั้นให้เต็มจํานวนกระทําอุปจาระแก่ศิลปะ (บูชาครู) โกนผมและหนวดแล้วอาบน้ำ ผลัดเปลี่ยนผ้าไปเห็นมารดาบิดา ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 158
จึงออกจากกลางดงมาสู่ปากดง ยืนอยู่ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. เพื่อจะแสดงความข้อนี้ ท่านจึงกล่าวว่า "อทฺทสา โข" ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า อิทฺธาภิสงฺขารํ อภิสงฺขาเรสิ ความว่า ทรงบันดาลให้เป็นเหมือนแผ่นดินใหญ่มีคลื่นตั้งขึ้น แล้วทรงเหยียบอยู่อีกด้านหนึ่ง เกลียวในภายในออกมา. องคุลิมาลทิ้งเครื่องซัดลูกศรเสียเดินไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเนินใหญ่อยู่ข้างหน้าแล้วพระองค์อยู่ตรงกลาง โจรอยู่ริมสุด. องคุลิมาลนั้นคิดว่า เราจักทันจับได้ในบัดนี้ จึงรีบแล่นไปด้วยสรรพกําลัง. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ริมสุดของเนิน โจรอยู่ตรงกลาง เขารีบแล่นมาโดยเร็ว คิดว่า ทันจับได้ตรงนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงบันดาลเหมือง หรือแผ่นดินไว้ข้างหน้าเขาเสีย. โดยทํานองนี้ สิ้นทางไปถึงสามโยชน์. โจรเหนื่อย น้ำลายในปากแห้ง เหงื่อไหลออกจากรักแร้. ครั้งนี้ได้มีความคิดดังนี้แก่เขาว่า น่าอัศจรรย์นักหนอ ท่านผู้เจริญ.
บทว่า มิคํปิ ความว่า เนื้อไฉนยังจับได้. ในตอนที่หิวก็จับเอามาเป็นอาหารได้. ได้ยินว่า โจรนั้น เคาะที่พุ่มไม้แห่งหนึ่งให้เนื้อลุกขึ้นหนีไป. ต่อนั้นก็จะติดตามเนื้อได้ดังใจปรารถนาแล้วปิ้งเคี้ยวกิน.
บทว่า ปุจฺเฉยฺยํ ความว่า ท่านผู้นี้กําลังเดินไปอยู่เทียว (ก็ว่า) หยุดแล้ว ส่วนตัวเราหยุดอยู่ แล้วก็ว่าไม่หยุด ด้วยเหตุใด ทําไฉนหนอ เราจะพึงถามเหตุนั้นๆ กะสมณะนี้.
บทว่า นิธาย ความว่า แม้อาชญาใดอันบุคคลพึงให้เป็นไปในสัตว์ทั้งหลายเพื่อเบียดเบียน เราวางอาชญานั้น คือ นําออกเสีย พิจารณาด้วยเมตตา ขันติ ประพฤติไปในสาราณียธรรมทั้งหลายด้วย อวิหิงสา.
บทว่า ตุวมฏิโตสิ ความว่า เมื่อท่านฆ่าสัตว์มีประมาณพันหนึ่งนี้ เพราะไม่มีความสํารวมในสัตว์ มีปาณะทั้งหลาย เมตตาก็ดี ขันติก็ดี ปฏิสังขาก็ดี อวิหิงสาก็ดี สาราณียธรรม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 159
ก็ดี ของท่านจึงไม่มี ฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่า ยังไม่หยุด. มีคําอธิบายว่า แม้ถึงหยุดแล้วด้วยอิริยาบถในขณะนี้ ท่านก็จักแล่นไปในนรก คือจักแล่นไปในกําหนดติรัจฉาน ในเปรตวิสัย หรือในอสุรกาย.
ในลําดับนั้น โจรคิดว่า การบรรลือสีหนาทนี้ใหญ่ การบรรลืออันใหญ่นี้จักเป็นของผู้อื่นไปมิได้ การบรรลือนี้ต้องเป็นของพระสมณเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้โอรสแห่งพระนางมหามายา เราเห็นจะเป็นผู้อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุคมกล้า ทรงเห็นแล้วหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาเพื่อทําการสงเคราะห์แก่เรา ดังนี้ จึงกล่าวว่า จิรสฺสํ วต เม ดังนี้เป็นอาทิ.
ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหิโต ความว่า อันเทวดาและมนุษย์เป็นต้นบูชาแล้วด้วยการบูชาด้วยปัจจัย ๔.
บทว่า ปจฺจุปาทิ ความว่า ทรงดําเนินมาสู่ป่าใหญ่นี้เพื่อจะสงเคราะห์เราโดยล่วงกาลนานนัก.
คําว่า ปชหิสฺสํ ปาปํ ความว่า ข้าพระองค์จักละบาป.
บทว่า อิจฺเจว แปลว่า กล่าวอย่างนี้แล้วเทียว.
บทว่า อาวุธํ ได้แก่ อาวุธ ๕ ประการ.
บทว่า โสพฺเภ คือ ที่ขาดไปข้างเดียว.
บทว่า ปปาเต ได้แก่ ขาดข้างหนึ่ง.
บทว่า นรเก คือ ที่ที่แตกระแหง.
อนึ่ง ในที่นี้ ท่านกล่าวถึงป่าเท่านั้น ด้วยบททั้งสามนี้.
บทว่า อวกิริ ได้แก่ ซัดไป คือ ทิ้งไปแล้ว.
บทว่า ตเมหิ ภิกฺขูหิ ตทา อโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะยังองคุลีมาลนี้ให้บวชก็ไม่มีกิจในการแสวงหาว่า จักได้มีดน้อยที่ไหน จักได้บาตรจีวรที่ไหน ดังนี้.
อนึ่ง ทรงตรวจดูกรรม. ทีนั้นก็ทรงทราบว่า องคุลิมาลนั้นได้เคยถวายภัณฑะ คือ บริขารแปด แก่ท่านผู้มีศีลในปางก่อน จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา ตรัสว่า เอหิ ภิกฺขุ สฺวากฺขาโต ธมฺโม จร พฺรหฺมจริยํ สมฺมาทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทําที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด ดังนี้.
องคุลีมาลนั้นได้เฉพาะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 160
ซึ่งบาตรและจีวรอันสําเร็จด้วยฤทธิ์ พร้อมกับพระดํารัสนั้นเทียว. ในทันใดนั้น เพศคฤหัสถ์ของท่านอันตรธานไป สมณเพศปรากฏแล้ว.
บริขาร ๘ ดังที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม ประคดเอว รวมเป็น ๘ กับผ้ากรองน้ำ สมควรแก่ภิกษุผู้ประกอบความเพียรแล้ว ดังนี้
เป็นของจําเป็นสําหรับตัว บังเกิดขึ้นแล้ว.
คําว่า เอเสว ตสฺส อหุ ภิกฺขุภาโว ความว่า ความเป็นเอหิภิกขุ นี้ ได้เป็นภิกษุภาวะที่เข้าถึงพร้อมแก่พระองคุลิมาลนั้น. ชื่อว่า การอุปสมบทต่างหากจากเอหิภิกษุ ไม่มีหามิได้.
บทว่า ปจฺฉาสมเณน ได้แก่ ปัจฉาสมณะผู้ถือภัณฑะ.
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าให้พระองคุลิมาลถือบาตรและจีวรของตน แล้วทรงทําพระองคุลีมาลนั้นให้เป็นปัจฉาสมณะเสด็จไปแล้ว. ฝ่ายมารดาขององคุลิมาลนั้น ไม่รู้อยู่ เพราะอยู่ห่างกันประมาณ ๘ อสุภ เที่ยวร้องอยู่ว่า พ่ออหิงสกะ พ่อยืนอยู่ที่ไหน พ่อนั่งอยู่ที่ไหน พ่อไปไหน ทําไม ไม่พูดกับแม่ละลูก ดังนี้ เมื่อไม่เห็น จึงมาถึงที่นี้ทีเดียว.
บทว่า ปฺจมตฺเตหิ อสฺสสเตหิ ความว่า ถ้าโจรจักปราชัย เราจักติดตามไปจับโจรนั้น ถ้าเราปราชัย เราจักรีบหนีไป ฉะนั้น จึงออกไปด้วยกําลังอันเบาพร้อม.
บทว่า เยน อาราโม ความว่า มาสู่พระอารามเพราะเหตุไร.
ได้ยินว่า พระราชานั้นทรงกลัวโจร มิได้ประสงค์จะไป เพราะโจร ทรงออกไปเพราะเกรงต่อคําครหา. เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงดําริว่า เราจักถวายบังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วนั่งอยู่ พระองค์จักตรัสถามว่า พระองค์พาพลออกมาเพราะเหตุไร ดังนี้ ที่นั้นเราจักทูลว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 161
สงเคราะห์ข้าพระองค์ด้วยประโยชน์ในสัมปรายิกภพอย่างเดียวเท่านั้น แม้ประโยชน์ในปัจจุบันก็ทรงสงเคราะห์ด้วย พระผู้มีพระภาคเจ้าจักดําริว่า ถ้าเราชัยชนะก็จักทรงเฉยเสีย ถ้าเราแพ้ก็จะตรัสว่า มหาบพิตรประโยชน์อะไรด้วยการเสด็จมาปรารภโจรคนเดียว แต่นั้น คนก็จะเข้าใจเราอย่างนี้ว่า พระราชาเสด็จออกจับโจร แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว ดังนี้ เล็งเห็นว่าจะพ้นคําครหาด้วยประการฉะนี้ จึงเสด็จไปแล้ว.
ถามว่า พระราชาตรัสว่า ก็องคุลิมาลโจรนั้นมาจากไหนเพราะเหตุไร.
ตอบว่า ตรัสเพื่อทรงเข้าใจพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เออก็ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอุปนิสัยขององคุลิมาลโจรนั้นแล้ว พึงทรงนําเขามาให้บวช.
บทว่า รฺโ ความว่า พระราชาเท่านั้นทรงกลัวพระองค์เดียวก็หามิได้. มหาชนแม้ที่เหลือ ก็กลัว ทิ้งโล่และอาวุธ หลีกหนีในที่เผชิญหน้านั้นเทียว เข้าเมืองปิดประตู ขึ้นโรงป้อม ยืนแลดู และกล่าวอย่างนี้ว่า องคุลิมาลรู้ว่า พระราชาเสด็จมาสู่สํานักของเราดังนี้แล้ว มานั่งที่พระเชตวันก่อน พระราชาถูกองคุลิมาลโจรนั้นจับไปแล้ว แต่พวกเรา หนีพ้นแล้ว.
บทว่า นตฺถิ เต อิโต ภิยํ ความว่า ก็บัดนี้ องคุลิมาลนี้ไม่ฆ่ามดแดง ภัยจากสํานักขององคุลิมาลนี้ ย่อมไม่มีแก่พระองค์.
ถามว่า ท่านกล่าวด้วยบทว่า กถํ โภโต ดังนี้ เพราะเหตุไร.
ตอบว่า ท่านสําคัญอยู่ว่า การที่จะถือเอาชื่อที่เกิดขึ้นเพราะกรรมอันหยาบช้า แล้วร้องเรียกบรรพชิต ไม่สมควร เราจักร้องเรียกท่านด้วยสามารถแห่งโคตรของบิดามารดา ดังนี้ จึงถามแล้ว.
บทว่า ปริกฺขารานํ ความว่า เราจักกระทําการขวนขวายเพื่อประโยชน์บริขารเหล่านั้น และพระองค์กําลังกล่าวอยู่นั่นเทียว ก็ทรงเปลื้องผ้าสาฎกที่คาดท้องวางไว้ ณ ที่ใกล้เท้าของพระเถระแล้ว.
ธุดงค์ ๔ ข้อมีอันอยู่ในป่าเป็นวัตรเป็นต้นมาแล้วในพระบาลี. แต่พระ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 162
เถระได้สมาทานธุดงค์แล้วทั้ง ๑๓ ข้อทีเดียว เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อลํ อย่าเลย ดังนี้.
ถามว่า ท่านหมายถึงอะไร จึงกล่าวว่า ยฺหิ มยํ ภนฺเต ดังนี้.
ตอบว่า ท่านจับช้างเป็นต้นที่พระราชาส่งมาแล้วในที่ที่มาแล้วว่า เราติดตามจับแม้ช้างที่วิ่งอยู่ได้ อย่างนี้. แม้พระราชาก็ทรงส่งช้างเป็นต้นเป็นอันมากไปหลายครั้งอย่างนี้ว่า จงเอาช้างไปล้อมเธอแล้วจับมา จงเอาม้าไปล้อม จงเอารถไปล้อมแล้วจับมา. เมื่อคนเหล่านั้นไปแล้วอย่างนี้ เมื่อองคุลิมาลลุกขึ้นส่งเสียงว่า เฮ้ย เราองคุลิมาล แม้คนเดียวก็ไม่อาจร่ายอาวุธ. จะทุบคนเหล่านั้นทั้งหมดฆ่าเสียแล้ว. ช้างก็เป็นช้างป่า ม้าก็เป็นม้าป่า รถก็หักแตกทําลายอยู่ตรงนั้นแหละ พระราชาหมายเอาเรื่องดังกล่าวมานี้ จึงตรัสอย่างนั้น.
บทว่า บิณฺฑาย ปาวิสิ มิใช่พระองคุลิมาลเข้าไปครั้งแรก ก็คํานี้ท่านกล่าวหมายเอาวันที่เห็นหญิง. แลพระองคุลิมาลนี้เข้าไปบิณฑบาต แม้ทุกวันเหมือนกัน. แต่พวกมนุษย์เห็นท่านแล้วย่อมสะดุ้งบ้าง ย่อมหนีไปบ้าง ย่อมปิดประตูบ้าง บางพวกพอได้ยินว่า องคุลิมาล ก็วิ่งหนีเข้าป่าไปบ้าง เข้าเรือนปิดประตูเสียบ้าง. เมื่อไม่อาจหนีก็ยืนผินหลังให้. พระเถระไม่ได้แม้ข้าวยาคูสักกระบวยหนึ่ง แม้ภัตสักทัพพีหนึ่ง ย่อมลําบากด้วยบิณฑบาต. เมื่อไม่ได้ในภายนอกก็เข้าไปยังพระนคร ด้วยคิดว่าเมืองทั่วไปแก่คนทุกคน. พอเข้าไปทางประตูนั้น ก็มีเหตุให้เสียงตะโกนระเบิดออกมาเป็นพันๆ เสียงว่า องคุลิมาลมาแล้วๆ.
บทว่า เอตทโหสิ ความว่า ได้มีแล้วเพราะความบังเกิดขึ้นแห่งกรุณา. เมื่อองคุลิมาลฆ่าคนอยู่ถึงพันคนหย่อนหนึ่ง (๙๙๙) ก็มิได้มีความกรุณาสักคนเดียว แม้ในวันหนึ่ง เพียงแต่เห็นหญิงมีครรภ์หลงแล้ว ความกรุณาเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดขึ้นได้ด้วยกําลังแห่งบรรพชา. จริงอยู่ ความกรุณานั้นเป็นพลังแห่งบรรพชา.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 163
บทว่า เตนหิ ความว่า เพราะเหตุที่ท่านเกิดความกรุณานั้น.
บทว่า อริยาย ชาติยา ความว่า ดูก่อนองคุลิมาล ท่านอย่าถือเอาเหตุนั้นเลย นั่นไม่ใช่ชาติของท่าน นั่นเป็นเวลาเมื่อเป็นคฤหัสถ์ ธรรมดาคฤหัสถ์ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ย่อมกระทําอทินนาทานเป็นต้นบ้าง. แต่บัดนี้ ชาติของท่านชื่อว่า อริยชาติ. เพราะฉะนั้น ท่านถ้ารังเกียจจะพูดอย่างนี้ว่า ยโต อหํ ภคินิ ชาโต ไซร้ เพราะเหตุนั้นแหละ จึงทรงส่งไปแล้วด้วยพระดํารัสว่า ท่านจงกล่าวให้ต่างออกไปอย่างนี้ว่า อริยาย ชาติยา ดังนี้.
คําว่า ตํ อิตฺถิํ เอวํ อวจ ความว่า ธรรมดาการตลอดบุตรของหญิงทั้งหลาย ผู้ชายไม่ควรจะเข้าไป พระเถระกระทําอะไร จึงบอกว่า พระองคุลิมาลเถระมากระทําสัจจกิริยาเพื่อตลอดโดยสวัสดี. แต่นั้น ชนเหล่านั้นจึงกั้นม่านปูลาดตั่งไว้ภายนอกม่าน สําหรับพระเถระ.
พระเถระนั่งบนตั่งนั้น กระทําสัจจกิริยาว่า ยโต อหํ ภคินิ สพฺพฺูพุทฺธสฺส อริยาย ชาติยา ชาโต ดูก่อนน้องหญิง จําเดิมแต่เราเกิดโดยอริยชาติแห่งพระสัพพัญูพุทธเจ้า. ทารกก็ออกมาดุจน้ำไหลจากธรรมกรก พร้อมกับกล่าวคําสัตย์นั่นเทียว. ทั้งมารดาทั้งบุตรมีความสวัสดีแล้ว.
ก็แลพระปริตรนี้ท่านกล่าวไว้ว่า นี้ชื่อว่า มหาปริตร จะไม่มีอันตรายไรๆ มาทําลายได้. ชนทั้งหลายได้กระทําตั่งไว้ตรงที่ที่พระเถระนั่งกระทําสัจจกิริยา. ชนทั้งหลายย่อมนําแม้ดิรัจฉานตัวเมียที่มีครรภ์หลงมาให้นอนที่ตั่งนั้น. ในทันใดนั้นเอง ก็คลอดออกได้โดยง่าย. ตัวใดทุรพลนํามาไม่ได้ ก็เอาน้ำล้างตั่งนั้นไปรดศีรษะ ก็คลอดออกได้ในขณะนั้นทีเดียว. แม้โรคอย่างอื่นก็สงบไป. ได้ยินว่า พระมหาปริตรนี้มีปาฏิหาริย์ตั้งอยู่ตลอดกัป.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 164
ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมให้พระเถระทําเวชกรรมหรือ.
ตอบว่า พระองค์มิได้ให้กระทํา. เพราะพวกมนุษย์พอเห็นพระเถระก็กลัวต่างหนีกันไป. พระเถระย่อมลําบากด้วยภิกษาหาร ย่อมไม่อาจกระทําสมณธรรมได้. ทรงให้กระทําสัจจกิริยา เพราะจะสงเคราะห์พระเถระนั้น.
ดังได้สดับมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นได้มีปริวิตกอย่างนี้ว่า บัดนี้ พระองคุลิมาลเถระกลับได้เมตตาจิต กระทําความสวัสดีให้แก่พวกมนุษย์ด้วยสัจจกิริยา ฉะนั้น พวกมนุษย์ย่อมสําคัญว่าควรเข้าไปหาพระเถระ ต่อแต่นั้นจักไม่ลําบากด้วยภิกษาหาร อาจกระทําสมณธรรมได้ จึงให้กระทําสัจจกิริยา เพราะทรงอนุเคราะห์ด้วยประการฉะนี้. สัจจกิริยามิใช่เป็นเวชกรรม. อนึ่ง เมื่อพระเถระเรียนมูลกัมมัฏฐานด้วยตั้งใจว่า จักกระทําสมณธรรมแล้วไปนั่ง ณ ที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน จิตก็จะไม่ดําเนินไปเฉพาะพระกัมมัฏฐาน. ย่อมปรากฏเฉพาะแต่ที่ที่ท่านยืนที่ดงแล้ว ฆ่าพวกมนุษย์เท่านั้น. อาการแห่งถ้อยคําก็ดี ความวิการแห่งมือและเท้าก็ดี ของคนที่กลัวความตายว่า ข้าพเจ้าเป็นคนเข็ญใจ ข้าพเจ้ายังมีบุตรเล็กๆ อยู่ โปรดให้ชีวิตแก่ข้าพเจ้าเถิดนายดังนี้ ย่อมมาสู่คลอง มโนทวาราวัชชนะ ท่านจะมีความเดือดร้อน ต้องลุกไปเสียจากที่นั้น. ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าให้กระทําสัจจกิริยาโดยอริยชาติ ด้วยทรงเล็งเห็นว่า พระองคุลิมาลต้องกระทําชาตินั้นให้เป็นอัพโพหาริก เสียก่อนแล้วเจริญวิปัสสนา จึงจักบรรลุพระอรหัตต์ได้.
บทว่า เอโก วูปกฏโ เป็นต้น กล่าวไว้พิสดารแล้วในวัตถสูตร.
บทว่า อฺเนปิ เลฑฺฑุขิตฺโต ความว่า ก้อนดินเป็นต้นที่คนซัดไปโดยทิศาภาคใดๆ ก็ตาม ในที่นี้เพียงล้อมไว้โดยรอบ เพื่อกันกาสุนัขและสุกรเป็นต้น ให้กลับไป ก็มาตกลงที่กายของพระเถระอยู่อีก. เป็นอยู่อย่างนี้ในที่มีประมาณเท่าไร บ่วงแร้วที่ดักไว้ยังอยู่ จนท่านเที่ยวบิณฑบาตกลับแล้วก็สวมบ่วงจนได้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 165
บทว่า ภินฺเนน สีเสน ความว่า ทําลายหนังกําพร้าแตกจนจดกระดูก.
บทว่า พฺราหฺมณ ท่านกล่าวหมายถึงความเป็นพระขีณาสพ.
บทว่า ยสฺส โข ตฺวํ พฺราหฺมณ กมฺมสฺส วิปาเกน นี้ ท่านกล่าวหมายเอาทิฏฐธรรมเวทนียกรรมที่เป็นสภาค กัน.
จริงอยู่ กรรมที่ท่านกระทำนั่นแหละย่อมยังส่วนทั้งสามให้เต็ม ในบรรดาจิต ๗ ดวง ชวนจิตดวงแรกเป็นกุศลหรืออกุศล ก็ย่อมชื่อว่า ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม. กรรมนั้น ย่อมให้ซึ่งวิบากในอัตภาพนี้เท่านั้น.
เมื่อไม่อาจเช่นนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นอโหสิกรรมไป ด้วยหมวดสามนี้คือ อโหสิกรรม (นาโหสิ กมฺมวิปาโก) กรรมวิบากไม่ได้มีแล้ว (น ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก) กรรมวิบากจักไม่มี (นตฺถิ กมฺมวิปาโก) ไม่มีกรรมวิบาก.
ชวนเจตนาดวงที่ ๗ อันให้สําเร็จประโยชน์ ชื่อว่า อุปปัชชเวทนียกรรม. กรรมนั้นย่อมให้ผลในอัตภาพถัดไป. เมื่อไม่อาจเช่นนั้น กรรมนั้นก็ชื่อว่าเป็นอโหสิกรรม โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นเทียว.
ชวนเจตนา ๕ ดวง ในระหว่างกรรมทั้งสอง ย่อมชื่อว่า อปราปริยเวทนียกรรม. กรรมนั้น ย่อมได้โอกาสเมื่อใด ย่อมให้ผลเมื่อนั้นในอนาคต. เมื่อยังมีการเวียนว่ายอยู่ในสงสาร ชื่อว่าอโหสิกรรมย่อมไม่มี.
ก็กรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ของพระเถระ คือ อุปปัชชเวทนียกรรม ๑ อปราปริยเวทนียกรรม ๑ อันพระอรหัตตมรรคตัวกระทํากรรมให้สิ้นถอนขึ้นเสร็จแล้ว. ยังมีแต่ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม. กรรมนั้นแม้ท่านถึงพระอรหัตต์แล้ว ก็ยังให้ผลอยู่นั่นเทียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงกรรมนี้ จึงตรัสว่า ยสฺส โข ตฺวํ เป็นต้น. เพราะฉะนั้น ในคําว่า ยสฺส โข นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ยาทิสสฺส โข ตฺวํ พฺราหฺมณ กมฺมสฺส วิปาเกน ดูก่อนพราหมณ์ ด้วยผลแห่งกรรมเช่นใดแลท่าน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 166
บทว่า อพฺภา มุตฺโต นี้ สักว่าเป็นยอดแห่งเทศนา.
ในที่นี้ท่านประสงค์เอาว่าพระจันทร์พ้นจากเครื่องเศร้าหมองเหล่านี้ คือ หมอก น้ำค้าง ควัน ธุลี ราหู. ภิกษุเป็นผู้พ้นแล้วจากกิเลส คือความประมาท เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังโลก คือขันธ์ อายตนะ และธาตุของตนนี้ให้ผ่องใส คือกระทําความมืด คือกิเลสอันตนขจัดเสียแล้ว เหมือนอย่างพระจันทร์ไม่มีอุปกิเลส ดังกล่าวมานี้ ย่อมยังโลกให้สว่างไสวฉะนั้น.
บทว่า กุสเลน ปิถิยฺยติ ความว่า ย่อมปิดด้วยกุศล คือมรรค ได้แก่ กระทํามิให้มีปฏิสนธิอีก.
บทว่า ยฺุชติ พุทฺธสาสเน ความว่า ประกอบแล้ว ประกอบทั่วแล้วด้วยกาย วาจาและด้วยใจ อยู่ในพุทธศาสนา. คาถาทั้ง ๓ เหล่านี้ เรียกอุทานคาถาของพระเถระ.
ได้ยินว่า พระเถระเมื่อจะกระทําอาการป้องกันตน จึงกล่าวคําว่า ทิสา หิ เม นี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิสา หิ เม ความว่า ชนพวกที่เป็นศัตรูของเรา ย่อมติเตียนเราอย่างนี้ แม้พระองคุลิมาล จงเสวยทุกข์เหมือนอย่างที่พวกเราทั้งหลายเสวยทุกข์ เพราะอํานาจพวกญาติถูกองคุลิมาลฆ่าแล้วฉะนั้น หมายความว่า ชนเหล่านั้นจงได้ยินธรรมกถา คือ สัจจะ ๔ ของเราทุกทิศ.
บทว่า ยฺุชนฺตุ ความว่า ผู้ประกอบแล้ว ประกอบทั่วแล้วด้วยกาย วาจาและใจอยู่.
บทว่า เย ธมฺมเมวาทปยนฺติ สนฺโต ความว่า คนดี คือสัปบุรุษเหล่าใด ย่อมยึดธรรมนั่นเทียว คือ สมาทาน คือถือเอาชนเหล่านั้น (ผู้เกิดแต่มนู) เป็นข้าศึกของเรา จงคบ จงเสพ หมายความว่าจงมีรูปเป็นที่รักเถิด.
บทว่า อวิโรธปสํสนํ คือ เมตตา ท่านเรียกว่า อวิโรธ (ความไม่โกรธ) หมายความว่า ความเมตตาและความสรรเสริญ.
บทว่า สุณนฺตุ ธมฺมํ กาเลน ความว่า ขอจงฟังขันติธรรม เมตตาธรรม ปฏิสังขา-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 167
ธรรม และสาราณียธรรมทุกๆ ขณะ.
บทว่า ตฺจ อนุวิธียนฺตุ ความว่า และจงกระทําตามคือบําเพ็ญธรรมนั้นให้บริบูรณ์.
บทว่า น หิ ชาตุ โส มมํ หิํเส ความว่า ผู้ใดเป็นผู้มุ่งร้ายต่อเรา ขอผู้นั้นอย่าพึงเบียดเบียนเราโดยส่วนเดียวเทียว.
บทว่า อฺํ วา ปน กิฺจิ นํ ความว่า จงอย่าเบียดเบียน จงอย่าทําให้ลําบากซึ่งเราอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ แม้บุคคลไรๆ อื่นก็อย่าเบียดเบียน อย่าทําให้ลําบาก.
บทว่า ปปฺปุยฺย ปรมํ สนฺติํ ได้แก่ ถึงพระนิพพานอันมีความสงบอย่างยิ่ง.
บทว่า รกฺเขยฺย ตสถาวเร ความว่า ผู้ยังมีตัณหา ท่านเรียกว่า ผู้มีความสะดุ้ง ผู้ไม่มีตัณหา ท่านเรียกว่า ผู้มั่นคง.
ท่านกล่าวคําอธิบายไว้ดังนี้ บุคคลใดถึงพระนิพพาน บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้ที่สามารถเพื่อรักษาความสะดุ้งและความมั่นคงทั้งสิ้นได้ เพราะฉะนั้น บุคคลผู้เช่นกับด้วยเราย่อมถึงพระนิพพาน ชนทั้งหลายย่อมเบียดเบียนเราโดยส่วนเดียวหาได้ไม่ ดังนี้. ท่านกล่าวคาถาทั้งสามนี้ เพื่อป้องกันตน.
บัดนี้ เมื่อจะแสดงความปฏิบัติของตนเอง จึงกล่าวคํามีอาทิว่า อุทกฺหิ น ยนฺติ เนตฺติกา.
บทว่า เนตฺติกา ในคาถานั้น ความว่า ชนเหล่าใด ชําระเหมืองให้สะอาดแล้วผูก (ทํานบ) ในที่ที่ควรผูก ไขน้ำออกไป.
บทว่า อุสุการา ทมยนฺติ ความว่า (ช่างศร) ทาด้วยน้ำข้าวย่างที่ถ่านเพลิงดัดตรงที่โค้งทําให้ตรง.
บทว่า เตชนํ ได้แก่ลูกธนู. ช่างศรย่อมดัดลูกศรนั้นและให้คนอื่นดัด ฉะนั้น จึงเรียกว่า เตชนํ.
บทว่า อตฺตานํ ทมยนฺติ ความว่า บัณฑิตย่อมฝึกตนคือกระทําให้ตรง คือกระทําให้หมดพยศ เหมือนอย่างผู้ทดน้ำย่อมไขน้ำไปโดยทางตรง ช่างศรก็ทําศรให้ตรง และช่างถากไม้ก็ถากไม้ให้ตรงฉะนั้น.
บทว่า ตาทินา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้คงที่ด้วยอาการ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 168
๕ อันไม่มีความผิดปกติในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เป็นต้น คือ พระศาสดาผู้ถึงลักษณะแห่งความคงที่อย่างนี้คือ ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะอรรถว่า คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ชื่อว่า ผู้คงที่เพราะอรรถว่า คายเสียแล้ว ชื่อว่าผู้คงที่เพราะอรรถว่า สละแล้ว ชื่อว่า ผู้คงที่เพราะอรรถว่า ข้ามได้แล้ว ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะแสดงออกซึ่งความคงที่นั้น.
บทว่า ภวเนตฺติ ได้แก่ เชือกแห่งภพ. คํานี้เป็นชื่อแห่งตัณหา.
จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายถูกตัณหานั้นผูกหทัยไว้นําไปสู่ภพนั้นๆ ดุจโคที่เขาล่ามไว้ด้วยเชือกที่คอฉะนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภวเนตฺติ (ตัณหาอันนําสัตว์ไปสู่ภพ).
บทว่า ผุฏโ กมฺมวิปาเกน ความว่า ผู้อันมรรคเจตนาถูกต้องแล้ว. ก็เพราะกรรมอันมรรคเจตนาเผา คือ แผดเผาไหม้ให้ถึงความสิ้นไป ฉะนั้น มรรคเจตนานั้นท่านจึงเรียกว่า "กรรมวิบาก". ก็ท่านพระองคุลิมาลนี้ อันกรรมวิบากนั้นถูกต้องแล้ว.
บทว่า อนโณ ได้แก่ เป็นผู้ไม่มีกิเลส ย่อมไม่เป็นไปเพื่อทุกขเวทนา.
อนึ่ง ในคําว่า อนโณ ภฺุชามิ (เราเป็นผู้ไม่เป็นหนี้บริโภค) นี้พึงทราบการบริโภค ๔ อย่าง คือ เถยยบริโภค ๑ อิณบริโภค ๑ ทายัชชบริโภค ๑ สามิบริโภค ๑.
ในบรรดาบริโภค ๔ อย่างนั้น การบริโภคของผู้ทุศีล ชื่อว่า เถยยบริโภค. ก็ผู้ทุศีลนั้นขโมยปัจจัย ๔ บริโภค.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสคํานี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอบริโภคก้อนข้าวของชาวเมืองด้วยความเป็นขโมย ดังนี้.
ส่วนการไม่พิจารณาแล้วบริโภคของท่านผู้มีศีล ชื่อว่า อิณบริโภค (เป็นหนี้บริโภค) การบริโภคของพระเสขะ ๗ จําพวก ชื่อว่า ทายัชชบริโภค (บริโภคโดยเป็นทายาท). การบริโภคของพระขีณาสพ ชื่อว่า สามิบริโภค (บริโภคโดยความเป็นเจ้าของ).
บทว่า ไม่มีหนี้ ในที่นี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 169
ท่านกล่าวหมายเอาความไม่มีหนี้ คือกิเลส. ปาฐะว่า อนิโณ ดังนี้ก็มี.
บทว่า ภฺุชามิ โภชนํ (เราจะฉันโภชนะ) ท่านกล่าวหมายเอาสามิบริโภค.
บทว่า กามรติสนฺถวํ ความว่า ท่านทั้งหลายอย่าประกอบเนืองๆ คือ อย่ากระทําความเชยชมด้วยความยินดีเพราะตัณหาในกามทั้งสอง.
บทว่า นยิทํ ทุมฺมนฺติตํ มม ความว่า ความที่เราเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วคิดว่าเราจักบวช อันใด ความคิดของเรานั้นมิใช่เป็นความคิดชั่วแล้ว.
บทว่า สุวิภตฺเตสุ ธมฺเมสุ ความว่า ในธรรมที่เราเกิดขึ้นในโลกอย่างนี้ว่า เราเป็นศาสดาจําแนกดีแล้วเหล่านั้น พระนิพพานเป็นธรรมประเสริฐที่สุดอันใด เราเข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว ซึ่งพระนิพพานนั้นนั่นเทียว เพราะฉะนั้น การมาถึงของเรานี้เป็นการมาดีแล้ว ไม่ปราศจากประโยชน์.
บทว่า ติสฺโส วิชฺชา ได้แก่ ปุพเพนิวาสญาณ ทิพพจักขุญาณและอาสวักขยปัญญา.
บทว่า กตํ พุทฺธสฺส สาสนํ ความว่า กิจที่ควรกระทําในศาสนาของพระพุทธเจ้าอันใด ยังมีอยู่ กิจอันนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้ากระทําแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังเทศนาให้ถึงที่สุด ด้วยวิชชาสามและโลกุตตรธรรมเก้า ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาอังคุลิมาลสูตรที่ ๖