พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ปิยชาติกสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36092
อ่าน  584

[เล่มที่ 21] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 170

๗. ปิยชาติกสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 21]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 170

๗. ปิยชาติกสูตร

[๕๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล บุตรน้อยคนเดียวของคฤหบดีผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นที่รักที่ชอบใจได้กระทํากาละลง. เพราะการทํากาละของบุตรนั้นคนเดียวนั้น การงานย่อมไม่แจ่มแจ้ง อาหารย่อมไม่ปรากฏ. คฤหบดีนั้นได้ไปยังป่าช้าแล้วๆ เล่าๆ คร่ําครวญถึงบุตรว่า บุตรน้อยคนเดียวอยู่ไหน บุตรน้อยคนเดียวอยู่ไหน. ครั้งนั้นแล คฤหบดีนั้นได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๕๓๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะคฤหบดีผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วว่า ดูก่อนคฤหบดี อินทรีย์ไม่เป็นของท่านผู้ตั้งอยู่ในจิตของตน ท่านมีอินทรีย์เป็นอย่างอื่นไป. คฤหบดีนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทําไมข้าพระองค์จะไม่มีอินทรีย์เป็นอย่างอื่นเล่า เพราะว่าบุตรน้อยคนเดียวของข้าพระองค์ ซึ่งเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจได้ทํากาละเสียแล้ว เพราะการทํากาละของบุตรน้อยคนเดียวนั้น การงานย่อมไม่แจ้งแจ้ง อาหารย่อมไม่ปรากฏ ข้าพระองค์ไปยังป่าช้าแล้วๆ เล่าๆ คร่ําครวญถึงบุตรนั้นว่า บุตรน้อยคนเดียวอยู่ไหน.

พ. ดูก่อนคฤหบดี ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูก่อนคฤหบดี ข้อนี้เป็นอย่างนั้น เพราะว่าโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 171

ค. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่ว่าโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รักนั้น จักเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความจริง ความยินดีและความโสมนัส ย่อมเกิดแต่ของที่รักเป็นมาแต่ของที่รัก.

ครั้งนั้นแล คฤหบดีนั้น ไม่ยินดี ไม่คัดค้านพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากที่นั่งแล้วหลีกไป.

[๕๓๗] ก็สมัยนั้นแล นักเลงสะกาเป็นอันมาก เล่นสะกากันอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้น คฤหบดีนั้นเข้าไปหานักเลงสะกาเหล่านั้น แล้วได้กล่าวกะนักเลงสะกาเหล่านั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอโอกาส ข้าพเจ้าได้เข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ ได้ถวายบังคมพระสมณโคดมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระสมณโคดมได้ตรัสกะข้าพเจ้าผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า ดูก่อนคฤหบดี อินทรีย์ไม่เป็นของท่านผู้ตั้งอยู่ในจิตของตน ท่านมีอินทรีย์เป็นอย่างอื่นไป ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อพระสมณโคดมตรัสอย่างนี้แล้ว ข้าพเจ้าได้กราบทูลพระสมณโคดมว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทําไมข้าพระองค์จะไม่มีอินทรีย์เป็นอย่างอื่นเล่า เพราะว่าบุตรน้อยคนเดียวของข้าพระองค์ ซึ่งเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ ได้ทํากาละเสียแล้ว เพราะการทํากาละของบุตรน้อยคนเดียวนั้น การงานย่อมไม่แจ่มแจ้ง อาหารย่อมไม่ปรากฏ ข้าพระองค์ไปยังป่าช้าแล้วๆ เล่าๆ คร่ําครวญถึงบุตรว่า บุตรน้อยคนเดียวอยู่ไหน บุตรน้อยคนเดียวอยู่ไหน เมื่อข้าพเจ้าทูลอย่างนี้แล้ว พระสมณโคดมได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูก่อนคฤหบดี ข้อนี้เป็นอย่างนั้น เพราะว่าโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก เมื่อพระสมณ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 172

โคดมตรัสอย่างนี้แล้ว ข้าพเจ้าได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่ว่าโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ย่อมเกิดมาแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รักนั้น จักเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความจริงความยินดีและความโสมนัสย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ครั้งนั้นข้าพเจ้ามิได้ยินดี มิได้คัดค้านพระภาษิตของพระสมณโคดม ลุกจากที่นั่งแล้วหลีกไป. นักเลงสะกาเหล่านั้นได้กล่าวว่า ดูก่อนคฤหบดี ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูก่อนคฤหบดี ข้อนี้เป็นอย่างนั้น เพราะว่าความยินดีและความโสมนัสย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก. ครั้งนั้นแล คฤหบดีนั้นคิดว่า ความเห็นของเราสมกันกับนักเลงสะกาทั้งหลาย ดังนี้ แล้วหลีกไป.

[๕๓๘] ครั้งนั้นแล เรื่องที่พูดกันนี้ ได้แพร่เข้าไปถึงในพระราชวังโดยลําดับ. ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสเรียกพระนางมัลลิกาเทวีมา แล้วตรัสว่า ดูก่อนมัลลิกา คําว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รักดังนี้ พระสมณโคดมของเธอตรัสหรือ. พระนางมัลลิกาเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช ถ้าคํานั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจริง คํานั้นก็เป็นอย่างนั้น เพคะ.

ป. ก็พระนางมัลลิกานี้ อนุโมทนาตามพระดํารัสที่สมณโคดมตรัสเท่านั้นว่า ข้าแต่พระมหาราช ถ้าคํานั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจริง คํานั้นก็เป็นอย่างนั้น เพคะ. ดูก่อนมัลลิกา เธออนุโมทนาตามพระดํารัสที่พระสมณโคดมตรัสเท่านั้นว่า ข้าแต่พระมหาราช ถ้าคํานั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจริง คํานั้นก็เป็นอย่างนั้น เปรียบเหมือนศิษย์อนุโมทนาตามคําที่อาจารย์กล่าวว่า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ท่านอาจารย์ ฉะนั้น ดูก่อนมัลลิกา เธอจงหลบหน้าไปเสีย เธอจงพินาศ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 173

ตรัสเรียกนาฬิชังฆพราหมณ์

[๕๓๙] ครั้งนั้นแล พระนางมัลลิกาเทวีตรัสเรียกพราหมณ์ชื่อนาฬิชังฆะมาตรัสว่า มานี่แน่ะท่านพราหมณ์ ขอท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกะปรี้กะเปร่า มีพระกําลัง ทรงพระสําราญตามคําของฉันว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางมัลลิกาเทวีขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกะปรี้กะเปร่า มีพระกําลัง ทรงพระสําราญ และท่านจงทูลถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระวาจาว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจริงหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างไร ท่านพึงเรียนพระดํารัสนั้นให้ดี แล้วมาบอกแก่ฉัน อันพระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสไม่ผิดพลาด.

นาฬิชังฆพราหมณ์รับพระเสาวณีย์พระนางมัลลิกาแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดม พระนางมัลลิกาเทวี ขอถวายบังคม พระยุคลบาทของพระโคดมด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกะปรี้กะเปร่า มีพระกําลัง ทรงพระสําราญ และรับสั่งทูลถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระวาจานี้ว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจริงหรือ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น เพราะว่า โสกะ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 174

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รักอย่างไร ท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้.

เรื่องเคยมีแล้ว

[๕๔๐] ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้แล มารดาของหญิงคนหนึ่งได้ทํากาละ. เพราะการทํากาละของมารดานั้น หญิงคนนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน เข้าไปตามถนนทุกถนน ตามตรอกทุกตรอก แล้วได้ถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายได้พบมารดาของฉันบ้างไหม ท่านทั้งหลายได้พบมารดาของฉันบ้างไหม. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รักอย่างไร ท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้. ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้แล บิดาของหญิงคนหนึ่งได้ทํากาละ... พี่น้องชาย พี่น้องหญิง บุตร ธิดา สามีของหญิงคนหนึ่งได้ทํากาละ. เพราะการทํากาละของบิดาเป็นต้นนั้น หญิงคนนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน เข้าไปตามถนนทุกถนน ตามตรอกทุกตรอก แล้วได้ถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายได้พบบิดาเป็นต้นของฉันบ้างไหม ท่านทั้งหลายได้พบบิดาเป็นต้นของฉันบ้างไหม. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก อย่างไร ท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้แล.

[๕๔๑] ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้แล มารดาของชายคนหนึ่งได้ทํากาละลง. เพราะการทํากาละของมารดานั้น ชายคนนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน เข้าไปตามถนนทุกถนน ตามตรอกทุกตรอก แล้วได้ถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายได้พบมารดาของข้าพเจ้าบ้างไหม ท่านทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 175

ได้พบมารดาของข้าพเจ้าบ้างไหม. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รักอย่างไร ท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้. ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้แล บิดาของชายคนหนึ่งได้ทํากาละ... พี่น้องชาย พี่น้องหญิง บุตร ธิดา ภรรยาของชายคนหนึ่งทํากาละ เพราะการทํากาละของบิดาเป็นต้น นั้น ชายคนนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน เข้าไปตามถนนทุกถนน ตามตรอกทุกตรอก แล้วได้ถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายได้พบบิดาเป็นต้นของข้าพเจ้าบ้างไหม ท่านทั้งหลายได้พบบิดาเป็นต้นของข้าพเจ้าบ้างไหม. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของทีรักอย่างไร ท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้.

[๕๔๒] ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้แล หญิงคนหนึ่งได้ไปยังสกุลของญาติ พวกญาติของหญิงนั้น ใคร่จะพรากสามีของหญิงนั้น แล้วยกหญิงนั้นให้แก่ชายอื่น แต่หญิงนั้นไม่ปรารถนาชายคนนั้น. ครั้งนั้นแล หญิงนั้นได้บอกกับสามีว่า ข้าแต่ลูกเจ้า พวกญาติของดิฉัน ใคร่จะพรากท่านเสีย แล้วยกดิฉันให้แก่ชายอื่น แต่ฉันไม่ปรารถนาชายคนนั้น. ครั้งนั้นแล บุรุษผู้เป็นสามีได้ตัดหญิงผู้เป็นภรรยานั้นออกเป็นสองท่อน แล้วจึงผ่าตนด้วยความรักว่า เราทั้งสองจักตายไปด้วยกัน. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รักอย่างไร ท่านพึงโปรดทราบโดยปริยายแม้นี้.

[๕๔๓] ลําดับนั้นแล นาฬิชังฆพราหมณ์ชื่นชม อนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วลุกจากที่นั่ง ได้เข้าไปเฝ้าพระนางมัลลิกาเทวียังที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลถึงการที่ได้เจรจาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหมดแก่พระนางมัลลิกาเทวี. ลําดับนั้นแล พระนางมัลลิกาเทวี ได้เข้าไป

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 176

เฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงที่ประทับ แล้วได้ทูลถามพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ข้าแต่พระมหาราช ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน พระกุมารีพระนามว่าวชิรี เป็นที่รักของทูลกระหม่อมหรือ. พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสตอบว่า อย่างนั้นมัลลิกา วชิรีกุมารีเป็นที่รักของฉัน.

ม. ข้าแต่พระมหาราช ทูลกระหม่อมจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน เพราะพระวชิรีกุมารีแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จะพึงเกิดขึ้นแก่ทูลกระหม่อมหรือหาไม่ เพคะ.

ป. ดูก่อนมัลลิกา เพราะวชิรีกุมารีแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของฉันก็พึงเป็นอย่างอื่นไป ทําไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จักไม่เกิดแก่ฉันเล่า.

ม. ข้าแต่พระมหาราช ข้อนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงมุ่งหมายเอา ตรัสไว้ว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก เพคะ.

[๕๔๔] ข้าแต่พระมหาราช ทูลกระหม่อมจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน พระนางวาสภขัตติยาเป็นที่รักของทูลกระหม่อมหรือ เพคะ.

ป. อย่างนั้น มัลลิกา พระนางวาสภขัตติยาเป็นที่รักของฉัน.

ม. ข้าแต่พระมหาราช เพราะพระนางวาสภขัตติยาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ทูลกระหม่อมหรือหาไม่ เพคะ.

ป. ดูก่อนมัลลิกา เพราะวาสภขัตติยาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของฉันก็พึงเป็นอย่างอื่นไป ทําไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จักไม่เกิดแก่ฉันเล่า.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 177

ม. ข้าแต่พระมหาราช ข้อนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงมุ่งหมายเอา ตรัสไว้ว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก เพคะ.

ปิยปัญหา

[๕๔๕] ข้าแต่พระมหาราช ทูลกระหม่อมจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านวิฑูฑภเสนาบดีเป็นที่รักของทูลกระหม่อมหรือ เพคะ.

ป. อย่างนั้น มัลลิกา วิฑูฑภเสนาบดีเป็นที่รักของฉัน.

ม. ข้าแต่พระมหาราช ทูลกระหม่อมจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน เพราะท่านวิฑูฑภเสนาบดีแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จะพึงเกิดแก่ทูลกระหม่อมหรือหาไม่ เพคะ.

ป. ดูก่อนมัลลิกา เพราะวิฑูฑภเสนาบดีแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของฉันก็พึงเป็นอย่างอื่นไป ทําไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จักไม่เกิดแก่ฉันเล่า.

ม. ข้าแต่พระมหาราช ข้อนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงมุ่งหมายเอา ตรัสรู้ไว้ว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก เพคะ.

[๕๔๖] ข้าแต่พระมหาราช ทูลกระหม่อมจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน หม่อมฉัน เป็นที่รักของทูลกระหม่อมหรือ เพคะ.

ป. อย่างนั้น มัลลิกา เธอเป็นที่รักของฉัน.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 178

ม. ข้าแต่พระมหาราช ทูลกระหม่อมจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน เพราะหม่อมฉันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จะพึงเกิดแก่ทูลกระหม่อมหรือหาไม่ เพคะ.

ป. ดูก่อนมัลลิกา เพราะเธอแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของฉันก็พึงเป็นอย่างอื่นไป ทําไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปยาส จักไม่เกิดแก่ฉันเล่า.

ม. ข้าแต่พระมหาราช ข้อนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงมุ่งหมายเอา ตรัสไว้ว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก เพคะ.

[๕๔๗] ข้าแต่พระมหาราช ทูลกระหม่อมจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน แคว้นกาสีและแคว้นโกศล เป็นที่รักของทูลกระหม่อมหรือ เพคะ.

ป. อย่างนั้น มัลลิกา แคว้นกาสีและแคว้นโกศลเป็นที่รักของฉัน เพราะอานุภาพแห่งแคว้นกาสีและแคว้นโกศล เราจึงได้ใช้สอยแก่นจันทน์อันเกิดแต่แคว้นกาสี ได้ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้.

ม. ข้าแต่พระมหาราช ทูลกระหม่อมจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน เพราะแคว้นกาสีและแคว้นโกศลแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จะพึงเกิดแก่ทูลกระหม่อมหรือหาไม่ เพคะ.

ป. ดูก่อนมัลลิกา เพราะแคว้นกาสีและแคว้นโกศลแปรปรวนเป็นอย่างอื่น แม้ชีวิตของฉันก็พึงเป็นอย่างอื่นไป ทําไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปยายาส จักไม่เกิดแก่ฉันเล่า.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 179

ข้าแต่พระมหาราช ข้อนี้แล ที่พระผู้มีพระเจ้า ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงมุ่งหมายเอา ตรัสไว้ว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก เพคะ.

พระเจ้าปเสนทิโกศลเปล่งอุทาน

[๕๔๘] ป. ดูก่อนมัลลิกา น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา เท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น คงจะทรงเห็นชัด แทงตลอดด้วยพระปัญญา มานี่เถิดมัลลิกา ช่วยล้างมือให้ทีเถิด.

ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลุกขึ้นจากอาสน์ ทรงพระภูษาเฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง ทรงประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ แล้วทรงเปล่งพระอุทานว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ดังนี้ ๓ ครั้ง ฉะนี้แล.

จบปิยชาติกสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 180

อรรถกถาปิยชาติกสูตร

ปิยชาติกสูตรมีคําเริมต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

ในบทเหล่านั้น บทว่า เนว กมฺมนฺตา ปฏิภนฺติ ความว่า การงานย่อมไม่ปรากฏทั้งสิ้นโดยประการทั้งปวงคือ ย่อมไม่ปรากฏโดยการกําหนดตามปรกติ.

แม้ในบทที่สองก็นัยนี้นั่นเทียว.

ก็บทว่า น ปฏิภนฺติ ในพระสูตรนี้ แปลว่า ไม่ถูกใจ.

บทว่า อาหฬนํ แปลว่า ป่าช้า.

บทว่า อฺถตฺตํ ได้แก่ ความเป็นโดยประการอื่น เพราะมีวรรณะแปลกไป.

ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ชื่อว่า อินทรีย์. แต่คํานี้ท่านกล่าวหมายถึงโอกาสที่อินทรีย์ตั้งอยู่แล้ว.

บทว่า ปิยชาติกา ความว่า ย่อมเกิดจากความรัก.

บทว่า ปิยปฺปภูติกา ความว่า มีมาแต่ของที่รัก.

บทว่า สเจ ตํ มหาราช ความว่า แม้กําหนดความหมายของพระดํารัสนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น ด้วยความศรัทธาในพระศาสดา.

บทว่า จร ปิเร ความว่า เธอจงหลบไปทางอื่นเสีย หมายความว่า เธออย่ายืนอยู่ที่นี้ก็ได้.

อนึ่ง บทว่า จร ปิเร คือ เธอจงไปทางอื่น อธิบายว่า อย่ายืนในที่นี้บ้าง.

บทว่า ทฺวิธา เฉตฺวา ความว่า ตัดกระทําให้เป็น ๒ ส่วน ด้วยดาบ.

บทว่า อตฺตานํ อุปฺปาเลสิ ความว่า เอาดาบนั่นแหละแหวะท้องของตน. ก็ถ้าหญิงนั้นไม่เป็นที่รักของชายนั้น บัดนี้ชายนั้น ไม่พึงฆ่าคนด้วยคิดว่าเราจักหาหญิงอื่น. แต่เพราะหญิงนั้นเป็นที่รักของชายนั้น ฉะนั้น ชายนั้นปรารถนาความพร้อมเพรียงกับหญิงนั้นแม้ในปรโลก จึงได้กระทําอย่างนั้น.

คําว่า พระกุมาร พระนามว่า วชิรีเป็นที่โปรดปรานของพระองค์หรือ ความว่า ได้ยินว่า พระนางนั้นได้มีดำริอย่างนี้ พระนางกล่าว

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 181

อย่างนั้น เพราะคิดว่า ถ้าเราจะพึงกล่าวถ้อยคําเป็นต้นว่า ข้าแต่มหาราช เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้ ยังมีหญิงอื่นอีก พระองค์จะพึงปฏิเสธเราว่า ใครได้กระทําอย่างนั้นแก่เจ้า จงถอยไป ข้อนั้นย่อมไม่มี เราจักยังหญิงนั้นให้เข้าใจด้วยอาการที่เป็นไปอยู่นั่นเทียว.

ในบทว่า วิปริณามฺถาภาวา นี้ บัณฑิตพึงทราบความเปลี่ยนแปลงเพราะความตาย คือ ความเป็นโดยประการอื่น ด้วยการหนีไปกับใครๆ ก็ได้.

บทว่า วาสภาย ความว่า พระเทวีของพระราชาองค์หนึ่ง พระนามว่า วาสภา ท่านกล่าวหมายถึงพระนางนั้น.

บทว่า ปิย เต อหํ ท่านกล่าวในภายหลังทั้งหมด เพราะเหตุไร.

ได้ยินว่า ความดําริอย่างนี้ได้มีแล้วแก่พระนางนั้น จึงทูลถาม ในภายหลังทั้งหมดเพื่อให้เป็นที่ตั้งแห่งถ้อยคําว่า พระราชานี้ทรงกริ้วเรา ถ้าเราจะพึงถามก่อนคนอื่นทั้งหมดว่า หม่อมฉันเป็นที่รักของพระองค์หรือ พระองค์ก็จะพึงตรัสว่า เจ้ามิได้เป็นที่รักของเรา จงหลีกไปทางอื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้อยคําก็จักไม่ได้ตั้งขึ้น.

บัณฑิตพึงทราบความเปลี่ยนแปลงโดยความเป็นผู้ถูกทิ้งไว้ในแคว้นกาสีโกศล ความเป็นโดยประการอื่นโดยอยู่ในเงื้อมมือพระราชาผู้เป็นปฏิปักษ์ทั้งหลาย (ราชศัตรู).

บทว่า อาจเมหิ ความว่า เจ้าจงเอาน้ำบ้วนปากมา.

พระเจ้าปัสเสนทิโกศล ทรงบ้วนแล้ว ทรงล้างพระหัตถ์และพระบาทแล้ว ทรงกลั้วพระโอษฐ์ แล้วประสงค์จะนมัสการพระศาสดา จึงตรัสอย่างนั้น.

คําที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปิยชาติกสูตรที่ ๗