พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ธรรมเจติยสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36094
อ่าน  579

[เล่มที่ 21] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 193

๙. ธรรมเจติยสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 21]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 193

๙. ธรรมเจติยสูตร

[๕๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของพวกเจ้าศากยะอันมีชื่อว่าเมทฬุปะ ในแคว้นสักกะ. ก็สมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปถึงนครกนิคมด้วยพระราชกรณียะบางอย่าง. ครั้งนั้น ท้าวเธอรับสั่งกะทีฆการายนะเสนาบดีว่า ดูก่อนการายนะผู้สหาย ท่านจงเทียมยานที่ดีๆ ไว้ เราจะไปดูภูมิภาคอันดีในพื้นที่อุทยาน. ทีฆการายนะเสนาบดีรับสนองพระราชดํารัสแล้ว ให้เทียมราชยานที่ดีๆ ไว้ แล้วกราบทูลแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าเทียมพระราชยานที่ดีๆ ไว้ เพื่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทพร้อมแล้ว ขอใต้ฝ่าพระบาททรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ขอเดชะ.

[๕๖๐] ลําดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จขึ้นทรงยานพระที่นั่งอย่างดีเสด็จออกจากนครกนิคม โดยกระบวนพระราชยานอย่างดีๆ ด้วยพระราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ เสด็จไปยังสวนอันรื่นรมย์ เสด็จพระราชดําเนินด้วยยานพระที่นั่งจนสุดภูมิประเทศที่ยานพระที่นั่งจะไปได้ จึงเสด็จลงทรงพระดําเนินเข้าไปยังสวน เสด็จพระราชดําเนินเที่ยวไปๆ มาๆ เป็นการพักผ่อน ได้ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้ล้วนน่าดู ชวนให้เกิดความผ่องใส เงียบสงัด ปราศจากเสียงอื้ออึง ปราศจากคนสัญจรไปมา ควรแก่การงานอันจะพึงทําในที่ลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่อยู่ของผู้ต้องการความสงัด ครั้นแล้วทรงเกิดพระปีติปรารภถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าต้นไม้เหล่านี้นั้นล้วนน่าดู ชวนให้เกิดความผ่องใส เงียบสงัด ปราศจากเสียงอื้ออึง ปราศจากคนสัญจรไปมา ควร

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 194

แก่การงานอันจะพึงทําในที่ลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่อยู่ของผู้ต้องการความสงัด เหมือนดังว่าเป็นที่ๆ เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าสัมมาสัมพุทธเจ้า. ลําดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสสั่งกะทีฆการายนะเสนาบดีว่า ดูก่อนทีฆการายนะผู้สหาย ต้นไม้เหล่านี้นั้นล้วนน่าดู ชวนให้เกิดความผ่องใส สมควรเป็นที่อยู่ของผู้ต้องการความสงัด เหมือนดังว่าเป็นที่ๆ เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนทีฆการายนะผู้สหาย เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ. ทีฆการายนะเสนาบดีกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช มีนิคมของพวกเจ้าศากยะชื่อว่าเมทฬุปะ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ ณ นิคมนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ป. ดูก่อนการายนะผู้สหาย ก็นิคมของพวกเจ้าศากยะชื่อว่าเมทฬุปะมีอยู่จากนิคมนครกะไกลเพียงไร.

ที. ข้าแต่มหาราช ไม่ไกลนัก ระยะทาง ๓ โยชน์ อาจเสด็จถึงได้โดยไม่ถึงวัน ขอเดชะ.

ป. ดูก่อนการายนะผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเทียมยานที่ดีๆ ไว้เราจักไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ทีฆการายนะเสนาบดีทูลรับสนองพระราชดํารัสแล้วสั่งให้เทียมยานที่ดีๆ ไว้ แล้วกราบทูลแด่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าเทียมยานที่ดีๆ ไว้พร้อมแล้ว พระเจ้าข้า ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้โปรดทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด.

เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

[๕๖๑] ลําดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จขึ้นทรงยานพระที่นั่งอย่างดี เสด็จจากนครกนิคมโดยกระบวนพระราชยานอย่างดี เสด็จไปยังนิคม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 195

ของพวกเจ้าศากยะชื่อว่าเมทฬุปะ เสด็จถึงนิคมนั้นโดยไม่ถึงวัน เสด็จเข้าไปยังสวน เสด็จพระราชดําเนินด้วยยานพระที่นั่งไปจนสุดภูมิประเทศที่ยานพระที่นั่งจะไปได้ เสด็จลงจากยานพระที่นั่งแล้วทรงดําเนินเข้าไปยังสวน. ก็สมัยนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากเดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง. ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น แล้วตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลายผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหน ข้าพเจ้าประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. ภิกษุเหล่านั้นถวายพระพรว่า ดูก่อนมหาบพิตร นั่นพระวิหาร พระทวารปิดเสียแล้ว เชิญมหาบพิตรเงียบเสียงค่อยๆ เสด็จเข้าไป ถึงระเบียงแล้ว ทรงกระแอมเคาะพระทวารเข้าเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงเปิดพระทวารรับมหาบพิตร ขอถวายพระพร.

ลําดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมอบพระแสงขรรค์และพระอุณหิศเเก่ทีฆการายนะเสนาบดีในที่นั้น. ครั้งนั้น ทีฆการายนะเสนาบดีมีความดําริว่า บัดนี้ พระมหาราชจักทรงปรึกษาความลับ เราควรจะยืนอยู่ในที่นี้แหละ. ลําดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเงียบเสียง เสด็จเข้าไปทางพระวิหารซึ่งปิดพระทวาร ทรงค่อยๆ เสด็จเข้าไปถึงพระระเบียง ทรงกระแอมแล้วทรงเคาะพระทวาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าเปิดพระทวาร.

ลําดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ทรงซบพระเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจูบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระโอษฐ์ ทรงนวดพระยุคลบาทด้วยพระหัตถ์ และทรงประกาศพระนามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันคือพระเจ้าปเสนทิโกศล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันคือพระเจ้าปเสนทิโกศล. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรทรงเห็นอํานาจประโยชน์อะไร จึงทรงกระทําการ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 196

เคารพนอบน้อมเป็นอย่างยิ่งเห็นปานนี้ในสรีระนี้ และทรงแสดงอาการฉันทมิตร.

ความเลื่อมใสในธรรม

[๕๖๒] พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมีความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส หม่อมฉันเห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์กําหนดที่สุดสิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง. สมัยต่อมา สมณพราหมณ์เหล่านั้น อาบน้ำดําเกล้า ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บําเรอตนให้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมไปด้วยเบญจกามคุณ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ มีชีวิตเป็นที่สุดจนตลอดชีวิต. อนึ่ง หม่อมฉันมิได้เห็นพรหมจรรย์อื่นอันบริสุทธิ์บริบูรณ์อย่างนี้ นอกจากธรรมวินัยนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคเจ้าของหม่อมฉันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว.

[๕๖๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง พระราชาก็ยังวิวาทกับพระราชา แม้กษัตริย์ก็ยังวิวาทกับกษัตริย์ แม้พราหมณ์ก็ยังวิวาทกับพราหมณ์ แม้คฤหบดีก็วิวาทกับคฤหบดี แม้มารดาก็ยังวิวาทกับบุตร แม้บุตรก็ยังวิวาทกับมารดา แม้บิดาก็ยังวิวาทกับบุตร แม้บุตรก็ยังวิวาทกับบิดา แม้พี่น้องชายก็ยังวิวาทกับพี่น้องหญิง แม้พี่น้องหญิงก็ยังวิวาทกับพี่น้องชาย แม้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 197

สหายก็ยังวิวาทกับสหาย. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้สมัครสมานกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้สนิทเหมือนน้ำกับน้ำนม มองดูกันและกันด้วยจักษุอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่เคยเห็นบริษัทอื่นที่สมัครสมานกันอย่างนี้ นอกจากธรรมวินัยนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคเจ้าของหม่อนฉัน...

[๕๖๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันเดินเที่ยวไปตามอารามทุกอาราม ตามอุทยานทุกอุทยานอยู่เนืองๆ ในที่นั้นๆ หม่อมฉันได้เห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ผ่องใส ผอมเหลือง ตามตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูเหมือนว่าจะไม่ตั้งใจแลดูคน. หม่อมฉันนั้นได้เกิดความคิดว่า ท่านเหล่านี้คงไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์เป็นแน่ หรือว่าท่านเหล่านั้นมีบาปกรรมอะไรที่ทําแล้วปกปิดไว้ ท่านเหล่านี้จึงซูบผอม เศร้าหมองมีผิวพรรณไม่ผ่องใส ผอมเหลือง ตามตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูเหมือนว่าไม่ตั้งใจแลดูคน. หม่อมฉันเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้วถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เหตุไรหนอ ท่านทั้งหลายจึงซูบผอมเศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ผ่องใส ผอมเหลือง ตามตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูเหมือนว่าไม่ตั้งใจแลดูคน. สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้ตอบอย่างนี้ว่า ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพทั้งหลายเป็นโรคพันธุกรรม.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ร่าเริงยิ่งนัก มีใจชื่นบาน มีรูปอันน่ายินดี มีอินทรีย์เอิบอิ่ม มีความขวนขวายน้อย มีขนอันตก เลี้ยงชีพด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจดังมฤคอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้มีความคิดว่า ท่านเหล่านี้ คงรู้คุณวิเศษยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแน่ ท่านเหล่านั้นจึงร่าเริงยิ่งนัก มีใจชื่นบาน มีรูปอัน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 198

น่ายินดี มีอินทรีย์เอิบอิ่ม มีความขวนขวายน้อย มีขนอันตก เลี้ยงชีพด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจดังมฤคอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคเจ้าของหม่อมฉัน...

[๕๖๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันเป็นขัตติยราช ได้มูรธาภิเษกแล้ว ย่อมสามารถจะให้ฆ่าคนที่ควรฆ่าได้ จะให้ริบคนที่ควรริบก็ได้ จะให้เนรเทศคนที่ควรเนรเทศก็ได้. เมื่อหม่อมฉันนั่งอยู่ในที่วินิจฉัยความ ก็ยังมีคนทั้งหลายพูดสอดขึ้นในระหว่างๆ หม่อมฉันจะห้ามว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อเรานั่งอยู่ในที่วินิจฉัยความ ท่านทั้งหลายอย่าพูดสอดขึ้นในระหว่าง จงรอคอยให้สุดถ้อยคําของเราเสียก่อน ดังนี้ ก็ไม่ได้ คนทั้งหลายก็ยังพูดสอดขึ้นในระหว่างถ้อยคําของหม่อมฉัน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ในสมัยใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีเสียงจามหรือเสียงไอเลย. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้ารูปหนึ่งได้ไอขึ้น. เพื่อนพรหมจรรย์รูปหนึ่ง ได้เอาเข่ากระตุ้นเธอรูปนั้น ด้วยความประสงค์จะให้เธอรู้สึกตัวว่า ท่านจงเงียบเสียง อย่าได้ทําเสียงดังไป พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นศาสดาของเราทั้งหลายกําลังทรงแสดงธรรมอยู่. หม่อมฉันเกิดความคิดขึ้นว่า น่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมา ได้ยินว่า บริษัทจักเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกดีแล้วอย่างนี้โดยไม่ต้องใช้อาชญา โดยไม่ต้องใช้ศาสตรา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่เคยได้เห็นบริษัทอื่นที่ฝึกได้ดีอย่างนี้ นอกจากธรรมวินัยนี้. แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคเจ้าของหม่อมฉัน...

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 199

[๕๖๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันได้เห็นกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาด อาจย่ํายีถ้อยคําอันเป็นข้าศึก ได้มีปัญญาสามารถยิงขนทรายได้. กษัตริย์เหล่านั้น เหมือนดังเที่ยวทําลายทิฐิของผู้อื่นด้วยปัญญา. พอได้ยินข่าวว่า พระสมณโคดมจักเสด็จถึงบ้านหรือนิคมชื่อโน้น กษัตริย์เหล่านั้นก็พากันแต่งปัญหาด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักพากันเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหานี้ ถ้าพระสมณโคดมอันพวกเราถามอย่างนี้แล้ว จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะอย่างนี้แก่พระสมณโคดม ถ้าแม้พระสมณโคดมอันเราทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราก็จักยกวาทะแม้อย่างนี้แก่พระสมณโคดม. กษัตริย์เหล่านั้นได้ยินข่าวว่า พระสมณโคดมเสด็จถึงบ้านหรือนิคมโน้นแล้ว ก็พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้กษัตริย์เหล่านั้นเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา. กษัตริย์เหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ไม่ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ไหนจักยกวาทะแก่พระองค์เล่า ที่แท้ก็พากันยอมตนเข้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคเจ้าของหม่อมฉัน...

[๕๖๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันได้เห็นพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต ฯลฯ คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิต... สมณะผู้เป็นบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาด อาจย่ํายีถ้อยคําอันเป็นข้าศึกได้ มีปัญญาสามารถยิงขนทรายได้. สมณะเหล่านั้นเหมือนดังเที่ยวทําลายทิฐิของผู้อื่นด้วยปัญญา. พอได้ยินข่าวว่า พระสมณโคดมจักเสด็จถึงบ้านหรือนิคมโน้น สมณะเหล่านั้นก็พากันแต่งปัญหาด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักพากันเข้าไปหาพระสมณ-

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 200

โคดมแล้วถามปัญหานี้ ถ้าพระสมณโคดมอันพวกเราถามอย่างนี้แล้ว จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะอย่างนี้แก่พระสมณโคดม ถ้าแม้พระสมณโคดมอันเราทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราก็จักยกวาทะแม้อย่างนี้แก่พระสมณโคดม. สมณะเหล่านั้นได้ยินข่าวว่า พระสมณโคดมเสด็จถึงบ้านหรือนิคมโน้นแล้ว ก็พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้สมณะเหล่านั้นเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา. สมณะเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ไม่ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ไหนจักยกวาทะแก่พระองค์เล่า ที่แท้ย่อมขอโอกาสกะพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อขอออกบวชเป็นบรรพชิต. พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงให้เขาเหล่านั้นบวช. ครั้นเขาเหล่านั้นได้บวชอย่างนี้แล้ว เป็นผู้หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว อยู่ไม่นานนักก็ทําให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. ท่านเหล่านั้นพากันกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย เราทั้งหลายย่อมไม่พินาศละซิหนอ ด้วยว่าเมื่อก่อนเราทั้งหลายไม่ได้เป็นสมณะเลย ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่ได้เป็นพราหมณ์เลย ก็ปฏิญาณว่าเป็นพราหมณ์ ไม่ได้เป็นพระอรหันต์เลย ก็ปฏิญาณว่าเป็นพระอรหันต์ บัดนี้พวกเราเป็นสมณะ เป็นพราหมณ์ เป็นพระอรหันต์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคเจ้าของหม่อมฉัน...

[๕๖๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง ช่างไม้สองคน คนหนึ่งชื่ออิสิทันตะ คนหนึ่งชื่อปุราณะ หม่อนฉันชุบเลี้ยงไว้ ใช้ยวดยานของหม่อมฉัน หม่อมฉันให้เครื่องเลี้ยงชีพแก่เขา นํายศมาให้เขา แต่ถึงกระนั้น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 201

เขาจะได้ทําความเคารพนบนอบในหม่อมฉัน เหมือนในพระผู้มีพระภาคเจ้าก็หาไม่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว หม่อมฉันยกกองทัพออกไป เมื่อจะทดลองช่างไม้ชื่ออิสิทันตะและช่างไม้ปุราณะนี้ดู จึงเข้าพักอยู่ในที่พักอันคับแคบแห่งหนึ่ง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล นายช่างอิสิทันตะและนายช่างปุราณะเหล่านี้ ยังกาลให้ล่วงไปด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก ได้ฟังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ทิศใด เขาก็ผินศีรษะไปทางทิศนั้น นอนเหยียดเท้ามาทางหม่อมฉัน. หม่อมฉันมีความคิดว่าท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์นักหนอ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ นายช่างอิสิทันตะและนายช่างปุราณะเหล่านี้ เราชุบเลี้ยงไว้ ใช้ยวดยานก็ของเรา เราให้เครื่องเลี้ยงชีพแก่เขา นํายศมาให้เขา แต่ถึงกระนั้น เขาจะได้ทําความเคารพนบนอบในเรา เหมือนในพระผู้มีพระภาคเจ้าก็หาไม่. ท่านเหล่านี้คงจะรู้คุณวิเศษยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นแน่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคเจ้าของหม่อมฉัน...

[๕๖๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นกษัตริย์ แม้หม่อมฉันก็เป็นกษัตริย์ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มีพระชนมายุ ๘๐ ปี แม้หม่อมฉันก็มีอายุ ๘๐ ปี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุนี้แล หม่อมฉันจึงได้ทําความเคารพนบนอบเป็นอย่างยิ่งในพระผู้มีพระภาคเจ้า และแสดงอาการเป็นฉันทมิตร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น หม่อมฉันขอทูลลาไป ณ บัดนี้ หม่อมฉันมีกิจมาก มีกรณียะมาก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจงทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด. ลําดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลุกจากที่ประทับ ทรงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทําประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 202

ตรัสธรรมเจดีย์

[๕๗๐] ครั้งนั้นแล เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าปเสนทิโกศลพระองค์นี้ ตรัสธรรมเจดีย์ คือพระวาจาเคารพธรรม ทรงลุกจากที่ประทับนั่งแล้วเสด็จหลีกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนธรรมเจดีย์นี้ไว้ จงทรงจําธรรมเจดีย์นี้ไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเจดีย์ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นอาทิพรหมจรรย์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

จบธรรมเจติยสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 203

อรรถกถาธรรมเจติยสูตร

ธรรมเจติยสูตรมีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

ในพระสูตรนั้น คําว่า เมทลุปํ เป็นชื่อของนิคมนั้น.

ก็ได้ยินว่านิคมนั้น มีแผ่นหินมีสีดุจมันข้น (๑) เกิดขึ้นหนาแน่นในที่นั้นๆ เพราะฉะนั้นจึงถึงการนับว่า เมทลุปะ. อนึ่ง เสนาสนะในนิคมนั้น ก็ไม่แน่นอน ฉะนั้นจึงมิได้กล่าวไว้.

บทว่า นครกํ ได้แก่ นิคมหนึ่งของเจ้าศากยะมีชื่ออย่างนั้น.

คําว่า ด้วยพระราชกรณียะบางอย่าง คือ มิใช่ด้วยกรณียะอย่างอื่น แต่พระเจ้าปเสนทิโกศลนี้ ตรัสสั่งว่า พวกเจ้าจงจับพันธุละเสนาบดี พร้อมด้วยบุตร ๓๒ คน ให้ได้โดยวันเดียว.

ก็ในวันนั้น นางมัลลิกาภริยาของพันธุละเสนาบดีนั้น ทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป. พอภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เสด็จถึงเรือนประทับนั่งแล้ว เจ้าหน้าที่ก็นําข่าวว่า ท่านเสนาบดีถึงอสัญกรรมแล้ว มาให้นางมัลลิกา. นางรับหนังสือ ถามว่า เป็นข่าวดี (หรือร้าย). ก็เรียนว่า พระราชาทรงให้จับเสนาบดีพร้อมด้วยบุตร ๓๒ คน ประหารชีวิตพร้อมกัน แม่เจ้า. นางกล่าวว่า พวกเจ้าอย่าได้กระทําให้แพร่งพรายแก่มหาชน แล้วเอาหนังสือใส่ห่อพกไว้ อังคาสพระภิกษุสงฆ์. ในตอนนั้น เจ้าหน้าที่ยกหม้อสัปปิ มาหม้อหนึ่ง (เผอิญ) หม้อสัปปินั้นกระทบธรณีประตูแตก จึงสั่งให้ไปนําหม้ออื่นมาอังคาสพระภิกษุสงฆ์.

พระศาสดาทรงกระทําภัตกิจเสร็จแล้ว จึงตรัสว่า นางไม่ควรคิดเพราะเหตุหม้อสัปปิแตก เพื่อเป็นเหตุให้ตั้งกถาขึ้น. ขณะนั้น นางมัลลิกา


(๑) ศิลามีสีอันแดงงามดุจหงอนไก่เทศ (ลิปี)

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 204

จึงนําหนังสือออกมาวางตรงหน้าพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี่เป็นข่าวการตายของเสนาบดีกับบุตร ๓๒ คน หม่อมฉันมิได้คิดแม้เรื่องนี้ เหตุไรจะคิดเพราะเหตุหม้อสัปปี (แตก). พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทําธรรมีกถาให้ปฏิสังยุตด้วยสามัญลักษณะมีความไม่เที่ยงเป็นต้นว่า ดูก่อนนางมัลลิกา อย่าคิด (มาก) ไปเลย ธรรมดาในสังสารวัฏฏ์มีที่สุดและเบื้องต้นอันใครๆ ไปตามอยู่ รู้ไม่ได้แล้ว ย่อมเป็นไปเช่นนั้น แล้วเสด็จกลับ. นางมัลลิกาเรียกลูกสะใภ้ ๓๒ คน มาให้โอวาท. พระราชารับสั่งให้นางมัลลิกาเข้าเฝ้า ตรัสถามว่า ในระหว่างเสนาบดีกับเรา โทษที่แตกกันมีหรือไม่มี (๑) นางทูลว่า ไม่มี พะยะค่ะ. พระราชาทรงทราบว่า เสนาบดีนั้นไม่มีความผิดตามคําของนาง จึงมีความเดือดร้อนเกิดความเสียพระทัยอย่างล้นพ้น. พระองค์ทรงรําพึงว่า ได้นําสหายผู้ยกย่องเราว่ากระทําสิ่งที่หาโทษมิได้เห็นปานนี้มาแล้วให้พินาศแล้ว ตั้งแต่นั้นไป ก็ไม่ได้ความสบายพระทัยในปราสาทหรือในเหล่านางสนม หรือความสุขในราชสมบัติ ทรงเริ่มเที่ยวไปในที่นั้นๆ. กิจอันนี้แหละได้มีแล้ว. หมายถึงเรื่องนี้ จึงกล่าวไว้ว่า ด้วยราชกรณียกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้.

บทว่า ทีฆํ การายนํ ความว่า ทีฆการายนะซึ่งเป็นหลานของพันธุละเสนาบดีคิดว่า พระราชาทรงฆ่าลุงของเรา ผู้มิได้ทําผิดนั้นโดยไม่มีเหตุ พระราชาได้ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเสนาบดีแล้ว. คํานั้น ท่านกล่าวหมายถึงเรื่องนี้.

คําว่า มหจฺจราชานุภาเวน ความว่า ด้วยราชานุภาพอันใหญ่ หมายความว่า ด้วยหมู่พลมากมายงดงามด้วยเพศอันวิจิตร ดุจถล่มพื้นธรณีให้พินาศ ประหนึ่งจะยังสาครให้ป่วนปั่นฉะนั้น.

บทว่า ปาสาทิกานิ ความว่า อันให้เกิดความเลื่อมใสพร้อมทั้งน่าทัศนาทีเดียว.

บทว่า ปาสาทนียานิ เป็น


(๑) สี. จิตฺตโทโส.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 205

ไวพจน์ของคํานั้น.

อีกนัยหนึ่ง บทว่า ปาสาทิกานิ ความว่า น่าดู (น่าทัศนา).

บทว่า ปาสาทนียานิ ได้แก่ ให้เกิดความเลื่อมใส.

บทว่า อปฺปสทฺทานิ คือ ไม่มีเสียง.

บทว่า อปฺปนิคฺโฆสานิ ความว่า เว้นจากเสียงกึกก้อง เพราะอรรถว่า ไม่ปรากฏ.

บทว่า วิชนวาตานิ ความว่า ปราศจากกลิ่นของคน.

บทว่า มนุสฺสราหสฺเสยฺยกานิ ความว่า สมควรแก่งานที่จะพึงทําในที่ลับของมนุษย์ อรรถว่า สมควรแก่ผู้ที่ปรึกษาค้นคว้าอย่างลี้ลับ.

บทว่า ปฏิสลฺลานสารุปฺปานิ ความว่า สมควรแก่ความเป็นผู้เดียวซ่อนเร้นอยู่.

บทว่า ยตฺถ สุทํ มยํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้เคยเสด็จไปในที่นั้น ในคํานี้มีอรรถดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าควรเสด็จเข้าไปในที่เช่นนั้น เพราะเป็นที่พวกเราทั้งหลายมีความสุข.

บทว่า อตฺถิ มหาราชา ความว่า เสนาบดีผู้ฉลาด ย่อมทราบว่า พระราชาทรงนับถือพระผู้มีพระภาคเจ้า. เสนาบดีนั้น จะส่งจารบุรุษไป จนรู้ที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ด้วยคิดว่า ถ้าพระราชาถามเราว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับที่ไหน ก็ควรจะกราบทูลได้โดยมิชักช้า เพราะฉะนั้นจึงกล่าวอย่างนั้น.

บทว่า อารามํ ปาวิสิ ความว่า ทรงตั้งค่ายไว้นอกนิคมแล้ว เสด็จเข้าไปกับการายนะเสนาบดี. ท่านกล่าวว่า วิหาโร หมายเอาพระคันธกุฎี.

บทว่า อาฬินฺทํ แปลว่า หน้ามุข.

บทว่า อุกฺกาสิตฺวา คือ กระทําเสียงกระแอม.

บทว่า อคฺคฬํ คือ บานประตู.

บทว่า อาโกฏเฏหิ ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ทรงเคาะที่ใกล้ช่องกุญแจค่อยๆ ด้วยปลายพระนขา.

ได้ยินว่า พวกอมนุษย์ย่อมเคาะประตูสูงเกินไป ทีฆชาติก็เคาะต่ําเกินไป จึงไม่เคาะอย่างนั้น คือเคาะที่ใกล้ช่องตรงกลาง นี้เป็นมรรยาทในการเคาะประตู ท่านโบราณาจารย์กล่าวแสดงไว้ด้วยประการดังนี้.

บทว่า ตตฺเถว คือ ในที่ที่ภิกษุทั้งหลายกล่าว

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 206

แล้วนั่นแหละ.

คําว่า ขคฺคฺจ อุณฺหีสฺจ นั้นเป็นเพียงเทศนา.

อนึ่ง พระราชาทรงมอบราชกกุธภัณฑ์ ทั้ง ๕ ที่มาแล้ว คือ

พัดวาลวีชนี อุณหิส พระขรรค์ ฉัตรและฉลองพระบาท พระราชาเสด็จลงจากยานจอดซ่อนไว้.

ถามว่า ก็พระราชาทรงมอบเบญจราชกกุธภัณฑ์ เพราะเหตุไร.

ตอบว่า เพราะไม่ควรเสด็จเข้าไปยังสํานักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพยิ่งด้วยเพศแห่งอิสริยยศ และทรงคิดว่าจะเข้าไปเฝ้าเพียงพระองค์เดียวจะได้สนทนาได้ตามพอพระทัยของพระองค์. ก็ในบรรดาราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ พระองค์ให้กลับแล้ว ก็ไม่ได้กล่าวว่าท่านจงกลับ. จะกลับไปเองทั้งหมดทีเดียว. พระราชาทรงมอบไปด้วยเหตุ ๒ ประการ ดังกล่าวมานี้.

บทว่า รหายติ ความว่า ย่อมกระทําเร้นลับ คือ ซ่อนเร้น.

ได้ยินว่า เสนาบดีนั้น มีประสงค์ดังนี้ว่า พระราชานี้ แม้คราวก่อนก็ปรึกษาจตุกัณณมนต์กับพระสมณโคดม แล้วให้จับลุงของเรากับบุตร ๓๒ คน แม้ครั้งนี้ ก็คงปรึกษาจตุกัณณมนต์ สั่งให้จับเราอีกกระมังหนอ เสนาบดีนั้น ได้มีความคิดดังนี้ เพราะอํานาจแห่งความโกรธ.

บทว่า วิวริ ภควา ทฺวารํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ทรงลุกขึ้นเปิดประตู. แต่ทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า จงเปิดเถอะ. ต่อแต่นั้นประตูก็เปิดเองทีเดียว กล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เมื่อให้ทานอยู่ในโกฏิแห่งกัปปมิใช่น้อย มิได้เคยกระทํากรรมคือการกั้นประตูด้วยพระหัตถ์ของพระองค์. ก็ประตูนั้น เพราะเปิดออกด้วยพระทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เปิดประตูแล้ว.

บทว่า วิหารํ ปวิสิตฺวา ความว่า เข้าไปสู่พระคันธกุฎีแล้ว.

ก็เมื่อพระราชาพอเสด็จเข้าไปแล้ว การายนะเสนาบดี ก็ถือเอาเบญจราชกุกธภัณฑ์กลับค่าย เรียกวิฑูฑภะมาว่า เพื่อนรัก จงยกฉัตรขึ้น. วิฑูฑภะถามว่า

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 207

พระชนกของข้าพเจ้าไปแล้วหรือ. ตอบว่า อย่าถามถึงพระชนกเลย ถ้าท่านไม่ยก ข้าพเจ้าจะถือฉัตรนั้นยกขึ้นเอง. วิฑูฑภะจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจะยกเองสหาย. การายนะเสนาบดี ทิ้งม้าไว้ให้พระราชาตัวหนึ่ง ดาบเล่มหนึ่ง นางสนมคนเดียวเท่านั้น สั่งว่า ถ้าพระราชาอยากจะมีชีวิตอยู่ ก็อย่าตามมา แล้วยกฉัตรให้วิฑูฑภะ แล้วพาวิฑูฑภะนั้นไปยังนครสาวัตถีทีเดียว.

บทว่า ธมฺมนฺวโย ความว่า รู้ตาม คือ อนุมาน คือ เข้าใจธรรม กล่าวคือ ปัจจักขญาณ.

บัดนี้ คําว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา ดังนี้เป็นต้น ย่อมมีแก่พระราชานั้นด้วยความรู้ตามธรรมอันใด เพื่อแสดงความรู้ตามธรรมอันนั้น จึงกล่าวว่า อิธ ปนาหํ ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อาปาณโกฏิตํ ความว่า ชีวิตชื่อว่า ปาณะ (ปราณ) กระทําเขตแดนแห่งชีวิต อันมีลมปราณเป็นที่สุดนั้นไว้ในภายใน ท่านอธิบายว่า แม้ในสมัยใกล้ตาย ก็ยังท่องเที่ยวไปอยู่เที่ยว จึงก้าวล่วงชีวิตนั้นไปไม่ได้.

ปาฐะว่า อาปนโกฏิกํ (๑) ดังนี้ก็มี. หมายความว่า มีชีวิตเป็นที่สุดรอบ. อธิบายว่า บางคนก้าวล่วงอยู่ ไม่กระทําชีวิตอันมีปราณเป็นที่สุดเที่ยวไป เพราะเหตุแห่งชีวิตฉันใด ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่เป็นอย่างนั้น.

คําว่า อยมฺปิ โข เม ภนฺเต พระอรรถกถาจารย์ย่อมแสดงว่า ข้อนี้ย่อมเป็นอย่างนี้ เพราะพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ดีแล้ว พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วและพระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคเจ้าของข้าพระองค์นี้ย่อมเป็นอย่างนี้.

ในบททุกบท ก็มีนัยดังนี้แล.

บทว่า น วิย มฺเ จกฺขุํ พนฺธนฺเต (๒) (ดูเหมือนราวกะว่าไม่ห่วงใยจักษุ) ความว่า เหมือนไม่ผูกพันจักษุ. เพราะมองดูเห็นอย่างไม่น่าเลื่อม


(๑) ฉ. อปาณโกฏิกํ

(๒) ฎีกา จกฺขุํ อตฺตนิ พนฺธนฺต.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 208

ใสแล้วยังไม่ทําหน้าที่ในการแลดูอีก ฉะนั้น เขาจึงชื่อว่า ไม่ผูกพันจักษุ. เห็นอย่างน่าเลื่อมใสแล้วยังทํากิจในการแลดูเนืองๆ ฉะนั้นเขาชื่อว่า ผูกพันจักษุ. ก็ท่านเหล่านี้ เป็นผู้ไม่น่าเลื่อมใส ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น.

บทว่า พนฺธุกโรโค โน ได้แก่ โรคแห่งตระกูล (โรคกรรมพันธุ์). อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า มีโรคเห็นปานนี้ เกิดในตระกูลของเราทั้งหลาย.

บทว่า อุฬารํ คือ มีศักดิ์ใหญ่.

บทว่า ปุพฺเพนาปรํ ได้แก่ เป็นอย่างอื่น คือแตกต่างจากก่อน. คือกระทํากสิณบริกรรมจนบังเกิดสมาบัติ ชื่อว่า รู้กว้างขวางคือ วิเศษกว่าก่อนในคํานั้น. กระทําสมาบัติให้เป็นปทัฏฐาน เจริญวิปัสสนา ถือเอาพระอรหัตต์ ชื่อว่า รู้กว้างขวาง คือ วิเศษยิ่งกว่าแต่ก่อน.

บทว่า ฆาเฏตายํ วา ฆาเฏตุํ ความว่า เพื่อให้ฆ่าคนที่ควรฆ่า.

บทว่า ชาเปตายํ วา ชาเปตุํ ความว่า จะให้ริบคนที่ควรริบด้วยทรัพย์ คือ กระทําให้เสื่อมสิ้นให้ไม่มีทรัพย์.

บทว่า ปพฺพาเชตายํ วา ปพฺพาเชตุํ คือ ให้เนรเทศคนที่ควรเนรเทศเสียจากรัฐ.

บทว่า อิสิทนฺตปุราณา คือ อิสิทันตะและบุราณะ. ในคนทั้ง ๒ นั้น คนหนึ่ง เป็นพรหมจารี คนหนึ่ง เป็นสทารสันโดษ (ยินดีแต่ภริยาของตน).

บทว่า มมภตฺตา ความว่า ชื่อว่า มมภัตตา เพราะอรรถว่า ภัตรอันเป็นของแห่งตนของชนเหล่านั้นมีอยู่.

บทว่า มมยานา ความว่า ชื่อว่า ยวดยานของเรา เพราะอรรถว่า ยวดยานอันเป็นของแห่งเรามีอยู่.

บทว่า ชีวีตํ ทาตา ได้แก่ เป็นผู้ให้ความเป็นไปแห่งชีวิต.

บทว่า วีมํสมาโน คือ เมื่อจะทดลอง.

ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระราชามิได้ทรงบรรทมหลับเลย ทรงบรรทมเหมือนหลับอยู่. ทีนั้นได้ตรัสถามช่างไม้เหล่านั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับทางทิศาภาคไหน ครั้นได้ทรงสดับว่า ทางทิศาภาคโน้น จึงปรึกษากันว่า พระราชาทรงหันพระเศียรไปยังทิศาภาคที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 209

ประทับ หันพระบาทนา (ทางนี้) ถ้าพระศาสดาทรงหันพระเศียรไปยังทิศาภาคที่พระราชาประทับ หันพระบาทมา เราจักกระทําอย่างไรดี. แต่นั้น ช่างไม้เหล่านั้น จึงคิดกันว่า พระราชาทรงขัดพระทัยอยู่ เคยทรงให้สิ่งใดแก่พวกเรา ก็ทรงตัดสิ่งนั้นเสีย ช่างไม้ทั้งหลายพูดกันว่า ก็พวกเราไม่สามารถที่จะหันเท้าไปทางพระศาสดาได้ จึงหันเท้าไปทางพระราชาแล้ว จึงนอนแล้ว. พระราชานี้ ทรงหมายถึงข้อนั้น จึงตรัสอย่างนี้.

บทว่า ปกฺกามิ ความว่า พระราชาเสด็จออกจากพระคันธกุฎีแล้ว ทรงดําเนินไปถึงที่ที่การายนะอยู่ ไม่เห็นการายนะนั้นในที่นั้น จึงเสด็จไปยังค่ายที่พักพล. แม้ในที่นั้น ก็ไม่เห็นใครอื่น จึงตรัสถามหญิงนั้น. หญิงนั้น จึงกราบทูลเรื่องราวทั้งสิ้นให้ทรงทราบ.

พระราชาทรงพระดําริว่า บัดนี้เราไม่ควรไปในพระนครนั้นแต่ผู้เดียว เราจะไปยังพระนครราชคฤห์ กลับมากับหลานแล้ว ยึดราชสมบัติของเรา ดังนี้ เมื่อเสด็จไปยังพระนครราชคฤห์ ได้ทรงเสวยพระกระยาหารข้าวปลายเกรียน ทรงดื่มน้ำที่ขุ่นในระหว่างทาง. อาหารของพระองค์ ซึ่งมีปกติเป็นสุขุมาลชาติ ไม่ย่อยไปโดยง่าย. พระองค์แม้เสด็จถึงพระนครราชคฤห์ ก็เป็นเวลาวิกาล ถึงเมื่อประตูพระนครปิดเสียแล้ว. ทรงดําริว่า วันนี้นอนที่ศาลา (นี้) ต่อพรุ่งนี้จึงเข้าไปหาหลานของเรา ดังนี้ จึงทรงบรรทมที่ศาลาภายนอกพระนคร. พระองค์เสด็จลุกขึ้นตลอดราตรีเสด็จไปข้างนอกหลายครั้ง. ตั้งแต่นั้น ก็ไม่อาจทรงพระดําเนินไปด้วยพระบาท ทรงบรรทมเหนือตักของหญิงนั้น พอใกล้รุ่งก็ทรงสวรรคตแล้ว. หญิงทราบว่า พระราชาสวรรคตแล้ว ก็เริ่มปริเทวนาด้วยการร้องไห้คร่ําครวญด้วยเสียงดังว่า บัดนี้พระเจ้าโกศลสามีของเราเสวยราชสมบัติในรัฐทั้ง ๒ มานอนสวรรคตอย่างคนอนาถา ที่ศาลาของคนไร้ที่พึ่งภายนอกพระนครของคนอื่น ดังนี้เป็นต้น.

พวกมนุษย์ได้สดับข่าวจึงมากราบทูลแด่พระราชา. พระราชาเสด็จมาทอดพระ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 210

เนตรแล้ว ทรงจําได้ ทรงทราบเหตุที่เสด็จมาแล้ว ทรงจัดทําสรีรกิจอย่างสมพระเกียรติ ทรงให้เจ้าพนักงานตีฆ้องร้องประกาศว่า เราจักจับพระเจ้าวิฑูฑภะ ประชุมหมู่พลให้พรักพร้อมแล้ว. อํามาตย์ทั้งหลายพากันมาหมอบแทบพระยุคลบาททูลว่า ขอเดชะ ถ้าหากพระเจ้าลุงของพระองค์ไม่มีโรค พระองค์ก็ควรเสด็จ แต่บัดนี้ แม้พระเจ้าวิฑูฑภะ สมควรยกฉัตรขึ้นเพราะอาศัยพระองค์ทีเดียว ทูลให้เข้าใจ ห้ามไว้แล้ว.

บทว่า ธมฺมเจติยานี เป็นคําบอกถึงการทําความเคารพพระธรรม.

จริงอยู่ เมื่อกระทําความเคารพในรัตนะหนึ่ง ในบรรดารัตนะทั้ง ๓ ก็ย่อมเป็นอันกระทําในทุกรัตนะทีเดียว. เพราะฉะนั้น เมื่อกระทําความเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ย่อมเป็นอันกระทําความเคารพในพระธรรมด้วย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ธรรมเจดีย์ทั้งหลาย.

บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยกานิ ความว่า อันเป็นเบื้องต้นของมรรคพรหมจรรย์ หมายความว่า อันเป็นการปฏิบัติในส่วนเบื้องต้น.

คําที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาธรรมเจติยสูตรที่ ๙