พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. กรรณกัตถลสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36095
อ่าน  476

[เล่มที่ 21] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 211

๑๐. กรรณกัตถลสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 21]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 211

๑๐. กรรณกัตถลสูตร

[๕๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ตําบลกรรณกัตถลมิคทายวัน ใกล้อุทัญญานคร. ก็สมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปถึงอุทัญญานครด้วยพระราชกรณียะบางอย่าง. ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมาตรัสสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ มานี่แน่ะ ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วถวายบังคมพระยุคลบาทด้วยเศียรเกล้า จงทูลถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า มีพระกําลัง ทรงพระสําราญ ตามคําของเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าปเสนทิโกศลขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระเศียรเกล้า ทูลถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า มีพระกําลัง ทรงพระสําราญ และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทราบด้วยเกล้าว่า วันนี้พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว เวลาบ่ายจักเสด็จเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า บุรุษนั้นทูลรับสนองพระบรมราชโองการแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าปเสนทิโกศล ขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระเศียรเกล้า ทรงทูลถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า ทรงพระกําลัง ทรงพระสําราญ และรับสั่งมาทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทราบว่าวันนี้พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว เวลาบ่ายจักเสด็จมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 212

[๕๗๒] พระราชภคินีทรงพระนามว่าโสมา และพระราชภคินีทรงพระนามว่าสกุลา ได้ทรงสดับข่าวว่า ได้ทราบว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว เวลาบ่ายจะเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ลําดับนั้นแล พระราชภคินีพระนามว่าโสมา และพระราชภคินีพระนามว่าสกุลา เสด็จเข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลในที่เสวยพระกระยาหาร แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์ทรงถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระเศียรเกล้า จงทรงถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า ทรงพระกําลัง ทรงพระสําราญ ตามคําของหม่อมฉันทั้งหลายว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภคินีนามว่าโสมาและพระภคินีนามว่าสกุลา ขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า ทรงพระกําลัง ทรงพระสําราญ.

[๕๗๓] ลําดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว เวลาบ่ายเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภคินีนามว่าโสมาและพระภคินีนามว่าสกุลา ขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า ทรงพระกําลัง ทรงพระสําราญ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนมหาบพิตร ก็พระราชภคินีพระนามว่าโสมาและพระราชภคินีพระนามว่าสกุลา ไม่ทรงได้ผู้อื่นเป็นทูตแล้วหรือ ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภคินีนามว่าโสมาและพระภคินีนามว่าสกุลา ได้สดับข่าวว่า วันนี้หม่อมฉันบริโภคอาหารเช้าแล้ว เวลาบ่ายจักมาเฝ้า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 213

พระผู้มีพระภาคเจ้า ลําดับนั้น พระภคินีพระนามว่าโสมาและพระภคินีพระนามว่าสกุลา ได้เข้ามาหาหม่อมฉันในที่บริโภคอาหาร แล้วตรัสสั่งว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์ทรงถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ขอให้ทูลถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า ทรงพระกําลัง ทรงพระสําราญ ตามคําของหม่อมฉันว่า พระภคินีพระนามว่าโสมาและพระภคินีพระนามว่าสกุลา ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า และทูลถามความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปล่า ทรงพระกําลัง ทรงพระสําราญ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร ขอพระราชภคินีพระนามว่าโสมาและพระราชภคินีพระนามว่าสกุลา จงทรงพระสําราญเถิด ขอถวายพระพร.

พระเจ้าปเสนทิโกศล ทูลถามวรรณะ ๔

[๕๗๔] ลําดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้สดับมาว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ผู้รู้ธรรมทั้งปวง ผู้เห็นธรรมทั้งปวง จักปฏิญาณความรู้ความเห็นอันไม่มีส่วนเหลือ ไม่มี ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ผู้รู้ธรรมทั้งปวง ผู้เห็นธรรมทั้งปวง จักปฏิญาณความรู้ความเห็นอันไม่มีส่วนเหลือไม่มี ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ชนเหล่านั้นเป็นอันกล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วไม่เป็นอันกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคําไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม อนึ่ง การกล่าวและการกล่าวตามอันประกอบด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะอันผู้รู้จะพึงติเตียนแลหรือ พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 214

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนมหาบพิตร ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ผู้รู้ธรรมทั้งปวง ผู้เห็นธรรมทั้งปวง จักปฏิญาณความเห็นอันไม่มีส่วนเหลือไม่มี ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ดังนี้ ชนเหล่านั้นไม่เป็นอันกล่าวตามที่อาตมภาพกล่าวแล้ว และย่อมกล่าวตู่อาตมภาพด้วยคําอันไม่เป็นจริง ขอถวายพระพร.

[๕๗๕] ลําดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงรับสั่งถามวิฑูฑภเสนาบดีว่า ดูก่อนเสนาบดี ใครหนอกล่าวเรื่องนี้ในภายในนคร วิฑูฑภเสนาบดีกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พราหมณ์สญชัยอากาสโคตรกล่าวเรื่องนี้ ขอเดชะ. ลําดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า มานี่แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปเชิญพราหมณ์สญชัยอากาสโคตรตามคําของเราว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งหาท่าน. บุรุษนั้นทูลรับสนองพระบรมราชโองการแล้ว ได้เข้าไปหาพราหมณ์สญชัยอากาสโคตรถึงที่อยู่ แล้วกล่าวกะพราหมณ์สญชัยอากาสโคตรว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งหาท่าน.

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระดํารัสอย่างหนึ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาเนื้อความบางอย่างตรัสไว้ แต่คนอื่นกลับเข้าใจพระภาษิตนั้นเป็นอย่างอื่นไป พึงมีหรือหนอ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงจําพระดํารัสว่า ตรัสแล้วอย่างไรบ้างหรือพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพจําคําที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์จักรู้ธรรมทั้งปวง จักเห็นธรรมทั้งปวงในคราวเดียวเท่านั้น ไม่มี ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสภาพอันเป็นตัวเหตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสภาพอันเป็นตัวผลพร้อม

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 215

ทั้งเหตุว่า สมณะหรือพราหมณ์จักรู้ธรรมทั้งปวง จักเห็นธรรมทั้งปวง ในคราวเดียวเท่านั้น ไม่มี ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จําพวกนี้ คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จําพวกนี้ จะพึงมีความแปลกกัน จะพึงมีการกระทําต่างกันกระมังหนอ.

[๕๗๖] พ. ดูก่อนมหาบพิตร วรรณะ ๔ จําพวกนี้ คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ดูก่อนมหาบพิตร บรรดาวรรณะ ๔ จําพวกนี้ วรรณะ ๒ จําพวก คือ กษัตริย์และพราหมณ์ อาตมภาพกล่าวว่าเป็นผู้เลิศ คือ เป็นที่กราบไหว้ เป็นที่ลุกรับ เป็นที่กระทําอัญชลี เป็นที่กระทําสามีจิกรรม ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมิได้ทูลถามถึงความแปลกกันในปัจจุบันกะพระผู้มีพระภาคเจ้า หม่อมฉันทูลถามถึงความแปลกกันในสัมปรายภพกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จําพวกนี้ คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จําพวกนี้ จะพึงมีความแปลกกัน จะพึงมีการกระทําต่างกันกระมังหนอ พระเจ้าข้า.

องค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕

[๕๗๗] พ. ดูก่อนมหาบพิตร องค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้. ๕ ประการเป็นไฉน. ดูก่อนมหาบพิตร

๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกพระธรรม.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 216

๒. ภิกษุเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสําหรับย่อยอาหารอันสม่ําเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง ควรแก่การทําความเพียร.

๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เปิดเผยตนตามความเป็นจริงในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญู.

๔. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกําลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.

๕. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและความดับ เป็นอริยะ เป็นเครื่องชําแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

ดูก่อนมหาบพิตร องค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้แล. ดูก่อนมหาบพิตร วรรณะ ๔ จําพวกนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ถ้าวรรณะ ๔ จําพวกนั้น จะพึงเป็นผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่วรรณะ ๔ จําพวกนั้นตลอดกาลนาน ขอถวายพระพร.

[๕๗๘] ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จําพวกนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ถ้าวรรณะ ๔ จําพวกนั้น พึงเป็นผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ วรรณะ ๔ จําพวกนั้น จะพึงมีความแปลกกัน จะมีการกระทําต่างกันหรือ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร ในข้อนี้ อาตมภาพกล่าวความต่างกันด้วยความเพียรแห่งวรรณะ ๔ จําพวกนั้น ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนสัตว์คู่หนึ่ง เป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม เขาฝึกดีแล้ว แนะนําดีแล้ว คู่หนึ่งไม่ได้ฝึก ไม่ได้แนะนํา ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สัตว์คู่หนึ่งเป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 217

เป็นม้าที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม เขาฝึกดีแล้ว แนะนําดีแล้ว สัตว์คู่หนึ่งที่เขาฝึกแล้วเท่านั้นพึงถึงเหตุของสัตว์ที่ฝึกแล้ว พึงยังภูมิของสัตว์ที่ฝึกแล้วให้ถึงพร้อมมิใช่หรือ ขอถวายพระพร.

ป. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร ก็สัตว์คู่หนึ่งเป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม เขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้แนะนํา สัตว์คู่นั้นที่เขาไม่ได้ฝึกเลย จะพึงถึงเหตุของสัตว์ที่ฝึกแล้ว จะพึงยังภูมิของสัตว์ที่ฝึกแล้วให้ถึงพร้อมเหมือนสัตว์คู่หนึ่ง เป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม ที่เขาฝึกดีแล้ว แนะนําดีแล้ว ฉะนั้นบ้างหรือไม่ ขอถวายพระพร.

ป. ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร ฉันนั้นเหมือนกันแล อิฐผลใดอันบุคคลผู้มีศรัทธา มีอาพาธน้อย ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ปรารภความเพียร มีปัญญา พึงถึงอิฐผลนั้น บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา มีอาพาธมาก โอ้อวด มีมายา เกียจคร้าน มีปัญญาทราม จักถึงได้ ดังนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ขอถวายพระพร.

[๕๗๙] ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสภาพอันเป็นเหตุและตรัสสภาพอันเป็นผลพร้อมกับเหตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จําพวกนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ถ้าวรรณะ ๔ จําพวกเหล่านั้น พึงเป็นผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการ นี้ และมีความเพียรชอบเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ วรรณะ ๔ จําพวกนั้น จะพึงมีความแปลกกัน พึงมีการกระทําต่างกันหรือ พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 218

พ. ดูก่อนมหาบพิตร ในข้อนี้ อาตมภาพย่อมไม่กล่าวการกระทําต่างกันอย่างไร คือ วิมุตติกับวิมุตติ ของวรรณะ ๔ จําพวกนั้น ขอถวายพระพร. ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษเก็บเอาไม้สาละแห้งมาใส่ไฟ พึงก่อไฟให้โพลงขึ้น ต่อมา บุรุษอีกคนหนึ่งเก็บเอาไม้มะม่วงแห้งมาใส่ไฟ พึงก่อไฟให้โพลงขึ้น และภายหลังบุรุษอีกคนหนึ่งเก็บเอาไม้มะเดื่อแห้งมาใส่ไฟ พึงก่อไฟให้โพลงขึ้น. ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เปลวกับเปลว สีกับสี หรือแสงกับแสงของไฟที่เกิดขึ้นจากไม้ต่างๆ กันนั้น จะพึงมีความแตกต่างกันอย่างไรหรือหนอ ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่พึงมีความแตกต่างกันเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร ฉันนั้นเหมือนกันแล เดชอันใดอันความเพียรย่ํายีแล้วเกิดขึ้นด้วยความเพียร ในข้อนี้ อาตมภาพย่อมไม่กล่าวการกระทําต่างกันอย่างไรคือ วิมุตติกับวิมุตติ ขอถวายพระพร.

ปัญหาเรื่องเทวดา

[๕๘๐] ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสภาพอันเป็นเหตุ และตรัสสภาพอันเป็นผลพร้อมกับเหตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทวดามีจริงหรือ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร ก็เพราะเหตุอะไร มหาบพิตรจึงตรัสถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทวดามีจริงหรือ.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเทวดามีจริง เทวดาเหล่านั้นมาสู่โลกนี้หรือไม่มาสู่โลกนี้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร เทวดาเหล่าใดมีทุกข์ เทวดาเหล่านั้นมาสู่โลกนี้ เทวดาเหล่าใดไม่มีทุกข์ เทวดาเหล่านั้นไม่มาสู่โลกนี้ ขอถวายพระพร.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 219

วิฑูฑภะทูลถาม

[๕๘๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วิฑูฑภเสนาบดี ได้กราบทูลพระผู้มีภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทดาเหล่าใดมีทุกข์ มาสู่โลกนี้ เทวดาเหล่านั้นจักยังเทวดาทั้งหลายผู้ไม่มีทุกข์ ไม่มาสู่โลกนี้ ให้จุติหรือจักขับไล่เสียจากที่นั้น.

ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้มีความดําริว่า วิฑูฑภเสนาบดีนี้ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศล เราเป็นโอรสของพระผู้มีพระภาคเจ้า บัดนี้เป็นกาลอันสมควรที่โอรสจะพึงสนทนากัน. ลําดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวกะวิฑูฑภเสนาบดีว่า ดูก่อนเสนาบดี ถ้าเช่นนั้น ในข้อนี้ อาตมาจะขอย้อนถามท่านก่อน ปัญหาใดพึงพอใจแก่ท่านฉันใด ท่านพึงพยากรณ์ปัญหานั้นฉันนั้น ดูก่อนเสนาบดี ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระราชอาณาจักรของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีประมาณเท่าใด และในพระราชอาณาจักรใด พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยราชสมบัติเป็นอิศราธิบดี ในพระราชอาณาจักรนั้น ท้าวเธอย่อมทรงสามารถยังสมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีบุญหรือผู้ไม่มีบุญ ผู้มีพรหมจรรย์หรือผู้ไม่มีพรหมจรรย์ ให้เคลื่อนหรือทรงขับไล่เสียจากที่นั้นได้มิใช่หรือ. วิฑูฑภเสนาบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระราชอาณาจักรของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีประมาณเท่าใด และในพระราชอาณาจักรใด พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยราชสมบัติเป็นอิศราธิบดี ในพระราชอาณาจักรนั้นท้าวเธอย่อมทรงสามารถยังสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีบุญหรือผู้ไม่มีบุญ ผู้มีพรหมจรรย์หรือผู้ไม่มีพรหมจรรย์ให้เคลื่อนหรือทรงขับไล่เสียจากที่นั้นได้.

อา. ดูก่อนเสนาบดี ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ที่อันมิใช่พระราชอาณาจักรของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีประมาณเท่าใด และในที่ใดพระเจ้าปเสนทิโกศลมิได้เสวยราชสมบัติเป็นอิศราธิบดี ในที่นั้น ท้าวเธอย่อม

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 220

ทรงสามารถยังสมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีบุญหรือผู้ไม่มีบุญ ผู้มีพรหมจรรย์หรือผู้ไม่มีพรหมจรรย์ ให้เคลื่อนหรือทรงขับไล่เสียจากที่นั้นได้หรือ.

วิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในที่อันมิใช่พระราชอาณาจักรของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีประมาณเท่าใด และในที่ใด พระเจ้าปเสนทิโกศลมิได้เสวยราชสมบัติเป็นอิศราธิบดี ในที่นั้น ท้าวเธอย่อมไม่ทรงสามารถจะยังสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีบุญหรือผู้ไม่มีบุญ ผู้มีพรหมจรรย์หรือผู้ไม่มีพรหมจรรย์ ให้เคลื่อนหรือทรงขับไล่จากที่นั้นได้.

อา. ดูก่อนเสนาบดี ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ ท่านได้ฟังมาแล้วหรือ.

วิ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ เทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว แม้ในบัดนี้ เทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้ทรงสดับมาแล้ว.

อา. ดูก่อนเสนาบดี ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระเจ้าปเสนทิโกศลย่อมทรงสามารถจะยังเทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ ให้เคลื่อนหรือจะทรงขับไล่เสียจากที่นั้นได้หรือ.

วิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม้แต่จะทอดพระเนตรเทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ไม่ทรงสามารถ ที่ไหนเล่าจักทรงยังเทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ให้เคลื่อนหรือจักทรงขับไล่เสียจากที่นั้นได้.

อา. ดูก่อนเสนาบดี ฉันนั้นเหมือนกันแล เทวดาเหล่าใดมีทุกข์ยังมาสู่โลกนี้ เทวดาเหล่านั้น ก็ย่อมไม่สามารถแม้เพื่อจะเห็นเทวดาผู้ไม่มีทุกข์ ผู้ไม่มาสู่โลกนี้ได้ ที่ไหนเล่าจักให้จุติหรือจักขับไล่เสียจากที่นั้นได้.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 221

ลําดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปนี้ชื่ออะไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุรูปนี้ ชื่ออานนท์ ขอถวายพระพร.

[๕๘๒] ป. ชื่อของท่านน่ายินดีหนอ สภาพของท่านน่ายินดีจริงหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอานนท์กล่าวสภาพอันเป็นเหตุ และกล่าวสภาพอันเป็นผลพร้อมด้วยเหตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรหมมีจริงหรือ.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร ก็เพราะเหตุไร มหาบพิตรจึงตรัสถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พรหมมีจริงหรือ.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพรหมมีจริง พรหมนั้นมาสู่โลกนี้หรือไม่มาสู่โลกนี้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร พรหมใดมีทุกข์ พรหมนั้นมาสู่โลกนี้ พรหมใดไม่มีทุกข์ พรหมนั้นก็ไม่มาสู่โลกนี้ ขอถวายพระพร.

ลําดับนั้นแล บุรุษคนหนึ่งได้กราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ข้าแต่มหาราช พราหมณ์สญชัยอากาสโคตรมาแล้ว พระเจ้าข้า. ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรัสถามพราหมณ์สญชัยอากาสโคตรว่า ดูก่อนพราหมณ์ ใครหนอกล่าวเรื่องนี้ภายในพระนคร. พราหมณ์สญชัยอากาสโคตรกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช วิฑูฑภเสนาบดี พระพุทธเจ้าข้า. วิฑูฑภเสนาบดีได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช พราหมณ์สญชัยอากาสโคตร พระพุทธเจ้าข้า. ลําดับนั้นแล บุรุษคนหนึ่งได้กราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ข้าแต่มหาราช บัดนี้ยานพาหนะพร้อมแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 222

ทรงชื่นชมภาษิตของพระพุทธเจ้า

[๕๘๓] ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงความเป็นสัพพัญู พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพยากรณ์ความเป็นสัพพัญูแล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้นย่อมชอบใจและควรแก่หม่อมฉัน และหม่อมฉันมีใจชื่นชมด้วยข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงคนที่จัดเป็นวรรณะ ๔ จําพวกที่บริสุทธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพยากรณ์คนที่จัดเป็นวรรณะ ๔ จําพวกที่บริสุทธิ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้นย่อมชอบใจและควรแก่หม่อมฉัน และหม่อมฉันมีใจชื่นชมด้วยข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเทวดาที่ยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพยากรณ์เทวดาที่ยิ่งแล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ย่อมชอบใจและควรแก่หม่อมฉัน และหม่อมฉันมีใจชื่นชมด้วยข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงพรหมที่ยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพยากรณ์พรหมที่ยิ่งแล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ย่อมชอบใจและควรแก่หม่อมฉัน และหม่อมฉันมีใจชื่นชมด้วยข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง หม่อมฉันได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงข้อใดๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพยากรณ์ข้อนั้นๆ แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้นๆ ย่อมชอบใจและควรแก่หม่อมฉัน และหม่อมฉันมีใจชื่นชมด้วยข้อที่ทรงพยากรณ์นั้นๆ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันขอทูลลาไป ณ บัดนี้ หม่อมฉันมีกิจมาก มีกรณียะมาก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า มหาบพิตรจงทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ขอถวายพระพร.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 223

ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จลุกจากที่ประทับ ทรงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทําประทักษิณ แล้วเสด็จกลับไป ฉะนี้แล.

จบกรรณกัตถลสูตรที่ ๑๐

จบราชวรรคที่ ๔

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 224

อรรถกถากรรณกัตถลสูตร

กรรณกัตถลสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

ในพระสูตรนั้น คําว่า อุทฺายํ (๑) นี้เป็นชื่อของทั้งรัฐ ทั้งพระนครนั้นว่า อุทัญญา. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยอุทัญญานคร ประทับอยู่.

บทว่า กณฺณกตฺถเล มิคทาเย ความว่า ในที่ไม่ไกลพระนครนั้น มีภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์แห่งหนึ่ง ชื่อว่า กรรณกัตถละ. ภูมิภาคนั้นเขาเรียกกันว่า มิคทายวัน เพราะทรงพระราชทานไว้เพื่อให้อภัยแก่เนื้อทั้งหลาย ณ ที่กรรณกัตถลมิคทายวันนั้น.

บทว่า เกนจิเทว กรณีเยน ความว่า ไม่ใช่กิจอย่างอื่น เป็นกรณียกิจอย่างที่ได้กล่าวไว้ในสูตรก่อนนั่นแหละ. พระภคินีทั้งสองนี้คือ พระภคินีพระนามว่า โสมา และพระภคินีพระนามว่า สกุลา ทรงเป็นประชาบดีของพระราชา.

บทว่า ภตฺตาภิหาเร ได้แก่ ในที่เสวยพระกระยาหาร. ก็ที่เสวยพระกระยาหารของพระราชา นางในทุกๆ คนจะต้องถือทัพพีเป็นต้น ไปถวายงานพระราชา. พระนางทั้งสองนั้น ได้ไปแล้ว โดยทํานองนั้น.

บทว่า กิํ ปน มหาราชา เป็นคําถามว่า เพราะเหตุไร จึงตรัสอย่างนั้น.

ตอบว่า เพื่อจะเปลื้องคําครหาพระราชาเสีย. เพราะพวกบริษัทจะพึงคิดกันอย่างนี้ว่า พระราชานี้เมื่อจะเสด็จมาก็ยังนําข่าวของมาตุคามมาทูลด้วย พวกเราสําคัญว่า มาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยธรรมดาของตน แต่พระเจ้าอยู่หัวเอาข่าวของมาตุคามมา เห็นจะเป็นทาสของมาตุคามกระมัง แม้คราวก่อนพระองค์ก็เสด็จมาด้วยเหตุนี้เหมือนกัน ดังนี้. อนึ่ง พระราชานั้นถูกถามแล้วจักทูลถึงเหตุที่มาของตน คําครหาอันนี้จักไม่เกิดขึ้นแก่พระองค์ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เพื่อจะทรงปลดเปลื้องคําครหา จึงตรัสอย่างนั้น.


(๑) ฉ. อุรุฺายํ สี. อุชุฺายํ.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 225

บทว่า อพฺภุทาหาสิ แปลว่า กล่าวแล้ว.

คําว่า ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ที่จะรู้ธรรมทั้งปวง และที่จะเห็นธรรมทั้งปวงในคราวเดียวกัน ความว่า ผู้ใดจักรู้หรือจักเห็นธรรมทั้งปวงที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบันด้วยอาวัชชนะดวงเดียว ด้วยจิตดวงเดียว ด้วยชวนะดวงเดียว ผู้นั้นย่อมไม่มี.

จริงอยู่ ใครๆ แม้นึกแล้วว่า เราจักรู้เรื่องทุกอย่างที่เป็นอดีต ด้วยจิตดวงเดียว ก็ไม่อาจจะรู้อดีตได้ทั้งหมด จะรู้ได้แต่เพียงวันเดียวเท่านั้น. ส่วนที่เป็นอนาคตและปัจจุบัน ก็จะไม่รู้ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยจิตนั้น.

ในบทนอกนี้ ก็นัยนี้. ตรัสปัญหานี้ด้วยจิตดวงเดียวอย่างนี้แล.

บทว่า เหตุรูปํ ได้แก่ สภาวะแห่งเหตุ อันเกิดแต่เหตุ.

บทว่า สเหตุรูปํ ได้แก่ อันเป็นชาติแห่งผลที่มีเหตุ.

บทว่า สมฺปรายิกาหํ ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงคุณอันจะมีในเบื้องหน้า.

บทว่า ปฺจีมานิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร ๕ ให้เจือด้วยโลกุตตระในพระสูตรนี้. แต่พระจูฬสมุทเถระผู้อยู่ ณ กวลังคณะ เมื่อเขาถามว่า พระคุณเจ้า ท่านชอบอะไร ดังนี้ ตอบว่า เราชอบใจโลกุตตระอย่างเดียว.

บทว่า ปธานเวมตฺตตํ ได้แก่ ความต่างกันแห่งความเพียร. จริงอยู่ ความเพียรของปุถุชนก็เป็นอย่างอื่น ของพระโสดาบันก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระสกทาคามีก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระอนาคามีก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระอรหันต์ก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระอสีติมหาสาวกก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระอัครสาวกทั้งสองก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระปัจเจกพุทธเจ้าก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระสัพพัญูพุทธเจ้าก็เป็นอย่างหนึ่ง. ความเพียรของปุถุชน ไม่ถึงความเพียรของพระโสดาบัน

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 226

ฯลฯ ความเพียรของพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ไม่ถึงความเพียรของพระสัพพัญูพุทธเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปธานเวมตฺตตํ วทามิ แปลว่า อาตมภาพกล่าวความต่างกันด้วยความเพียร ทรงหมายเอาเนื้อความข้อนี้.

บทว่า ทนฺตการณํ คจฺเฉยฺยุํ ความว่า ในบรรดาการฝึกทั้งหลาย มีฝึกมิให้โกง ไม่ให้ทิ่มแทง ไม่ให้ทอดทิ้งธุระ เหตุอันใดย่อมปรากฏ พึงเข้าถึงเหตุอันนั้น.

บทว่า ทนฺตภูมี ได้แก่ สู่ภูมิสัตว์ที่ฝึกแล้วพึงไป.

แม้บุคคล ๔ จําพวกคือ ปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ชื่อว่า ผู้ไม่มีศรัทธา ในบททั้งหลายว่า อสฺสทฺโธ เป็นต้น.

จริงอยู่ ปุถุชนชื่อว่าไม่มีศรัทธา เพราะยังไม่ถึงศรัทธาของพระโสดาบัน. พระโสดาบัน... ของพระสกทาคามี. พระสกทาคามี... ของพระอนาคามี. พระอนาคามีชื่อว่าไม่มีศรัทธา เพราะยังไม่ถึงศรัทธาของพระอรหันต์. ความอาพาธย่อมเกิดขึ้น แม้แก่พระอรหันต์ เพราะฉะนั้น อาพาธแม้ทั้ง ๕ ย่อมชื่อว่าเป็นอาพาธมาก.

ก็พระอริยสาวกย่อมไม่มีชื่อว่า ผู้โอ้อวด ผู้มีมารยา. เพราะเหตุนั้นแหละ พระเถระจึงกล่าวว่า เราชอบใจที่ตรัสองค์แห่งความเพียร ๕ ให้เจือด้วยโลกุตตระ.

ส่วนในอัสสขฬุงคสูตรตรัสไว้ว่า ชื่อว่า สัมโพธิ แม้แห่งพระอริยสาวกมาแล้ว ในพระดํารัสนี้ว่า ตโย จ ภิกฺขเว อสฺสขฬุงฺเค ตโย จ ปริสขฬุงฺเค เทสิสฺสามิ ด้วยอํานาจแห่งปุถุชนเป็นต้นนั้น จึงตรัสว่า เจือด้วยโลกุตตระ.

ฝ่ายปุถุชน ยังไม่ถึงพร้อมซึ่งความเพียรในโสดาปัตติมรรค ฯลฯ พระอนาคามี ยังไม่ถึงพร้อมซึ่งความเพียรในพระอรหัตตมรรค. แม้เป็นผู้เกียจคร้าน ก็มี ๔ เหมือนกัน ดุจผู้ไม่มีศรัทธา. ท่านผู้มีปัญญาทราม ก็

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 227

เหมือนกัน.

อนึ่ง พึงทราบการเทียบเคียงด้วยข้ออุปมาในฝ่ายดํา ด้วยคําว่า อทนฺตหตฺถิอาทโยวิย (เหมือนช้างที่ยังมิได้ฝึกเป็นต้น) และในฝ่ายขาว ด้วยคําว่า ยถา ปน ทนฺตหตฺถิอาทโย (เหมือนอย่างช้างที่ฝึกแล้วเป็นต้น) ดังนี้เป็นต้น.

ก็บุคคลที่เว้นจากมรรคปธาน เปรียบเหมือนช้างเป็นต้นที่ยังมิได้ฝึก ผู้มีมรรคปธาน เปรียบเหมือนช้างเป็นต้นที่ฝึกแล้ว. ช้างเป็นต้นที่ยังมิได้ฝึก ก็ไม่อาจเพื่อจะไม่กระทําอาการโกง หนี สลัดธุระไปยังการฝึกแล้ว หรือถึงที่ที่เขาฝึกแล้วได้ฉันใด ท่านผู้เว้นจากมรรคปธาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่อาจเพื่อบรรลุคุณที่ท่านผู้มีมรรคปธานพึงถึง หรือพึงยังคุณที่ผู้มีมรรคปธานพึงให้เกิดให้บังเกิดขึ้น.

อนึ่ง ช้างเป็นต้นที่ฝึกแล้ว ก็ไม่กระทําอาการโกง ไม่ทิ่มแทง ไม่สลัดธุระ ย่อมอาจไปยังที่ที่สัตว์ฝึกแล้วพึงไป หรือพึงถึงภูมิที่สัตว์ฝึกแล้วพึงถึงฉันใด ผู้มีมรรคปธาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ก็อาจบรรลุคุณที่ผู้มีมรรคปธานพึงบรรลุ อาจยังคุณที่ผู้มีมรรคปธานพึงให้เกิดให้บังเกิดขึ้นได้.

ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ผู้มีโสดาปัตติมรรคปธาน ย่อมอาจบรรลุโอกาสที่ผู้มีโสดาปัตติมรรคปธานบรรลุ เพื่อจะยังคุณที่ผู้มีโสดาปัตติมรรคปธานพึงให้บังเกิด บังเกิดขึ้นได้ ฯลฯ ผู้มีอรหัตตมรรคปธาน ย่อมอาจเพื่อบรรลุโอกาสที่ผู้มีอรหัตตมรรคปธานบรรลุ เพื่อยังคุณที่ผู้มีอรหัตตมรรคปธานพึงให้บังเกิดขึ้น บังเกิดขึ้นได้.

บทว่า สมฺมปฺปธานา ได้แก่ ความเพียรชอบ คือ การกระทําต่อเนื่องด้วยมรรคปธาน.

ข้อว่า อาตมภาพย่อมไม่กล่าวการกระทําต่างกันอย่างไร คือ วิมุตติกับวิมุตติ ความว่า การกระทําต่างๆ กัน ปรารภผลวิมุตติของคนนอกนี้ กับผลวิมุตติของคนหนึ่ง ที่ควรจะกล่าวอันใด เราย่อมไม่กล่าวถึงการกระทําต่างกันที่ควรกล่าวนั้นอย่างไร คือ เรากล่าวว่า ไม่มีความ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 228

ต่างกัน.

คําว่า อจฺฉิยา วา อจฺฉิํ ความว่า หรือเปลวไฟกับเปลวไฟ.

แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

ก็บทว่า อจฺฉิํ นี้เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ.

บทว่า กิํ ปน ตฺวํ มหาราช ความว่า ดูก่อนมหาราช พระองค์ไม่ทรงทราบหรือว่า เทวดามีอยู่อย่างนี้คือ มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช มีเทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ มีเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มีเทวดาชั้นสูงๆ ขึ้นไปอีก พระองค์ตรัสอย่างนี้ เพราะเหตุใด.

แต่นั้น พระราชาเมื่อจะตรัสถามคํานี้ว่า ข้าพระองค์รู้ว่ามี แต่เทวดาทั้งหลายมาสู่มนุษยโลกหรือไม่มาสู่มนุษยโลก จึงตรัสคําว่า ยทิ วา เต ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า สพฺยาปชฺฌา ได้แก่ มีทุกข์ คือ ยังละทุกข์ทางใจไม่ได้ โดยละได้เด็ดขาด.

บทว่า อาคนฺตาโร ความว่า ผู้มาโดยอํานาจอุปบัติ.

บทว่า อพฺยาปชฺฌา ได้แก่ ตัดความทุกข์ได้เด็ดขาด.

บทว่า อนาคนฺตาโร ได้แก่ ผู้ไม่มาด้วยมสามารถแห่งอุปบัติ.

บทว่า ปโหติ แปลว่า ย่อมอาจ.

จริงอยู่ พระราชาย่อมอาจกระทําผู้ที่ถึงพร้อมด้วยลาภแลสักการะ แม้มีบุญโดยที่ไม่มีใครจะเข้าไปใกล้ได้ ให้เคลื่อนจากฐานะนั้น. ย่อมอาจกระทําแม้ผู้ไม่มีบุญนั้น ผู้ไม่ได้สิ่งสักว่าเที่ยวไปสู่บ้านทั้งสิ้น เพื่อปิณฑะ แล้วยังอัตตภาพให้เป็นไปได้ โดยประการที่จะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยลาภและสักการะ ให้เคลื่อนจากฐานะนั้น. ย่อมอาจเพื่อประกอบแม้ผู้มีพรหมจรรย์กับหญิงให้ถึงศีลพินาศ ให้สึกโดยพลการหรือให้เคลื่อนจากฐานะนั้น. ไม่ให้อํามาตย์ผู้เพียบพร้อมด้วยกามคุณ แม้มิได้ประพฤติพรหมจรรย์ให้เข้าไปสู่เรือนจํา ไม่ให้เห็นแม้หน้าของหญิงทั้งหลาย ชื่อว่า ย่อมให้เคลื่อนจากฐานะนั้น. แต่เมื่อให้เคลื่อนจากรัฐ ชื่อว่า ขับไล่ไปตามต้องการ.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 229

บทว่า ทสฺสนายปิ นปฺปโหนฺติ ความว่า เทพผู้มีทุกข์ ย่อมไม่อาจแม้เพื่อจะเห็นด้วยจักษุวิญญาณ ซึ่งเทพผู้ไม่มีทุกข์ชั้นกามาวจรก่อน.

ถามว่า เพราะเหตุไร.

ตอบว่า เพราะไม่มีฐานะในภพนั้น โดยสมควร. แต่ย่อมอาจเพื่อจะเห็นด้วยจักษุวิญญาณ ซึ่งเทพชั้นรูปาวจรว่า ย่อมยืนอยู่ด้วย ย่อมนั่งอยู่ด้วยในวิมานเดียวกันนั่นเทียว. แต่ไม่อาจเพื่อจะเห็น เพื่อจะกําหนด เพื่อจะแทงตลอด ลักษณะที่เทพเหล่านี้ เห็นแล้ว กําหนดแล้ว แทงตลอดแล้ว. ย่อมไม่อาจเพื่อจะเห็นด้วยญาณจักษุ (ด้วยประการฉะนี้). ทั้งไม่อาจเพื่อจะเห็นเทพที่สูงๆ ขึ้นไป แม้ด้วยการเห็นด้วยจักษุวิญญาณแล.

บทว่า โก นาโม อยํ ภนฺเต ความว่า พระราชาแม้ทรงรู้จักพระเถระ ก็ตรัสถามเหมือนไม่รู้จัก.

ถามว่า เพราะเหตุไร.

ตอบว่า เพราะเป็นผู้ใคร่เพื่อทรงสรรเสริญ.

บทว่า อานนฺทรูโป ได้แก่ มีสภาวะน่ายินดี.

แม้การตรัสถามถึงพรหม ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นเทียว.

บทว่า อถโข อฺญตโร ปุริโส ความว่า ได้ยินว่า ถ้อยคํานั้น วิฑูฑภะนั่นเอง ตรัสแล้ว. ชนเหล่านั้น โกรธแล้วว่า ท่านกล่าวแล้ว ท่านกล่าวแล้ว จึงให้หมู่พลของตนๆ ลุกขึ้นกระทําแม้การทะเลาะซึ่งกันและกันในที่นั้นนั่นเทียว ราชบุรุษนั้นได้กล่าวคํานั้น เพื่อจะห้ามเสียด้วยประการฉะนี้.

คําที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.

อนึ่ง เทศนานี้ จบลงแล้วด้วยสามารถแห่งไนยบุคคล ดังนี้แล.

จบอรรถกถากรรณกัตถลสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๔

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 230

รวมพระสูตรที่มีในราชวรรค

๑. ฆฏิการสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๒. รัฏฐปาลสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๓. มฆเทวสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๔. มธุรสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๕. โพธิราชกุมารสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๖. อังคุลิมาลสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๗. ปิยชาติกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๘. พาหิติยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๙. ธรรมเจติยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๑๐. กรรณกัตถลสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา