๗. ธนัญชานิสูตร
[เล่มที่ 21] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 384
๗. ธนัญชานิสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 21]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 384
๗. ธนัญชานิสูตร
[๖๗๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน สวนที่ใช้เลี้ยงกระแต เขตพระนครราชคฤห์. สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเที่ยวจาริกไปในทักขิณาคิรีชนบท พร้อมด้วยภิกษ์สงฆ์หมู่ใหญ่. ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจําพรรษาอยู่ในพระนครราชคฤห์ ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงทักขิณาคิรีชนบท ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๖๗๓] ท่านพระสารีบุตรได้ถามภิกษุนั้นว่า ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพระประชวร และยังทรงพระกําลังอยู่หรือ.
ภิกษุนั้นกราบเรียนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพระประชวรและยังทรงพระกําลังอยู่ ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ ก็ภิกษุสงฆ์ไม่ป่วยไข้ และยังมีกําลังอยู่หรือ.
ภิ. แม้ภิกษุสงฆ์ก็ไม่ป่วยไข้ และยังมีกําลังอยู่ ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ ธนัญชานิพราหมณ์อยู่ที่ใกล้ประตูตัณฑุลปาละ ในพระนครราชคฤห์นั้น เขาไม่ป่วยไข้และยังมีกําลังอยู่หรือ.
ภิ. แม้ธนัญชานิพราหมณ์ก็ไม่ป่วยไข้ และยังมีกําลังอยู่ ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ ธนัญชานิพราหมณ์ยังเป็นผู้ไม่ประมาทหรือ.
ภิ. ที่ไหนได้ท่านผู้มีอายุ ธนัญชานิพราหมณ์ของเราจะไม่ประมาท เขาอาศัยพระราชา เที่ยวปล้นพวกพราหมณ์และคฤหบดี อาศัยพวกพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 385
และคฤหบดีปล้นพระราชา ภริยาของเขาผู้มีศรัทธา ซึ่งนํามาจากสกุลที่มีศรัทธา ทํากาละเสียแล้ว เขาได้หญิงอื่นมาเป็นภริยาหาศรัทธามิได้ เขานํามาจากสกุลที่ไม่มีศรัทธา.
สา. ท่านผู้มีอายุ เราได้ฟังว่าธนัญชานิพราหมณ์เป็นผู้ประมาท เป็นอันได้ฟังชั่วหนอ ทําไฉน เราจะพึงได้พบกับธนัญชานิพราหมณ์บางครั้งบางคราว. ทําไฉน จะพึงได้เจรจาปราศรัยกันสักน้อยหนึ่ง.
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ในทักขิณาคิรีชนบทตามควรแล้ว จึงหลีกจาริกไปทางพระนครราชคฤห์ เที่ยวจาริกไปโดยลําดับ ได้ถึงพระนครราชคฤห์แล้ว.
[๖๗๔] ได้ยินว่า สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน สวนที่ใช้เลี้ยงกระแต ใกล้พระนครราชคฤห์. ครั้งนั้นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังพระนครราชคฤห์ สมัยนั้น ธนัญชานิพราหมณ์ใช้คนให้รีดนมโคอยู่ที่คอกโค ภายนอกพระนคร ท่านพระสารีบุตรเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ ภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปหาธนัญชานิพราหมณ์ถึงที่อยู่ ธนัญชานิพราหมณ์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรกําลังมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร แล้วได้กล่าวว่า นิมนต์ดื่มน้ำนมสดทางนี้เถิด ท่านพระสารีบุตร ท่านยังมีเวลาฉันอาหาร.
สา. อย่าเลยพราหมณ์ วันนี้ฉันทําภัตกิจเสร็จแล้ว ฉันจักพักกลางวันที่โคนต้นไม้โน้น ท่านพึงมาในที่นั้น ธนัญชานิพราหมณ์รับคําท่านพระสารีบุตรแล้ว. ครั้งนั้น ธนัญชานิพราหมณ์บริโภคอาหารเวลาเช้าเสร็จแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 386
[๖๗๕] ท่านพระสารีบุตรได้ถามว่า ธนัญชานิ ท่านเป็นผู้ไม่ประมาทหรือ.
ธนัญชานิพราหมณ์ได้ตอบว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ที่ไหนข้าพเจ้าจะไม่ประมาท เพราะข้าพเจ้าต้องเลี้ยงมารดาบิดา ต้องเลี้ยงบุตรภริยา ต้องเลี้ยงพวกทาส กรรมกร และคนรับใช้ ต้องทํากิจสําหรับมิตรและอํามาตย์แก่มิตรและอํามาตย์ ต้องทํากิจสําหรับญาติสาโลหิต ต้องทํากิจสําหรับแขกแก่แขก ต้องทําบุญที่ควรทําแก่ปุพเปตชนส่งไปให้ปุพเปตชน ต้องทําการบวงสรวงแก่พวกเทวดา ต้องทําราชการให้แก่หลวง แม้กายนี้ก็ต้องให้อิ่มหนํา ต้องให้เจริญ.
[๖๗๖] สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบิดามารดา นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือว่า เราเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือมารดาบิดาของผู้นั้นจะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย.
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านสารีบุตร ที่แท้ถึงผู้นั้นจะคร่ําครวญมากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนลงในนรกจนได้.
[๖๗๗] สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบุตรและภริยา นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าผู้นั้นไปนรก เพราะเหตุแห่งการ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 387
ประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือหนอว่าเราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบุตรและภริยา ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าบุตรและภริยาของผู้นั้น จะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย.
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ําครวญมากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนลงในนรกจนได้.
[๖๗๘] สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งทาส กรรมกร และคนรับใช้ นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือหนอว่า เราเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งทาส กรรมกร และคนรับใช้ ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าพวกทาส กรรมกร และคนรับใช้ของเขาจะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย.
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ถึงผู้นั้นจะคร่ําครวญมากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.
[๖๗๙] สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมิตรและอํามาตย์ นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 388
หรือหนอว่า เราเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมิตรและอํามาตย์ ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่ามิตรและอํามาตย์ของเขาพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย.
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ําครวญมากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.
[๖๘๐] สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือหนอว่าเราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าญาติสาโลหิตของเขาจะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย.
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ําครวญมากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.
[๖๘๑] สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งแขก นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเขา ขอนาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 389
นิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าแขกของเขาจะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย.
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ําครวญมากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.
[๖๘๒] สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งปุพเปตชน นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งปุพเปตชน ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าปุพเปตชนของเขาจะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย.
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ําครวญมากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.
[๖๘๓] สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดา นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดา ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าเทวดาของเขาจะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 390
พึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย.
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ําครวญมากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.
[๖๘๔] ส. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าพระราชาของผู้นั้นจะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย.
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ําครวญมากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.
[๖๘๕] สา. ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงกาย เพราะเหตุทํานุบํารุงกาย นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงกาย เพราะเหตุแห่งการทํานุบํารุงกาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าชนเหล่าอื่นของเขาจะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งการ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 391
เลี้ยงกาย เพราะเหตุทํานุบํารุงกาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย.
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ําครวญมากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.
[๖๘๖] สา. ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ไหนจะประเสริฐกว่ากัน.
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ผู้ที่ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ไม่ประเสริฐ ส่วนผู้ประพฤติชอบธรรมประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ประเสริฐ ด้วยว่าการประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติผิดธรรม.
สา. ธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคลอาจเลี้ยงมารดาบิดาได้ ไม่ต้องทํากรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.
[๖๘๗] ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบุตรและภริยา กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งบุตรและภริยา ไหนจะประเสริฐกว่ากัน.
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบุตรและภริยา ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งบุตรและภริยา ประเสริฐ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 392
ด้วยว่าการประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรม และการประพฤติผิดธรรม.
ส. ธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคลอาจเลี้ยงบุตรและภริยาได้ ไม่ต้องทํากรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.
[๖๘๘] ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพวกทาส กรรมกรและคนรับใช้ กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งพวกทาส กรรมกรและคนรับใช้ ไหนจะประเสริฐกว่ากัน.
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพวกทาส กรรมกรและคนรับใช้ ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งพวกทาส กรรมกรและคนรับใช้ ประเสริฐ ด้วยว่าการประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติผิดธรรม.
สา. ดูก่อนธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคลอาจเลี้ยงพวกทาส กรรมกรและคนรับใช้ได้ ไม่ต้องกระทํากรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.
[๖๘๙] ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมิตรและอํามาตย์ กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม และประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งมิตรและอํามาตย์ ไหนจะประเสริฐกว่ากัน.
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมิตรและอํามาตย์ ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 393
ชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งมิตรและอํามาตย์ ประเสริฐ ด้วยว่าการประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรม และการประพฤติผิดธรรม.
สา. ดูก่อนธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องให้บุคคลอาจทํากรณียกิจแก่มิตรและอํามาตย์ได้ ไม่ต้องทํากรรมอันลามกและให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.
[๖๙๐] ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต ไหนจะประเสริฐกว่ากัน.
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต ประเสริฐ ด้วยว่าการประพฤติชอบธรรม และการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรม และการประพฤติผิดธรรม.
สา. ดูก่อนธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคลอาจทํากรณียกิจแก่ญาติสาโลหิตได้ ไม่ต้องทํากรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.
[๖๙๑] ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งแขก กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งแขก ไหนจะประเสริฐกว่ากัน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 394
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งแขก ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม ประเสริฐ ด้วยว่าการประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติผิดธรรม.
สา. ดูก่อนธนัญชานิ การงานอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคลอาจทํากรณียกิจแก่แขกได้ ไม่ต้องทํากรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.
[๖๙๒] ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งปุพเปตชน กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรมเพราะเหตุแห่งปุพเปตชน ไหนจะประเสริฐกว่ากัน.
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งปุพเปตชน ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม ประเสริฐ ด้วยว่าการประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติผิดธรรม.
สา. ดูก่อนธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคลอาจทํากรณียกิจแก่ปุพเปตชนได้ ไม่ต้องทํากรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.
[๖๙๓] ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดา กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดา ไหนจะประเสริฐกว่ากัน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 395
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดา ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดา ประเสริฐ ด้วยว่าการประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติผิดธรรม.
สา. ดูก่อนธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคลอาจทํากรณียกิจแก่เทวดาได้ ไม่ต้องทํากรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.
[๖๙๔] ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา ไหนจะประเสริฐกว่ากัน.
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา ประเสริฐ ด้วยว่าการประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติผิดธรรม.
สา. ดูก่อนธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคลอาจทํากรณียกิจแห่งพระราชาได้ ไม่ต้องทํากรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.
[๖๙๕] ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุการเลี้ยงกาย เพราะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 396
เหตุทํานุบํารุงกาย กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุการเลี้ยงกาย เพราะเหตุการทํานุบํารุงกาย ไหนจะประเสริฐกว่ากัน.
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุการเลี้ยงกาย เพราะเหตุทํานุบํารุงกาย ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุการเลี้ยงกาย เพราะเหตุทํานุบํารุงกาย ประเสริฐ ด้วยว่าการประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติผิดธรรม.
สา. ดูก่อนธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคลอาจเลี้ยงกาย ทํานุบํารุงกายได้ ไม่ต้องทํากรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.
ครั้งนั้นแล ธนัญชานิพราหมณ์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตร ลุกจากอาสนะหลีกไปแล้ว.
[๖๙๖] ครั้นสมัยต่อมา ธนัญชานิพราหมณ์เป็นผู้อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก จึงเรียกบุรุษคนหนึ่งมาว่า บุรุษผู้เจริญ มานี่เถิดท่าน ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ จงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ตามคําของเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า และจงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ แล้วจงไหว้เท้าท่านพระสารีบุตรตามคําของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาไหว้เท้าท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และจงเรียนท่านอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอโอกาส
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 397
ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของธนัญชานิพราหมณ์เถิด.
[๖๙๗] บุรุษนั้นรับคําธนัญชานิพราหมณ์แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า แล้วได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระสารีบุตรแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้เรียนท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาไหว้เท้าของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และสั่งมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอโอกาส ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของธนัญชานิพราหมณ์เถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยอาการดุษณีภาพ.
[๖๙๘] ลําดับนั้น ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังนิเวศน์ของธนัญชานิพราหมณ์ แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย ได้ถามธนัญชานิพราหมณ์ว่า ดูก่อนธนัญชานิ ท่านยังพอทนได้หรือ พอจะยังชีวิตให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาค่อยถอยลงไม่เจริญขึ้นหรือ อาการปรากฏค่อยคลายไม่ทวีขึ้นหรือ.
[๖๙๙] ธนัญชานิพราหมณ์กราบเรียนว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพเจ้ากล้านัก เจริญขึ้นไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวียิ่งขึ้น ไม่ลดถอย ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษมีกําลัง เอาเหล็กแหลมคมกดศีรษะ ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้นแล ลมเสียดแทงศีรษะกล้านัก ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพเจ้ากล้านัก เจริญ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 398
ขึ้น ไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวียิ่งขึ้นไม่ลดถอย เปรียบเหมือนบุรุษมีกําลัง เอาเส้นเชือกที่เขม็งมัดรัดศีรษะฉันใด เวทนาในศีรษะของข้าพเจ้าก็เหลือทนฉันนั้น ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพเจ้ากล้านัก เจริญขึ้น ไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวีขึ้น ไม่ลดถอย ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร เปรียบเหมือนนายโคฆาตหรือลูกมือนายโคฆาตผู้ชํานาญ เอามีดสําหรับเชือดเนื้อโคอันคมมาเชือดท้องฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น ลมเสียดท้องกล้านัก ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพเจ้ากล้านัก เจริญยิ่งขึ้น ไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวีขึ้น ไม่ลดถอย ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร เปรียบเหมือนบุรุษมีกําลังสองคน ช่วยกันจับบุรุษมีกําลังน้อยกว่าคนละแขน รมย่างไว้ที่หลุมถ่านเพลิง ฉันใด ในกายของข้าพเจ้าก็ร้อนเหลือทน ฉันนั้น ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพเจ้ากล้านัก ทวีขึ้นไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวีขึ้น ไม่ลดถอย.
[๗๐๐] สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน นรกกับกําเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไหนจะดีกว่ากัน.
ธ. กําเนิดสัตว์ดิรัจฉานดีกว่านรก ท่านพระสารีบุตร.
สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน กําเนิดสัตว์ดิรัจฉานกับปิตติวิสัย ไหนจะดีกว่ากัน.
ธ. ปิตติวิสัยดีกว่ากําเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ท่านพระสารีบุตร.
สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนี้เป็นไฉน ปิตติวิสัยกับมนุษย์ ไหนจะดีกว่ากัน.
ธ. มนุษย์ดีกว่าปิตติวิสัย ท่านพระสารีบุตร.
สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน มนุษย์กับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ไหนจะดีกว่ากัน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 399
ธ. เทวดาชั้นจาตุมหาราชดีกว่ามนุษย์ ท่านพระสารีบุตร.
สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นจาตุ-มหาราชกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ไหนจะดีกว่ากัน.
ธ. เทวดาชั้นดาวดึงส์ดีกว่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช ท่านพระสารีบุตร.
สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นดาวดึงส์กับเทวดาชั้นยามา ไหนจะดีกว่ากัน.
ธ. เทวดาชั้นยามาดีกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ท่านพระสารีบุตร.
สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นยามากับเทวดาชั้นดุสิต ไหนจะดีกว่ากัน.
ธ. เทวดาชั้นดุสิตดีกว่าเทวดาชั้นยามา ท่านพระสารีบุตร.
สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจควานข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นดุสิตกับเทวดาชั้นนิมมานรดี ไหนจะดีกว่ากัน.
ธ. เทวดาชั้นนิมมานรดีดีกว่าเทวดาชั้นดุสิต ท่านพระสารีบุตร.
สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นนิมมานรดีกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ไหนจะดีกว่ากัน.
ธ. เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีดีกว่าเทวดาชั้นนิมมานรดี ท่านพระสารีบุตร.
สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นปรินิมมิตวสวัตดีกับพรหมโลก ไหนจะดีกว่ากัน.
ธ. ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า พรหมโลก ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่าพรหมโลก หรือ.
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรมีความดําริว่า พราหมณ์เหล่านี้ น้อมใจไปในพรหมโลก ถ้ากระไร เราพึงแสดงทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหมแก่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 400
ธนัญชานิพราหมณ์เถิด ดังนี้ แล้วจึงกล่าวว่า ธนัญชานิ เราจักแสดทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหม ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เราจักกล่าว ธนัญชานิพราหมณ์รับคําท่านพระสารีบุตรแล้ว.
[๗๐๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ธนัญชานิ ก็ทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหมเป็นไฉน ดูก่อนธนัญชานิ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่๓ ทิศที่๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์เป็นมหัคตะ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหม ธนัญชานิ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยกรุณา... มีใจประกอบด้วยมุทิตา... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่๒ ทิศที่๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่นี้แล เป็นทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหม.
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ตามคําของข้าพเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า.
[๗๐๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้ประดิษฐานธนัญชานิพราหมณ์ไว้ในพรหมโลกชั้นต่ํา ในเมื่อยังมีกิจที่จะพึงทําให้ยิ่งขึ้นได้ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไปไม่นาน ธนัญชานิพราหมณ์ทํากาละแล้วไปบังเกิดยังพรหม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 401
โลก ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ภิกษุทั้งหลายสารีบุตรนี้ได้ประดิษฐานธนัญชานิพราหมณ์ไว้ในพรหมโลกชั้นต่ํา ในเมื่อยังมีกิจที่จะพึงทําให้ยิ่งขึ้นได้ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.
[๗๐๓] ครั้นนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สารีบุตร ทําไมเธอจึงประดิษฐานธนัญชานิพราหมณ์ไว้ในพรหมโลกชั้นต่ํา ในเมื่อยังมีกิจอันพึงทําให้ยิ่งขึ้นไปได้ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไปเล่า.
สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่าพราหมณ์เหล่านั้นน้อมใจไปพรหมโลก ถ้ากระไร เราพึงแสดงทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหมแก่ธนัญชานิพราหมณ์เกิด ดังนี้ พระเจ้าข้า.
พ. สารีบุตร ธนัญชานิพราหมณ์ทํากาละไปบังเกิดในพรหมโลกแล้วฉะนั้นแล.
จบธนัญชานิสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 402
อรรถกถาธนัญชานิสูตร
ธนัญชานิสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ในทักขิณาคิรีชนบท ความว่า ภูเขาชื่อ คิรี. คํานี้เป็นชื่อของชนบทในด้านทิศทักษิณแห่งภูเขาที่ตั้งล้อมกรุงราชคฤห์. บทว่า ที่ประตูตัณฑุลปาละ ความว่า กรุงราชคฤห์มีประตูใหญ่๓๒ ประตูประตูเล็ก ๖๔ ประตู. บรรดาประตูเหล่านั้น ประตูแห่งหนึ่งชื่อว่าประตูตัณฑุปาละ. ท่านธรรมสังคาหกาจารย์ กล่าวหมายเอาประตูตัณฑุลปาละนั้น. คําว่า อาศัยพระราชา ความว่า ธนัญชานิพราหมณ์อันพระราชาทรงส่งไปว่า จงไปเก็บส่วนแบ่งข้าวกล้าโดยไม่เบียดเบียนประชาชน เขาไปเก็บเอาข้าวกล้ามาหมดเลย และเป็นผู้อันประชาชนพูดว่า ท่านผู้เจริญ อย่าทําพวกข้าพเจ้าให้ฉิบหาย กลับกล่าวว่า ข้าวกล้าที่หว่านไว้ในราชสกุลมีน้อยพระราชาทรงสั่งเราอย่างนี้ในเวลาที่จะมาทีเดียว พวกท่านอย่าได้คร่ําครวญไปเลย. ธนัญชานิพราหมณ์อาศัยพระราชาอย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมปล้นพราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย. ข้าวเข้าบ้านตนโดยส่วนมาก ส่งเข้าราชสกุลมีประมาณน้อยแล. และถูกพระราชาตรัสถามว่า ท่านไม่ได้ทําการบีบบังคับพราหมณ์และคหบดีทั้งหลายหรือ ก็กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่มหาราช ในวาระนี้นามีข้าวกล้าน้อย เพราะฉะนั้น เมื่อข้าพระพุทธเจ้าไม่บีบบังคับเก็บเอาจึงไม่มากแล. ธนัญชานิพราหมณ์อาศัยพราหมณ์และคหบดีทั้งหลายอย่างนี้ปล้นพระราชา. คําว่า จงดื่มน้ำนมสด ความว่า จงดื่มน้ำนมสดอ่อนๆ. คําว่าแห่งภัตตาหารก่อน ความว่า เวลาภัตตาหารจักมีตราบเท่าที่ท่านนั่งดื่มนมสด.ธนัญชานิพราหมณ์แสดงว่า ชนทั้งหลายจักนําอาหารเข้ามาเพื่อเราทั้งหลาย ณ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 403
ที่นี้แหละ. ในคําว่า มารดาและบิดาดังนี้เป็นต้น พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า บิดามารดาแก่เฒ่า อันบุตรพึงแสวงหาเครื่องปูลาดและเครื่องนุ่งห่มอ่อนๆ ผ้าเนื้อละเอียดโภชนะที่มีรสอร่อย และของหอมกับพวงดอกไม้ที่หอมดีเป็นต้นมาพอกเลี้ยง. บิดากระทํากิจทุกอย่างมีงานมงคลในการตั้งชื่อบุตรและธิดา พึงเลี้ยงดูบุตรและภรรยา. ก็เมื่อไม่ทําอย่างนี้ การติเตียนย่อมเกิดขึ้น. บทว่าเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม อธิบายว่า กรรมคือความเป็นผู้ไม่มีศีลห้าหรือไม่มีศีลสิบ ชื่อว่าอธรรม ในที่นี้. บทว่า พึงฉุดคร่า คือ พึงฉุดเข้าไปสู่นรกขุมนั้นๆ เพื่อกระทํากรรมกรณ์ มีการจองจํา ๕ อย่างเป็นต้น. บทว่าผู้ประพฤติชอบธรรมคือ ผู้มีปรกติทําการงานมีการไถนา และการค้าขายเป็นต้นที่ชอบธรรม. บทว่า ย่อมลอยลง คือ สารีลง ได้แก่ คลายลง.บทว่า กล้าขึ้น คือกําเริบขึ้น ได้แก่เพิ่มขึ้น. บทว่า ประเสริฐ แปลว่าประเสริฐกว่า. บทว่า เลว คือ ต่ําช้าลามก. คํานี้ว่า สารีบุตร ก็พราหมณ์กระทํากาละแล้ว ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะพระเถระด้วยพระประสงค์ว่าเธอจงไป ณ ที่นั้นแล้วแสดงธรรมแก่พราหมณ์นั้น. แม้พระเถระก็ไปในขณะนั้นทันทีแล้วแสดงธรรมแก่มหาพราหมณ์. จําเดิมแต่นั้นไป เมื่อพระเถระแม้กล่าวคาถา ๔ บาท ก็ไม่กล่าวถึงความหลุดพันด้วยสัจจะ ๔ แล.
จบอรรถกถาธนัญชานิสูตรที่ ๗