๘. วาเสฏฐสูตร
[เล่มที่ 21] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 404
๘. วาเสฏฐสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 21]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 404
๘. วาเสฏฐสูตร
[๗๐๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้านอิจฉานังคละ. ก็สมัยนั้น พราหมณ์มหาศาลผู้มีชื่อเสียงเป็นอันมาก คือ จังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุโสณิพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์ และพราหมณ์มหาศาลเหล่าอื่นที่มีชื่อเสียง อาศัยอยู่ในหมู่บ้านอิจฉานังคละ ครั้งนั้น วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพ เที่ยวเดินเล่นเป็นการพักผ่อนอยู่ มีถ้อยคําพูดกันในระหว่างนี้เกิดขึ้นว่า ท่านผู้เจริญ อย่างไรบุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ภารทวาชมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้เกิดดีทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิอันบริสุทธิ์ตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านติเตียนด้วยอ้างถึงชาติได้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์ วาเสฏฐมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้มีศีลและถึงพร้อมด้วยวัตรด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ภารทวาชมาณพไม่อาจให้วาเสฏฐมาณพยินยอมได้ ถึงวาเสฏฐมาณพก็ไม่อาจให้ภารทวาชมาณพยินยอมได้เหมือนกัน.
[๗๐๕] ครั้งนั้นแล วาเสฏฐมาณพได้ปรึกษากะภารทวาชมาณพว่า ท่านภารทวาชะ พระสมณโคดมศากยบุตรนี้ เสด็จออกผนวชจากศากยสกุล ประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้านอิจฉานังคละ ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระสมณโคดมนั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 405
วิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งขึ้นไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกธรรม มาเถิด เราจักเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม แล้วจักทูลถามเนื้อความนี้ พระสมณโคดมจักทรงพยากรณ์แก่เราอย่างไร เราจักทรงจําเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น ภารทวาชมาณพรับคําวาเสฏฐมาณพแล้ว. ลําดับนั้น วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง.
[๗๐๖] ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว วาเสฏฐมาณพได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาทั้งหลายว่า
ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้ทรงไตรเพทอันอาจารย์อนุญาตแล้ว และปฏิญาณได้เองว่า เป็นผู้ได้ศึกษาแล้ว ข้าพระองค์เป็นศิษย์ท่านโปกขรสาติพราหมณ์มาณพ ผู้นี้เป็นศิษย์ท่านตารุกพราหมณ์ ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้รู้จบในบทที่พราหมณ์ผู้ทรงไตรเพทบอกแล้ว ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้มีข้อพยากรณ์แม่นยําตามบท เซ่นเดียวกับอาจารย์ในสถานกล่าวมนต์ ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งสองมีการโต้เถียงกันในการกล่าวถึงชาติ คือ ภารทวาชมาณพกล่าวว่า บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติ ส่วนข้าพระองค์กล่าวว่า บุคคลชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 406
เป็นพราหมณ์เพราะกรรม พระองค์ผู้มีจักษุ ขอจงทรงทราบอย่างนี้ ข้าพระองค์ทั้งสองนั้นไม่อาจจะให้กันและกันยินยอมได้ จึงได้มาเฝ้าเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคสัมพุทธเจ้า ผู้ปรากฏด้วยอาการฉะนี้ ชนทั้งหลายเมื่อจะเข้าไปประณมมือถวายบังคม ก็จักถวายพระโคดมได้ทั่วโลกเหมือนพระจันทร์เต็มดวง ฉะนั้น ข้าพระองค์ขอทูลถามพระโคดมผู้เป็นดวงจักษุ อุบัติขึ้นในโลกว่า บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติ หรือว่าเป็นเพราะกรรม ขอจงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ทั้งสองผู้ไม่ทราบ ตามที่จะทราบบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นเถิด.
[๗๐๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ดูก่อนวาเสฏฐะ เราจักพยากรณ์การจําแนกชาติ ของสัตว์ทั้งทลาย ตามลําดับ ตามสมควรแก่ท่านทั้งสองนั้น เพราะมันมีชาติเป็นคนละอย่างๆ ท่านจงรู้จักแม้ติณชาติและรุกขชาติ แม้จะปฏิญาณตนไม่ได้ เพศของติณชาติและรุกขชาตินั้นก็สําเร็จด้วยชาติ เพราะมันมีชาติเป็นคนละอย่างๆ แต่นั้นท่านจงรู้จักตั๊กแตน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 407
ผีเสื้อ ตลอดถึงมดดําและมดแดง เพศของสัตว์เหล่านั้นก็สําเร็จด้วยชาติ เพราะมันมีชาติเป็นคนละอย่างๆ อนึ่ง ท่านทั้งหลายจงรู้จักสัตว์สี่เท้า ทั้งเล็กทั้งใหญ่ เพศของมันก็สําเร็จด้วยชาติ เพราะมันมีชาติเป็นคนละอย่างๆ อนึ่ง จงรู้จักสัตว์มีท้องเป็นเท้า สัตว์ไปด้วยอก สัตว์มีหลังยาว เพศของมันก็สําเร็จด้วยชาติ เพราะมันมีชาติเป็นคนละอย่างๆ แต่นั้นจงรู้จักปลา สัตว์เกิดในน้ำ สัตว์เที่ยวหากินในน้ำ เพศของมันก็สําเร็จด้วยชาติ เพราะมันมีชาติเป็นคนละอย่างๆ แต่นั้นจงรู้จักนก สัตว์ไปได้ด้วยปีก สัตว์ที่ไปในอากาศ เพศของมันก็สําเร็จด้วยชาติ เพราะมันมีชาติเป็นคนละอย่างๆ เพศอันสําเร็จด้วยชาติมีมากมาย ในชาติ (สัตว์) เหล่านี้ฉันใด เพศในมนุษย์ทั้งหลายอันสําเร็จด้วยชาติมากมาย ฉันนั้น หามิได้ คือ ไม่ใช่ด้วยผม ด้วยศีรษะ ด้วยหู ด้วยนัยน์ตา ด้วยหน้า ด้วยจมูก ด้วยริมฝีปาก ด้วยคิ้ว ด้วยคอ ด้วยบ่า ด้วยท้อง ด้วยหลัง ด้วยตะโพก ด้วยอก ในที่แคบ ในที่เมถุน ด้วยมือ ด้วยเท้า ด้วยนิ้ว ด้วยเล็บ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 408
ด้วยแข้ง ด้วยขา ด้วยวรรณะ ด้วยเสียง (หามิได้) เพศอันสําเร็จด้วยชาติ (ของมนุษย์) ย่อมไม่เหมือนในชาติ (ของสัตว์) เหล่าอื่น สิ่งเฉพาะตัวในสรีระ (ในชาติของสัตว์อื่น) นั้น ของมนุษย์ไม่มี ก็ในหมู่มนุษย์ เขาเรียกต่างกันตามชื่อ ดูก่อนวาเสฏฐะ ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยการรักษาโคเลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นชาวนา ไม่ใช่พราหมณ์ ดูก่อนวาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยศิลปะมากอย่าง ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นศิลปิน ไม่ใช่พราหมณ์ ดูก่อนวาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยการค้าเลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นพ่อค้า ไม่ใช่พราหมณ์ ดูก่อนวาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยการรับใช้ผู้อื่น ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นคนรับใช้ ไม่ใช่พราหมณ์ ดูก่อนวาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยของที่เขาไม่ให้เลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นโจร ไม่ใช่พราหมณ์ ดูก่อนวาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยศาสตราวุธเลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 409
ผู้นั้นเป็นทหาร ไม่ใช่พวกพราหมณ์ ดูก่อนวาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยการงานของปุโรหิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นเจ้าหน้าที่การบูชา ไม่ใช่พราหมณ์ ดูก่อนวาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดปกครองบ้านและเมือง ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นพระราชา ไม่ใช่พราหมณ์ และเราก็ไม่เรียกบุคคลผู้เกิดในกําเนิดไหนๆ หรือเกิดจากมารดา (เช่นใดๆ ) ว่าเป็นพราหมณ์ บุคคลถึงจะเรียกกันว่า ท่านผู้เจริญ ผู้นั้นก็ยังเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวลอยู่นั่นเอง เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ยึดมั่นนั้นว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดแลตัดสังโยชน์ทั้งปวงได้แล้ว ไม่สะดุ้ง เราเรียกผู้นั้นผู้ล่วงกิเลสเครื่องข้อง ไม่ประกอบด้วยสรรพกิเลสว่าเป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ตัดอุปนาหะดังชะเนาะ ตัณหาดังเชือกหนัง ทิฐิดังเชือกบ่วง พร้อมทั้งทิฏฐานุสัยประดุจปม มีอวิชชาดุจลิ่มสลักถอนขึ้นแล้ว ผู้ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดไม่ประทุษร้าย อดกลั้นคําด่า การทุบตีและการจองจําได้ เราเรียกผู้มีขันติเป็นกําลัง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 410
ดังหมู่พลนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ไม่โกรธ ผู้มีองค์ธรรมเป็นเครื่องกําจัด มีศีล ไม่มีกิเลสดุจฝ้า ฝึกฝนแล้ว มีสรีระตั้งอยู่ในที่สุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดไม่ติดในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำบนใบบัว หรือดังเมล็ดพันธุ์ผักกาดบนปลายเหล็กแหลม เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดรู้ธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์ของตนในภพนี้เอง เราเรียกผู้ปลงภาระผู้ไม่ประกอบแล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้มีปัญญาอันเป็นไปในอารมณ์อันลึก มีเมธาฉลาดในอุบายอันเป็นทางและมิใช่ทางบรรลุประโยชน์อันสูงสุด ว่าเป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ไม่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสองพวก ผู้ไปได้ด้วยไม่มีความอาลัย ผู้ไม่มีความปรารถนาว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดวางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย ทั้งเป็นสัตว์ที่หวั่นหวาดและมั่นคงไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า เราเรียกผู้นั้นว่าพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีพิโรธตอบในผู้พิโรธ ดับอาชญาในตนได้ในเมื่อสัตว์ทั้งหลายมีความถือมั่น ไม่มีความถือมั่น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดทําราคะ โทสะ มานะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 411
และมักขะให้ตกไป ดังเมล็ดพันธุ์ผักกาดตกจากปลายเหล็กแหลม เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดกล่าววาจาสัตย์ อันไม่มีโทษให้ผู้อื่นรู้สึกได้ อันไม่เป็นเครื่องขัดใจคน เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์ แม้ผู้ใดไม่ถือเอาภัณฑะทั้งยาวหรือสั้น เล็กหรือใหญ่ งามหรือไม่งาม ที่เจ้าของไม่ให้ในโลก เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดไม่มีความหวังทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เราเรียกผู้ไม่มีความหวัง ผู้ไม่ประกอบแล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดไม่มีความอาลัย ไม่มีความสงสัยเพราะรู้ทั่วถึง เราเรียกผู้บรรลุธรรมอันหยั่งลงในอมตธรรมนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งสอง คือ บุญและบาปในโลกนี้ได้ เราเรียกผู้ไม่เศร้าโศก ปราศจากธุลี ผู้บริสุทธิ์นั้นว่าเป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ปราศจากมลทิน บริสุทธิ์ผ่องใสไม่ขุ่นมัวดังดวงจันทร์ มีความเพลิดเพลินในภพสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดล่วงอวิชชาประดุจทางลื่นหรือดุจหล่มอันถอนได้ยาก เป็นเครื่องให้ท่องเที่ยวให้หลงนี้ได้ ข้ามถึงฝั่งแล้ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 412
มีความเพ่งอยู่ไม่หวั่นไหว ไม่มีความสงสัย ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่น เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดละกามได้ขาดแล้ว เป็นบรรพชิต เว้นรอบในโลกนี้ เราเรียกผู้มีกามและภพสิ้นรอบแล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดละตัณหาได้ขาดแล้ว เป็นบรรพชิต เว้นรอบในโลกนี้ เราเรียกผู้มีกามและภพสิ้นรอบแล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดละกามคุณอันเป็นของมนุษย์ ล่วงกามคุณอันเป็นของทิพย์แล้ว เราเรียกผู้ไม่ประกอบด้วยกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวงนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ละความยินดี และความไม่ยินดี เป็นผู้เย็น ไม่มีอุปธิครอบงําโลกทั้งปวง ผู้แกล้วกล้านั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้ไม่ข้อง ผู้ไปดี ตรัสรู้แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เทวดา คนธรรพ์และหมู่มนุษย์ไม่รู้คติของผู้ใด เราเรียกผู้นั้นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องกังวลทั้งข้างหน้า ข้างหลัง และท่ามกลาง เราเรียกผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 413
ผู้ไม่ถือมั่นนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้องอาจ ผู้ประเสริฐ ผู้แกล้วกล้า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ผู้ชํานะแล้วโดยวิเศษ ผู้ไม่หวั่นไหว อาบเสร็จแล้วตรัสรู้แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดรู้ญาณเครื่องระลึกชาติก่อนได้ เห็นสวรรค์และอบาย และบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นชาติ เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์ อันชื่อคือนามและโคตรที่กําหนดตั้งไว้นี้ เป็นแต่สักว่าโวหารในโลก เพราะเกิดขึ้นมาตามชื่อที่กําหนดตั้งกันไว้ในกาลนั้นๆ ทิฐิอันนอนเนื่องอยู่ในหทัยสิ้นกาลนาน ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่รู้ เมื่อสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ก็พร่ํากล่าวว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติ บุคคลจะชื่อว่าเป็นคนชั่วเพราะชาติก็หาไม่ จะชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติก็หาไม่ ที่แท้ ชื่อว่าเป็นคนชั่วเพราะกรรม ชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม เป็นชาวนาเพราะกรรม เป็นศิลปินเพราะกรรม เป็นพ่อค้าเพราะกรรม เป็นคนใช้เพราะกรรม แม้เป็นโจรก็เพราะกรรม แม้เป็นทหารก็เพราะกรรม เป็นปุโรหิตเพราะกรรม แม้เป็นพระราชาก็เพราะกรรม บัณฑิตทั้งหลายมีปรกติเห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรมและ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 414
วิบาก ย่อมเห็นกรรมนั้นแจ้งชัดตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะกรรม สัตว์ทั้งหลายถูกผูกไว้ในกรรมเหมือนลิ่มสลักของรถที่กําลังแล่นไป ฉะนั้น บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ด้วยกรรมอันประเสริฐนี้ คือ ตบะ พรหมจรรย์ สัญญมะและทมะ กรรม ๔ อย่างนี้ เป็นกรรมอันสูงสุดของพรหมทั้งหลาย ทําให้ผู้ประพฤติถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓ ระงับกิเลสได้ สิ้นภพใหม่แล้ว ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นชื่อว่าเป็นพรหม เป็นท้าวสักกะ ของบัณฑิตผู้รู้แจ้งทั้งหลาย.
[๗๐๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจะได้เห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์ทั้งสองนี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์โปรดทรงจําข้าพระองค์ทั้งสองว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนี้แล.
จบวาเสฏฐสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 415
อรรถกถาวาเสฏฐสูตร
วาเสฏฐสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ในราวป่าชื่ออิจฉานังคละ คือ ในราวป่าอันไม่ไกลอิจฉานังคลคาม.
ชนแม้ทั้ง ๕ มีจังกีพราหมณ์เป็นต้น ต่างก็เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ด้วยกันทั้งนั้น.
คําว่า และพราหมณ์มหาศาลเหล่าอื่น ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ พราหมณ์เหล่าอื่นเป็นอันมากมีชื่อเสียง ได้ยินว่า พราหมณ์เหล่านั้นประชุมกันในที่ ๒ แห่งทุกๆ ๖ เดือน.
ในกาลใด ต้องการจะชําระชาติให้บริสุทธิ์ ในกาลนั้น ก็ประชุมกันที่อุกกัฏฐคาม เพื่อชําระชาติให้บริสุทธิ์ ในสํานักของท่านโปกขรสาติ. ในกาลใด ต้องการจะชําระมนต์ให้บริสุทธิ์ ในกาลนั้น ก็ประชุมกันที่อิจฉานังคลคาม. ในกาลนี้ ประชุมกันที่อิจฉานังคลคามนั้น เพื่อชําระมนต์ให้บริสุทธิ์.
บทว่า ถ้อยคําที่พูดกันในระหว่าง ความว่า มีถ้อยคําอย่างอื่นเกิดขึ้นในระหว่างถ้อยคําที่เหมาะต่อความเป็นสหายกัน ที่คน ๒ คนเที่ยวเดินกล่าวตามๆ กัน.
บทว่า มีศีล คือ มีคุณ.
บทว่า สมบูรณ์ด้วยวัตร คือ ถึงพร้อมด้วยความประพฤติ.
คําว่า อันอาจารย์อนุญาตและปฏิญาณได้เอง ความว่า อันอาจารย์อนุญาตอย่างนี้ว่า เธอทั้งหลายศึกษาจบแล้ว.
บทว่า พวกเราเป็นผู้ที่อาจารย์ให้ศึกษาแล้ว ความว่า และตนเองปฏิญาณแล้วอย่างนี้.
บทว่า อสฺม แปลว่า ย่อมเป็น.
ด้วยคําว่า ข้าพระองค์เป็นศิษย์ของท่านโปกขรสาติพราหมณ์ มาณพผู้นี้เป็นศิษย์ของท่านตารุกขพราหมณ์ วาเสฏฐมาณพแสดงว่าข้าพระองค์เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ คือ เป็นศิษย์ชั้นเลิศของท่านโปกขรสาติพราหมณ์ มาณพผู้นี้เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ คือ เป็นศิษย์ชั้นเลิศของท่านตารุกขพราหมณ์.
บทว่า ผู้ทรง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 416
วิชชา ๓ ได้แก่ พราหมณ์ผู้ทรงไตรเพท.
คําว่า บทใดที่พราหมณ์ทั้งหลายบอกแล้ว ความว่า บทใดแม้บทเดียวที่พราหมณ์ทั้งหลายบอกแล้ว ทั้งโดยอรรถะและพยัญชนะ.
คําว่า เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในมนต์นั้น ความว่า ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้ถึงความสําเร็จในบทนั้น เพราะรู้บทนั้นทั้งสิ้น.
บัดนี้ วาเสฏฐมาณพเมื่อจะทําให้แจ้งถึงความเป็น ผู้เชี่ยวชาญ แม่นยํานั้น จึงกล่าวว่า ปทกสฺม ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เช่นเดียวกับอาจารย์ในสถานที่บอกมนต์ ความว่า ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นเช่นเดียวกับอาจารย์ในสถานที่กล่าวมนต์.
บทว่า เพราะกรรม ได้แก่ เพราะกรรม คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ ก็วาเสฏฐมาณพนี้หมายเอากายกรรมและวจีกรรม ๗ ประการข้างต้น จึงกล่าวว่า กาลใดแลท่านผู้เจริญมีศีล ดังนี้.
หมายเอามโนกรรม ๓ จึงกล่าวว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร. ก็บุคคลผู้ประกอบมโนกรรม ๓ นั้น ย่อมเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระ. วาเสฏฐมาณพร้องเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้มีพระจักษุเพราะเป็นผู้มีจักษุด้วยจักษุ ๕.
บทว่า ล่วงเลยความสิ้นไป ได้แก่ ล่วงเลยความพร่อง อธิบายว่า บริบูรณ์.
บทว่า เข้าถึง ได้แก่ เข้าไปใกล้.
บทว่า จะนอบน้อม แปลว่า กระทําความนอบน้อม.
คําว่า เป็นดวงจักษุอุบัติขึ้นแล้วในโลก ความว่า เป็นดวงจักษุโดยแสดงประโยชน์ปัจจุบันเป็นต้นของชาวโลก อุบัติขึ้น ขจัดความมืดนั้น ในโลกอันมืดเพราะอวิชชา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าอันวาเสฏฐมาณพชมเชยแล้ว ทูลอาราธนาอย่างนี้ เมื่อจะทรงสงเคราะห์ชนแม้ทั้งสอง จึงตรัสพุทธพจน์มีอาทิว่า เราตถาคตจักบอกถ้อยคําอย่างแจ่มแจ้งแก่เธอทั้งสองนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จักบอกอย่างชัดแจ้ง ได้แก่ จักพยากรณ์.
บทว่า ตามลําดับ ความว่า ความคิดของพราหมณ์จงพักไว้ก่อน เราจักบอกตามลําดับ คือ โดยลําดับตั้งแต่หญ้า ต้นไม้ แมลง และตั๊กแตน เป็นต้น.
บทว่า การจําแนกชาติกําเนิด คือ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 417
ความพิสดารของชาติกําเนิด.
คําว่า เพราะชาติกําเนิดคนละอย่าง ความว่า เพราะชาติกําเนิดของสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ คนละอย่าง คือ แต่ละอย่างต่างๆ กัน.
ด้วยบทว่า หญ้าและต้นไม้ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มพระเทศนานี้ว่า เราจักกล่าวชาติกําเนิดที่ไม่มีวิญญาณครอง แล้วจักกล่าวถึงชาติกําเนิดที่มีวิญญาณครองภายหลัง ความต่างกันแห่งชาติกําเนิดนั้น จักปรากฏอย่างนี้.
ก็พระมหาสิวเถระถูกถามว่า ท่านผู้เจริญ การกล่าวอย่างนี้ว่า สิ่งที่ไม่มีวิญญาณครอง ชื่อว่าเป็นของต่างกัน เพราะมีพืชต่างกัน สิ่งที่มีวิญญาณครอง ก็ชื่อว่าเป็นของต่างกัน เพราะกรรมต่างกัน ดังนี้ ไม่ควรหรือ จึงตอบว่า เออ ไม่ควร. เพราะกรรมซัดเข้าในกําเนิดสัตว์เหล่านี้มีพรรณต่างๆ กัน เพราะการปฏิสนธิในกําเนิด.
ในบทว่า หญ้าและต้นไม้ นี้ มีกระพี้อยู่ข้างใน แก่นอยู่ข้างนอก ชั้นที่สุดแม้ตาลและมะพร้าวเป็นต้น ชื่อว่าหญ้าทั้งนั้น. ส่วนไม้ที่มีแก่นอยู่ข้างใน กระพี้อยู่ข้างนอก ชื่อว่าต้นไม้ทั้งหมด.
คําว่า แม้จะปฏิญาณไม่ได้ ความว่า ย่อมไม่รู้อย่างนี้ว่า พวกเราเป็นหญ้า พวกเราเป็นต้นไม้ หรือว่า เราเป็นหญ้า เราเป็นต้นไม้.
คําว่า เพศอันสําเร็จด้วยชาติกําเนิด ได้แก่ ก็หญ้าและต้นไม้เหล่านั้น แม้ไม่รู้ (คือปฏิญาณไม่ได้) สัณฐานมันก็สําเร็จมาแต่ชาติกําเนิดทั้งนั้น คือ เป็นเหมือนหญ้าเป็นต้น ซึ่งเป็นเค้าเดิมของตนนั่นเอง.
เพราะเหตุไร.
เพราะชาติกําเนิดมันต่างๆ กัน. คือ เพราะติณชาติก็อย่างหนึ่ง รุกขชาติก็อย่างหนึ่ง แม้บรรดาติณชาติทั้งหลาย ชาติกําเนิดตาลก็อย่างหนึ่ง ชาติกําเนิดมะพร้าวก็อย่างหนึ่ง. พึงขยายความให้กว้างขวางออกไปด้วยประการอย่างนี้.
ด้วยคําว่า ชาติกําเนิดต่างกัน นี้ ทรงแสดงความหมายนี้ว่า สิ่งใดต่างกันโดยชาติกําเนิด สิ่งนั้นแม้เว้นการปฏิญาณตนหรือการชี้บอกแนะนําของคนอื่น ก็ย่อมถือเอาได้โดยพิเศษว่า (มันมี) ชาติกําเนิดคนละอย่าง.
ก็หากว่าคนพึงเป็นพราหมณ์แท้ๆ โดยชาติกําเนิด แม้เขาเว้นการปฏิญาณตนหรือการ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 418
บอกเล่าของคนอื่น พึงถือเอาโดยพิเศษแต่กษัตริย์ แพศย์ หรือศูทร แต่จะถือเอาหาได้ไม่. เพราะฉะนั้น บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติกําเนิดก็หาไม่.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงกระทําให้แจ้งซึ่งเนื้อความนี้ แห่งพระคาถาว่าในชาติกําเนิดเหล่านี้ ฉันใด ดังนี้ โดยทรงเปล่งพระวาจาไว้เท่านั้นข้างหน้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงชาติกําเนิดในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณครองอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงชาติกําเนิดในสิ่งที่มีวิญญาณครอง แต่นั้นจึงตรัสคํามีอาทิว่า ตั๊กแตน ดังนี้.
คําว่า ตลอดถึงมดดํามดแดง ความว่า ทรงทํามดดํามดแดงให้เป็นชาติสุดท้าย.
ก็ในบรรดาสัตว์เหล่านี้ สัตว์ที่กระโดดไป ชื่อว่า ตั๊กแตน.
คําว่า เพราะชาติกําเนิดคนละอย่าง หมายความว่า ชาติกําเนิดเนื่องด้วยสิ่งที่มีสีเขียวสีแดงเป็นต้นของสัตว์แม้เหล่านั้น ก็มีประการต่างๆ แท้.
บทว่า ตัวเล็ก ได้แก่ กระรอกเป็นต้น.
บทว่า ใหญ่ ได้แก่ งูและแมวเป็นต้น.
บทว่า มีเท้าที่ท้อง แปลว่า มีท้องเป็นเท้า. อธิบายว่า ท้องนั่นแหละเป็นเท้าของสัตว์เหล่าใด.
บทว่า มีหลังยาว ความว่า งูทั้งหลายมีหลังอย่างเดียว ตั้งแต่หัวจรดหาง เพราะฉะนั้น งูเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า มีหลังยาว.
บทว่า ในน้ำ คือ เกิดในน้ำ.
บทว่า ปกฺขี ได้แก่ พวกนก.
นกทั้งหลายชื่อว่า ไปด้วยปีก เพราะบินไปด้วยปีกเหล่านั้น. ชื่อว่า ไปทางอากาศ เพราะไปทางอากาศกลางหาว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงชาติกําเนิดแต่ละประเภทของสัตว์ที่ไปทางบก ทางน้ำ และทางอากาศอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงกระทําพระประสงค์อันเป็นเครื่องแสดงถึงเรื่องชาติกําเนิดนั้นให้ชัดแจ้ง จึงตรัสพระคาถาว่า ในชาติกําเนิดเหล่านี้ฉันใด ดังนี้เป็นต้น.
เนื้อความแห่งคาถานั้นทรงตรัสไว้โดยย่อทีเดียว. แต่คําใดที่จะพึงตรัสในที่นี้โดยพิสดาร เมื่อจะทรงแสดงคํานั้นโดยพระองค์เอง จึงตรัสคําว่า มิใช่ด้วยผม ดังนี้เป็นต้น.
ในคํานั้นมีการประกอบ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 419
ความดังต่อไปนี้.
คําใดที่กล่าวว่า ในหมู่มนุษย์ ไม่มีเพศที่สําเร็จด้วยชาติกําเนิดมากมาย ดังนี้ คํานั้นพึงทราบว่า ไม่มีอย่างนี้.
คืออย่างไร.
คือ มิใช่ด้วยผมทั้งหลาย. เพราะไม่มีการกําหนดไว้ว่า พวกพราหมณ์มีผมเช่นนี้ พวกกษัตริย์เช่นนี้เหมือนผมของช้าง ม้า และเนื้อเป็นต้น.
ก็พระดํารัสที่ว่า เพศอันสําเร็จด้วยชาติกําเนิด (ในมนุษย์ทั้งหลาย) ไม่เหมือนในชาติกําเนิดเหล่าอื่นดังนี้ พึงทราบว่า เป็นคํากล่าวสรุปเนื้อความที่ตรัสไว้แล้วเท่านั้น บทนั้น ประกอบความว่า เพราะเพศในมนุษย์ทั้งหลาย อันสําเร็จด้วยชาติเป็นอันมาก ย่อมไม่มีด้วยผมเป็นต้นเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พึงทราบเพศนั้นว่า ในมนุษย์ทั้งหลายที่ต่างกันโดยเป็นพราหมณ์เป็นต้น เพศที่สําเร็จด้วยชาติกําเนิดหาเหมือนในชาติกําเนิดเหล่าอื่นไม่.
บัดนี้ ในเมื่อความแตกต่างแห่งชาติกําเนิดแม้จะไม่มีอย่างนี้ เพื่อที่จะแสดงประการที่เกิดความต่างกันนี้ ที่ว่า พราหมณ์ กษัตริย์ นั้น จึงตรัสคาถาว่า เป็นของเฉพาะตัว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โวการํ ได้แก่ ความต่างกัน.
ก็ในคํานี้มีใจความย่อดังต่อไปนี้ เหมือนอย่างว่า สําหรับสัตว์เดียรัจฉานทั้งหลาย ความต่างกันโดยสัณฐาน มีผมเป็นต้น สําเร็จมาแต่กําเนิดทีเดียว ฉันใด สําหรับพวกพราหมณ์เป็นต้น ความต่างกันนั้นในสรีระของตนย่อมไม่มี ฉันนั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ความต่างกันที่ว่า พราหมณ์ กษัตริย์ ดังนี้นั้น ในหมู่มนุษย์เขาเรียกกันตามชื่อ คือ เขาเรียกโดยสักว่าต่างกันเท่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข่มวาทะของ ภารทวาชมาณพ ด้วยพระดํารัสมีประมาณเท่านี้ บัดนี้ ถ้าหากว่าคนจะเป็นพราหมณ์ได้เพราะชาติไซร้ แม้คนที่มีอาชีพ ศีล และความประพฤติเสียหาย ก็จะเป็นพราหมณ์ได้ แต่เพราะเหตุที่พราหมณ์แต่เก่าก่อน ไม่ปรารถนาความที่คนเสียหายนั้นมาเป็นพราหมณ์ และคนที่เป็นบัณฑิตแม้อื่นๆ ย่อมมีอยู่ในโลก เพราะฉะนั้น เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 420
จะทรงยกย่องวาทะของว่าเสฏฐมาณพ จึงตรัสคาถา ๘ คาถาว่า ก็บุคคลใดคนหนึ่งในหมู่มนุษย์ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า การรักษาโค คือ การรักษานา. อธิบายว่า กสิกรรม. ก็คําว่าโคเป็นชื่อของแผ่นดิน เพราะฉะนั้นจึงตรัสอย่างนั้น.
บทว่า ด้วยศิลปะมากมาย ได้แก่ ศิลปะต่างๆ มีการงานของช่างทอหูกเป็นต้น.
บทว่า ค้าขาย ได้แก่ การค้าขาย.
บทว่า ด้วยการรับใช้ผู้อื่น คือ ด้วยกรรม คือการขวนขวายช่วยเหลือคนอื่น.
บทว่า อาศัยศัสตราเลี้ยงชีวิต คือ การเป็นอยู่ด้วยอาวุธ อธิบายว่า (อาศัย) ลูกศรและศัสตรา.
บทว่า ด้วยความเป็นปุโรหิต คือ ด้วยการงานของปุโรหิต.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศ ความที่คนเสียหายด้านอาชีพ ศีล และความประพฤติ ว่าไม่เป็นพราหมณ์ โดยลัทธิของพราหมณ์ และโดยโวหารของชาวโลกอย่างนี้แล้ว ทรงให้ยอมรับความถูกต้องนี้ โดยใจความอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ คนย่อมไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่เป็นพราหมณ์เพราะพวกคนวัยรุ่น เพราะฉะนั้น คนใดเกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง เป็นคนมีคุณความดี คนนั้นเป็นพราหมณ์ นี้เป็นความถูกต้องในอธิการที่ว่าด้วยเรื่องพราหมณ์นี้ ดังนี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงประกาศความถูกต้องนั้น ด้วยการเปล่งคําพูดออกมา จึงตรัสว่า และเราก็ไม่เรียกว่าเป็นพราหมณ์ดังนี้เป็นต้น.
ใจความของพระดํารัสนั้นมีว่า เพราะเราไม่เรียกคนผู้เกิดในกําเนิดใดกําเนิดหนึ่ง บรรดากําเนิด ๔ หรือผู้ที่เกิดในมารดาที่พราหมณ์ยกย่องสรรเสริญโดยพิเศษในกําเนิด ๔ แม้นั้น ผู้เกิดแต่กําเนิด มีมารดาเป็นแดนเกิดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ คือ เราไม่เรียกคนผู้ที่เขากล่าวว่าเกิดแต่กําเนิด มีมารดาเป็นแดนเกิด เพราะเป็นผู้เกิดแต่กําเนิด โดยมารดาสมบัติก็ตาม โดยชาติสมบัติก็ตาม ด้วยคําที่มานี้ว่า กําเนิด กล่าวคือ เพียงแต่ความบังเกิดขึ้นอันบริสุทธิ์ของพราหมณ์ ที่พวกพราหมณ์กล่าวไว้ โดยนัยมีอาทิว่า ผู้เกิดดีแล้ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 421
แต่ข้างทั้งสองฝ่าย มีครรภ์ที่ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์นั้น ผู้เกิดแต่กําเนิด มีมารดาเป็นแดนเกิดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ด้วยเหตุสักว่าเกิดแต่กําเนิด มีมารดาเป็นแดนเกิดนี้.
เพราะเหตุไร.
เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ชื่อว่า โภวาที มีวาทะว่าผู้เจริญ เพราะเป็นผู้วิเศษกว่าคนเหล่าอื่น ผู้มีความกังวล ด้วยสักแต่กล่าวว่าผู้เจริญ ผู้เจริญ บุคคลนั้นแลเป็นผู้มีความกังวล มีความห่วงใย. ส่วนบุคคลใดแม้จะเกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ชื่อว่า ผู้ไม่มีความกังวล เพราะไม่มีกิเลสเครื่องกังวล มีราคะเป็นต้น ชื่อว่า ผู้ไม่ถือมั่น เพราะสละความยึดถือทั้งปวง เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีความกังวล ผู้ไม่ยึดถือนั้น ว่าเป็นพราหมณ์.
เพราะเหตุไร.
เพราะเป็นผู้ลอยบาปแล้ว.
สูงขึ้นไปหน่อย คาถา ๒๗ เป็นต้นว่า ตัดสังโยชน์ทั้งปวง ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สังโยชน์ทั้งปวง ได้แก่ สังโยชน์ทั้งหมด คือ แม้ทั้ง ๑๐.
บทว่า ย่อมไม่สะดุ้ง คือ ย่อมไม่สะดุ้งด้วยความสะดุ้งคือตัณหา.
บทว่า ล่วงกิเลสเครื่องข้อง คือ ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องมีราคะเป็นต้น.
บทว่า ผู้ไม่ประกอบ คือ ผู้ไม่ประกอบด้วยกําเนิด ๔ หรือด้วยกิเลสทั้งปวง.
บทว่า สายเชือกหนัง ได้แก่ อุปนาหะ ความผูกโกรธ.
บทว่า สายหนัง ได้แก่ ตัณหา.
บทว่า ที่ต่อ แปลว่า เชือกบ่วง.
คําว่า เชือกบ่วงนี้เป็นชื่อของกิเลสเครื่องกลุ้มรุม คือทิฐิ. ปมที่สอดเข้าในบ่วงเรียกว่า สายปม ในคําว่า สหนุกฺกมํ นี้. คํานี้เป็นชื่อของ ทิฏฐิอนุสัย.
ในคําว่า มีลิ่มสลักอันถอนขึ้นแล้วนี้ อวิชชา ชื่อว่า ดุจลิ่ม.
บทว่า ผู้ตรัสรู้แล้ว ได้แก่ ตรัสรู้สัจจะทั้ง ๔.
บทว่า ย่อมอดกลั้น คือ ย่อมอดทน.
บทว่า ผู้มีขันติเป็นหมู่พล คือ มีอธิวาสนขันติเป็นหมู่พล.
ก็ขันตินั้น เกิดขึ้นคราวเดียว ไม่ชื่อว่าเป็นกําลังดังหมู่พล ต่อเกิดบ่อยๆ จึงเป็น. ชื่อว่า มีกําลังดังหมู่พล เพราะมีอธิวาสนขันตินั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 422
บทว่า ผู้มีองค์ธรรมเครื่องกำจัด คือ มีธุดงควัตร.
บทว่า มีศีล คือ มีคุณความดี.
บทว่า ผู้ไม่มีกิเลส เครื่องฟูขึ้น คือ ปราศจากกิเลสเครื่องฟูขึ้นมีราคะเป็นต้น.
บาลีว่า อนุสฺสุตํ ดังนี้ก็มี. ความหมายว่า ผู้ไม่ถูกกิเลสรั่วรด.
บทว่า ผู้ฝึกแล้ว คือ หมดพยศ.
บทว่า ย่อมไม่ฉาบทา คือ ย่อมไม่ติด.
บทว่า ในกามทั้งหลาย ได้แก่ ในกิเลสกามและวัตถุกาม.
พระอรหัต ท่านประสงค์เอาว่า ธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์ในพระบาลีนั้นว่า ย่อมรู้ชัดซึ่งธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์ในภพนี้เอง ดังนี้.
บทว่า ย่อมรู้ชัด หมายความว่า รู้ด้วยอํานาจการบรรลุ.
บทว่า ผู้มีภาระอันปลงแล้ว คือ ผู้มีภาระอันปลงลงแล้ว ได้แก่ ทําภาระคือขันธ์ กิเลส อภิสังขาร และกามคุณ ให้หยั่งลงตั้งอยู่.
บทที่ไม่ประกอบแล้ว มีเนื้อความกล่าวไว้แล้วแล.
บทว่า มีปัญญาลึกซึ้ง คือ มีปัญญาอันไปแล้วในอารมณ์อันลึกซึ้ง.
บทว่า มีปรีชา ได้แก่ ผู้มีปัญญา ด้วยปัญญาตามปกติ.
คําว่า (ด้วยคฤหัสถ์) และบรรพชิตทั้งสองพวก ความว่า ผู้ไม่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต อธิบายว่า ผู้ไม่คลุกคลีเด็ดขาดในชนทั้งสองพวก และด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต แม้ทั้งสองพวกเหล่านั้น.
ในบทว่า ผู้ไม่อาลัยเที่ยวไป ความว่า ความอาลัยในกามคุณ ๕ เรียกว่า โอกะ ผู้ไม่ติดอาลัย คือ กามคุณ ๕ นั้น.
บทว่า ผู้มีความปรารถนาน้อย คือ ผู้ไม่มีความปรารถนา.
บทว่า ผู้สั่นคลอน คือ ผู้มีตัณหา.
บทว่า ผู้มั่นคง คือ ไม่มีตัณหา.
บทว่า ผู้มีอาชญาในตน คือ ผู้ถืออาชญา.
บทว่า ผู้ดับแล้ว คือ ดับแล้วด้วยการดับกิเลส.
บทว่า ผู้มีความยึดถือ คือ ผู้มีความถือมั่น.
บทว่า ปลงลงแล้ว แปลว่า ให้ตกไป.
บทว่า ไม่แข็งกระด้าง คือ ไม่มีโทษ. เพราะแม้ต้นไม้ที่มีโทษ ก็เรียกว่า มีความแข็งกระด้าง.
บทว่า อันยังผู้อื่นให้เข้าใจ คือ อันยังคนอื่นให้เข้าใจ ได้แก่ ไม่ส่อเสียด.
บทว่า จริง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 423
คือ ไม่คลาดเคลื่อน.
บทว่า เปล่ง คือ กล่าว.
คําว่า ไม่ทําให้คนอื่นข้องใจด้วยวาจาใด ความว่า ย่อมกล่าววาจาอันไม่หยาบ ไม่เป็นเหตุทําให้คนอื่นติดใจหรือข้องใจเช่นนั้น.
ทรงแสดงสิ่งของที่ร้อยด้ายไว้ ด้วยคําว่า ยาว.
ทรงแสดงสิ่งของที่กระจัดกระจายกันอยู่ ด้วยคําว่า สั้น.
บทว่า ละเอียด แปลว่า เล็ก.
บทว่า หยาบ แปลว่า ใหญ่.
บทว่า งามไม่งาม คือ ดี ไม่ดี.
เพราะสิ่งของ (ที่ร้อยเป็นพวง) ยาว มีราคาน้อยบ้าง มากบ้าง. แม้ในสิ่งของนั้น (คือกระจายกันอยู่) ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ดังนั้น ด้วยพระดํารัสมีประมาณเท่านี้ หาได้ทรงกําหนด ถือเอาสิ่งทั้งหมดไม่ แต่ทรงกําหนดถือเอาด้วยสิ่งของนี้ที่ว่า งามและไม่งาม.
บทว่า ไม่มีความหวัง คือ ไม่มีความหยาก.
บทว่า ความอาลัย ได้แก่ ความอาลัย คือ ตัณหา.
บทว่า เพราะรู้ทั่ว คือ เพราะรู้.
บทว่า อันหยั่งลงสู่อมตธรรม คือ อันเป็นภายในอมตธรรม.
บทว่า ถึงแล้วโดยลําดับ ได้แก่ เข้าไปแล้วโดยลําดับ.
บทว่า ธรรมเครื่องข้องทั้งสอง คือ ธรรมเครื่องข้องแม้ทั้งสองนั้น. เพราะว่าบุญย่อมทําให้สัตว์ข้องในสวรรค์ บาปย่อมยังสัตว์ให้ข้องอยู่ในอบาย. เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า ธรรมเป็นเครื่องข้องแม้ทั้งสองนั้น.
บทว่า เลยแล้ว แปลว่า ล่วงไปแล้ว.
บทว่า ไม่ขุ่นมัว คือ เว้นจากกิเลสที่ทําให้ขุ่นมัว.
บทว่า ผู้มีความเพลิดเพลินในภพสิ้นแล้ว ได้แก่ มีความเพลิดเพลินสิ้นไปแล้ว มีภพสิ้นไปแล้ว.
ด้วยคาถาว่า โย อิมํ ความว่า อวิชชานั่นแหละ ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ดุจทางลื่น เพราะอรรถว่าทําให้เคลื่อนคลาด ชื่อว่า ดุจหล่ม เพราะเป็นของอันถอนขึ้นได้ยากมาก ชื่อว่า สังสาร เพราะอรรถว่าท่องเที่ยวไป (และ) ชื่อว่า โมหะ เพราะอรรถว่าโง่เขลา.
บทว่า ข้ามแล้ว คือ ข้ามโอฆะทั้ง ๔.
คําว่า ถึงฝัง คือ ถึงพระนิพพาน.
บทว่า มีปรกติเพ่ง คือ มีปรกติเพ่งด้วยอํานาจเพ่งอารมณ์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 424
และลักษณะ.
บทว่า ผู้ไม่หวั่นไหว คือ ไม่มีตัณหา.
คําว่า ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่น ได้แก่ ดับแล้ว ด้วยการดับกิเลสทั้งปวง เพราะไม่ยึดถืออะไร.
บทว่า กามทั้งหลาย ได้แก่ กามแม้ทั้งสอง.
บทว่า ไม่มีเรือน แปลว่า เป็นผู้ไม่มีเรือน.
บทว่า เว้น แปลว่า ย่อมเว้นทุกด้าน.
บทว่า มีกามและภพสิ้นแล้ว คือ สิ้นกาม สิ้นภพ.
คําว่า กิเลสเครื่องประกอบของมนุษย์ ได้แก่ กิเลสเครื่องประกอบ คือกามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์.
บทว่า กิเลสเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์ คือ กิเลสเครื่องประกอบ คือกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์.
บทว่า ไม่ประกอบด้วยกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวง ความว่า ปราศจากกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวง.
บทว่า ยินดี คือ ยินดีกามคุณ ๕.
บทว่า ไม่ยินดี ได้แก่ ไม่พอใจในกุศลภาวนา.
บทว่า ผู้แกล้วกล้า คือ มีความเพียร.
บทว่า ผู้ไปดีแล้ว คือ ไปสู่สถานที่ดี หรือดําเนินไปด้วยข้อปฏิบัติอันดี.
บทว่า คติ คือ ความสําเร็จ.
บทว่า ข้างหน้า ได้แก่ ในอดีต.
บทว่า ข้างหลัง ได้แก่ ในอนาคต.
บทว่า ในท่ามกลาง คือ ในปัจจุบัน.
บทว่า เครื่องกังวล คือ กิเลสตัวที่ทําให้กังวล.
บทว่า ผู้แสวงหาอันยิ่ง คือ ชื่อว่าผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง เพราะแสวงหาคุณอันใหญ่.
บทว่า ผู้มีความชนะ คือ ผู้มีความชนะอันชนะแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเฉพาะพระขีณาสพเท่านั้น ว่าเป็นพราหมณ์โดยคุณความดีอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงว่า บุคคลใดกระทําการถือมั่นว่า เป็นพราหมณ์เพราะชาติ ดังนี้ บุคคลนั้นไม่รู้การถือมั่นนี้ ทิฐิอันนั้นของคนเหล่านั้น เป็นทิฐิชั่ว จึงตรัสสองคาถาว่า อันชื่อว่า ดังนี้.
เนื้อความของสองคาถานั้นมีว่า อันชื่อและโคตรที่เขาจัดแจงไว้ ตั้งไว้ ปรุงแต่งไว้ว่า พราหมณ์ กษัตริย์ ภารทวาชะ วาเสฏฐะนั้นใด อันนั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 425
เป็นชื่อ (เรียกกัน) ในโลก อธิบายว่า เป็นเพียงเรียกกัน.
เพราะเหตุไร.
เพราะสมมุติเรียกกัน คือ มาโดยการหมายรู้กัน. เพราะชื่อและโคตรนั้น ญาติสาโลหิตจัดแจงไว้ ตั้งไว้ในเวลาที่เขาเกิดในที่นั้นๆ. หากไม่กําหนดชื่อและโคตรนั้นไว้อย่างนั้น คนไรๆ เห็นใครๆ ก็จะไม่รู้ว่าผู้นี้เป็นพราหมณ์ หรือว่าเป็นภารทวาชะ.
ก็ชื่อและโคตรนั้นที่เขากําหนดไว้อย่างนั้น กําหนดไว้เพื่อความรู้สึกว่า ทิฐิอันนอนเนื่องอยู่สิ้นกาลนาน ทิฐิอันนอนเนื่องอยู่สิ้นกาลนานในหทัยของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่รู้ว่า นั่นสักแต่ว่าชื่อและโคตรที่เขากําหนดไว้เพื่อเรียกกัน อธิบายว่าเพราะทิฐินั้นนอนเนื่องอยู่ ผู้ไม่รู้ชื่อและโคตรนั้น คือไม่รู้เลยว่าเป็นพราหมณ์ ก็เที่ยวพูดอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นพราหมณ์เพราะชาติ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า บุคคลผู้ถือมั่นว่า เป็นพราหมณ์โดยชาตินั้น ไม่รู้มาตรว่าการเรียกกันนี้ ทิฐิอันนั้นของคนเหล่านั้นเป็นทิฐิชั่ว ดังนี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงปฏิเสธวาทะว่าด้วยชาติอย่างเด็ดขาด และทรงตั้งวาทะว่าด้วยกรรม จึงตรัสคําเป็นต้นว่า มิใช่เพราะชาติ ดังนี้.
เพื่อขยายความของกึ่งคาถาที่ว่า เพราะกรรม ดังนี้ ในพระดํารัสนั้นจึงตรัสคําว่า เป็นชาวนาเพราะการงาน ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เพราะการงาน ได้แก่ เพราะกรรม คือ เจตนาตัวบังเกิดการงาน มีกสิกรรมเป็นต้นอันเป็นปัจจุบัน.
บทว่า ปฏิจจสมุปบาท ได้แก่ มีปรกติเห็นปฏิจจสมุปบาทอย่างนี้ว่า เป็นอย่างนี้เพราะปัจจัยนี้.
บทว่า ผู้รู้ในกรรมและผลของกรรม ความว่า ผู้ฉลาดในกรรมและผลของกรรมอย่างนี้ว่า ย่อมมีการอุบัติในตระกูลอันควรแก่การนับถือและไม่นับถือ เพราะอํานาจกรรม ความเลวและความประณีตแม้อื่นๆ ย่อมมีในเมื่อกรรมเลว และประณีตให้ผล.
ก็พระคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 426
ย่อมเป็นไปเพราะกรรม ดังนี้ มีความหมายเดียวเท่านั้นว่า ชาวโลกหรือหมู่สัตว์ หรือว่าสัตว์. ต่างกันแต่สักว่าคํา.
ก็ในพระคาถานี้ ด้วยบทแรก พึงทราบการปฏิเสธทิฐิว่า มีพรหม มหาพรหม ผู้ประเสริฐ เป็นผู้จัดแจง. ชาวโลกย่อมเป็นไปในคตินั้นๆ เพราะกรรม ใครจะเป็นผู้จัดแจงโลกนั้น.
ด้วยบทที่สอง ทรงแสดงว่า แม้เกิดเพราะกรรมอย่างนี้ก็เป็นไปและย่อมเป็นไปเพราะกรรมอันต่างโดยเป็นกรรมปัจจุบัน และกรรมอันเป็นอดีต. เสวยสุขทุกข์และถึงประเภทเลว และประณีตเป็นต้น เป็นไป.
ด้วยบทที่สาม ทรงสรุปเนื้อความนั้นนั่นแลว่า สัตว์ทั้งหลายถูกผูกไว้ที่กรรม หรือเป็นผู้อันกรรมผูกพันไว้เป็นไปอยู่ แม้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้. มิใช่โดยประการอื่น.
ด้วยบทที่ ๔ ทรงทําเนื้อความนั้นให้ชัดแจ้งด้วยการเปรียบเทียบ. เหมือนอย่างว่ารถที่กําลังแล่นไป เพราะยังมีลิ่มสลักอยู่ รถที่ลิ่มนั้นไม่สลักไว้ย่อมแล่นไปไม่ได้ ฉันใด ชาวโลกผู้เกิดแล้วและเป็นไปแล้ว มีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน ถ้ากรรมนั้นไม่ผูกพันไว้ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉันนั้น.
บัดนี้ เพราะเหตุที่ชาวโลกถูกผูกไว้ในเพราะกรรม เพราะเหตุนั้น เมื่อจะทรงแสดงความเป็นผู้ประเสริฐเพราะกรรมอันประเสริฐ จึงตรัส ๒ คาถาว่า คือ เพราะตบะ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เพราะตบะ ได้แก่ เพราะตบะ คือ ธุดงควัตร.
บทว่า เพราะพรหมจรรย์ คือ เพราะเมถุนวิรัติ.
บทว่า เพราะความสํารวม คือ เพราะศีล.
บทว่า เพราะการฝึก คือ เพราะการฝึกอินทรีย์.
บทว่า นี้ ความว่า เป็นพราหมณ์เพราะกรรมอันประเสริฐ คือ บริสุทธิ์ เป็นดุจพรหมนี้.
เพราะเหตุไร.
เพราะความเป็นพราหมณ์นี้เป็นของสูงสุด อธิบายว่า เพราะกรรมนี้เป็นคุณความดีของพราหมณ์อย่างสูงสุด.
ก็ในคําว่าพราหมณ์นี้มีความหมายของคําดังต่อไปนี้.
ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะอรรถว่า นํามาซึ่งพรหม อธิบายว่า นํามาซึ่งความเป็นพราหมณ์.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 427
บทว่า ผู้สงบ ดังนี้ในคาถาที่ ๒ มีความว่า เป็นผู้มีกิเลสอันสงบแล้ว.
คําว่า เป็นพรหม เป็นท้าวสักกะ คือ เป็นพระพรหม เป็นท้าวสักกะ อธิบายว่า บุคคลเห็นปานนี้ ไม่ใช่เป็นพราหมณ์อย่างเดียว โดยที่แท้ บุคคลนั้นเป็นพรหมและเป็นท้าวสักกะ ของบัณฑิตผู้รู้แจ้งทั้งหลาย วาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้.
คําที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาวาเสฏฐสูตรที่ ๘