๙. สุภสูตร
[เล่มที่ 21] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 428
๙. สุภสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 21]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 428
๙. สุภสูตร
[๗๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตรอาศัยอยู่ในนิเวศน์ของคฤหบดีผู้หนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง. ครั้งนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตร ได้กล่าวกะคฤหบดีที่ตนอาศัยในนิเวศน์ของเขานั้นว่า ท่านคฤหบดี ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า พระนครสาวัตถีไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลายเลย วันนี้เราจะพึงเข้าไปนั่งใกล้สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไหนหนอ.
คฤหบดีได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ท่านจงเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเถิด.
[๗๑๐] ลําดับนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตรรับคําคฤหบดีนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า คฤหัสถ์เท่านั้นเป็นผู้ยินดีกุศลธรรมเครื่องนําออกไปจากทุกข์ บรรพชิตไม่เป็นผู้ยินดีกุศลธรรมเครื่องนําออกไปจากทุกข์ ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมตรัสว่าอย่างไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มาณพ ในเรื่องนี้ เราแยกออกกล่าว เราไม่รวมกล่าว เราพรรณนาการปฏิบัติผิดของคฤหัสถ์หรือของบรรพชิต มาณพ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 429
จริงอยู่ คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ไม่ยินดีกุศลธรรมเครื่องนําออกไปจากทุกข์ เพราะเหตุแห่งอธิกรณ์ คือการปฏิบัติผิด ดูก่อนมาณพ เราพรรณนาการปฏิบัติชอบของคฤหัสถ์หรือของบรรพชิต จริงอยู่ คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ยินดีกุศลธรรมเครื่องนําออกไปจากทุกข์ เพราะเหตุแห่งอธิกรณ์ คือการปฏิบัติชอบ.
[๗๑๑] สุ. ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า ฐานะแห่งการงานของฆราวาส มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก ย่อมมีผลมาก (ส่วน) ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชา มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย ย่อมมีผลน้อย ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมตรัสว่าอย่างไร.
พ. ดูก่อนมาณพ แม้ในเรื่องนี้ เราก็แยกออกกล่าว เราไม่รวมกล่าว มาณพ ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อวิบัติ มีผลน้อย มีอยู่ ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ มีผลมาก มีอยู่ ฐานะแห่งการงาน ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อวิบัติ มีผลน้อย มีอยู่ ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติ มีผลมาก มีอยู่.
[๗๑๒] ดูก่อนมาณพ ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย เป็นไฉน. ดูก่อนมาณพ ฐานะแห่งการงาน คือ การไถที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย ส่วนฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติย่อมมีผลมาก เป็นไฉน. ฐานะแห่งการงาน คือ การไถนั่นแล ที่มีความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 430
ต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก อนึ่ง ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย เป็นไฉน. ฐานะแห่งการงาน คือ การค้าขาย ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย ส่วนฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมากเป็นไฉน ฐานะแห่งการงาน คือ การค้าขายนั่นแล ที่มีความต้องการน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีกิจน้อย มีความเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติย่อมมีผลมาก.
[๗๑๓] ดูก่อนมาณพ เปรียบเหมือนฐานะคือกสิกรรม ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีความเริ่มมาก เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย ฉันใด ฐานะแห่งการงานของฆราวาสก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย ฐานะคือกสิกรรมนั่นแล ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก ฉันใด ฐานะแห่งการงานของฆราวาสก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก การงานคือการค้าขาย ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายนั่นแล ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 431
[๗๑๔] สุ. ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติธรรม ๕ ประการ เพื่อทําบุญ เพื่อยินดีกุศล.
พ. ดูก่อนมาณพ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติธรรม ๕ ประการ เพื่อทําบุญ เพื่อยินดีกุศลนั้นเหล่าไหน ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขอโอกาส ขอท่านจงกล่าวธรรม ๕ ประการนั้นในบริษัทนี้เถิด.
ส. ท่านพระโคดม ณ ที่ที่พระองค์หรือท่านผู้เป็นดังพระองค์ประทับนั่งอยู่ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย.
พ. ถ้าอย่างนั้น เชิญกล่าวเถิดมาณพ.
[๗๑๕] สุ. ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติธรรมข้อที่ ๑ คือ สัจจะ เพื่อทําบุญ เพื่อยินดีกุศล ย่อมบัญญัติข้อที่ ๒ คือ ตบะ... ข้อที่ ๓ คือ พรหมจรรย์... ข้อที่ ๔ คือ การเรียนมนต์... ข้อที่ ๕ คือ การบริจาค เพื่อทําบุญ เพื่อยินดีกุศล พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อทําบุญ เพื่อยินดีกุศล ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมตรัสว่าอย่างไร.
[๗๑๖] ดูก่อนมาณพ ก็บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย แม้พราหมณ์คนหนึ่งเป็นผู้ใดใครก็ตามที่กล่าวอย่างนี้ว่า เราทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว เสวยผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้ มีอยู่หรือ.
สุ. ข้อนี้หามิได้ ท่านพระโคดม.
พ. ดูก่อนมาณพ ก็แม้อาจารย์คนหนึ่ง แม้อาจารย์ของอาจารย์คนหนึ่งตลอด ๗ ชั่วอาจารย์ของพวกพราหมณ์ เป็นผู้ใดใครก็ตามที่กล่าวอย่างนี้ว่า เราทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว เสวยผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้ มีอยู่หรือ.
สุ. ข้อนี้หามิได้ ท่านพระโคดม.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 432
พ. ดูก่อนมาณพ ก็แม้ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีวิศวามิตร ฤาษียมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนต์ เป็นผู้บอกมนต์ พราหมณ์ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ขับตาม กล่าวตามซึ่งบทมนต์เก่านี้ ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้อง ตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกไว้ แม้ท่านเหล่านั้นได้กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว เสวยผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้ มีอยู่หรือ.
สุ. ข้อนี้หามิได้ ท่านพระโคดม.
[๗๑๗] พ. ดูก่อนมาณพ ได้ทราบกันดังนี้ว่า บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย ไม่มีพราหมณ์แม้คนหนึ่งจะเป็นผู้ใดใครก็ตามที่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า เราทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว เสวยผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้ ไม่มีแม้อาจารย์คนหนึ่ง แม้ปาจารย์ของอาจารย์คนหนึ่ง ตลอด ๗ ชั่วอาจารย์ของพวกพราหมณ์นี้ จะเป็นผู้ใดใครก็ตามที่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า เราทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว เสวยผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้ แม้ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีวิศวามิตร ฤาษียมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ เป็นผู้แต่งมนต์ เป็นผู้บอกมนต์ พราหมณ์ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ขับตาม กล่าวตาม ซึ่งบทมนต์เก่านี้ ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้อง ตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกไว้ แม้ท่านเหล่านั้นก็ไม่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว เสวยผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้ ดูก่อนมาณพ เปรียบเหมือนแถวคนตาบอดซึ่งเกาะกันต่อๆ ไป แม้คนต้นก็ไม่เห็น คนกลาง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 433
ก็ไม่เห็น คนหลังก็ไม่เห็น ฉันใด ภาษิตของพราหมณ์ทั้งหลายเห็นจะเปรียบได้กับแถวคนตาบอด ฉันนั้น คือ แม้คนชั้นต้นก็ไม่เห็น แม้คนชั้นกลางก็ไม่เห็น แม้คนชั้นหลังก็ไม่เห็น.
[๗๑๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพโตเทยยบุตรถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเปรียบด้วยแถวคนตาบอด โกรธ ขัดใจ เมื่อจะด่าติเตียนว่ากล่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระสมณโคดม จักถึงความลามกเสียแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระโคดม พราหมณ์โปกขรสาติโอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในสุภควัน ได้กล่าวอย่างนี้ว่า อย่างนี้นั่นแหละ ก็สมณพราหมณ์เหล่าไรนี้ ย่อมปฏิญาณญาณทัศนะวิเศษของพระอริยะอย่างสามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ภาษิตนี้ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมถึงความเป็นภาษิต น่าหัวเราะทีเดียวหรือ ย่อมถึงความเลวทรามทีเดียวหรือ ย่อมถึงความว่างทีเดียวหรือ ย่อมถึงความเปล่าทีเดียวหรือ ถ้าเช่นนั้น มนุษย์จักรู้ จักเห็น หรือจักทําให้แจ้งชัดซึ่งญาณทัศนะวิเศษของพระอริยะอย่างสามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้อย่างไร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
พ. ดูก่อนมาณพ ก็พราหมณ์โปกขรสาติโอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในสุภควัน กําหนดรู้ใจของสมณพราหมณ์ทั้งสิ้นด้วยใจของตนหรือ.
สุ. ท่านพระโคดม พราหมณ์โปกขรสาติโอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในสุภควัน ย่อมกําหนดรู้ใจของนางปุณณิกาทาสีของตนด้วยใจของตนเองเท่านั้น ก็ที่ไหนจักกําหนดรู้ใจของสมณพราหมณ์ทั้งสิ้นด้วยใจของตนได้เล่า.
[๗๑๙] พ. ดูก่อนมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดแต่กําเนิด เขาไม่เห็นรูปดํา รูปขาว ไม่เห็นรูปเขียว รูปเหลือง รูปแดง รูปสีชมพู รูปที่เสมอและไม่เสมอ หมู่ดาว ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ไม่มีรูปดํา รูปขาว ไม่มีคนเห็นรูปดํารูปขาว ไม่มีรูปเขียว ไม่มีคนเห็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 434
รูปเขียว ไม่มีรูปเหลือง ไม่มีคนเห็นรูปเหลือง ไม่มีรูปแดง ไม่มีคนเห็นรูปแดง ไม่มีรูปสีชมพู ไม่มีคนเห็นรูปสีชมพู ไม่มีรูปที่เสมอและไม่เสมอ ไม่มีคนเห็นรูปที่เสมอและไม่เสมอ ไม่มีหมู่ดาว ไม่มีคนเห็นหมู่ดาว ไม่มีดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ไม่มีคนเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ เราไม่รู้ไม่เห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น สิ่งนั้นย่อมไม่มี เมื่อเขากล่าวดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบหรือมาณพ.
สุ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม รูปดํารูปขาวมี คนเห็นรูปดํารูปขาวก็มี รูปเขียวมี คนเห็นรูปเขียวก็มี รูปเหลืองมี คนเห็นรูปเหลืองก็มี รูปแดงมี คนเห็นรูปแดงก็มี รูปสีชมพูมี คนเห็นรูปสีชมพูก็มี รูปที่เสมอและไม่เสมอ มีคนเห็นรูปเสมอและไม่เสมอก็มี หมู่ดาวมี คนเห็นหมู่ดาวก็มี ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์มี คนเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็มี เราไม่รู้ไม่เห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น สิ่งนั้นย่อมไม่มี ผู้ที่กล่าวดังนี้ไม่ชื่อว่ากล่าวชอบ ท่านพระโคดม.
พ. ดูก่อนมาณพ พราหมณ์โปกขรสาติโอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในสุภควัน ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เป็นคนตาบอด ไม่มีจักษุ เขาจักรู้ จักเห็น จักทําให้แจ้งชัด ซึ่งญาณทัศนะวิเศษของพระอริยะอย่างสามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้หรือหนอ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๗๒๐] ดูก่อนมาณพ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณ์มหาศาลชาวโกศล คือ จังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุโสณีพราหมณ์ หรือโตเทยยพราหมณ์ บิดาของท่าน วาจาดีที่พราหมณ์มหาศาลเหล่านั้นกล่าวตามสมมติ หรือไม่ตามสมมติ เป็นอย่างไหน.
สุ. ตามสมมติ ท่านพระโคดม.
พ. วาจาดีที่พราหมณ์มหาศาลเหล่านั้นพิจารณาแล้วจึงกล่าว หรือไม่พิจารณาแล้วจึงกล่าว เป็นอย่างไหน.
สุ. พิจารณาแล้ว ท่านพระโคดม.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 435
พ. วาจาดีที่พราหมณ์มหาศาลเหล่านั้นรู้แล้วจึงกล่าว หรือว่าไม่รู้แล้วจึงกล่าว เป็นอย่างไหน.
สุ. รู้แล้ว ท่านพระโคดม.
พ. วาจาดีอันประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ที่พราหมณ์มหาศาลเหล่านั้นกล่าว เป็นอย่างไหน.
สุ. ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านพระโคดม.
[๗๒๑] พ. ดูก่อนมาณพ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ พราหมณ์โปกขรสาติโอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในสุภควัน กล่าววาจาตามสมมติหรือไม่ตามสมมติ.
สุ. ตามสมมติ ท่านพระโคคดม.
พ. เป็นวาจาที่พิจารณาแล้วจึงกล่าว หรือเป็นวาจาที่ไม่ได้พิจารณาแล้ว.
สุ. เป็นวาจาที่ไม่ได้พิจารณาแล้ว ท่านพระโคดม.
พ. เป็นวาจาที่รู้แล้วจึงกล่าวหรือเป็นวาจาที่ไม่รู้แล้ว.
สุ. เป็นวาจาที่ไม่รู้แล้ว ท่านพระโคดม.
พ. กล่าววาจาที่ประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์.
สุ. ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านพระโคดม.
[๗๒๒] พ. ดูก่อนมาณพ นิวรณ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ นิวรณ์ ๕ ประการนี้แล ดูก่อนมาณพ พราหมณ์โปกขรสาติโอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในสุภควัน ถูกนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ร้อยไว้แล้ว รัดไว้แล้ว ปกคลุมไว้แล้ว หุ้มห่อไว้แล้ว เราจักรู้ จักเห็น หรือจักทําให้แจ้งชัด ซึ่งญาณทัศนะวิเศษของพระอริยะอย่างสามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์หรือหนอ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 436
[๗๒๓] ดูก่อนมาณพ กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กําหนัด เสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู... กลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก... รสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น... โผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กําหนัด กามคุณ ๕ ประการนี้แล ดูก่อนมาณพ พราหมณ์โปกขรสาติโอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในสุภควัน กําหนัดแล้ว หมกมุ่นแล้วด้วยกามคุณ ๕ ประการนี้ ถูกกามคุณ ๕ ประการนี้ ครอบงําแล้ว ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องถอนออก บริโภคอยู่ เขาจักรู้ จักเห็น หรือจักทําให้แจ้งชัดซึ่งญาณทัศนะวิเศษของพระอริยะ อย่างสามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์หรือหนอ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๗๒๔] ดูก่อนมาณพ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลพึงอาศัยหญ้าและไม้เป็นเชื้อติดไฟขึ้น และพึงติดไฟที่ไม่มีหญ้าและไม้เป็นเชื้อ ไฟไหนหนอพึงมีเปลว มีสี และมีแสง.
สุ. ท่านพระโคดม ถ้าการติดไฟอันไม่มีหญ้าและไม้เป็นเชื้อ เป็นฐานะที่จะมีได้ ไฟนั้นก็จะพึงมีเปลว มีสี และมีแสง.
พ. ดูก่อนมาณพ ข้อที่บุคคลจะพึงติดไฟอันไม่มีหญ้าและไม้เป็นเชื้อขึ้นได้นี้ ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส เว้นจากผู้มีฤทธิ์ ดูก่อนมาณพ เปรียบเหมือนไฟอาศัยหญ้าและไม้เป็นเชื้อติดอยู่ ฉันใด เรากล่าวปีติอันอาศัยเบญจกามคุณนี้เปรียบฉันนั้น เปรียบเหมือนไฟไม่มีหญ้าและไม้เป็นเชื้อติดอยู่ได้ ฉันใด เรากล่าวปีติที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมเปรียบฉันนั้น. ก็ปีติที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ปีตินี้แล เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ดูกรมาณพ อีกประการหนึ่ง ภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 437
เข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ แม้ปีตินี้ก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม.
[๗๒๕] ดูก่อนมาณพ ในธรรม ๕ ประการที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ เพื่อทําบุญเพื่อยินดีกุศลนี้ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมข้อไหน เพื่อทําบุญเพื่อยินดีกุศล ว่ามีผลมากกว่า.
สุ. ท่านพระโคดม ในธรรม ๕ ประการที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ เพื่อทําบุญเพื่อยินดีกุศลนี้ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติธรรม คือ จาคะ เพื่อทําบุญเพื่อยินดีกุศล ว่ามีผลมากกว่า.
[๗๒๖] พ. ดูก่อนมาณพ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน ในการบริจาคทานนี้ จะพึงมีมหายัญเกิดขึ้นเฉพาะแก่พราหมณ์คนหนึ่ง ครั้งนั้น พราหมณ์สองคนพึงมาด้วยหวังว่า จักเสวยมหายัญของพราหมณ์ชื่อนี้ ในพราหมณ์สองคนนั้น คนหนึ่งมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า โอหนอ เราเท่านั้นพึงได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ บิณฑะที่เลิศ ในโรงภัต พราหมณ์อื่นไม่พึงได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ บิณฑะที่เลิศ ในโรงภัต แต่ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ พราหมณ์คนอื่นพึงได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ บิณฑะที่เลิศ ในโรงภัต พราหมณ์ผู้นั้นไม่พึงได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ บิณฑะที่เลิศ ในโรงภัต พราหมณ์นั้นโกรธน้อยใจว่า พราหมณ์เหล่าอื่นได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ บิณฑะที่เลิศ ในโรงภัต เราไม่ได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ บิณฑะที่เลิศ ในโรงภัต ดูก่อนมาณพ ก็พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติวิบากอะไรของกรรมนี้.
สุ. ท่านพระโคดม ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมให้ทานด้วยคิดอย่างนี้ว่า พราหมณ์นั้น อันพราหมณ์ผู้นี้แลทําให้โกรธให้น้อยใจดังนี้หามิได้ ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมให้ทานอันเป็นการอนุเคราะห์เท่านั้นโดยแท้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 438
พ. ดูก่อนมาณพ เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานอันเป็นการอนุเคราะห์นี้ ก็เป็นบุญกิริยาวัตถุข้อที่ ๖ ของพราหมณ์ทั้งหลายซิ.
สุ. ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานอันเป็นการอนุเคราะห์นี้ ก็เป็นบุญกิริยาวัตถุข้อที่ ๖ ของพราหมณ์ทั้งหลาย.
[๗๒๗] พ. ดูก่อนมาณพ ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ เพื่อทําบุญเพื่อยินดีกุศล ท่านพิจารณาเห็นมีมากที่ไหน.
สุ. ท่านพระโคดม ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ เพื่อทําบุญเพื่อยินดีกุศล ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นมีมากในบรรพชิต มีน้อยในคฤหัสถ์ เพราะคฤหัสถ์มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก จะเป็นผู้พูดจริงเสมอร่ําไปไม่ได้ ส่วนบรรพชิตมีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย จึงเป็นผู้พูดจริงเสมอร่ําไปได้ เพราะคฤหัสถ์มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก จะเป็นผู้มีความเพียร... ประพฤติพรหมจรรย์... มากด้วยการสาธยาย... มากด้วยการบริจาคเสมอร่ําไปไม่ได้ ส่วนบรรพชิตมีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย จึงเป็นผู้มีความเพียร... ประพฤติพรหมจรรย์... มากด้วยการสาธยาย... มากด้วยการบริจาคเสมอร่ําไปได้ ท่านพระโคดม ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทําบุญ เพื่อยินดีกุศล ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นมีมากในบรรพชิต มีน้อยในคฤหัสถ์.
[๗๒๘] พ. ดูก่อนมาณพ ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทําบุญ เพื่อยินดีกุศล เรากล่าวว่าเป็นบริขารของจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน ดูก่อนมาณพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พูดจริง เธอรู้สึกว่า เราเป็นผู้พูดจริง ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์ประกอบด้วยธรรม ความปราโมทย์อันประกอบ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 439
ด้วยกุศลนี้ เรากล่าวว่าเป็นบริขารของจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน ดูก่อนมาณพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียร... ประพฤติพรหมจรรย์... มากด้วยการสาธยาย... มากด้วยการบริจาค เธอรู้สึกว่าเราเป็นผู้มากด้วยการบริจาค ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ความปราโมทย์อันประกอบด้วยกุศลนี้ เรากล่าวว่าเป็นบริขารของจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทําบุญ เพื่อยินดีกุศลนี้ เรากล่าวว่าเป็นบริขารของจิตเพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพโตเทยยบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้สดับมาว่าพระสมณโคดมทรงรู้จักหนทางเพื่อความเป็นสหายของพรหม.
[๗๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดูก่อนมาณพ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน หมู่บ้านนฬการใกล้แต่ที่นี้ หมู่บ้านนฬการไม่ไกล ใกล้แต่ที่นี้มิใช่หรือ.
สุภมาณพกราบทูลว่า อย่างนั้นท่านพระโคดม หมู่บ้านนฬการใกล้แต่ที่นี้ หมู่บ้านนฬการไม่ไกลแต่ที่นี้.
พ. ดูก่อนมาณพ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษผู้เกิดแล้ว ทั้งเจริญแล้วในหมู่บ้านนฬการนี้แล เขาออกจากหมู่บ้านนฬการไปในขณะนั้น พึงถูกถามถึงหนทางแห่งหมู่บ้านนฬการ จะพึงชักช้าหรือตกประหม่าหรือหนอ.
สุ. ข้อนี้หามิได้ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุรุษนั้นทั้งเกิดแล้วทั้งเจริญแล้วในหมู่บ้านนฬการ รู้จักทางของหมู่บ้านนฬการทุกแห่งดีแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 440
พ. ดูก่อนมาณพ บุรุษผู้เกิดแล้วทั้งเจริญแล้วในหมู่บ้านนฬการนั้น ถูกถามถึงทางของหมู่บ้านนฬการ ไม่พึงชักช้าหรือตกประหม่าแล ตถาคตถูกถามถึงพรหมโลก หรือปฏิปทาเครื่องให้ถึงพรหมโลก ก็ไม่ชักช้าหรือตกประหม่าเช่นเดียวกัน ดูก่อนมาณพ เราย่อมรู้จักทั้งพรหมโลกและปฏิปทาเครื่องให้ถึงพรหมโลก อนึ่ง ผู้ปฏิบัติด้วยประการใดจึงเข้าถึงพรหมโลก เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.
สุ. ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า พระสมณโคดมทรงแสดงทางเพื่อความเป็นสหายของพรหม ข้าพเจ้าขอโอกาส ขอท่านพระโคดมโปรดทรงแสดงทางเพื่อความเป็นสหายของพรหมแก่ข้าพเจ้าเถิด.
พ. ดูก่อนมาณพ ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว สุภมาณพโตเทยยบุตรทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[๗๓๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนมาณพ ก็ทางเพื่อความเป็นสหายของพรหมเป็นไฉน ดูก่อนมาณพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกันตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ เมื่อเมตตาเจโตวิมุติอันภิกษุนั้นเจริญแล้วอย่างนี้ กรรมใดเป็นกามาพจรที่ภิกษุทําแล้ว กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมเป็นรูปาวจรนั้น ดูก่อนมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษเป่าสังข์ผู้มีกําลัง พึงให้คนรู้ได้ตลอดทิศทั้งสี่โดยไม่ยาก ฉันใด เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติที่ภิกษุนั้นเจริญแล้วอย่างนี้ ก็ฉันนั้น กรรมใดเป็นกามาพจรที่ภิกษุทําแล้ว กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมเป็นรูปาวจรนั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นทางเพื่อความเป็นสหายของพรหม ดูก่อนมาณพ อีกประการหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 441
ภิกษุมีใจประกอบด้วยกรุณา... มีใจประกอบด้วยมุทิตา... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ เมื่ออุเบกขาเจโตวิมุตติอันภิกษุนั้นเจริญแล้วอย่างนี้ กรรมใดเป็นกามาวจรที่ภิกษุทําแล้ว กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมเป็นรูปาวจรนั้น ดูก่อนมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษเป่าสังข์ผู้มีกําลัง พึงให้คนรู้ได้ตลอดทิศทั้งสี่โดยไม่ยากฉันใด เมื่ออุเบกขาเจโตวิมุตติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ก็ฉันนั้น กรรมใดเป็นกามาวจรที่ภิกษุทําแล้ว กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมเป็นรูปาวจรนั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นทางเพื่อความเป็นสหายของพรหม.
[๗๓๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพโตเทยยบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจําข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอทูลลาไป ณ บัดนี้ ข้าพระองค์มีกิจมาก มีกรณียะมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาณพ ท่านจงสําคัญเวลาอันควร ณ บัดนี้เถิด ครั้งนั้นแล สุภมาณพโตเทยยบุตรเพลิดเพลินพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกออกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทําประทักษิณแล้วกลับไป.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 442
[๗๓๒] สมัยนั้น ชาณุโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถี โดยรถอันเทียมด้วยม้าขาวทั้งหมด แต่ยังวัน ได้เห็นสุภมาณพโตเทยยบุตรกําลังมาแต่ไกล แล้วได้ถามสุภมาณพโตเทยยบุตรว่า ท่านภารทวาชะไปไหนมาแต่วัน สุภมาณพโตเทยยบุตรตอบว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจากสํานักพระสมณโคดมมาที่นี่.
ชา. ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านภารทวาชะเห็นจะเป็นบัณฑิต รู้พระปัญญาอันเฉียบแหลมของพระสมณโคดม.
สุ. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใครและเป็นอะไรเล่า จึงจักรู้เท่าพระปัญญาอันเฉียบแหลมของพระสมณโคดม ผู้ใดพึงรู้เท่าพระปัญญาอันเฉียบแหลมของพระสมณโคดม แม้ผู้นั้นก็พึงเป็นเช่นพระสมณโคดมเป็นแน่.
ชา. เพิ่งได้ฟัง ท่านภารทวาชะสรรเสริญพระสมณโคดมด้วยการสรรเสริญอย่างยิ่ง.
สุ. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใครเป็นอะไรเล่า จึงจักสรรเสริญพระสมณโคดม ท่านพระโคดมอันเทวดาและมนุษย์สรรเสริญแล้วๆ ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อนึ่ง ธรรม ๕ ประการนี้ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทําบุญ เพื่อยินดีกุศล พระสมณโคดมตรัสว่าเป็นบริขารแห่งจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน.
[๗๓๓] เมื่อสุภมาณพโตเทยยบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ชาณุโสณีพราหมณ์ลงจากรถอันเทียมด้วยม้าขาวทั้งหมด แล้วห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง น้อมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ แล้วเปล่งอุทานว่า เป็นลาภของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ดีแล้วหนอ ที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับในแว่นแคว้นของพระองค์ ฉะนี้แล.
จบสุภสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 443
อรรถกถาสุภสูตร
สุภสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในสุภสูตรนั้น บุตรของโตเทยยพราหมณ์ผู้อยู่ในตุทิคาม ชื่อว่า โตเทยยบุตร.
คําว่า เป็นผู้ยินดี คือ เป็นผู้พรั่งพร้อมบริบูรณ์.
คําว่า ญายธรรม คือ ธรรมอันเป็นเหตุ.
บทว่า เป็นกุศล คือ ไม่มีโทษ.
บทว่า การปฏิบัติผิด คือ ข้อปฏิบัติอันไม่เป็นกุศล ไม่เป็นเครื่องนําออกไปจากทุกข์.
บทว่า การปฏิบัติชอบ ได้แก่ การปฏิบัติอันเป็นกุศล อันเป็นเครื่องนําออกจากทุกข์.
ในบทว่า มีความต้องการมาก ดังนี้เป็นต้น มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า มีความต้องการมาก เพราะในฐานะนี้มีความต้องการด้วยการกระทําความขวนขวาย หรือด้วยการช่วยเหลือมาก คือ มากมาย.
ชื่อว่า มีกิจมาก เพราะฐานะนี้มีกิจมากเช่นงานมงคลในการตั้งชื่อเป็นต้นมาก.
ชื่อว่า มีเรื่องราวมากที่จะต้องจัดการมาก เพราะในฐานะนี้มีเรื่องราว คือ หน้าที่การงานมากอย่างนี้คือ วันนี้ต้องทําสิ่งนี้ พรุ่งนี้ต้องทําสิ่งนี้.
ชื่อว่า มีการลงมือทํามาก เพราะในฐานะนี้มีการลงมือทํามาก คือ การบีบคั้นด้วยอํานาจการขวนขวายในการงานของคนมาก.
การงานของตนทางฝ่ายฆราวาส ชื่อว่า ฐานะการงานของฆราวาส.
พึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงด้วยประการอย่างนี้.
ก็ในบรรดาการทํานาและการค้าขายนี้ ในการทํานา พึงทราบความต้องการมาก ด้วยการแสวงหาเครื่องอุปกรณ์ เริ่มแต่หางไถเป็นต้น ในการค้าขาย พึงทราบความต้องการน้อย ด้วยการถือเอาสินค้าตามสภาพเดิมแล้วมาจําหน่าย.
บทว่า วิบัติ ความว่า กสิกรรมย่อมมีผลน้อยบ้าง ถึงการขาดทุนบ้าง เพราะฝนไม่ตกและตกมากเกินไปเป็นต้น และพาณิชยกรรม มีผลน้อยบ้างถึงการขาดทุนบ้าง เพราะความไม่ฉลาดเป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 444
ในการดูแก้วมณีและทองเป็นต้น. โดยตรงกันข้าม ที่สมบูรณ์ย่อมมีผลมาก เหมือนอันเตวาสิกของจุลลก.
คําว่า ฉันนั้นเหมือนกันแล ความว่า ฐานะ คือ กสิกรรม เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อยฉันใด แม้ฐานะคือการงานของฆราวาสก็ฉันนั้น. เพราะบุคคลผู้ไม่กระทํากรรมงามไว้ ตายแล้วย่อมบังเกิดในนรก.
ได้ยินว่า คนที่พราหมณ์เลี้ยงไว้คนหนึ่ง ชื่อ มหาทัตตเสนาบดี. ในสมัยที่เขาจะตาย นรกปรากฏขึ้น.
พวกพราหมณ์กล่าวถามว่า ท่านเห็นอะไร เขากล่าวว่า เห็นเรือนสีแดง เรือนเลือด.
พราหมณ์กล่าวว่า ผู้เจริญ นั่นแหละพรหมโลก.
เขาถามว่า ท่านผู้เจริญ พรหมโลกอยู่ที่ไหน. อยู่เบื้องบน. เขาพูดว่า ปรากฏแก่ข้าพเจ้า ณ เบื้องล่าง. ความจริง เรือนสีแดงปรากฏเบื้องล่าง มิได้ปรากฏเบื้องบน. เขาตายแล้วเกิดในนรก.
พวกพราหมณ์คิดว่า นายคนนี้เห็นโทษในยัญของเรา ดังนี้ จึงได้เอาทรัพย์พันหนึ่งมาให้เพื่อจะได้นําติดตัวไป. ส่วนฐานะคือ กสิกรรมที่สมบูรณ์ย่อมมีผลมาก. เพราะบุคคลผู้ทํากรรมงามไว้ ตายแล้วย่อมบังเกิดในสวรรค์.
พึงแสดงคุตติลวิมานกถาทั้งหมด.
เหมือนอย่างว่า ฐานะคือ พาณิชยกรรม เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อยฉันใด แม้ฐานะคือ บรรพชากรรมของภิกษุผู้ไม่ทําให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบการแสวงหาอันไม่ควร ก็ฉันนั้น. เพราะภิกษุทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมไม่ได้สุขในฌานเป็นต้น ย่อมไม่ได้สุขในสวรรค์และนิพพาน. ส่วนบรรพชากรรมที่สมบูรณ์ย่อมมีผลมาก. เพราะผู้ทําศีลให้บริบูรณ์ เจริญวิปัสสนา ย่อมบรรลุพระอรหัต.
คําว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายดังนี้ ความว่า มาณพย่อมทูลถามว่า ข้าพระองค์ขอถามอะไร ณ ที่นี้ คือ ย่อมถามว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า บรรพชิตชื่อว่าสามารถเพื่อบําเพ็ญธรรม ๕ ประการเหล่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 445
นี้ ย่อมไม่มี คฤหัสถ์เท่านั้นบําเพ็ญได้ ส่วนพระสมณโคดมย่อมตรัสบ่อยๆ ว่า มาณพ สําหรับคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ดังนี้ ย่อมไม่เปล่งวาจาถึงบรรพชิตเท่านั้น เห็นจะไม่ทรงกําหนดการถามของข้าพระองค์ เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ขอถามธรรม ๕ ประการ โดยมีจาคะเป็นสุดยอด (คือข้อท้าย).
คําว่า ถ้าท่านไม่หนักใจ ดังนี้ ความว่า ถ้าท่านไม่มีความหนักใจ เพื่อที่จะกล่าวในที่นี้ โดยประการที่พวกพราหมณ์บัญญัติไว้นั้น.
อธิบายว่า ถ้าไม่มีความหนักใจไรๆ ท่านก็จงกล่าว. มาณพกล่าวว่า ท่านพระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่หนักใจเลย ดังนี้ หมายเอาอะไร.
ก็การกล่าวในสํานักของบัณฑิตเทียม ย่อมเป็นทุกข์. ท่านบัณฑิตเทียมเหล่านั้น ย่อมให้เฉพาะโทษเท่านั้นในทุกๆ บท ในทุกๆ อักษร. ส่วนบัณฑิตแท้ ฟังถ้อยคําแล้ว ย่อมสรรเสริญคําที่กล่าวถูก. เมื่อกล่าวผิด ในบรรดาบาลีบท อรรถ และพยัญชนะคําใดๆ ผิด ย่อมให้คํานั้นๆ ให้ถูก.
ก็ชื่อว่า บัณฑิตแท้เช่นกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่มี. เพราะเหตุนั้น มาณพจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ ณ ที่ที่พระองค์ หรือท่านผู้เป็นเหมือนพระองค์ประทับนั่งอยู่ ข้าพระองค์ไม่มีความหนักใจเลย ดังนี้.
บทว่า สัจจะ คือ พูดจริง.
บทว่า ตบะ ได้แก่การประพฤติตบะ.
บทว่า พรหมจรรย์ ได้แก่ การเว้นจากเมถุน.
บทว่า การสาธยาย ได้แก่ การเรียนมนต์.
บทว่า จาคะ คือ การบริจาคอานิส.
คําว่า จักเป็นผู้ให้ถึงความลามก คือ จักเป็นผู้ให้ถึงความไม่รู้.
คําว่า ได้กล่าวคํานี้ ความว่า มาณพถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข่มด้วยการเปรียบเหมือนแถวคนตาบอด เมื่อไม่อาจเพื่อตอบโต้คํานั้นได้ เมื่อจะอ้างถึงอาจารย์ เปรียบปานสุนัขอ่อนกําลัง ต้อนเนื้อให้ตรงหน้าเจ้าของแล้ว ตนเองก็อ่อนล้าไปฉะนั้น จึงได้กล่าวคํานั้นมีอาทิว่า พราหมณ์ดังนี้.
คําว่า โปกขรสาติ นี้ ในคําว่า พราหมณ์เป็นต้นนั้น เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น. เรียกว่า โปกขรัสสาติ บ้างก็มี.
ได้ยินว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 446
ร่างกายของพราหมณ์นั้นเหมือนบัวขาว งดงามเหมือนเสาระเนียดเงินที่ยกขึ้นในเทพนคร ส่วนศีรษะของพราหมณ์นั้นเหมือนทําด้วยแก้วอินทนิลสีดํา. แม้หนวดก็ปรากฏเหมือนแถวเมฆดําในดวงจันทร์ นัยน์ตาทั้งสองข้างเหมือนดอกอุบลเขียว. จมูกตั้งอยู่ดี บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนกล้องเงิน. ฝ่ามือฝ่าเท้าและปากงามเหมือนย้อมด้วยน้ำครั่ง.
อัตตภาพของพราหมณ์ถึงความงามอันเลิศอย่างยิ่ง สมควรตั้งให้เป็นราชาในฐานะที่ไม่ได้เป็นราชา เพราะเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงรู้จักพราหมณ์นั้นว่า โปกขรสาติ ด้วยประการดังนี้ เพราะพราหมณ์นี้เป็นผู้มีความสง่าอย่างนี้นั่นแล อนึ่ง พราหมณ์นั้นเกิดในดอกบัว มิได้เกิดในท้องมารดา เพราะเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงรู้จักพราหมณ์นั้นว่า โปกขรสาติ เพราะนอนอยู่ในดอกบัว ด้วยประการดังนี้.
บทว่า โอปมัญญะ แปลว่า ผู้อุปมัญญโคตร.
บทว่า ผู้เป็นใหญ่ในสุภควัน คือ เป็นใหญ่ในสุภควันโดยอุกฤษฏ์.
บทว่า น่าหัวเราะทีเดียว คือ ควรหัวเราะทีเทียว.
บทว่า เลวทรามทีเดียว ได้แก่ ลามกทีเดียว.
ภาษิตนั้นๆ เท่านั้นชื่อว่าว่าง เพราะไม่มีประโยชน์ และชื่อว่าเปล่า เพราะเป็นภาษิตว่าง.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะข่มสุภมาณพนั้นพร้อมทั้งอาจารย์ จึงตรัสคําว่า มาณพก็... หรือ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาคําเหล่านั้น คําว่า วาจาเหล่าไหนของสมณพราหมณ์เหล่านั้นประเสริฐกว่า ดังนี้ ความว่า วาจาเหล่าไหนของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ประเสริฐกว่า อธิบายว่า เป็นวาจาน่าสรรเสริญ ดีกว่า.
บทว่า สํมุจฺฉา แปลว่า ตามสมมติ คือ ตามโวหารของชาวโลก.
บทว่า รู้แล้ว คือ ไตร่ตรองแล้ว.
บทว่า พิจารณาแล้ว ได้แก่ รู้แล้ว.
บทว่า ประกอบด้วยประโยชน์ คือ อาศัยเหตุ.
คําว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ความว่า เมื่อความที่วาจาอันบุคคลไม่ละโวหารของชาวโลก ใคร่ครวญแล้ว รู้แล้ว กล่าวทําเหตุให้เป็นที่อาศัย เป็นวาจา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 447
ประเสริฐ มีอยู่.
บทว่า อาวุโต สอดแล้ว แปลว่า ร้อยไว้แล้ว.
บทว่า นิวุโต นุ่งแล้ว แปลว่า รัดไว้แล้ว.
บทว่า โอผุโฏ ถูกต้องแล้ว แปลว่า ปกคลุมแล้ว.
บทว่า ปริโยนทฺโธ รวบรัดแล้ว แปลว่า หุ้มห่อแล้ว.
บททั้งหลายมีอาทิว่า คธิโต ผูกมัดแล้ว ดังนี้ มีเนื้อความกล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.
คําว่า พระโคดมผู้เจริญ ถ้าฐานะมีอยู่ ความว่า ถ้าเหตุนั้นมีอยู่.
บทว่า สฺวาสฺส ไฟนั้น... พึงเป็น ความว่า เพราะไม่มีควันและขี้เถ้าเป็นต้น ไฟนั้นพึงมีเปลว มีสี และมีแสง.
คําว่า ตถูปมาหํ มาณว มาณพ เราเปรียบเหมือนอย่างนั้น ความว่า เรากล่าวเปรียบปีติอันอาศัยกามคุณนั้น.
อธิบายว่า เปรียบเหมือนไฟที่อาศัยหญ้าและไม้เป็นเชื้อติดโพลงอยู่ ย่อมเป็นไฟที่มีโทษ เพราะมีควันขี้เถ้า และถ่าน ฉันใด ปีติอันอาศัยกามคุณ ๕ เกิดขึ้น ย่อมมีโทษ เพราะมีชาติ ชรา พยาธิ มรณะ และโสกะเป็นต้น ฉันนั้น.
อธิบายว่า ไฟชื่อว่าเป็นของบริสุทธิ์ เพราะไม่มีควันเป็นต้น ซึ่งปราศจากเชื้อ คือ หญ้าและไม้ ฉันใด ปีติอันประกอบด้วยโลกุตตรและฌานทั้งสอง ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะไม่มีชาติเป็นต้น ฉันนั้น.
บัดนี้ ธรรม ๕ ประการ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติด้วยจาคะอันเป็นหัวข้อแม้นั้น เพราะเหตุที่ไม่คงอยู่เพียง ๕ ประการเท่านั้น เป็นธรรมไม่หวั่นไหวตั้งอยู่ หามิได้ คือย่อมไม่ถึงพร้อมกับความอนุเคราะห์ เพราะเหตุนั้น เพื่อจะแสดงโทษนั้น จึงตรัสคําว่า มาณพ ธรรมเหล่านั้นฉันใด ดังนี้ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า (ทาน) อันเป็นการอนุเคราะห์ คือ มีความอนุเคราะห์เป็นสภาวะ.
คําว่า ท่านเห็นมีมากในที่ไหน นี้ เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บรรพชิตนี้ชื่อว่า ผู้สามารถเพื่อบําเพ็ญธรรม ๕ ประการนี้ให้บริบูรณ์ ย่อมไม่มี คฤหัสถ์บําเพ็ญให้บริบูรณ์ได้ เพราะเหตุนั้น บรรพชิตเท่านั้นบําเพ็ญธรรม ๕ ประการนี้ให้บริบูรณ์ไม่ได้ คฤหัสถ์ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 448
สามารถเพื่อบําเพ็ญให้บริบูรณ์ได้ ย่อมไม่มี จึงตรัสถามเมื่อให้มาณพกล่าวตามแนวทางนั้นนั่นแหละ.
ในคําว่า เป็นผู้พูดจริง สม่ําเสมอร่ําไป หามิได้ ดังนี้ เป็นต้น พึงเห็นความหมายอย่างนี้ว่าคฤหัสถ์ เมื่อเหตุอื่นไม่มีก็กระทําแม้มุสาวาทของผู้หลอกลวง. พวกบรรพชิตแม้เมื่อจะถูกตัดศีรษะด้วยดาบ ก็ไม่กล่าวกลับคํา.
อนึ่ง คฤหัสถ์ไม่อาจรักษาสิกขาบทแม้สักว่าตลอดภายในสามเดือน. บรรพชิตเป็นผู้มีตบะ มีศีล มีตบะเป็นที่อาศัย ตลอดกาลเป็นนิจทีเดียว. คฤหัสถ์ย่อมไม่อาจกระทําอุโบสถกรรมสักว่า ๘ วันต่อเดือน บรรพชิตทั้งหลายเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ตลอดชีวิต. คฤหัสถ์เขียนแม้เพียงรัตนสูตรและมงคลสูตรไว้ในสมุดแล้วก็วางไว้. บรรพชิตทั้งหลายท่องบ่นเป็นนิจ. คฤหัสถ์ไม่อาจให้แม้สลากภัต (ให้เสมอไป) ไม่ให้ขาดตอน. บรรพชิตทั้งหลาย เมื่อของอื่นไม่มี ก็ให้ก้อนข้าวแก่พวกกา และสุนัขเป็นต้น ย่อมใส่ในบาตร แม้ของภิกษุหนุ่มผู้รับบาตรนั่นเอง.
คําว่า เรากล่าวธรรมเหล่านั้น (ว่าเป็นบริขาร) ของจิต ความว่า เรากล่าวธรรม ๕ ประการเหล่านั้นว่าเป็นบริวารของเมตตาจิต.
บทว่า ชาตวฑฺโฒ เกิดแล้ว เจริญแล้ว แปลว่า ทั้งเกิดแล้วและเจริญแล้ว.
ก็บุคคลใดเกิดในที่นั้น อย่างเดียวเท่านั้น (แต่) เติบโตที่บ้านอื่น หนทางในบ้านรอบๆ ย่อมไม่ประจักษ์อย่างถ้วนทั่วแก่บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ทั้งเกิดทั้งเติบโตแล้ว ดังนี้.
ก็บุคคลใดแม้เกิดแล้วเติบโตแล้ว แต่ออกไปเสียนาน หนทางก็ย่อมไม่ประจักษ์แจ้งโดยถ้วนทั่วแก่บุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า ตาวเทว อปสกฺกํ (ผู้ออกไปในขณะนั้น). อธิบายว่า ออกไปในขณะนั้นทันที.
บทว่า ชักช้า ความว่า ชักช้าด้วยความสงสัยว่า ทางนี้หรือๆ ทางนี้.
บทว่า ตกประหม่า ความว่า สรีระของใครๆ ผู้ถูกคนตั้งพันถามถึงอรรถอันสุขุม ย่อมถึงภาวะอันกระด้าง (คือตัวแข็ง) ฉันใด การถึงภาวะอันแข็งกระด้างฉันนั้น ย่อมไม่มีเลย.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 449
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่พระสัพพัญุตญาณอันอะไรๆ ไม่กระทบกระทั่งได้ด้วยบทว่า วิตฺถายิตตฺตํ นี้.
ก็ความกระทบกระทั่ง ความรู้พึงมีแก่บุรุษนั้นด้วยอํานาจมารดลใจเป็นต้น เพราะเหตุนั้น บุรุษนั้น พึงชักช้า หรือพึงตกประหม่า. แต่พระสัพพัญุตญาณไม่มีอะไรกระทบกระทั่งได้ ท่านแสดงว่า ใครๆ ไม่อาจทําอันตรายแก่พระสัพพัญุตญาณนั้น.
บทว่า มีกําลัง ในคํานี้ว่า มาณพ คนเป่าสังข์ผู้มีกําลังแม้ฉันใด ดังนี้ ความว่า สมบูรณ์ด้วยกําลัง.
บทว่า สงฺขธโม แปลว่า คนเป่าสังข์.
บทว่า อปฺปกสิเรน ได้แก่ โดยไม่ยาก คือ โดยไม่ลําบาก.
ก็คนเป่าสังข์ผู้อ่อนแอ แม้เป่าสังข์อยู่ ก็ไม่อาจจะให้เสียงดังไปยังทิศทั้ง ๔ ได้ เสียงสังข์ของเขาไม่แผ่ไปโดยประการทั้งปวง. ส่วนของผู้มีกําลังย่อมแผ่ไป. เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่าผู้มีกําลัง.
เมื่อกล่าวว่า ด้วยเมตตา ดังนี้ ในคําว่า ด้วยเมตตาอันเป็นเจโตวิมุตติ นี้ ย่อมควรทั้งอุปจาร ทั้งอัปปนา. แต่เมื่อกล่าวว่า เจโตวิมุตฺติยา ย่อมควรเฉพาะอัปปนาเท่านั้น.
คําว่า ยํ ปมาณกตํ กมฺมํ กรรมที่ทําไว้ประมาณเท่าใด ความว่า ชื่อว่ากรรมที่ทําประมาณได้ เรียกว่า กามาวจร. ชื่อว่ากรรมที่ทําประมาณไม่ได้ เรียกว่า รูปาวจร.
ในกรรมที่เป็นกามาวจรและรูปาวจรแม้เหล่านั้น กรรมคือพรหมวิหารเท่านั้น ทรงประสงค์เอาในที่นี้.
ก็พรหมวิหารกรรมนั้นเรียกว่า กระทําหาประมาณมิได้ เพราะกระทําให้เจริญไปด้วยการแผ่ล่วงพ้นประมาณไปยังทิศที่เจาะจงและไม่เจาะจง.
คําว่า กามาวจรกรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ จักไม่คงอยู่ในรูปาวจรกรรมนั้น ความว่า กามาวจรกรรมนั้น ย่อมไม่ติด คือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาวจรกรรมนั้น.
ท่านอธิบายไว้อย่างไร.
ท่านอธิบายไว้ว่า กามาวจรกรรมนั้นย่อมไม่เกี่ยวข้องหรือตั้งอยู่ในระหว่างแห่งรูปาวจรกรรมนั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 450
หรือแผ่ไปยังรูปาวจรกรรมและอรูปาวจรกรรม แล้วครอบงําถือเอาโอกาสสําหรับตนตั้งอยู่. โดยที่แท้ รูปาวจรกรรมเท่านั้น แผ่ไปยังกามาวจรกรรมเหมือนน้ำมากเอ่อท่วมน้ำน้อย ครอบงําถือเอาโอกาสสําหรับตนแล้วคงอยู่. รูปาวจรกรรมห้ามวิบากของกามาวจรกรรมนั้นแล้ว เข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหมด้วยตนเอง.
คําที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสุภสูตรที่ ๙