พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ปัญจัตตยสูตร ว่าด้วยความเห็นผิดต่างๆ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36107
อ่าน  577

[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 38

๒. ปัญจัตตยสูตร

ว่าด้วยความเห็นผิดต่างๆ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 22]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 38

๒. ปัญจัตตยสูตร

ว่าด้วยความเห็นผิดต่างๆ

[๒๘] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดํารัสแล้ว.

[๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กําหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีทิฏฐิคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ย่อมปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวยืนยันบทแห่งความเชื่อมั่นหลายประการ คือ พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า อัตตาที่มีสัญญาเป็นของยั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มีสัญญาเป็นของยั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่าอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เป็นของยั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไปอีกพวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดของสัตว์ที่มีอยู่และอีกพวกหนึ่งกล่าวยืนยันนิพพานในปัจจุบัน เป็นอันว่าสมณพราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติอัตตาที่มีอยู่ว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไปพวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดของสัตว์ที่มีอยู่พวกหนึ่ง กล่าวยืนยันนิพพานในปัจจุบัน อีกพวกหนึ่ง รวมบทแห่งความเชื่อมั่น เหล่านี้เป็น ๕ บท แล้วเป็น ๓ บท เป็น ๓ ขยายเป็น ๕ นี้อุเทศของบทห้า ๓ หมวด ของความเชื่อมั่น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 39

[๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมบัญญัติอัตตาที่มีสัญญา

(๑) ชนิดมีรูป ว่ายังยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๕) ชนิดมีสัญญาอย่างเดียวกัน ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๖) ชนิดมีสัญญาต่างกัน ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๗) ชนิดมีสัญญาน้อย ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๘) ชนิดมีสัญญาหาประมาณมิได้ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

แต่ยังมีอีกพวกหนึ่ง กล่าวยืนยันวิญญาณกสิณของอัตตามีสัญญาชนิดใดชนิดหนึ่งเหล่านี้ ที่เป็นไปล่วงชนิดทั้ง ๗ ว่า หาประมาณมิได้ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี.

ท่านสมณพราหมณ์ พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมบัญญัติอัตตาที่มีสัญญา

(๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๕) ชนิดมีสัญญาอย่างเดียวกัน ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๖) ชนิดมีสัญญาต่างกัน ว่ายังยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 40

(๗) ชนิดมีสัญญาน้อย ว่ายังยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๘) ชนิดมีสัญญาหาประมาณมิได้ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

แต่ยังมีอีกพวกหนึ่ง กล่าวยืนยันอากิญจัญญายตนะว่า หาประมาณมิได้ไม่หวั่นไหว ด้วยเหตุที่สัญญาอันบัณฑิตกล่าวว่าบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดไม่มีสัญญาอื่นยิ่งกว่าสัญญาเหล่านี้ทั้งที่เป็นสัญญาในรูป ทั้งที่เป็นสัญญาในอรูปทั้งที่เป็นสัญญาอย่างเดียวกัน ทั้งที่เป็นสัญญาต่างกัน ไม่มีสักน้อยหนึ่ง เรื่องสัญญาดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้

[๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตตาที่ไม่มีสัญญาว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไปย่อมบัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา

(๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวกอสัญญีวาทะนั้น นั่นเพราะเหตุไร เพราะสัญญาเป็นเหมือนโรคเป็นเหมือนหัวฝี เป็นเหมือนลูกศร สิ่งดี ประณีต นี้คือความไม่มีสัญญาดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี.

ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมบัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 41

(๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าวอย่างนี้ว่าเราจักบัญญัติการมาเกิด หรือการไปเกิด การจุติ การอุปบัติ ความเจริญความงอกงาม ความไพบูลย์ นอกจากรูป นอกจากเวทนา นอกจากสัญญานอกจากสังขาร นอกจากวิญญาณ คํากล่าวดังนี้ของสมณพราหมณ์นั้น ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ เรื่องไม่มีสัญญาดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบและความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นเสีย.

[๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่

(๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวกเนวสัญญีนาสัญญีวาทะนั้น แม้ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 42

อัตตาที่ไม่มีสัญญาว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป ก็ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวกเนวสัญญีนาสัญญีวาทะนั้น นั่นเพราะเหตุไร เพราะสัญญาเป็นเหมือนโรคเป็นเหมือนหัวฝี เป็นเหมือนลูกศร ความไม่มีสัญญาเป็นความหลง สิ่งดีประณีตนี้ คือ ความมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี.

ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่

(๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง บัญญัติการเข้าอายตนะนี้ ด้วยเหตุเพียงสังขารที่ตนรู้แจ้ง โดยได้เห็นได้ยินและได้ทราบ การบัญญัติของสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นความพินาศของการเข้าอายตนะนี้ เพราะอายตนะนี้ ท่านไม่กล่าวว่า พึงบรรลุด้วยความถึงพร้อมของสังขาร แต่ท่านกล่าวว่า พึงบรรลุด้วยความถึงพร้อมของขันธ์ที่เหลือจากสังขาร เรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนะดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่งเป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นเสีย.

[๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ที่กําหนดขันธ์ส่วนอนาคตนั้น สมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญา ว่ายั่งยืนเบื้องหน้าหน้า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 43

แต่ตายไป ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศความไม่เกิดของสัตว์ที่มีอยู่ แม้ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวกอุจเฉทวาทะนั้น แม้ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป ก็ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวกอุจเฉทวาทะนั้น นั่นเพราะเหตุไร เพราะท่านสมณพราหมณ์เหล่านี้แม้ทั้งหมด ย่อมหมายมั่นกาลข้างหน้า กล่าวยืนยันความหวังอย่างเดียวว่า เราละโลกไปแล้วจักเป็นเช่นนี้ๆ เปรียบเหมือนพ่อค้าไปค้าขายย่อมมีความหวังว่าผลจากการค้าเท่านี้ จักมีแก่เรา เพราะการค้าขายนี้เราจักได้ผลเท่านี้ ดังนี้ฉันใด ท่านสมณพราหมณ์พวกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ชะรอยจะเห็นปรากฏเหมือนพ่อค้า จึงหวังว่า เราละโลกไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี.

ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดของสัตว์ที่มีอยู่ เป็นผู้กลัวสักกายะ เกลียดสักกายะ แต่ยังวนเวียนไปตามสักกายะอยู่นั่นแลเปรียบเหมือนสุนัขที่เขาผูกโซ่ล่ามไว้ที่เสาหรือที่หลักมั่นย่อมวนเวียนไปตามเสาหรือหลักนั่นเอง ฉันใด ท่านสมณพราหมณ์พวกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันเป็นผู้กลัวสักกายะ เกลียดสักกายะ แต่ก็ยังวนเวียนไปตามสักกายะอยู่นั่นแล เรื่องสักกายะดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบและความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นเสีย.

[๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งกําหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีทิฏฐิคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ย่อมปรารภขันธ์ส่วน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 44

อนาคต กล่าวยืนยันบทแห่งความเชื่อมั่นหลายประการ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าวยืนยันอายตนะ ๕ นี้ทั้งมวล หรือเฉพาะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กําหนดขันธ์ส่วนอดีต มีทิฏฐิคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ย่อมปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวยืนยันบทแห่งความเชื่อมั่นหลายประการ คือ

พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริงอย่างอื่นเปล่า

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกไม่เที่ยง...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกเที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยงก็มิใช่...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกมีที่สุด...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกไม่มีที่สุด...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกทั้งมีที่สุดและไม่มีที่สุด...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาอย่างเดียวกัน...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาต่างกัน....

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาน้อย...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาหาประมาณมิได้...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกมีสุขโดยส่วนเดียว...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกมีทุกข์โดยส่วนเดียว...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกมีทั้งสุขและทุกข์...

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 45

พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า อัตตาและโลก มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า.

[๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกใด. มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า ข้อที่ญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่องของสมณพราหมณ์พวกนั้น จักมีเองได้ นอกจากความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตามเขาว่า ความตรึกตามอาการ ความปักใจดิ่งด้วยทิฏฐิ นั้นไม่ใช่ฐานะที่มีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อไม่มีญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่องท่านสมณพราหมณ์พวกนั้น ย่อมชําระได้เพียงส่วนของความรู้ในญาณนั้นเท่านั้น แม้ส่วนของความรู้นั้น บัณฑิตก็เรียกว่า อุปาทานของท่านสมณพราหมณ์พวกนั้น เรื่องอุปาทานดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นเสีย.

[๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกใด มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกเที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 46

ว่า อัตตาและโลกไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกทั้งมีที่สุดและไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาต่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาน้อย นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาหาประมาณมิได้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกมีสุขโดยส่วนเดียว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกมีทุกข์โดยส่วนเดียว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลก มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า ข้อที่ญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่องของสมณพราหมณ์พวกนั้นๆ จักมีเองได้ นอกจากความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตามเขาว่า ความตรึกตรองตามอาการ ความปักใจดิ่งด้วยทิฏฐิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อไม่มีญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่องท่านสมณพราหมณ์พวกนั้นๆ ย่อมให้เพียงส่วนของความรู้แม้ใดในญาณนั้นแจ่มแจ้ง แม้ส่วนของความรู้นั้น บัณฑิตก็เรียกว่าอุปาทานของท่านสมณพราหมณ์พวกนั้นๆ เรื่องอุปาทานดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 47

และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นเสีย.

[๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ ย่อมเข้าถึงปีติอันเกิดแต่วิเวกอยู่ด้วยสําคัญว่า เรากําลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คือปีติเกิดแต่วิเวกอยู่ ปีติเกิดแต่วิเวกนั้นของเธอย่อมดับไปได้ เพราะปีติเกิดแต่วิเวกดับย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัสดับ ย่อมเกิดปีติเกิดแต่วิเวก เปรียบเหมือนร่มเงาละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น แดดละที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น ฉันใดฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะปีติเกิดแต่วิเวกดับย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัสดับ ย่อมเกิดปีติเกิดแต่วิเวก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี.

ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ ย่อมเข้าถึงปีติอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ด้วยสําคัญว่า เรากําลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คือปีติเกิดแต่วิเวกอยู่ ปีติเกิดแต่วิเวกนั้นของเธอย่อมดับไปได้ เพราะปีติเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัสดับย่อมเกิดปีติเกิดแต่วิเวก เรื่องปีติเกิดแต่วิเวกดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่งเป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นเสีย.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 48

[๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวกได้ย่อมเข้าถึงสุขอันปราศจากอามิสอยู่ ด้วยสําคัญว่า เรากําลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คือนิรามิสสุขอยู่ สุขเสมือนปราศจากอามิสนั้นของเธอย่อมดับไปได้ เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิดแต่วิเวก เพราะปีติอันเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิสเปรียบเสมือนร่มเงาละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น แดดละที่แห่งใดร่มเงาก็ย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิดแต่วิเวก เพราะปีติอันเกิดแต่วิเวกดับย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี.

ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวกได้ ย่อมเข้าถึงสุขเสมือนปราศจากอามิสอยู่ ด้วยสําคัญว่า เรากําลังเข้าถึงสิ่งที่ดี. ประณีตคือนิรามิสสุขอยู่ สุขเสมือนปราศจากอามิสนั้นของเธอย่อมดับไปได้ เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิดแต่วิเวก เพราะปีติอันเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส เรื่องสุขเสมือนปราศจากอามิสดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นเสีย.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 49

[๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วงสุขเสมือนปราศจากอามิสได้ ย่อมเข้าถึงเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่อยู่ ด้วยสําคัญว่า เรากําลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีตคืออทุกขมสุขเวทนาอยู่ เวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่นั้นของเธอ ย่อมดับไปได้ เพราะเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ เปรียบเสมือนร่มเงาละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น แดดละที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น ฉันใดฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี.

ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วงสุขเสมือนปราศจากอามิสได้ ย่อมเข้าถึงเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่อยู่ด้วยสําคัญว่า เรากําลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คืออทุกขมสุขเวทนาอยู่ เวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่นั้นของเธอ ย่อมดับไปได้ เพราะเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับย่อมเกิดเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ เรื่องเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่งเป็นของหยาบ และความดับ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 50

ของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นเสีย.

[๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีตและทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วงสุขเสมือนปราศจากอามิส ก้าวล่วงเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ได้ ย่อมเล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี.

ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วงสุขเสมือนปราศจากอามิส ก้าวล่วงเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ได้ ย่อมเล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทาน ท่านผู้นี้ ย่อมกล่าวยืนยันปฏิปทาที่ให้สําเร็จนิพพานอย่างเดียวโดยแท้ แต่ก็ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้เมื่อถือมั่นทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นกามสัญโญชน์ ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นปีติอันเกิดแต่วิเวก ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นสุขเสมือนปราศจากอามิส ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ และแม้ข้อที่ท่านผู้นี้เล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้วเป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทานั้น บัณฑิตก็เรียกว่าอุปาทานของท่านสมณพราหมณ์นี้ เรื่องอุปาทานดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 51

และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นเสีย.

[๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า ที่ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับคุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐสงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่านี้นั้น คือความรู้เหตุเกิดเหตุดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ ปัญจัตตยสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 52

อรรถกถาปัญจัตตยสูตร

ปัญจัตตยสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

พึงทราบวินิจฉัยในปัญจัตตยสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า เอเก ได้แก่ บางพวก. บทว่า สมณพฺราหฺมณา ความว่า ชื่อว่า สมณะ โดยเป็นนักบวช ชื่อว่า พราหมณ์ โดยชาติ. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ที่โลกสมมติไว้อย่างนี้ว่าสมณะและว่าพราหมณ์ ดังนี้. ชื่อว่า อปรันตกัปปิกะ เพราะกําหนดยึดซึ่งขันธ์ส่วนอนาคต. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อปรันตกัปปิกะ เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นมีการกําหนดยึดขันธ์ส่วนอนาคต ดังนี้ก็มี ก็ในคําว่าอปรันตกัปปิกะ นั้น ในที่นี้ ส่วน ท่านประสงค์เอาส่วนว่า อนฺต ดุจในประโยคเป็นต้นว่า ผู้มีอายุ สักกายะ (กายของตน) แล เป็นส่วนอันหนึ่งดังนี้. ตัณหาและทิฏฐิ ชื่อว่า กัปปะ.

สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า โดยอุทานว่า กัปปะ ดังนี้ กัปปะ มี ๒ อย่าง คือ ตัณหากัปปะ และ ทิฏฐิกัปปะ เพราะฉะนั้น พึงเห็นเนื้อความในคําว่า กัปปะ นี้อย่างนี้ว่า ชื่อว่า อปรันตกัปปิกะ เพราะกําหนด ซึ่งส่วนแห่งขันธ์อันเป็นอนาคต โดยตัณหาและทิฏฐิ. ชื่อว่า อปรันตานุทิฏฐิเพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นกําหนดส่วนแห่งขันธ์อันเป็นอนาคต ยืนหยัดอยู่อย่างนั้นแล้ว. มีความเห็นคล้อยตามส่วนแห่งขันธ์อันเป็นอนาคตนั่นแหละโดยที่เกิดขึ้นบ่อยๆ. สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีความเห็นอย่างนั้น เริ่มพึ่งพาอาศัยส่วนแห่งขันธ์อันเป็นอนาคตนั้น กระทําแม้คนอื่นให้ดําเนินไปตามทิฏฐิ กล่าวยืนยัน อธิมุตติบท (บทคือ ความน้อมใจเชื่อ) หลายอย่าง บทว่า อเนกวิหิตานิ แปลว่า หลายอย่าง. บทว่า อธิมุตฺติปทานิ ได้

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 53

แก่ บทเรียกชื่อ. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย ท่านเรียกว่า อธิมุตติ (เพราะครอบงําความที่เป็นจริง ไม่ถือเอาตามเป็นจริงปฏิบัติ. บทแห่งอธิมุตติทั้งหลาย ชื่อว่า อธิมุตติบท อธิบายว่า คําที่แสดงทิฏฐิ. บทว่า สฺี ได้แก่พรั่งพร้อมด้วยสัญญา. บทว่าอโรโค ได้แก่ เป็นของเที่ยง บทว่าอิตฺเถเกตัดบทเป็น อิตฺถํ เอเก อธิบายว่า พวกหนึ่ง (กล่าว) อย่างนี้. ตรัสสัญญีวาทะ ๑๖ ด้วยบทว่า อิตฺเถเก นี้. ตรัส อสัญญีวาทะ ๘ ด้วย บทว่าอสัญญี นี้. ตรัส เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘ ด้วยบทว่า เนวลัญญีนาสัญญีนี้. ตรัสอุจเฉทวาทะ ๗ ด้วยคํานี้ว่า สโต วา ปน สตฺตสฺส. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สโต แปลว่า มีอยู่. บทว่า อุจเฉทํ ได้แก่ขาดสูญ.บทว่า วินาสํ ได้แก่ไม่เห็น. บทว่า วิภวํ ได้แก่ ไปปราศจากภพ. คําเหล่านี้ทั้งหมด เป็นไวพจน์ของกันและกันทั้งนั้น. ตรัสติฏฐธรรมนิพพานวาทะ ๕ ด้วยบทนี้ว่า ทิฏธมฺมนิพฺพานํ วา.

ในบทว่า ทิฏธมฺมนิพฺพานํ วา นั้น ธรรมที่เห็นชัด เรียกว่าทิฏฐธรรม. คําว่า ทิฏฐธรรมนี้เป็นชื่อของอัตภาพที่ได้มาในภพนั้นๆ . นิพพานในปัจจุบัน ชื่อว่า ทิฏฐธรรมนิพพาน. อธิบายว่า ความเข้าไปสงบทุกข์ในอัตภาพนั้นนั่นแหละ. บทว่า สนฺตํ วา ความว่า สงบแล้วด้วยอาการทั้ง ๓ ด้วยคําเป็นต้นว่า มีสัญญา ดังนี้. คําว่า ตีณิ โหนฺติ หมายความว่า บทว่า สฺีอตฺตา ดังนี้เป็นต้น เป็น ๓ อย่างนี้ คือ เป็น ๑เนื่องด้วยอัตตา สงบ นอกนี้ อีก ๒ (คือ ขาดสูญและนิพพานในปัจจุบัน) .

บทว่า รูปึ วา ได้แก่มีรูป ด้วยกรัชรูป หรือ กสิณรูป. ผู้ได้ในอัตตามีรูปนั้น ย่อมถือเอากสิณรูป ว่า อัตตา ผู้ตรึกในกสิณรูป ย่อมถือเอารูปแม้ทั้งสองทีเดียว. บทว่า อรูปึ ความว่า ทั้งผู้ได้และผู้ตรึกทั้งสอง

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 54

เมื่อบัญญัตินิมิตในอรูปสมาบัติ หรืออรูปธรรมที่เหลือ เว้นสัญญาขันธ์ย่อมบัญญัติอย่างนั้น. ก็ทิฏฐิที่สาม เป็นไปด้วยอํานาจการถือเจือปนกัน ทิฏฐิที่สี่เป็นไปด้วยการถือเอาด้วยการตรึกเอาเท่านั้น. พึงทราบว่า ในจตุกกะที่สองตรัสทิฏฐิที่หนึ่งด้วยวาทะที่ถึงพร้อม ตรัสทิฏฐิที่สองด้วยวาทะที่ไม่ถึงพร้อมตรัสทิฏฐิที่สามด้วยอํานาจกสิณบริกรรม ขนาดกระด้ง หรือขนาดขันจอกตรัสทิฏฐิที่ ๔ ด้วยอํานาจกสิณที่กว้างใหญ่. คําว่า เอตํ วา ปเนเตสํอุปาติวตฺตตํ ดังนี้ ตรัสไว้โดยสังเขปด้วยบทว่า สัญญี อธิบายว่าก้าวล่วงสัญญาทั้ง ๗ หมวด. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ๘ หมวด. คําทั้งสองนั้นจักมีแจ้งข้างหน้า. ส่วนในที่นี้ มีเนื้อความย่อดังต่อไปนี้. ก็คนบางพวกอาจก้าวล่วงสัญญา ๗ หรือ ๘ นี้ได้. ส่วนบางพวกไม่อาจ. ในสองพวกนั้นบุคคลใดอาจ บุคคลนั้นเท่านั้น ก็ยึดไว้ได้ ก็เมื่อชนเหล่านั้น อาจก้าวล่วงสัญญาแต่ละชนิด ชนพวกหนึ่งกล่าวว่า วิญญาณัญจายตนะ หาประมาณมิได้ ไม่หวั่นไหวเหมือนในพวกมนุษย์ผู้ข้ามแม่น้ำคงคาไปถึงแค่บึงใหญ่แล้วก็หยุดอยู่ ส่วนอีกคนหนึ่งไปถึงบ้านใหญ่ข้างหน้าบึงใหญ่นั้น แล้วหยุดอยู่ ฉะนั้น. บรรดาวิญญาณัญจายตนะ และอากิญจัญญายตนะนั้น เพื่อแสดงวิญญาณัญจายตนะก่อน จึงตรัสว่า พวกหนึ่ง (กล่าวยืนยัน) กสิณคือวิญญาณ ดังนี้. จักกล่าวคําว่า พวกหนึ่ง (กล่าวยืนยัน) อากิญจัญญายตนะดังนี้ ข้างหน้า. บทว่า ตยิทํ ตัดบทเป็น ตํ อิทํ แปลว่า ทิฏฐิ และอารมณ์ของทิฏฐินี้นั้น. บทว่า ตถาคโต อภิชานาติ ความว่า ย่อมรู้ด้วยญาณอันวิเศษยิ่งว่า ทรรศนะชื่อนี้อันปัจจัยนี้ยึดแล้ว.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงทําทรรศนะนั้นนั่นแล ให้พิสดารจึงตรัสคํามีอาทิว่า เยโข เต โภนฺโต ดังนี้. บทว่ายาวา ปเนส

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 55

สฺานํ ความว่า ก็หรือว่า สัญญาใด (บัณฑิตกล่าวว่ายอดเยี่ยม) กว่าสัญญาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าว่า (ทั้งที่) เป็นสัญญาในรูปเหล่านั้น. บทว่าปริสุทฺธาคือ หมดอุปกิเลส. บทว่า ปรมา คือ สูงสุด. บทว่า เลิศ คือประเสริฐสุด บทว่า อนุตฺตริยา อกฺขายติ ความว่า กล่าวว่าไม่มีอะไรเหมือน. ตรัสรูปาวจรสัญญา ๔ ด้วยบทนี้ว่า ยทิ รูปสฺานํ . ตรัสอากาสานัญจายตันสัญญาและวิญญาณัญจายตนสัญญา ด้วยบทนี้ว่า ยทิอรูปสฺานํ . ตรัสสมาปันนกวาระและอสมาปันนกวาระด้วยบททั้งสองกับบทนอกนี้ สัญญาเหล่านี้จัดเป็น ๘ ส่วน อย่างที่กล่าวมาด้วยประการดังนี้.แต่โดยใจความ สัญญามี ๗ อย่าง. จริงอยู่ สมาปันนกวาระสงเคราะห์ด้วยสัญญา ๖ ข้างต้น เท่านั้น. บทว่า ตยิทํ สงฺขตํ ความว่า สัญญาแม้ทั้งหมดนี้นั้นกับด้วยทิฏฐิอันปัจจัยปรุงแต่ง คือประมวลมาแล้ว. บทว่า โอฬาริกํความว่า ชื่อว่า หยาบ เพราะปัจจัยปรุงแต่งเทียว. บทว่า อตฺถิ โข ปนสงฺขารานํ นิโรโธ ความว่า ก็ชี่อว่านิพพานที่นับได้ว่า ความดับสังขารทั้งหลายที่ท่านกล่าวว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง เหล่านั้น มีอยู่. คําว่า อตฺเถตนฺติอิติวิทิตฺวา ความว่า ก็เพราะรู้นิพพานนั้นแลอย่างนี้ว่า นิพพานนั่นมีอยู่.คําว่า ตสฺส นิสฺสรณทสฺสาวี ความว่า มีปกติเห็นการสลัดออกคือ มีปกติเห็นความดับสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น. บทว่า ตถาคโต ตทุปาติวตฺโตความว่าก้าวล่วง อธิบายว่า ก้าวล่วงพร้อมซึ่งสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น.

บทว่า ตตฺร ได้แก่ บรรดา อสัญญีวาทะ ๘ ประการเหล่านั้น.คําว่า อรูปี วา ดังนี้เป็นต้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวไว้ในสัญญีวาทะนั้นแล.ก็เพราะวาทะนี้เป็นอสัญญีวาทะ ฉะนั้น จึงไม่กล่าวจตุกกะที่สองนี้ไว้.

บทว่า ปฏิกฺโกสนฺติ ได้แก่ห้าม คือ ปฏิเสธ. ในบทว่า สฺาโรโค เป็นต้น ชื่อว่า เป็นดังโรค เพราะอรรถว่า เบียดเบียน. ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 56

เป็นเหมือนหัวฝี เพราะอรรถว่ามีโทษ. ชื่อว่า เป็นเหมือนลูกศร เพราะอรรถว่า ตามเข้าไป. ในบทว่า อาคตึ วา เป็นต้น ชื่อว่า การมาเพราะอํานาจปฏิสนธิ. ชื่อว่า การไป เพราะอํานาจคติ ชื่อว่า จุติ เพราะอํานาจการเคลื่อนไป. ชื่อว่า อุปบัติ เพราะอํานาจการเข้าถึง. ชื่อว่า เจริญงอกงามไพบูลย์ เพราะอํานาจการเข้าถึงบ่อยๆ แล้วไปๆ มาๆ . ในภพที่มีขันธ์๔ แม้เว้นรูป ความเป็นไปของวิญญาณย่อมมีได้โดยแท้ แต่ในภพที่เหลือ เว้นขันธ์๓ วิญญาณย่อมเป็นไปไม่ได้. แต่สําหรับปัญหานี้ท่านกล่าวด้วยอํานาจภพที่มีขันธ์๕ ก็ในภพที่มีขันธ์๕ เว้นขันธ์ทั้งหลายประมาณเท่านี้ชื่อว่า ความเป็นไปของวิญญาณย่อมไม่มี ส่วนในอธิการนี้ นักพูดเคาะกล่าวในข้อนี้ว่า เพราะพระบาลีว่า เว้นจากรูป ดังนี้เป็นต้น แม้ในอรูปภพก็มีรูป และแม้ในอสัญญีภพก็มีวิญญาณ.

สําหรับท่านผู้เข้านิโรธสมาบัติ ก็มีอย่างนั้น เหมือนกันซิ. ท่านผู้ชอบพูดเคาะนั้นจะต้องถูกต่อว่า หากจะค้านความหมายตามรูปของพยัญชนะเพราะพระบาลีว่า อาคตึ วา เป็นต้น วิญญาณนั้นจะต้องกระโดดไปบ้างเดินไปด้วยเท้าบ้าง เหมือนนกและสัตว์๒ เท้า ๔ เท้า และเลื้อยไปเหมือนเถาแตง เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสภพ ๓ ไว้ในพระสูตรหลายร้อยสูตรภพเหล่านั้นก็ต้องเป็นสองภพเท่านั้น เพราะไม่มีอรูปภพ เพราะฉะนั้น ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น จงทรงจําข้อความตามที่กล่าวมาแล้วเถิด.

คําว่า ตตฺร เป็นสัตตมีวิภัตติลงในเนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘ ประการแม้ในที่นี้พึงทราบคําว่า รูปึ เป็นต้น โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่าอสฺา อสมฺโมโห ความว่า ชื่อว่า ความไม่มีสัญญานี้ เป็นที่ตั้งแห่งความหลง. ก็ท่านกล่าวภพที่ไม่รู้อะไรๆ นั้นว่า นั่นอสัญญีภพ. บทว่า

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 57

ทิฏสุตมุตวิฺาตพฺพสงฺขารมตฺเตน ความว่า ด้วยสักว่าที่พึงรู้แจ้งด้วยการเห็น ด้วยสักว่าที่พึงรู้แจ้งด้วยการฟัง ด้วยสักว่า ที่พึงรู้แจ้งด้วยการทราบ.ก็ในบทว่า ทิฏมตฺเตน ธรรมชาติใดย่อมรู้ เหตุนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาตัพพะ พึงรู้แจ้ง โดยอาการสักว่ารู้แจ้งอารมณ์ที่เห็นได้ยินและทราบ คือด้วยเหตุสักว่า ความเป็นไปแห่งสัญญาทางทวารทั้ง ๕ ในคํานี้มีความหมายดังกล่าวมานี้. บทว่า สงฺขารมตฺเตน ความว่า ด้วยความเป็นไปแห่งสังขารอย่างหยาบ. บทว่า เอตสฺสายตนสฺส ได้แก่เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้. บทว่าอุปสมฺปทํ ได้แก่ การได้เฉพาะ. บทว่า พฺยสนํเหตํ ความว่า นั้น เป็นความพินาศ อธิบายว่า นั้นเป็นการออก. เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เป็นไปด้วยสัญญาทางทวาร ๕ พึงเข้าโดยกระทําให้เป็นไปด้วยสังขารอย่างหยาบ หรือไม่ให้เป็นไป. ท่านแสดงว่าก็เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นเป็นไป การออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้นย่อมมี. บทว่า สงฺขารสมาปตฺติปตฺตพฺพมกฺขายติความว่าย่อมกล่าวว่า พึงบรรลุด้วยความเป็นไปแห่งสังขารหยาบ. บทว่า สงฺขาราวเสสสมาปตฺติปตฺตพฺพํ ความว่า บรรดาสังขารทั้งหลายนั่นแล สังขารที่เหลือ ชื่อว่าถึงความเป็นสังขารที่ละเอียดกว่าสังขารทั้งปวง ด้วยอํานาจภาวนา อายตนะนั้นพึงบรรลุด้วยความเป็นไปแห่งสังขารเหล่านั้น. เพราะเมื่อสังขารทั้งหลายเห็นปานนั้นเสียไปแล้ว อายตนะนั้นย่อมชื่อว่าเป็นอันพึงบรรลุ. บทว่า ตยิทํ ความว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้นั้น แม้เป็นของละเอียดก็เป็นของที่ปัจจัยปรุงแต่ง และเพราะเป็นของที่ปัจจัยปรุงแต่งจึงเป็นของหยาบ.

บทว่า ตตฺร เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในความหมายว่า อุจเฉทวาทะ (วาทะว่าขาดสูญ) ๗ ประการ. บทว่าอุทฺธํ ปรามาสนฺติ ความว่า วาทะ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 58

ว่าสัญญาอันยังไม่มาถึง เรียกว่า กาลข้างหน้า พวกสมณพราหมณ์ย่อมหมายมั่น กาลอันยังไม่มาถึง คือ วาทะว่า สังสาระ (การเวียนว่าย) . บทว่าอาสตฺตึเยว อภิวทนฺติ ความว่า ย่อมกล่าวการติดอยู่อย่างเดียว. บาลีว่าอาสตฺถึ ดังนี้ก็มี อธิบายว่า กล่าวถึงความทะยานอยาก. บทว่าอิติเปจฺจภวิสฺสาม ความว่า เราละไปแล้วจักเป็นอย่างนี้. ในบทนี้พึงนําเอานัยอย่างนี้มาว่า เราจักเป็นกษัตริย์ จักเป็นพราหมณ์ ดังนี้. บทว่าวาณิชูปมํ มฺเความว่าย่อมปรากฏแก่เราเหมือนพ่อค้าคือเช่นกับพ่อค้า. บทว่า สกฺกายภยาได้แก่ เป็นผู้กลัวสักกายะะ ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้น เมื่อเกลียดสักกายะกล่าวคือ ธรรมที่เป็นไปในภูมิสามนั้นนั่นแหละ ย่อมกลัวสักกายะ ย่อมเกลียดสักกายะ เหมือนสัตว์๔ จําพวกเหล่านี้ ย่อมกลัวต่อสิ่งที่ไม่ควรกลัว (ดังมีที่มา) ว่า ข้าแต่มหาราช สัตว์ ๔ จําพวกแล ย่อมกลัวต่อสิ่งที่ไม่ควรกลัวแล จําพวกไหนบ้าง ข้าแต่มหาราช ไส้เดือนแล ย่อมไม่กินดินเพราะกลัวว่า แผ่นดินจะหมด ข้าแต่มหาราช นกกะเรียนย่อมยืนเท้าเดียว (บนแผ่นดิน) เพราะกลัวว่าแผ่นดินจะทรุด ข้าแต่มหาราช นกต้อยตีวิดนอนหงาย เพราะกลัวว่าฟ้าจะถล่ม ข้าแต่มหาราช พราหมณ์ผู้ประพฤติธรรมแลย่อมไม่ประพฤติพรหมจรรย์ (คือต้องมีภรรยา) เพราะกลัวว่าโลกจะขาดสูญ ฉะนั้น. บทว่า สา คทฺทลพนฺโธ ความว่า สุนัขที่เขาเอาเชือกล่ามผูกไว้ที่ท่อนไม้. นบทว่า เอวเมวีเม นี้ พึงเห็นสักกายทิฏฐิ กล่าวคือธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ เหมือนหลักแน่น และเหมือนเสาเขื่อน บุคคลผู้เป็นไปตามคติของทิฏฐิเหมือนสุนัข ทิฏฐิเหมือนท่อนไม้ ตัณหาเหมือนเชือก พึงทราบการวนเวียนของบุคคลผู้เป็นไปตามคติของทิฏฐิถูกผูกด้วยเชือกคือตัณหาที่สอดเข้าไปในท่อนไม้ คือทิฏฐิ แล้วมัดไว้ที่สักกายะเหมือนการวิ่งวนเวียนของสุนัขที่เขาเอาเชือกหนังล่ามแล้วผูกไว้ที่เสาหรือเขื่อน ไม่สามารถจะทําให้ขาดไปได้โดยธรรมดาของตน.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 59

บทว่าอิมาเนว ปฺจายตนานิ ความว่า เหตุ๕ ประการนี้เท่านั้น.แม้เมื่อตั้งแม่บทคือหัวข้อ ก็ตั้งไว้๕ ข้อ แม้เมื่อสรุปก็สรุปไว้๕ ข้อ แต่เมื่อแจกออก แจกออก ๔ ข้อ. ดังกล่าวฉะนี้ นิพพานในปัจจุบันจะจัดเข้าในข้อไหน. พึงทราบว่า จัดเข้าในบททั้งสอง คือ เอกัตตสัญญา และนานัตตสัญญา.

ก็ครั้นทรงแสดงการกําหนดขันธ์ส่วนอนาคต ๔๔ ประการอย่างนี้แล้วเพื่อจะทรงแสดงการกําหนดขันธ์ส่วนอดีต ๑๘ ประการในบัดนี้ จึงตรัสว่าสนฺติ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น. ในคําว่า สนฺติ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้นนั้นชื่อว่า กําหนดขันธ์ส่วนอดีต เพราะกะกําหนดขันธ์ส่วนก่อน กล่าวคือ ส่วนอดีตแล้วถือเอา. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ากําหนดขันธ์ส่วนอดีต เพราะอรรถว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นมีการกําหนดขันธ์ส่วนอดีต. แม้ในบทที่เหลือ บทซึ่งมีประการดังกล่าวในก่อนพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ด้วยประการดังกล่าวแล้ว บทว่า สสฺสโต อตฺตาจโลโกจ ความว่า ถือเอาอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอายตนะทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ว่าตนและว่าโลกแล้วกล่าวยืนยันว่า เที่ยง ไม่ตาย แน่นอน ยั่งยืน สมดังตรัสไว้ ความพิสดารว่าย่อมบัญญัติตนและโลกว่า รูปเป็นตนด้วย เป็นโลกด้วย เป็นความยั่งยืนด้วย. แม้ในวาทะว่า อัตตาและโลกไม่เที่ยงเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.ก็ในบรรดาวาทะเหล่านี้ กล่าววาทะว่าเที่ยง ๔ ประการ ด้วยวาทะแรก.กล่าววาทะว่าขาดสูญ ด้วยวาทะที่สอง. ถามว่า ก็วาทะเหล่านี้ มีมาแล้วในหนหลังมิใช่หรือ เพราะเหตุไร จึงเอามาพูดในที่นี้อีก. ตอบว่า ที่เอามาพูดในหนหลัง เพื่อแสดงว่า สัตว์ตายในที่นั้นๆ ย่อมขาดสูญในที่นั้นๆ นั่นแหละแต่ในที่นี้ผู้ที่ระลึกชาติได้เป็นไปตามคติของทิฏฐิย่อมเห็นอดีตไม่เห็นอนาคตเขาผู้นั้นย่อมมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ตนที่มาจากขันธ์ส่วนอดีต ย่อมขาดสูญ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 60

ในที่นี้แน่นอน ไม่ไปต่อไปอีก. เพื่อจะแสดงเนื้อความดังกล่าวนี้ จึงเอามา (กล่าวอีก) . กล่าววาทะว่าเที่ยงบางอย่าง ๔ ประการด้วยวาทะที่สาม. กล่าวอมราวิกเขปิกวาทะ (คือวาทะที่ดิ้นได้ไม่ตายตัว) ๔ ประการ ด้วยวาทะที่๔.บทว่า อนฺตวา ได้แก่ มีที่สุด คือมีทางซึ่งกําหนดไว้. สําหรับผู้ไม่ได้เจริญกสิณ ย่อมถือเอากสิณนั้นว่า เป็นตนและเป็นโลกแล้วเป็นอยู่อย่างนั้น.วาทะที่สองกล่าวด้วยอํานาจของผู้ที่เจริญกสิณ วาทะที่สามกล่าวสําหรับผู้ที่เจริญกสิณไปทางขวาง (คือทางด้านข้าง) แต่ไม่เจริญกสิณไปทางเบื้องบนและเบื้องล่าง วาทะที่สี่กล่าวเนื่องด้วยคนผู้ใช้การตรึก อนันตรจตุกกะ (๔หมวดที่ติดต่อกัน) มีนัยดังกล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ. บทว่า เอกนฺตสุขีความว่า มีสุขโดยส่วนเดียว คือ มีสุขเป็นนิรันดร. ทิฏฐินี้ย่อมเกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งผู้ได้ (มี) ทิฏฐิ ผู้ระลึกชาติ และผู้คาดคะเน. เพราะทิฏฐิอย่างนี้ย่อมเกิดแก่ผู้ได้ (มีทิฏฐิ) ผู้ระลึกชาติของตนซึ่งมีความสุขโดยส่วนเดียวในตระกูลกษัตริย์ เป็นต้น ด้วยบุพเพนิวาสญาณ ย่อมเกิดแก่ผู้ระลึกชาติได้ผู้กําลังเสวยสุขปัจจุบัน ระลึกถึงอัตภาพเช่นนั้นนั่นแหละในอดีตชาติ๗ ชาติก็เหมือนกัน. แต่สําหรับผู้ใช้การคาดคะเน (คือนักตรึก) พรั่งพร้อมด้วยความสุขในโลกนี้ ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นด้วยการคาดคะเนนั่นแลว่า แม้ในอดีตเราก็ได้เป็นแล้วอย่างนี้ ดังนี้. บทว่า มีทุกข์โดยส่วนเดียว ความว่าทิฏฐินี้ย่อมไม่เกิดแก่ผู้ได้ (มี) ทิฏฐิ. เพราะเขามีความสุขด้วยฌานสุขในโลกนี้โดยส่วนเดียว. ก็ทิฏฐินี้ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ใช้การคาดคะเนเท่านั้น ผู้อันทุกข์สัมผัสแล้วในโลกนี้ระลึกชาติได้อยู่. ทิฏฐิที่สามย่อมเกิดแก่คนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ผู้มีทั้งสุขและทุกข์ปะปนกัน. ก็ทิฏฐิที่สี่ก็เหมือนกัน ย่อมเกิดแก่ผู้ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ด้วยอํานาจจตุตถฌานในบัดนี้ ระลึกถึงพรหมโลกอันมี

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 61

ด้วยฌานที่สี่เท่านั้น แม้ในกาลก่อน. ทิฏฐินี้ย่อมเกิด ทั้งแก่ผู้ระลึกชาติได้ผู้วางตนเป็นกลาง (วางเฉย) อยู่ในปัจจุบัน ระลึกถึงฐานะอันเป็นกลางๆ เท่านั้น ทั้งแก่ผู้ใช้การคาดคะเน ผู้วางตนเป็นกลางอยู่ในปัจจุบัน ถือเอาอยู่ด้วยการคาดคะเนอย่างเดียวว่า แม้ในอดีตก็จักเป็นอย่างนี้ ดังนี้ ด้วยการกล่าวมาเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันกล่าวการกําหนดขันธ์ส่วนอดีตทั้ง ๑๘ ประการคือ วาทะว่าโลกเที่ยงยั่งยืน ๔ ประการ วาทะว่าโลกเที่ยงยั่งยืน บางอย่าง ๔ประการ วาทะว่าโลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด ๔ ประการ กล่าววาทะที่ดิ้นได้ไม่ตายตัว ๔ ประการ กล่าววาทะว่าเกิดขึ้นเลื่อนลอย ๒ ประการ.

บัดนี้ เมื่อจะทรงขยาย (ความ) ทิฏฐิ จึงตรัสคําว่า ตตฺร ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น ญาณที่ประจักษ์ ชื่อว่า ญาณเฉพาะตน. บทว่า ปริสุทฺธึ คือหมดอุปกิเลส. บทว่า ปริโยทาตํ คือประภัสสร. ตรัสวิปัสสนาญาณอย่างเดียวด้วยบททุกบท. เพราะธรรม ๕ ประการมีศรัทธาเป็นต้น ย่อมมีในลัทธิภายนอก (ส่วน) วิปัสสนาญาณมีในพระพุทธศาสนาเท่านั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า าณภาคมตฺตเมว ปริ-โยทเปนฺติ ความว่า ย่อมยังส่วนแห่งความรู้ในญาณนั้นให้หยั่งลงไปอย่างนี้ว่า สิ่งนี้พวกเรารู้ ดังนี้ . บทว่า อุปาทนมกฺขายติ ความว่า ส่วนแห่งความรู้นั้น ไม่ใช่ญาณ นั่นเป็นชื่อของมิจฉาทัสสนะ เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงกล่าวส่วนแห่งความรู้แม้นั้น ว่าเป็นทิฏุปาทานของท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ความรู้นั้น เป็นเพียงส่วนของความรู้เท่านั้นเพราะมีลักษณะเพียงสักว่ารู้. แม้ถึงเช่นนั้น ก็ชื่อว่าเป็นอุปาทานเพราะไม่พ้นไปจากวาทะ เพราะเป็นปัจจัยแห่งอุปทาน. บทว่า เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น ได้แก่ก้าวล่วงทิฏฐินั้น. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ย่อมเป็น

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 62

อันกล่าวทิฏฐิแม้ทั้ง ๖๒ ประการ ซึ่งมาในพรหมชาลสูตร คือวาทะว่า อัตตาและโลกเที่ยง ๔ อย่าง วาทะว่าเที่ยงเป็นบางอย่าง ๔ อย่าง วาทะว่ามีที่สุดและไม่มีที่สุด ๔ อย่าง วาทะดิ้นได้ไม่ตายตัว ๔ อย่าง วาทะว่าเกิดขึ้นเลื่อนลอย๒ อย่าง วาทะว่ามีสัญญา ๑๖ อย่าง วาทะว่าไม่มีสัญญา ๘ อย่าง วาทะว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่๘ อย่าง วาทะว่าขาดสูญ ๗ อย่าง วาทะว่านิพพานในปัจจุบัน ๕ อย่างก็เมื่อกล่าวพรหมชาลสูตรแล้ว สูตรนี้ย่อมเป็นอันไม่กล่าวเลย เพราะสักกายทิฏฐิอันเกินกว่าพรหมชาลสูตรนั้น มีมาในสูตรนี้ แต่เมื่อกล่าวสูตรนี้แล้วพรหมชาลสูตรย่อมเป็นอันกล่าวแล้วทีเดียว.

บัดนี้ เพื่อแสดงว่าทิฏฐิ๖๒ ประการเหล่านั้น เมื่อเกิดย่อมเกิดขึ้นโดยมีสักกายทิฏฐิเป็นใหญ่เป็นประธาน จึงตรัสว่า อิธ ภิกขเว เอกจฺโจดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏินิสฺสคฺคา ได้แก่เพราะบริจาค. บทว่า กามสฺโชนานํ อนธิฏานา ได้แก่ เพราะสลัดตัณหาในกามคุณ ๕. บทว่า ปวิเวกํ ปีตึ ได้แก่ปีติแห่งฌานทั้งสองซึ่งมีปีติ. บทว่า นิรุชฌฺติ ได้แก่ ดับด้วยความดับด้วยฌาน. ก็สําหรับผู้ออกจากสมาบัติ ปีติ ย่อมชื่อว่าเป็นอันดับแล้ว. เหมือนอย่างว่า ในคํานี้ที่ว่า นิรามิสสุขเกิดเพราะอทุกขมสุขเวทนาดับ อทุกขมสุขเวทนาเกิดเพราะนิรามิสสุขดับ ดังนี้ ไม่มีความหมายอันนี้ว่า เพราะจตุตถฌานดับ จึงเข้าถึงตติยฌานอยู่. ก็ในคํานี้ มีความหมายนี้ว่า ออกจากจตุตถฌานแล้ว เข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้วเข้าจตุตถฌาน. ดังนี้ ฉันใด พึงทราบข้ออุปไมยนี้ฉันนั้น. บทว่า อุปปชฺชติ โทมนสฺสํ ได้แก่โทมนัสที่ครอบงําฌานอย่างต่ําๆ ก็ท่านกล่าวถึงความคล่องตัว สําหรับท่านผู้มีจิตออกจากสมาบัติ.บทว่า ปีติอันเกิดแต่วิเวก ได้แก่ ปีติในฌานทั้งสองนั้นเอง. บทว่า

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 63

ยํ ฉายา ชหติ ได้แก่ ยํ านํ ฉายา ชหติ (แปลว่า ร่มเงาย่อมละทิ้งที่ใดไป) คํานี้ท่านอธิบายว่า ร่มเงามีอยู่ในที่ใดแสงแดดย่อมไม่มีในที่นั้นแสงแดดมีในที่ใดร่มเงาย่อมไม่มีในที่นั้น ดังนี้.

บทว่า นิรามิสํ สุขํ ได้แก่ สุขในตติยฌาน.

บทว่า อทฺกฺขมสุขํ ได้แก่ เวทนาในจตุตถฌาณ.

บทว่า อนุปาทาโนหมสฺมิ ความว่า เราเป็นผู้ไม่ยืดถือ. บทว่านิพฺพานสปฺปายํ ความว่า เป็นสัปปายะคือ เป็นอุปการะแก่พระนิพพาน. ก็ธรรมดาการเห็นมรรคย่อมเกิดขึ้นในเมื่อความใคร่ในสิ่งทั้งปวงถูกทําให้แห้งหายไปมิใช่หรือ? ความเห็นนั้น ชื่อว่า เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นอุปการะแก่นิพพานได้อย่างไร? ชื่อว่า เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นอุปการะได้ ด้วยอํานาจไม่ถือมั่นคือด้วยอํานาจการไม่ยึดถือในสิ่งทั้งปวง. บทว่า อภิวทติ ได้แก่กล่าวด้วยมานะจัด บทว่า ปุพฺพนฺตานุทิฏึ. ได้แก่ทิฏฐิคล้อยตามขันธ์ ส่วนอดีตทั้ง ๑๘ อย่าง. บทว่า อปรนฺตานุทิฏึ ได้แก่ ทิฏฐิคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตทั้ง ๔๔ อย่าง. บทว่า อุปาทานมกฺขายติ ความว่า ย่อมเรียกว่า ทิฏุปาทาน เพราะการถือว่าเรามี เป็นการถือที่นับเนื่องในสักกายะทิฏฐิ บทว่า สนฺตํ วรํ ปทํ ได้แก่บทอันสูงสุด ชื่อว่า สงบ เพราะเป็นบทสงบระงับกิเลส.

บทว่า ฉนฺนํ ผสฺสายตนานํ ความว่า ในบาลีนี้ที่ว่าอายตนะอันบุคคลควรรู้ไว้ คือ จักษุดับ ณ ที่ใด รูปสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ดังนี้เป็นต้น ทรงแสดงนิพพานด้วยการปฏิเสธอายตนะ ๒ ในพระบาลีนี้ที่ว่า

น้ำ ดิน ไฟ ลม ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใด ภพหน้า (สงสาร) ย่อมกลับแต่ที่นี้โทษ (วัฏฏ) ย่อมกลับในที่นี้ นามรูปย่อมดับหมดในที่นี้ ดังนี้เป็นต้น

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 64

ทรงแสดงนิพพานด้วยการปฏิเสธสังขาร ในบาลีนั้นที่ว่า

อาโปฐาตุ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใด อุปาทายรูปที่ยาว สั้น ละเอียด หยาบ งาม และไม่งาม ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่นั้น (ใด) นามรูปย่อมดับหมดในที่นั้น ดังนี้เป็นต้น.

มีไวยากรณ์ (คือข้อความเป็นร้อยแก้ว) ว่า ในพระบาลีนี้ที่ว่าวิญญาณมองเห็นไม่ได้หาที่สุดไม่ได้ผ่องใสโดยประการทั้งปวงดังนี้เป็นต้น ทรงแสดงนิพพานโดยการปฏิเสธสังขารในที่ทุกแห่ง. แต่ในสูตรนี้ทรงแสดงโดยการปฏิเสธอายตนะ ๖. ก็ในสูตรอื่นทรงแสดงเฉพาะนิพพานเท่านั้นด้วยบทว่าอนุปาทาวิโมกฺโข ได้แก่ การหลุดพ้นโดยไม่ถือมั่น. แต่ในสูตรนี้ ทรงแสดงอรหัตตผลสมาบัติ. คําที่เหลือในที่ทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาปัญจัตตยสูตรที่ ๒