พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. กินติสูตร พระพุทโธวาทเรื่องสามัคคี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36108
อ่าน  661

[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 65

๓. กินติสูตร

พระพุทโธวาทเรื่องสามัคคี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 22]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 65

๓. กินติสูตร

พระพุทโธวาทเรื่องสามัคคี

[๔๒] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในป่าชัฏ สถานที่บวงสรวงพลีกรรม ณ กรุงกุสินารา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดํารัสแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมีความดําริในเราบ้างหรือว่า สมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุจีวร หรือเพราะเหตุบิณฑบาตหรือเพราะเหตุเสนาสนะ หรือเพราะเหตุหวังสุขในภพน้อยภพใหญ่ด้วยอาการนี้.

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ช้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ไม่มีความดําริในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้เลยว่า พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมเพราะเหตุจีวรหรือเพราะเหตุบิณฑบาต หรือเพราะเหตุเสนาสนะหรือเพราะเหตุหวังสุขในภพน้อยภพใหญ่ด้วยอาการนี้.

[๔๓] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นอันว่า พวกเธอไม่มีความดําริในเราอย่างนี้เลยว่า พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุจีวร หรือเพราะเหตุบิณฑบาตหรือเพราะเหตุเสนาสนะ หรือเพราะเหตุหวังสุขในภพน้อยภพใหญ่ด้วยอาการนี้ ถ้าเช่นนั้น พวกเธอมีความดําริในเราอย่างไรเล่า.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์มีความดําริในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงอนุเคราะห์ ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ทรงอาศัยความอนุเคราะห์แสดงธรรม.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 66

[๔๔] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นอันว่าพวกเธอมีความดําริในเราอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลอาศัยความอนุเคราะห์แสดงธรรม เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่าใด อันเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔อินทรีย์๕ พละ ๕ โพชฌงค์๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เธอทั้งปวงพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ ในธรรมเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกันยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกันศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุผู้กล่าวต่างกันในธรรมอันยิ่ง เป็นสองรูป.

[๔๕] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งสองนี้ มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ พวกเธอสําคัญภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะขอท่านโปรดทราบความต่างกันนั้น แม้โดยอาการที่ต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ต่อนั้น พวกเธอสําคัญภิกษุอื่นๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ต่างกัน โดยอรรถและโดยพยัญชนะท่านทั้งสองอย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้องจําข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือผิด โดยเป็นข้อผิดไว้ ครั้นจําได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรมเป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น.

[๔๖] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งสองนี้แล มีวาทะต่างกันแต่โดยอรรถ ย่อมลงกันได้โดยพยัญชนะ พวกเธอ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 67

สําคัญภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถย่อมลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดยพยัญชนะ ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ต่อนั้น พวกเธอสําคัญภิกษุอื่นๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่า พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกัน แต่โดยอรรถ ย่อมลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดยพยัญชนะ ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้องจําข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือผิด โดยเป็นข้อผิดและจําข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือถูกโดยเป็นข้อถูกไว้ ครั้นจําได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น.

[๔๗] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งสองนี้แล มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ยังต่างกันแต่โดยพยัญชนะ พวกเธอสําคัญภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดยอรรถ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อยท่านทั้งสองอย่าถึงต้องวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย ต่อนั้น พวกเธอสําคัญภิกษุอื่นๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่า พึงเข้าไปหารูปนั้นแล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดยอรรถ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้องจําข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้น ถือถูกโดยเป็นข้อถูก และจําข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 68

ถือผิด โดยเป็นข้อผิดไว้ ครั้นจําได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรมเป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น.

[๔๘] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งสองนี้แล มีวาทะสมกันลงกันทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ พวกเธอสําคัญภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะสมกันลงกันทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะขอท่านโปรดทราบคําที่ต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่สมกันลงกันได้ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ท่านผู้มีอายุทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ต่อนั้นพวกเธอสําคัญภิกษุอื่นๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกัน รูปใดว่า ว่าง่ายกว่า พึงเข้าไปหารูปนั้นแล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะสมกันลงกันทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบคําที่ต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่สมกันลงกันได้ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้องจําข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือถูก โดยเป็นข้อถูกไว้ ครั้นจําได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น.

[๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกันไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งพึงมีอาบัติ มีวีติกกมโทษ พวกเธออย่าเพ่อโจทภิกษุรูปนั้นด้วยข้อโจท พึงสอนสวนบุคคลก่อนว่าด้วยอาการนี้ความไม่ลําบากจักมีแก่เราและความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่มีทิฏฐิมั่น ยอมสละคืนได้ง่ายและเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดํารงอยู่ในกุศลได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลําบากจักมีแก่เรา และความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติเพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนมักโกรธ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 69

มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น แต่ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดํารงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลําบากของเรา และความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดํารงอยู่ในกุศลนั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลําบากจักมีแก่เราและความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ แต่มีทิฏฐิมั่น ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดํารงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลําบากของเรา เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดํารงอยู่ในกุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ก็ควรพูด.

ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลําบากจักมีแก่เราและความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก แต่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดํารงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลําบากของเราและความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดํารงอยู่ในกุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

แต่ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลําบากจักมีแก่เราและความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก ทั้งเราก็ไม่อาจะให้เขาออกจากอกุศล ดํารงอยู่ในกุศลได้ พวกเธอก็ต้องไม่ละเลยอุเบกขาในบุคคลเช่นนี้.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 70

[๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอนั้นที่พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่ ตีเสมอกันด้วยทิฏฐิผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้น บรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกันในที่นั้นหมายสําคัญเฉพาะรูปใดว่าเป็นผู้ว่าง่าย เธอพึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เรื่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกันไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ เกิดการพูดยุแหย่กัน ตีเสมอกัน ด้วยทิฏฐิกันไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงทรงติเตียนได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เรี่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่เกิดการยุแหย่ ตีเสมอกันด้วยทิฏฐิ ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงทรงติเตียนได้ ก็ภิกษุอื่นๆ จะพึงถามเธอว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว จะพึงทํานิพพานให้แจ้งได้หรือภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว จะพึงทํานิพพานให้แจ้งไม่ได้ ต่อนั้น พวกเธอสําคัญในเหล่าภิกษุอื่นๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกันเฉพาะรูปใดว่า เป็นผู้ว่าง่าย พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เรื่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ เกิดการพูดยุแหย่กันตีเสมอกัน ด้วยทิฏฐิ ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้นพระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงทรงติเตียนได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุเรื่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกันยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ เกิดการพูดยุแหย่ ตีเสมอกันด้วยทิฏฐิผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงติเตียนได้ ก็ภิกษุอื่นๆ จะพึงถามเธอว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละธรรมนี้

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 71

แล้ว จะพึงทํานิพพานให้แจ้งได้หรือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้วจะพึงทํานิพพานให้แจ้งไม่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอื่นๆ พึงถามเธออย่างนี้ว่า ท่านให้ภิกษุเหล่านี้ของพวกเรา ออกจากอกุศล ดํารงอยู่ในกุศลแล้วหรือ ภิกษุเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าข้าพเจ้าพึงธรรมของพระองค์แล้ว ได้กล่าวแก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรมแล้ว ออกจากอกุศล และดํารงอยู่ในกุศลได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุเมื่อพยากรณ์อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ยกตน ไม่ข่มคนอื่น พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรมด้วย ทั้งวาทะของศิษย์อะไรๆ อันชอบด้วยเหตุ ย่อมไม่ประสบข้อน่าตําหนิด้วย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ กินติสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 72

อรรถกถากินติสูตร

กินติสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในกินติสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. บทว่า กุสินารายํ ได้แก่ในมณฑลประเทศที่มีชี่ออย่างนี้ บทว่า พลิหรเณ ความว่า ชนทั้งหลายนําพลีมาเซ่นสรวงภูตทั้งหลายในไพรสณฑ์นั้น เพราะฉะนั้นไพรสณฑ์นั้นจึงเรียกว่า เป็นที่นําพลีมาเซ่นสรวง. บทว่า จีวรเหตุ แปลว่า เพราะเหตุจีวร อธิบายว่า หวังได้จีวร. บทว่า อิติ ภวาภวเหตุ ความว่าพวกเธอได้มีความคิดอย่างนี้หรือว่า พระสมณโคดมแสดงธรรมด้วยความหวังว่า เราจักอาศัยบุญกิริยาวัตถุอันสําเร็จด้วยการแสดงธรรมแล้ว จักได้เสวยสุขในภพนั้นๆ ด้วยประการอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีว่าสติปัฏฐาน ๔ ดังนี้เป็นต้น ทั้งโลกิยะและโลกุตระทีเดียว. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในธรรม ๓๗ ประการนั้น. บทว่า สิยุํ แปลว่า พึงเป็น. บทว่าอภิธมฺเม ได้แก่ ในธรรมอันวิเศษยิ่ง. อธิบายว่า ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเหล่านี้บทว่า ตตฺร เจ แม้นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่า โพธิปักขิยธรรมทั้งหลายเท่านั้น. ในคํานี้ที่ว่า อตฺถโต เจว นานํ พฺยฺชนโต จ นานํดังนี้ เมื่อกล่าวว่า กายสติปัฏฐาน เวทนาสติปัฏฐาน เป็นการต่างกันโดยอรรถแต่เมื่อกล่าวว่า (กาย เวทนา) ในสติปัฏฐาน ดังนี้ ย่อมชื่อว่าต่างกันโดยพยัญชนะ. บทว่า ตทิมินาปิ ความว่า พึงเทียบอรรถและพยัญชนะแล้วชี้ถึงความที่อรรถถือเอาความเป็นอย่างอื่น และพยัญชนะที่ลงไว้ผิดว่า ท่าน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 73

ทั้งหลายจงทราบ (ความต่างกัน) นั้น ด้วยเหตุแม้นี้ อรรถและพยัญชนะเป็นเหตุให้เข้าใจความนั่นแล เป็นธรรมและวินัย ในคําว่า โย ธมฺโม โยวินโย นี้.

ในคําว่า อตฺถโต หิ โข สเมติ นี้ ท่านถือเอาว่าสตินั่นแล เป็นสติปัฏฐาน. บทว่า ต่างกันโดยพยัญชนะความว่า พยัญชนะอย่างเดียวเท่านั้นลงไว้ผิดว่า สติปัฏฐาโน หรือ สติปัฏฐานา ดังนี้. บทว่า อปฺปมตฺตกํ โขความว่า ครั้นพอถึงพระสูตร พยัญชนะย่อมชื่อว่าไม่เป็นประมาณเลย แม้ในการยกพยัญชนะที่มีเสียงเบา ทําให้มีเสียงหนัก (คือพยัญชนะที่เป็นธนิต) อาจกลายเป็นพยัญชนะดับได้. ในข้อนี้ มีเรื่องต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง

ได้ฟังมาว่า พระเถระขีณาสพรูปหนึ่ง อยู่ในวิชยารามวิหาร เมื่อนําเอาพระสูตรมาบอกกรรมฐานแก่พระภิกษุ ๒ รูป กล่าวให้มีเสียงหนักไปว่าภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมกล่าวว่า สมุทธะ สมุทธะดังนี้. ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า อะไร ชื่อสมุทธะขอรับ. พระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุเมื่อกล่าวว่า สมุทธะก็ดี กล่าวว่า สมุทธะก็ดี พวกเราก็ย่อมรู้ว่า (หมายถึง) ทะเลน้ำเค็มนั่นแหละ. ก็พวกเธอไม่ค้นหาเนื้อความ ค้นหาแต่พยัญชนะ พวกเธอจงไปพิสูจน์พยัญชนะ ในสํานักของภิกษุผู้ชํานาญเรื่องพยัญชนะในมหาวิหารเถิด ดังนี้แล้ว ไม่บอกกรรมฐานเลย ลุกไปเสีย. ครั้นต่อมาท่านพระเถระขีณาสพองค์นั้น ให้ตีกลองในมหาวิหาร (เป็นสัญญาณให้มาประชุมกัน) แล้วกล่าวปัญหาในมรรค ๔ แก่หมู่ภิกษุแล้วก็นิพพาน. พอถึงพระสูตร พยัญชนะชื่อว่าไม่เป็นประมาณอย่างนี้.

แต่พอถึงพระวินัย จะชื่อว่าไม่เป็นประมาณไม่ได้. เพราะแม้การบวชเป็นสามเณรต้องบริสุทธิ์ ๒ อย่าง (คืออรรถและพยัญชนะ) จึงจะควร.แม้กรรมมีการอุปสมบทเป็นต้น ก็ย่อมกําเริบได้ ด้วยเหตุเพียงทําเสียงเบา

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 74

ให้เป็นเสียงหนักเป็นต้น. แต่ในที่นี้ท่านกล่าวคํานี้โดยหมายถึงพยัญชนะในพระสูตร.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ในจตุตถวาร กล่าวแย้งกันเพราะเหตุไร? ตอบว่า กล่าวแย้งกันเพราะสัญญาว่า เราย่อมกล่าวสตินั่นแหละว่าสติ-ปัฏฐาน ท่านผู้นี้กล่าวว่า กายสติปัฏฐาน. แม้ในพยัญชนะก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า น โจทนาย โจทิตพฺพํ ได้แก่อย่าเพ่งโจทด้วยความต้องการโจท เพราะบุคคลบางคนถูกเขาพูดทักว่า มีต่อมเท่าเมล็ดผักกาดที่หน้าผาก (ของท่าน) ก็กล่าวว่า ท่านเห็นต่อมเท่าเมล็ดผักกาดที่หน้าผากของเรา (แต่) ไม่เห็นหัวฝีใหญ่เท่าลูกตาลสุกที่หน้าผากของตัว ดังนี้. เพราะฉะนั้นตัวบุคคลควร (จะต้อง) สอบสวน. บทว่า ไม่มีทิฏฐิมั่น คือไม่มีทิฏฐิในการยึดถือ คือไม่ถือมั่น เหมือนใส่จระเข้ไว้ในหัวใจ.

บทว่า อุปฆาโต ความว่าก่อความทุกข์ เพราะความเป็นคนดุเหมือนถูกเสียดสีที่แผล. บทว่า สุปฏินิสฺสคฺคี สละคืนได้ง่าย ความว่าแม้กล่าวหนึ่งวาระสองวาระว่า ผมต้องอาบัติชื่อไร ต้องเมื่อไร ดังนี้ หรือว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว อุปัชฌาย์ของท่านต้องอาบัติแล้ว ดังนี้ แล้วเตือนให้ระลึกว่า ท่านขอรับ ท่านต้องอาบัติชื่อโน้น ในวันชื่อโน้น ท่านจงค่อยๆ นึกเถิด ดังนี้ จักสละได้เพียงนั้นทีเดียว. บทว่า วิเหสา ความลําบากได้แก่ความลําบากกายและใจ ของบุคคลผู้ชักเอาความและเหตุเป็นอันมากมา.บทว่า สกฺโกมิ ความว่า ก็บุคคลเห็นปานนี้ได้โอกาสแล้ว เมื่อใครกล่าวว่าท่านต้องอาบัติแล้วขอรับ จะกล่าวว่าต้องเมื่อไร ในเรื่องอะไร เมื่อเขากล่าว

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 75

ว่า ในวันโน้น ในเรื่องโน้น จะกล่าวว่า ผมนึกไม่ได้ดอกคุณ. แต่นั้นอันคนอื่นกล่าวมากมายให้ระลึกว่า ท่านจงค่อยๆ นึกเถิดขอรับ ดังนี้ พอระลึกได้ก็ย่อมสละเสีย (คือปลงอาบัติ) . เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าสกฺโกมิ ดังนี้ พึงทราบเนื้อความในทุกๆ บทโดยนัยนี้.

บทว่า อุเปกขา นาติมฺิตพฺพา ไม่พึงละเลย อุเบกขาความว่า ไม่พึงล่วงเลยอุเบกขา อธิบายว่า พึงทํา พึงให้อุเบกขาเกิดขึ้น.ก็บุคคลใดแม้เห็นบุคคลปานนี้ ยืนถ่ายปัสสาวะก็พูดว่า ควรนั่งมิใช่หรือคุณดังนี้ บุคคลนั้น ชื่อว่า ล่วงเลยอุเบกขา.

บทว่า วจีสงฺขาโร แปลว่า พูดยุแหย่ อธิบายว่า ชักนําคําที่คนพวกนี้กล่าวในระหว่างคนพวกโน้น ชักนําคําที่คนพวกโน้นกล่าวในระหว่างคนพวกนี้ว่า ท่านทั้งหลายถูกคนพวกนี้กล่าวอย่างนี้ๆ . ตรัสภาวะที่จิตไม่ยินดีด้วยบททั้งหลาย มีอาทิว่า ทิฏิปลาโส ดังนี้. บทว่า ตํ ชานมาโนสมาโน ครเหยฺยความว่า พระบรมศาสดาเมื่อทรงทราบเรื่องนั้นพึงทรงตําหนิพวกเรา. บทว่า เอตํ ปนาวุโส ธมฺมํ ได้แก่ ธรรม คือความทะเลาะเบาะแว้งกันนั้น. บทว่า ตฺเจ ได้แก่ ภิกษุผู้กระทําสัญญัติ (การประกาศให้รู้) รูปนั้น. บทว่า เอวํ พฺยากเรยฺย ความว่า เมื่อจะแสดงเหตุที่ภิกษุกระทําสัญญัติ ไม่พูดว่าภิกษุเหล่านั้น เราให้ตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์แล้วดังนี้ นั่นแหละ พึงพยากรณ์อย่างนี้. สาราณียธรรมท่านหมายว่า ธรรมในคําที่นี้ว่า ตสฺสาหํ ธมฺมํ สุตฺวาดังนี้. ก็ในบทมีอาทิว่า น เจอตฺตานํดังนี้ ภิกษุผู้กล่าวว่า ไฟประมาณเท่าพรหมโลกนี้ ตั้งขึ้นแล้ว เว้นเราเสียใครจะสามารถให้ไฟนั้นดับได้ ดังนี้ ชื่อว่า ยกตน. ภิกษุผู้พูดว่า คน

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 76

ประมาณเท่านี้เทียวพูดกันไปก็ไม่ได้โอกาส ชื่อว่าผู้สามารถจะยังเรื่องราวประมาณเท่านี้ให้ดับลง ย่อมไม่มีแม้สักคนเดียว ดังนี้ ชื่อว่า ข่มคนอื่นภิกษุนี้ย่อมไม่ทําแม้ทั้งสองอย่าง. ก็การพยากรณ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อว่าธรรม ในที่นี้. การกระทําสัญญัติของภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมอันสมควร. ภิกษุนี้ชื่อว่า พยากรณ์ ธรรมอันสมควรแก่ธรรมนั้น คําว่าน จ โกจิ สหธมฺมิโก ความว่า การกล่าวของอาจารย์หรือการกล่าวตามของศิษย์ไรๆ อื่นอันสมแก่เหตุที่ภิกษุนั้นกล่าวด้วยบททั้งหลาย ไม่น่าจะต้องตําหนิ บทที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถากินติสูตรที่ ๓