พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. สุนักขัตตสูตร ว่าด้วยภาวะแห่งอรหัตตผล

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36110
อ่าน  762

[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 107

๕. สุนักขัตตสูตร

ว่าด้วยภาวะแห่งอรหัตตผล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 22]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 107

๕. สุนักขัตตสูตร

ว่าด้วยภาวะแห่งอรหัตตผล

[๖๗] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ก็สมัยนั้น ภิกษุมากรูปทูลพยากรณ์อรหัตตผลในสํานักของ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่ จบแล้ว กิจที่ควรทําได้ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

[๖๘] พระสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ได้ทราบว่า ภิกษุมากรูปได้ทูล พยากรณ์อรหัตตผล ในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําได้ทําเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วถวายอภิวาทพระผู้มี พระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ทราบข่าวดังนี้ว่า ภิกษุมากรูป ได้ทูลพยากรณ์อรหัตตผลในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พวกข้าพระองค์ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทําได้ทําเสร็จแล้ว กิจ อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกภิกษุที่ทูลพยากรณ์ อรหัตตผลในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนั้น ได้ทูลพยากรณ์อรหัตตผล โดยชอบหรือ หรือว่าภิกษุบางเหล่าในพวกนี้ได้ทูลพยากรณ์อรหัตตผล ด้วย ความสําคัญว่าตนได้บรรลุ

[๖๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ พวกภิกษุที่ พยากรณ์อรหัตตผลในสํานักของเราว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําได้ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 108

นี้มิได้มีนั้น มีบางเหล่าในพวกนี้ได้พยากรณ์อรหัตตผลโดยชอบแท้ แต่ก็มี ภิกษุบางเหล่าในที่นี้ได้พยากรณ์อรหัตตผล ด้วยความสําคัญว่า ตนได้บรรลุ ดูก่อนสุนักขัตตะ ในภิกษุเหล่านั้นภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตตผลโดยชอบแท้ นั้น ย่อมมีอรหัตตผลจริงทีเดียว ส่วนในภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตตผลด้วย ความสําคัญว่าตนได้บรรลุนั้น ตถาคตมีความดําริอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่ เธอ ดูก่อนสุนักขัตตะ ในเรื่องนี้ตถาคตมีความดําริว่าจักแสดงธรรมแก่ภิกษุ เหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ แต่ถ้าในธรรมวินัยนี้ มีโมฆบุรุษบางพวกคิดแต่ง ปัญหาเข้ามาถามตถาคต ข้อที่ตถาคตมีความดําริในภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่เธอนั้น ก็จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไป. พระสุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต ขณะนี้เป็น กาลสมควรแล้วๆ ี่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงธรรม ภิกษุทั้งหลายได้ ฟังพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักทรงจําไว้

พ. ดูก่อนสุนักขัตตะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าวต่อไป

พระสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ทูลรับพระดํารัสแล้ว.

[๗๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ กามคุณ นี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่างเป็นไฉน คือ

(๑) รูปที่รู้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็น ที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด

(๒) เสียงที่รู้ด้วยโสตะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็น ที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด

(๓) กลิ่นที่รู้ด้วยฆานะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็น ที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 109

(๔) รสที่รู้ได้ด้วยชิวหาอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็น ที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด

(๕) โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด

ดูก่อนสุนักขัตตะ นี้แลกามคุณ ๕ อย่าง.

[๗๑] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้ น้อมใจไปในโลกามิส นั้นเป็นฐานะที่มีได้แล บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกา มิส ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอัน ควรแก่โลกามิส คบแต่คนชนิดเดียวกัน และใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมี ใครพูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้ง จิตรับรู้ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนคนที่จาก บ้านหรือนิคมของตนไปนาน พบบุรุษใดคนหนึ่งผู้จากบ้านหรือนิคมนั้นไป ใหม่ๆ ต้องถามบุรุษนั้นถึงเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความเกษม ทํามาหากิน ดี และมีโรคภัยไข้เจ็บน้อย บุรุษนั้นพึงบอกเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความ เกษม ทํามาหากินดี และมีโรคภัยไข้เจ็บน้อยแก่เขา ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอ จะสําคัญความข้อนั้น เป็นไฉน เขาจะพึงสนใจฟังบุรุษนั้น เงี่ยโสตสดับ ตั้ง จิตรับรู้ คบบุรุษนั้นและใฝ่ใจกับบุรุษนั้นบ้างไหมหนอ.

สุ. แน่นอน พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่บุรุษบุคคลบางคน ในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไปในโลกามิส นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล บุรุษบุคคล ผู้น้อมใจไปในโลกามิส ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้นย่อมตรึก ย่อม ครองธรรมอันควรแก่โลกามิส คบแต่คนชนิดเดียวกัน และใฝ่ใจกับคนเช่น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 110

นั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติย่อมไม่สนใจฟังไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่า เป็นบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส

[๗๒] ดูก่อนสุนักขัตตะข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็น ผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล บุรุษบุคคลผู้น้อมใจ ไปในอาเนญชสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่อาเนญชสมาบัติเท่านั้น ย่อม ตรึกย่อมตรองธรรมอันควรแก่อาเนญชสมาบัติ คบแต่คนชนิดเดียวกัน และ ใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับโลกามิส ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเสมือนใบไม้เหลือง หลุดจากขั้วแล้ว ไม่อาจเป็นของเขียวสดได้ ฉัน ใด ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในโลกามิส ของบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติหลุดไปแล้ว บุคคลที่เป็นอย่างนี้ พึงทราบเถิดว่า เป็นบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ พรากแล้วจาก ความเกี่ยวข้องในโลกามิส

[๗๓] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้ น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล บุรุษบุคคลผู้ น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติ คบแต่คนชนิดเดียวกัน และใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยว กับอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบ คนชนิดนั้น และไม่ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนศิลาก้อน แตกออกเป็น ๒ ซีกแล้ว ย่อมเชื่อมกันให้สนิทไม่ได้ ฉันใด ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติ ของบุรุษบุคคลผู้น้อม

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 111

ใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติแตกไปแล้ว บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึง ทราบเถิดว่า เป็นบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ พราก แล้วจากความเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติ

[๗๔] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็น ผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล บุรุษ บุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ คบแต่คนเช่นเดียวกัน และใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่ เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบ เหมือนคนบริโภคโภชนะที่ถูกอิ่มหนําแล้วพึงทิ้งเสีย ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอจะ สําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เขาจะพึงมีความปรารถนาในโภชนะนั้นอยู่หรือหนอ

สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า

พ. นั่นเพราะเหตุไร

สุ. เพราะว่าโภชนะโน้น ตนเองรู้สึกว่า เป็นของปฏิกูลเสียแล้ว

พ. ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องใน อากิญจัญญายตนสมาบัติ อันบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติคายเสียแล้ว บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่า เป็นบุรุษบุคคล ผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ พรากแล้วจากความเกี่ยวข้อง ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 112

[๗๕] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี่ เป็นผู้ น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล บุรุษบุคคลผู้น้อม ใจไปในนิพพานโดยชอบ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่นิพพานโดยชอบเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่นิพพานโดยชอบ คบแต่คนเช่นเดียวกัน ใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับเนวสัญญานาสัญญายตน สมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนตาลยอดด้วนไม่อาจงอกงามได้อีก ฉันใด ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อันบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบตัด ขาดแล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ไม่มีเหตุทั้งอยู่ได้ดังต้นตาล เป็นไปไม่ได้แล้ว มี ความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่าเป็น บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ พรากแล้วจากความเกี่ยวข้องใน เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ

[๗๖] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความ ดําริอย่างนี้ว่า พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา ย่อมกําเริบด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กําจัด โทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้วจึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่น เป็นฐานะที่มีได้แล สิ่งที่เป็นผลเบื้องต้นพึงมีได้อย่างนี้ คือ เธอประกอบ เนืองๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ได้ แก่ประกอบเนืองๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ประกอบเนืองๆ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบาย ด้วยฆานะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งรสอัน ไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ประกอบเนืองๆ ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่ เป็นที่สบายด้วยมโน เมื่อเธอประกอบเนืองๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 113

สบายด้วยจักษุ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะ ซึ่งกลิ่นอันไม่ เป็นที่สบายด้วยฆานะ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ซึ่งโผฏฐัพพะ อันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ซึ่งธรรมารมณ์อัน ไม่เป็นที่สบายด้วยมโนแล้ว ราคะพึงตามกําจัดจิต เธอมีจิตถูกราคะตามกําจัดแล้ว พึงตาย หรือทุกข์ปาง ตาย เปรียบเหมือนบุรุษถูกลูกศรที่มียาพิษอาบไว้อย่างหนาแล้ว มิตรสหาย ญาติสาโลหิตของเขาให้หมอผ่าตัดรักษา หมอผ่าตัดใช้ศัสตราแหละปากแผล ของเขา ครั้นแล้วใช้เครื่องตรวจค้นหาลูกศรแล้วถอนลูกศรออก กําจัดโทษ คือพิษที่ยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ จนรู้ว่าไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่ จึงบอกอย่างนี้ว่า พ่ออมหาจําเริญ เราถอนลูกศรให้ท่านเสร็จแล้ว โทษคือพิษเราก็กําจัดจนไม่มี เชื้อเหลือติดอยู่แล้ว ท่านหมดอันตราย และพึงบริโภคโภชนะที่สบายได้ เมื่อ ท่านบริโภคโภชนะที่แสลง ก็อย่าให้แผลต้อกําเริบและท่านต้องชะแผลตาม เวลา ทายาสมานปากแผลตามเวลา เมื่อท่านชะแผลตามเวลา ทายาสมาน ปากแผลตามเวลา อย่าให้น้ำเหลืองและเลือดรัดปากแผลได้ และท่านอย่าเที่ยว ตากลมตากแดดไปเนืองๆ เมื่อท่านเที่ยวตากลมไปเนืองๆ แล้วก็อย่าให้ละออง และของสกปรกติดตามทําลายปากแผลได้ พ่อมหาจําเริญ ท่านต้องคอยรักษา แผลอยู่จนกว่าแผลจะประสานกัน บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า หมอถอนลูกศร ให้เราเสร็จแล้ว โทษคือพิษ หมอก็กําจัดจนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้ว เราหมด อันตราย เขาจึงบริโภคโภชนะที่แสลง เมื่อบริโภคโภชนะที่แสลงอยู่ แผลก็ กําเริบ และไม่ชะแผลตามเวลา ไม่ทายาสมานปากแผลตามเวลา เมื่อเขาไม่ ชะแผลตามเวลา ไม่ทายาสมานปากแผลตามเวลา น้ำเหลืองและเลือดก็รัด ปากแผล และเขาเที่ยวตากลม ตากแดด ไปเนืองๆ เมื่อเขาเที่ยวตากลม ตากแดดไปเนืองๆ แล้ว ปล่อยให้ละอองและของสกปรกติดตามทําลายปาก แผลได้ ไม่คอยรักษาแผลอยู่ จนแผลประสานกันไม่ได้ เพราเขาทําสิ่งที่

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 114

แสลงนี้แลแผลจึงถึงความบวมได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ไม่กําจัดของไม่ สะอาดและโทษคือพิษอันยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ เขามีแผลถึงความบวมแล้ว พึง เข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตายได้ ฉันใด ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้น เหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความดําริอย่างนี้ว่า พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล โทษอันเป็นพิษคืออวิชชาย่อมงอกงามได้ ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กําจัดโทษอัน เป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็น ฐานะที่มีได้ สิ่งที่เป็นแผลเบื้องตันพึงมีได้อย่างนี้ คือเธอประกอบเนืองๆ ซึ่ง อารมณ์ไม่เป็นที่สบายของใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ได้แก่ประกอบ เนืองๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ประกอบเนืองๆ ซึ่งเสียง อันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วย ฆานะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ประกอบเนืองๆ ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมารมณ์อัน ไม่เป็นที่สบายด้วยมโน เมื่อเธอประกอบเนืองๆ ซึ่งกาวะเห็นรูปอันไม่เป็น ที่สบายด้วยจักษุ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่ สบายด้วยฆานะ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็น ที่สบายด้วยกาย ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโนแล้ว ราคะพึงตาม กําจัดจิต เธอมีจิตถูกราคะตามกําจัดแล้ว พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย

ดูก่อนสุนักขัตตะ ก็ความตายนั้นวินัยของพระอริยะ ได้แก่ลักษณะ ที่ภิกษุบอกคืนสิกขาแล้วเวียนมาเพื่อหีนเพศ ส่วนทุกข์ปางตายนี้ ได้แก่ลักษณะ ที่ภิกษุต้องอาบัติมัวหมองข้อใดข้อหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 115

[๗๗] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความ ดําริอย่างนี้ว่า พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา ย่อมงอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กําจัดโทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้วจึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล เมื่อใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบนั่นแล เธอไม่ ประกอบเนืองๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจอันน้อมไปในนิพพานโดย ชอบแล้ว ได้แก่ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่ง กลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบาย ด้วยชิวหา ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ไม่ ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโน เมื่อเธอไม่ประกอบ เนืองๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบาย ด้วยโสตะ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วย ชิวหา ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่ สบายด้วยมโน ราคะก็ไม่ตามกําจัดจิต เธอมีจิตไม่ถูกราคะตามกําจัดแล้ว ไม่พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย เปรียบเหมือนบุรุษถูกลูกศรมียาพิษ อาบไว้อย่างหนาแล้ว มิตร อํามาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาให้หมอผ่าตัดรักษา หมอผ่าตัดใช้ศัสตราชําแหละปากแผลของเขา ครั้นแล้วใช้เครื่องตรวจค้นหา ลูกศร แล้วถอนลูกศรออก กําจัดโทษคือพิษที่ยังมีเธอเหลือติดอยู่ จนรู้ว่า ไม่มีเธอเหลืออยู่ จึงบอกอย่างนี้ว่า พ่อมหาจําเริญ เราถอนลูกศรให้ท่าน เสร็จแล้ว โทษคือพิษเราก็กําจัดจนไม่มีเธอเหลือติดอยู่ แล้วท่านหมดอันตราย และพึงบริโภค. โภชนะที่สบายได้ เมื่อท่านจะบริโภคโภชนะที่แสลงก็อย่าให้แผล ต้องกําเริบ และท่านต้องชะแผลตามเวลา ทายาสมานปากแผลตามเวลา เมื่อ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 116

ท่านชะแผลตามเวลา ทายาสมานปากแผลตามเวลา อย่าให้น้ำเหลืองและเลือด รัดปากแผลได้ และท่านอย่าเที่ยวตากลมตากแดดไปเนืองๆ เมื่อท่านเที่ยว ตากลมตากแดดไปเนืองๆ แล้ว ก็อย่าให้ละอองและของโสโครกติดตามทําลาย ปากแผลได้ พ่อมหาจําเริญ ท่านต้องคอยรักษาแผลอยู่จนกว่าแผลจะประสาน กัน บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ หมอถอนลูกศรให้เราเสร็จแล้ว โทษคือพิษ หมอก็กําจัดจนไม่มีเชื้อติดอยู่แล้ว เราหมดอันตราย เขาจึงบริโภคโภชนะที่ สบาย เมื่อบริโภคโภชนะที่สบายอยู่ แผลก็ไม่กําเริบ และชะแผลทุกเวลา ทายาสมานปากแผลทุกเวลา เมื่อเขาชะแผลทุกเวลา ทายาสมานปากแผลทุก เวลา น้ำเหลืองและเลือดก็ไม่รัดปากแผล และเขาไม่เที่ยวตากลมตากแดดไป เนืองๆ เมื่อเขาไม่เที่ยวตากลมตากแดดไปเนืองๆ ละอองและของสกปรกก็ไม่ ติดตามทําอันตรายปากแผล เขาคอยรักษาแผลอยู่ จนแผลหายประสานกัน เพราะเขาทําสิ่งที่สบายนี้แล แผลจึงหายได้ด้วย ๒ ประการคือ กําจัดของไม่ สะอาด และโทษคือพิษจนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้ว เขามีแผลหาย ผิวหนัง สนิทแล้วจึงไม่พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย ฉันใด ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความดําริอย่างนี้ว่า พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา ย่อมกําเริบ ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหาได้แล้ว กําจัดโทษอันเป็น พิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็นฐานะ ที่มิได้ เมื่อใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบอยู่นั่นแล เธอไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจ อันน้อมไปในนิพพานโดยชอบแล้ว ได้แก่ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ไม่ประกอบ เนืองๆ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่ง กลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบาย

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 117

ด้วยชิวหา ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ไม่ ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโน เมื่อเธอไม่ประกอบ เนืองๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่ สบายด้วยโสตะ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่ สบายด้วยชิวหา ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ซึ่งธรรมารมณ์อัน ไม่เป็นที่สบายด้วยมโนแล้ว ราคะก็ไม่ตามกําจัดจิต เธอมีจิตไม่ถูกราคะตาม กําจัดแล้ว ไม่พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย.

ดูก่อนสุนักขัตตะ เราอุปมาเปรียบเทียบดังนี้ เพื่อให้รู้เนื้อความใน อุปมานี้ คําว่าแผล เป็นชื่อของอายตนะภายใน โทษคือพิษ เป็นชื่อของ ตัณหา เครื่องตรวจเป็นชื่อของสติ ศัสตราเป็นชื่อของปัญญาของพระอริยะ หมอผ่าตัดเป็นชื่อของตถาคตผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว ดูก่อน สุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุนั้นทําความสํารวมในอายตนะอันเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วใน ธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ เปรียบเหมือนภาชนะมีน้ำดื่มเต็มเปียม ถึงพร้อมด้วยสี ด้วยกลิ่น ด้วยรสแต่ ระคนด้วยยาพิษ เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนาสุข เกลียด ทุกข์ พึงมาพบเข้า ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษ นั้นจะพึงดื่มน้ำที่เต็มเปียมภาชนะนั้นทั้งๆ ที่รู้ว่า ดื่มแล้วจะเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ

สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า

[๗๘] พ. ดูก่อนสุนักขัตตะฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุนั้นทํา ความสํารวมในอายตนะอันเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้า

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 118

แห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จัก น้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ดูก่อนสุนักขัตตะ เปรียบเหมือนงูพิษ มีพิษร้ายแรง เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนา สุข เกลียดทุกข์ พึงมาพบเข้า ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอจะสําคัญความข้อนั้น เป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงยื่นมือหรือหัวแม่มือให้แก่งูพิษ ที่มีพิษร้ายแรงนั้น ทั้งๆ ที่รู้ว่าถูกงูกัดแล้ว จะถึงตาย หรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ

สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า

[๗๙] พ. ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุนั้นทํา ความสํารวมในอายตนะเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้า แห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว พระสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล

จบ สุนักขัตตสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 119

อรรถกถาสุนักขัตตสูตร

สุนักขัตตสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ ดังนี้

พึงทราบวินิจฉัยในสุนักขัตตสูตรนั้นดังต่อไปนี้. พระอรหัตชื่อว่า อัญญา. บทว่า พฺยากตา ความว่า อัญญาคือ พระอรหัต ท่านกล่าวด้วยบท ทั้ง ๔ มีอาทิว่า อธิมาเนน ความว่า เป็นผู้มีความสําคัญธรรมที่ตนยังไม่ถึง ว่าถึงแล้ว มีความสําคัญผิดว่า พวกเราได้บรรลุแล้วดังนี้.

บทว่า เอวํ เอตฺก สุนกฺขตฺต ตถาคตสฺส โหติ ความว่า ดูก่อน สุนักขัตตะในการที่พวกภิกษุเหล่านี้ พยากรณ์พระอรหัตนี้ ตถาคตมีความดําริ อย่างนี้ว่า ฐานะนี้ยังไม่แจ่มแจ้ง ยังมืดอยู่สําหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยเหตุภิกษุเหล่านั้นจึงเป็นผู้มีความสําคัญในธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุแล้ว เอาเถิดเราตถาคตแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ทําให้บริสุทธิ์ให้ปรากฏ. บทว่า อถ จ ปนีเธกจฺเจฯปฯ ตสฺส โหติ อฺถตฺตํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่พวกภิกษุผู้ปฏิบัติในเรื่องที่มีโมฆบุรุษบางพวก ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเห็นว่าโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนปัญหานี้แล้ว ไม่รู้เลย ก็ทําเหมือนรู้ เมื่อยังไม่ถึงก็สําคัญว่าถึง จักเที่ยวโพนทนา คุณวิเศษไปในตามนิคมเป็นต้น ข้อนั้นก็จักไม่เป็นประโยชน์ จักเป็นทุกข์แก่ โมฆบุรุษเหล่านั้นตลอดกาลนาน. พระดําริที่เกิดขึ้นแต่พระตถาคตว่า เราจัก แสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ ย่อมจะเปลี่ยนแปลงไป เพราะเหตุที่พวก โมฆบุรุษตั้งอยู่ในอิจฉาจารด้วยอาการอย่างนี้ ทรงหมายเอาข้อความนั้นจึงได้ ตรัสคํานี้

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 120

บทว่า โลกามิสาธิมุตฺโต ความว่า น้อมไป คือโน้มไป โอนไป เงื้อมไป ในกามคุณ ๕ อันเป็นเหยื่อล่อของวัฏฏะ เป็นเหยื่อล่อของกามและ เป็นเหยื่อล่อของโลก. บทว่า ตปฺปฏิรูปี ได้แก่มีกามคุณเป็นสภาวะ. บทว่า อาเนฺชปฏิสํยุตฺตาย แปลว่า เกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ. บทว่า สํ เสยฺย แปลว่า พึงกล่าว. บทว่า อาเนญิชสํ โยชนน หิ โข วิสํยุตฺโต ได้แก่ ไม่คลุกคลีด้วยการเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติ. บทว่า โลกามิสาธิมุตฺโต ความว่า ก็พระเถระเห็นปานนี้ ครองจีวรปอนๆ ถือบาตรดินไปยังปัจจันตชนบทกับพระที่เหมือนกับคน ๒ - ๓ รูป ในเวลาเข้าบ้านไปบิณฑบาต พวกมนุษย์เห็นแล้ว พากันกล่าวว่า ท่านผู้ถือมหาบังสุกุลมาแล้ว ต่างก็ตระเตรียม ข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้น ถวายทานโดยเคารพ. เมื่อท่านฉันเสร็จ ได้ฟัง อนุโมทนาแล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ถึงวันพรุ่งนี้ก็ขอนิมนต์ท่านเข้ามา บิณฑบาตในที่นี้แหละ. พระเถระกล่าวว่าอย่าเลยอุบาสกทั้งหลาย แม้วันนี้ ท่านก็ถวายมากแล้ว. ชนทั้งหลายกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าอย่างนั้นขอท่านทั้ง หลายพึงอยู่ในที่นี้ตลอดพรรษาดังนี้ ให้พระเถระรับนิมนต์แล้วถามทางไปยัง วิหาร. ภิกษุทั้งหลายถือเสนาสนะในวิหารนั้นแล้ว เก็บบาตรและจีวร. ใน เวลาเย็น ภิกษุเจ้าถิ่นรูปหนึ่งได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านเที่ยวบิณฑบาต ที่ไหน พระอาคันตุกะ ตอบว่า ในบ้านโน้น. ถามว่า ภิกษาสมบูรณ์ หรือ ตอบว่า สมบูรณ์ขอรับ มนุษย์ทั้งหลายมีศรัทธาเห็นปานนี้ยังมีอยู่. ถามว่า คนเหล่านั้นจะเป็นเช่นนี้ เฉพาะวันนี้หรือหนอ หรือเป็นเช่นนี้ เป็นนิจเลย ตอบว่า มนุษย์เหล่านั้นมีศรัทธาเช่นนี้เป็นนิจ วิหารนี้อาศัยคน เหล่านั้นเท่านั้นจึงเจริญดังนี้ ต่อแต่นั้น พวกภิกษุผู้ถือปังสุกูลิกจีวรกังคธุดงค์ เหล่านั้น กล่าวสรรเสริญคุณของคนเหล่านั้นบ่อยๆ กล่าวตลอดหมดทั้งวัน แม้กลางคืนก็กล่าว. ด้วยเหตุมีประมาณเพียงนี้ ศีรษะของผู้ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 121

ก็หลุดไป ต้องก็แตก. พึงทราบบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส ด้วยประการ ฉะนี้

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงบุคคลผู้ได้อาเนญชสมาบัติ ผู้สําคัญผิด จึง ตรัสว่า านํ โข ปน ดังนี้เป็นต้น. บทว่า อาเนฺชาธิมุตฺตสฺส ความ ว่า ผู้น้อมไป คือโน้มไป โอนไป เงื้อมไปในสมาบัติ ๖ มีในเบื้องต่ําอัน เว้นจากเครื่องหวั่นไหว คือกิเลสะ บทว่า เส ปวุตฺเต แปลว่า นั้นหลุดไป แล้ว. เพราะอามิส คือ กามคุณ ๕ ย่อมปรากฏแก่ผู้ได้สมาบัติ ๖ ผู้สําคัญผิด เหมือนใบไม้เหลืองหลุดจากขั้วฉะนั้น. ด้วยเหตุนี้จึงตรัสคํานั้น

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงถึงความลําบาก ของผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติซึ่งสําคัญผิด จึงตรัสคําว่า านํ โข ปน ดังนี้เป็นต้น. บรรดา บทเหล่านั้น บทว่า เทวฺธา ภินฺนา (แตก ๒ ซีก) ได้แก่แตกตรงกลาง (หักกลาง) . บทว่า อปฺปฏิสนฺธิกา ความว่า หินก้อนเล็ก ขนาดหลังแผ่น หินอาจยาต่อให้ติดกันด้วยชันหรือยางเหนียว. แต่ท่านหมายเอาหินก้อนใหญ่ ขนาดเท่าเรือนยอด จึงกล่าวคํานี้ . บทว่า เส ภินฺนา ได้แก่ ภินฺนํ แปล ว่า มันแตกแล้ว เบื้องต่ําย่อมเป็นเหมือนหินแตกออก ๒ ซีก (หัก ๒ ท่อน) สําหรับผู้ได้สมาบัติสูงขึ้นไป. ย่อมไม่เกิดความคิดว่า เราจักเข้าสมาบัตินั้นดัง นี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสคํานั้น . บทว่า อาเนฺชสฺโชเนหิ วิสํยุตฺโต ความว่า คลุกคลีด้วยการประกอบในอาเนญชสมาบัติ.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงความลําบากของท่านผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติผู้สําคัญผิด จึงตรัสว่า านํ โข ปน ดังนี้เป็นต้น. ใน บทเหล่านั้น บทว่า เส วนฺเต ได้แก่ ความเกี่ยวข้องในอากิญจัญญายตนะ นั้น อันผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติตายแล้ว เกิดขึ้น จริงอยู่ สมาบัติ เบื้องต่ํา ย่อมปรากฏเป็นเหมือนตายแล้ว สําหรับผู้ได้สมาบัติ ๘ ย่อมไม่เกิด

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 122

ความคิดว่า เราจักเข้าสมาบัติอีก ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสคํา (ว่า เส วนฺเต) นั้น.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความลําบากของพระขีณาสพ จึงตรัสว่า านํ โข ปน ดังนี้เป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เส อุจฺฉินฺเน ได้แก่ ความเกี่ยวข้องในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้นอันผู้น้อมใจไปใน พระนิพพานโดยชอบ ตัดขาดแล้ว. เพราะสมาบัติเบื้องต่ํา ย่อมปรากฏเหมือน ตาลรากขาด. สําหรับผู้ได้สมาบัติเบื้องสูง ย่อมไม่เกิดความคิดที่ว่า เราจัก เข้าสมาบัตินั้น ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสคํานี้

คําว่า านํ โข ปเนตํ จ ดังนี้ เป็นอนุสนธิอันหนึ่ง จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความลําบากของท่านผู้ได้สมาบัติ ทั้งที่สําคัญผิดทั้งที่ เป็นพระขีณาสพไว้ในหนหลัง. แต่สําหรับท่านที่เป็นสุกขวิปัสสก ทั้งที่สําคัญผิด ทั้งที่เป็นพระขีณาสพ มิได้ตรัสไว้. เพื่อทรงแสดงความลําบาก แห่งท่านแม้ ทั้งสอง (คือผู้ได้สมาบัติและสุกขวิปัสสก) เหล่านั้นจึงทรงเริ่มเทศนานี้ ก็คํา นี้นั้นท่านคัดค้าน เพราะเมื่อกล่าวความลําบากของท่านผู้ได้สมาบัติ ที่สําคัญผิด ย่อมเป็นอันกล่าว สําหรับท่านที่เป็นสุกขวิปัสสก ทั้งท่านที่สําคัญผิด และ เมื่อกล่าวความลําบากของท่านผู้ได้สมาบัติที่เป็นพระขีณาสพ ก็เป็นอันกล่าว สําหรับท่านที่เป็นสิกขวิปัสสกแม้ที่เป็นพระขีณาสพด้วย. แต่เพื่อจะตรัส สัปปายะและอสัปปายะของภิกษุทั้งสองเหล่านั้น จึงทรงเริ่มเทศนานี้. ในข้อนั้น พึงมีอธิบายดังต่อไปนี้. สําหรับปุถุชน อารมณ์ยังไม่เป็นสัปปายะ ก็ช่างเถอะ แต่สําหรับพระขีณาสพอย่างไรจึงไม่เป็นสัปปายะเล่า? ไม่เป็นสัปปายะ แก่ปุถุชนด้วยอารมณ์ใด ก็ไม่เป็นสัปปายะเลยแม้แก่พระขีณาสพ แม้ด้วย อารมณ์นั้น. ขึ้นชื่อว่ายาพิษ รู้แล้วกินก็ตาม ก็คงเป็นยาพิษอยู่นั่นเอง. อันพระขีณาสพจะพึงเป็นผู้ไม่สังวร เพราะคิดว่าเราเป็นพระขีณาสพ ดังนี้ ก็หา ไม่ แม้พระขีณาสพก็ควรจะเป็นผู้ขะมักเขม้นจึงจะควร

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 123

ในบทเหล่านั้น บทว่า สมเณน ได้แก่ พุทธสมณะ. บทว่า ฉนฺทราคพฺยาปาเทน ความว่า โทษอันเป็นพิษ คือ อวิชชานั้น ย่อม แปรปรวน ย่อมกําเริบด้วยฉันทราคะ และพยาบาท. บทว่า อสปฺปายานิ ได้แก่อารมณ์ที่ไม่เจริญใจ. บทว่า อนุทธํ เสยฺย ได้แก่ พึงทําให้ร่วงโรย คือให้เหี่ยวแห้ง. บทว่า สอุปาทิเสสํ ได้แก่ สิ่งที่ยึดถือเป็นส่วนเหลือ ก็ สิ่งที่พึงยึดมั่น คือสิ่งที่ยึดถือนี้ท่านเรียกว่า อุปาทิ. บทว่า อลํ จ เต อนฺตภยาย ความว่าไม่สามารถทําอันตรายแก่ชีวิตของท่าน. ธุลีและละออง มีละอองข้าวเปลือกเป็นต้น ชื่อว่า รโชสุกํ บทว่า อสุจิวิสโทโส ได้แก่ โทษอันเป็นพิษนั้นด้วย. บทว่า ตทุภเยน ได้แก่ ด้วยกิริยาอันไม่เป็น สัปปายะ และโทษอันเป็นพิษทั้งสองนั้น. บทว่า ปุถุตฺตํ ได้แก่ ความ เป็นแผลใหญ่.

ในคําว่า เอวเมว โข นี้ พึงเห็นโทษอันมีพิษ คือ อวิชชาที่ยัง ละไม่ได้ เหมือนการถอนลูกศรอันมีเชื้อ พึงเห็นเวลาที่ไม่สํารวมในทวารทั้ง ๖ เหมือนภาวะคือการทรงอยู่ แห่งกิริยาอันไม่สบาย การบอกคืนสิกขาแล้ว เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว เหมือนการตาย เพราะแผลบวมขึ้นด้วยเหตุ ๒ ประการนั้น พึงเห็นการต้องอาบัติหนัก เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือน ทุกข์ปางตาย. แม้ในฝ่ายขาว. พึงทราบการเปรียบเทียบด้วยความอุปมา โดย นัยนี้แหละ

สติในคําว่า สติยา เอตํ อธิวจนํ นี้มีคติเหมือนปัญญา โลกิยปัญญา ย่อมมีได้ด้วยปัญญาอันเป็นโลกิยะ โลกุตรปัญญาย่อมมีได้ด้วยปัญญา อันเป็นโลกุตระ บทว่า อริยาเยตํ ปฺาย ได้แก่ วิปัสสนาปัญญา อันบริสุทธิ์

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 124

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงกําลังของพระขีณาสพ จึงตรัสคําว่า โส วต ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า สํวุตการี ได้แก่ผู้มีปกติปิด. บทว่า อิติ วิทิตฺวา นิรุปธิ ความว่า เพราะรู้อย่างนี้แล้วละอุปธิคือกิเลส ย่อมเป็น ผู้ไม่มีอุปธิ อธิบายว่า ย่อมเป็นผู้ไม่มีอุปาทาน. บทว่า อุปธิสงฺขเย วิมุตฺโต ความว่า น้อมไปแล้วโดยอารมณ์ในพระนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิทั้ง หลาย. บทว่า อุปธิสฺมึ ได้แก่ในอุปธิคือกาม. บทว่า กายํ อุปสํ หริสฺสติ ความว่า จักยังกายให้ติดอยู่. ท่านอธิบายว่า ข้อที่พระขีณาสพพ้นแล้วด้วย อารมณ์ในนิพพานอันเป็นที่สิ้นตัณหา จักน้อมกายเข้าไปหรือจักยังจิตให้เกิด ขึ้น เพื่อเสพกามคุณ ๕ นั่น มิใช่ฐานะที่จะมีได้. คําที่เหลือในทุกแห่งง่าย ทั้งนั้นแล

จบ อรรถกถาสุนักขัตตสูตรที่ ๕