๖ อาเนญชสัปปายสูตร ว่าด้วยปฏิปทาส่วนโลกิยะและโลกุตระ
[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 125
๖ อาเนญชสัปปายสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาส่วนโลกิยะและโลกุตระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 22]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 125
๖ อาเนญชสัปปายสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาส่วนโลกิยะและโลกุตระ
[๘๐] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่นิคมชื่อกัมมาสธรรมของชาวกุรุ ในแคว้นกุรุ. สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดํารัสแล้ว.
[๘๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามไม่เที่ยง เป็นของว่างเปล่า เลือนหายไปเป็นธรรมดา ลักษณะของกามดังนี้ ได้ทําความล่อลวงเป็นที่บ่นถึงของคนพาล กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้าทั้งสองอย่างนี้ เป็นแก่งแห่งมาร เป็นวิสัยแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นโคจรของมาร บาปอกุศลทางใจเหล่านี้ คือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง เป็นอยู่ในกามนี้ กามนั่นเอง ย่อมเป็นอันตรายแก่อริยสาวก ผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้.
[๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นในเรื่องกามนั้นดังนี้ว่า กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า ทั้งสองอย่างนี้ เป็นแก่งแห่งมาร เป็นวิสัยแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นโคจรของมาร บาปอกุศลทางใจเหล่านี้คืออภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง เป็นไปอยู่ในกามนี้ กามนั่นเองย่อมเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้ ถ้ากระไรเราพึงมีจิตเป็นมหัคคตะอย่างไพบูลย์ อธิษฐานใจครอบโลกอยู่ เพราะเมื่อเรามีจิตเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 126
มหัคคตะอย่างไพบูลย์ อธิษฐานใจครอบโลกอยู่ บาปอกุศลทางใจ คืออภิชฌาก็ดี พยาบาทก็ดี สารัมภะก็ดี นั้นจักไม่มี เพราะละอกุศลเหล่านั้นได้ จิตของเราที่ไม่เป็นกามาวจรนั่นแหละ จักกลายเป็นจิตหาประมาณมิได้ อันเราอบรมดีแล้ว เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใสก็จะเข้าถึงอาเนญชสมาบัติหรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายข้อที่ ๑
[๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ ซึ่งกามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า ซึ่งรูปบางชนิดและรูปทั้งหมด คือ มหาภูต ๔และรูปอาศัยมหาภูตทั้ง ๔ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ด้วยประการนี้เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใสก็จะเข้าถึงอาเนญชสมาบัติหรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายข้อที่ ๒
[๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า. รูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งทีมีในภพภายหน้า ทั้งสองอย่างนี้ เป็นของไม่เที่ยงสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น ไม่ควรยินดี ไม่ควรบ่นถึง ไม่ควรติดใจ เมื่ออริยสาวก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 127
นั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะเมื่อมีความผ่องใสก็จะเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภาพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายข้อที่ ๓
[๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า รูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้าและรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และอาเนญชสัญญาทั้งหมดนี้ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ใด ที่นั้นคืออากิญจัญญายตนะอันดีประณีต เมื่ออริยสาวกปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใสก็จะเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงภพอากิญจัญญายตนะ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายข้อที่ ๑
[๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง อริยสาวกอยู่ในป่าก็ดีอยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า สิ่งนี้ว่างเปล่าจากตนหรือจากความเป็นของตน เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใสก็จะเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงภพอากิญจัญญายตนะนั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายข้อที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 128
[๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราไม่มีในที่ไหนๆ สิ่งน้อยหนึ่งของใครๆ หามีในเรานั้นไม่ และสิ่งน้อยหนึ่งของเราก็หามีในที่ไหนๆ ไม่ ในใครๆ ย่อมไม่มีสิ่งน้อยหนึ่งเลยเมื่ออริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงภพอากิญจัญญายตนะ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอากิญจัญญายตนะ สมาบัติเป็นที่สบายข้อที่ ๓
[๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และกามสัญญา ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า. รูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้าอยู่ และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และอาเนญชสัญญา อากิญจัญญายตนสัญญา สัญญาทั้งหมดนี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ใด ที่นั่นคือเนวสัญญานาสัญญายตนะอันดี ประณีต เมื่ออริยสาวกปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใสก็จะเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงภพเนวสัญญานาสัญญายตนะ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบาย.
[๙๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ย่อมได้อุเบกขาโดยเฉพาะ ด้วยคิดว่า สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา และจักไม่มีแก่เรา เราจะละสิ่งที่กําลังมีอยู่ และมีมาแล้วนั้นๆ เสีย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 129
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนั้นพึงปรินิพพานหรือหนอ หรือว่าไม่พึงปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุบางรูปพึงปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี บางรูปไม่พึงปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี.
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ภิกษุบางรูปปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี บางรูปไม่ปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี.
[๙๐] พ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ย่อมได้อุเบกขาโดยเฉพาะด้วยคิดว่า สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา และจักไม่มีแก่เรา เราจะละสิ่งที่กําลังมีอยู่ และมีมาแล้วนั้นๆ เสีย เธอยินดีบ่นถึง ติดใจอุเบกขานั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี บ่นถึง ติดใจอุเบกขานั้นอยู่วิญญาณย่อมเป็นอันอาศัยอุเบกขานั้น ยึดมั่น อุเบกขานั้น ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้มีความยึดมั่นอยู่ ย่อมปรินิพพานไม่ได้.
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา จะเข้าถือเอาที่ไหน.
พ. ดูก่อนอานนท์ ย่อมเข้าถือเอาเนวสัญญานาสัญญายตนภพ.
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอทราบว่า ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา ชื่อว่าย่อมเข้าถือเอาแดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาหรือ.
พ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา ย่อมเข้าถือเอาแดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาได้ ก็แดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาได้นี้คือเนวสัญญานาสัญญายตนะ.
[๙๑] ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ย่อมได้เฉพาะอุเบกขาด้วยคิดว่า สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา และจักไม่มีแก่เรา เราจะละสิ่งที่กําลังมีอยู่ และมีมาแล้วนั้นๆ เสีย เธอไม่ยินดี ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจอุเบกขานั้นอยู่ เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจอุเบกขานั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 130
อยู่ วิญญาณก็ไม่เป็นอันอาศัยอุเบกขานั้น และไม่ยึดมั่น อุเบกขานั้น ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ไม่มีความยึดมั่น ย่อมปรินิพพานได้.
อา. น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธเจ้าข้า ไม่น่าเป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า อาศัยเหตุนี้ เป็นอันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะแก่พวกข้าพระองค์แล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิโมกข์ของพระอริยะเป็นไฉน.
[๙๒] พ. ดูก่อนอานนท์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ ซึ่งกามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า ซึ่งรูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้าและรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า ซึ่งอาเนญชสัญญาซึ่งอากิญจัญญายตนสัญญา ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ซึ่งสักกายะเท่าที่มีอยู่นี้ซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น ดูก่อนอานนท์ ด้วยประการนี้แล เราแสดงปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว เราแสดงปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว เราแสดงปฏิปทามีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้วอาศัยเหตุนี้ เป็นอันเราแสดงปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะ คือวิโมกข์ของพระอริยะแล้ว ดูก่อนอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลผู้อนุเคราะห์ อาศัยความอนุเคราะห์พึงทําแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราทําแล้วแก่พวกเธอ ดูก่อนอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่างเธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังนี้เป็นคําพร่ําสอนของเราแก่พวกเธอ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสุภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ อาเนญชสัปปายสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 131
อรรถกถาอาเนญชสัปปายสูตร
อาเนญชสัปปายสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. บทว่า อนิจฺจา คือชื่อว่าไม่เทียง เพราะอรรถว่ามีแล้วกลับไม่มี. บทว่า กามา หมายถึงวัตถุกามบ้าง กิเลสกามบ้าง. บทว่า ตุจฺฉา คือ ชื่อว่าว่างเปล่า เพราะเว้นจากแก่นสาร คือ ความเที่ยง ความยั่งยืน และความเป็นตัวตน แต่ไม่ควรถือว่าไม่มี ท่านอธิบายว่า เพราะเมื่อพูดว่า กํามือเปล่า ชื่อว่ากํามือไม่มี หามิได้. ก็สภาวะอันใด ไม่มีอะไรๆ ในภายใน สภาวะอันนั้นเรียกว่า ว่างเปล่า. บทว่า มุสา แปลว่า หายไป. บทว่า โมสธมฺมา ความว่า มีการหายไปเป็นสภาวะ คือ ไม่ปรากฏ เหมือนนา เหมือนสวน และเหมือนเงินทอง ที่หายไป ไม่ปรากฏเหมือนเห็นในฝัน ๒ - ๓ วันก็หายไป ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า มีการหายไปเป็นธรรมดา. บทว่า มายากตเมตํ ความว่า ย่อมปรากฏ เหมือนท่าน้ำให้เห็นเป็นแก้วมณี ทําใบพุทราให้เห็นเป็นกหาปณะก็หรือสิ่งอื่นๆ เมื่อคนยืนใกล้ๆ มองดูสิ่งเห็นปานนั้น ของก็จะปรากฏเหมือนอย่างนั้น แต่เมื่อเลยที่ใกล้ไป สิ่งนั้นๆ ก็ปรากฏเป็นปกติอย่างเดิม. แม้กามทั้งหลายก็อย่างนั้นเหมือนกัน ท่านกล่าวว่า ทําความลวง เพราะอรรถว่าปรากฏเป็นอีกอย่างหนึ่ง. อีกอย่างหนึ่ง นักเล่นกล เอาน้ำเป็นต้น มาแสดงลวงโดยทําให้เห็นเป็นแก้วมณีเป็นต้น ฉันใด แม้กามทั้งหลายก็ฉันนั้นแสดงลวงสภาวะที่ไม่เที่ยงเป็นต้น โดยให้เห็นว่า เที่ยง เป็นต้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทําการลวง เพราะอรรถว่า เป็นตัวลวง. บทว่า พาลลาปนํความว่า ชื่อว่าเป็นที่บ่นถึงของคนพาลเพราะทําให้คนพาลบ่นถึงอย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 132
บุตรของเรา ธิดาของเรา เงินของเรา ทองของเราดังนี้. บทว่า ทิฏธมฺมิกากามา ได้แก่ กามคุณ ๕ อัน เป็นของมนุษย์. บทว่า สมฺปรายิกา ได้แก่กามที่เหลือเว้น กามคุณ ๕. บทว่า ทิฏธมฺมิกา กามสฺา ได้แก่สัญญาอันปรารภกามของมนุษย์เกิดขึ้น. บทว่า อุภยเมตํ มารเธยฺยํความว่า กามด้วย กามสัญญาด้วย เหล่านั้น แม้ทั้งสองนั้นก็เป็นบ่วงแห่งมาร. เพราะว่ามารย่อมใช้อํานาจอยู่เหนือชนทั้งหลายผู้ยึดถือกามและสัญญาทั้งสองนั้น. คําว่า อุภยเมตํ มารเธยฺยํ ดังนี้ ตรัสหมายเอาอํานาจของมารนั้น.
ชนเหล่าใด ยึดถือกามเหล่านั้น มารย่อมใช้อํานาจเหนือชนเหล่านั้นทรงหมายเอาอํานาจของมารนั้นจึงตรัสว่า นั่นเป็นวิสัยของมาร. แม้ในบาลีว่ามารสฺเลส วิสโย เป็นต้น เหมือนอย่างวิสัยของโจฬะ ก็เรียกว่าโจฬวิสัยวิสัยของปัณฑะ ก็เรียกว่า ปัณฑวิสัย วิสัยของสังวรทั้งหลายก็เรียกว่า สังวรวิสัยฉะนั้น มารก็ย่อมโปรยกามคุณ ๕ ประดุจพืชผักไว้ ก็ชนเหล่าใดยึดถือเอากามคุณ ๕ นั้น มารย่อมใช้อํานาจเหนือชนเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่านั่นเป็นเหยื่อของมารดังนี้. เหมือนอย่างว่า สัตว์ทั้งหลายมีช้าง เป็นต้นย่อมใช้อํานาจเหนือภูมิประเทศใด ภูมิประเทศนั้น เรียกว่า ถิ่นช้าง ถิ่นม้าถิ่นแพะ ฉันใด ชนเหล่าใดยึดถือกามคุณ ๕ เหล่านั้น มารย่อมใช้อํานาจเหนือชนเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่านั่น เป็นโคจร (ถิ่น) ของมารดังนี้ฉันนั้น. บทว่า เอตฺถ ได้แก่ในกามเหล่านั้น. บทว่า มานสา คือ เกิดในจิต.
ในข้อนั้น พึงมีคําถามว่า อภิชฌามีลักษณะเพ่ง ปรารภกามทั้งสองอย่าง และสารัมภะ มีลักษณะแข่งดีเกินกว่าเหตุ จะเกิดขึ้นก็ช่างเถิด ส่วนพยาบาทเกิดขึ้นอย่างไร พึงตอบว่า ย่อมเกิดขึ้นได้อย่างนี้ คือ เมื่อของเรา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 133
แม้ถูกชิงไปก็เศร้าโศก แม้ขาดไปก็เศร้าโศก. แม้มีความสําคัญว่าถูกชิงไปก็เศร้าโศก ความขุ่นเคือง ความขัดแค้นของจิตเห็นปานนี้. บทว่า เตวอริยสาวกสฺส ได้แก่ เตว อริยสาวกสฺส. วอักษร เป็นเพียงอาคมสนธิ (การต่อโดยลงตัวอักษร) . บทว่า อิธ มนุสิกฺขโต ความว่า กิเลสทั้ง ๓เหล่านั้น ย่อมทําอันตรายแก่พระอริยสาวกผู้ศึกษาอยู่ในพระศาสนานี้. บทว่าอภิภุยฺย โลกํ ได้แก่ครอบงําโลก คือ กามคุณ. บทว่าอธิฏาย มนสาได้แก่อธิษฐานอารมณ์ของฌานด้วยจิต บทว่าอปริตฺตํ ได้แก่กามาวจรจิตชื่อปริตตะ. มหัคคตจิต ชื่อว่า อปริตตะ เพราะปฏิเสธกามาวจรจิตนั้น.แม้คําว่า ปมาณํ ได้แก่ กามาวจรจิตนั่นเอง. รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิตชื่อว่าอัปปมาณ. ก็คําว่า สุภาวิตํ นี้ ไม่ใช่ชื่อของกามาวจรจิตเป็นต้น แต่เป็นชื่อของโลกุตตรจิตเท่านั้น. เพราะฉะนั้น ด้วยอํานาจของคําว่า สุภาวิตํนั้น คําว่า อปริตฺตํ อปฺปมาณํ สุภาวิตํ ดังนี้ ทั้งหมด ควรเป็นชื่อของโลกุตระเท่านั้น. บทว่า ตพฺพหุลวิหาริโน ความว่า กระทําปฏิปทานั้นนั่นแหละให้มากอยู่ด้วยการห้ามกามเสียได้. บทว่า อายตเน จิตฺตํ ปสีทติได้แก่จิตย่อมผ่องใสในเหตุ. ก็เหตุในคําว่า อายตเน จิตฺตํ ปสีทตินี้ คืออะไร?คือพระอรหัตหรือวิปัสสนาของพระอรหัต จตุตถฌาน หรือ อุปจารของจตุตถฌาน. ในคําว่า สมฺปสาเท สติ นี้ ความผ่องใสมี๒ อย่าง คือความผ่องใสด้วยการน้อมใจเชื่อ และความผ่องใสด้วยการได้มา. ก็เมื่อมหาภูตรูปเป็นต้น ปรากฏแก่พระโยคาวจร ผู้เริ่มตั้งวิปัสสนา เพื่อพระอรหัตอยู่มหาภูตรูปเหล่านั้น ย่อมปรากฏ อุปาทายรูปย่อมปรากฏ นามรูปย่อมปรากฏโดยทํานองใด. ปัจจัยทั้งหลายย่อมปรากฏโดยประการทั้งปวง วิปัสสนาอันมีลักษณะของคนเป็นอารมณ์ย่อมปรากฏโดยทํานองนั้น. ความหวังในพระอรหัตที่ยังไม่ได้นั่นแลว่า เราจักยึดเอาพระอรหัตให้ได้ในวันนี้ ดังนั้น ย่อมตั้งอยู่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 134
ชื่อว่า ย่อมได้ความน้อมใจเชื่อ อีกอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรทําตติยฌานให้เป็นบาท ทํากสิณบริกรรมเพื่อต้องการจตุตถฌาน พิจารณาเห็นการข่มนิวรณ์เป็นต้น ย่อมข่มนิวรณ์เหล่านี้ได้ โดยทํานองใดกิเลสทั้งหลายย่อมสงบ สติย่อมตั้งมั่น สังขารปรากฏชัดแจ่มแจ้ง เหมือนโลกอื่นปรากฏแก่ท่านผู้ได้ทิพยจักษุ. จิตตุปบาทย่อมตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ เหมือนติดอยู่ ที่ก้อนปูนฉาบ ความหวังในฌานที่ยังไม่ได้ ว่าเราจักทําจตุตถฌานให้เกิด ในวันนี้แหละดังนี้ ย่อมตั้งอยู่ ชื่อว่า ได้เฉพาะการน้อมใจเชื่อ โดยทํานองนั้น นี้ชื่อว่าความผ่องใส ด้วยการน้อมใจเชื่อ. เมื่อความผ่องใสนี้มีอยู่. ก็ท่านผู้ใดได้พระอรหัตหรือ จตุตถฌาน จิตของท่านผู้นั้น ย่อมผ่องใสแท้. ก็ในที่นี้เพราะพระบาลีว่าก็จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ การได้วิปัสสนาเพื่อพระอรหัตและอุปจารแห่งจตุตถฌาน พึงทราบว่า ความผ่องใสด้วยการได้.
จริงอยู่ วิปัสสนาเป็นเหตุแห่งการน้อมใจเชื่อด้วยปัญญา อุปจารเป็นเหตุแห่งการถึงอาเนญชสมาบัติ. ในคํานี้ที่ว่าเข้าถึงอาเนญชสมาบัติหรือน้อมใจเชื่อด้วยปัญญาในปัจจุบัน ดังนี้ พึงเปลี่ยนบทนี้ เสีย (บ้าง) ว่า น้อมใจเชื่อด้วยปัญญา หรือ เข้าถึงอาเนญชสมาบัติในปัจจุบัน ดังนี้ แล้วพึงทราบเนื้อความ (ตามนั้น) . ท่านอธิบายว่า เมื่อความผ่องใสนั้นมีอยู่ ย่อมน้อมใจเชื่อด้วยปัญญาในปัจจุบัน อธิบายว่า ทําให้แจ้งพระอรหัต. หรือว่า เมื่อยังไม่รู้แจ้งพระอรหัตนั้น ย่อมเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่าปฺาย อธิมุจฺจติ ได้แก่ ทําอรหัตตมรรคให้เกิดขึ้น. หรือว่าเมื่อยังไม่รู้แจ้งอรหัตตมรรคนั้น ย่อมเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ. เมื่อไม่อาจทําแม้อรหัตตมรรคให้เกิด ย่อมทําให้แจ้งสัจจะ ๔ ในปัจจุบัน หรือว่า เมื่อยังไม่รู้แจ้งสัจจะ ๔ นั้น ย่อมเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 135
ในข้อนั้น มีนัยดังต่อไปนี้. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทําตติยฌานให้เป็นบาท ทํากสิณบริกรรมเพื่อ (จะได้) จตุตถฌาน นิวรณ์ทั้งหลายของภิกษุนั้นย่อมสงบ สติย่อมตั้งมั่น จิตย่อมตั้งมั่น โดยอุปจารสมาธิ. ภิกษุนั้นกําหนดรูปและอรูปเป็นอารมณ์ กําหนดปัจจัยเป็นอารมณ์ กําหนดวิปัสสนาอันมีลักษณะของตนเป็นอารมณ์. ภิกษุนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ฌานของเรา พึงเป็นส่วนแห่งคุณวิเศษด้วยอุปจารสมาธิ ความที่ฌานเป็นส่วนแห่งคุณวิเศษก็ช่างเถอะ เราจักทําความที่ฌานอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอด (ตรัสรู้) ดังนี้ เจริญวิปัสสนา ย่อมทําให้แจ้งพระอรหัต. กิจของภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นอันทําแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ แต่เมื่อไม่สามารถทําให้แจ้งพระอรหัต แต่นั้นก็จะมีใจท้อถอย ตั้งอยู่ในระหว่างไม่ได้ ก็เข้าจตุตถฌาน. ถามว่า เหมือนอะไร? ตอบว่า เหมือนบุรุษคิดว่า จักฆ่าควายป่าจึงถือหอกออกตามไป ถ้าฆ่ามันได้ ก็จะป่าวร้องแก่ชาวบ้านทั้งสิ้น แต่เมื่อไม่อาจฆ่ามันได้ ก็ฆ่าเนื้อตัวเล็กๆ มีกระต่ายและเหี้ยเป็นต้นในกลางทางเต็มหาบแล้วก็กลับมาเท่านั้นฉันใด พึงทราบการที่ภิกษุนี้ทําตติยฌานให้เป็นบาท ทําบริกรรมเพื่อจตุตถฌาน เหมือนบุรุษถือหอกออกติดตามควายป่าพึงทราบการที่ภิกษุคิดว่า ฌานอันเป็นส่วนแห่งคุณวิเศษจะพึงมีแก่ผู้พิจารณาเห็นการข่มนิวรณ์เป็นต้น ความที่ฌานอันเป็นส่วนแห่งคุณวิเศษก็ช่างเถอะเราจักกระทําฌานอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอด (ให้ได้) ดังนี้ แล้วเจริญวิปัสสนาทําให้แจ้งพระอรหัต เหมือนการจะฆ่าควายป่า พึงทราบการที่ภิกษุเมื่อไม่สามารถทําให้แจ้งพระอรหัต แต่นั้นก็ถอยมาเข้าจตุตถฌาน เหมือนบุรุษไม่สามารถฆ่าควาย ก็ฆ่าเนื้อเล็กๆ มีกระต่ายและเหี้ยเป็นต้นในกลางทางเต็มหาบแล้วจึงไป ฉันนั้น. แม้ในการประกอบความแห่งการเจริญมรรคและการทําให้แจ้งสัจจะ ๔ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 136
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสถานที่เกิดของภิกษุ ผู้ไม่อาจทําให้แจ้งพระอรหัต จึงตรัสคําว่า กายสฺส เภทา ดังนี้ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า ยํ แปลว่า เหตุใด อธิบายว่า วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงมีคือเหตุเครื่องเข้าถึงความไม่หวั่นไหว มีอยู่. ก็บทว่า ตํ สํวตฺตนิกํ ในคํานี้ได้แก่ เป็นไปพร้อมเพื่อภิกษุนั้น. ภิกษุนั้นย่อมเป็นไป คือ บังเกิดด้วยวิญญาณอันเป็นวิบากใด วิญญาณนั้นพึงเป็น (วิญญาณอันเข้าถึงความไม่หวั่นไหว) . บทว่า อาเนฺชูปคตํ ความว่า พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาวะอันไม่หวั่นไหวอันเป็นกุศล อธิบายว่า พึงเป็นเช่นนั้นทีเดียว. อาจารย์บางพวกกล่าวถึงวิญญาณที่เป็นกุศล. บทว่า ยํ ความว่า กุศลวิญญาณใดอันเป็นไปพร้อม คือ เป็นเหตุแห่งอุปบัติเพื่อภิกษุนั้น พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงความไม่หวั่นไหว วิญญาณนั้นแม้ในเวลาเป็นวิบากก็พึงมีชื่อนั้นนั่นแหละ.ก็เนื้อความนี้นั้นพึงทราบโดยนัยนี้ว่า "ก็หากว่าบุญปรุงแต่งสังขารนั้นวิญญาณย่อมเข้าถึงบุญ หากอกุศลปรุงแต่งสังขารนั้นวิญญาณย่อมเข้าถึงอกุศล หากอาเนญชะปรุงแต่งสังขารนั้นวิญญาณย่อมเข้าถึงอาเนญชะ" ดังนี้. บทว่าอาเนฺชสปฺปายา ความว่า เป็นสัปปายะแก่อาเนญชะคือจตุตถฌาน ก็ปฏิปทานั้นเป็นสัปปายะแก่อาเนญชะอย่างเดียวก็หาไม่ พึงทราบว่าเป็นสัปปายะและเป็นอุปการะแม้แก่พระอรหัตอันมีในเบื้องบน. ในอาเนญชะที่หนึ่งนี้ตรัสโอสักกนา การถดถอย ด้วยอํานาจสมาบัติ.
บทว่า อิติ ปฏิสฺจิกฺขติ ความว่า ถึงจตุตถฌานแล้วย่อมพิจารณาอย่างนี้. จริงอยู่ ภิกษุนี้มีปัญญามากกว่าภิกษุรูปก่อน จึงพิจารณากรรมฐานรวมกัน สําหรับภิกษุแม้๒ รูป คือสําหรับภิกษุนั้นด้วยสําหรับตนด้วย. บทว่า ตพฺพหุลวิหารโน ความว่า กระทําปฏิปทานั้นนั่นแหละให้มากขึ้นด้วยการห้ามรูปอยู่. บทว่า อาเนฺชํ สมาปชฺชติ ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 137
ย่อมเข้าอาเนญชสมาบัติ คือ อากาสานัญจายตนะ. คําที่เหลือเป็นเหมือนคําก่อนๆ นั่นแหละ. ก็ในที่นี้ฉันใด ในที่ทุกแห่งก็ฉันนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวแต่ที่แปลกกันเท่านั้น ดังนี้ ในอาเนญชะที่ ๒ นี้ ท่านกล่าว โอสักกนาการถดถอยด้วยอํานาจวิปัสสนา.
บทว่า ยงฺกิฺจิ รูปํ ความว่า เมื่อจะทรงแสดงวิปัสสนาและมรรคจึงตรัสอย่างนี้. บทว่า อิติ ปฏิสฺจิกฺขติ ความว่า ถึงอากาสานัญจายตนะแล้ว ย่อมพิจารณาอย่างนี้. จริงอยู่ ภิกษุรูปนี้ มีปัญญามากกว่าภิกษุ ๒ รูปข้างต้น ย่อมพิจารณากรรมฐานรวมกันสําหรับภิกษุแม้ทั้ง ๓ รูป คือสําหรับภิกษุเหล่านั้นด้วย สําหรับตนด้วย. ก็ในคําว่า อุภยเมตํ อนิจฺจํ นี้ ตรัสว่า " ทั้งสองอย่าง " เพราะย่นส่วนหนึ่งๆ ที่ดีเข้าด้วยอํานาจภพนี้และภพภายหน้า. บทว่า นาลํ อภินนฺทิตฺํ ความว่า ไม่ควรเพลิดเพลินด้วยอํานาจตัณหาและทิฏฐิ. แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็นัยนี้แหละ. บทว่า ตพฺพหุลวีหาริโน ความว่า ทําปฏิปทานั้นนั่นแหละให้มากด้วยการห้ามกามและห้ามรูปอยู่. บทว่า อาเนฺซํ สมาปชฺชติ ได้แก่ เข้าอาเนญชสมาบัติ คือวิญญานัญจายตนะ. ในอาเนญชะที่ ๓ นี้ ตรัสโอสักกนาการถดถอยด้วยอํานาจวิปัสสนาเท่านั้น.
บทว่า อิติ ปฏิสฺจิกฺขติ ความว่า ถึงวิญญานัญจายตนฌานแล้วพิจารณาอยู่อย่างนี้. จริงอยู่ ภิกษุนี้มีปัญญามากกว่าภิกษุ๓ รูป ข้างต้น ย่อมพิจารณากรรมฐานรวมกันสําหรับภิกษุแม้ทั้ง ๔ รูป คือ สําหรับภิกษุเหล่านั้นด้วย สําหรับตนด้วย. บทว่า ยตฺเถตา อปริเสสา นิรุชฺฌนฺติ ความว่าสัญญา ที่กล่าวไว้ข้างต้นเหล่านี้ ถึงอากิญจัญจายตนฌานอันใดแล้ว ย่อมดับไป. บทว่า เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ความว่า อากิญจัญญายตนฌานนั้นชื่อว่า สงบ เพราะสงบโดยองค์ และสงบโดยอารมณ์ชื่อว่า ประณีต
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 138
เพราะอรรถว่าไม่เดือดร้อน. บทว่า ตพฺพหุลวิหาริโน ความว่า ผู้กระทําปฏิปทานั้นนั่นแหละให้มาก ด้วยการห้ามสัญญาเหล่านั้นอยู่. ในอากิญจัญญายตนฌานที่๑ นี้ ตรัสโอสักกนา ด้วยอํานาจสมาธิ. บทว่า ปฏิสฺ-จกฺขติ ความว่า ถึงวิญญาณัญจายตนฌานนั่นแล พิจารณาอยู่อย่างนั้น. ภิกษุนี้มีปัญญามากกว่าภิกษุ ๔ รูปข้างต้น จึงพิจารณากรรมฐานรวมกันสําหรับภิกษุทั้ง ๕ รูป คือ สําหรับภิกษุเหล่านั้นด้วย สําหรับตนด้วย. บทว่าอตฺเตน วา อตฺตนิเยน วา ความว่า สูญ คือ ว่างเปล่าจากสิ่งที่จะพึงถือเอาว่า เรา ว่า ของเรา. ในที่นี้ทรงแสดงสุญญตาไว้ ๒ เงื่อนอย่างนี้ บทว่าตพฺพหุลวิหาริโน ความว่า ผู้กระทําปฏิปทาที่กล่าวไว้ข้างต้น. และปฏิปทาคือ สุญญตานี้ให้มากอยู่. ในอากิญจัญญายตนฌานที่ ๒ นี้ตรัส โอสักกนาด้วยอํานาจวิปัสสนา.
บทว่า อิติ ปฏิสฺจิกฺขติ ความว่า ถึงวิญญานัญจายตนะแล้วพิจารณาอย่างนี้. ก็ภิกษุนี้มีปัญญามากกว่าภิกษุ ๕ รูปข้างต้น จึงพิจารณากรรมฐานรวมกันสําหรับภิกษุทั้ง ๖ รูป คือสําหรับภิกษุเหล่านั้นด้วย สําหรับตนด้วย. ก็ในคํานี้ที่ว่า เราไม่มีในที่ไหนๆ สิ่งน้อยหนึ่งของใครๆ หามีไม่ (เรานั้น) ไม่ และ สิ่งน้อยหนึ่งของเราก็หามีในที่ไหนๆ ไม่ ในใครๆ ย่อมไม่มีสิ่งน้อยหนึ่งเลย ดังนี้ ตรัสสุญญตาอันมี๔ เงื่อน. ตรัสไว้อย่างไร (ตรัสไว้ว่า) อันภิกษุนี้ย่อมไม่เห็นตน ในที่ไหนๆ ว่า เราไม่มีในที่ไหนๆ . ย่อมไม่เห็นตนของตนที่จะพึงน้อมเข้าไปในภาวะน้อยหนึ่งของคนอื่นไรๆ ว่า สิ่งน้อยหนึ่งของใครๆ หามีในอะไรๆ (เรานั้น) ไม่ อธิบายว่า ย่อมไม่เห็นที่น้องชายว่า ควรสําคัญน้อมเข้ามาในฐานะพี่น้องชายของตน สหายในฐานะสหาย หรือบริขารในฐานะบริขารของตน. ในคําว่า และสิ่งน้อยหนึ่งของเราก็ตาม ในที่ไหนๆ ไม่ นี้งด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 139
มม ศัพท์ไว้ก่อนจะมีใจความว่า ย่อมไม่เห็นตนของคนอื่นในที่ไหนๆ . ในที่นี้นําเอา มม ศัพท์มาใส่เป็นรูป มม กิสฺมิฺจิ กิฺจนํ นตฺถิ ความว่าภิกษุนั้นย่อมไม่เห็นว่า ตนของคนอื่นมีอยู่ในภาวะน้อยหนึ่งไรๆ ของเรา.อธิบายว่า ย่อมไม่เห็นตนของคนอื่นที่จะพึงน้อมเข้ามาด้วยภาวะน้อยหนึ่งนี้ในฐานะไรๆ ว่า พี่น้องชายในฐานะพี่น้องชายของตน สหายในฐานะสหายหรือบริขารในฐานะบริขาร. ด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุนี้ เหตุที่ไม่เห็นตนในอะไรๆ ไม่เห็นตนนั้นว่า จะพึงนําเข้าไปในภาวะน้อยหนึ่งของคนอื่น ไม่เห็นตนของคนอื่น และไม่เห็นตนขอคนอื่นที่จะพึงนําเข้ามาโดยภาวะน้อยหนึ่งของตน เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า สุญญตานี้มี ๔ เงื่อน. บทว่า ตพฺพหุลวิหาริโน ความว่า กระทําปฏิปทาที่กล่าวแล้วในหนหลัง และสุญญตา ๔เงื่อนนี้ให้มากอยู่. แม้ในอากิญจัญญายตนฌานที่ ๓ นี้ ก็ตรัสโอสักกนาด้วยอํานาจวิปัสสนานั่นเอง.
บทว่า อิติ ปฏิสฺจิกฺขติ ความว่า ถึงอากิญจัญญายตนฌานแล้วจารณาอยู่ อย่างนี้. ก็ภิกษุนี้มีปัญญามากกว่าภิกษุ๖ รูป ข้างต้น จึงพิจารณากรรมฐานรวมกันสําหรับภิกษุแม้ทั้ง ๗ รูป คือ สําหรับภิกษุเหล่านั้นด้วยสําหรับตนด้วย. บทว่า ยตฺเถตา อปริเสสา นิรุชฺฌนฺติ ความว่าสัญญาทั้งปวงซึ่งกล่าวแล้วในหนหลังเหล่านั้น ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานใดแล้ว ย่อมดับไปในที่นี้. บทว่า ตพฺพหุลวิหาริโน ความว่า ผู้กระทําปฏิปทานั้นนั่นแหละให้มากด้วยการห้ามสัญญาเหล่านั้นอยู่. ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ ตรัสโอสักกนาด้วยอํานาจสมาธิ.
บทว่า โน จสฺส โน จ เม สิยา ความว่า ถ้ากรรมวัฏฏ์ ๕ อย่างในกาลก่อนจะไม่พึงประมวลเข้ามาแก่เราไซร้ วิปากวัฏฏ์ ๕ อย่างในปัจจุบันนี้ของเรานั้น ก็จะไม่พึงมี คือ ไม่พึงเป็นไปแก่เรา. บทว่า น เม ภวิสฺสต
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 140
ความว่า ถ้ากรรมฐาน ๕ อย่างในปัจจุบัน จักไม่ประมวลกันมาไซร้ เมื่อกรรมฐานนั้นไม่มี วิปากวัฏฏ์ ๕ อย่าง จักไม่มีแก่เราในอนาคต. บทว่า ยทตฺถิยํ ภูตํ ตํ ปชหามิ ความว่า ขันธปัญจกอันใดที่กําลังมีอยู่ มีมาแล้วเราละขันธิปัญจกนั้นที่มีในบัดนี้เสีย. บทว่า เอวํ อุเปกขํ ปฏิลภติ ความว่าภิกษุนั้นย่อมได้อุเบกขาในวิปัสสนาอย่างนี้. บทว่า ปรินิพฺพาเยยฺย นุ โขโส ภนฺเต ภิกฺขุ น วา ปรินิพฺพาเยยฺย ความว่า ย่อมถามว่า ข้าพระองค์ย่อมถามอย่างไร คือ ย่อมถามว่า ตรัสพระอรหัตบ้าง โอสักกนาบ้างปฏิปทาบ้าง ปฏิสนธิบ้าง สําหรับผู้กระทําตติยฌานให้เป็นบาทแล้วดํารงอยู่ก็เหมือนกัน (แต่) ไม่ตรัสอะไรๆ สําหรับผู้กระทําเนวสัญญานาสัญญายตนฌานให้เป็นบาทแล้วดํารงอยู่ ข้าพระองค์ชื่อถามข้อนั้น. บทว่า อเปตฺถตัดบทเป็น อปิ เอตฺถ บทว่า โส ตํ อุเปกฺขํ อภินนฺทติ ความว่าภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ซึ่งอุเบกขา คือวิปัสสนานั้นด้วยความเพลิดเพลินด้วยตัณหาและทิฏฐิ. แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็มีนัยนี้แหละ. บทว่า ตนฺนิสฺสิตํโหติ วิฺาณํ ความว่า ย่อมอาศัยวิปัสสนานั้น. บทว่า ตทุปาทานํความว่าวิญญาณนั้น ชื่อว่าถือเอาด้วยการยึดมั่นวิปัสสนานั้น บทว่า สอุปาทาโน ได้แก่ มีการยึดถือ. บทว่า น ปรินิพฺพายติ ความว่า ภิกษุผู้มีอาลัยในวิปัสสนา ย่อมไม่ปรินิพพานในศาสนาของเรา. ท่านแสดงว่า ก็ภิกษุใดมีอาลัยในวิหาร บริเวณและอุปัฏฐาก เป็นต้น ข้อที่จะพึงกล่าวในภิกษุนั้นย่อมไม่มี บทว่า กหํ ปน คือในที่ไหนเล่า. บทว่า อุปาทิยมาโนอุปาทิยติ ได้แก่ ย่อมถือเอาปฏิสนธิ. บทว่า อุปาทานเสฏํ กิร โสภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่าภิกษุนั้นย่อมยึดถือเอาที่ที่จะพึงถือเอา อันประเสริฐสุด คือเป็นภพอันสูงสุด อธิบายว่า ย่อมยึดถือปฏิสนธิในภพอันประเสริฐที่สุด. ตรัสปฏิสนธิของภิกษุนั้นด้วยคํานี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 141
บัดนี้ เพื่อจะตรัสพระอรหัตของภิกษุนี้ จึงตรัสว่า อิธานนฺท ดังนี้เป็นต้น. บทว่า นิสฺสาย ได้แก่ อาศัยสมาบัตินั้น. บทว่า โอฆสฺสนิตฺถรณา อกฺขาตา ท่านกล่าวว่า ตรัสการข้ามโอฆะ คือตรัสการข้ามโอฆะสําหรับภิกษุผู้ทําตติยฌานให้เป็นบาทแล้วดํารงอยู่ ตรัสการข้ามโอฆะสําหรับภิกษุผู้ทําเนวสัญญานาสัญญายตนฌานให้เป็นบาทแล้วดํารงอยู่. บทว่ากตโมปน ภนฺเต อริโย วิโมกฺโข ความว่า พระอานนที่ทูลถามอะไรในอธิการนี้.พระอานนท์ทูลถามว่า ภิกษุทําสมาบัติให้เป็นปทัฏฐานก่อน แล้วเจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัตย่อมไม่ลําบาก เหมือนบุคคลอาศัยเรือหรือแพเป็นต้นข้ามห้วงน้ำใหญ่ก็ไปถึงฝังได้ฉะนั้น ส่วนพระสุกขวิปัสสกผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ พิจารณาปกิณณกสังขาร แล้วได้บรรลุพระอรหัต ย่อมลําบากเหมือนบุคคลฟันฝ่ากระแสน้ำด้วยกําลังแขนไปถึงฝังฉะนั้น ข้าพระองค์ขอทูลพระอรหัตของพระสุกขวิปัสสกนี้ด้วยประการดังกล่าว. บทว่า อริยสาวโกได้แก่ พระอริยสาวกผู้เป็นสุกขวิปัสสก. จริงอยู่ พระสุกขวิปัสสกนี้ มีปัญญามากกว่าภิกษุทั้ง ๘ รูปข้างต้น ย่อมพิจารณากรรมฐานรวมกัน สําหรับภิกษุแม้ทั้ง ๙ รูป คือ สําหรับภิกษุเหล่านั้นด้วย สําหรับตนด้วย บทว่า เอสสกฺกาโย ยาวตา สกฺกาโย ความว่า ย่อมพิจารณาเห็นว่า ชื่อว่า สักกายะกล่าวคือ วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ๓ มีอยู่ประมาณเท่าใด สักกายะแม้ทั้งหมดก็มีเท่านี้เท่านั้น สักกายะที่ยิ่งไปกว่านั้นย่อมไม่มี. บทว่า เอตํ อมตํ ยทิทํอนุปาทา จิตฺตสฺส วิโมกฺโข ความว่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ชื่อว่าความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะความไม่ถือมั่น เป็นอมตะ ไม่ตาย เป็นสันตะสงบ เป็นปณีตะ ประณีต ก็ในที่อื่น ท่านเรียกพระนิพพานว่า ความหลุดพ้นแห่งจิต เพราะไม่ถือมั่น. แต่ในพระสูตรนี้ ตรัสพระอรหัตของพระสุกขวิปัสสก. คําที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 142
ก็ในพระสูตรนี้ ทั้งหมดพึงทราบว่า ตรัสโอสักกนา ในฐานะ ๗อย่าง ตรัสปฏิสนธิในฐานะ ๘ อย่าง ตรัสพระอรหัตในฐานะ ๙ อย่าง. ตรัสอย่างไร? ตรัสโอสักกนา สําหรับภิกษุผู้ทําตติยฌานให้เป็นบาทตั้งอยู่ก่อน (ต่อไป) ตรัสปฏิสนธิ ตรัสพระอรหัต สําหรับภิกษุผู้ทําจตุตถฌาน (และ) อากาสานัญจายตนฌานให้เป็นบาทตั้งอยู่ก็เหมือนกัน (คือตรัสโอสักกนา ตรัสปฏิสนธิ และตรัสพระอรหัต) ส่วนสําหรับพระภิกษุ ๓ รูป ผู้ทําวิญญาณัญจายตนฌานให้เป็นบาทตั้งอยู่ ตรัสโอสักกนา ตรัสปฏิสนธิ ตรัสพระอรหัตสําหรับภิกษุผู้ทําอากิญจัญญายตนฌานให้เป็นบาทตั้งอยู่ก็เหมือนกัน. ส่วนสําหรับภิกษุผู้ทําเนวสัญญานาสัญญายตนฌานให้เป็นบาทตั้งอยู่ ไม่มีโอสักกนาแต่ตรัสปฏิสนธิ และพระอรหัต สําหรับพระสุกขวิปัสสก ตรัสเฉพาะพระอรหัตเท่านั้น ด้วยประการดังกล่าวมานี้ พึงทราบว่า ตรัสโอสักกนาในฐานะ๗ อย่าง ตรัสปฏิสนธิในฐานะ ๘ อย่าง ตรัสพระอรหัตในฐานะ ๙ อย่าง.ก็อาเนญชสปัปายสูตรนี้ ตรัสรวมเอาโอสักกนาในฐานะ ๗ อย่าง ปฏิสนธิในฐานะ ๘ อย่าง พระอรหัตในฐานะ ๙ อย่าง ย่อมชื่อว่า เป็นอันตรัสดีแล้วแล.
จบ อรรถกถาอาเนญชสัปปายสูตรที่ ๖