พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. มหาปุณณมสูตร ว่าด้วยอุปาทานและอุปาทานขันธ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36114
อ่าน  832

[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 169

๙. มหาปุณณมสูตร

ว่าด้วยอุปาทานและอุปาทานขันธ์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 22]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 169

๙. มหาปุณณมสูตร

ว่าด้วยอุปาทานและอุปาทานขันธ์

[๑๒๐] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ํา ขณะนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะขอกราบทูลถามปัญหาสักเล็กน้อยกะพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะประทานโอกาสเพื่อพยากรณ์ปัญหาแก่ข้าพระองค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจงนั่งลงยังอาสนะของตน ประสงค์จะถามปัญหาข้อใด ก็ถามเถิด.

[๑๒๑] ครั้งนั้น ภิกษุรูปนั้นนั่งยังอาสนะของตนแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณู-ปาทานขันธ์ มี๕ ประการเท่านี้หรือหนอแล.

พ. ดูก่อนภิกษุ อุปาทานขันธ์ มี๕ ประการเท่านี้ คือรูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 170

ภิกษุนั้นกล่าวชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้วพระเจ้าข้า แล้วทูลถามปัญหากะผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อุปาทานขันธ์๕ เหล่านี้ มีอะไรเป็นมูล.

พ. ดูก่อนภิกษุ อุปาทานขันธ์๕ เหล่านี้ มีฉันทะเป็นมูล.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้นอย่างเดียวกันหรือ หรือว่าอุปาทานเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์๕.

พ. ดูก่อนภิกษุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น จะอย่างเดียวกันก็มิใช่ อุปาทานจะเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์๕ ก็มิใช่ ดูก่อนภิกษุความกําหนัดพอใจ ในอุปาทานขันธ์๕ นั่นแล เป็นตัวอุปาทานในอุปาทานขันธ์๕ นั้น.

[๑๒๒] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความต่างแห่งความกําหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ มีหรือ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับว่า มี แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้ สัญญาอย่างนี้ สังขารอย่างนี้ วิญญาณอย่างนี้ ในอนาคตกาลเถิดดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แลเป็นความต่างแห่งความกําหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕.

ว่าด้วยเหตุเรียกชื่อว่าขันธ์

[๑๒๓] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขันธ์ทั้งหลายมีชื่อเรียกว่าขันธ์ได้ด้วยเหตุเท่าไร.

พ. ดูก่อนภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือลเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล หรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 171

รูปขันธ์. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคตทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ที่เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นสัญญาขันธ์. สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นสังขารขันธ์. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นวิญญาณขันธ์ดูก่อนภิกษุขันธ์ทั้งหลายย่อมมีชื่อเรียกว่าขันธ์ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

[๑๒๔] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติรูปขันธ์ แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์ แห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์ แห่งการบัญญัติสังขารขันธ์ อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์.

พ. ดูก่อนภิกษุ มหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติสังขารขันธ์ นามรูปเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 172

[๑๒๕] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สักกายทิฏฐิ จะมีได้อย่างไร.

พ. ดูก่อนภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอนัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แลสักกายทิฏฐิจึงมีได้.

[๑๒๖] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิจะไม่มีได้อย่างไร.

พ. ดูก่อนภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อม

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 173

ไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง ไม่เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงไม่มี.

ว่าด้วยคุณและโทษของขันธ์ ๕

[๑๒๗] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นคุณเป็นโทษเป็นทางสลัดออกในรูป อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในเวทนาอะไรเป็นคุณเป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในสัญญา อะไรเป็นคุณเป็นโทษเป็นทางสลัดออกในสังขารอะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในวิญญาณ.

พ. ดูก่อนภิกษุ อาการที่สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในรูป อาการที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในรูป อาการที่กําจัดฉันทราคะละฉันทราคะในรูปได้ นี้เป็นทางสลัดออกในรูป อาการที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในเวทนา อาการที่เวทนาไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในเวทนา อาการที่กําจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะในเวทนาได้ นี้เป็นทางสลัดออกในเวทนาอาการที่สุขโสมนัสอาศัยสัญญาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในสัญญาอาการที่สัญญาไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสัญญาอาการที่กําจัดฉันทราคะละฉันทราคะในสัญญาได้ นี้เป็นทางสลัดออกในสัญญาอาการที่สุขโสมนัสอาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในสังขาร อาการที่สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสังขารอาการที่กําจัดฉันทราคะละฉันทราคะในสังขารได้ นี้เป็นทางสลัดออกในสังขารอาการที่สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในวิญญาณ อาการที่วิญ-

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 174

ญาณไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในวิญญาณ อาการที่กําจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะในวิญญาณได้ นี้เป็นทางสลัดออกในวิญญาณ.

ว่าด้วยเหตุละมานานุสัย

[๑๒๘] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างไรจึงไม่มีอนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมดภายนอก.

พ. ดูก่อนภิกษุ บุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบันเป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเราไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตามเลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตามเลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตามทั้งหมดนั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 175

เป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นปัจจุบันเป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเราไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ดูก่อนภิกษุ เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างนี้แล จึงไม่มีอนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก.

ว่าด้วยปริวิตกเรื่องผู้รับผลของกรรม

[๑๒๙] ลําดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้จําเริญ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณเป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตาทําแล้ว จักสัมผัสตนได้อย่างไร. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้นด้วยพระหฤทัย จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา ใจมีตัณหาเป็นใหญ่ พึงสําคัญคําสั่งสอนของศาสดาอย่างหุนหันพลันแล่น ด้วยความปริวิตกว่า ท่านผู้จําเริญ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตาทําแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร เราจะขอสอบถาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้แนะนําพวกเธอในธรรมนั้นๆ แล้วแล พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาควรละหรือที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 176

ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉนเวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาควรละหรือที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉนสัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาควรละหรือที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉนสังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาควรละหรือที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 177

ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาควรละหรือที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่น ของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตามหยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 178

เรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เราไม่ใช่อัตตาของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกําหนัด เพราะคลายกําหนัด. จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทํา ไค้ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากําลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล.

จบ มหาปุณณมสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 179

อรรถกถามหาปุณณมสูตร

มหาปุณณมสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-

พึงทราบวินิจฉัยในมหาปุณณมสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. บทว่า ตทหุแยกเป็น ตสฺมึ อหุ แปลความว่า ในวันนั้น. ชื่อว่า อุโบสถ เพราะอรรถว่า เป็นวันที่เข้าอยู่จํา. บทว่า อุปวสนฺติ ความว่า เข้าไปอยู่จําด้วยศีลหรือด้วยการอดอาหาร. ก็ในที่นี้มีการขยายความดังต่อไปนี้ ก็การแสดงปาติโมกข์ชื่อว่า อุโปสถ ในคําเป็นต้นว่า อายามาวุโส กปฺปิน อุโปสถํ คมิสสาม ท่านกัปปินะมาเถิด พวกเราไปยังอุโบสถกัน. ศีลชื่อว่าอุโปสถในคําเป็นต้นว่า เอวํ อฏงฺคสมนฺนาคโต โข วิสาเข อุโปสโถอุปวุตฺโถดูก่อนวิสาขา อุโบสถอันประกอบด้วยองค์๘ แล อันบุคคลเข้าจําแล้วด้วยอาการอย่างนี้. อุปวาส ชื่อว่า อุโปสถ (การจําศีลด้วยการอดอาหาร) ในคําเป็นต้นว่า สุทฺธสฺส สทา ผคฺคุ สุทฺธสฺสุโปสโถ สทา ผัคคุฤกษ์ (คือฤกษ์เดือนผัคคุ) สําหรับผู้หมดจดทุกเมื่อ แต่อุโบสถก็สําหรับผู้หมดจดทุกเมื่อ. ชื่อว่าเป็นบัญญัติ (คือชื่อที่เรียก) ในคําเป็นต้นว่า อุโปสโถนาม นาคราชา พระยาช้างชื่อว่าอุโบสถ. วันที่พึงเข้าไปอยู่ (จําศีล) ชื่อว่า อุโปสถ ในคําเป็นต้น ว่า น ภิกฺขเว ตทหุโปสเถ สภิกฺขุกา อาวาสาภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถวันนั้น ไม่พึงไปจากอาวาสที่มีภิกษุ. แม้ในที่นี้ก็ประสงค์เอาการเข้าอยู่ (จําศีล) นั้นนั่นแหล. ก็วันที่เข้าอยู่ (จําศีล) นี้นั้นมี ๓ อย่าง โดยวันอัฏฐมี วันจาตุททสี และวันปัณณรสี เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า ปณฺณรเส (ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ํา) เพื่อจะห้ามบททั้งสองที่เหลือเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่าวันอุโบสถ เพราะเป็นวันที่เข้าอยู่ (จําศีล)

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 180

ชื่อว่า ปุณฺณา เพราะเต็มแล้วคือ เต็มบริบูรณ์ เพราะเป็นวันเต็มเดือนท่านเรียกพระจันทร์ว่า มา. พระจันทร์นั้นเต็มดวงแล้วใน (วัน) ดิถีนี้เพราะเหตุนั้นดิถีนี้ จึงชื่อว่า ปุณณมา (วันพระจันทร์เต็มดวง) . พึงทราบความหมายในบททั้งสองนี้ว่า ปุณฺณาย ปุณฺณมาย (ในวันเพ็ญมีพระจันทร์เต็มดวง) ด้วยประการอย่างนี้.

บทว่า เทสํ แปลว่า เหตุการณ์. บทว่า เตนหิ ตวํ ภิกฺขุสเก อาสเน นิสีทิตฺวา ปุจฺฉ ความว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสแก่ภิกษุผู้ที่ยืน รับสั่งให้นั่งลง. ได้ยินว่า ภิกษุนี้เป็นพระสังฆเถระของภิกษุเหล่านั้น เรียนกรรมฐานในสํานักของท่านแล้วพากเพียรพยายามอยู่ กําหนดพิจารณา มหาภูตรูป (และ) อุปาทายรูป กําหนดพิจารณาวิปัสสนา มีลักษณะของตนอันมีนามรูปเป็นปัจจัยให้เป็นอารมณ์ ครั้งนั้นภิกษุเหล่านั้นมายังที่ปรนนิบัติอาจารย์ในเวลาเย็น ไหว้แล้วนั่งอยู่ พระเถระจึงถามถึงเรื่องกรรมฐานทั้งหลาย มีการกําหนดพิจารณามหาภูตรูปเป็นต้น.ภิกษุเหล่านั้นบอกได้ทั้งหมด. แต่ถูกถามปัญหาในมรรคและผล ไม่อาจบอกได้. ทีนั้น พระเถระจึงคิดว่า ในสํานักเรา ไม่มีการละเลยการให้โอวาทแก่ภิกษุเหล่านี้ และภิกษุเหล่านี้ก็ปรารภความเพียรอยู่. กิริยาที่ประมาทก็ไม่มีแก่ภิกษุเหล่านั้น แม้มาตรว่า ชั่วเวลาไก่กินน้ำ. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุเหล่านี้ก็ไม่อาจทํามรรคผลให้เกิดขึ้นได้. เราไม่รู้อัธยาศัยของภิกษุเหล่านี้ภิกษุเหล่านี้คงจะเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าต้องทรงแนะนํา เราจักพาภิกษุเหล่านั้นไปยังสํานักของพระศาสดา เมื่อเป็นอย่างนั้น พระศาสดาจักทรงแสดงธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับความประพฤติของภิกษุเหล่านั้น (ครั้นคิดแล้ว) จึงพาภิกษุเหล่านั้นมายังสํานักของพระศาสดา.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 181

แม้พระศาสดาก็ทรงถือเอาน้ำที่พระอานนท์นําเข้าไปถวายในตอนเย็นทรงกระทําพระสรีระให้สดชื่นแล้วประทับนั่งบนเสนาสนะอันประเสริฐ ที่เขาปูลาดไว้ในบริเวณปราสาทของมิคารมารดา. แม้ภิกษุสงฆ์ก็นั่งแวดล้อมพระองค์.เวลานั้น พระอาทิตย์กําลังอัสดงคต พระจันทร์กําลังขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ที่ท่ามกลาง. พระจันทร์ไม่มีรัศมี พระอาทิตย์ไม่มีรัศมี พระพุทธรัศมีเป็นคู่ๆ มีวรรณะ ๖ ประการ ข่มรัศมีของพระจันทร์และพระอาทิตย์เสีย ส่องแสงโชติช่วงเป็นกลุ่มเป็นก้อน แล่นไปทั่วทิศานุทิศ. เรื่องทั้งหมดนั้นพึงให้พิสดารโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง. นี้ชื่อว่าพื้นภูมิของการพรรณนาในอธิการนี้ กําลัง (ความสามารถ) ของพระธรรมกถึกเท่านั้นที่อาจกล่าวให้พอควรแก่ประมาณได้ เรื่องที่ควรแก่ประมาณนั้น ควรกล่าวในการพรรณนาพระพุทธรัศมีนั้น. ไม่ควรพูดว่า กล่าวยาก. เมื่อบริษัทประชุมกันอย่างนี้แล้ว พระเถระลุกขึ้น ขอให้พระศาสดาประทานโอกาสเพื่อพยากรณ์ปัญหา.ลําดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดําริว่า ถ้าเมื่อภิกษุนี้ยืนถามปัญหา พวกภิกษุที่เหลือจักลุกขึ้นด้วยคิดกันว่า อาจารย์ของพวกเราลุกขึ้นแล้ว เมื่อเป็นอย่างนั้น จักเป็นอันกระทําความไม่เคารพในพระตถาคต. ถ้าภิกษุเหล่านั้นจักนั่งทูลถาม (ปัญหา) จักเป็นอันกระทําความไม่เคารพในอาจารย์ จักไม่อาจทําจิตให้แน่วแน่รับธรรมเทศนา. แต่เมื่ออาจารย์นั่ง ภิกษุเหล่านั้นจักนั่งแต่นั้นจักเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ อาจรับพระธรรมเทศนาได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสแก่ภิกษุที่ยืน รับสั่งให้นั่งลง ฉะนี้แล.

บทว่า อิเม นุโข ภนฺเต ความว่า กระทําเหมือนถามด้วยความสงสัย. ก็พระเถระกําหนดพิจารณาความเกิดแห่งเบญจขันธ์แล้ว บรรลุพระอรหัต เป็นพระมหาขีณาสพ. ความสงสัยของพระเถระนี้ย่อมไม่มี ก็แม้รู้

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 182

อยู่ ทําเป็นเหมือนไม่รู้ตามก็ควร. ก็ถ้าทําเหมือนรู้ตาม เมื่อจะแก้แก่เขาย่อมกล่าวแต่บางส่วนเท่านั้นด้วยสําคัญว่าผู้นี้รู้. แต่เมื่อทําเป็นไม่รู้ตาม เมื่อจะกล่าวย่อมนําเอาเหตุการณ์ทุกด้านมากล่าวให้ปรากฏ. ก็บางคนแม้ไม่รู้ก็ทําเป็นเหมือนรู้ตาม. พระเถระจะการทําอย่างไรกะคําเห็นปานนี้ ก็พระเถระรู้อยู่ทีเดียว พึงทราบว่า ถามเหมือนไม่รู้. บทว่า ฉนฺทมูลกา แปลว่า มีตัณหาเป็นมูล. บทว่า เอวํ รูโป สยํ ความว่า ถ้าประสงค์เป็นคนขาว ย่อมปรารถนาว่า ขอเราจงเป็นคนมีวรรณะเหมือนหรดาล หรือเหมือนมโนศิลาหรือเหมือนทอง. ถ้าประสงค์จะเป็นคนดําก็ปรารถนาว่า ขอเราจงเป็นผู้มีวรรณะเหมือนดอกอุบลเขียว เหมือนดอกอัญชัน หรือเหมือนดอกฝ้าย. บทว่าเอวํ เวทโน ได้แก่ ปรารถนาว่า ขอเราจงเป็นผู้มีเวทนาเป็นกุศล หรือเป็นผู้มีเวทนาเป็นสุข. แม้ในสัญญาเป็นต้นก็มีนัยนี้แหละ. ก็เพราะธรรมดาว่าความปรารถนาในอดีต ย่อมมีไม่ได้ และแม้ถึงจะปรารถนาก็ไม่อาจได้มันแม้ในปัจจุบันก็ไม่ได้ คนขาวปรารถนาความเป็นคนดํา แล้วจะเป็นคนดําไปในปัจจุบันก็ไม่ได้ คนดําจะเป็นคนขาว คนสูงจะเป็นคนเตี้ย หรือคนเตี้ยจะเป็นคนสูงก็ไม่ได้ แต่เมื่อบุคคลให้ทาน สมาทานศีลแล้วปรารถนาว่า ขอเราจงเป็นกษัตริย์หรือจงเป็นพราหมณ์ในอนาคตกาลเถิดดังนี้ ความปรารถนาย่อมสําเร็จ ฉะนั้นท่านถือเอาแต่อนาคตเท่านั้น.

บทว่า ขนฺธาธิวจนํ ได้แก่ ถามว่า การบัญญัติว่าขันธ์แห่งขันธ์ทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่าใด. บทว่า มหาภูตเหตุ ความว่าก็เหตุท่านเรียกว่าเหตุ ในคําเป็นต้น ว่า กุศลเหตุ ๓ ประการ. อวิชชา ชื่อว่า สาธารณเหตุ เพราะเป็นเหตุทั่วไปแก่ปุญญาภิสังขารเป็นต้น. กุศลกรรมและอกุศลกรรมเป็นเหตุสูงสุดในการให้ผลของตนๆ . ในที่นี้ท่านประสงค์เอา

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 183

ปัจจัยเหตุในอธิการว่าด้วยปัจจัยเหตุนั้น มหาภูตรูป คือ ปฐวีธาตุเป็นเหตุเละเป็นปัจจัย เพื่อแสดงการบัญญัติภูตรูป ๓ นอกนี้ และอุปาทายรูป. พึงทราบ การประกอบความแม้ในบทที่เหลืออย่างนี้. บทว่า ผสฺโส ความว่าผัสสะ เป็นเหตุและเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติขันธ์ ๓ โดยพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ถูกกระทบย่อมรู้สึก ย่อมจําได้ ย่อมคิด (ปรุงแต่ง) ดังนี้.ในบทว่า วิฺาณกฺขนฺธสฺส นี้มีความว่า รูป ๓๐ ถ้วน และขันธ์๓ ที่สัมปยุตกับวิญญาณ โดยกําหนดอย่างสูง ย่อมเกิดแก่คัพภเสยยกสัตว์ทั้งหลายพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณก่อน นามรูปนั้นเป็นเหตุและปัจจัยแห่งการบัญญัติปฏิสนธิวิญญาณ. ในจักขุทวาร จักขุปสาทรูป กับรูปารมณ์ จัดเป็นรูปขันธ์ขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตกับวิญญาณ จัดเป็นนาม. นามรูปนั้นเป็นเหตุและเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติจักขุวิญญาณ. ในวิญญาณที่เหลือมีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า กถํ ปน ภนฺเต ความว่า ในที่นี้ (ภิกษุ) เมื่อถามวัฏฏะว่า มีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร จึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า สกิกายทิฏิน โหติ ความว่า เมื่อจะถามวิวัฏฏะนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น. ด้วยคําว่า นี้เป็นความชอบใจในรูป นี้ตรัสปริญญาปฏิเวธการแทงตลอดด้วยการกําหนดรู้และทุกขสัจด้วยคํานี้ว่า นี้เป็นโทษในรูป ดังนี้ ตรัสปหานปฏิเวธการแทงตลอดด้วยการละ และสมุทยสัจ ด้วยคํานี้ว่า นี้เป็นการสลัดออกในรูปดังนี้ ตรัสสัจฉิกิริยปฏิเวธ การแทงตลอดด้วยการทําให้แจ้งและนิโรธสัจ.ธรรมทั้งหลายมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ในฐานะ ๓ ประการเหล่านี้ นี้เป็นภาวนาปฏิเวธ การแทงตลอดด้วยภาวนา และเป็นมรรคสัจ แม้ในบทที่เหลือทั้งหลาย ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า พหิทฺธา คือในกายที่มีวิญญาณของผู้อื่น. ก็ด้วย บทว่าสพฺพนิมิตฺเตสุ นี้ ทรงสงเคราะห์เอาแม้สิ่งที่ไม่เนื่องกับอินทรีย์. อีกอย่าง

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 184

หนึ่ง ในคําว่า สวิฺาเณ กาเย ดังนี้ ถือเอากายทั้งของตนและของคนอื่นด้วยเหมือนกัน. และถือเอาสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ด้วยการถือเอานิมิตทุกอย่างในภายนอก.

บทว่า อนตฺตกตานิ (ที่อนัตตาทํา) ได้แก่ ตั้งอยู่ในอนัตตากระทํา.บทว่า กตมตฺตานํ ผุสิสฺสนฺติ ความว่า หยั่งลงสู่ความเห็นว่าเที่ยง (สัสสตทิฏฐิ) ว่า ตั้งอยู่ในตน เช่นไรจึงแสดงผลดังนี้ จึงได้กล่าวอย่างนั้น.บทว่า ตณฺหาธิปเตยฺเยน คือมีตัณหาเป็นใหญ่. บทว่า ตตฺร ตตฺร ได้แก่ ในธรรมทั้งหลายนั้นๆ . บทว่า สฏิมตฺตานํ ความว่า ภิกษุเหล่านี้ละกรรมฐานตามปกติเสียแล้ว พิจารณากรรมฐานใหม่อย่างอื่น ไม่ทําลายบัลลังก์บรรลุพระอรหัตในที่นั่งนั่นแล. บทที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถามหาปุณณมสูตรที่ ๙