๑๐. จูฬปุณณสูตร ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ
[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 185
๑๐. จูฬปุณณสูตร
ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 22]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 185
๑๐. จูฬปุณณสูตร
ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ
[๑๓๐] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ํา.
[๑๓๑] ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ซึ่งนิ่งเงียบโดยลําดับ จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษหรือไม่หนอ.ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษไหมเล่า.
ภิ. ข้อนี้หามิได้เลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ นั่นก็ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.
[๑๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษ ภักดีต่ออสัตบุรุษ มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ มีถ้อยคําอย่างอสัตบุรุษ มีการงานอย่างอสัตบุรุษ มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ ย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 186
[๑๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็อสัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษ.
[๑๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่อยสัตบุรุษอย่างไรคืออสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม เป็นมิตรเป็นสหาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษ.
[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมคิดเบียดเบียนตนเองบ้าง คิดเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ.
[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเตองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้รู้อย่างอสัตบุรุษ.
[๑๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคําอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มักพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคําหยาบเจรจาเพ้อเจ้อ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคําอย่างอสัตบุรุษ.
[๑๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มักเป็นผู้ทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 187
สิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษ.
[๑๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คืออสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทําดีทําชั่วแล้ว ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดําเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกอื่นให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ.
[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยไม่เคารพ ให้ทานไม่ใช่ด้วยมือของตน ทําความไม่อ่อนน้อมให้ทาน ให้ทานอย่างส่งๆ เป็นผู้มีความเห็นว่าไร้ผล ให้ทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่า ย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ.
[๑๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษนั่นแหละ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษอย่างนี้ ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิคอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีความรู้อย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคําอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้มีการงานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ ให้ทานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของอสัตบุรุษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คติของอสัตบุรุษคืออะไร คือ นรก หรือกําเนิดสัตว์เดียรัจฉาน.
[๑๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษหรือไม่หนอ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 188
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า รู้ พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่าผู้นี้เป็นสัตบุรุษ นั้นเป็นฐานะที่มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษไหมเล่า.
ภิ. รู้ พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ แม้ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ นั้นก็เป็นฐานะที่มีได้.
[๑๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ ภักดีต่อสัตบุรุษ มีความคิดอย่างสัตบุรุษ มีความรู้อย่างสัตบุรุษมีถ้อยคําอย่างสัตบุรุษ มีการงานอย่างสัตบุรุษ มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ ย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ.
[๑๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะมีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ.
[๑๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างไรคือสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา เป็นมิตร เป็นสหายดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ. [๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างไรคือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมไม่คิดเบียดเบียนตนเองไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 189
[๑๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมรู้เพื่อไม่เบียดเบียนตนเอง รู้เพื่อไม่เบียดเบียนผู้อื่น รู้เพื่อไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ.
[๑๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคําอย่างสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากคําพูดส่อเสียด งดเว้นจากคําหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคําอย่างสัตบุรุษ.
[๑๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ.
[๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้วมีผล ผลวิบากของกรรมที่ทําดีทําชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกอื่นมี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดําเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกอื่นให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ.
[๑๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยเคารพ ทําความอ่อนน้อมให้ทานให้ทานอย่างบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความเห็นว่ามีผล จึงให้ทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 190
[๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษนั่นแหละ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษอย่างนี้ ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิดอย่างนี้ มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคําอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีการงานอย่างนี้ มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ ให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของสัตบุรุษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คติของสัตบุรุษคืออะไร คือ ความเป็นใหญ่ในเทวดา หรือความเป็นใหญ่ในมนุษย์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนแล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ จูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐
จบ เทวทหวรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 191
อรรถกถาจูฬปุณณมสูตร
จูฬปุณณมสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในจูฬปุณณมสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. บทว่า ตุณฺหีภูตํได้แก่ เป็นผู้นิ่งเงียบ คือ นิ่งเงียบ ในทิศที่ทรงเหลียวดูไป. บทว่า อนุ-วิโลเกตฺวา ความว่าทรงลืมพระเนตรอันประดับด้วยประสาทรูปทั้ง ๕ แล้วทรงเหลียวดุทั่วทิศ ทรงเห็นความไม่มี แม้โดยชั้นที่สุด การคะนองมือและการคะนองเท้า. บทว่า อสปฺปุริโส ได้แก่ บุรุษชั่ว. บทว่า โน เหตํภนฺเต ความว่า เหตุที่อสัตบุรุษนั้นย่อมไม่อาจรู้อสัตบุรุษนั้น เหมือนคนตาบอดไม่รู้คนตาบอด เพราะฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงกล่าวอย่างนั้น พึงทราบเนื้อความในฐานะทั้ง ๓ แม้เบื้องหน้าจากนี้ไป โดยนัยนี้นั่นแล. บทว่าอสทฺธมฺมสมนฺนาคโต ได้แก่คบหากับอสัตบุรุษ บทว่าอสปฺปุริสภตฺตีได้แก่ คบหากับอสัตบุรุษ. บทว่า อสปฺปุริสจินฺตี ได้แก่ คิดแล้วด้วยการคิดอย่างอสัตบุรุษ. บทว่า อสปฺปุริสมนฺตี ได้แก่รู้อย่างอสัตบุรุษ. บทว่าอสปฺปุริสวาโจ ได้แก่พูดอย่างอสัตบุรุษ. บทว่าอสปฺปุริสกมฺมนโตได้แก่ ทําการงานอย่างอสัตบุรุษ บทว่า อสปฺปุริสทิฏฺี ได้แก่ประกอบด้วยทิฏฐิของอสัตบุรุษ. บทว่า อสปฺปุริสทานํ ได้แก่ทานที่พวกอสัตบุรุษพึงให้. บทว่า ตฺยสฺส มิตฺตา ได้แก่ สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นมิตรของอสัตบุรุษนั้น. บทว่า อตฺตพฺยาพาธาย เจเตติ ความว่า ย่อมคิดเพื่อต้องการความทุกข์แก่ตนอย่างนี้ว่า เราจักฆ่าสัตว์ เราจักถือเอาของที่เขาไม่ให้เราจักประพฤติมิจฉาจาร เราจักสมาทานอกุศลกรรมบถ ๑๐ แล้วประพฤติ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 192
บทว่า ปรพฺยาพาธาย เจเตติ ความว่า ย่อมคิดเพื่อต้องการความทุกข์แก่ผู้อื่นอย่างนี้ว่า เราจักบังคับมันโดยประการที่คนโน้นฆ่าสัตว์ตัวโน้น ลักเอาของๆ คนโน้นที่เขาไม่ได้ให้ สมาทานอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติ. บทว่าอุภยพฺยาพาธาย ความว่า ย่อมคิดเพื่อต้องการความทุกข์แก่ทั้งสองฝ่ายอย่างนี้ว่า เราจักพาคนโน้นและคนโน้นไปสมาทานอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติ.ในบทว่าอตฺตพฺยาพาธายปิ มนฺเตติ ดังนี้เป็นต้น ความว่า เมื่อรู้ว่าเราจักสมาทานอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติ ชื่อว่า ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนเมื่อรู้ว่า เราจัก (ชักชวน) คนโน้นสมาทานอกุศลกรรมบถ ประพฤติ ดังนี้ชื่อว่า ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เมื่อรู้ว่าเรากับคนอื่นแม้ทั้งสอง ร่วมกันสมาทานอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนและคนอื่นทั้งสองฝ่าย.
บทว่า อสกฺกจฺจํ ทานํ เทติ ความว่าย่อมไม่ทําความเคารพทั้งไทยธรรมทั้งบุคคล. ให้อาหารที่ประกอบด้วยข้าวสารที่เสียๆ ไม่กระทําให้สมบูรณ์ (คือทําไม่สะอาด) ชื่อว่า ไม่ทําความเคารพไทยธรรม. ไม่ปัดกวาดที่สําหรับนั่ง ให้นั่งไม่เลือกที่ วางตั้งตามมีตามเกิดให้ทาน ชื่อว่าไม่ทําความเคารพบุคคล. บทว่า สหตฺถา ได้แก่ไม่ให้ด้วยมือของตน ใช้ทาสและกรรมกรเป็นต้นให้. บทว่าอจิตฺตึกตฺวา ความว่าไม่ทําความยําเกรงทั้งในไทยธรรมทั้งในบุคคล ให้ทานโดยนัยดังกล่าวข้างต้น. บทว่า อปฺปวิฏํความว่า เป็นผู้ต้องการทิ้งให้เหมือนยัดเหี้ยเข้าจอมปลวก. บทว่าอนาคมนทิฏิโก ได้แก่ เป็นผู้ไม่หวังผลให้. บทว่า ตตฺถ อุปฺปชฺชติ ความว่าให้ทานแล้วย่อมไม่เกิดในนรก. ก็ความเห็นผิดอันใด ที่อสัตบุรุษนั้นถือเอาเพราะความเป็นผู้มีลัทธิชั่ว ย่อมเกิดในนรกด้วยความเห็นผิดอันนั้น พึงทราบ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 193
ธรรมฝ่ายขาวโดยปฏิปักขนัย (นัยฝ่ายตรงกันข้าม) ดังกล่าวแล้ว. บทว่าเทวมหตฺตตา ได้แก่ เทวดาชั้นกามาวจร ๖. บทว่า มนุสฺสมหตฺตตาได้แก่ สมบัติแห่งตระกูลทั้ง ๓ (กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี) คําที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้น. ก็พระสูตรนี้ตรัสเนื่องด้วยวัฏฏะล้วนๆ แล.
จบ อรรถกถาจูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เทวทหสูตร
๒. ปัญจัตตยสูตร
๓. กินติสูตร
๔. สามคามสูตร
๕. สุนักขัตตสูตร
๖. อาเนญชสัปปายสูตร
๗.คณกโมคคัลลานสูตร
๘ โคปกโมคคัลลานสูตร
๙. มหาปุณณมสูตร
๑๐. จูฬปุณณมสูตร