พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. อนุปทสูตร ว่าด้วยพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญพระสารีบุตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36116
อ่าน  896

[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 194

อนุปทวรรค

๑. อนุปทสูตร

ว่าด้วยพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญพระสารีบุตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 22]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 194

อนุปทวรรค

๑. อนุปทสูตร

[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหารอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีกรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธพจน์แล้ว.

ว่าด้วยพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญพระสารีบุตร

[๑๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสคํานี้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายสารีบุตรเป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริงมีปัญญาว่องไว มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาคม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารี-บุตร เห็นแจ้งธรรม ตามลําดับบทได้ชั่วครึ่งเดือน ในการเห็นแจ้งธรรมตามลําดับบทของพระสารีบุตรนั้น มีดังต่อไปนี้.

ธรรมในปฐมฌาน

[๑๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนี้ สารีบุตรสงัดจากกามทีเดียวสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้า ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและ สุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ก็ธรรมในปฐมฌาน คือ วิตกวิจาร ปีติสุข เอกัคคตาจิต ผัสสะเวทนา สัญญา เจตนาวิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะสติอุเบกขา มนสิการเป็นอันสารีบุตรกําหนดได้แล้ว ตามลําดับบท ธรรม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 195

เหล่านั้นที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับไป เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า นัยว่าธรรมที่ยังไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้วย่อมเสื่อมไปอย่างนี้เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่ถูกตัณหาทิฏฐิอาศัย ไม่ติดใจ ในธรรมเหล่านั้นหลุดพ้นแล้ว พรากไปได้แล้ว มีใจที่ถูกทําให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่. เธอรู้ชัดว่า คุณวิเศษเป็นเหตุสลัดออกไป (จากภพ) ยิ่งขึ้นไปอีก ยังมีอยู่ เธอยังมีความเห็นต่อไปว่า ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกที่ยิ่งขึ้นยังมีอยู่. เพราะกระทําความรู้นั้นให้มากขึ้น.

ธรรมในทุติยฌาน

[๑๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก (คือ) สารีบุตรเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะระงับ วิตก วิจาร ไม่มี วิตก ไม่มี วิจาร มีแต่ปีติ สุข เกิดแต่สมาธิ อยู่. ก็ธรรมทั้งหลายใน ทุติยฌาน คือ ความผ่องใสแห่งจิตในภายใน ปีติ สุข เอกัคคตาจิต ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนาวิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์วิริยะ สติอุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกําหนดได้แล้วตามลําดับบท ธรรมเหล่านั้นเป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้วทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับไป. เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า นัยว่าธรรมที่ยังไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้วย่อมเสื่อมไปอย่างนี้ เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่ถูก ตัณหาทิฏฐิอาศัย ไม่ติดใจในธรรมเหล่านั้น หลุดพ้นแล้ว พรากไปได้แล้ว มีใจที่ถูกทําให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่. เธอรู้ชัดว่า คุณพิเศษเป็นเหตุสลัดออกไป (จากภพ) ยิ่งขึ้นไปอีก ยังมีอยู่ และ เธอยังมีความเห็นต่อไปว่า ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกยังมีอยู่ เพราะกระทําความรู้นั้นให้มากขึ้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 196

ธรรมในตติยฌาน

[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก (คือ) สารีบุตรเป็นผู้วางเฉย เพราะปีติคลายไป มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย ซึ่งพระอริยเจ้า เรียกว่า เป็นผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุข เข้าตติยฌานอยู่. ก็ธรรมทั้งหลายใน ตติยฌาน คืออุเบกขา สุข สติ สัมปชัญญะ เอกัคคตาจิต ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกําหนดได้แล้ว ตามลําดับบท ธรรมเหล่านั้นที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับไป. เธอรู้ชัคอย่างนี้ว่า ธรรมที่ยังไม่มีแก่เราย่อมมี ที่มีแล้วก็เสื่อมไปอย่างนี้. เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย ไม่ถูกตัณหาทิฏฐิอาศัย ไม่ติดใจในธรรมเหล่านั้น หลุดพ้นแล้ว พรากไปได้แล้ว มีใจที่ถูกทําให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่. เธอรู้ชัดว่า คุณพิเศษเป็นเหตุสลัดออกไป (จากภพ) ยิ่งขึ้นไปอีก ยังมีอยู่ (และ) เธอยังมีความเห็นต่อไปว่า ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกยังมีอยู่ เพราะกระทําความรู้นั้นให้มากขึ้น.

ธรรมในจตุตถฌาน

[๑๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก (คือ) สารีบุตรเข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้แล้ว และดับ โสมนัสโทมนัส ก่อนๆ ได้แล้ว มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่ ก็ธรรมทั้งหลายในจตุตถฌานคือ อุเบกขาอทุกขมสุขเวทนา ความไม่คํานึงถึงแห่งใจเพราะบริสุทธิ์แล้ว สติบริสุทธิ์ เอกัคคาตาจิต ผัสสะเวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติอุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกําหนดได้แล้ว ตามลําดับบท ธรรม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 197

เหล่านั้นที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และถึงความดับไป เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า นัยว่า ธรรมที่ยังไม่มีแก่เราย่อมมี ที่มีแล้วก็เสื่อมสิ้นไป อย่างนี้. เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่ถูก ตัณหาทิฏฐิ อาศัย ไม่ติดใจในธรรมเหล่านั้น หลุดพ้นแล้ว พรากไปได้แล้ว มีใจที่ถูกทําให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่. เธอรู้ชัดว่า คุณพิเศษเป็นเหตุสลัดออกไป (จากภพ) ยิ่งขึ้นไป ยังมีอยู่ และเธอยังมีความเห็นต่อไปว่า ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกยังมีอยู่ เพราะกระทําความรู้นั้นให้มากขึ้น

ธรรมในอากาสานัญจายตนฌาน

[๑๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเข้าอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงเลยรูปสัญญาไป โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ (และ) เพราะไม่มนสิการถึง นานัตตสัญญา ก็ธรรมทั้งหลายใน อากาสานัญจายตนฌาน คืออากาสานัญจายตนสัญญ า เอกัคคตาจิต ผัสสะ เวทนา สัญญาเจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติอุเบกขา มนสิการเป็นอันพระสารีบุตรกําหนดแล้ว ตามลําดับบท ธรรมเหล่านั้นเป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้วทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับไป เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า นัยว่าธรรมที่ยังไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้วย่อมเสื่อมไปอย่างนี้. เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่ถูก ตัณหาทิฏฐิ อาศัย ไม่ติดใจในธรรมเหล่านั้น หลุดพ้นแล้วพรากไปได้แล้ว มีใจที่ถูกทําให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่ เธอรู้ชัดว่าคุณพิเศษเป็นเหตุสลัดออกไป (จากภพ) ยิ่งขึ้นไปอีก ยังมีอยู่. และเธอยังมีความเห็นต่อไปว่า ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกไป ยังมีอยู่ เพราะกระทําความรู้นั้นให้มากขึ้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 198

ธรรมในวิญญาณัญจายตนฌาน

[๑๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) สารีบุตรล่วงเลยอากาสานัญจายตนฌาน ไป โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด อยู่. ก็ธรรมทั้งหลายใน วิญญาณัญจาตนฌาน คือ วิญญาณัญจายตฌาน เอกัคคตาจิตผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะสติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกําหนดได้แล้วตามลําดับบทธรรมเหล่านั้นที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับไป.เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า นัยว่า ธรรมที่ยังไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้วย่อมเสื่อมไปอย่างนี้. เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่ถูก ตัณหาทิฏฐิ อาศัย ไม่คิดใจในธรรมเหล่านั้น หลุดพ้นแล้ว พรากไปได้แล้ว มีใจที่ถูกทําให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่. เธอรู้ชัดว่า คุณพิเศษเป็นเหตุสลัดออกไป (จากภพ) ยิ่งขึ้นไปอีกยังมีอยู่. และเธอยังมีความเห็นต่อไปว่า ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกยังมีอยู่ เพราะกระทําความรู้นั้นให้มากขึ้น.

ธรรมในอากิญจัญญายตนฌาน

[๑๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) สารีบุตรล่วงเลยวิญญาณัญจายตนฌานไป โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรสักหน่อยหนึ่ง อยู่. ก็ธรรมทั้งหลายในอากิญจัญญายตนฌาน คือ อากิญจัญญายตนฌาน เอกัคคตาจิตผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะสติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกําหนดได้แล้วตามลําดับบทธรรมเหล่านั้นที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับไป.เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า นัยว่า ธรรมที่ยังไม่มีย่อมมีแก่เรา ที่มีแล้วย่อมเสื่อมไป

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 199

อย่างนี้. เธอไม่ยินดี. ไม่ยินร้าย ไม่ถูก ตัณหาทิฏฐิ อาศัย ไม่ติดใจในธรรมเหล่านั้น หลุดพ้นแล้ว พรากไปได้แล้ว มีใจที่ถูกทําให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่. เธอรู้ชัดว่า คุณพิเศษเป็นเหตุสลัดออกไป (จากภพ) ยิ่งขึ้นไปอีก ยังมีอยู่. และเธอยังมีความเห็นต่อไปว่า ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกยังมีอยู่. เพราะกระทําความรู้นั้นให้มากขึ้น.

ธรรมในเนวสญัญานาสัญญายตนฌาน

[๑๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) สารีบุตรล่วงเลย อากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อยู่. เธอเป็นผู้มีสติ ออกจากสมาบัตินั้น. ครั้นแล้วเธอพิจารณาเห็นธรรม ที่เป็นอดีตดับไปแล้ว เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ว่า นัยว่าธรรมที่ยังไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้วย่อมเสื่อมไป อย่างนี้. เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย ไม่ถูกตัณหาทิฏฐิอาศัย ไม่ติดใจในธรรมเหล่านั้น หลุดพ้นแล้วพรากไปได้แล้ว มีใจที่ถูกทําให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่. เธอรู้ชัดว่าคุณพิเศษเป็นเหตุสลัดออกไป (จากภพ) ยิ่งขึ้นไปอีก ยังมีอยู่ (และ) เธอยังมีความเห็นต่อไปว่าธรรมเครื่องสลัดออกยังมีอยู่ เพราะกระทําความรู้นั้นให้มากขึ้น.

[๑๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) สารีบุตรล่วงเลย เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ไปโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่. อาสวะทั้งหลายของเธอ เป็นอันสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นแม้ด้วยปัญญา. เธอมีสติ ออกจากสมาบัตินั้น. ครั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่เป็นอดีต ที่ดับไปแล้ว ที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ว่า นัยว่า ธรรมที่ยังไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้วย่อมเสื่อมไปอย่างนี้. เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 200

ไม่ถูกตัณหาทิฏฐิ อาศัย ไม่ติดใจในธรรมเหล่านั้น หลุดพ้นแล้ว พรากไปได้แล้ว มีใจที่ถูกทําให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่. เธอรู้ชัดว่าคุณพิเศษเป็นเหตุสลัดออกไป (จากภพ) ยิ่งขึ้นไปอีก ยังมีอยู่. และเธอยังมีความเห็นต่อไปว่า ธรรมเป็นเครื่องสลัดออก ยังมีอยู่ เพราะกระทําความรู้นั้นให้มากขึ้น.

พระสารีบุตรเป็นผู้ชํานาญ

[๑๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่าเป็นผู้ถึงความชํานาญ ถึงบารมี (คุณธรรมให้ถึงความสําเร็จ) ในอริยศีลในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ในอริยวิมุตติ ภิกษุรูปนั้น คือสารีบุตรนั่นเอง ที่ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชม ว่าเป็นผู้ถึงความชํานาญ ถึงบารมี ในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ในอริยวิมุตติ.

พระสารีบุตรเป็นพระชิโนรส

[๑๖๕า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่าเป็นพุทธชิโนรส เกิดจากพระโอฐของพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดแต่ธรรมเป็นผู้อันธรรมเนรมิตขึ้น เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่อามิสทายาท ภิกษุรูปนั้น ก็คือสารีบุตรนั่นเอง ที่ผู้กล่าวโดยชอบ พึงกล่าวชมว่าเป็นพุทธชิโนรสเกิดจากพระโอฐของ พระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดแต่ธรรม เป็นผู้อันธรรมเนรมิตขึ้น เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่อามิสทายาท. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสารีบุตร ประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ตถาคตให้เป็นไปแล้วไปตามลําดับโดยชอบทีเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบ อนุปทสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 201

อรรถกถาอนุปทสูตร

อนุปทสูตรมีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

ในอนุปทสูตรนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า ได้ตรัสถ้อยคําสรรเสริญคุณของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรโดยนัยว่า เป็นบัณฑิต เป็นต้นนี้.

ตรัสเพราะเหตุไร?

เพราะ บรรดาพระเถระที่เหลือทั้งหลาย พระมหาโมคคัลลานะปรากฏคุณความดีว่า มีฤทธิ์, พระมหากัสสปะ ปรากฏคุณความดีว่าธุตวาทะ (ผู้กล่าวธุดงค์) พระอนุรุทธเถระ ปรากฏคุณความดีว่ามีทิพยจักษุ พระอุบาลีเถระปรากฏคุณความดีว่าเป็นวินัยธร. พระเรวตเถระ ปรากฏคุณความดีว่า เป็นผู้ยินดีในฌาน พระอานันทเถระ ปรากฏคุณความดีว่าเป็นพหูสูต, พระเถระทั้งหลายนั้นๆ ปรากฏคุณงามความดีนั้นๆ อย่างนี้ ดังพรรณนามานี้. แต่ว่าคุณความดีของพระสารีบุตรเถระยังไม่ปรากฏ.

เพราะเหตุไร?

เพราะคุณความดีทั้งหลายของพระเถระผู้มีปัญญา ใครไม่อาจรู้เพราะไม่ได้กล่าวไว้. เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดําริว่าเราจักบอกคุณความดีทั้งหลายของพระสารีบุตรจึงทรงรอให้บริษัทที่เป็นสภาคกันประชุม. การกล่าวคุณในสํานักของบุคคลผู้เป็นวิสภาคกัน ย่อมไม่ควรแล.คนที่เป็นวิสภาคกันเมื่อใครๆ กล่าวสรรเสริญ (เขา) ก็จะกล่าวตําหนิอย่างเดียว. ก็ในวันนั้น บริษัทที่เป็นสภาคกันกับพระเถระประชุมกัน. ครั้นทรง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 202

เห็นว่าบริษัทนั้นประชุมกันแล้ว เมื่อจะตรัสสรรเสริญตามความเป็นจริง จึงทรงเริ่มพระเทศนานี้.

เหตุให้เป็นบัณฑิต

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ เป็นบัณฑิตด้วยเหตุ๔ ประการเหล่านี้ คือความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท (และ) ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ และอฐานะ (เหตุที่เป็นไปได้ และเป็นไปไม่ได้).

ในบทว่า มหาปณฺโ เป็นต้น มีอธิบายว่า เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญามาก. ในข้อนั้น ความต่างกันแห่งปัญญามากเป็นต้น มีดังต่อไปนี้.

ปัญญามาก

บรรดา ปัญญามาก เป็นต้นเหล่านั้น ปัญญามากเป็นไฉน?

ชื่อว่า ปัญญามาก เพราะกําหนดถือเอาคุณคือศีลมาก. ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกําหนดถือเอาคุณคือสมาธิ คุณคือปัญญา คุณคือวิมุตติคุณคือวิมุตติญาณทัสสนะมาก. ชื่อว่ามีปัญญามาก เพราะกําหนดถือเอาฐานะและอฐานะมาก สมาบัติเป็นเครื่องอยู่มาก อริยสัจมาก สติปัฏฐานสัมมัปปธาน อิทธิบาทมาก อินทรีย์ พละ โพชฌงค์มาก อริยมรรคมากสามัญญผลมาก อภิญญามาก นิพพานอันเป็นปรมัตถ์มาก.

ปัญญากว้าง

ปัญญากว้างเป็นไฉน?

ชื่อว่า ปัญญากว้าง เพราะญาณ (ปัญญา) กว้างเป็นไปในขันธ์ต่างๆ.ชื่อว่าปัญญากว้าง เพราะญาณเป็นไปในธาตุต่างๆ กว้าง ในอายตนะต่างๆ กว้าง

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 203

ในปฏิจจสมุปบาทต่างๆ กว้าง ในการได้สุญญตาต่างๆ กว้าง ในอรรถ ธรรมนิรุตติ ปฏิภาณต่างๆ กว้าง ในคุณคือศีลต่างๆ กว้าง ในคุณคือสมาธิ ปัญญาวิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะต่างๆ กว้าง ในฐานะและมิใช่ฐานะต่างๆ กว้างในสมาบัติเครื่องอยู่ต่างๆ กว้าง ในอริยสัจต่างๆ กว้าง ในสติปัฏฐานต่างๆ กว้าง ในสัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ต่างๆ กว้าง ในอริยมรรค สามัญผล อภิญญาต่างๆ กว้าง ในนิพพานอันเป็นปรมัตถ์ล่วงธรรมอันทั่วไปแก่ชนต่างๆ กว้าง.

ปัญญาร่าเริง

ปัญญาร่าเริงเป็นไฉน?

ชื่อว่าปัญญาร่าเริง เพราะบุคคลบางคนในโลกนี้มากด้วยความร่าเริงมากด้วยความรู้มากด้วยความยินดีมากด้วยความปราโมทย์บําเพ็ญศีลบําเพ็ญอินทรีย์สังวร บําเพ็ญโภชเนมัตตัญุตา ชาคริยานุโยค ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์วิมุตติญาณทัสสนขันธ์. ชื่อว่า มีปัญญาร่าเริง เพราะเป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ รู้แจ้งฐานะและมิใช่ฐานะ. ชื่อว่ามีปัญญาร่าเริงเพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริงบําเพ็ญสมาบัติเป็นเครื่องอยู่ให้บริบูรณ์ เป็นผู้มากด้วยความร่าเริงแทงตลอดอริยสัจ. ชื่อว่า มีปัญญาร่าเริง เพราะยังสติปัฎฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละโพชฌงค์ อริยมรรคให้เจริญ.เป็นผู้มากด้วยความร่าเริง ทําให้แจ้งสามัญผล. ชื่อว่า มีปัญญาร่าเริง เพราะแทงตลอดอภิญญาทั้งหลาย. ชื่อว่ามีปัญญาร่าเริง เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง มากด้วยความรู้ ความยินดีและความปราโมทย์ กระทําให้แจ้งพระนิพพานอันเป็นปรมัตถ์.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 204

ปัญญาว่องไว

ปัญญาว่องไวเป็นไฉน?

ชื่อว่า ปัญญาว่องไวเพราะแล่นไปเร็ว ยังรูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ หรือรูปอยู่ในที่ใกล้ทั้งหมด โดยความเป็นของไม่เที่ยง. ชื่อว่า ปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็วโดยความเป็นทุกข์. ชื่อว่า ปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปสู่เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สู่วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ฯลฯ ทั้งมวลโดยความเป็นของไม่เที่ยงโดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา. ชื่อว่าปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็วยังจักษุ ฯลฯ ชรา มรณะ ที่เป็นอดีตอนาคต และปัจจุบัน โดยความเป็นของไม่เท่ยง โดยความเป็นทุกข์โดยความเป็นอนัตตา ชื่อว่า ปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็วในนิพพาน อันเป็นที่ดับรูป เพราะใคร่ครวญพิจารณาทําให้แจ้ง ทําให้เด่นชัดว่าทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะอรรถว่าสิ้นไปชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า น่ากลัว ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะอรรถว่าไม่มีแก่นสาร. ชื่อว่าปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็วในพระนิพพานอันเป็นที่ดับชรามรณะ โดยทําให้แจ้งชัดว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา มรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป ฯลฯ. ชื่อว่าปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็วในพระนิพพานอันเป็นที่ดับชรา มรณะ โดยใคร่ครวญ พิจารณา ทําให้แจ้ง ทําให้เด่นชัดว่ารูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา มรณะไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความคลายกําหนัดเป็นธรรมดา มีความดับเป็นธรรมดา.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 205

ปัญญาคม

ปัญญาคมเป็นไฉน?

ชื่อว่าปัญญาคม เพราะตัดกิเลสได้เร็ว. ชื่อว่าปัญญาคม เพราะไม่ให้กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ที่ให้เกิดขึ้นแล้ว อาศัยอยู่ ไม่ให้อกุศล.ธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วๆ เล่าๆ ไม่ให้ราคะ โทสะ โมหะ โกธะอุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ มัจฉริยะ มายา สาไถย ถัมภะ สารัมภะ มานะอติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง กรรมอันนําไปสู่ภพทั้งปวง อาศัยอยู่ คือละ ได้แก่ บรรเทา หมายความว่า ทําให้มีที่สุด ให้ถึงความไม่มี. ชื่อว่าปัญญาคม เพราะอริยมรรค ๔ สามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ และอภิญญา ๖ ย่อมเป็นอันบุคคลนี้บรรลุแล้ว คือทําให้แจ้งแล้ว ได้แก่ ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาในอาสนะเดียว.

ปัญญาหลักแหลม

ปัญญาหลักแหลม เป็นไฉน?

ชื่อว่า ผู้มีปัญญาหลักแหลม เพราะบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยความหวาดเสียว มากด้วยความสะดุ้ง มากไปด้วยความรําคาญ มากไปด้วยความไม่ยินดี มากไปด้วยความไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งปวง เมินหน้าไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง ย่อมเจาะ คือทําลายกองโลภะที่ไม่เคยเจาะไม่เคยทําลายมาก่อน. ชื่อว่าผู้มีปัญญาหลักแหลม เพราะเจาะ. คือทําลาย กองโทสะกองโมหะ โกธะ. อุปนาหะ ฯลฯ กรรมที่จะให้ไปสู่ภพทั้งหมด ที่ยังไม่เคยทําลายมาก่อน.

อุปมาพระอัครสาวกบรรลุธรรม

บทว่า อนุปทธมฺมวิปสฺสนํ ความว่า เห็นแจ้งวิปัสสนาในธรรม

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 206

ตามลําดับๆ ด้วยสามารถแห่งสมาบัติหรือองค์ฌาน. เมื่อเห็นแจ้งอยู่อย่างนี้จึงบรรลุพระอรหัต โดย (ในเวลา) กึ่งเดือน.. ส่วนพระมหาโมคคัลลานะบรรลุพระอรหัตโดย (เวลาล่วงไป) ๗ วัน. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พระสารีบุตรก็เป็นผู้มีปัญญามากกว่า. แท้จริง พระมหาโมคคัลลานเถระ เมื่อพิจารณาธรรมที่จะต้องท่องเที่ยวไปด้วยสัมมสนญาณสําหรับพระสาวกทั้งหลาย เพียงเอกเทศเท่านั้นเหมือนเอาปลายไม้เท้าจี้ พยายามถึง ๗ วัน จึงบรรลุพระอรหัต. (ส่วน) พระสารีบุตรเถระ พิจารณาธรรมที่จะต้องท่องเที่ยวไปด้วยสัมมสนญาณ สําหรับสาวกทั้งหลายอย่างสิ้นเชิง เว้นไว้แต่ที่จะท่องเที่ยวไปด้วยสัมมสนญาณ สําหรับพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า. ท่านพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ ได้พยายามแล้วถึงครึ่งเดือน. ก็ว่ากันว่า ครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้วได้รู้ว่า เว้นพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเสีย ชื่อว่าพระสาวกอื่น ชื่อว่าสามารถบรรลุสิ่งที่เราพึงบรรลุด้วยปัญญาจักไม่มี. เหมือนอย่างว่า บุรุษคิดว่า จักเอาลําไม้ไผ่ ครั้นเห็นไผ่ มีชัฏ (เรียวหนาม) มากก็คิดว่า เมื่อถางเรียวหนาม จักชักช้า (เสียเวลา) จึงสอดมือเข้าไปตามช่องตัดเอาลําไม้ไผ่ที่พอจับถึงที่โคนและที่ปลาย ถือเอาได้แล้วก็หลีกไป บุรุษนั้นไปได้ก่อนกว่า (ใคร) ก็จริง แต่ไม่ได้ลําไม่ไผ่ที่แก่ หรือตรง. ส่วนคนอื่นเห็นไม้ไผ่ดังนั้นเหมือนกัน คิดว่าถ้าจะถือเอาลําไผ่ที่พอจับถึง ก็จักไม่ได้ลําไผ่ที่แก่หรือตรง จึงนุ่งหยักรั้ง แล้วเอามีดใหญ่ถางหนามไผ่ออก เลือกเอาลําทั้งแก่ ทั้งตรงแล้วไป บุรุษผู้นี้ไปถึงทีหลังก็จริง แต่ก็ได้ลําไผ่ทั้งแก่ทั้งตรงฉันใด พึงทราบข้อเปรียบเทียบนี้เหมือนกับการท่องเที่ยวไปด้วยสัมมสนญาณ (๑) ของพระเถระทั้งสองเหล่านี้.

ก็พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ ครั้นพยายามอยู่ถึงครึ่งเดือนอย่างนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเวทนาปริคคหสูตร (๒) แก่ทีฆนขปริพาชก


๑. พม่าเป็น ปธานํ ความเพียร

๒. ม.ม. ๑๓/ ๒๖๓ ทีฆนขสูตร

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 207

ผู้เป็นหลาน ณ ที่ใกล้ประตูถ้ำสูกรขาตา ยืนพัดพระทศพลอยู่ ส่งญาณไปตามแนวพระธรรมเทศนา ถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณในวันที่๑๕ จําเดิมตั้งแต่วันบวช แทงตลอดญาณ ๖๗ ประการ ถึงปัญญา ๑๖ อย่างโดยลําดับ.

บทว่า ตตฺรีทํ ภิกฺขเว สารีปุตฺตสฺส อนุปทธมฺมวิปสฺสนายความว่า ในการเห็นแจ้งธรรมตามลําดับบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่าสารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตามลําดับนั้น ข้อนสําหรับพระสารีบุตร. คํานี้ตรัสหมายเอาส่วนแห่งวิปัสสนานั้นๆ ที่จะพึงกล่าวในบัดนี้.

บทว่า ปเม ฌาเน ได้แก่ธรรมเหล่าใดในปฐมฌาน คือในภายในสมาบัติ.

บทว่า ตฺยสฺส แยกเป็น เต อสฺส แปลว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอันสารีบุตรนี้ (กําหนดได้แล้วตามลําดับบท) .

บทว่า อนุปทววตฺถิตา โหนฺติ ความว่า เป็นอันกําหนดได้แล้วคือกําหนดตัดได้แล้ว รู้แล้ว รู้แจ้งแล้ว ตามลําดับ คือโดยลําดับๆ

ถามว่า พระเถระรู้ธรรมเหล่านั้นได้อย่างไร

ตอบว่า พระเถระตรวจดูธรรมเหล่านั้นแล้วรู้ว่า วิตกมีการยกจิตขึ้นเป็นลักษณะ เป็นไป. อนึ่ง รู้ว่าวิจารมีการเคล้าอารมณ์เป็นลักษณะ ปีติมีการซาบซ่านไปเป็นลักษณะ สุขมีความสําราญเป็นลักษณะ เอกัคคตาจิตมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ ผัสสะมีการถูกต้องเป็นลักษณะ เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ. สัญญามีการจําได้เป็นลักษณะ เจตนามีความจงใจเป็นลักษณะ. วิญญาณมีความรู้แจ้งเป็นลักษณะ ฉันทะมีความประสงค์จะทําเป็นลักษณะ อธิโมกข์มีการน้อมใจเชื่อเป็นลักษณะ วิริยะมีการประคองจิตไว้เป็นลักษณะ สติมีการปรากฏเป็นลักษณะ อุเบกขามีความเป็นกลางเป็นลักษณะมนสิการมีการใส่ใจด้วยความยินดีเป็นลักษณะเป็นไป. พระสารีบุตรเมื่อรู้อยู่

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 208

อย่างนี้ ย่อมกําหนดวิตกตามสภาวะเพราะอรรถว่า ยกจิตขึ้น ฯลฯ ย่อมกําหนดมนสิการโดยความยินดี ตามสภาวะ ด้วยเหตุนั้น จึงได้ตรัสว่า ธรรมเหล่านั้นย่อมเป็นอันพระสารีบุตรนั้น กําหนดได้แล้วโดยลําดับบท

บทว่า วิทิตา อุปฺปชฺชนฺติ ความว่า เมื่อเกิดขึ้น ก็เป็นอันรู้แจ้ง คือเป็นธรรมปรากฏชัดเกิดขึ้น.

บทว่า วิทิตา อุปฏหนฺติ ความว่า แม้ทั้งอยู่ก็เป็นอันรู้แจ้ง คือเป็นธรรมปรากฏชัดตั้งอยู่.

บทว่า วิทิตา อพฺภตฺถํ คจฺฉนฺติ ความว่า แม้ดับไปก็เป็นอันรู้แจ้ง คือเป็นธรรมปรากฏชัดดับไป.

ก็ในข้อนี้ ต้องปล่อยวางความเป็นผู้มีญาณอันนั้น และความเป็นผู้มากด้วยญาณ (จิต) เหมือนอย่างว่าใครๆ ไม่อาจถูกต้องปลายนิ้วมือนั้น ด้วยปลายนิ้วมือนิ้วนั้นนั่นแหละได้ฉันใด พระโยคีก็ไม่อาจรู้ความเกิดขึ้นหรือความตั้งอยู่ หรือความดับไปของจิตดวงนั้น ด้วยจิตดวงนั้นนั่นแหละได้ฉันนั้นเหมือนกัน ต้องปล่อยวางความเป็นผู้มีญาณนั้นก่อน ด้วยประการดังกล่าวมา.ก็ถ้าจิต ๒ ดวง เกิดร่วมกัน ใครๆ ไม่พึงอาจรู้ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่หรือความดับไป ของจิตดวงหนึ่งด้วยจิตดวงหนึ่งได้ อนึ่ง ผัสสะ เวทนาสัญญา เจตนา หรือจิต ชื่อว่าเกิดร่วมกัน ๒ ดวงย่อมไม่มี ย่อมเกิดขึ้นคราวละดวงๆ เท่านั้น ต้องปล่อยวางภาวะที่จิต (เกิดร่วมกัน) มากดวงออกไปเสียอย่างนี้.

ถามว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ธรรม ๑๖ ประการในภายในสมาบัติย่อมเป็นของแจ่มแจ้งปรากฏแก่พระมหาเถระได้อย่างไร?

ตอบว่า พระมหาเถระกําหนดเอาวัตถุและอารมณ์. เพราะวัตถุและอารมณ์พระเถระท่านกําหนดได้ด้วยเหตุนั้น เมื่อท่านนึกถึงความเกิดขึ้นของธรรมเหล่านั้น ความเกิดย่อมปรากฏ เมื่อนึกถึงความตั้งอยู่ ความตั้งอยู่ย่อม

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 209

ปรากฏ เมื่อนึกถึงความดับ ความดับย่อมปรากฏ เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่าวิทิตา อุปฺปชฺชนฺติ วิทิตา อุปฏหนฺติ วิทิตา อพฺภตฺถํ คจฺฉนฺติ (อันสารีบุตรผู้รู้แจ้งแล้วทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ถึงความดับไป) ด้วยคําว่าอหุตฺวา สมฺโภนฺติ นี้ พระเถระเห็นความเกิดขึ้น. ด้วยคําว่า หุตฺวาปฏิเวนฺติ นี้ ท่านเห็นความเสื่อมไป.

บทว่า อนุปาโย ได้แก่ไม่เข้าถึงด้วยอํานาจราคะ.

บทว่า อนปาโย ได้แก่ไม่เข้าถึงด้วยอํานาจปฏิฆะ.

บทว่า อนิสฺสิโต ได้แก่อันตัณหานิสัยและทิฏฐินิสัย อาศัยอยู่ไม่ได้.

บทว่า อุปฺปฏิพทฺโธ ได้แก่ไม่ถูกฉันทราคะผูกพัน.

บทว่า วุปฺปมุตฺโต ได้แก่ หลุดพ้นจากกามราคะ.

บทว่า วิสํยุตฺโต ได้แก่ พรากจากโยคะ ๔ หรือกิเลสทั้งปวง.

บทว่า วิมริยาทิกเตน คือทําไม่ให้มีเขตแดน.

บทว่า เจตสา คือ อยู่ด้วยจิตอย่างนั้น.

เขตแดนในคําว่า วิมริยาทิกเตน นั้นมี๒ อย่าง คือเขตแดน คือกิเลส และเขตแดนคืออารมณ์. ก็ถ้าพระเถระนั้น ปรารภธรรม ๑๖ ประการ อันเป็นไปในภายในสมาบัติเกิดกิเลสมีราคะเป็นต้น การเกิดกิเลสขึ้นนั้น พึงมีด้วยเขตแดนคือกิเลส. แต่ในบรรดาธรรม ๑๖ เหล่านั้น แม้ข้อหนึ่งก็ไม่เกิดแก่พระเถระนั้น เพราะเหตุนั้น เขตแดนคือกิเลสย่อมไม่มี เขตแดนคืออารมณ์ก็ไม่มี. ก็ถ้าพระเถระนั้นนึกถึงธรรม ๑๖ ประการอันเป็นไปในภายในสมาบัติ ธรรมบางข้อพึงมาตามครรลอง เนื้อเป็นอย่างนั้น เขตแดน คืออารมณ์ก็จะพึงมีแก่พระเถระนั้น ก็เมื่อพระเถระนั้นนึกถึงธรรม ๑๖ ประการ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 210

เหล่านั้น ชื่อว่าธรรมที่จะไม่มาตามครรลอง ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น แม้เขตแดนคืออารมณ์ก็ย่อมไม่มี.

เขตแดน ๒ อย่าง ประการอื่นอีก คือ เขตแดน คือ วิกขัมภนะ (การข่มไว้) และเขตแดนคือ สมุจเฉท (การตัดขาด) ใน ๒ อย่างนั้น เขตแดนคือ สมุจเฉท จักมีข้างหน้า. แต่ในที่นี้ประสงค์เอาเขตแดนคือวิกขัมภนะ เพราะพระเถระนั้นข่มข้าศึกได้แล้ว เขตแดนคือการข่มจึงไม่มี เพราะเหตุนั้น ท่านจึงอยู่ด้วยใจอันกระทําให้ปราศจากเขตแดน.

บทว่า อุตฺตรินิสฺสรณํ ได้แก่ เป็นเครื่องสลัดออกอันยิ่งไปกว่านั้น. ก็ในพระสูตรทั้งหลายอื่นๆ ท่านกล่าวพระนิพพานว่า เป็นเครื่องสลัดออกอันยิ่ง. แต่ในสูตรนี้พึงทราบว่า ประสงค์เอาคุณวิเศษอย่างยอดเยี่ยม.

บทว่า ตพฺพหุลีการา ได้แก่ เพราะทําความรู้นั้นให้มาก.

บทว่า อตฺถิ เตฺววสฺส โหติ ความว่า พระเถระนั้นย่อมมีความรู้นั้น นั่นแล มั่นคงยิ่งขึ้นอีกว่า ธรรมเครื่องสลัดออกที่ยิ่งขึ้นไป ยังมีอยู่.แม้ในวาระที่เหลือก็พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้.

ส่วนในวาระที่ ๒ ชื่อว่า ความผ่องใส เพราะอรรถว่า แจ่มใส.พระสารีบุตรย่อมกําหนดธรรมเหล่านั้น ได้โดยสภาพ.

ในวาระที่ ๔ บทว่า อุเปกฺขา ได้แก่ อุเบกขาเวทนานั่นแล ในฐานะที่เป็นสุข (เวทนา) บทว่า ปสิทฺธตฺตา (ปริสุทฺธตฺตา) เจตโสอนาโภโค ความว่า ความสุขนี้ ท่านกล่าวว่าหยาบ เพราะมีการผูกใจไว้ว่าในฌานนั้น ความสุขใดยังมีอยู่ ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถึงการไม่ผูกใจไว้ เพราะความเป็นผู้มีสติบริสุทธิ์อย่างนี้. อธิบายว่าเพราะไม่มีความสุขอย่างหยาบนั้น.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 211

บทว่า สติปาริสุทฺธิ คือ สติบริสุทธิ์นั่นแหละ. แม้อุเบกขาก็ชื่อว่า อุเบกขาบริสุทธิ์.

บทว่า สโต วุฏหติ ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสติ คือ รู้ด้วยญาณ ย่อมออก (จากฌาน)

บทว่า เต ธมฺเม สมนุปสฺสติ ความว่า เพราะในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน การเห็นแจ้งธรรมตามลําดับบทย่อมมีได้ เฉพาะพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น สําหรับพระสาวกทั้งหลายย่อมมีไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อจะทรงแสดงวิปัสสนากลาป (การเห็นแจ้งเป็นหมวดเป็นหมู่) ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้จึงตรัสอย่างนี้.

บทว่า ปฺาย จสฺส ทสฺวา อาสวา ปริกฺขีณา โหนฺติความว่า เพราะเห็นสัจจะ ๔ ด้วยมรรคปัญญา อาสวะทั้ง ๔ ย่อมเป็นอันสิ้นไป. พระสารีบุตรเถระมีทั้งวาระบรรลุพระอรหัต ทั้งวาระเข้านิโรธสมาบัติเพราะนําเอาสมถะและวิปัสสนามาเจริญควบคู่กันไป. ในที่นี้ พระองค์ทรงถือเอาแต่วาระที่บรรลุพระอรหัต. บางท่านกล่าวว่า พระสารีบุตรเถระเข้านิโรธ แล้วๆ เล่าๆ ด้วยความชํานาญแห่งจิต.

ในวาระทั้งสองนั้น ท่านมีปกติเข้านิโรธสมาบัติในกาลใด ในกาลนั้น วาระแห่งนิโรธย่อมมาผลสมาบัติเป็นอันเก็บซ่อนไว้ ในกาลใด เข้าผลสมาบัติเป็นปกติ ในกาลนั้น วาระของผลสมาบัติก็มา นิโรธสมาบัติเป็นอันเก็บซ่อนไว้. ส่วนพระเถระชาวชมพูทวีปกล่าวว่าแม้พระสารีบุตรเถระก็นําเอาสมถะและวิปัสสนาทั้งคู่มา (บําเพ็ญ) ทําให้แจ้งอนาคามิผลแล้ว จึงเข้านิโรธสมาบัติ ออกจากนิโรธสมาบัติแล้วบรรลุพระอรหัต.

บทว่า เต ธมฺเม ได้แก่ รูปธรรมที่เกิดแต่สมุฏฐาน ๓ อันเป็นไปในภายในสมาบัติ หรือธรรมอันเป็นไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติข้าง

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 212

ต้น. เพราะแม้ธรรมเหล่านั้น ก็เป็นธรรมที่จะต้องพิจารณาเห็นแจ้งในวาระนี้เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ตรัสคํานี้เพื่อแสดงว่าพระสารีบุตรเถระย่อมเห็นแจ้งธรรมเหล่านั้น.

บทว่า วสิปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ถึงความเป็นผู้ชํานาญคล่องแคล่ว.

บทว่า ปารมิปฺปตฺโต คือ เป็นผู้ถึงความสําเร็จ.

ในบทว่า โอรโส เป็นต้น ชื่อว่าเป็นโอรส เพราะเกิด โดยฟังพระสุรเสียงอันเกิดในพระอุระของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า เกิดแต่พระโอฐเพราะเกิดโดยได้สดับ พระสุรเสียงอันเกิดแต่พระโอฐ

อนึ่ง พึงทราบว่า ชื่อว่าเกิดแต่ธรรม เพราะเป็นผู้เกิดโดยธรรมและพึงทราบว่า ชื่อว่า ธรรมเนรมิต เพราะธรรมเนรมิตขึ้น พึงทราบว่าชื่อว่า เป็นทายาททางธรรม เพราะถือเอาส่วนแบ่งคือ ธรรม พึงทราบว่าไม่ใช่ทายาททางอามิส เพราะไม่ได้ถือส่วนแบ่งคืออามิส. คําที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาอนุปสูตรที่ ๑