พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ฉวิโสธนสูตร หลักการตรวจสอบจิตที่พ้นจากอาสวะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36117
อ่าน  612

[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 213

๒. ฉวิโสธนสูตร

หลักการตรวจสอบจิตที่พ้นจากอาสวะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 22]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 213

๒. ฉวิโสธนสูตร

หลักการตรวจสอบจิตที่พ้นจากอาสวะ

[๑๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถีสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดํารัสแล้ว.

โวหาร ๔

[๑๖๗] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสคํานี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ พยากรณ์อรหัตตผลว่า ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําได้ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย ไม่ควรชมเชย ไม่ควรคัดค้านคําที่ภิกษุนั้นกล่าวแล้ว. ครั้นแล้ว ควรถามปัญหาเธอว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสโวหารไว้๔ อย่างเหล่านั้น โดยชอบ, ๔ อย่างคืออะไร? คือ

ความที่บุคคลมีปกติกล่าวสิ่งที่เห็นแล้ว ว่าได้เห็นแล้ว ๑

ความที่บุคคลมีปกติกล่าวสิ่งที่ได้ยินแล้ว ว่าได้ยินแล้ว ๑

ความที่บุคคลมีปกติกล่าวสิ่งที่ได้ทราบแล้ว ว่าได้ทราบแล้ว ๑

ความที่บุคคลมีปกติกล่าวสิ่งที่ได้รู้แล้ว ว่าได้รู้แล้ว ๑นี้แล โวหาร ๔ อย่างที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 214

เห็น เป็นพระอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้โดยชอบแล้ว. ก็จิตของท่านรู้อย่างไร เห็นอย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นในโวหารทั้ง ๔ เหล่านี้.

การพยากรณ์อรหัตตผลที่พระพุทธเจ้ารับรอง

[๑๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทํากิจที่ควรทําเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลําดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้โดยชอบ จึงมีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดีไม่ยินร้าย ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิอาศัย ไม่ติดใจ ในสิ่งที่ได้เห็นแล้ว หลุดพ้นแล้ว พรากออกได้แล้ว มีจิตที่ถูกทําให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่ ข้าพเจ้าจะไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ... ในสิ่งที่ได้ยินแล้วแล ... ข้าพเจ้าจะไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ... ในสิ่งที่ได้ทราบแล้วแล ... ข้าพเจ้า จะไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่ถูก ตัณหา และ ทิฏฐิ อาศัย ไม่ติดใจ ในสิ่งที่ได้รู้แล้วแล หลุดพ้นแล้วพรากออกได้แล้ว มีจิตที่ถูกทําให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นในโวหารทั้ง ๔ เหล่านี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คํากล่าวของภิกษุนั้น เธอทั้งหลายควรชมเชยควรอนุโมทนา ว่า สาธุ. ครั้นแล้วก็ควรถามปัญหาสูงขึ้นไปอีกว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว ๕ ประการ๕ ประการคืออะไร คือ:-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 215

อุปาทานขันธ์ คือ รูป ๑

อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา ๑

อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา๑

อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร ๑

อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ ๑

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้โดยชอบแล้ว.ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้ .

[๑๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทํากิจที่ควรทําเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลําดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงมีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูปแล้วแลว่าไม่มีกําลัง ปราศจากความน่ารัก ไม่น่าชื่นใจ จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสํารอก เพราะดับ เพราะสละ เพราะสลัดทิ้งซึ่งอุปาทานขันธ์ ที่ยึดมั่นในรูป และอนุสัยคือความตั้งใจ และความยึดมั่นในรูปได้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งเวทนาแล้วแลว่า.. ข้าพเจ้ารู้แจ้งสัญญาแล้วแลว่า . . . ข้าพเจ้ารู้แจ้งสังขารแล้วแลว่า . . ข้าพเจ้ารู้แจ้งวิญญาณแล้วแลว่า ไม่มีกําลัง ปราศจากความน่ารัก ไม่น่าชื่นใจ จึงทราบชัดว่าจิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสํารอก เพราะดับ เพราะสละเพราะสลัดทิ้ง ซึ่งอุปาทานขันธ์ ที่ยึดมั่น วิญญาณ และ อนุสัยคือความตั้งใจ และความยึดมั่นในวิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 216

ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายคําที่ภิกษุนั้นกล่าวแล้ว เธอทั้งหลายควรชื่นชม ควรอนุโมทนาว่า สาธุ ครั้นแล้ว ควรถามปัญหาให้ยิ่งในรูปอีกว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัส ธาตุ ไว้๖ อย่างโดยชอบ ธาตุ ๖ อย่าง คืออะไรคือ ปฐวีธาตุ ๑. อาโปธาตุ ๑.เตโชธาตุ๑ วาโยธาตุ ๑ อากาสธาตุ ๑ วิญาณธาตุ ๑ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ธาตุ ๖ อย่างเหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้โดยชอบแล้ว. ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไรจึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ เหล่านี้.

[๑๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทํากิจที่ควรทําเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลําดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ จึงมีธรรมอันสมควรพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าเข้าถึง ปฐวีธาตุแล โดยความเป็นอนัตตา และไม่ได้เข้าถึงอัตตา อาศัย ปฐวีธาตุ และทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสํารอก เพราะดับเพราะสละ เพราะสลัดทิ้ง ซึ่งอุปาทานขันธ์ ที่ยึดมั่นอาศัย ปฐวีธาตุและอนุสัย คือความตั้งใจ และความยึดมัน (ในปฐวีธาตุ) . ข้าพเจ้าเข้าถึงอาโปธาตุ แล โดยความเป็น อนัตตา....ข้าพเจ้าเข้าถึง เตโชธาตุ แลโดยความเป็น อนัตตา.... ข้าพเจ้าเข้าถึง วาโยธาตุแล โดยความเป็นอนัตตา....ข้าพเจ้าเข้าถึง อากาสธาตุ แล โดยความเป็น อนัตตา....ข้าพเจ้าเข้าถึงวิญญาณธาตุ แล โดยความเป็น อนัตตาไม่ได้เข้าถึงอัตตา อาศัยวิญญาณธาตุ และรู้ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 217

สิ้นไป เพราะสํารอกเพราะดับ เพราะสละ เพราะสลัดทิ้ง ซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้งหลายที่ยึดมั่น อันอาศัย วิญญาณธาตุและอนุสัย คือความตั้งใจ และความยึดมั่นในวิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้แล พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่น ในธาตุ๖ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คําที่ภิกษุนั้นกล่าวแล้ว เธอทั้งหลาย ควรชื่นชม ควรอนุโมทนาว่า สาธุ ครั้นแล้ว ควรถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัส อายตนะทั้งภายในภายนอก ๖ อย่างเหล่านี้แลไว้ โดยชอบ. ๖ อย่างคืออะไร? คือ จักษุและรูป ๑ โสตะและเสียง๑ ฆานะและกลิ่น ๑ ชิวหาและรส ๑ กายและโผฏฐัพพะ๑ มโนและธรรม ๑ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อายตนะทั้งภายใน และภายนอก ๖ อย่างเหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็น ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้โดยชอบแล้ว. ก็จิต ของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ใน อายตนะ๖เหล่านี้ ทั้งภายใน และภายนอก.

[๑๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทํากิจที่ควรทําเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลําดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ จึงมีธรรมอันสมควรพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสํารอก เพราะดับ เพราะสละเพราะสลัดทิ้งซึ่งความพอใจ ความกําหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะเยอทะยาน อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่น และอนุสัย คือ ความตั้งใจและความเชื่อมั่น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 218

ในจักษุ ในรูป ในจักษุวิญญาณ (และ) ในธรรมที่จะพึงทราบได้ด้วยจักษุ-วิญญาณ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า....ในโสตะในเสียง ในโสตวิญญาณ.... ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า.... ในฆานะ ในกลิ่น ใน ฆานวิญญาณ ....ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า.... ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ.... ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า....ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ.... ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า จิตของข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสํารอก เพราะคับ เพราะสละเพราะสลัดทิ้ง ซึ่งความพอใจ ความกําหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะเยอทะยาน อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่น (และ) อนุสัย คือความตั้งใจ และความเชื่อมั่น ในมนะ ในธรรมารมณ์ (และ) ในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้แลจึงหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นในอายตนะ ๖ ทั้งภายในและภายนอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรชื่นชม อนุโมทนา คําที่ภิกษุนั้นกล่าวแล้วว่า สาธุ. ครั้นแล้ว ก็ควรถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่าเมื่อท่านผู้มีอายุรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงถอน อนุสัย คือ อหังการและมมังการ ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมด ที่เป็นภายนอกออกได้ด้วยดี.

[๑๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทํากิจที่ควรทําเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลําดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ จึงมีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อก่อนข้าพเจ้าเป็นผู้ครองเรือน ยังเป็นผู้ไม่รู้ พระตถาคตบ้าง สาวกของพระตถาคตบ้างแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้ศรัทธาในพระตถาคต. ข้าพเจ้านั้น ประกอบด้วยการได้ศรัทธานั้น จึงพิจารณาเห็นดังนี้

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 219

ว่า ฆราวาสดับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง เรายังอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่เขาขัดแล้ว นี้ไม่ใช่ทําได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ แล้วออกจากเรือน บวชเป็น อนาคาริก เถิด. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สมัยต่อมา ข้าพเจ้านั้นแล จึงละโภคสมบัติ น้อยบ้าง มากบ้างละวงศ์ญาติ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือน บวชเป็น อนาคาริก. ข้าพเจ้านั้นเป็นผู้บวชแล้วอย่างนี้ ถึงพร้อมด้วย สิกขาและ สาชีพ ของภิกษุทั้งหลาย เพราะละ ปาณาติบาตจึงเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศัสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดูได้เป็นผู้อนุเคราะห์เกื้อกูลภูตและสรรพสัตว์. เพราะละอทินนาทาน จึงเป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนเป็นคนสะอาด ไม่ใช่ขโมยอยู่. เพราะละกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ จึงเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล (และ) เว้นจากเมถุน อันเป็นธรรมของชาวบ้าน. เพราะละมุสาวาท จึงเป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท เป็นผู้กล่าวคําจริง ดํารงอยู่ในคําสัตย์เป็นหลักฐาน เชื่อถือได้ ไม่พูดลวงโลก. เพราะ ละวาจาส่อเสียด จึงเป็นผู้เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด ได้ยินจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่ (นําไป) บอกฝ่ายโน้น เพื่อทําลายฝ่ายนี้หรือได้ยินจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่ (นําไป) บอกฝ่ายนี้ เพื่อทําลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้เมื่อเขาแตกกันแล้ว ก็สมานให้ดีกันหรือเมื่อเขาดีกันอยู่ ก็ส่งเสริมชอบความพร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนที่พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมในคนที่พร้อมเพรียงกันเป็นผู้กล่าววาจาสมานสามัคคีกัน. เพราะละวาจาหยาบ จึงเป็นผู้เว้นขาดจากวาจาหยาบ เป็นผู้กล่าววาจาซึ่งไม่มีโทษ เสนาะโสต ชวนให้รักใคร่ จับใจเป็นภาษาของคนเมืองที่คนส่วนมากปรารถนาและชอบใจ. เพราะละการเจรจา

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 220

เพ้อเจ้อ จึงเป็นผู้เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ กล่าวถูกกาละ กล่าวตามเป็นจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย เป็นผู้กล่าววาจามีหลักฐาน มีที่อ้าง มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ ตามกาล ข้าพเจ้านั้น ได้เป็นผู้เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เป็นผุ้ฉันหนเดียว งดฉันในเวลาราตรีเว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรํา ขับร้องเล่นดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล เป็นผู้เว้นขาดจากการทัดทรงและตกแต่ง (แต่งตัว) ด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว เป็นผู้เว้นขาดจากการนั่งนอน บนที่นั่งที่นอนอันสูงและใหญ่ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เป็นผู้เว้นขาดจากการรับข้าวเปลือกดิบ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับสตรีและเด็กสาว เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย เป็นผู้เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เป็นผู้เว้นขาดจากรับช้าง โค ม้า และลา เป็นผู้เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน เป็นผู้เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เป็นผู้เว้นขาดจากการซื้อและขาย เป็นผู้เว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่งโกงด้วยของปลอม. และโกงด้วยเครื่องตวงวัด เป็นผู้เว้นขาดจากการรับสินบนการล่อลวง และการตลบตะแลง เป็นผู้เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจํา การตีชิง การปล้น และการขู่กรรโชก ข้าพเจ้านั้น ได้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร เป็นเครื่องบริหารกาย และบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง จะไปยังที่ใดๆ ก็ย่อมถือเอา (บริขาร) ไปได้หมด เหมือนนกมีแต่ปีกจะบินไปยังที่ใดๆ ก็ย่อมมีเฉพาะปีกของตนเท่านั้นเป็นภาระบินไป ฉะนั้น.

[๑๗๓] ข้าพเจ้านั้น ประกอบด้วย สีลขันธ์ อันเป็นอริยะนี้แล้วจึงได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน ข้าพเจ้านั้น เห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่เป็นผู้ถือเอาโดย นิมิต และโดย อนุพยัญชนะ ปฏิบัติเพื่อสํารวม-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 221

จักขุนทรีย์อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุซึ่งบุคคลผู้เมื่อไม่สํารวมอยู่ จะพึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌา และโทมนัส ครอบงําได้ รักษา จักขุนทรีย์ถึงความสํารวมในจักขุนทรีย์แล้ว ได้ยินเสียงด้วยโสตะแล้ว .... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว....ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว.... ถูกต้องโผฎฐัพพะด้วยกายแล้ว รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอา โดย นิมิต และโดย อนุพยัญชนะปฏิบัติเพื่อสํารวมมนินทรีย์ อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้เมื่อไม่สํารวมอยู่ จะพึงถูกอกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และ โทมนัสครอบงําได้ รักษามนินทรีย์ ถึงความสํารวมในมนินทรีย์แล้ว.

[๑๗๔] ข้าพเจ้านั้น ประกอบด้วยอินทรีย์สังวร อันเป็นอริยะนี้แล้วจึงได้เสวยสุข อันไม่เจือทุกข์ภายใน ได้เป็นผู้ทําความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดูในเวลางอแขน และเหยียดแขนในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยวและลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง.

[๑๗๕] ข้าพเจ้านั้นประกอบด้วย สีลขันธ์ อันเป็นอริยะนี้ประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะนี้ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะนี้แล้วจึงได้พอใจ เสนาสนะอันสงัด คือป่าโคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำในภูเขาป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง และลอมฟาง.ข้าพเจ้านั้น กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ (นั่งขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดํารงสติมั่นเฉพาะหน้า. ข้าพเจ้านั้นละอภิชฌาในโลกได้แล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชื่อว่าได้ชําระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความชั่ว คือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์เกื้อกูล ในสรรพสัตว์และภูต ชื่อว่าได้ชําระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 222

พยาบาท ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มี อาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ ชื่อว่าได้ชําระจิตให้บริสุทธิ์จาก ถีนมิทธะละ อุทธัจจะกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายในอยู่. ชื่อว่าได้ชําระจิตให้บริสุทธิ์จาก อุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา แล้วเป็นผู้ข้ามความสงสัยได้ ไม่มีคําถามแสดงความสงสัย ในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชื่อว่าได้ชําระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา.

[๑๗๖] ข้าพเจ้านั้น ครั้นละนิวรณ์๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องทําใจให้เศร้าหมอง บั่นทอนปัญญาได้แล้ว จึงได้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ได้เข้าปฐมฌาน มี วิตก มีวิจาร มีปีติสุข เกิดแต่วิเวก ได้เข้าทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก และไม่มีวิจาร มีปีติ และสุข เกิดแต่สมาธิอยู่ได้เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติมีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกายได้เข้าตติยฌาน.... ได้เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละทุกข์ละสุข และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่.

[๑๗๗] ข้าพเจ้านั้น เมื่อจิตเป็น สมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีกิเลสดุจเนิน ปราศจาก อุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานดํารงอยู่แล้วถึงความไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว จึงได้น้อมจิต เพื่ออาสวักขยญาณ. ข้าพเจ้านั้น ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ นี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ปฎิปทาให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อข้าพเจ้านั้น รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จาก กามาสวะแม้จาก ภวาสวะแม้จาก อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณรู้ว่า เราหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้น

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 223

แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําได้ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อข้าพเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้แล้วอนุสัย คือ อหังการ และ มมังการ ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมด ในภายนอก เป็นอันข้าพเจ้าถอนขึ้นแล้วด้วยดี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายคําที่ภิกษุนั้นกล่าวแล้ว เธอทั้งหลายควรชื่นชม ควรอนุโมทนาว่า สาธุ.ครั้นแล้ว พึงกล่าวแก่ภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของข้าพเจ้าทั้งหลาย เป็นโชคของข้าพเจ้าทั้งหลายที่ได้เห็นท่านผู้มีอายุ ผู้เป็นสพรหมจารีเช่นท่าน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม ยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ ฉวิโสธนสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 224

อรรถกถาฉวิโสธนสูตร

ฉัพพิโสธนสูตร (๑) มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

พยากรณ์อรหัตตผล ในฉัพพิโสธนสูตรนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระอรหัตย่อมเป็นอันพยากรณ์แล้วทีเดียวด้วยบทเดียวบ้าง สองบทบ้าง ในบททั้งหลาย มีอาทิว่า ขีณา ชาติ (ชาติสิ้นแล้ว) ดังนี้. แต่ในสูตรนี้ท่านนําเอาการพยากรณ์พระอรหัตตผลมา (กล่าวครบ) ทั้ง ๔ บท.

ในบทที่ว่า ทิฏฺเ ทิฏฺวาทิตา (ความเป็นผู้มีวาทะว่าเห็นในอารมณ์ ชื่อว่าความเป็นผู้มีวาทะว่าเห็นในอารมณ์ที่เห็นแล้ว. ด้วยเจตนาใดเจตนานั้นเป็นเหตุกล่าวว่า เราเห็นในอารมณ์ที่เห็นแล้วนั้น แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้นี่แหละ.

บทว่า อยมนุธมฺโม แปลว่า สภาพนี้.

บทว่า อภินนฺทิตพฺพํ คือ อย่าพึงยินดีอย่างเดียว ก็เมื่อภิกษุนี้ปรินิพพานแล้ว ควรทําสักการะ (ในฐาน) พระขีณาสพ แม้ทุกประการ.

บทว่า อุตฺตรึ ปฺโห ท่านแสดงว่า ถ้าท่านทั้งหลายยังไม่พอใจการพยากรณ์ (พระอรหัต) ของภิกษุนี้ ควรถามปัญหานี้ แม้ให้สูงขึ้น.ในวาระทั้ง ๓ แม้ข้างหน้าแต่วาระนี้ไป ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อพลํ แปลว่า ทุรพล.

บทว่า วราคุนํ คือ มีการปราศจากไปเป็นสภาพ.


(๑) บาลีเป็นฉวิโสธนสูตร

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 225

บทว่า อนสฺสาสิกํ ได้แก่ เว้นจากความโปร่งใจ.

บทว่า อุปายูปาทานา นี้เป็นชื่อของตัณหาและทิฏฐิ.

จริงอยู่ตัณหาและทิฏฐิทั้งหลาย ชือว่า อุบาย เพราะเข้าถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๓ ชื่อว่า อุปาทาน เพราะยึดถือ. ชื่อว่า อภินิเวสา (การยึดมั่น) เพราะยึดมั่นรูปนั้นด้วยตัณหาและทิฏฐิเหล่านั้น. เรียกว่าอนุสัยเพราะนอนแนบสนิทอยู่กับรูปนั้น ด้วยตัณหาและทิฏฐิเหล่านั้นนั่นแล.

ในบทว่า ขยา วิราคา เป็นต้น ความว่า เพราะความสิ้นไปเพราะความคลายกําหนัด. บทแม้ทั้งหมดเหล่านี้ เป็นไวพจน์ของกันและกันทั้งนั้น.

ความหมายของธาตุ

ธาตุที่ทําให้ตั้งอยู่ ชื่อว่า ปฐวีธาตุ. ธาตุที่ประสานให้ติดอยู่ ชื่อว่าอาโปธาตุ. ธาตุที่ทําให้อบอุ่น ชื่อว่า เตโชธาตุ. ธาตุที่ทําให้เคลื่อนไหวชื่อว่า วาโยธาตุ. ธาตุที่ถูกต้องไม่ได้ ชื่อว่าอากาศธาตุ. ธาตุที่รู้แจ้ง ชื่อว่าวิญญาณธาตุ.

บทว่า อนตฺตโต อุปคจฺฉึ ความว่า เราย่อมไม่เข้าถึง (คือยึดครอง) โดยส่วนแห่งอัตตาว่า นี้เป็นอัตตา.

อนึ่ง ย่อมไม่เข้าถึงธาตุทั้งหลายที่เหลือซึ่งอาศัยปฐวีธาตุ และอุปาทายรูป. แม้อรูปขันธ์ทั้งหลายก็อาศัยปฐวีธาตุโดยปริยายหนึ่งเหมือนกันเพราะวัตถุรูปทั้งหลายที่อรูปขันธ์ทั้งหลายนั้นอาศัย ก็อาศัยอยู่กับปฐวีธาตุเพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวว่าย่อมไม่ยึดครองธาตุที่เหลืออันอาศัยปฐวีธาตุ ย่อมกล่าวว่า เราย่อมไม่ยึดครองแม้รูปธรรมและอรูปธรรมที่เหลือทั้งหลาย ว่าเป็นอัตตา. ก็ในบทที่ว่า อาศัยอากาศธาตุ ภูตรูปและอุปาทายรูปแม้ทั้งหมด

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 226

ชื่อว่า อาศัยอากาศธาตุ โดยเป็นอวินิโภครูป. อรูปขันธ์ทั้งหลายที่มีรูปวัตถุเป็นที่อาศัย ก็ชื่อว่า อาศัยอากาศธาตุเหมือนกัน. เมื่อเป็นอย่างนั้น แม้ในที่นี้ รูปและอรูปย่อมเป็นอันถือเอาแล้วทีเดียว. ส่วนในบทที่ว่า อาศัยวิญญาณธาตุ ขันธ์ ๓ ที่เกิดร่วมกัน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นรูปอาศัยวิญญาณธาตุดังกล่าวมานั้น รูปและอรูปย่อมเป็นอันถือเอาแล้วทีเดียว.

รูป

ในบทว่า รูเป จกฺขุวิฺาเณ จกฺขุวิฺาเณน วิฺาตพฺเพสุธมฺเมสุ นี้มีอธิบายว่า เมื่อกล่าวว่า รูปใดมาสู่คลองจักขุทวารแล้วดับไปในอดีต รูปใดที่มาสู่คลองจักขุทวาร แล้วจักดับไปในอนาคต และรูปใดมาแล้วดับไปในปัจจุบันรูปทั้งหมดนั้น ชื่อว่ารูป. ส่วนรูปใดไม่มาสู่คลองจักขุทวารดับแล้วแม้ในอดีต ที่ยังไม่มาจักดับแม้ในอนาคต และที่ยังไม่มาก็ดับแล้ว แม้ในปัจจุบัน รูปนั้นสงเคราะห์เข้าในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณดังนี้ พระจุลลาภยเถระผู้ชํานาญพระไตรปิฎกได้กล่าวว่า ในฐานะนี้ เธอแยกรูปเป็น ๒ แล้วเธอจะทําอย่างไร ในวาระว่าด้วยฉันทะที่จะมาถึงข้างหน้าข้อนี้ไม่ถูกนะ. เพราะเหตุนั้น รูปที่มาสู่คลองจักขุทวารแล้วก็ดี. ที่ยิ่งไม่มาถึงก็ดี ในกาลทั้ง ๓ ทั้งหมด จัดเป็นรูปทั้งนั้น ส่วนขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณ พึงทราบว่า เป็นธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณ.ก็ในที่นี้มีความหมายดังนี้ว่า "ในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งพร้อมกับจักขุวิญญาณ"

บทว่า ฉนฺโท ได้แก่ความพอใจด้วยตัณหา.

บทว่า ราโค ได้แก่ ฉันทะนั่นแหละ จัดเป็นราคะด้วยอํานาจความกําหนัด.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 227

บทว่า นนฺทิ ได้แก่ ฉันทะนั่นแหละ จัดเป็นนันทิ ด้วยอํานาจความเพลิดเพลินยินดี.

บทว่า ตัณหา ความว่า ฉันทะนั่นแหละจัดเป็นตัณหา ด้วยอํานาจความทะยานอยาก. แม้ในทวารทั้งหลายที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ในบทว่า อหงฺการมมงฺการมานานุสยา นี้ อหังการเป็นตัวมานะมมังการเป็นตัณหา. ทั้งอหังการ ทั้งมมังการนั้นแหละเป็นมานานุสัย.

เหตุผลที่ตรัสอาสวักขยญาณ

ถามว่า เหตุไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัส ปุพเพนิวาสญาณและทิพพจักขุญาณไว้ แต่กลับมาตรัสคํานี้ว่า อาสวานํ ขยาณาย.

แก้ว่า เพราะภิกษุทั้งหลาย ไม่ทูลถามธรรมะที่เป็นโลกิยะ ถามแต่โลกุตรเท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อจะตรัสบอกปัญหาที่ทูลถามเท่านั้น จึงตรัสอย่างนั้น. นี้ชื่อเอกวิสัชชิตสูตรนั้น มีชื่อ (อีกอย่างหนึ่ง) ว่า ฉัพพิโสธนสูตรบ้าง.

ฉัพพิโสธนิยธรรม

ในพระสูตรนี้ (ธรรม) ๖ หมวดนี้ คือ โวหาร ขันธ์ ๕ ธาตุ๖ อายตนะภายในและอายตนะภายนอก ๖ กายที่มีวิญญาณของตน ๑ กายที่มีวิญญาณของคนอื่น ๑ เป็นธรรมบริสุทธิ์หมดจดแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ฉัพพิโสธนิยะ

ส่วนพระปรสมุททวาสีเถระกล่าวหมวด (ธรรม) ๖ หมวด โดยรวมกายที่มีวิญญาณของตน กับของคนอื่นเข้าเป็นหมวดเดียวกันกับอาหาร ๔.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 228

ก็หมวด (ธรรม) ๖ หมวดนี้ พึงชําระให้ถูกต้อง โดยปริยายที่ขยายความไว้ในพระวินัยอย่างนี้ว่า ท่านบรรลุอะไร? บรรลุอย่างไร? บรรลุเมื่อไร? บรรลุที่ไหน? ละกิเลสพวกไหน? ได้ธรรมพวกไหน?

ก็ในที่นี้ คําที่ว่า ท่านบรรลุอะไร? เป็นคําถามถึงการบรรลุคือ (ถามว่า) ท่านบรรลุอะไร ในบรรดาฌาณและวิโมกข์เป็นต้น หรือในบรรดามรรคมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น.

คําว่า ท่านบรรลุอย่างไร? เป็นคําถามถึงอุบาย (วิธีทําให้บรรลุ) เพราะว่าในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ท่านทําอนิจจลักษณะให้เป็นธุระ จึงบรรลุหรือทําทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นธุระ จึงบรรลุอีกอย่างหนึ่ง ท่านยึดมั่นด้วยอํานาจสมาธิ หรือยึดมั่นด้วยอํานาจวิปัสสนาอนึ่ง ยึดมั่นในรูป หรือยึดมั่นในอรูป อีกอย่างหนึ่ง ยึดมั่นในภายใน หรือยึดมั่นในภายนอก จึงบรรลุ.

คําว่า ท่านบรรลุเมื่อไร? เป็นการถามถึงเวลา (ที่ได้บรรลุ) มีคําอธิบายว่า ท่านบรรลุในเวลาไหน ในบรรดาเวลาเข้า และเวลาเที่ยงเป็นต้น

คําว่า ท่านบรรลุที่ไหน? เป็นการถามถึงโอกาส (ที่บรรลุ) มีคําอธิบายว่า ในโอกาสไหน คือในที่พักกลางคืน ในที่พักกลางวัน ที่โคนไม้ ที่มณฑป หรือที่วิหารไหน.

คําว่า ท่านละกิเลสพวกไหน? เป็นการถามถึงกิเลสที่ละได้ มีคําอธิบายว่า ท่านละกิเลสที่มรรคไหนจะพึงฆ่า.

คําว่า ท่านได้ธรรมพวกไหน? เป็นการถามถึงธรรมที่ได้บรรลุมีคําอธิบายว่า บรรดาธรรมมีปฐมมรรคเป็นต้น ท่านได้ธรรมเหล่าไหน

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 229

เพราะฉะนั้น ในปัจจุบันนี้ แม้หากจะมีภิกษุบางรูปพยากรณ์การบรรลุธรรมอันยิงยวดของมนุษย์ ก็ยังไม่ควรทําความเคารพเธอด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

ก็ในฐานะ ๖ ประการนี้ ควรจะพูดเพื่อความบริสุทธิ์ ท่านบรรลุอะไร คือ ฌานหรือ หรือว่าวิโมกข์เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง. จริงอยู่ธรรมใด อันผู้ใดบรรลุแล้ว ธรรมนั้นย่อมปรากฏแก่ผู้นั้น. ถ้าพูดว่า ข้าพเจ้าบรรลุธรรมชื่อนี้ แต่นั้นก็จะต้องถูกถามว่า ท่านบรรลุอย่างไร? อธิบายว่าท่านทําอะไร ในบรรดาอนิจจลักษณะเป็นต้น ให้เป็นธุระ แล้วยึดถือโดยมุขอะไร ในบรรดาอารมณ์๓๘ หรือในบรรดาธรรมทั้งหลาย ชนิดรูปธรรมอรูปธรรม อัชฌัตตธรรม และพหิทธาธรรมเป็นต้น แล้วจึงบรรลุ เพราะอภินิเวส (การยึดถือ การอยู่สําราญ) อันใด ของคนใด อภินิเวสอันนั้นย่อมปรากฏแก่คนนั้น.

ถ้ากล่าวว่า อภินิเวส ชื่อนี้ ข้าพเจ้าบรรลุอย่างนี้ ต่อแต่นั้นก็จะต้องถูกถามว่า ท่านบรรลุเมื่อไร คือ บรรลุในเวลาเช้าหรือเวลาเที่ยงเป็นต้นเวลาใดเวลาหนึ่ง. เพราะเวลาบรรลุของตนย่อมปรากฏแก่ทุกๆ คน. ถ้ากล่าวว่า บรรลุในเวลาชื่อโน้น ต่อแต่นั้นก็ถูกถามว่า ท่านบรรลุที่ไหน คือบรรลุในที่พักกลางวัน หรือในที่พักกลางคืนเป็นต้น โอกาสใดโอกาสหนึ่ง เพราะเวลาที่ตนบรรลุย่อมปรากฏแก่ทุกๆ คน. ถ้าพูดว่า ข้าพเจ้าบรรลุในโอกาสชื่อโน้น ต่อแต่นั้นก็จะต้องถูกถามว่า ท่านละกิเลสพวกไหน คือ ท่านละกิเลสที่ปฐมมรรคจะพึงฆ่า หรือที่ทุติยมรรคเป็นต้นจะพึงฆ่านะ เพราะกิเลสที่ละด้วยมรรคอันตนบรรลุ ย่อมปรากฏแก่ทุกๆ คน.

ถ้าพูดว่า ข้าพเจ้าละกิเลสชื่อนี้ แต่นั้น ก็จะต้องถูกถามว่า ท่านได้ธรรมเหล่าไหน คือได้โสดาปัตติมรรคหรือสกทาคามิมรรคเป็นต้นอย่างใดอย่าง

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 230

หนึ่ง. เพราะธรรมที่ตนบรรลุย่อมปรากฏแก่ทุกคน. ถ้าพูดว่าข้าพเจ้าได้ธรรมชื่อนี้. แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็ไม่ควรเชื่อคําของเธอ.

ก็ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูต ฉลาดในการเล่าเรียนและการสอบถามย่อมสามารถชําระฐานะ ๖ ประการเหล่านี้ให้หมดจด. แต่สําหรับภิกษุนี้ควรชําระปฏิปทา อันเป็นเครื่องบรรลุขั้นต้น. หากปฏิปทาเป็นเครื่องบรรลุขั้นต้นยังไม่บริสุทธิ์ ควรปลีกออก (จากปฏิญญาของตน) ชื่อว่า โลกุตรธรรม ทั้งหลาย เราจะไม่ได้ด้วยปฏิปทานี้.

แต่ถ้า ปฏิปทาเครื่องบรรลุขั้นต้น ของท่านหมดจด ปรากฏว่าภิกษุนี้ไม่ประมาทในสิกขา ๓ ประกอบความเพียร ไม่ติดในปัจจัย มีจิตเสมอเหมือนนกในห้วงอากาศอยู่ตลอดกาลนาน. การพยากรณ์ของภิกษุนั้นเทียบกันได้สมกันกับข้อปฏิบัติ คือเป็นเช่นดังที่ตรัสไว้ว่า น้ำในแม่น้ำคงคากับน้ำในแม่น้ำยมุนา ย่อมเข้ากันได้ เสมอเหมือนกัน ชื่อฉันใด ข้อปฏิบัติอันเป็นเครื่องดําเนินไปสู่พระนิพพานของพระสาวกทั้งหลาย คือ นิพพานและปฏิปทาอันพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น บัญญัติไว้ดีแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเทียบกันได้ ย่อมลงกันได้.

ก็อีกอย่างหนึ่งแล ไม่ควรทําสักการะแม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้อธิบายว่า เพราะเหตุที่ภิกษุบางรูปแม้ยังเป็นปุถุชนอยู่ก็ย่อมมีปฏิปทาเหมือนข้อปฏิบัติอย่างพระขีณาสพ ฉะนั้น ภิกษุนั้นควรใช้อุบายวิธีนั้นๆ ทําให้สะดุ้งหวาดเสียว. ธรรมดาพระขีณาสพ เมื่ออสนีบาตตกลงเหนือกระหม่อมตัวย่อมไม่มีความกลัว ความสะดุ้ง หรือทําให้ขนลุก ส่วนสําหรับปุถุชนย่อมมี (ความกลัวเป็นต้น) ด้วยเหตุการณ์แม้เล็กน้อย.

ในข้อนั้น มีเรื่องเหล่านี้เป็นตัวอย่าง:-

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 231

เรื่องพระทีฑภาณกอภยเถระ

ได้ยินว่า พระทีฆภาณกอภยเถระ ไม่สามารถจะพิสูจน์ภิกษุรูปหนึ่งที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตรได้ จึงได้ให้สัญญาแก่ภิกษุหนุ่มไว้. ภิกษุหนุ่มรูปนั้นจึงดําน้ำอยู่ที่ปากน้ำกัลยาณี จับเท้าพระที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปนั้นที่กําลังอาบน้ำอยู่. พระที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น เข้าใจว่าเป็นจรเข้ ก็ส่งเสียงร้องขึ้น. ตั้งแต่นั้นใครๆ เขาก็รู้ว่าท่านยังเป็นปุถุชน. แต่ในรัชสมัยของพระเจ้าจัณฑิมุขติสสะ พระสังฆเถระในมหาวิหารเป็นพระขีณาสพ แต่เสียจักษุอยู่ในวิหารนั้นแหละ. พระราชาคิดว่า จะพิสูจน์พระเถระ เมื่อภิกษุทั้งหลายออกไปภิกษาจาร จึงย่องเข้าไปจับเท้าพระเกระทําเป็นเหมือนงูรัด. พระเถระนิ่งเหมือนเสาหิน ถามว่า ใครในที่นี้. พระราชาตรัสว่ากระผม ติสสะขอรับ.ขอถวายพระพรมหาบพิตรติสสะ พระองค์ทรงได้กลิ่นหอมมิใช่หรือ. ชื่อว่าความกลัวย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ ด้วยประการอย่างนี้

ก็บุคคลบางคน แม้จะเป็นปุถุชนก็เป็นคนกล้าหาญไม่ขี้ขลาด. คนผู้นั้นต้องพิสูจน์ด้วยอารมณ์ที่น่ารัก จริงอยู่ แม้พระเจ้าวสภะเมื่อจะพิสูจน์พระเถระรูปหนึ่ง จึงนิมนต์ให้นั่งในพระราชมณเฑียร แล้วรับสั่งให้คนขยําผลพุทราในสํานักของท่าน. พระมหาเถระน้ำลายสอ. แต่นั้นความที่พระเถระเป็นปุถุชนก็ชัดแจ้ง เพราะว่าธรรมดาความอยากในรสพระขีณาสพละได้หมด ชื่อว่าความใคร่ในรสทั้งหลายแม้เป็นทิพย์ก็ไม่มี. ฉะนั้น จึงพิสูจน์ด้วยอุบายเหล่านี้ ถ้าความกลัว ความหวาดเสียว หรือความอยากในรสยังเกิดแก่ท่านก็พึงตัดออกได้ว่า ท่านไม่ได้เป็นพระอรหันต์. แต่ถ้าไม่กลัว ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว คงนั่ง (สงบ) เหมือนราชสีห์ แม้ในอารมณ์อันเป็นทิพย์ ก็ไม่ทําความใคร่ให้เกิดขึ้น ภิกษุนี้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยการพยากรณ์ ย่อมควรแก่เครื่องสักการะ ที่พระราชาและมหาอํามาตย์ของพระราชาเป็นต้น ส่งมาโดยรอบแล.

จบ อรรถกถาฉวิโสธนสูตร