พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. สัปปุริสสูตร ว่าด้วยอสัปปุริสธรรมและสัปปุริสธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36118
อ่าน  439

[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 232

๓. สัปปุริสสูตร

ว่าด้วยอสัปปุริสธรรมและสัปปุริสธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 22]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 232

๓. สัปปุริสสูตร

ว่าด้วยอสัปปุริสธรรมและสัปปุริสธรรม

[๑๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีกรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายทูลรับพระพุทธดํารัสแล้ว.พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสคํานี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดงสัปปุริสธรรมและอสัปปุริสธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว (ต่อไป). ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พร้อมแล้วพระเจ้าข้า.

อสัปปุริสธรรม

[๑๗๙] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสคํานี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสัปปุริสธรรมคืออะไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือ อสัตบุรุษในโลกนี้เป็นผู้ออกจากสกุลสูง บวชแล้ว. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ออกจากสกุลสูง บวชแล้วแล ส่วนภิกษุเหล่านี้อื่นๆ ไม่ได้ออกจากสกุลสูงบวช. เธอจึงยกตนข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีสกุลสูงนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้คืออสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมคือโลภะ ธรรมคือโทสะ หรือธรรมคือโมหะ ย่อมไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไปเพราะความเป็นผู้มีสกุลสูงเลย ถึงแม้ผู้ที่ไม่ได้ออกบวชจากตระกูลสูง เธอก็

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 233

เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม คนทั้งหลาย ก็จะบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ. สัตบุรุษนั้น กระทําข้อปฏิบัติให้เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีสกุลสูงนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก (คือ) อสัตบุรุษเป็นผู้ออกบวชจากตระกูลใหญ่ ออกบวชจากตระกูลที่มีโภคะมาก ออกบวชจากตระกูลที่มีโภคะโอฬาร. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ออกบวชจาก (ตระกูลใหญ่ ตระกูลมีโภคะมาก) ตระกุลมีโภคะโอฬารแล แต่ภิกษุอื่นๆ เหล่านี้ ไม่ได้ออกบวชจาก (ตระกูลใหญ่ตระกูลมีโภคะมาก) ตระกูลมีโภคะโอฬาร. เธอยกตนข่มขู่ผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีโภคะโอฬารนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษ พิจารณาเห็นอย่างนี้แลว่าธรรมคือโลภะ ธรรมคือโทสะ หรือธรรมคือโมหะ ย่อมไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไปเพราะความเป็นผู้มีโภคะโอฬาร ถึงแม้ภิกษุผู้ไม่ได้ออกบวชจาก (ตระกูลใหญ่ตระกูลมีโภคะมาก) ตระกูลมีโภคะโอฬาร เธอก็ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม คนทั้งหลายก็จะบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้น กระทําข้อปฏิบัติให้เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้นไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีโภคะโอฬารนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 234

อสัปปุริสธรรม

[๑๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษเป็นคนเด่น มียศ เขาพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราแลเป็นผู้เด่น มียศ ส่วนภิกษุอื่นๆ เหล่านี้ เป็นผู้ไม่เด่น ด้อยศักดิ์. อสัตบุรุษนั้นจึงยกตนข่มผู้อื่นเพราะความเป็นคนเด่นนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษ พิจารณาเห็นอย่างนี้แลว่า ธรรมคือความโลภ ธรรมคือความประทุษร้าย หรือธรรมคือความหลงไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไปเพราะความเป็นคนเด่นนั้น ถึงแม้จะไม่เป็นคนเด่น มียศ แต่ก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอเป็นผู้ที่คนทั้งหลายควรบูชาสรรเสริญในที่นั้นๆ. เธอไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นเลยเพราะความเป็นคนเด่นนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก (คือ) อสัตบุรุษเป็นผู้ได้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเท่านั้น ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ส่วนภิกษุอื่นๆ เหล่านั้น ไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะการได้นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมคือโลภะ ธรรมคือโทสะ หรือธรรมคือโมหะ จะไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไปเลย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 235

เพราะการได้ (นั้น) ถึงแม้เธอจะเป็นผู้ไม่ได้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แต่ก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติ-ชอบ ประพฤติตามธรรม เป็นผู้ที่คนทั้งหลายควรบูชา ควรสรรเสริญ ในที่นั้นๆ. เธอทําข้อปฏิบัติ ให้เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้นไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นเพราะการได้นั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริธรรม

[๑๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษผู้เป็นพหูสูต. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราแลเป็นพหูสูต ส่วนภิกษุอื่นๆ เหล่านั้น ไม่เป็นพหูสูต. เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะความเป็นพหูสูตนั้นดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมคือโลภะ ธรรมคือโทสะ หรือธรรมคือโมหะ หาถึงความเสื่อมสิ้นไปเพราะความเป็นพหูสูตไม่เลย ถึงแม้เธอจะเป็นพหูสูต แต่เธอก็ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เป็นผู้ที่คนทั้งหลายควรบูชา สรรเสริญ. เธอกระทําข้อปฏิบัติให้เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นพหูสูตนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม

อสัปปุริสธรรม

[๑๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษ เป็นพระวินัยธร (ทรงวินัย). เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราแลเป็นพระวินัยธร ส่วนภิกษุอื่นๆ เหล่านั้น ไม่เป็นพระวินัยธร. เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะความเป็นพระวินัยธรนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 236

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมคือโลภะ ธรรมคือโทสะ หรือธรรมคือโมหะ หาถึงความเสื่อมสิ้นไปเพราะความเป็นพระวินัยธรไม่ ถึงแม้เธอจะไม่เป็นพระวินัยธร แต่เธอก็ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เป็นผู้ที่คนทั้งหลายควรบูชา ควรสรรเสริญในที่นั้นๆ. เธอกระทําข้อปฏิบัติให้เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นพระวินัยธรนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษเป็นพระธรรมกถึก. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นพระธรรมกถึกแล แต่ภิกษุอื่นๆ เหล่านี้ ไม่เป็นพระธรรมกถึก เธอยกตน ข่มผู้อื่นเพราะเหตุที่เป็นพระธรรมกถึกนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่าธรรมคือโลภะ ธรรมคือโทสะ หรือธรรมคือโมหะ ไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไปเพราะเหตุที่เป็นพระธรรมกถึกเลย ถึงแม้เธอจะไม่เป็นพระธรรมกถึก แต่เธอก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เป็นผู้ที่คนทั้งหลายควรบูชาควรสรรเสริญ ในที่นั้นๆ เธอทําข้อปฏิบัติให้เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะเหตุที่เป็นพระธรรมกถึกนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 237

อสัปปุริสธรรม

[๑๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก (คือ) อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร. เธอพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรแลแต่ภิกษุอื่นๆ เหล่านี้ ไม่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตระ เธอยกตน ข่มผู้อื่น เพราะเหตุที่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมคือโลภะ ธรรมคือโทสะ ธรรมคือโมหะ ไม่ถึงความสิ้นไป เพราะเหตุที่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรเลย. ถึงแม้ภิกษุนั้น จะไม่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร แต่เธอก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เป็นผู้ที่คนทั้งหลายควรบูชา ควรสรรเสริญในที่นั้นๆ. เธอทําข้อปฏิบัติให้เป็นไปภายใน (เป็นการส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะเหตุที่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราแลเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร แต่ภิกษุอื่นๆ เหล่านั้น หาเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรไม่เธอยกตน ข่มผู้อื่น เพราะเหตุที่เป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมคือโลภะ ธรรมคือโทสะ หรือธรรมคือโมหะ ไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไปเลย

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 238

ถึงแม้เธอจะไม่เป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรแต่เธอก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เป็นผู้ที่คนทั้งหลาย ควรบูชาควรสรรเสริญ ในที่นั้นๆ. เธอกระทําข้อปฏิบัติเป็นไปในภายใน (เป็นการส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเลย เพราะเหตุที่เป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรแล แต่ภิกษุอื่นๆ เหล่านี้ ไม่เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร. เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะเหตุที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมคือโลภะ ธรรมคือโทสะ ธรรมคือโมหะ จะไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไป เพราะเหตุเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรเลย ถึงแม้ภิกษุเป็นผู้ไม่ถือบิณฑบาตเป็นวัตรเธอก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เป็นผู้ที่คนทั้งหลาย ควรบูชา ควรสรรเสริญ. เธอทําข้อปฏิบัติให้เป็นไปในภายใน (เป็นการส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะเหตุที่เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปุริสธรรม

[๑๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้อยู่โคนไม้

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 239

เป็นวัตรแล แต่ภิกษุอื่นๆ เหล่านี้ ไม่เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร. เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะเหตุที่เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตรนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมคือโลภะ ธรรมคือโทสะ ธรรมคือโมหะ ไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไป เพราะเหตุที่เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุนั้นจะไม่เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร แต่เธอก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมเป็นผู้ที่คนทั้งหลาย ควรบูชา ควรสรรเสริญในที่นั้นๆ. เธอทําชอบปฏิบัติให้เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะเหตุที่เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตรนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร ... เป็นผู้อยู่กลางแจ้งเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือเนสัชชิกธุดงค์ (การไม่นอน) เป็นวัตร ... เป็นผู้ถือยถาสันถทิกธุดงค์ (การเที่ยวบิณฑบาตตามลําดับ) เป็นวัตร ... เป็นผู้ถือเอกาสนิกังคธุดงค์ (การฉันเวลาเดียว) เป็นวัตร. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ถือเอกาสนิกังคธุดงค์เป็นวัตรแล แก่ภิกษุอื่นๆ เหล่านี้ ไม่ถือเอกาสนิกังคธุดงค์เป็นวัตร.เธอยกตนข่มผู้อื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมคือโลภะ ธรรมคือโทสะ หรือธรรมคือโมหะ ไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไป เพราะ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 240

เหตุที่เป็นผู้ถือเอกาสนิกังคธุดงค์เป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุนั้นจะไม่เป็นผู้ถือเอกาสนิกังคธุดงค์เป็นวัตร แต่เธอก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบประพฤติสมควรแก่ธรรม เป็นผู้ที่คนทั้งหลาย ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในที่นั้นๆ. เธอทําข้อปฏิบัติให้เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเลย เพราะเหตุที่เป็นผู้ถือเอกาสนิกังคธุดงค์เป็นวัตรนั้นดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีกคือ อสัตบุรุษสงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ได้สมาบัติคือ ปฐมฌานแล แต่ภิกษุอื่นๆ เหล่านั้น ไม่ได้สมาบัติคือปฐมฌาน. เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะสมาบัติคือปฐมฌานนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า แม้ปฐมฌานสมาบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า เป็นปฏิปทาที่ไม่มีตัณหา๑เพราะคนทั้งหลายสําคัญตนด้วยเหตุใดๆ เหตุนั้นๆ ย่อมเป็นอื่นจากที่สําคัญนั้น. เธอทําความที่ปฏิปทาไม่มีตัณหานั้น ให้เป็นไปในภายใน (เป็นการส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะสมาบัติคือปฐมฌานนั้นนี้แลคือ สัปปุริสธรรม.


๑. บาลีในที่ทุกแห่งในสูตรนี้เป็น อคมฺมยตา ฉบับพม่า ยุโรป เป็น อตมฺมยตาแปลตามคําหลัง.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 241

อสัปปุริสธรรม

[๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจ อันเป็นไปในภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารระงับไป มีแต่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ... เข้าตติยฌาน ... เข้าจตุตถฌาณ ... อยู่. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ได้สมาบัติ คือจตุตถฌานแล แต่ภิกษุอื่นๆ เหล่านั้น ไม่เป็นผู้ได้สมาบัติคือจตุตถฌาน. เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะสมาบัติคือจตุตถฌานนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า แม้สมาบัติคือจตุตถฌานแล พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า เป็นปฏิปทาไม่มีตัณหา เพราะคนทั้งหลายสําคัญกันด้วยเหตุใดๆ เหตุนั้นๆ จะเป็นอย่างอื่นจากที่สําคัญนั้น. เธอทําความเป็นผู้ไม่มีตัณหานั้นให้เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเลย เพราะสมาบัติคือจตุตถฌาณนั้นดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษเข้าอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า อากาสไม่มีที่สุดอยู่ เพราะล่วงเลยรูปสัญญาไปแล้ว เพราะปฏิฆสัญญาดับไปแล้ว (และ) เพราะไม่มนสิ-การถึงนานัตตสัญญา. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ได้สมาบัติคืออากาสานัญจายตนะแล้ว แค่ภิกษุอื่นๆ เหล่านี้ไม่เป็นผู้ได้สมาบัติคืออากาสานัญจายตนะ. เธอยกตน ข่มผู้อื่น ด้วยสมาบัติคืออากาสานัญจายตนะนั้นดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 242

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษ พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า แม้อากาสานัญจายตนสมาบัติแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสว่า เป็นปฏิปทาไม่มีตัณหา เพราะคนทั้งหลายสําคัญกันด้วยเหตุใดๆ เหตุนั้นๆ ก็เป็นอื่นไปจากที่สําคัญนั้น. เธอทําความที่ปฏิปทาไม่มีตัณหานั้น ให้เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนด้วย) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเลย เพราะอากาสานัญจายตนะสมาบัตินั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

[๑๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก อสัตบุรุษล่วงเลยอากาสานัญจายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง เข้าวิญญานัญจายตนฌานอยู่ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด. เธอพิจารณาเห็นว่า เราเป็นผู้ได้สมาบัติคือ วิญญานัญจายตนะแล แต่ภิกษุอื่นๆ เหล่านี้ ไม่เป็นผู้ได้วิญญานัญจายตนสมาบัติ. เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะวิญญานัญจายตนสมาบัตินั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า แม้วิญญานัญจายตนสมาบัติ ก็เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นปฏิปทาไม่มีตัณหา เพราะคนทั้งหลายสําคัญกันด้วยเหตุใดๆ เหตุนั้นๆ ก็เป็นอย่างอื่นจากความสําคัญนั้น. เธอทําปฏิปทาที่ไม่มีตัณหานั้นแหละ ให้เป็นไปในภายใน (เป็นการส่วนตัว) ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะวิญญานัญจายตนสมาบัตินั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 243

อสัปปุริสธรรม

[๑๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษล่วงเลยวิญญานัญจายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง เข้าอากิญจัญญายตนฌานอยู่ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรสักน้อยหนึ่ง. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ได้สมาบัติคืออากิญจัญญายตนะแล แก่ภิกษุอื่นๆ เหล่านั้น เป็นผู้ไม่ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ. เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า แม้อากิญจัญญายตนสมาบัติแล พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า เป็นปฏิปทาที่ไม่มีตัณหา เพราะคนทั้งหลายสําคัญกันด้วยเหตุใดๆ เหตุนั้นๆ เป็นอย่างอื่นจากความสําคัญนั้น เธอทําความที่ปฏิปทาไม่มีตัณหา ให้เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเลย เพราะอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษล่วงเลยอากิญจัญญายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ได้สมาบัติ คือเนวสัญญานาสัญญายตนะแล แต่ภิกษุอื่นๆ เหล่านั้น ไม่เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ. เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 244

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า แม้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า เป็นปฏิปทาไม่มีตัณหา เพราะว่าคนทั้งหลายสําคัญรู้กันด้วยเหตุใดๆ เหตุนั้นๆ เป็นอย่างอื่นจากความสําคัญนั้น. เธอทําความที่ปฏิปทาไม่มีตัณหานั้น ให้เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเลย เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

[๑๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) สัตบุรุษล่วงเลย เนวสัญญานาสัญญายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่. อาสวะทั้งหลายของเธอเสื่อมสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้แลจะไม่สําคัญอะไรๆ จะไม่สําคัญในที่ไหนๆ (และ) จะไม่สําคัญด้วยเหตุอะไรๆ เลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างมีใจยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบ สัปปุริสสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 245

อรรถกถาสัปปุริสธรรมสูตร (๑)

สัปปุริสธรรมสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สปฺปุริสธมฺมํ ได้แก่ ธรรมของสดับบุรุษทั้งหลาย

บทว่า อสปฺปุริสธมฺมํ ได้แก่ ธรรมของคนเลวทั้งหลาย.พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงวางแม่บทไว้อย่างนี้แล้ว เมื่อทรงแสดงธรรมที่ควรละก่อน จึงตรัสคํามีอาทิว่า กตโม จ ภิกฺขเว อสปฺปุริสธมฺโมดังนี้ไว้อีก เหมือนบุรุษผู้ฉลาดในทางบอกทางที่ควรละก่อนว่า จงละทางซ้ายถือเอาทางขวา ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺจากุลา ความว่าจากตระกูลกษัตริย์หรือจากตระกูลพราหมณ์ด้วยว่า ตระกูลทั้งสองนี้เท่านั้น เรียกว่าตระกูลสูง.

บทว่า โส ตตฺถ ปุชฺโช ความว่า ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ควรบูชา.

บทว่า อนฺตรํ กริตฺวา ได้แก่ กระทําไว้ภายใน.

บทว่า มหากุลา ได้แก่ จากตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์หรือตระกูลแพศย์. เพราะตระกูลทั้งสามนี้เท่านั้น เรียกว่า ตระกูลใหญ่

บทว่า มหาโภคกุลา คือ จากตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์มากมาย.

บทว่า อุฬารโภคกุลา คือ จากตระกูลที่พรั่งพร้อมด้วยโภคทรัพย์อันโอฬาร คือประณีต.

ในบททั้งสองนี้ย่อมได้ ตระกูลแม้ทั้ง ๔ ตระกูล. เพราะผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งย่อมเป็นผู้มีโภคทรัพย์มากบ้าง มีโภคทรัพย์โอฬารบ้างด้วยผลบุญทั้งหลาย.


(๑) บาลีเป็น สัปปุริสสูตร

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 246

บทว่า ยสสฺสี แปลว่า พรั่งพร้อมด้วยบริวาร.

บทว่า อปฺปฺาตา ได้แก่ ย่อมไม่ปรากฏในท่ามกลางสงฆ์เป็นต้น เหมือนลูกศรที่ยิงไปในเวลากลางคืน.

บทว่า อปฺเปสกฺขา แปลว่า มีบริวารน้อย.

บทว่า อารฺิโก คือ สมาทานธุดงค์มีอยู่ในป่าเป็นวัตร. แม้ในธุดงค์ที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้นั่นแล. ก็ในบาลีพระสูตรนี้ธุดงค์มา ๙ ข้อเท่านั้น.แต่โดยพิสดารธุดงค์นี้มี๑๓ ข้อ. ในบรรดาธุดงค์๑๓ นั้น ธุดงค์ที่ควรจะพูดถึงทั้งหมดนั้นได้พูดไว้แล้วในธุดงคนิทเทสในวิสุทธิมรรคโดยอาการทั้งปวง.ในบทว่า อตมฺมยตา ตัณหา เรียกว่า ตมฺมยตา อธิบายว่า ความเป็นผู้ไม่มีตัณหา.

บทว่า อตมฺมยตํ เจว อนฺตรํ กริตฺวา ความว่า ทําความเป็นผู้ไม่มีตัณหานั่นแลให้เป็นเหตุ หรือกระทําไว้ในภายใน อธิบายว่า ให้เกิดขึ้นในจิต.

พึงทราบวินิจฉัยในนิโรธวาระต่อไป ก็เพราะเหตุที่พระอนาคามีและพระขีณาสพทั้งหลายย่อมเข้า (นิโรธ) สมาบัตินั้นได้ ส่วนปุถุชนไม่มีสมาบัตินั้นเพราะฉะนั้นวาระที่ว่าด้วยอสัตบุรุษจึงละไว้ (ไม่พูดถึง) .

บทว่า น กิฺจิ มฺติ ได้แก่ย่อมไม่สําคัญบุคคลไรๆ ด้วยความสําคัญ ๓ ประการ.

บทว่า น กุหิฺจิ มฺติ ได้แก่ย่อมไม่สําคัญในโอกาสไรๆ .

บทว่า น เกนจิ มฺติ ได้แก่ย่อมไม่สําคัญบุคคลนั้นแม้ด้วยวัตถุไรๆ คําที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาสัปปุริสธรรมสูตรที่ ๓