พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรเสพและไม่ควรเสพ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36119
อ่าน  592

[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 247

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรเสพและไม่ควรเสพ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 22]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 247

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรเสพและไม่ควรเสพ

[๑๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธดํารัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสคํานี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดงธรรมบรรยาย ที่ควรเสพและไม่ควรเสพ เธอทั้งหลายจงพึง จงใส่ใจให้ดี เราตถาคตจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าพร้อมแล้ว พระเจ้าข้า.

ความประพฤติที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ๗ อย่าง

[๑๙๙] พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสคํานี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราตถาคตกล่าว กายสมาจาร (ความประพฤติทางกาย) ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ แล้วทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างเป็น กายสมาจาร ด้วยกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว วจีสมาจาร (ความประพฤติทางวาจา) ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็น วจีสมาจาร ด้วยกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว มโนสมาจาร (ความประ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 248

พฤติทางใจ) ไว้๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็น มโนสมาจาร เหมือนกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว ความเกิดขึ้นแห่งจิต ไว้๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้นแต่ละอย่างก็เป็น จิตตุปบาท ด้วยกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว การกลับได้สัญญา ไว้๒อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้งสองอย่างนั้นต่างก็เป็นการกลับได้สัญญา ด้วยกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต กล่าวการกลับได้ ทิฏฐิ ไว้ ๒อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็น การกลับได้ทิฏฐิ ด้วยกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว การกลับได้อัตภาพ ไว้๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้นแต่ละอย่างก็เป็น การกลับได้อัตภาพ ด้วยกัน.

เรื่องที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ข้อที่ ๑

[๒๐๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารี-บุตร ได้ทูลคํานี้ กะพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญธรรมบรรยายนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วโดยย่อ มิได้ทรงจําแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร. ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความ โดยพิสดารอย่างนี้ (ว่า) ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวกายสมาจาร ไว้๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ไม่ควรเสพอย่าง ๑และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็น กายสมาจาร ด้วยกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยอะไร จึงตรัสข้อนี้ไว้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 249

กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ (ประพฤติ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคเสพ กายสมาจาร แบบไหนอกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมกลับเสื่อมลงกายสมาจาร แบบนี้ไม่ควรเสพ.

การสมาจารที่ควรเสพ (ประพฤติ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพ กายสมาจาร แบบไหนแล้ว อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้นกายสมาจาร แบบนี้ ควรเสพ.

กายสมาจารที่เป็นเหตุให้อกุศลเจริญแต่กุศลเสื่อม

[๒๐๑] ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ กายสมาจาร แบบไหน อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางตนในโลกนี้มักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป คือเป็นคนดุร้าย มีมือเปื้อนเลือด หมกหมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย อนึ่ง มักเป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้คือถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เป็นเครื่องก่อให้เกิดความปลื้มใจแก่ผู้อื่น ที่อยู่ในบ้าน หรือในป่า ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ได้แก่ความเป็นขโมย อนึ่งมักเป็นประพฤติผิดในกาม คือเป็นผู้ละเมิดจารีตในหญิงทั้งหลายที่มารดารักษาบ้างที่บิดารักษาบ้าง ที่ทั้งมารดาบิดารักษาบ้าง ที่พี่ชายรักษาบ้าง ที่พี่สาวรักษาบ้าง ที่ญาติรักษาบ้าง ที่มีสามีบ้าง ที่มีสินไหมติดตัวบ้าง โดยที่สุดแม้ที่ชายคล้องพวงมาลัยหมั้นไว้บ้าง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ กายสมาจาร แบบนี้อกุศลธรรมเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 250

กายสมาจารที่เป็นเหตุให้กุศลเจริญ

[๒๐๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ กายสมาจาร แบบไหน อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางตนในโลกนี้ เลิกละปาณาติบาตเว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว คือเป็นผู้วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู เป็นผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์ เกื้อกูลในสรรพสัตว์อยู่ อนึ่งเลิกละอทินนาทานแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน คือไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เป็นเครื่องก่อให้เกิดความปลื้มใจแก่ผู้อื่น ที่อยู่ในบ้าน หรือในป่าที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ได้แก่ความเป็นขโมย เลิกละกาเมสุมิจฉาจารแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร ไม่ละเมิดจารีตในหญิงที่มารดารักษาบ้างที่บิดารักษาบ้าง ที่ทั้งมารดาบิดารักษาบ้าง ที่พี่ชายรักษาบ้าง ที่พี่สาวรักษาบ้าง ที่ญาติรักษาบ้าง ที่พี่สามีบ้าง ที่มีสินไหมติดตัวบ้าง โดยที่สุดแม้ที่ชายคล้องพวงมาลัยหมั้นไว้บ้าง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารแบบนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมไป แต่กุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว กายสมาจาร ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น ต่างก็เป็น กายสมาจาร ด้วยกัน พระองค์ทรงอาศัยอะไร จึงได้ตรัสไว้

เรื่องที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ข้อที่ ๒

[๒๐๓] ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว วจีสมาจาร ไว้๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็นวจีสมาจารด้วยกัน พระองค์ทรงอาศัยอะไร จึงได้ตรัสไว้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 251

วจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ (ประพฤติ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง วจีสมาจาร แบบนี้ ไม่ควรเสพ.

วจีสมาจารที่ควรเสพ (ประพฤติ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่บุคคลเสพ วจีสมาจาร แบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น วจีสมาจารแบบนี้ ควรเสพ.

วจีสมาจารที่เป็นเหตุให้อกุศลเจริญแต่กุศลเสื่อม

[๒๐๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารแบบไหนอกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางตนในโลกนี้ เป็นผู้มักพูดเท็จคือไปที่สภาก็ตาม ไปที่บริษัทก็ตาม ไปที่ท่ามกลางญาติก็ตาม ไปที่ท่ามกลางขุนนางก็ตาม ไปที่ท่ามกลางราชตระกูลก็ตาม ก็ถูกนําไปซักถามเป็นพยานว่าพ่อมหาจําเริญ เชิญเถิด พ่อรู้อย่างไร ต้องพูดอย่างนั้น. เขาไม่รู้ แต่บอกว่ารู้ หรือรู้แต่บอกว่าไม่รู้ ไม่เห็นแต่บอกว่าเห็น หรือเห็นแต่บอกว่าไม่เห็นพูดเท็จทั้งที่รู้ๆ เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง เพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ อนึ่ง เขาเป็นผู้กล่าวส่อเสียด คือได้ยินจากฝ่ายนี้ แล้วบอกฝ่ายโน้น เพื่อทําลายฝ่ายนี้ หรือได้ยินฝ่ายโน้นแล้ว บอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อทําลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้ เมื่อเขาสามัคคีกัน ก็ยุให้แตกกันหรือเมื่อเขาแตกกันแล้ว ก็ช่วยซ้ำเติม ชอบแบ่งพรรคแบ่งพวก พูดจาให้แตกหมู่แตกคณะ อนึ่งเป็นผู้มีวาจาหยาบคาย คือ กล่าวถ้อยคําเป็นเสี้ยน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 252

หนาม หยาบคาย เผ็ดร้อน ขัคต่อคนอื่น ยั่วโทสะ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิอนึ่ง เป็นผู้มักพูดเพ้อเจ้อคือ พูดไม่ถูกกาละ พูดไม่จริง พูดไร้ประโยชน์พูดไม่ถูกธรรม ไม่ถูกวินัย พูดจาไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิงไม่มีขอบเขตไม่ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลไม่ควร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ วจีสมาจาร แบบนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

วจีสมาจารที่เป็นเหตุให้อกุศลเสื่อมแต่กุศลเจริญ

[๒๐๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ วจีสมาจาร แบบไหน อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางตนในโลกนี้ เลิกละมุสาวาทแล้วเป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท ไปที่สภาก็ตาม ไปที่บริษัทก็ตาม ไปท่ามกลางหมู่ญาติก็ตาม ไปท่ามกลางขุนนางก็ตาม ไปท่ามกลางราชตระกูลก็ตาม ถูกนําไปซักถามเป็นพยานว่า พ่อมหาจําเริญ เชิญเถิด พ่อรู้อย่างไร ก็จงพูดอย่างนั้น. เขาเมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ หรือเมื่อรู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าไม่เห็น หรือเมื่อเห็นก็บอกว่าเห็น ไม่เป็นผู้พูดเท็จทั้งที่รู้ๆ เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุคนอื่นบ้าง เพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ดังที่กล่าวมานี้ อนึ่ง เลิกละปิสุณาวาจาแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปิสุณาวาจา คือได้ยินจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่บอกฝ่ายโน้น เพื่อทําลายฝ่ายนี้ หรือได้ยินฝ่ายโน้นแล้วไม่บอกฝ่ายนี้ เพื่อทําลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้เมื่อเขาแตกกันแล้วก็ช่วยประสานสามัคคี หรือเมื่อเขาพร้อมเพรียงกันอยู่แล้ว ก็ช่วยส่งเสริม พอใจ รักใคร่ชื่นชม ความสามัคคี กล่าวถ้อยคําที่ทําให้เขาสมัครสมานกัน อนึ่ง เลิกละผรุสวาจาแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากผรุสวาจา พูดจาถ้อยคําที่ไม่มีโทษ เสนาะ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 253

โสต น่ารัก จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง เป็นที่รักใคร่พอใจ ของตนจํานวนมาก และเลิกละสัมผัปปลาป (พูดเพ้อเจ้อ) เป็นผู้เว้นขาดจากสัมผัปปลาปคือพูดถูกกาละ พูดคําเป็นจริง พูดคํามีประโยชน์ พูดถูกธรรม พูดถูกวินัยพูดจามีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ ตามกาลที่ควร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารแบบนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าววจีสมาจารไว้ ๒อย่าง คือที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น ต่างก็เป็น วจีสมาจาร ด้วยกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยข้อความนี้จึงได้ตรัสไว้อย่างนี้.

เรื่องที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ข้อที่ ๓

[๒๐๖] ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว มโนสมาจาร (ความประพฤติทางใจ) ไว้ ๒อย่าง คือที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างเป็น มโนสมาจาร ด้วยกัน พระองค์ทรงอาศัยอะไร จึงได้ตรัสไว้.

มโนสมาจารที่ไม่ควรเสพ (ประพฤติ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจาร แบบไหน อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง มโนสมาจารแบบนี้ ไม่ควรเสพ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 254

มโนสมาจารที่ควรเสพ (ประพฤติ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารแบบไหนอกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง มโนสมาจารแบบนี้ ควรเสพ.มโนสมาจารที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเจริญแต่กุศลธรรมเสื่อม

[๒๐๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารแบบไหนอกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลทั้งหลายกลับเสื่อมลง.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางตนในโลกนี้ เป็นผู้มากไปด้วยอภิชฌา (ความเพ่งเล็งสิ่งของๆ ผู้อื่น) คือ เป็นผู้เพ่งเล็งทรัพย์ที่เป็นเหตุก่อให้เกิดความปลื้มใจของคนอื่นว่า ไฉนหนอ ของๆ ผู้อื่น จะพึงเป็นของเรา อนึ่ง เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือมีความดําริทางใจอันชั่วร้าย ว่าขอให้สัตว์เหล่านี้ จงถูกฆ่า หรือถูกทําลาย หรือขาดสูญไป หรือพินาศไป หรืออย่าได้มีเลย. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ มโนสมาจาร แบบนี้อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

มโนสมาจารที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเสื่อม แต่กุศลธรรมเจริญ

[๒๐๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารแบบไหนอกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มากไปด้วยอภิชฌา คือไม่เพ่งเล็งทรัพย์ที่เป็นเหตุก่อให้เกิดความปลื้มใจของคนอื่น ว่าไฉนหนอ ทรัพย์ของคนอื่น จะพึงเป็นของเรา อนึ่ง เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทมีความดําริในใจไม่ชั่วร้าย ว่า ขอสัตว์เหล่านั้น อย่าพยาบาทกัน อย่ามีความเดือดร้อน มีแต่ความสุข บริหารตนเถิด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคล

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 255

เสพมโนสมาจารอย่างนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราตถาคตกล่าว มโนสมาจาร ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็น มโนสมาจารด้วยกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยข้อความนี้ จึงได้ตรัสไว้อย่างนี้.

เรื่องที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ข้อที่ ๔

[๒๐๙] ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว จิตตุปบาท ไว้๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็นจิตตุปบาท ด้วยกัน พระองค์ทรงอาศัยอะไร จึงได้ตรัสไว้.

จิตตุปบาทที่ไม่ควรเสพ (ประพฤติ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ จิตตุปบาท แบบไหน อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง จิตตุปบาทแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

จิตตุปบาทที่ควรเสพ (ประพฤติ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่เมื่อบุคคลเสพ จิตตุปบาท แบบไหนอกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมไป แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น จิตตุปบาท แบบนี้ ควรเสพ.

จิตตุปบาทที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเจริญ แต่กุศลธรรมเสื่อม

[๒๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ จิตตุปบาท แบบไหน อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับจะเสื่อมลง.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 256

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌามีใจสหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้รีบความพยาบาท มีจิตสหรคตด้วยความพยาบาทอยู่. เป็นผู้มีความเบียดเบียน มีจิตสหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ จิตตุปบาท แบบนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง

จิตตุปบาทที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเสื่อม แต่กุศลธรรมเจริญ

[๒๑๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ จิตตุปบาท แบบไหน อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้มากไปด้วยอภิซฌา มีใจไม่สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่พยาบาท มีจิตสหรคตด้วยความไม่พยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่เบียดเบียน มีจิตสหรคตด้วยความไม่เบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ จิตตุปบาท แบบนี้อกุศลธรรมทั้ง หลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราตถาคตกล่าว จิตตุปบาท ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็นจิตตุปบาทด้วยกัน พระผู้-มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยข้อความนี้ จึงได้ตรัสไว้อย่างนี้.

เรื่องที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ข้อที่ ๕

[๒๑๒] ก็แล ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว การกลับได้สัญญา ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็น การกลับได้สัญญา ด้วยกัน พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงตรัสไว้.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 257

การกลับได้สัญญาที่ไม่ควรเสพ (เจริญ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้สัญญา แบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลงการกลับได้สัญญา แบบนี้ ไม่ควรเสพ.

การกลับได้สัญญาที่ควรเสพ (เจริญ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่า เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้สัญญาแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้นการกลับได้สัญญา แบบนี้ ควรเสพ.

การกลับได้สัญญาที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเจริญ แต่กุศลธรรมเสื่อม

[๒๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้สัญญาแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมไป.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางตนในโลกนี้ เป็นผู้มากไปด้วยอภิชฌา มีสัญญาติสหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้มีพยาบาท มีสัญญาสหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้มีความเบียดเบียน มีสัญญาสหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้สัญญาแบบนี้ ธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

การกลับได้สัญญาที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเสื่อม แต่กุศลธรรมเจริญ

[๒๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้สัญญาแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 258

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางตนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มากไปด้วยอภิชฌา มีสัญญาไม่สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาท มีสัญญาสหรคตด้วยความไม่พยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่มีความเบียดเบียน มีสัญญาสหรคตด้วยความไม่เบียดเบียนอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้สัญญาแบบนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราตถาคตกล่าว การกลับได้สัญญา ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็น การกลับได้สัญญา ด้วยกัน พระองค์ทรงอาศัยเหตุนี้ จึงได้ตรัสไว้อย่างนี้.

เรื่องที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ข้อที่ ๖

[๒๑๕] ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว การกลับได้ทิฏฐิ ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น ก็เป็น การกลับได้ทิฏฐิ ด้วยกัน พระองค์ทรงอาศัยอะไร จึงได้ตรัสไว้.การกลับได้ทิฏฐิที่ไม่ความเสพ (สมาทาน) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้ทิฏฐิ แบบไรอกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง การกลับได้ทิฏฐิ แบบนี้ ไม่ควรเสพ.

การกลับได้ทิฏฐิที่ควรเสพ (สมาทาน)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้ทิฏฐิ แบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น การกลับได้ทิฏฐิ แบบนี้ ควรเสพ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 259

ทิฏฐิที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเจริญแต่กุศลธรรมเสื่อม

[๒๑๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้ทิฏฐิแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคนเป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วไม่มี (ผล) การสังเวยที่บวงสรวงแล้วไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทําดี และทําชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าก็ไม่มี มารดาไม่มี (คุณ) บิดาไม่มี (คุณ) สัตว์ทั้งหลายที่เป็นโอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายในโลกผู้ดําเนินไปถูกต้อง ผู้ปฏิบัติชอบซึ่งประกาศโลกนี้และโลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองไม่มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้ทิฏฐิ แบบนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญ แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

ทิฏฐิที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเสื่อมแต่กุศลธรรมเจริญ

[๒๑๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้ทิฏฐิแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลาย จะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่าทานที่ให้แล้วมี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วมี (ผล) การสังเวยที่บวงสรวงแล้วมี (ผล) ผลวิบากของกรรมที่ทําดีและทําชั่วแล้วนี้มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้าก็มีมารดามี (คุณ) บิดามี (คุณ) สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณะแลพราหมณ์ในโลกที่ดําเนินไปถูกต้องผู้ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้และโลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง มีอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้ทิฏฐิแบบนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 260

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราตถาคต กล่าวการกลับได้ทิฏฐิ ไว้๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างต่างก็เป็น การกลับได้ทิฏฐิด้วยกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความข้อนี้ จึงตรัสไว้อย่างนี้.

เรื่องที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ข้อที่ ๗

[๒๑๘) ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว การกลับได้อัตภาพ ไว้๒ อย่าง คือที่ควรเสพอย่าง ๑ ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็นการกลับได้อัตภาพด้วยกัน พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

การกลับได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ (ได้)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อเสพ การกลับได้อัตภาพ แบบไรอกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง การกลับได้อัตภาพแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

การกลับได้อัตภาพที่ควรเสพ (ได้)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่า เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้อัตภาพแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้นการกลับได้อัตภาพ แบบนี้ ควรเสพ.

การกลับได้อัตภาพที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเจริญ แต่กุศลธรรมเสื่อม

[๒๑๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้อัตภาพแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 261

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุที่บุคคลผู้ยังการกลับได้อัตภาพที่เป็นทุกข์ให้เกิดขึ้น ยังไม่สิ้นสุดลง (ยังไม่สิ้นภพ) อกุศลธรรมทั้งหลาย จะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

การกลับได้อัตภาพที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเสื่อม แต่กุศลธรรมเจริญ

[๒๒๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้อัตภาพแบบไหน อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุที่บุคคลผู้ยังการได้อัตภาพที่ไม่เป็นทุกข์ให้เกิดขึ้น สิ้นสุดลงแล้ว (สิ้นภพแล้ว) อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมสิ้นลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราตถาคต กล่าวการกลับได้อัตภาพไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่าง ต่างก็เป็น การกลับได้อัตภาพ ด้วยกันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยความข้อนี้ จึงได้ตรัสไว้อย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยสังเขป ไม่ได้ทรงจําแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร ข้าพระองค์เข้าใจโดยพิสดารอย่างนี้.

[๒๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดีแล้ว ดีแล้ว สารีบุตรเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ ที่เราตถาคตกล่าวไว้โดยสังเขป ไม่ได้จําแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เธอเข้าใจเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ถูกแล้ว.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตได้กล่าวไว้แล้วอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราตถาคตกล่าว กายสมาจารไว้๒ อย่าง คือที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 262

อย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น ต่างก็เป็นกายสมาจารด้วยกัน เราตถาคตอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้.

กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ (ประพฤติ)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพ กายสมาจาร แบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง กายสมาจารแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

กายสมาจารที่ควรเสพ (ประพฤติ)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลาย จะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น กายสมาจารแบบนี้ควรเสพ.

กายสมาจารที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเจริญแต่กุศลธรรมเสื่อม

[๒๒๒] ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารแบบไหนอกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง. ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป คือเป็นคนดุร้าย มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่มีความเอ็นดูในหมู่สัตว์ที่มีชีวิต อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ คือถือเอาทรัพย์ของผู้อื่น ที่เป็นเครื่องก่อให้เกิดความปลื้มใจแก่ผู้อื่น ที่อยู่ในบ้าน หรือในป่า ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ได้แก่ความเป็นขโมย อนึ่งเป็นผู้มักประพฤติผิดในกาม คือเป็นผู้ละเมิดจารีตในหญิงทั้งหลายที่มารดารักษาบ้าง ที่บิดารักษาบ้าง ที่ทั้งมารดาและบิดารักษาบ้าง ที่พี่ชายรักษาบ้างที่พี่สาวรักษาบ้าง ที่ญาติรักษาบ้าง ที่มีสามีบ้าง ที่มีสินไหมติดตัวอยู่บ้างโดยที่สุดแม้พี่ชายคล้องพวงมาลัยหมั้นไว้.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 263

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารแบบนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย กลับเสื่อมลง.

การสมาจารที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเสื่อมแต่กุศลธรรมเจริญ

[๒๒๓] ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารแบบไหนอกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมสิ้นไป แต่กุศลธรรมจะเจริญขึ้น ดูก่อนสารีบุตรบุคคลบางคนในโลกนี้ ละเว้นปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตคือเป็นผู้วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู เป็นผู้อนุ-เคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลในสรรพสัตว์อยู่. เลิกละอทินนาทานแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน คือไม่เป็นผู้ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เป็นเครื่องก่อให้เกิดความปลื้มใจแก่ผู้อื่น ที่อยู่ในบ้าน หรือในป่า ที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้วได้แก่ความเป็นขโมย เลิกละกาเมสุมิจฉาจารแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุ-มิจฉาจาร คือไม่เป็นผู้ละเมิดจารีตในหญิงทั้งหลาย ที่มารดารักษาบ้าง ที่บิดารักษาบ้าง ที่ทั้งมารดาบิดารักษาบ้าง ที่พี่ชายรักษาบ้าง ที่พี่สาวรักษาบ้างที่ญาติรักษาบ้าง ที่มีสามีบ้าง ที่มีสินไหมติดตัวบ้าง โดยที่สุดแม้ที่ชายคล้องพวงมาลัยหมั้นไว้.

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพกายสมาจาร แบบนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมไป แต่กุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น.

ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้แล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวกายสมาจารไว ้๒ อย่าง คือที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น เป็นกายสมาจารด้วยกัน เราตถาคตอาศัยความข้อนี้ จึงได้กล่าวไว้อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 264

วจีสมาจารเป็นต้นที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเสื่อมหรือเจริญ และกุศลธรรมเสื่อมหรือเจริญ

[๒๒๘] ก็แล ข้อที่กล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว วจีสมาจาร ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว มโนสมาจาร ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว ความเกิดขึ้นแห่งจิต ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว การได้สัญญา ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว การกลับได้ทิฏฐิ ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เราตถาคตกล่าว การได้อัตภาพไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้งสองอย่างนั้นแต่ละอย่างเป็น การได้อัตภาพ ด้วยกัน เราตถาคตอาศัยอะไรจึงกล่าวไว้แล้ว.การกลับได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ (ได้)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพ การได้อัตภาพ แบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญข้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง การได้อัตภาพแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

การกลับได้อัตภาพที่ควรเสพ (ได้)

ดูก่อนสารีบุตร ก็แล เมื่อบุคคลเสพ การได้อัตภาพ แบบไรอกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมไป แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น การได้อัตภาพแบบนี้ ควรเสพ.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 265

การกลับได้อัตภาพที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเจริญ แต่อกุศลธรรมเสื่อม

[๒๒๕] ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพ การได้อัตภาพ แบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

ดูก่อนสารีบุตร เพราะเหตุที่บุคคลผู้ยังการกลับได้อัตภาพที่เป็นทุกข์ให้เกิดขึ้นยังไม่สิ้นสุดลง (ยังไม่สิ้นภพ) อกุศลธรรมทั้งหลาย จะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

การกลับได้อัตภาพที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเสื่อม แต่กุศลธรรมเจริญ

[๒๒๖] ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้อัตภาพแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น ดูก่อนสารีบุตร เพราะเหตุที่บุคคลผู้ยังการกลับได้อัตภาพที่ไม่เป็นทุกข์ให้เกิดขึ้น สิ้นสุดลงแล้ว (สิ้นภพแล้ว) อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลงแต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น.

ข้อที่เราตถาคต กล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวการกลับได้อัตภาพไว้๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่าง เป็นการกลับได้อัตภาพ ด้วยกัน เราตถาคตอาศัยความข้อนี้ กล่าวไว้แล้วอย่างนี้.

สิ่งที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ๖ อย่าง

ดูก่อนสารีบุตร ธรรมบรรยายที่เราตถาคตกล่าวไว้โดยย่อ มิได้จําแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้แล เธอพึงเห็นเนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 266

[๒๒๗] ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงรูป ที่รู้ได้ทางจักษุไว้๒ อย่าง คือที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคต กล่าวถึงเสียงที่รู้ได้ทางโสตะไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงกลิ่นที่รู้ได้ทางฆานะไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงตรัสรู้ได้ทางชิวหาไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงโผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกายไว้๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนไว้๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑

[๒๒๘] เมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้ทูล พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญธรรมบรรยายนี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจําแนกเนื้อความให้พิสดารอย่างนี้

รูปที่ไม่ควรเสพ (ดู)

ก็แล ข้อนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคต กล่าวถึงรูป ที่รู้ได้ด้วยจักษุ ไว้๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 267

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพรูป ที่รู้ได้ทางจักษุแบบไรอกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง รูปที่รู้ได้ทางจักษุแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

รูปที่ควรเสพ (ดู)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แลเมื่อบุคคลเสพรูป ที่รู้ได้ทางจักษุแบบไรอกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมกลับเจริญขึ้น รูปที่รู้ได้ทางจักษุแบบนี้ ควรเสพ.

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่าดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงรูปที่รู้ได้ทางจักษุ ไว้๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเนื้อความดังที่ว่ามานี้แล้วตรัสไว้.

ก็แล ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคต กล่าวถึงเสียงที่รู้ได้ทางโสตะ ไว้ ๒ อย่างคือที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

เสียงที่ไม่ควรเสพ (ฟัง)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพเสียงที่รู้ได้ทางโสตะแบบไรอกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง เสียงที่รู้ได้ทางโสตะแบบนั้น ไม่ควรเสพ.

เสียงที่ควรเสพ (ฟัง)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพเสียงที่รู้ได้ทางโสตะแบบไรอกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมกลับเจริญขึ้น เสียงที่รู้ได้ทางโสตะแบบนั้น ควรเสพ.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 268

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงเสียงที่รู้ได้ทางโสตะ ไว้๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ตรัสไว้แล้ว.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงกลิ่น ที่รู้ได้ทางฆานะ ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้

กลิ่นที่ไม่ควรเสพ (ดม)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพกลิ่นที่รู้ได้ทางฆานะแบบไรอกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง กลิ่นที่รู้ได้ทางฆานะแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

กลิ่นที่ควรเสพ (ดม)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แล เมื่อบุคคลเสพกลิ่นที่รู้ได้ทางฆานะแบบใด อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้นกลิ่นที่รู้ได้ทางฆานะแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงกลิ่น ที่รู้ได้ทางฆานะไว้๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้จึงได้ตรัสไว้แล้ว.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงรส ที่รู้ได้ทางชิวหาไว้๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 269

รสที่ไม่ควรเสพ (ลิ้ม)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพรสที่รู้ได้ทางชิวหาแบบไรอกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง รสที่รู้ได้.ทางชิวหาแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

รสที่ควรเสพ (ลิ้ม)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แล เมื่อบุคคลเสพรสที่รู้ได้ทางชิวหาแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น รสที่รู้ได้ทางชิวหาแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงรส ที่รู้ได้ทางชิวหาไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่นพระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้ตรัสไว้แล้ว.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงโผฏฐัพพะ ที่รู้ได้ทางกายไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั้น พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

โผฏฐัพพะที่ไม่ควรเสพ (ถูกต้อง)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพโผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกายแบบไรอกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลงโผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกายแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

โผฏฐัพพะที่ควรเสพ (ถูกต้อง)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพโผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกาย

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 270

แบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้นโผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกายแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงโผฏฐัพพะ ที่รู้ได้ทางกายไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้จึงได้ตรัสไว้แล้ว.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารี-บุตร เราตถาคตกล่าวถึงธรรมารมณ์ ที่รู้ได้ทางมโน ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ (รู้)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ ที่รู้ได้ทางมโนแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลงธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบนี้ ไม่ควรเสพ.ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ (รู้)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลงแต่กุศลธรรมกลับเจริญขึ้น ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้ตรัสไว้แล้ว.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 271

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยย่อ มิได้ทรงจําแนกเนื้อความให้พิสดาร ข้าพระองค์ทราบเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้.

[๒๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ดีแล้วๆ ดูก่อนสารีบุตร ธรรมบรรยายที่เราตถาคตมิได้จําแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ เธอทราบเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ถูกแล้ว.

ก็แล ข้อที่ เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยอะไรกล่าวไว้แล้ว.

รูปที่ไม่ควรเสพ (เห็น)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพรูปที่รู้ได้ทางจักษุแบบไร. อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง รูปที่รู้ได้ทางจักษุแบบนี้ไม่ควรเสพ.

รูปที่ควรเสพ (เห็น)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพรูปที่รู้ได้ทางจักษุแบบไร อกุศลธรรมเสื่อมลง แต่กุศลธรรมกลับเจริญขึ้น รูปที่รู้ได้ทางจักษุ แบบนี้ควรเสพ.

ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงรูปที่รู้ได้ทางจักษุ ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑เราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้จึงได้กล่าวไว้แล้ว.

ก็แล ข้อที่ เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงเสียงที่รู้ได้ทางโสตะไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยอะไรกล่าวไว้แล้ว.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 272

เสียงที่ไม่ควรเสพ (ฟัง)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพเสียง ที่รู้ได้ทางโสตะแบบไรอกุศลธรรมจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมกลับเสื่อมลง เสียงที่รู้ได้ทางโสตะแบบนี้ไม่ควรเสพ.

เสียงที่ควรเสพ (ฟัง)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพเสียงที่รู้ได้ทางโสตะแบบไรอกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น เสียงที่รู้ได้ทางโสตะแบบนี้ ควรเสพ.

ก็แล. ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงเสียงที่รู้ได้ทางโสตะ ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้จึงได้กล่าวไว้แล้ว.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงกลิ่นที่รู้ได้ทางฆานะไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เราอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้.

กลิ่นไม่ที่ควรเสพ (สูด)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพกลิ่น ที่รู้ได้ทางฆานะแบบไรอกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง กลิ่นที่รู้ได้ทางฆานะแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

กลิ่นที่ควรเสพ (สูด)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพกลิ่นที่รู้ได้ทางฆานะแบบไรอกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น กลิ่นที่รู้ได้ทางฆานะแบบนี้ ควรเสพ.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 273

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงกลิ่นที่รู้ได้ทางฆานะ ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้กล่าวไว้แล้ว.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงรสที่รู้ได้ทางชิวหา ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่นเราตถาคตอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้.

รสที่ไม่ควรเสพ (ลิ้ม)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพรสที่รู้ได้ทางชิวหาแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง รสที่รู้ได้ทางชิวหาแบบนี้ไม่ควรเสพ.

รสที่ควรเสพ (ลิ้ม)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพรสที่รู้ได้ทางชิวหาแบบไรอกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น รสที่รู้ได้ทางชิวหาแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงรสที่รู้ได้ทางชิวหาไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้กล่าวไว้แล้ว.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงโผฏฐัพพะ ที่รู้ได้ทางกาย ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่นเราตถาคตอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้.

โผฏฐัพพะที่ไม่ควรเสพ (ถูกต้อง)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพโผฏฐัพพะ ที่รู้ได้ทางกายแบบไร

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 274

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลงโผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกายแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

โผฏฐัพพะที่ควรเสพ (ถูกต้อง)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพโผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกายแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้นโผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกายแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อนั้นใด ที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงโผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกาย ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้กล่าวไว้.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยอะไร จึงได้กล่าวไว้.

ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ (รู้)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่ร้ได้ทางมโนแบบไรอกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ (รู้)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบไรอกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อนั้นใด ที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงธรรมารมณ์ ที่รู้ได้ทางมโน ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้กล่าวไว้แล้ว

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 275

ดูก่อน สารีบุตร ธรรมบรรยายที่เราตถาคตกล่าวโดยย่อนี้ เธอพึงเห็นเนื้อความโดยพิศดารอย่างนี้.

[๒๓๐] ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงจีวรไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงบิณฑบาตไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑.

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงเสนาสนะไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑.

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงหมู่บ้านไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง.

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงนิคม ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑.

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงนคร ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑.

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงชนบท ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑.

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงบุคคล ไว้๒ จําพวกคือ ที่ควรเสพจําพวกหนึ่ง ที่ไม่ควรเสพจําพวกหนึ่ง.

[๒๓๑] เมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญธรรมบรรยายนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วโดยย่อ มิได้ทรงจําแนกเนื้อความโดยพิสดาร ข้าพระองค์ทราบเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 276

ก็แล ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงจีวรไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

จีวรที่ไม่ควรเสพ (ห่ม)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพจีวรแบบไร อกุศลธรรมทั้ง.หลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง จีวรแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

จีวรที่ควรเสพ (ห่ม)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพจีวรแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น จีวรแบบนี้ ควรเสพ

ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงจีวรไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้จึงได้ตรัสไว้.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่าดูก่อน สารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงบิณฑบาต ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

บิณฑบาตที่ไม่ควรเสพ (ฉัน)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพบิณฑบาตแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง บิณฑบาตแบบนี้ไม่ควรเสพ.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 277

บิณฑบาตที่ควรเสพ (ฉัน)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพบิณฑบาตแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น บิณฑบาตแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่าดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงบิณฑบาต ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้จึงได้ตรัสไว้.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงเสนาสนะ ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

เสนาสนะที่ไม่ควรเสพ (นั่งนอน)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพเสนาสนะแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง เสนาสนะแบบนี้ไม่ควรเสพ.

เสนาสนะที่ควรเสพ (นั่งนอน)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพเสนาสนะแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น เสนาสนะแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงเสนาสนะ ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้จึงได้ตรัสไว้

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 278

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงหมู่บ้าน ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยอะไรตรัสไว้แล้ว.

หมู่บ้านที่ไม่เสพ (อาศัยอยู่)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพหมู่บ้านแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง หมู่บ้านแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

หมู่บ้านที่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพหมู่บ้านแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น หมู่บ้านแบบนี้ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงหมู่บ้าน ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้จึงได้ตรัสไว้.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงนิคม ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

นิคมที่ไม่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพนิคมแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง นิคมแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

นิคมที่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพนิคมแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น นิคมแบบนี้ ควรเสพ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 279

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงนิคม ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง๑ นั่นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้ตรัสไว้.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงนคร ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

นครที่ไม่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพนครแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง นครแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

นครที่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ข้าแต่ตระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพนครแบบใด อกุศลธรรมเสื่อมลง แต่กุศลธรรมกลับเจริญขึ้น นครแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงนคร ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้จึงได้ตรัสไว้.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงชนบท ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

ชนบทที่ไม่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพชนบทอย่างไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง ชนบทแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 280

ชนบทที่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพชนบทแบบไรอกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น ชนบทแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่าดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงชนบท ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง๑ พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้ตรัสไว้.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงบุคคล ไว้๒ จําพวกคือ ที่ควรเสพจําพวก ๑ ที่ไม่ควรเสพจําพวก ๑ พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

บุคคลที่ไม่ควรเสพ (คบ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพบุคคลแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง บุคคลแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

บุคคลที่ควรเสพ (คบ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แล เมื่อบุคคลเสพบุคคลแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น บุคคลแบบนี้ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงบุคคลไว้๒ จําพวกคือ ที่ควรเสพจําพวก ๑ ที่ไม่ควรเสพจําพวก ๑ นั่น พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้ตรัสไว้.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 281

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยย่อ มิได้ทรงจําแนกเนื้อความให้พิสดาร ข้าพระองค์ทราบความหมายได้โดยพิสดารอย่างนี้.

[๒๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ดีแล้วๆ ดูก่อนสารีบุตร ธรรมบรรยายนี้ ที่เรากล่าวโดยย่อ มิได้จําแนกเนื้อความให้พิสดาร เธอทราบเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ ถูกแล้ว.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงจีวร ไว ้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยอะไร จึงได้กล่าวไว้.

จีวรที่ไม่ควรเสพ (ห่ม)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพจีวรแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง จีวรแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

จีวรที่ควรเสพ (ห่ม)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพจีวรแบบไรอกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น จีวรแบบนี้ ควรเสพ.ข้อที่เราตถาคตกล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงจีวรไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้กล่าวไว้.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวบิณฑบาต ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง เราตถาคตอาศัยอะไรจึงกล่าวไว้.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 282

บิณฑบาตที่ไม่ควรเสพ (ฉัน)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพบิณฑบาตแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลาย กลับเสื่อมลง บิณฑบาตแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

บิณฑบาตที่ควรเสพ (ฉัน)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพบิณฑบาตแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมกลับเจริญขึ้น บิณฑบาตแบบนี้ ควรเสพ.ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงบิณฑบาตไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ และไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่นเราอาศัยเนื้อความดังนี้มา จึงได้กล่าวไว้.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงเสนาสนะ ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑เราตถาคตอาศัยอะไร จึงได้กล่าวไว้.

เสนาสนะที่ไม่ควรเสพ (นั่งนอน)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพเสนาสนะแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง เสนาสนะแบบนี้ไม่ควรเสพ.

เสนาสนะที่ควรเสพ (นั่งนอน)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพเสนาสนะแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น เสนาสนะแบบนี้ควรเสพ.

ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงเสนาสนะ ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้กล่าวไว้

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 283

ก็แลข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงหมู่บ้านไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยอะไร จึงได้กล่าวไว้.

หมู่บ้านที่ไม่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพหมู่บ้านแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง หมู่บ้านแบบนี้ ไม่ควรเสพ.หมู่บ้านที่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพหมู่บ้านแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลงแต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น หมู่บ้านแบบนี้ ควรเสพ.ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงหมู่บ้าน ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยเนื้อความดังกล่าวมานี้ จึงได้กล่าวไว้.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงนิคม ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่นเราตถาคตอาศัยอะไร จึงได้กล่าวไว้.

นิคมไม่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพนิคมแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมกลับเสื่อมลง นิคมแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

นิคมที่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพนิคมแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น นิคมแบบนี้ ควรเสพ.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 284

ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงนิคม ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่นเราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้กล่าวไว้.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงชนบทไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่นเราตถาคตอาศัยอะไร จึงได้กล่าวไว้.

ชนบทที่ไม่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพชนบทแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง ชนบทแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

ชนบทที่ไม่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพชนบทแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น ชนบทแบบนี้ ควรเสพ.ที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงชนบท ไว้๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่นเราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้กล่าวไว้.

ก็แลข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตรเราตถาคตกล่าวถึงบุคคลไว้๒ จําพวก คือ ที่ควรเสพจําพวก ๑ ที่ไม่ควรเสพจําพวก ๑ เราตถาคตอาศัยอะไร จึงได้กล่าวไว้.

บุคคลที่ไม่ควรเสพ (คบ)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพบุคคลแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง บุคคลแบบนี้ไม่ควรเสพ.

บุคคลที่ควรเสพ (คบ)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพบุคคลแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น บุคคลแบบนี้ควรเสพ.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 285

ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงบุคคลไว้๒ จําพวกคือ ที่ควรเสพจําพวก ๑ ไม่ควรเสพจําพวก ๑ เราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้กล่าวไว้.

ดูก่อนสารีบุตร ธรรมบรรยายที่เราตถาคตกล่าวแล้วโดยย่อนี้ เธอพึงเห็นเนื้อความ โดยพิสดารอย่างนี้.

[๒๓๓] ดูก่อนสารีบุตร ถ้ากษัตริย์ทั้งปวง พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยาย ที่เราตถาคตกล่าวโดยย่อนี้ได้ โดยพิศดารอย่างนี้ นั่นจะพึงเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่กษัตริย์แม้ทั้งปวงตลอดกาลนาน.

ดูก่อนสารีบุตร ถ้าพราหมณ์แม้ทั้งปวง....

ดูก่อนสารีบุตร ถ้าแพศย์แม้ทั้งปวง....

ดูก่อนสารีบุตร ถ้าศูทรแม้ทั้งปวง พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยาย ที่เราตถาคตกล่าวโดยย่อนี้ได้ โดยพิสดารอย่างนี้ นั่นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ศูทรแม้ทั้งปวงตลอดกาลนาน.

ดูก่อนสารีบุตร ถ้าแม้โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกและหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยาย ที่เราตถาคตกล่าวโดยย่อนี้ได้ โดยพิสดารอย่างนี้นั่นจะพึงเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ตลอดกาลนาน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 286

อรรถกถาเสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมาจาร

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตฺจ อฺญมฺํ กายสมาจารํ ความว่า เราตถาคตกล่าวความประพฤติทางกายที่ควรเสพอย่างหนึ่ง และที่ไม่ควรเสพอย่างหนึ่ง. อธิบายว่า เราตถาคตมิได้กล่าวว่า กายสมาจารที่ควรเสพนั่นแลไม่ควรเสพโดยปริยายไรๆ หรือกายสมาจารที่ไม่ควรเสพว่าควรจะเสพ.

แม้ในวจีสมาจารเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงวางแม่บทไว้โดยบททั้ง ๗ ด้วยประการอย่างนี้แล้ว มิได้ทรงจําแนกไว้โดยพิสดาร ก็ทรงยุติเทศนาไว้.

เพราะเหตุไร?

เพราะเพื่อจะให้โอกาสแก่พระสารีบุตรเถระ. ในมโนสมาจาร ท่านไม่ได้ถือเอามิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิว่า เป็นองค์ที่แยกตั้งไว้ต่างหากด้วยสามารถแห่งการกลับได้ทิฏฐิ.

ในจิตตุปบาท ควรทราบอภิชฌาเป็นต้นว่า ไม่ถึงกรรมบถ๑ก็หามิได้. (คือถึงกรรมบถ)

ในวาระที่ว่าด้วยการได้สัญญา ตรัสบททั้งหลายเป็นต้น ว่า อภิชฺฌาสหคตายลฺาย (มีสัญญาอันไปร่วมกับอภิชฌา) ดังนี้ เพื่อทรงแสดงกามสัญญาเป็นต้น.

พระอนาคามียังมีภวตัณหา

บทว่า สพฺยาปชฺณํ แปลว่า มีทุกข์. บทว่า อปรินิฏฺิตภาวายได้แก่ เพราะภพทั้งหลายยังไม่หมดไป. ก็ในที่นี้ ชื่อว่าอัตภาพที่ถูกทุกข์เบียด


๑. บางปกรณ์ว่า อภิชฌาไม่ถึงกรรมบถ.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 287

เบียนมี ๔ ประการ. เพราะบุคคลใดแม้เป็นปุถุชน ย่อมไม่อาจเพื่อจะหยุดภพโดยอัตภาพนั้นได้ จําเดิมแต่การปฏิสนธิของบุคคลนั้น อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ และกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป ชื่อว่าย่อมยังอัตภาพที่มีทุกข์เท่านั้นให้เกิด. พระโสดาบัน พระสกทาคามีและพระอนาคามีก็เหมือนกัน.ถามว่า ปุถุชนทั้งหลายเป็นต้น รวมพระโสดาบัน และพระสกทาคามี ขอยกไว้ก่อน แต่พระอนาคามีย่อมยังอัตภาพที่มีทุกข์เบียดเบียนให้เกิดขึ้นได้อย่างไร.

ตอบว่า เพราะแม้พระอนาคามี บังเกิดในชั้นสุทธาวาส แลดูต้นกัลปพฤกษ์ในวิมานอุทยาน (สวนสวรรค์) เปล่งอุทานว่า สุขหนอ สุขหนอ.ความโลภในภพ ตัณหาในภพ ย่อมเป็นอันพระอนาคามี ยังละไม่ได้เลยเพราะพระอนาคามีนั้นยงละตัณหาไม่ได้ ชื่อว่า อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมเสื่อมไป ย่อมยังอัตภาพที่มีทุกข์นั่นแลให้เกิดขึ้น พึงทราบว่า ยังเป็นผู้มีภพไม่สิ้นสุดนั่นแหละ.

อัตภาพไม่มีทุกข์ของปุถุชน

บทว่า อพฺยาปชฺฌํ คือ ไม่มีทุกข์. แม้บุคคลนี้ ก็พึงทราบเนื่องด้วยชน ๔ จําพวก. อธิบายว่า บุคคลใดแม้เป็นปุถุชน ก็อาจทําภพให้สิ้นสุดลงด้วยอัตภาพนั้น ไม่ถือปฏิสนธิอีกต่อไป จําเดิมแต่บุคคลนั้นถือปฏิสนธิอกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเท่านั้นเจริญ เขาย่อมยังอัตภาพอันไม่มีทุกข์นั่นแหละ ให้เกิดขึ้น เป็นผู้ชื่อว่ามีภพสิ้นสุดแล้วทีเดียว. พระโสดาบันพระสกทาคามี และพระอนาคามีก็เหมือนกัน.

ถามว่า พระโสดาบันเป็นต้น พักไว้ก่อน (ไม่ต้องพูดถึง) ปุถุชนย่อมยังอัตภาพอันไม่มีทุกข์ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร? และเขามีการเสื่อมจากอกุศลธรรมเป็นต้น ได้อย่างไร

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 288

ตอบว่า แม้ปุถุชนผู้เกิดในภพสุดท้าย ก็ย่อมสามารถทําภพให้สิ้นสุดลงด้วยอัตภาพนั้นได้ อัตภาพของปุถุชนผู้เกิดในภพสุดท้ายนั้น แม้จะฆ่าสัตว์ถึง ๙๙๙ ชีวิต เหมือนองคุลิมาล ก็ชื่อว่าไม่มีทุกข์ชื่อว่าย่อมทําภพให้สิ้นสุดลง ชื่อว่าย่อมยังอกุศลนั่น แลให้เสื่อมไป ย่อมยังวิปัสสนานั่น แลให้ถือเอาห้องวิปัสสนาได้.

ราคะเกิดแก่บางคน

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จกฺขุวิฺเยฺยํ เป็นต้น ดังต่อไปนี้:-เพราะเหตุที่ราคะเป็นต้น ในรูปนั่นแหละ ย่อมเกิดสําหรับบุคคลบางคน บุคคลบางคนจึงเพลิดเพลินชอบใจ เมื่อเพลิดเพลินชอบใจย่อมถึงความเสื่อมและความพินาศ. ย่อมไม่เกิดสําหรับบุคคลบางคน บุคคลบางคนจึงเบื่อหน่ายคลายกําหนัดย่อมถึงความดับ เพราะฉะนั้นจึงไม่ตรัสว่า ตฺจ อฺมฺํในบททั้งปวงมีนัยนี้นั่นแล.

ทุกข์ไม่มีแก่ท่านผู้ไม่มีปฏิสนธิ

ในบทว่า เอวํ วิตฺถาเรน อตฺถํ อาชาเนยฺยุํ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ถามว่า คนเหล่าไหน ย่อมรู้เนื้อความภาษิตนี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ตอบว่า เบื้องต้น ชนเหล่าใดร่ําเรียนบาลี และอรรถกถาของพระสูตรนี้ แต่ไม่ทําตามที่ร่ําเรียนมานั้น ไม่ปฏิบัติอนุโลมปฏิปทา ตามที่กล่าวแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมไม่รู้. ส่วนชนเหล่าใดเป็นผู้กระทําตามที่เล่าเรียนมานั้น ปฏิบัติอนุโลมปฏิปทาตามที่กล่าวแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้.

ถามว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น การรู้เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์นั้นจะมีประโยชน์เกื้อกูลและความสุขตลอดกาลนาน สําหรับเหล่าสัตว์ผู้มีปฏิสนธิ

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 289

จงยกไว้ก่อน แต่สําหรับเหล่าสัตว์ผู้ไม่มีปฏิสนธิ (อีกต่อไป) จะมีประโยชน์สุขได้อย่างไร?

ตอบว่า เหล่าชนผู้ไม่ปฏิสนธิ ย่อมปรินิพพาน เหมือนไฟหมดเชื้อเมื่อกาลเวลาล่วงไป แม้ตั้งแสนกัป ชื่อว่าความทุกข์ย่อมไม่มีแก่คนเหล่านั้นอีกต่อไป. คนเหล่านั้นเท่านั้น ย่อมจะมีประโยชน์สุขชั่วกาลนาน โดยส่วนเดียว ด้วยประการดังกล่าวมานี้. คําที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาเสวิตัพพาเสวิตัพพสูตรที่ ๔