พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. พหุธาตุกสูตร ว่าด้วยธาตุมากอย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36120
อ่าน  722

[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 290

๕. พหุธาตุกสูตร

ว่าด้วยธาตุมากอย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 22]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 290

๕. พหุธาตุกสูตร

ว่าด้วยธาตุมากอย่าง

[๒๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธดํารัสแล้ว.

[๒๓๕] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภัยไม่ว่าชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต อุปัทวะไม่ว่าชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต อุปสรรคไม่ว่าชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนไฟลุกลามแล้วแต่เรือนไม้อ้อ หรือเรือนหญ้า ย่อมไหม้ได้กระทั่งเรือนยอดที่โบกปูน มีบานประตูสนิท ปิดหน้าต่างไว้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภัยไม่ว่าชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต อุปัทวะไม่ว่าชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต อุปสรรคไม่ว่าชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งหมดนั้นย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้แล คนพาลจึงมีภัยเฉพาะหน้า (แต่) บัณฑิตไม่มีภัยเฉพาะหน้า คนพาลจึงมีอุปัทวะ (แต่) บัณฑิตไม่มีอุปัทวะคนพาลจึงมีอุปสรรค (แต่) บัณฑิตไม่มีอุปสรรค. ภัย อุปัทวะ อุปสรรค์

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 291

ไม่มีแต่บัณฑิต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราทั้งหลายจักเป็นบัณฑิต.

เหตุที่เรียกว่าบัณฑิต

[๒๓๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล. จึงควรเรียกว่าภิกษุเป็นบัณฑิต มีปัญญาพิจารณา.พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เพราะภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท และฉลาดในฐานะและอฐานะ ดูก่อนอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็นบัณฑิต มีปัญญาพิจารณา.

[๒๓๗] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเท่าไร จึงควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

ธาตุ ๑๘

พ. ดูก่อนอานนท์ ธาตุนี้มี ๑๘ อย่างแล ได้แก่ ธาตุคือจักษุ๑ธาตุคือรูป ๑ ธาตุคือจักษุวิญาณ ๑ ธาตุคือโสตะ ๑ ธาตุคือเสียง๑ธาตุคือโสตวิญญาณ ๑ ธาตุคือฆานะ ๑ ธาตุคือกลิ่น ๑ธาตุคือฆานวิญญาณ ๑ ธาตุคือชิวหา ๑ ธาตุคือรส ๑ ธาตุคือชิวหาวิญญาณ ๑ ธาตุคือกาย ๑ ธาตุคือโผฏฐัพพะ ๑ ธาตุคือกายวิญญาณ๑ ธาตุคือมโน ๑ ธาตุคือธรรมารมณ์ ๑ ธาตุคือมโนวิญญาณ ๑ดูก่อนอานนท์ ธาตุ๑๘ อย่างเหล่านี้แล ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

[๒๓๘] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะยังมีปริยายแม้อื่นหรือไม่ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 292

ธาตุ ๖

ดูก่อนอานนท์ มีธาตุที่มี ๖ อย่างได้แก่ธาตุคือดิน ๑ ธาตุคือน้ำ ๑ ธาตุคือไฟ ๑ ธาตุคือลม ๑ ธาตุคืออากาศ ๑ ธาตุคือวิญญาณ ๑ ดูก่อนอานนท์ ธาตุ๖ อย่างเหล่านี้แล แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

[๒๓๙] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่าภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีอีกหรือไม่.

ธาตุ ๖ อีกอย่างหนึ่ง

พ. ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุนี้มี๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือสุข ๑ธาตุคือทุnข์๑ ธาตุคือโสมนัส ๑ ธาตุคือโทมนัส ๑ ธาตุคืออุเบกขา ๑ ธาตุคืออวิชชา ๑ ดูก่อนอานนท์ เหล่านั้นแล ธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

[๒๔๐] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะยังมีปริยายแม้อื่นหรือไม่ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

ธาตุ ๖ อีกอย่างหนึ่ง

พ. ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ ธาตุ ได้แก่ ธาตุคือกาม ๑ธาตุคือเนกขัมมะ ๑ ธาตุคือพยาบาท ๑ ธาตุคือความไม่พยาบาท ๑ธาตุคือความเบียดเบียน ๑ ธาตุคือความไม่เบียดเบียน ๑ ดูก่อนอานนท์ ธาตุ ๖ อย่างเหล่านั้นแล แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

[๒๔๑] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะยังมีปริยายแม้อื่นหรือไม่ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 293

ธาตุ ๓

พ. ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุนี้มี๓ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือกาม ๑ธาตุคือรูป ๑ ธาตุคืออรูป ๑ ดูก่อนอานนท์ ธาตุ๓ อย่างเหล่านี้แลแม้ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

[๒๔๒] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะยังมีปริยายแม้อื่นหรือไม่ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

ธาตุ ๒

พ. ดูก่อนอานนท์มีธาตุนี้มี๒ อย่างคือ สังขตธาตุ ๑ อสังขตธาตุ ดูกรอานนท์ ธาตุ๒ อย่างเหล่านี้แล แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

[๒๔๓] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเท่าไรจึงควรเรียกว่าภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ.

อายตนะภายใน - ภายนอก อย่างละ ๖

พ. ดูก่อนอานนท์ อายตนะทั้งภายในและภายนอกนี้ มีอย่างละ ๖แล คือ จักษุและรูป ๑ โสตะและเสียง ๑ ฆานะและกลิ่น ๑ ชิวหาและรส ๑ กายและโผฏฐัพพะ ๑ มโนและธรรมารมณ์ ๑ ดูก่อนอานนท์ อายตนะทั้งภายในและภายนอกอย่างละ ๖ เหล่านี้แล แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ.

[๒๔๔] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเท่าไรจึงควรเรียกว่าภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท.

ปฏิจจสมุปบาท

พ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น เนื้อเหตุนี้ไม่มี ผล

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 294

นี้จึงไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารเพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูปเพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะเพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัส อุปายาส อย่างนี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ แต่เพราะอวิชชานั่นแลดับด้วยวิราคะไม่มีส่วนเหลือ จึงดับสังขารได้ เพราะสังขารดับ จึงดับวิญญาณได้ เพราะวิญญาณดับ จึงดับนามรูปได้ เพราะนามรูปดับ จึงดับสฬายตนะได้ เพราะสฬายตนะดับ จึงดับผัสสะได้ เพราะผัสสะดับ จึงดับเวทนาได้ เพราะเวทนาดับ จึงดับตัณหาได้ เพราะตัณหาดับ จึงดับอุปาทานได้เพราะอุปาทานดับ จึงดับภพได้ เพราะภพดับ จึงดับชาติได้ เพราะชาคิดับจึงดับชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสได้ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีมาอย่างนี้ ดูก่อนอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในปฎิจจสมุปบาท.

[๒๔๕] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเท่าไร จึงควรเรียกว่าภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ?

ภ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ฐานะและอฐานะอย่างละ ๒

(๑) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พึงเข้าใจสังขารอะไรๆ โดยความเป็นของเพียง นั่นไม่ใช่ฐานะที่มี

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 295

ได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชน พึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๒) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พึงเข้าใจสังขารอะไรๆ โดยความเป็นสุข นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงเข้าใจสังขารอะไรๆ โดยความเป็นสุข นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๓) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พึงเข้าใจธรรมอะไรๆ โดยความเป็นอัตตา นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงเข้าใจธรรมอะไรๆ โดยความเป็นอัตตา นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๔) ย่อมรู้ชัดว่าข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พึงปลงชีวิตมารดา นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงปลงชีวิตมารดาได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๕) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พึงปลงชีวิตบิดา นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงปลงชีวิตบิดาได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้

(๖) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พึงปลงชีวิตพระอรหันต์ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่าข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงปลงชีวิตพระอรหันต์ได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๗) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ มีจิตคิดประทุษร้าย พึงทําโลหิตแห่งตถาคตให้ห้อขึ้น นั่นไม่ใช่

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 296

ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนมีจิตคิดประทุษร้าย พึงทําโลหิตแห่งตถาคตให้ห้อขึ้นได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๘) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พึงทําลายสงฆ์ นั่น ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงทําลายสงฆ์ได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๙) ย่อมรู้ชัดว่าข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึงมุ่งหมายศาสดาอื่น นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนจะพึงมุ่งหมายศาสดาอื่นได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๑๐) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลังกัน นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียว นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๑๑) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ พระเจ้าจักรพรรดิ๒ พระองค์ พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลังกันนั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้และรู้ชัดว่าข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์เดียว พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียว นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๑๒) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุรุษพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 297

(๑๓) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แลคือ บุรุษพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๑๔) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีพึงสําเร็จเป็นท้าวสักกะ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แลคือบุรุษพึงสําเร็จเป็นท้าวสักกะ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๑๕) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีพึงสําเร็จเป็นมาร นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุรุษพึงสําเร็จเป็นมาร นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๑๖) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีพึงสําเร็จเป็นพรหม นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือบุรุษพึงสําเร็จเป็นพรหม นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๑๗) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่งกายทุจริต พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ วิบากแห่งกายทุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๑๘) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่งวจีทุจริต พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ วิบากแห่งวจีทุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๑๙) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่งมโนทุจริต พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 298

และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ วิบากแห่งมโนทุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๒๐) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่งกายสุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ วิบากแห่งกายสุจริต พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๒๑) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่งวจีสุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ วิบากแห่งวจีสุจริต พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่น เป็นฐานะที่มีได้

(๒๒) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่งมโนสุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้. และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะที่มีได้แล คือ วิบากแห่งมโนสุจริตพึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้

(๒๓) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกายทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจริตเมื่อตายไป พึงเข้าถึง อบาย ทุคติวินิบาต นรก เพราะกายทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๒๔) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวจีทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะวจีทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 299

คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวจีทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึง อบาย ทุคติวินิบาต นรก เพราะวจีทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๒๕) ย่อมรู้ชัดว่าข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนทุจริต เมื่อตายไปพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะมโนทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แลคือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึง อบาย ทุคติวินิบาต นรก เพราะมโนทุจริตนั้น เป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๒๖) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายสุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรกเพราะกายสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่าข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายสุจริต เมื่อตายไปพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกายสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๒๗) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวจีสุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรกเพราะวจีสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวจีสุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะวจีสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๒๘) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนสุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรกเพราะมุโนสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่าข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนสุจริต เมื่อตายไป

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 300

พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะมโนสุจริตนั้น เป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

ดูก่อนอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ.

[๒๔๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลย ธรรมบรรยายนี้ชื่อไร พระพุทธเจ้าข้า?

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจําธรรมบรรยายนี้ไว้ว่า ชื่อพหุธาตุกะ (ชุมนุมธาตุมากอย่าง) บ้างว่า ชื่อจตุปริวัฏฏ์ (แสดงอาการเวียน ๔ รอบ) บ้างว่า ชื่อธรรมาทาสะ (แว่นส่องธรรม) บ้างว่า ชื่ออมตทุนทุภี (กลองบันลืออมฤตธรรม) บ้างว่า ชื่ออนุตตรสังคามวิชัย (ความชนะสงความอย่างไม่มีความชนะอื่นยิ่งกว่า) บ้าง

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสุภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนที่ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบ พหุธาตุกสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 301

อรรถกถาพหุธาตุกสูตร

พหุธาตุกสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

ในพระสูตรนั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ภัย อุปัทวะ อุปมรรค

ในบทว่า ภยานิ เป็นต้น มีอธิบายว่า ความสะดุ้งแห่งจิต ชื่อว่าภัย. อาการแห่งจิตที่ไม่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ชื่อว่า อุปัทวะ อาการที่ติดขัดคืออาการที่ขัดข้องในอารมณ์นั้นๆ ชื่อว่า อุปสรรค.

พึงทราบความต่างของอาการมีความกลัว (ภัย) เป็นต้น เหล่านั้นอย่างนี้:- พวกโจรที่อาศัยอยู่ในที่อันไม่สม่ําเสมอมีภูเขาเป็นต้น ส่งข่าวแก่ชาวชนบทว่า ในวันโน้น พวกเราจะเข้าปล้นบ้านของพวกท่าน. จําเดิมแต่ได้ฟังพฤติการณ์นั้นแล้ว พวกชาวชนบทย่อมถึงความกลัว ความสะดุ้ง มีชื่อว่า ความสะดุ้งแห่งจิต.

พวกชาวชนบทพากันคิดว่า ที่นี้พวกโจรนั้นโกรธจักนําเอาแม้ความพินาศมาสู่พวกเรา จึงถือเอาของสําคัญๆ เข้าป่าไปพร้อมกับสัตว์๒ เท้า และสัตว์๔ เท้า นอนบนพื้นดินในที่นั้นๆ ถูกเหลือบยุงเป็นต้นกัด ก็เข้าไประหว่างพุ่มไม้ เหยียบย่ําตอและหนาม ภาวะที่ชาวชนบทเหล่านั้นเที่ยวซัดส่ายไปอย่างนี้ ชื่อว่า อาการที่จิตไม่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง.

แต่นั้น เมื่อพวกโจรไม่มาตามวันที่พูด ก็พากันคิดว่า ข่าวนั้นคงจะเป็นข่าวลอยๆ พวกเรา (ควร) จักเข้าบ้าน พร้อมทั้งสิ่งของ ก็พากันเข้าไปยังบ้าน. ที่นั้น พวกโจรรู้ว่าชาวบ้านกลับเข้าบ้าน จึงล้อมบ้านไว้ จุดไฟ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 302

ที่ประตูฆ่าพวกมนุษย์ปล้นเอาทรัพย์สมบัติทุกสิ่งไป. บรรดามนุษย์เหล่านั้นพวกที่เหลือจากถูกฆ่า พากันดับไฟแล้ว นั่งจับเจ่าเศร้าโศกถึงสมบัติที่พินาศไปแล้วในที่นั้นๆ ที่ร่มเงายุ้งข้าว และฝาเรือนเป็นต้น. อาการที่ติดขัดดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอาการขัดข้อง.

ภัยเกิดจากคนพาล

บทว่า นฬาคารา แปลว่า เรือนที่มุงด้วยไม้อ้อ. ก็ในเรือนที่กั้นด้วยไม้อ้อนี้ แต่สัมภาระที่เหลือในเรือนนี้ ล้วนแล้วด้วยไม่ (เนื้อแข็ง) แม้ในเรือนที่มุงด้วยหญ้าก็นัยนี้นั่นแหละ.

บทว่า พาลโต อุปฺปชฺชนฺติ ความว่า อาศัยคนพาลเท่านั้นจึงเกิดขึ้น

เพราะคนพาลเป็นคนไม่ฉลาด ปรารถนาความเป็นพระราชา ความเป็นอุปราช หรือตําแหน่งใหญ่อย่างอื่น พาเอานักเลงโคที่เป็นเด็กขาดพ่อแม่อบรมเช่นกับในจํานวนเล็กน้อย กล่าวว่า พวกท่านจงมา เราจักทําพวกท่านให้เป็นใหญ่ ดังนี้แล้ว ไปอาศัยชัฏเขาเป็นต้นอยู่ ปล้นบ้านตามชายแดนประกาศให้รู้ว่าเป็นพวกดุร้าย (ทามริกะ) แล้วปล้นนิคมบ้าง ชนบทบ้างตามลําดับ.

พวกมนุษย์พากันทั้งบ้าน ต้องการที่ปลอดภัย ย่อมหลีกไป. ภิกษุก็ดี ภิกษุณีก็ดี ที่อาศัยพวกมนุษย์เหล่านั้นอยู่ ก็ละทิ้งที่เป็นที่อยู่ของตนๆ หลีกไป. ในที่ที่ผ่านไป ภิกษาก็ดี เสนาสนะก็ดี ย่อมเป็นของหายาก. ภัยย่อมจะมีมาแก่บริษัททั้ง ๔ ด้วยประการอย่างนี้. แม้ในบรรพชิตทั้งหลายภิกษุพาล ๒ รูป ก่อการวิวาทกันเริ่มฟ้องกันขึ้น. ดังนั้น การทะเลาะกันย่อม

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 303

เกิดขึ้น เหมือนพวกภิกษุชาวเมืองโกสัมพีภัยย่อมมี่แก่บริษัททั้ง ๔ เป็นแน่แท้ภัยแม้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้น พึงทราบว่า เกิดจากคนพาล ด้วยประการดังพรรณนามานี้.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า พระอานนท์คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ (ตรัส) พระธรรมเทศนาให้ถึงที่สุด ก็ทรงจบเสีย ไฉนหนอเราพึงทูลถามพระทศพลแล้วกระทําเทศนาให้บริบูรณ์ด้วยพระสัพพัญุตญาณนั่นแลจึงได้กราบทูลคํามีอาทิว่า กิตฺตาวตา นุโข ภนฺเต นี้.

รูปปริคคหะ -อรูปปริคคหะ

ในบรรดาธาตุ๑๘ อย่าง การกําหนดธาตุ ๑๐ อย่างครึ่ง ชื่อว่ารูปปริคคหะ (คือการกําหนดรูป) การกําหนดธาตุ๗ อย่างครึ่ง เป็นอรูปปริคคหะ (คือการกําหนดอรูป) ฉะนั้นจึงเป็นอันตรัสการกําหนดทั้งรูป และอรูปทีเดียว. ธาตุแม้ทั้งหมดเป็นเบญจขันธ์ ด้วยอํานาจขันธ์ แม้เบญจขันธ์ก็เป็นทุกขสัจ ตัณหาอันยังเบญจขันธ์เหล่านั้นให้ตั้งขึ้นเป็นสมุทยสัจ ความไม่เป็นไปแห่งทุกขสัจ และสมุทยสัจทั้งสอง เป็นนิโรจสัจ ปฏิปทาเป็นเครื่องให้ถึงนิโรธ เป็นมรรคสัจ ดังนั้นกรรมฐานมีสัจะจะทั้ง ๔ เป็นอารมณ์ จึงเป็นอันพระองค์ตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้ายสําหรับภิกษุรูปหนึ่ง นี้เป็นความย่อในที่นี้. แต่โดยพิสดาร ธาตุเหล่านั้นได้กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

ตรัสมรรคไว้พร้อมกับวิปัสสนา ด้วยบทว่า ชานาติ ปสฺสติ ตรัสปฐวีธาตุเป็นต้น เพื่อทรงแสดงกายที่มีวิญญาณโดยเป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์.ด้วยว่าปฐวีธาตุเป็นต้นนั้นจะต้องให้เต็มจํานวนด้วยธาตุ ๑๘ อย่างหมวดแรกเมื่อจะให้เต็มจํานวน ก็ควรให้เต็มโดยนําออกไปจากวิญญาณธาตุ. วิญญาณธาตุที่เหลือย่อมมี ๖ อย่าง ด้วยอํานาจจักขุวิญญาณเป็นต้น. บรรดาวิญญาณ-

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 304

ธาตุเหล่านั้น เมื่อกําหนดเอาจักขุวิญญาณธาตุ ก็เป็นอันทรงกําหนดเอาธาตุทั้งสองเหมือนกันคือ จักขุธาตุ อันเป็นที่ตั้งของจักขุวิญญาณธาตุนั้น ๑ รูปธาตุที่เป็นอารมณ์๑ แม้ในธาตุทั้งปวงก็นัยนี้นั่นแล. แต่เมื่อกําหนดมโนวิญญาณธาตุ ธาตุทั้งสองคือมโนธาตุโดยเป็นธาตุที่มาก่อนมโนวิญญาณธาตุนั้น ๑ธรรมธาตุ โดยเป็นอารมณ์๑ ก็เป็นอันทรงกําหนดเอาแล้วเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้บรรดาธาตุ ๑๘ อย่างเหล่านั้น ธาตุ ๑๐ อย่างครึ่ง จึงเป็นรูปปริคคหะ (คือการกําหนดรูป) เพราะเหตุนั้น ธาตุกรรมฐานแม้นี้ย่อมเป็นอันพระองค์ตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้ายสําหรับภิกษุรูปหนึ่ง โดยนัยก่อนเหมือนกัน.

อธิบายสุขธาตุ

พึงทราบวินิจฉัย ในบทว่า สุขธาตุ เป็นต้นต่อไป ชื่อว่าสุขธาตุเพราะสุขนั้นด้วย ชื่อว่า เป็นธาตุด้วย เพราะอรรถว่า ไม่ใช่สัตว์และเป็นของสูญ. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ในธาตุ ๖ อย่างนี้ ธาตุ ๔ธาตุแรก ท่านถือเอาเนื่องด้วยเป็นสิ่งขัดกัน แค่ ๒ ธาตุหลังท่านถือเอาเนื่องด้วยคล้ายกัน. ธาตุ คืออุเบกขาคล้ายกันกับธาตุคืออวิชชา แม้เพราะเป็นภาวะที่ไม่ชัดแจ้ง. อนึ่งในธาตุ ๖ นี้ เมื่อทรงกําหนดเอาสุขธาตุ และทุกขธาตุ ก็เป็นอันทรงกําหนดเอาวิญญาณธาตุด้วย. เมื่อทรงกําหนดเอาธาตุที่เหลือ ก็เป็นอันทรงกําหนดเอามโนวิญญาณธาตุด้วย. ธาตุ ๖ อย่างแม้เหล่านี้ (คือสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา อวิชชา) ก็พึง (แจกออกไป) ให้เต็ม (รูปแบบ) โดยธาตุ ๑๘ อย่างข้างต้นนั่นแล. เมื่อจะทําให้เต็ม (รูปแบบ) ต้องทําให้เต็มจํานวนโดยนําออกจากอุเบกขาธาตุดังกล่าวมานี้ในบรรดาธาตุ๑๘อย่างเหล่านี้ ธาตุ. ๑๐ อย่างครึ่งเป็นการกําหนดรูปแล. แม้กรรมฐานนี้ย่อมเป็นอันตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้าย แก่ภิกษุรูปหนึ่ง โดยนัยก่อนนั่นแล.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 305

อธิบายกามธาตุ

พึงทราบเนื้อความแห่งกามธาตุเป็นต้น โดยนัยที่ตรัสไว้ในกามวิตกเป็นต้น ในเทวธาวิตักกสูตร. แม้ในพระอภิธรรม กามธาตุเป็นต้น เหล่านั้นท่านได้ให้พิสดารไว้แล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ธาตุเหล่านั้น กามธาตุเป็นไฉน?ได้แก่ ความตรึก ความวิตก อันประกอบด้วยกามดังนี้. ธาตุ๖ แม้เหล่านั้น (คือกาม เนกขัมมะ พยาบาท อัพยาบาท วิหิงสา อวิหิงสา) ก็พึงทําให้เต็มจํานวนด้วย ธาตุ ๑๘ อย่างข้างต้นนั่นแหละ. เมื่อจะทําให้เต็มจํานวนควรทําให้เต็มโดยนําออกจากกามธาตุ. ดังที่กล่าวมานั้น ธาตุ๑๐ อย่างครึ่งในธาตุ๑๘ อย่าง จึงเป็นรูปปริคคหะแล. แม้กรรมฐานนี้ก็เป็นอันพระองค์ตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้ายสําหรับภิกษุรูปหนึ่ง โดยนัยก่อนนั้นแหละ.

ขันธ์จัดเป็นธาตุ

ในบรรดากามธาตุเป็นต้น ขันธ์อันเป็นกามาวจร ๕ ชื่อว่ากามธาตุขันธ์อันเป็นรูปาวจร ๕ ชื่อว่า รูปธาตุ ขันธ์อันเป็นอรูปาวจร ๔ ชื่อว่าอรูปธาตุ. ก็ความพิสดารของธาตุเหล่านี้ มีมาในพระอภิธรรม โดยนัยเป็นต้นว่าบรรดาธาตุเหล่านั้น กามธาตุเป็นไฉน? เบื้องล่างทําอเวจีนรกให้เป็นที่สุด.ธาตุ ๓ แม้เหล่านี้ก็ควรทําให้เต็มจํานวนด้วยธาตุ ๑๘ ข้างต้นนั่นแหละ. เมื่อจะทําให้เต็มจํานวนควรทําให้เต็มจํานวนโดยนําออกจากกามธาตุ. ดังที่กล่าวมานั้น ธาตุ ๑๐ ครึ่งในบรรดาธาตุ ๑๘ อย่างเหล่านั้นจึงเป็นรูปปริคคหะแล. แม้กรรมฐานนี้ก็เป็นอันพระองค์ตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้าย สําหรับภิกษุรูปหนึ่ง โดยนัยก่อนนั่นแหละ.

สังขตะ -อสังขตะ

บทว่า สงฺขตา แปลว่า อันปัจจัยทั้งหลายมาร่วมกันทํา. คํานี้เป็นชื่อของขันธ์๕. ที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ชื่อว่าอสังขตะ. คํานี้เป็นชื่อของพระ-

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 306

นิพพาน. ธาตุทั้งสองแม้เหล่านี้ ก็พึงทําให้เต็มจํานวนด้วยธาตุ ๑๘ อย่างข้างต้นนั่นแหละ. เมื่อจะทําให้เต็มจํานวนควรทําให้เต็มโดยนําออกไปจากสังขตธาตุ. ดังที่กล่าวมานั้น ธาตุ ๑๐ อย่างครึ่งโนบรรดาธาตุ ๑๘ อย่างเหล่านั้นจึงเป็นรูปปริคคหะแล. แม้กรรมฐานนี้ก็เป็นอันพระองค์ตรัสให้ถึงที่สุดเป็นการย้ำท้าย สําหรับภิกษุรูปหนึ่ง โดยนัยก่อนนั่นแล.

อายตนะภายใน - ภายนอก

บทว่า อชฺฌตฺติกพาหิรานิ ได้แก่ ทั้งภายในและภายนอก. ก็ในคํานี้ จักษุเป็นต้น จัดเป็นอายตนะภายใน และรูปเป็นต้น จัดเป็นอายตนะภายนอก. แม้ในที่นี้ก็ตรัสมรรคกับวิปัสสนาด้วยบทว่า ชานาติ ปสฺสติ (ย่อมรู้ ย่อมเห็น) ดังนี้.

บทว่า อิมสฺมึ สติ อิทํ ดังนี้เป็นต้น ได้กล่าวไว้อย่างพิสดารแล้วในมหาตัณหาสังขยสูตร.

ฐานะ - โอกาส

บทว่า อฏฺานํ ได้แก่ ปฏิเสธเหตุ.

บทว่า อนวกาโส ได้แก่ปฏิเสธปัจจัย.

แม้บททั้งสองก็ห้ามเหตุด้วยกันนั่นแหละ. อันที่จริงเหตุท่านเรียกว่าฐานะ. และโอกาส เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผลของตน เพราะผลเป็นไปเนื่องกับเหตุนั้น.

บทว่า ยํ แปลว่า เหตุใด.

บทว่า ทิฏฺิสมฺปนฺโน ได้แก่ พระโสดาบันอริยสาวกผู้สมบูรณ์ด้วยมรรคทิฏฐิ.

บทว่า กิฺจิ สงฺขารํ ได้แก่สังขารอย่างใดอย่างหนึ่งคือ สังขารอย่างหนึ่งในบรรดาสังขารที่เป็นไปในภูมิ ๔

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 307

บทว่า นิจฺจโต อุปคจฺเฉยฺย คือ พึงยึดถือว่าเที่ยง.

บทว่า เนตํ านํ วิชฺชติ ได้แก่ เหตุนั้นไม่มี คือ จัดเข้าไม่ได้.

บทว่า ยํ ปุถุชฺชโน ได้แก่ เพราะเหตุใด ปุถุชน.

บทว่า านเมตํ วิชฺชติ ได้แก่ เหตุนั้นมีอยู่. อธิบายว่า แท้จริงบุคคลนั้นพึงยึดสังขารอะไรๆ ในบรรดาสังขารที่เป็นไปในภูมิ ๓ โดยความเป็นของเที่ยง ด้วยสัสสตทิฏฐิ.

แม้ในบทว่า กิฺจิ สงฺขารํ สุขโต เป็นต้น ก็พึงทราบความหมายโดยนัยนี้ว่า ก็สังขารทั้งหลาย้อนเป็นไปในภูมิที่ ๔ (โลกุตรภูมิ) ย่อมไม่เป็นอารมณ์ของทิฏฐิ หรือของอกุศลทั้งหลายอื่น เหมือนก้อนเหล็กที่ร้อนระอุด้วยอํานาจความร้อนที่ร้อนระอุขึ้นเป็นต้น ย่อมไม่เป็นที่ติดใจของพวกแมลงวันฉะนั้น.

บทว่า สุขโต อุปคจฺเฉยฺย นี้ ตรัสหมายเอาความยึดถือว่าเป็นสุขด้วยอํานาจอัตตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตน) อย่างนี้ว่า อัตตาเป็นสภาวะที่มีสุขโดยส่วนเดียว ไม่มีโรค เบื้องหน้าแต่ตายไป ดังนี้เป็นต้น. ก็พระอริยสาวกเข้าไปยึดถือสังขารอย่างหนึ่งว่าเป็นสุข ด้วยจิตที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตเปรียบเหมือนช้างตัวตกมันถูกความเร่าร้อนครอบงํา มีความเย็นเหลืออยู่น้อยเพื่อระงับความเร่าร้อนจึงวิ่งเข้าอาศัยกองคูถและเปรียบเหมือนโปกขรพราหมณ์วิ่งเข้าอาศัยกองคูถฉะนั้น. ในวาระที่ว่าด้วยเรื่องตน๑ไม่ตรัสว่า สังขารตรัสว่าธรรมไรๆ ดังนี้ เพื่อจะรวมเอาบัญญัติมีกสิณเป็นต้นเข้าไว้ด้วย. แม้ในที่นี้ (คือพระสูตรนี้) พึงทราบความหมายที่เนื่องด้วยสังขารอันเป็นไปในภูมิ๔ สําหรับพระอริยสาวก. ที่เนื่องด้วยสังขาร อันเป็นไปในภูมิ๓ เท่านั้นสําหรับปุถุชน. อีกอย่างหนึ่ง ในวาระทั้งปวง การกําหนดด้วยอํานาจสังขาร


๑. ฉบับพม่าเป็น อตฺตวาเร แปลตามฉบับพม่า.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 308

ที่เป็นไปในภูมิ ๓ เท่านั้น ย่อมควรแม้แก่พระอริยสาวกะ จริงอยู่ ปุถุชนย่อมยึดถือสิ่งใดๆ พระอริยสาวกย่อมคลายความยึดถือจากสิ่งนั้นๆ. ก็แม้ปุถุชนย่อมยึดถือสิ่งใดๆ ว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา พระอริยสาวกถือเอาสิ่งนั้นๆ ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมกลับความยึดถืออันนั้น.

พระอริยะอาจไม่รู้ว่าเป็นอริยะในชาติต่อไป

ในคําว่า มาตรํ เป็นต้น มีอธิบายว่า หญิงผู้ให้กําเนิดนั้นแลท่านประสงค์เอาว่า มารดา ชายผู้ให้กําเนิด ท่านประสงค์เอาว่าบิดา. และพระขีณาสพที่เป็นมนุษย์ ท่านประสงค์เอาว่า พระอรหันต์.

ถามว่า. ก็พระอริยสาวก พึงปลงชีวิตคนอื่นหรือ?

ตอบว่าแม้ข้อนั้นก็ไม่ใช่ฐานะ (ที่มีได้)

ก็ถ้าใครๆ จะพึงกล่าวกะพระอริยสาวกผู้อยู่ในระหว่างภพ (ผู้ยังเวียนว่ายตายเกิด) ทั้งที่ไม่รู้ว่าตนเป็นพระอริยสาวก แม้อย่างนี้ว่า ก็ท่านจงปลงชีวิตมดดํา มดแดงนี้แล้ว ครอบครองความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในห้องจักรวาลทั้งหมด ดังนี้ท่านจะไม่ปลงชีวิตมดดํา มดแดงนั้นเลย. แม้ถ้าจะกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า ถ้าท่านจักไม่ฆ่าสัตว์นี้ ฉันจักตัดศีรษะท่าน. แต่ท่านจะไม่ฆ่าสัตว์นั้น. คํานี้ท่านพูดเพื่อแสดงว่า ภาวะของปุถุชนมีโทษมากและเพื่อแสดงกําลังของพระอริยสาวก.

ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ความเป็นปุถุชนมีโทษมาก ตรงที่จักกระทําอนันตริยกรรม มีการฆ่ามารดาเป็นต้นได้ ส่วนพระอริยสาวกมีกําลังมากตรงที่ไม่กระทํากรรมเหล่านี้.

บทว่า ทุฏฺจิตฺโต แปลว่า มีจิตประทุษร้าย ด้วยจิตคิดจะฆ่า.

บทว่า โลหิตํ อุปฺปาเทยฺย ความว่า พึงทําพระวรกายที่มีชีวิตให้ห้อพระโลหิต แม้มาตรว่า แมลงวันตัวเล็กๆ พอดื่มได้

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 309

บทว่า สงฺฆํ ภินฺเทยฺยคือ พึงทําลายสงฆ์ ผู้มีสังวาสเสมอกัน ตั้งอยู่ในสีมาเดียวกัน โดยเหตุ๕ ประการ. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอุบาลีสงฆ์ย่อมแตกกันโดยอาการ ๕ คือ โดยกรรม ๑ โดยอุทเทส ๑ โดยโวหาร ๑ โดยการสวดประกาศ ๑ โดยการให้จับสลาก ๑

ใน ๕ อย่างนั้น บทว่า กมฺเมน ได้แก่ กรรม ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งมีอุปโลกนกรรมเป็นต้น.

บทว่า อุทฺเทเสน ได้แก่ อุทเทสอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาปาติโมกขุทเทส ๕.

บทว่า โวหรนฺโต ความว่า กล่าวคือ แสดงเรื่องที่ทําให้แตกกัน๑๘ ประการ มีอาทิว่า แสดงสิ่งที่มิใช่ธรรมว่าเป็นธรรม ตามเหตุที่ให้เกิดเรื่องนั้นๆ .

บทว่า อนุสฺสาวเนน ความว่า ด้วยการเปล่งวาจาประกาศใกล้หูโดยนัยเป็นต้นว่า พวกท่านรู้มิใช่หรือว่า ผมออกบวชจากตระกูลสูง และเป็นพหูสูต พวกท่านควรทําแม้ความคิดให้เกิดขึ้นว่า ธรรมดาคนอย่างผม (หรือ) ควรจะให้ถือสัตถุศาสน์นอกธรรมนอกวินัย, อเวจีนรกเยือกเย็นเหมือนป่าดอกอุบลเขียว สําหรับผมหรือ? ผมไม่กลัวอบายหรือ?

บทว่า สลากคฺคาเหน ความว่า ด้วยการประกาศอย่างนั้น สนับสนุนความคิดภิกษุเหล่านั้นทําไม่ให้หวนกลับมาเป็นปกติแล้ว จึงให้จับสลากว่า พวกท่านจงจับสลากนี้.

ก็ในเรื่องนี้ กรรมเท่านั้น หรืออุทเทสเป็นสําคัญ ส่วนการกล่าว (ชักชวน) การประกาศและการให้จับสลาก เป็นวิธีการเบื้องต้น. เพราะเมื่อกล่าวเนื่องด้วยการแสดงเรื่อง ๑๘ ประการแล้วประกาศเพื่อทําให้เกิดความชอบใจในเรื่องนั้น แล้วจึงให้จับสลาก สงฆ์ยังเป็นอัน (นับว่า) ไม่แตกกัน.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 310

แต่เมื่อใด ภิกษุ ๔ รูป หรือเกินกว่า จับสลากอย่างนั้นแล้ว แยกทํากรรมหรืออุเทส เมื่อนั้น สงฆ์ย่อมชื่อว่าแตกกัน. ข้อนี้ที่ว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอย่างนี้ พึงทําลายสงฆ์ ดังนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. อนันตริยกรรม ๕มีการฆ่ามารดาเป็นต้น ย่อมเป็นอันแสดงแล้วด้วยเหตุ มีประมาณเท่านี้.

วินิจฉัยอนันตริยกรรม ๕

เพื่อจะอธิบายอนันตริยกรรมที่ปุถุชนทํา แต่พระอริยสาวกไม่ทําให้แจ่มแจ้ง

พึงทราบวินิจฉัยโดยกรรม โดยทวาร โดยการตั้งอยู่ชั่วกัป โดยวิบาก และโดยสาธารณะ เป็นต้น

วินิจฉัยโดยกรรม

ใน ๕ อย่างนั้น พึงทราบวินิจฉัยโดย กรรม ก่อน. ก็ในเรื่องกรรมนี้ เมื่อบุคคลเป็นมนุษย์ปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ซึ่งไม่เปลี่ยนเพศ กรรมเป็นอนันตริยกรรม. บุคคลนั้นคิดว่า เราจักห้ามผลของกรรมนั้นจึงสร้างสถูปทองประมาณเท่ามหาเจดีย์ ให้เต็มจักรวาลทั้งสิ้นก็ดี ถวายทานแก่พระสงฆ์ผู้นั่งเต็มจักรวาลทั้งสิ้นก็ดี เที่ยวไปไม่ปล่อยชายสังฆาฏิของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าก็ดี เมื่อแตกกาย (ทําลายขันธ์) ย่อมเข้าถึงนรกเท่านั้น. ส่วนผู้ใด ตนเองเป็นมนุษย์ ปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นสัตว์เดรัจฉานหรือตนเองเป็นเดรัจฉาน ปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นมนุษย์ หรือเป็นเดียรัจฉานเหมือนกัน ปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นเดียรัจฉาน กรรมของผู้นั้น ยังไม่เป็นอนันตริยกรรม แต่เป็นกรรมหนัก ตั้งอยู่ใกล้ชิดอนันตริยกรรม. แต่ปัญหานี้ท่านกล่าวเนื่องด้วยสัตว์ผู้มีกําเนิดเป็นมนุษย์.

ในปัญหานั้นควรกล่าว เอฬกจตุกกะ สังคามจตุกกะ และโจรจตุกกะ อธิบายว่า มนุษย์ฆ่ามารดาบิดาที่เป็นมนุษย์ซึ่งอยู่ในที่ที่แพะอยู่

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 311

แม้ด้วยความมุ่งหมายว่า เราจะฆ่าแพะ ย่อมต้องอนันตริยกรรม. แต่ฆ่าแพะด้วยความมุ่งหมายว่าเป็นแพะ หรือด้วยความมุ่งหมายว่าเป็นมารดาบิดาย่อมไม่ต้องอนันตริยกรรม. ฆ่ามารดาบิดาด้วยความมุ่งหมายว่า เป็นมารดาบิดา ย่อมต้องอนันตริยกรรมแน่. ใน ๒ จตุกกะแม้ที่เหลือก็มีนัยดังกล่าวนี้นั่นแหละ. พึงทราบจตุกกะเหล่านี้แม้ในพระอรหันต์เหมือนในมารดาบิดา.

ฆ่าพระอรหันต์ ที่เป็นมนุษย์เท่านั้น ต้องอนันตริยกรรม. ที่เป็นยักษ์ (เทวดา) ไม่ต้อง (อนันตริยกรรม) . แต่กรรมเป็นกรรมหนัก เช่นอนันตริยกรรมเหมือนกัน. ก็สําหรับพระอรหันต์ที่เป็นมนุษย์ เมื่อประหารด้วยศัสตรา หรือแม้ใส่ยาพิษ ในเวลายังเป็นปุถุชน ถ้าท่านบรรลุพระอรหัตแล้วตายด้วยการกระทําอันนั้น เป็นอรหันตฆาตแน่ๆ . ส่วนทานที่ถวายในเวลาท่านเป็นปุถุชน ซึ่งท่านฉันแล้วบรรลุพระอรหัต ทานนั้นเป็นอันให้แก่ปุถุชนนั่นแหละ. ไม่มีอนันตริยกรรม แก่คนผู้ฆ่าพระอริยบุคคลทั้งหลายที่นอกเหนือจากพระอรหันต์ แต่กรรมเป็นกรรมหนัก เช่นเดียวกับอนันตริยกรรมนั้นแล.

พึงทราบวินิจฉัยใน โลหิตุปปาทกรรม (กรรมคือการทําพระโลหิตให้ห้อ) ต่อไป ชื่อว่าการทําให้หนังขาดด้วยความพยายามของคนอื่น แล้วทําให้เลือดออก ไม่มีแก่พระตถาคต เพราะพระองค์มีพระวรกายไม่แตก แต่พระโลหิตคั่งอยู่ในที่เดียวกันในภายในพระสรีระ. แม้สะเก็ดหินที่แตกกระเด็นไปจากศิลาที่พระเทวทัตกลิ้งลงไป กระทบปลายพระบาทของพระตถาคตพระบาทได้มีพระโลหิตห้ออยู่ข้างในทีเดียว ประหนึ่งถูกขวานทุบ. เมื่อพระเทวทัตทําเช่นนั้น จึงจัดเป็นอนันตริยกรรม. ส่วนหมอชีวกเอามีดตัดหนังพระบาท ตามที่พระตถาคตทรงเห็นชอบ นําเลือดเสียออกจากที่นั้น ทําให้ทรงพระสําราญ เมื่อทําอย่างนั้น เป็นการกระทําที่เป็นบุญทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 312

ถามว่า ต่อมา เมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วชนเหล่าใดทําลายเจดีย์ ทําลายต้นโพธิ์ ประทุษร้ายพระบรมธาตุ กรรมอะไรจะเกิดแก่ชนเหล่านั้น?

ตอบว่า (การทําเช่นนั้น) เป็นกรรมหนัก เสมอด้วยอนันตริยกรรม.แต่การตัดกิ่งไม้โพธิ์ที่ขึ้นเบียดพระสถูปที่บรรจุพระธาตุ หรือพระปฏิมา ควรทํา แม้ถ้าพวกนกจับที่กิ่งโพธิ์นั้นถ่ายอุจจาระรดพระเจดีย์ ก็ควรตัดเหมือนกัน. ก็เจดีย์ที่บรรจุพระสรีรธาตุสําคัญกว่าบริโภคเจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุเครื่องใช้สอยของพระพุทธเจ้า) . แม้รากโพธิ์ที่งอกออกไปทําลายพื้นที่ ที่ทั้งเจดีย์จะตัดทิ้งก็ควร ส่วนกิ่งโพธิ์กิ่งใดขึ้นเบียดเรือนโพธิ์ จะตัดกิ่งโพธิ์นั้นเพื่อรักษาเรือน (โพธิ์) ไม่ควร. ด้วยว่า เรือนมีไว้เพื่อต้นโพธิ์ ไม่ใช่ต้นโพธิ์มีไว้เพื่อประโยชน์แก่เรือน แม้ในเรือนอาสนะก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ในเรือนอาสนะใด เขาบรรจุพระบรมธาตุไว้ เพื่อจะรักษาเรือนอาสนะนั้น จะตัดกิ่งโพธิ์เสียก็ได้. เพื่อการบํารุงต้นโพธิ์จะตัดกิ่งที่ค้อมลง หรือที่ (เนื้อ) เสียออกไปก็ควรเหมือนกัน. แม้บุญก็ได้ เหมือนในการปฏิบัติพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พึงทราบวินิจฉัยในการทํา สังฆเภท ต่อไป. ความแตกกัน และอนันตริยกรรม ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้เมื่อสงฆ์ผู้อยู่ในสีมา ไม่ประชุมกัน พาบริษัทแยกไป ทําการชักชวน การสวดประกาศ และการให้จับสลากผู้ทํากรรม หรือสวดอุทเทส. แต่เมื่อภิกษุทํากรรมด้วยคิดว่าควรเพราะสําคัญว่าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นความแตกกันเท่านั้น ไม่เป็นอนันตริยกรรม.เพราะบริษัทหย่อนกว่า ๙ รูป ก็เหมือนกัน (เป็นความแตกกัน แต่ไม่เป็นอนันตริยกรรม) โดยกําหนดอย่างต่ําที่สุดในคน ๙ คน คนใดทําลายสงฆ์ได้

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 313

อนันตริยกรรม ย่อมมีแก่คนนั้น. สําหรับพวกอธรรมวาทีผู้คล้อยตาม ย่อมมีโทษมาก ผู้เป็นธรรมวาทีไม่มีโทษ.

ในการทําลายหมู่ของภิกษุทั้ง ๙ รูปนั้น (สงฆ์๙ รูป) นั้น (ปรากฏ) พระสูตรเป็นหลักฐานดังนี้ว่า ดูก่อนอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ๔ รูป อีกฝ่ายหนึ่งมี๘ รูป รูปที่๙ สวดประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถือเอาสิ่งนี้ จงชอบใจสิ่งนี้ ดูก่อนอุบาลี ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ย่อมมีอย่างนี้แล. ดูก่อนอุบาลี ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ย่อมมีแก่ภิกษุจํานวน ๙ รูปหรือเกินกว่า ๙ รูปได้ดังนี้.

ก็บรรดาอนันตริยกรรมทั้ง ๕ ประการเหล่านั้น สังฆเภทเป็นวจีกรรมที่เหลือเป็นกายกรรม พึงทราบวินิจฉัยโดยกรรม ด้วยประการดังนี้แล.

วินิจฉัยโดยทวาร

บทว่า ทฺวารโต ความว่า ก็กรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ ย่อมตั้งขึ้นทางกายทวารบ้าง วจีทวารบ้าง ก็ในเรื่องนี้ กรรม ๔ ประการเบื้องต้นถึงจะตั้งขึ้นทางวจีทวารด้วยอาณัตติกประโยค (การสั่งบังคับ) ก็ให้เกิดผลทางกายทวารได้เหมือนกัน สังฆเภทแม้จะตั้งขึ้นทางกายทวารของภิกษุ ผู้ทําการทําลายด้วยใช้หัวแม่มือ ให้เกิดผลทางวจีทวารได้เหมือนกัน ในเรื่องที่ว่าด้วยสังฆเภทนี้พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยทวาร ด้วยประการดังนี้.

วินิจฉัยโดยตั้งอยู่ชั่วกัป

บทว่า กปฺปฏฺิติยโต ความว่า ก็ในอธิการนี้ สังฆเภทเท่านั้นที่ตั้งอยู่ชั่วกัป. ด้วยว่าบุคคลทําสังฆเภทในคราวกัปเสื่อมหรือตอนกลางของกัป ในเมื่อกัปพินาศไป ย่อมพ้น (จากกรรมได้) ก็แม้ถ้าว่า พรุ่งนี้กัปเสื่อมพินาศ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 314

ทําสังฆเภทวันนี้ พอพรุ่งนี้ก็พ้น ตกนรกวันเดียวเท่านั้น. แต่เหตุการณ์อย่างนี้ไม่มี. กรรม ๔ ประการที่เหลือเป็นอนันตริยกรรมอย่างเดียว ไม่เป็นกรรมที่ตั้งอยู่ชั่วกัป. พึงทราบวินิจฉัยโดยการตั้งอยู่ชั่วกัปในเรื่องนี้ ด้วยประการฉะนี้.

วินิจฉัยโดยวิปาก

บทว่า ปากโต ความว่า ก็บุคคลใดทําอนันตริยกรรมเหล่านี้แม้ทั้ง๕ ประการ สังฆเภทอย่างเดียวย่อมให้ผลเนื่องด้วยการปฏิสนธิแก่บุคคลนั้นกรรมที่เหลือ ย่อมนับเข้าในข้อมีอาทิอย่างนี้ว่า "เป็นอโหสิกรรม แต่ไม่เป็นอโหสิวิบาก "ในเมื่อไม่มีการทําสังฆเภท การทําพระโลหิตให้ห้อขึ้นย่อมให้ผลในเมื่อไม่มีการทําพระโลหิตให้ห้อขึ้น อรหันตฆาตย่อมให้ผล. และในเมื่อไม่มีอรหันตฆาต ถ้าบิดามีศีล มารดาไม่มีศีล ปิตุฆาตย่อมให้ผล หรือบิดาไม่มีศีลแต่มารดามีศีลมาตุฆาตย่อมให้ผลเนื่องด้วยการให้ปฏิสนธิ ถ้ามาตาปิตุฆาตจะให้ผลไซร้ในเมื่อท่านทั้งสองเป็นคนมีศีลด้วยกัน หรือเป็นคนไม่มีศีลด้วยกันมาตุฆาตเท่านั้น ย่อมให้ผลเนื่องด้วยปฏิสนธิเพราะมารดาทําสิ่งที่ตนทําได้ยากกับทั้งมีอุปการะมากแก่พวกลูกๆ พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยวิบากในเรื่องอนันตริยกรรมนี้ ด้วยประการอย่างนี้.

วินิจฉัยโดยสาธารณะเป็นต้น

บทว่า สาธารณาทีหิ ความว่าอนันตริยกรรม ๔ ประการข้อต้นๆ เป็นกรรมทั่วไปแก่คฤหัสถ์ และบรรพชิตแม้ทั้งหมด. แต่สังฆเภทเป็นกรรมเฉพาะภิกษุผู้มีประการดังตรัสไว้โดยพระบาลีว่า "ดูก่อนอุบาลี ภิกษุณีทําลายสงฆ์ไม่ได้ สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา (เหล่านี้) ก็ทําลายสงฆ์ไม่ได้. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุเหล่านั้น ที่เป็นปกตัตตะมีสังวาสเสมอ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 315

กันอยู่ในสีมาเดียวกัน จึงจะทําลายสงฆ์ได้ ดังนี้ (สังฆเภท) ไม่เป็นกรรมสําหรับคนอื่น เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องไม่ทั่วไป (แก่คนพวกอื่น). ด้วยอาทิศัพท์ (ในบทว่า สาธารณาทีหิ) บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด ท่านประสงค์เอาว่าเป็นผู้มีทุกขเวทนา สหรคตด้วยทุกข์ และสัมปยุตด้วยโทสะและโมหะ. พึงทราบวินิจฉัยแม้โดย (เป็นกรรมที่) สาธารณะเป็นต้นในที่นี้อย่างนี้แล.

แก้บท อฺํ สตถารํ

บทว่า อฺํ สตฺถารํ ความว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พึงยึดถืออย่างนี้ว่า พระศาสดาของเรานี้ ไม่สามารถทําหน้าที่ของพระศาสดาได้และแม้ในระหว่างภพ จะพึงยึดถือเจ้าลัทธิอื่นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นศาสดาของเราดังนี้ ข้อที่กล่าวมานั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

เขต ๓

บทว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยาได้แก่ หมื่นโลกธาตุ. ก็เขตมี๓เขตคือ ชาติเขต อาณาเขต วิสัยเขต. ในเขตทั้งสามนั้น หมื่นโลกธาตุชื่อว่า ชาติเขต. เพราะหมื่นโลกธาตุนั้นย่อมไหว ในเวลาพระตถาคตเสด็จลงสู่พระครรภ์ เสด็จออกทรงผนวช ตรัสรู้ประกาศพระธรรมจักร ทรงปลงอายุสังขาร และเสด็จปรินิพพาน. ส่วนแสนโกฏิจักรวาล ชื่ออาณาเขต. เพราะอาณา (อํานาจ) ของอาฏานาฏิยปริตร โมรปริตร ธชัคคปริตร รัตนปริตรและเมตตาปริตร เป็นต้น ย่อมแผ่ไป ในแสนโกฏิจักรวาลนี้. ส่วนวิสัยเขตไม่มีปริมาณ (คือนับไม่ได้) อันที่จริง พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะชื่อว่า ไม่มีวิสัยก็หามิได้ เพราะพระบาลีว่า พระญาณมีเท่าใด สิ่งที่ควรรู้ ก็มีเท่านั้นสิ่งที่ควรรู้มีเท่าใด พระญาณก็มีเท่านั้น สิ่งที่ควรรู้มีพระญาณเป็นที่สุด พระญาณมีสิ่งที่ควรรู้เป็นที่สุด

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 316

พระพุทธเจ้าไม่อุบัติในจักรวาลอื่น

ไม่มีพระสูตรที่ว่า "ก็ในเขตทั้ง ๓ เหล่านี้ เว้นจักรวาลนี้แล้วพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเสด็จอุบัติในจักรวาลอื่น " ดังนี้ มีแต่พระสูตรว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่เสด็จอุบัติในจักรวาลอื่น. ปิฎก ๓ คือ พระวินัยปิฎกพระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก การสังคายนาปิฎก ๓ ครั้ง คือการสังคายนาของพระมหากัสสปเถระ การสังคายนาของพระยศเถระ การสังคายนาของพระโมคคัลลีบุตรเถรแล. ในพุทธพจน์คือ พระไตรปิฎกที่ยกขึ้นสังคาย.นา ๓ ครั้งเหล่านี้ ไม่มีสูตรว่า "พ้นจักรวาลนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบังเกิดขึ้นในจักรวาลอื่นได้" มีแต่ไม่ทรงบังเกิดขึ้น (ในจักรวาลอื่น).

บทว่า อปุพพํ อจริมํ แปลว่า ไม่ก่อนไม่หลัง. อธิบายว่า ไม่เกิดร่วมกัน คือ เกิดก่อนหรือภายหลัง. ก็ในคํานั้นไม่ควรเข้าใจว่า ในกาลก่อนเพียงเท่าที่ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์พระมารดา จนถึงเวลาที่ประทับนั่งที่โพธิบัลลังก์ ด้วยทรงอธิษฐานว่า เรายังไม่บรรลุพระโพธิญาณจักไม่ลุกขึ้น.เพราะท่านทําการกําหนดเขตไว้ ด้วยการยังหมื่นจักรวาลให้หวั่นไหว ในเพราะการถือปฏิสนธิของพระโพธิสัตว์นั่นแล. เป็นอันห้ามการเสด็จอุบัติของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น. ไม่ควรเข้าใจว่าในภายหลังตั้งแต่เสด็จปรินิพพานจนกระทั่งพระบรมธาตุมีขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดยังประดิษฐานอยู่. เพราะเมื่อพระบรมธาตุยังดํารงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเป็นอันยังอยู่ทีเดียว.เพราะฉะนั้น ในระหว่างเวลาดังกล่าวนี้ ย่อมเป็นอันห้ามการเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นอย่างเด็ดขาด. แต่เมื่อพระบรมธาตุเสด็จปรินิพพานแล้วไม่ห้ามการเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น.

อันตรธาน ๓

เพราะชื่อว่า อันตรธานมี๓ อย่าง คือ ปริยัติอันตรธาน ปฏิ-เวธอันตรธาน ปฏิบัติอันตรธาน. ในอันตรธาน ๓ นั้น ปิฎก ๓ ซึ่งว่า

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 317

ปริยัติ. การแทงตลอดสัจจะ ชื่อว่า ปฏิเวธ. ปฏิปทา (เครื่องดําเนิน) ชื่อว่า ปฏิบัติ.

ใน ๓ อย่างนั้น ปฏิเวธและปฏิบัติ มีบ้าง ไม่มีบ้าง. เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ทรงปฏิเวธ ย่อมมีมากในกาลครั้งเดียว เป็นอันชี้นิ้วแสดงได้ชัดเจนว่า ภิกษุนี้เป็นปุถุชน. ขึ้นชื่อว่า ภิกษุผู้เป็นปุถุชน ไม่ใช่จะมีได้ครั้งเดียวในทวีปนี้เท่านั้น. แม้ผู้บําเพ็ญการปฏิบัติทั้งหลาย บางคราวมีมาก บางคราวก็มีน้อย.

ด้วยเหตุนี้ ปฏิเวธและปฏิบัติจึงชื่อว่ามีบ้าง ไม่มีบ้าง. แต่ว่าปริยัติ (ถือว่า) เป็นสําคัญของการดํารงอยู่แห่งพระศาสนา.

พระผู้เป็นบัณฑิต ได้ศึกษาพระไตรปิฎกแล้ว ย่อมบําเพ็ญปฏิเวธและปฏิบัติให้บริบูรณ์. พระบรมโพธิสัตว์ของพวกเราทําอภิญญา ๕ และสมาบัติ๗ ให้เกิดในสํานักของ อาฬารดาบส แล้วถามถึงบริกรรม เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ท่าน อาฬารดาบส บอกว่าไม่รู้. ต่อแต่นั้นพระองค์จึงได้เสด็จไปยังสํานักของอุทกดาบส เทียบเคียงคุณพิเศษที่ได้บรรลุแล้ว (กับท่าน) ได้เรียนถามถึงการบริกรรม เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ท่านดาบสก็บอกให้. ในลําดับแห่งคําพูดของท่านดาบสนั่นเองพระบรมโพธิสัตว์ก็ทํา เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั้นให้สําเร็จ ฉันใดภิกษุผู้มีปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ศึกษาปริยัติแล้วย่อมทําปฏิเวธและปฏิบัติแม้ทั้งสองประการให้บริบูรณ์ได้. เพราะฉะนั้น เมื่อปริยัติยังดํารงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่.

อธิบายปริยัติอันตรธาน

ก็เมื่อใด ปริยัตินั้นอันตรธานหายไป เมื่อนั้น พระอภิธรรม จักเสื่อมก่อน. ในพระอภิธรรมนั้น คัมภีร์ปัฏฐาน จะอันตรธานก่อนกว่าทุก

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 318

คัมภีร์. คัมภีร์ธรรมสังคหะ อันตรธานหายไปภายหลัง โดยลําดับ. เมื่อพระอภิธรรมปิฎกอันตรธานหายไปแล้ว แม้ปิฎกทั้งสองยังคงดํารงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่ได้. ในปิฎกเหล่านั้น เมื่อ พระสุตตันตปิฎก จะอันตรธานหายไป อังคุตตรนิกาย ย่อมอันตรธานหายไปก่อน เริ่มแต่เอกาทสกนิบาต จนถึง เอกกนิบาต. ต่อจากนั้น สังยุตตนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่ จักกเปยยาลสูตร จนถึง โอฆตรณสูตร.ต่อจากนั้น มัชฌิมนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่ อินทริยภาวนาสูตรจนถึง มูลปริยายสูตร. ต่อจากนั้นทีฆนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่ทสุตตรสูตร จนถึง พรหมชาลสูตร. ปุจฉาคาถา (คือคาถาที่เป็นคําถาม) คาถาเดียวบ้าง สองคาถาบ้าง ยังอยู่ไปเป็นระยะเวลานาน แต่ไม่อาจทรงพระศาสนาไว้ได้เหมือน สัพพิยปุจฉา๑และอาฬวกปุจฉา. ได้ยินว่าระหว่างกาลทั้งหลายเหล่านี้ อันมีในกาลพระกัสสปพุทธเจ้า ไม่อาจดํารงพระศาสนาไว้ได้.

ก็เมื่อปิฎกทั้งสองแม้อันตรธานไปแล้ว แต่เมื่อพระวินัยปิฎกยังคงดํารงอยู่ พระศาสนาย่อมตั้งอยู่ เมื่อปริวารและขันธกะทั้งหลายอันตรธานไปแล้ว เมื่ออุภโตวิภังค์ ยังดํารงอยู่ พระศาสนาก็ย่อมเป็นอันตั้งอยู่. เมื่ออุภโตวิภังค์ อันตรธานไปแล้ว มาติกาแม้ยังดํารงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่ได้. เมื่อมาติกา อันตรธานไปแล้ว ปาติโมกข์ การบรรพชาและอุปสมบท จักดํารงอยู่ พระศาสนาย่อมตั้งอยู่. เพศ (สมณะ) ยังดําเนินไปได้ระยะกาลยาวนาน. ก็วงศ์ของสมณะผู้ครองผ้าขาวไม่อาจดํารงพระศาสนาไว้ได้ จําเดิมแต่สมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า. พระศาสนาย่อมชื่อว่าเป็นอันเสื่อม จําเดิมแต่คนสุดท้ายที่แทงตลอดสัจจะ และคนสุดท้ายที่ทําลายศีล.จําเดิมแต่นั้น ไม่ห้ามการเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นแล.


๑. พม่า--สภิยปุจฉา

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 319

ปรินิพพาน ๓

ชื่อว่า ปรินิพพานมี๓ คือ กิเลสปรินิพพาน ขันธปรินิพพานธาตุปรินิพพาน. ในปรินิพพาน ๓ อย่างนั้น กิเลสปรินิพพานได้มีแล้วณ โพธิบัลลังก์ ขันธปรินิพพานได้มีแล้ว ณ เมืองกุสินารา ธาตุปริ-นิพพาน จักมีในอนาคต.

พระธาตุเสด็จมาชุมนุมกัน

ได้ยินว่า ในคราวพระศาสนาจะเสื่อม พระธาตุทั้งหลายจะเสด็จชุมนุมกันที่เกาะลังกานี้ แล้วเสด็จไปยังมหาเจดีย์ จากมหาเจดีย์เสด็จไปยังราชายตนเจดีย์ ในนาคทวีป จากราชายตนเจดีย์ เสด็จไปยังมหาโพธิ์-บัลลังก์. พระธาตุทั้งหลาย จากนาคพิภพก็ดี จากเทวโลกก็ดี จากพรหมโลกก็ดี จักเสด็จไปยังมหาโพธิบัลลังก์เท่านั้น. พระธาตุแม้ขนาดเมล็ดพันธุ์ผักกาด. จักไม่หายไปในระหว่างๆ กาล. พระธาตุทั้งหมด (จะรวม) เป็นกองอยู่ที่มหาโพธิบัลลังก์ เป็นแท่งเดียวกันเหมือนแท่งทองคําเปล่งพระฉัพพรรณรังสี (รัสมีมีสี๖ ประการ) พระฉัพพรรณรังสีทั้งหลายนั้นจักแผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ. แต่นั้น เทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาล จักประชุมกันแสดงความการุณย์อย่างใหญ่ ยิ่งกว่าในวันเสด็จปรินิพพานของพระทศพลว่า วันนี้พระศาสดาจะเสด็จปรินพพาน วันนี้พระศาสนาจะเสื่อม นี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้ายของพวกเรา ณ กาลนี้. เว้นพระอนาคามี และพระขีณาสพ พวกที่เหลือไม่อาจดํารงอยู่ตามสภาวะของตนได้. เตโชธาตุลุกขึ้นในพระธาตุทั้งหลายแล้วพลุ่งขึ้นไปจนถึงพรหมโลก. เมื่อพระธาตุแม้มีประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดยังมีอยู่ ก็จักมีเปลวเพลิงติดอยู่เปลวหนึ่ง เมื่อพระธาตุทั้งหลายหมดไป เปลวเพลิงก็มอดหมดไป. เมื่อพระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 320

ใหญ่อย่างนี้แล้วอันตรธานหายไป. พระศาสนาชื่อว่าเป็นอันอันตรธานไป.พระศาสนาชื่อว่าเป็นของอัศจรรย์ ตราบเท่าที่ยังไม่อันตรธานไปอย่างนี้. ข้อที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติไม่ก่อนไม่หลังกันอย่างนี้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

เหตุที่พระพุทธเจ้าไม่อุบัติพร้อมกัน

ก็เพราะเหตุไร? จึงไม่อุบัติไม่ก่อนไม่หลังกัน?

เพราะไม่น่าอัศจรรย์.

เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นอัจฉริยมนุษย์. สมดังที่ตรัสไว้ว่าภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมเป็นมนุษย์อัศจรรย์อุบัติขึ้น บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร? คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ก็ถ้า พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์๔ พระองค ์๘ พระองค์ หรือ ๑๖พระองค์เสด็จอุบัติขึ้นร่วมกัน ไม่พึงเป็นผู้น่าอัศจรรย์. เพราะลาภสักการะแม้ของเจดีย์๒ องค์ในวิหารเดียวกัน ย่อมไม่เป็นของโอฬาร. แม้ภิกษุทั้งหลายก็ไม่เป็นผู้น่าอัศจรรย์ เพราะมีมาก. แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายพึงเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่เสด็จอุบัติ.

อนึ่ง ที่ไม่เสด็จอุบัติ (พร้อมกัน) เพราะพระธรรมเทศนาของพระองค์ ไม่มีแปลกกัน. ด้วยว่าพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงแสดงธรรมใดต่างโดยสติปัฏฐานเป็นต้น แม้พระพุทธเจ้าพระองค์อื่น เสด็จอุบัติแล้ว ก็พึงทรงแสดงธรรมนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น จึงไม่น่าอัศจรรย์. แต่เมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวทรงแสดงธรรม แม้เทศนาก็เป็นของอัศจรรย์

อนึ่ง พระธรรมเทศนาจะเป็นของอัศจรรย์ เพราะไม่มีการขัดแย้งกัน. ก็เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นหลายพระองค์ สาวกจะพึงวิวาทกันว่า

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 321

พระพุทธเจ้าของพวกเราน่าเลื่อมใส พระพุทธเจ้าของพวกเราพระสุรเสียงไพเราะ มีบุญ. เหมือนพวกศิษย์ของอาจารย์หลายคน แม้เพราะเหตุนั้นจึงไม้เสด็จอุบัติขึ้นอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง เหตุการณ์นี้ พระนาคเสนถูกพระเจ้ามิลินท์ตรัสถาม ได้ขยายความพิสดารไว้แล้ว สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า:-

พระยามิลินท์ ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้านาคเสน ในเรื่องพระพุทธเจ้าหลายพระองค์นั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสคํานี้ไว้ว่าภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส คือ ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ เสด็จอุบัติ ไม่ก่อนไม่หลังกันในโลกธาตุเดียวกันนั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ท่านนาคเสน อนึ่ง เมื่อจะทรงแสดงธรรม พระตถาคตแม้ทุกพระองค์ก็จะทรงแสดงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ประการ เมื่อจะตรัสก็จะตรัสอริยสัจ ๔ เมื่อจะให้ศึกษาก็จะทรงให้ศึกษาในสิกขา ๓ และเมื่อจะทรงสั่งสอน ก็จะทรงสั่งสอนการปฏิบัติเพื่อความไม่ประมาท ข้าแต่พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าว่า พระพุทธเจ้าแม้ทุกพระองค์มีอุทเทสอย่างเดียวกัน มีกถาอย่างเดียวกัน มีสิกขาบทอย่างเดียวกัน มีอนุสนธิอย่างเดียวกัน เพราะเหตุไร พระตถาคต ๒ พระองค์ จึงไม่เสด็จอุบัติในคราวเดียวกัน เพราะการเสด็จอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์เดียว โลกนี้ก็จะเกิดแสงสว่าง ถ้าจะพึงมีพระพุทธเจ้าองค์ที่๒ โลกนี้ก็จะพึงมีแสงสว่างยิ่งกว่าประมาณ ด้วยพระรัศมีของพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์และพระตถาคต ๒ พระองค์ เมื่อจะตรัสสอน ก็จะตรัสสอนได้ง่าย เมื่อจะทรงอนุสาสน์ก็ทรงอนุสาสน์ได้ง่าย ขอพระคุณเจ้าจงชี้แจงเหตุในข้อนั้น ให้โยมฟังให้หายสงสัยด้วยเถิด.

พระนาคเสน ถวายวิสัชนาว่า มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้ รองรับพระพุทธเจ้าองค์เดียว รองรับพระคุณของพระตถาคตพระองค์เดียวเท่านั้น

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 322

ถ้าพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ จะพึงอุบัติขึ้น. โลกธาตุนี้จะพึงรองรับไม่ได้ จะพึงหวั่นไหวน้อมโน้ม พลิกกระจาย แตกทําลายไปเข้าถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ มหาบพิตร เรือบันทุกคนได้คนเดียว เมื่อคนผู้เดียวขึ้น เรือนั้นพึงใช้การได้ถ้าคนที่ ๒ ลงมา เขามี อายุ วรรณ วัย ขนาดผอม อ้วน มีอวัยวะน้อยใหญ่ทุกอย่าง เหมือนคนแรกนั้น คนผู้นั้นพึงขึ้นเรือลํานั้น มหาบพิตรเรือลํานั้นจะรับคนแม้ทั้งสองไว้ได้หรือหนอ?

รับไม่ได้ดอกพระคุณเจ้า เรือลํานั้นจะต้องโคลง น้อมโน้ม คว่ํากระจาย แตกทําลายไป เข้าถึงการลอยลําอยู่ไม่ได้ พึงจมน้ำไป ฉันใดฉันนั้นเหมือนกันแล มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้รองรับพระพุทธเจ้าได้พระองค์เดียว รองรับพระคุณของพระตถาคตได้พระองค์เดียวเท่านั้น ถ้าว่าพระพุทธเจ้าองค์ที่๒ พึงอุบัติขึ้น หมื่นโลกธาตุจะพึงรองรับไว้ไม่ได้พึงหวั่นไหวน้อมโน้ม พลิกกระจาย แตก ทําลายไป เข้าถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ อีกอย่างหนึ่ง มหาบพิตร เหมือนอย่างว่า คนบริโภคอาหารเต็มที่ จนถึงคอพอแก่ความต้องการ ต่อแต่นั้น เขาจะอิ่ม เต็มที่ โงกง่วงตลอดเวลา เป็นเหมือนท่อนไม้ที่แข็งทื่อ. เขาพึงบริโภคอาหารมีประมาณเท่านั้นอีกครั้ง มหาบพิตรคนผู้นั้นจะพึงมีความสุขหรือหนอ?

ไม่มีเลย พระคุณเจ้า เขาบริโภคอีกครั้งเดียว ก็จะต้องตาย ฉันนั้นเหมือนกันแล มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้รองรับพระพุทธเจ้า พระองค์เดียวฯลฯ พึงเข้าถึงการตั้งอยู่ไม่ได้.

พระคุณเจ้านาคเสน ด้วยการแบกธรรมอันยิ่งไว้ แผ่นดินจะไหวได้อย่างไร?

ขอถวายพระพร มหาบพิตรในข้อนี้ (ขออุปมาด้วย) เกวียน ๒ เล่ม (บรรทุก) เต็มด้วยรัตนะจนถึงเสมอปาก จะเอารัตนะจากเกวียนเล่มหนึ่งไป

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 323

เกลี่ยใส่ในเกวียนอีกเล่มหนึ่ง มหาบพิตร เกวียนเล่มนั้นจะพึงรองรับรัตนะของเกวียนทั้งสองเล่มได้แลหรือ?

ไม่ได้เลย พระคุณเจ้า แม้ดุมของเกวียนเล่มนั้นก็จะคลอน แม้กําก็จะแตก แม้กงก็จะหลุดตกไป แม้เพลาก็จะหัก.

ขอถวายพระพร มหาบพิตร เกวียนหักเพราะการ (ที่บรรทุก) รัตนะเกินไปใช่หรือไม่?

ถูกแล้วพระคุณเจ้า

ขอถวายพระพร มหาบพิตร (ข้อนี้ฉันใด) แผ่นดินก็ฉันนั้นเหมือนกัน หวั่นไหวเพราะภาระคือธรรมอันยิ่ง.

ขอถวายพระพร มหาบพิตร อีกอย่างหนึ่ง ขอพระองค์จงทรงสดับเหตุการณ์นี้ อันเป็นที่รวมการแสดงพระกําลังของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (และ) เหตุการณ์แม้อย่างอื่นที่น่าสนใจในข้อนั้น ที่เป็นเหตุให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ องค์ไม่อุบัติคราวเดียวกัน มหาบพิตร ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์จะพึงอุบัติในคราวเดียวกันไซร้ ความวิวาทกันจะพึงเกิดแก่บริษัท สาวกจะเกิดเป็น ๒ ฝ่ายว่า พระพุทธเจ้าของพวกท่าน พระพุทธเจ้าของพวกเรา ขอพระองค์จงสดับเหตุการณ์ข้อแรกนี้ ที่เป็นเหตุไม่ให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์อุบัติขึ้นในคราวเดียวกัน. ขอพระองค์จงสดับเหตุการณ์แม้ข้ออื่นยิ่งไปกว่านี้ ที่เป็นเหตุไม่ให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์อุบัติขึ้นในคราวเดียวกัน. ขอถวายพระพร มหาบพิตรถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงอุบัติขึ้นในคราวเดียวกันไซร้คําที่ว่า พระพุทธเจ้าผู้เลิศ ก็จะพึงผิดไป คําที่ว่า พระพุทธเจ้าผู้เจริญที่สุด ที่ว่าพระพุทธเจ้าผู้วิเศษสุด ที่ว่าพระพุทธเจ้าผู้สูงสุด ที่ว่าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ที่ว่าพระพุทธเจ้าไม่มีผู้เสมอ ที่ว่าพระพุทธเจ้าหาผู้

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 324

เสมอเหมือนมิได้ ที่ว่าพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เปรียบเทียบ. ที่ว่าพระพุทธเจ้าไม่มีผู้เทียมทัน ที่ว่าพระพุทธเจ้าหาผู้เปรียบมิได้ พึงเป็นคําผิดไป ขอถวายพระพร มหาบพิตรขอพระองค์จงรับเหตุการณ์แม้นี้แล โดยความหมายอันเป็นเหตุไม่ให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ อุบัติขึ้นในคราวเดียวกัน. อีกอย่างหนึ่งขอถวายพระพร มหาบพิตร ข้อที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น อุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นสภาวปกติของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเพราะเหตุไร? เพราะพระคุณของพระสัพพัญูพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเหตุการณ์ใหญ่หลวง. ขอถวายพระพร มหาบพิตร สิ่งที่เป็นของใหญ่แม้อย่างอื่น ย่อมมีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น แผ่นดินใหญ่มีแผ่นดินเดียวเท่านั้นสาครใหญ่มีสาครเดียวเท่านั้น ขุนเขาสิเนรุใหญ่ประเสริฐสุดก็มีลูกเดียวเท่านั้นอากาศใหญ่ (กว้าง) ก็มีแห่งเดียวเท่านั้น ท้าวสักกะใหญ่ก็มีองค์เดียวเท่านั้น พระพรหมใหญ่ก็มีองค์เดียวเท่านั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ก็มีพระองค์เดียวเท่านั้น ท่านเหล่านั้นอุบัติขึ้นในที่ใดคนเหล่าอื่นย่อมไม่มีโอกาสในที่นั้น เพราะเหตุนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เดียวเท่านั้นอุบัติขึ้นในโลก. พระคุณเจ้านาคเสนปัญหาพร้อมทั้งเหตุการณ์ (ที่นํามา) เปรียบเทียบ ท่านกล่าวได้ดีมาก.

เหตุที่พระเจ้าจักรพรรดิไม่อุบัติร่วมกัน

บทว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยา ได้แก่ ในจักรวาลเดียว ก็หมื่นจักรวาลแม้จะถือเอาด้วยบทนี้ในตอนต้น ก็ควรที่จะกําหนดเอาจักรวาลเดียวเท่านั้น เพราะว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อจะอุบัติขึ้นย่อมอุบัติขึ้นในจักรวาลนี้เท่านั้น ก็เมื่อห้ามสถานที่ที่เสด็จอุบัติย่อมเป็นอันห้ามเด็ดขาดว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่เสด็จอุบัติในจักรวาลอื่นนอกจากจักรวาลนี้.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 325

ในบทว่า อปุพฺพํ อจริมํ นี้ มีความหมายว่า ไม่ก่อน (คือ) ไม่ก่อนแต่ความปรากฏขึ้นแห่งจักรรัตนะ ไม่หลัง (คือ) ไม่หลังจากจักรรัตนะนั้นอันตรธาน ในข้อที่ว่าไม่ก่อน ไม่หลังนั้น จักรรัตนะย่อมอันตรธานไปโดยส่วน ๒ คือ โดยพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จสวรรคต หรือโดยเสด็จออกทรงผนวช ก็แหละจักรรัตนะนั้น เมื่อจะอันตรธาน ย่อมอันตรธานไปในวันที่ ๗ แต่การเสด็จสวรรคต หรือแต่การเสด็จออกทรงผนวช ต่อแต่นั้นไม่ห้ามการปรากฏขึ้นแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระเจ้าจักรพรรดิ๒ พระองค์จึงไม่ทรงอุบัติขึ้นในจักรวาลเดียวกัน.

ตอบว่า เพราะจะตัดการวิวาท เพราะจะให้เป็นความอัศจรรย์ และเพราะจักรรัตนะมีอานุภาพมาก.

ก็เมื่อ พระเจ้าจักรพรรดิ๒ องค์ อุบัติขึ้น การวิวาทก็จะพึงเกิดขึ้นว่า พระราชาของพวกเราใหญ่ พระราชาของพวกเราก็ใหญ่. ในทวีปหนึ่งมี พระเจ้าจักรพรรดิ (อีก) ทวีปหนึ่งก็มี พระเจ้าจักรพรรดิ ดังนั้นจะพึงไม่เป็นของอัศจรรย์ และอานุภาพอันยิ่งใหญ่ของจักรรัตนะอันสามารถมอบให้ซึ่งความเป็นใหญ่ในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวารก็จะหมดคุณค่า พระเจ้าจักรพรรดิ๒ พระองค์ ก็ย่อมไม่อุบัติขึ้นในจักรวาลเดียวกัน ก็เพราะจะตัดการวิวาทกัน เพราะไม่เป็นความอัศจรรย์ และเพราะจักรรัตนะมีอานุภาพมาก ด้วยประการดังนี้.

หญิงเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้

ในคํานี้ว่า ยํ อิตฺถี อรหํ อสฺส สมฺมาสมฺพุทฺโธ (ข้อที่หญิงพึงเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า) ดังนี้ ความเป็นพระพุทธเจ้า

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 326

ที่สามารถยังคุณคือสัพพัญูให้เกิดขึ้นแล้วได้โลกุตระขอยกไว้ก่อน แม้เพียงการตั้งปณิธานก็ย่อมไม่สําเร็จแก่สตรี.

บุญญาภินิหารจะสําเร็จได้ เพราะรวมเหตุ ๘ ประการ คือความเป็นมนุษย์ ความถึงพร้อมด้วยเพศ (ชาย) ๑ เหตุ (มโนปณิธาน) ๑การได้พบเห็นพระศาสดา๑ การบรรพชา๑ ความถึงพร้อมด้วยคุณ ๑ อธิการ (คือสักการะอันยิ่งใหญ่) ๑ ความพอใจ (ในพระโพธิญาณ) ๑

เหตุที่กล่าวมานี้แหละ เป็นเหตุแห่งปณิธานสมบัติ. เมื่อสตรีไม่สามารถเพื่อยังแม้ปณิธานให้สําเร็จได้ ด้วยประการดังกล่าว ความเป็นพระพุทธเจ้าจะมีมาแต่ไหนเพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่าข้อที่หญิงพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส. ก็การสั่งสมบุญให้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง จะให้เกิดอัตภาพที่บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงนั่นแหละเพราะเหตุนั้น บุรุษเท่านั้น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

หญิงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิไม่ได้

แม้ในบทเป็นต้นว่า ยํ อิตฺถี ราชา อสฺส จกฺกวตฺติ (ข้อที่หญิงพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ) ดังนี้ มีอธิบายว่า เพราะเหตุที่ลักษณะทั้งหลายของหญิงไม่บริบูรณ์โดยไม่มีของลับที่จะเก็บไว้ในฝักเป็นต้น ความพรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๓ ประการ ไม่สมบูรณ์ เพราะไม่มีอิตถีรัตนะ (คือนางแก้ว) และไม่มีอัตภาพที่ยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า ข้อที่หญิงพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้. และเพราะฐานะ ๓ ประการ มีความเป็นท้าวสักกะเป็นต้น เป็นฐานะสูงสุด แต่เพศหญิงเป็นเพศต่ํา เพราะเหตุนั้น แม้ฐานะที่หญิงจะเป็นท้าวสักกะเป็นต้น ก็เป็นอันระงับไป.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 327

ไม่มีเพศหญิงเพศชายในพรหมโลก

ถามว่า แม้เพศหญิงไม่มีในพรหมโลกฉันใด ถึงเพศชายก็ฉันนั้นในพรหมโลกก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ไม่พึงพูดว่า ข้อที่บุรุษพึงเป็นพระพรหมนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ มิใช่หรือ

ตอบว่า ไม่ใช่ไม่ควรพูด.

เพราะผู้ชายในโลกนี้เกิดในพรหมโลกนั้น.

เพราะคําว่า ความเป็นพรหม หมายเอาท้าวมหาพรหม. ก็หญิงบําเพ็ญฌานในโลกนี้แล้วตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพรหมปาริสัชชา (บริษัทบริวารของพระพรหม) ไม่ถึงท้าวมหาพรหม. ส่วนบุรุษไม่ควรกล่าวว่า ไม่เกิดในชั้นมหาพรหม. และในพรหมโลกนี้ แม้เมื่อไม่มีเพศทั้งสองพรหมทั้งหลายก็มีสัณฐานเป็นบุรุษอย่างเดียว ไม่มีสัณฐานเป็นหญิง เพราะฉะนั้น คํานั้นจึงเป็นอันกล่าวดีแล้ว.

กายทุจริต กายสุจริต

ในบทว่ากายทุจฺจริตสฺส เป็นต้น มีอธิบายวา พืชสะเดาและพืชบวบขมเป็นต้น ย่อมไม่ให้เกิดผลมีรสหวาน มีแต่จะใช้เกิดผลที่มีรสไม่หวานไม่น่าชอบใจ อย่างเดียว ฉันใด กายทุจริตเป็นต้นก็ฉันนั้น ย่อมไม่ยังผลดีให้เกิดขึ้น ย่อมยังผลไม่ดี ให้เกิดขี้นอย่างเดียว พืชอ้อยและพืชข้าวสาลีเป็นต้น ย่อมยังมีผลมีรสหวานรสอร่อยอย่างเดียวให้เกิดขึ้น หาได้ยังผลที่ไม่น่ายินดี เผ็ดร้อน ไม่หวาน ให้เกิดขึ้นไม่ ฉันใด กายสุจริตเป็นต้นย่อมยังผลที่ดีทั้งนั้นให้เกิดขึ้น หาได้ยังผลที่ไม่น่ายินดีเผ็ดร้อน ไม่ดี ให้เกิดขึ้นไม่ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 328

หว่านพืชเช่นใด ย่อมนําผลเช่นนั้นมาทําดีได้ดี และทําชั่วก็ได้ชั่ว.

เพราะเหตุนั้น จึงตรัสคํามีอาทิว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจริต ตายแล้วจะเข้าถึงสุคติคือโลกสวรรค์นั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส.

สมังคี ๕

บทว่า สมงฺคี ในบทว่า กายทุจฺจริตสมงฺคี เป็นต้น ความว่าความพร้อมเพรียงมี ๕ อย่าง คือ ความพร้อมเพรียงแห่งการประมวลมา ๑ ความพร้อมเพรียงแห่งเจตนา๑ ความพร้อมเพรียงแห่งกรรม ๑ความพร้อมเพรียงแห่งวิบาก๑ ความพร้อมเพรียงแห่งการปรากฏขึ้น ๑

ในความพร้อมเพรียง ๕ อย่างนั้น ความพร้อมเพรียงในขณะประมวลกุศลกรรมและอกุศลกรรมมา ท่านเรียกว่า ความพร้อมเพรียงแห่งการประมวลมา ความพร้อมเพรียงแห่งเจตนาก็เหมือนกัน.

ก็สัตว์ทั้งหมดท่านเรียกว่าผู้พร้อมเพรียงด้วยกรรม เพราะหมายเอากรรมที่เหมาะแก่วิบากที่ได้สะสมไว้ในชาติก่อน ตราบเท่าที่ยังไม่บรรลุพระอรหัต. นี้ชื่อว่า ความพร้อมเพรียงแห่งกรรม.

ความพร้อมเพรียงแห่งวิบาก พึงทราบในขณะแห่งวิบากเท่านั้น.

ก็ตราบเท่าที่สัตว์ทั้งหลายยังไม่บรรลุพระอรหัต นิมิตของการเกิดขึ้นย่อมปรากฏอย่างนี้คือ สําหรับสัตว์ทั้งหลายผู้เคลื่อนจากภพนั้นก่อน นรกย่อมปรากฏ โดยอาการปรากฏมีเปลวไฟและโลหกุมภีเป็นต้น ท้องมารดาย่อมปรากฏสําหรับเหล่าสัตว์ผู้จะเข้าถึงความเป็น "คัพภเสยยกสัตว์" เทวโลกย่อมปรากฏโดยอาการปรากฏแห่งต้นกัลปพฤกษ์และวิมานเป็นต้น สําหรับสัตว์ผู้จะบังเกิดใน

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 329

เทวโลก. ดังกล่าวมานั้น ชื่อว่า ความพร้อมเพรียงแห่งการปรากฏเพราะสัตว์เหล่านั้นยังไม่พ้นการปรากฏแห่งนิมิตของการเกิดนี้.

ความพร้อมเพรียงแห่งการปรากฏนั้นย่อมเปลี่ยนได้ แต่ความพรอ้มเพรียงที่เหลือเปลี่ยนไม่ได้. เพราะเมื่อนรกแม้ปรากฏแล้ว เทวโลกก็ย่อมปรากฏได้ เมื่อเทวโลกแม้ปรากฏแล้ว นรกก็ย่อมปรากฏได้. เมื่อมนุษย์โลกแม้ปรากฏแล้วกําเนิดเดียรัจฉานก็ย่อมปรากฏได้ และเมื่อกําเนิดเดียรัจฉานแม้ปรากฏแล้ว มนุษย์โลกก็ย่อมปรากฏได้เหมือนกัน ในข้อที่กล่าวนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง

ตัวอย่างนิมิตปรากฏ

ได้ยินว่า ในอเจลวิหาร ใกล้เคียงเชิงเขาโสภณ มีพระธรรมกถึกรูปหนึ่ง ชื่อพระโสณเถระ โยมผู้ชายของท่านเป็นนายพรานสุนัข (อาศัยสุนัขล่าเนื้อ) พระเถระห้ามโยม เมื่อไม่อาจจะให้ตั้งอยู่ในศีลสังวรได้ จึงคิดว่าคนแก่๑อย่าได้ฉิบหายเสียเลย จึงให้โยมบิดาบวชทั้งที่ไม่อยากบวช ในกาลเป็นคนแก่. เมื่อโยมบิดานอนบนเตียงคนไข้ นรกก็ปรากฏขึ้น. (คือ) สุนัขทั้งหลายตัวใหญ่ๆ มาจากเชิงเขาโสณะ ล้อมท่านไว้ ทําทีเหมือนจะกัด. ท่านกลัวต่อมหาภัยจึงกล่าวว่า พ่อโสณะห้ามที พ่อโสณะห้ามที.

พระโสณเถระถามว่า อะไรครับหลวงพ่อ.

ท่านกล่าวว่า ท่านไม่เห็นหรือ แล้วจึงบอกเรื่องราวนั้น.พระโสณะเถระคิดว่า บิดาของคนเช่นเราจักเกิดในนรกได้อย่างไรเล่า เราจักช่วยท่าน แล้วจึงให้พวกสามเณรไปนําดอกไม้นานาชนิดมาให้


๑. บาลีเป็น วราโก แต่บางแห่งเป็น ชรโก แปลตามคําหลัง

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 330

ตกแต่งเครื่องลาดพื้นสําหรับบูชาและอาสนะสําหรับบูชาที่ลานเจดีย์และลานโพธิ์แล้วเอาเตียงหามหลวงพ่อไปยังลานเจดีย์ ให้นั่งบนเตียงแล้วกล่าวว่า หลวงพ่อขอรับ บูชานี้จัดไว้เพื่อหลวงพ่อ บูชานี้จัดไว้เพื่อหลวงพ่อ ขอให้หลวงพ่อกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นทุคคตบรรณาการ. ของข้าพระองค์ ดังนี้แล้ว ขอถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทําจิตให้เสื่อมใส.มหาเถระนั้นเห็นเครื่องบูชาแล้วจึงทําอย่างนั้น ทําจิตให้เลื่อมใสแล้ว ทันใดนั้นเทวโลกปรากฏขึ้นแก่ท่าน สวนนันทวัน สวนจิตรลดาวัน สวนมิสสกวัน สวนปารุสกวัน และวิมานทั้งหลาย และเหล่านางฟ้าฟ้อนรําได้เป็นเหมือนประดิษฐานล้อมท่านไว้.

ท่านกล่าวว่า หลีกไปเถิดโสณะ หลีกไปเถิดโสณะ.

นี่อะไรกันหลวงพ่อ.

หญิงเหล่านี้ คือ โยมผู้หญิงของคุณ กําลังมา.

พระเถระคิดว่า สวรรค์ปรากฏแก่หลวงพ่อแล้ว.

พึงทราบว่า ความพร้อมเพรียงแห่งการปรากฏขึ้นย่อมเปลี่ยนไปได้อย่างนี้ ในความพร้อมเพรียงเหล่านี้ ในที่นี้ ท่านกล่าวคําเป็นต้นว่า "ความพร้อมเพรียงแห่งกายทุจริต" ดังนี้ด้วยอํานาจแห่งอายูหนสมังคีเจตนาสมังคี และกัมมสมังคี.

บทว่า เอวํ วุตฺเต อายสฺมาอานนฺโท ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสูตรนี้อย่างนี้แล้ว พระเถระคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประมวลสูตรทั้งหมดมาตั้งแต่ต้น กระทําให้งดงามอย่างนี้แล้ว มิได้ทรงตั้งชื่อของพระสูตรที่ทรงแสดงไว้เอาเถิดเราจักขอให้ทรงตั้งชื่อของพระสูตรนี้ดังนี้จึงได้กราบทูลคํานั้นกับพระผู้มีพระภาคเจ้า.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 331

ในบทเป็นต้นว่า ตสฺมาติห ตฺวํ มีการประกอบความหมายดังต่อไปนี้.

ดูก่อน อานนท์ เพราะเหตุที่เราตถาคตจําแนกธาตุไว้มากในธรรมบรรยายนี้อย่างนี้ว่า ดูก่อน อานนท์ ธาตุเหล่านี้๑๘ ประการแล ดูก่อนอานนท์ ธาตุเหล่านี้๖ ประการ ดังนี้ เพราะเหตุนั้นแล เธอจงทรงจําธรรมบรรยายนี้ว่า พหุธาตุกสูตร ก็ได้. ก็เพราะเหตุที่ในธรรมบรรยายนี้เราตถาคตจําแนกปริวัฏ (การเวียนรอบ) ๔ ประการ เนื่องด้วยธาตุ อายตนะปฏิจจสมุปบาท และฐานาฐานะ เพราะฉะนั้น เธอจงทรงจําธรรมบรรยายนั้นว่า จตุปริวัฏฏสูตร ก็ได้ แลเพราะเหตุที่ข้อความมีธาตุเป็นต้นเหล่านี้ย่อมปรากฏแก่ผู้ดูธรรมบรรยายนี้ เหมือนเงาหน้าปรากฏแก่ผู้ส่องกระจกเพราะฉะนั้น เธอจงทรงจําธรรมบรรยายนั้นว่า ธรรมาทาสสูตร ก็ได้ อนึ่งเพราะเหตุที่พระโยคีเหยียบย่ําเสนาคือกิเลส เรียนเอาวิปัสสนาตามที่กล่าวไว้ในสูตรนี้ แล้วย่ํายีกิเลสทั้งหลายถือเอาชัยชนะคือพระอรหัตให้แก่ตนได้ เหมือนทหารทั้งหลายผู้จะปราบเสนาฝ่ายตรงข้าม ลั่นกลองศึกวิ่งเข้าใส่กองทัพฝ่ายอื่นเข้าประจัญบาน คว้าเอาชัยด้วยตัวเอง ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น เธอจงทรงจําธรรมบรรยายนั้นว่า ชื่ออมตทุนทุภีสูตร ก็ได้. และเพราะเหตุที่ ทหารในสงครามถืออาวุธ ๕ ประการ กําจัดกองทัพฝ่ายอื่นได้ชัยชนะ ฉันใด แม้พระโยคีทั้งหลายก็ฉันนั้น ถืออาวุธคือวิปัสสนาดังกล่าวไว้ในสูตรนี้ ถือเอาชัยคือพระอรหัตไว้ได้ เพราะเหตุนั้น เธอจงทรงจําธรรมบรรยายนั้นไว้ว่า ชื่ออนุตตรสังคามวิชัยสูตร ก็ได้แล.

จบ อรรถกถาพหุธาตุกสูตรที่ ๕