พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. อิสิคิลิสูตร ว่าด้วยเหตุที่เรียกชื่อภูเขาอิสิคิลิ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36121
อ่าน  709

[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 332

๖. อิสิคิลิสูตร

ว่าด้วยเหตุที่เรียกชื่อภูเขาอิสิคิลิ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 22]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 332

๖. อิสิคิลิสูตร

ว่าด้วยเหตุที่เรียกชื่อภูเขาอิสิคิลิ

[๒๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลิ กรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธดํารัสแล้ว.

[๒๔๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบรรดาเราทั้งหลายนี่ พวกเธอแลเห็นภูเขาเวภาระนั่นหรือไม่?

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภูเขาเวภาระนั่นแล มีชื่อเป็นอย่างหนึ่งมีบัญญัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขาปัณฑวะนั่นหรือไม่?

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภูเขาปัณฑวะนั่นแล ก็มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอย่างหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขาเวปุลละนั่นหรือไม่?

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภูเขาเวปุลละนั่นแล ก็มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขาคิชฌกูฏนั่นหรือไม?

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภูเขคิชฌกูฏนั่นแล ก็มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขาอิสิคิลินี้หรือไม่?

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 333

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ภูเขาอิสิคิลินี้แล มีชื่อก็เช่นนี้ มีบัญญัติก็เช่นนี้.

[๒๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้า๕๐๐ องค์ ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นเมื่อกําลังเข้าไปสู่ภูเขานี้คนแลเห็น แต่ท่านเข้าไปแล้วคนแลไม่เห็น มนุษย์ทั้งหลายเห็นเหตุดังนี้นั้น จึงพูดกันอย่างนี้ว่า ภูเขาลูกนี้กลืนกินฤาษีเหล่านี้ๆ ชื่อว่า อิสิคิลิๆ นี้แลจึงได้เกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราจักบอก จักระบุจักแสดงชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พวกเธอจงพึง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระเจ้าข้า.

พระนามพระปัจเจกพุทธเจ้า

[๒๕๐] พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสดังนี้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่ออริฏฐะ๑ ชื่ออุปริฏฐะ๑ ชื่อตครสิขี ๑ ชื่อยสัสสี ๑ ชื่อสุทัสสนะ๑ ชื่อปิยทัสสี๑ ชื่อคันธาระ๑ ชื่อปิณโฑละ๑ชื่ออุปาสภะ๑ ชื่อนิถะ๑ ชื่อตถะ๑ ชื่อสุตวา๑ ชื่อภาวิตัตะ๑ ได้อาศัยอยู่กินที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน.

[๒๕๑] เธอจงฟังเราระบุชื่อของท่านที่มีธรรมเป็นสาระกว่าสัตว์ ไม่มีทุกข์ หมดความอยากได้บรรลุโพธิญาณอย่างดี เฉพาะตนผู้เดียวผู้ปราศจากลูกศร สูงกว่านรชน ต่อไปเถิด พระ-ปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มีตัณหาเครื่องนําไปในภพสิ้นแล้ว คือ อริฏฐพุทธ ๑ อุปริฏฐพุทธ ๑ตครสิขีพุทธ ๑ ยสัสสีพุทธ ๑ สุทัสสน-พุทธ ๑ ปิยทัสสีพุทธ ๑ คันธารพุทธ ๑ปิณโฑลพุทธ ๑ อุปาสภพุทธ ๑ นิถพุทธ ๑

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 334

ตถพุทธ ๑ สุตวาพุทธ ๑ ภาวิตัตตพุทธ๑สุมภพุทธ ๑ สุภพุทธ ๑ เมถุลพุทธ๑อัฏฐมพุทธ ๑ อถัสสเมฆพุทธ ๑ อนิฆพุทธ ๑ สุทาฐพุทธ ๑ พระปัจเจกพุทธ ผู้มีอานุภาพมากคือ หิงคูพุทธ ๑ หิงคพุทธ ๑ พระมุนีชื่อชาลีมี ๒ องค์ และ อัฏฐกพุทธ ๑โกสัลลพุทธ ๑ อถพุทธ ๑ สุพาหุพุทธ ๑ อุปเนมิสพุทธ ๑ เนมิสพุทธ ๑ สันติจิตตพุทธ ๑ สัจจพุทธ ๑ ตถพุทธ ๑ วิรชพุทธ ๑ บัณฑิตพุทธ ๑ กาฬพุทธ ๑ อุปกาฬพุทธ ๑ วิชิตพุทธ ๑ ชิตพุทธ๑อังคพุทธ ๑ ปังคพุทธ ๑ คุติจฉิตพุทธ ๑ ปัสสีพุทธ ๑ ได้ละอุปธิอันเป็นมูลแห่งทุกข์แล้วอปราชิตพุทธ ๑ ได้ชนะมารและพลมาร สัตถาพุทธ ๑ ปวัตตาพุทธ ๑ สรภังคพุทธ ๑ โลมหังสพุทธ ๑ อุจจังคมายพุทธ ๑ อลิตพุทธ ๑ อนาสวพุทธ ๑ มโนมยพุทธ ๑ พันธุมาพุทธ ๑ ผู้ตัดมานะได้ ตทาธิมุตพุทธ ๑ วิมลพุทธ ๑ เกตุมาพุทธ ๑ เกตุมพราคพุทธ ๑ มาตังคพุทธ ๑ อริยพุทธ ๑ อัจจุตพุทธ ๑ อัจจุตคามพยามกพุทธ ๑ สุมังคลพุทธ ๑ ทัพพิลพุทธ ๑ สุปติฏฐิตพุทธ ๑ อสัยหพุทธ๑เขมาภิรตพุทธ ๑ โสรตพุทธ ๑ ทุรันนยพุทธ ๑ สังฆพุทธ ๑ อุชุชยพุทธ ๑ พระมุนี ชื่อ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 335

สัยหะ อีกองค์หนึ่ง ผู้มีความเพียรไม่ทรามพระพุทธชื่ออานันทะ ชื่อนันทะ ชื่ออุปนันทะ ๑๒ องค์ และภารทวาชพุทธ ผู้ทรงร่างกายในภพสุดท้ายโพธิพุทธ ๑ มหานามพุทธ ๑ อุตตรพุทธ๑ เกสีพุทธ ๑ สิขีพุทธ ๑ สุนทรพุทธ ๑ ภารทวาชพุทธ๑ติสสพุทธ ๑ อุปติสสพุทธ๑ ผู้ตัดกิเลสเครื่องผูกในภพได้อุปสีทรีพุทธ ๑ และสีทรีพุทธ ๑ ผู้ตัดตัณหาได้ มังคลพุทธ ๑ เป็นผู้ปราศจากราคะ อุสภพุทธ ๑ ผู้ตัดข่ายอันเป็นมูลแห่งทุกข์อุปณีตพุทธ ๑ได้บรรลุบทอันสงบอุโปสกพุทธ ๑ สุนทรพุทธ ๑ สัจจนามพุทธ ๑ เชตพุทธ ๑ ชยันตพุทธ ๑ ปทุมพุทธ ๑ อุปปลพุทธ ๑ ปุทุมุตตรพุทธ ๑ รักขิตพุทธ ๑ ปัพพตพุทธ ๑ มานัตถัทธพุทธ ๑ โสภิตพุทธ ๑ วีตราคพุทธ ๑ กัณหพุทธ ๑ ผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว พระปัจเจกพุทธ ผู้มีอานุภาพมากเหล่านี้และอื่นๆ มีตัณหาเครื่องนําไปในภพสิ้นแล้ว เธอทั้งหลายจงไหว้พระปัจเจกพุทธเหล่านั้น ผู้ล่วงเครื่องข้องทั้งปวงได้แล้ว ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ผู้มีคุณนับไม่ถ้วน ผู้ปรินิพพานแล้วเถิด.

จบ อิสิคิลิสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 336

อรรถกถาอิสิคิลิสูตร

อิสิติลิสูตรมีคําเริ่มต้นว่าข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

ประวัติภูเขาอิสิคิลิ

พึงทราบอธิบายในอิสิคิลิสูตรนั้นดังต่อไปนี้.

บทว่า อฺาว สมฺาอโหสิ ความว่า (ก่อน) ที่ภูเขาอิสิติลิจะได้ชื่อว่า อิสิคิลิ (นั้น) ได้มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า เวภาระ.

บทว่า อฺา ปฺตฺติ นี้เป็นไวพจน์ของบทแรกเท่านั้น แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน

ได้ยินว่าคราวครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากนิโรธสมาบัติในเวลาเย็น แล้วเสด็จออกจากพระคันธกุฎี มีหมู่ภิกษุแวดล้อมประทับนั่ง ณที่ที่เมื่อคนทั้งหลายนั่งแล้วเห็นภูเขา ๕ ลูก ปรากฏชัดแล้วตรัสบอกภูเขา ๕ ลูกเหล่านี้โดยลําดับ. ในการตรัสบอกนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้มีความต้องการด้วยเรื่องภูเขา. แต่เมื่อตรัสบอกภูเขาเหล่านี้โดยลําดับๆ ก็ย่อมเป็นอันจะต้องตรัสบอกภาวะที่ภูเขาอิสิคิลิเป็น ภูเขา (มีชื่อว่า) อิสิคิลิ (ด้วย). เมื่อตรัสบอกเรื่องภูเขาอิสิคิลินั้นก็จักต้องตรัสบอกชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐องค์ ผู้เป็นบุตรของนางปทุมวดี และความปรารถนาของนางปทุมวดีเพราะเหตุดังกล่าวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสลําดับของภูเขานี้.

บทว่า ปวิสนฺตา ทิสฺสนฺติปวิฏฺา น ทิสฺสนฺติความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในสถานที่ตามสะดวก กระทําภัตกิจแล้ว เข้าไปข้างในโดยกระทําภูเขานั้นให้เป็น ๒ ซีก เหมือนเปิดบาน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 337

ประตูใหญ่คู่ในห้องพระเจดีย์ สร้างที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน แล้วอยู่ ณที่นั้น เพราะฉะนั้นจึงตรัสอย่างนั้น.

บทว่า อิเม อิสี ได้แก่ พระปัจเจกพุทธฤาษีเหล่านี้.

ก็พระปัจเจกพุทธฤาษีเหล่านั้น ได้อยู่ในภูเขานั้นตั้งแต่เมื่อไร?

ได้ยินว่า ในอดีตกาล เมื่อพระตถาคตยังไม่อุบัติขึ้น กุลธิดาผู้หนึ่งในหมู่บ้านแห่งหนึ่งชานเมืองพาราณสี เฝ้านาอยู่ ได้ถวายดอกบัวดอกหนึ่งกับข้าวตอก ๕๐๐ ดอกแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ตั้งความปรารถนาให้ได้บุตร ๕๐๐ คน. ก็พอดีขณะนั้น พรานล่าเนื้อ ๕๐๐ คน ได้ถวายเนื้อ (ย่าง) อันอร่อยแล้วตั้งความปรารถนาว่า ขอให้พวกเราได้เป็นบุตรของนาง นางดํารงตลอดกาลกําหนดชั่วอายุแล้วไปเกิดในเทวโลก จุติจากเทวโลกมาเกิดในกลีบดอกบัวในชาตสระ (สระที่มีอยู่เองโดยธรรมชาติ) พระดาบสองค์หนึ่งไปพบเข้าก็เลี้ยงไว้ เมื่อนางกําลังเที่ยวเล่นนั่นแหละ ดอกบัวทั้งหลายผุดขึ้นจากพื้นดิน ทุกๆ ย่างเท้า. พรานป่าคนหนึ่งพบเข้า จึงกราบทูลแด่พระเจ้าพาราณสี. พระราชาทรงนํานางนั้นมาแต่งตั้งให้เป็นอัครมเหสี. พระนางทรงครรภ์ มหาปทุมกุมารอยู่ในพระครรภ์พระมารดา ส่วนกุมารนอกนั้นอาศัยครรภ์มลทินอุบัติขึ้น. กุมารเหล่านั้นเจริญวัย ได้เล่นในสระบัวในอุทยานนั่งที่ดอกบัวคนละดอก เริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อม ทําปัจเจกโพธิญาณให้เกิดขึ้น คาถาพยากรณ์ของท่านได้มีดังนี้ว่า

ดอกบัวในกอบัวเกิดขึ้นในสระบานแล้ว ถูกหมู่แมลงภู่เคล้าคลึงก็เข้าถึงความร่วงโรย บุคคลรู้แจ้งข้อนี้แล้ว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 338

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นได้อยู่ในภูเขานั้นมาแต่กาลครั้งนั้น. และแต่ครั้งนั้นมา ภูเขานั้นจึงได้เกิดชื่อว่า อิสิคิลิ.

พระนามของพระปัจเจกพุทธเจ้า

บทว่า เย สตฺตสารา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๓ พระองค์คือ พระอริฏฐะ พระอุปริฏฐะ พระตัคครสิขี พระยสัสสี พระสุทัสสนะ พระปิยทัสสี พระคันธาระพระปิณโฑละ พระอุปาสภะ พระนิถะ พระตถะ พระสุตวาพระภาวิตัตตะ บัดนี้ เมื่อจะตรัสบอกชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นกับชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์อื่น ด้วยการผูกเป็นคาถา จึงตรัสคําเป็นต้นว่า เย สตุตสารา ดังนี้.

ในพระนามเหล่านั้น พระนามว่า สตฺตสารา แปลว่า เป็นหลักของสัตว์ทั้งหลาย. พระนามว่า. อนีฆา แปลว่า ไม่มีทุกข์ พระนามว่านิราสา แปลว่า ไม่มีความอยาก.

พระนามว่า เทฺว ชาลิโน ความว่า พระนามว่า ชาลีมี๒ องค์คือ จุลลชาลีมหาชาลี. แม้คําว่า สันตจิตตะ ก็เป็นพระนามของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง.

ข้อว่า ปสฺสีชหิอุปธึทุกขมูลํ นี้เป็นคําสรรเสริญพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้นว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้นทรงพระนามว่า ปัสสี ก็เพราะพระองค์ทรงละอุปธิอันเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ได้แล้ว.

แม้คําว่า อปราชิตะ ก็เป็นชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งเหมือนกัน. ท่านทั้ง ๕ เหล่านี้คือ พระสัตถา พระปวัตตา พระสรภังคะ พระโลมหังสะ พระอุจจังคมายะ ท่านทั้ง ๓ แม้เหล่านี้ คือพระอสิตะ พระอนาสวะ พระอโนมยะ.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 339

บทว่า พนฺธุมา ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พันธุมา เรียกกันว่าพระมานัจฉิทะ เพราะท่านตัดมานะได้เด็ดขาด.

แม้บทว่า ตทาธิมุตตะก็เป็นพระนามพระปัจเจกพุทธเจ้าเหมือนกัน.ท่านทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ พระเกตุมภราคะ พระมาตังคะ พระอริยะ.

บทว่า อถจฺจุโต แยกบทออกเป็น อถอจฺจุโต (แปลว่า อนึ่งพระอัจจุตะ) ท่านทั้งสองเหล่านี้ คือ พระอัจจุตะ พระอจัจุตคามพยามกะ ทั้งสองท่านเหล่านี้ คือ พระเขมาภิรตะ พระโสรตะ.

บทว่า สยฺโห อโนมนิกฺกโม ความว่า พระพุทธะองค์นั้นชื่อสัยหะแต่เขาเรียกกันว่า อโนมนิกกมะ เพราะมีความเพียรไม่ต่ําต้อย.

บทว่า อานนฺทนนฺโท อุปนนฺโท ทฺวาทส ความว่า พระปัจเจกพุทธ ๑๒ องค์อย่างนี้คือ พระอานันทะ ๔ องค์ พระนันทะ ๔ องค์พระอุปนันทะ ๔ องค์

บทว่า ภารทฺวาโช อนฺติมเทหธารี เป็นคําสรรเสริญว่า พระปัจเจกพุทธะองค์นั้นชื่อภารทวาชะ ผู้ทรงพระสรีระเป็นครั้งสุดท้าย.

บทว่า ตณฺหจฺฉิโท ได้แก่ นี้เป็นคําสรรเสริญพระปสีทรี. แม้

บทว่า วีตราโค ก็เป็นคําสรรเสริญพระมังคละ

บทว่า อุสภจฺฉิทา ชาลินึ ทุกฺขมูลํ ความว่า พระพุทธะองค์นั้นชื่อ อุสภะ ได้ตัดตัณหาเพียงดังข่ายอันเป็นรากเหง่าแห่งทุกข์ได้แล้ว

บทว่า สนฺตํ ปทํ อชฺฌคมูปนีโต ความว่า พระปัจเจกพุทธะพระองค์นั้นชื่ออุปนียะ ได้บรรลุสันตบทแล้ว. แม้บทว่า วีตราคะ ก็เป็นพระนามของพระปัจเจกพุทธะพระองค์หนึ่งเหมือนกัน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 340

บทว่า สุวิมุตฺตจิตฺโต ได้แก่ นี้เป็นคําสรรเสริญพระกัณหะ.

บทว่า เอเต จอฺเ จ ความว่า พระปัจเจกพุทธะทั้งหลายเหล่านี้ ทั้งที่มาในพระบาลีและไม่ได้มาในพระบาลี กับพระปัจเจกพุทธะเหล่าอื่น พระปัจเจกพุทธะเหล่านี้ มีพระนามอย่างเดียวเท่านั้น.

ก็บรรดาพระปัจเจกพุทธะ ๕๐๐ เหล่านี้พระปัจเจกพุทธะ ๒ องค์ก็ดี๓ องค์ก็ดี ๑๐ องค์ก็ดี ๑๒ องค์ก็ดี ได้มีพระนามอย่างเดียวกัน เหมือนพระปัจเจกพุทธะทั้งหลายมีพระอานันทะ เป็นต้น.

ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ย่อมเป็นอันระบุพระนามของพระปัจเจกพุทธะทั้งหลายโดยพระนามอันมาในพระบาลีเท่านั้น เพราะเหตุนั้นต่อแต่นี้ไปไม่ตรัสแยกเป็นรายองค์ ตรัส (รวม) ว่า เหล่านี้และเหล่าอื่นดังนี้. คําที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาอิสิคิลิสูตรที่ ๖