พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. อานาปานสติสูตร ว่าด้วยการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36123
อ่าน  730

[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 362

๘. อานาปานสติสูตร

ว่าด้วยการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 22]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 362

๘. อานาปานสติสูตร

ว่าด้วยการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก

[๒๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคลัลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระมหากัจจายนะท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากัปปินะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ ก็สมัยนั้นแล พระเถระทั้งหลายพากันโอวาทพร่ําสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระเถระบางพวกโอวาทพร่ําสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ําสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ําสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ําสอน ๔๐ รูปบ้าง ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ําสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าตนรู้มาก่อน.

[๒๘๓] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ์๑๕ ค่ําทั้งเป็นวันปวารณาด้วย. ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลําดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราปรารภในปฏิปทานี้ เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทําให้แจ้งคุณที่ตนยังไม่ทําให้แจ้งยิ่งกว่าประมาณเถิด

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 363

เราจักอยู่ในกรุงสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท (๑) พวกภิกษุชาวชนบททราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักรออยู่ในกรุงสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท จึงพากันหลังไหลมายังกรุงสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ก็พากันโอวาทพร่ําสอนภิกษุนวกะเพิ่มประมาณขึ้น คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกโอวาทพร่ําสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ําสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ําสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ําสอน ๔๐ รูปบ้าง และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ําสอนอยู่ ย้อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน.

[๒๘๒] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝนเป็นที่บานแห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ํา ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลําดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดํารงอยู่ในสารธรรมอันบริสุทธิ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่ควรแก่การคํานับ ควรแก่การต้อนรับควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การกระทําอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้ ภิกษุสงฆ์นี้บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก และถวายของมาก มีผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันชาวโลกยากที่จะได้พบเห็น ภิกษุสงฆ์นี้บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควร ที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าเดินทางไปชม นับเป็นโยชน์ๆ


๑. คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 364

มีพระอรหันตขีณาสพ ในหมู่ภิกษุ

[๒๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทํากิจที่ควรทําเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลําดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้วพ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีพระอนาคามี ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะเพราะสิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ําทั้ง จะได้ปรินิพพานในโลกนั้นๆ มีอันไม้กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ ภิกษุนี้ ก็มีอยู่

มีพระสกทาคามี ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ผู้เป็นพระสกทาคามีเพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง และเพราะทําราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางมายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทําที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่.

มีพระโสดาบัน ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบันเพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 365

มีภิกษุผู้เจริญสัมมัปปธาน ๔ ในหมู่ภิกษุ

[๒๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญอิทธิบาท ๔ ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญอินทรีย์ ๕ ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอินทรีย์ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่

มีภิกษุผู้เจริญพละ ๕ ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญพละ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่

มีภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญมรรค ๘ ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ก็มีอยู่.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 366

มีภิกษุผู้เจริญเมตตา ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญเมตตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญกรุณา ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญกรุณาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญมุทิตา ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญมุทิตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญอุเบกขา ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอุเบกขาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญอสุภสัญญา ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอสุภสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญอนิจจสัญญา ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอนิจจสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญอานาปานสติ ในหมู่ภิกษุ

[๒๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอานาปานสติอยู่.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 367

เจริญอานาปานสติแล้วธรรมทั้ง ๔ จะบริบูรณ์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่เจริญแล้วทําให้มากแล้วจะให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ได้. สติปัฏฐาน ์๔ ที่เจริญแล้วทําให้มากแล้ว จะให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ได้. โพชฌงค์๗ ที่เจริญแล้วทําให้มากแล้ว จะให้วิชชาและวิมุตติ บริบูรณ์ได้.

วิธีเจริญอานาปานสติที่มีผลานิสงส์มาก

[๒๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทําให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมากมีอานิสงส์มาก?ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนร้างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดํารงสติมั่นเฉพาะหน้า.เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น. สําเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออกว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้ปีติ หายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้สุข หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้สุข หายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ ว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้จิตตสังขาร หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ว่า เราจักระงับจิตตสังขาร

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 368

หายใจออก ว่า เราจักระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ ว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้จิต หายใจออก ว่า เราจักเป็น ผู้กําหนดรู้จิต หายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ว่า เราจักทําจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่า เราจักทําจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ว่า เราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่า เราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ ว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจออก ว่า เราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกําหนัด หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกําหนัด หายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาสละคืนกิเลส หายใจออกว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอานาปานสติ ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมากมีอานิสงส์มาก.

เจริญอานาปานสติอย่างไร? สติปัฏฐาน ๔ จึงจะบริบูรณ์

[๒๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไรทําให้มากแล้วอย่างไร จึงจะให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น. สําเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออกว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ว่า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 369

เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ว่า เป็นกายชนิดหนึ่งในจําพวกกายทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้นภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียรรู้สึกตัว มีสติกําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสําเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้ปีติ หายใจเข้า.สําเหนียกอยู่ ว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้สุข หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้สุข หายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ ว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก ว่า เราจักเป็น ผู้กําหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า.สําเหนียกอยู่ว่า เราจักระงับจิตตสังขาร หายใจออกว่า เราจักระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวการใส่ใจลมหายใจออกลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในจําพวกเวทนาทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสําเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้จิต หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้จิต หายใจเข้า.สําเหนียกอยู่ว่า เราจักทําให้จิตร่าเริง หายใจออก ว่า เราจักทําให้จิต

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 370

ร่าเริง หายใจเข้า สําเหนียกอยู่ ว่า เราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ว่า เราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่า เราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียรรู้สึกตัว มีสติกําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตไม่กล่าว (ว่ามี) อานาปานสติสําหรับภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่. เพราะฉะนั้นแลในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสําเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สําเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกําหนัด หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกําหนัด หายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความดับกิเลส หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความดับกิเลสหายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลสหายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่. เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉย ได้ดี.เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบําเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 371

เจริญสติปัฏฐาน ๔ อย่างไร โพชฌงค์ ๗ จึงจะบริบูรณ์

[๒๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทําให้มากแล้วอย่างไร จึงจะให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ได้?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้นสติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผอเรอ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผอเรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้นจะถึงความเจริญและความบริบูรณ์เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้นธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์ เธอเมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้นวิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์. ปีติปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 372

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติ-สัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติทั้งกายทั้งจิตก็ระงับได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติระงับได้ ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้วสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์. สมัยนั้น ปัสสัทธิ-สัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์. ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข จิตก็ตั้งมั่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์. สมัยนั้น สมาธ- ิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์. ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นให้เฉยได้เป็นอย่างดี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นให้เฉยได้เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว. สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนามีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าตั้งไว้แล้วไม่เผอเรอ...

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 373

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้นสติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผอเรอ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใดภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผอเรอ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผอเรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์. เมื่อเธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้นวิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นวิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์. ปีติปราศจากอามิส ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 374

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ในสมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์. ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์. ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ทั้งกายทั้งจิตก็ระงับได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติระงับได้ในสมัยนั้น. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้วสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์. สมัยนั้น ปัสสัทธิ-สัมโพชฌงค์ของภิกษุ ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์. ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข จิตก็ตั้งมั่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุขย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้วสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์. สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นให้เฉยได้เป็นอย่างดี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นให้เฉยได้เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์. สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบําเพ็ญโพชฌงค์๗ ให้บริบูรณ์ได้.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 375

เจริญโพชฌงค์๗ อย่างไร วิชชาและวิมุตติจึงจะบริบูรณ์

[๒๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์๗ แล้วอย่างไรทําให้มากแล้วอย่างไร จึงบําเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ ที่น้อมไปเพื่อความปลดปล่อยย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ ที่น้อมไปเพื่อความปลดปล่อย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์๗ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบําเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ อานาปานสติสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 376

อรรถกถาอานาปานสติสูตร

อานาปานสติสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฺเหิจ ความว่า พร้อมกับพระสาวกเป็นอันมากผู้มีชื่อเสียง แม้เหล่าอื่น ยกเว้นพระเถระ ๑๐ รูปที่มาในพระบาลี. ว่ากันว่า ในคราวนั้น ได้มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ นับจํานวนไม่ได้.

บทว่า โอวทนฺติ อนุสาสนฺติ ความว่า สงเคราะห์ด้วยการสงเคราะห์๒ ประการ คือ สงเคราะห์ด้วยอามิส สงเคราะห์ด้วยธรรม แล้วโอวาทและพร่ําสอนด้วยการให้โอวาทและพร่ําสอนกรรมฐาน. จ อักษรในบทว่า เต จ นี้ เป็นเพียงอาคมสนธิ. บทว่า อุฬารํ ปุพฺเพนาปรํ วิเสสํสฺชานนฺติ ความว่า ย่อมรู้คุณวิเศษมีกสิณบริกรรมเป็นต้นอื่น ที่โอฬารกว่าคุณพิเศษเบื้องต้น มีความบริบูรณ์แห่งศีลเป็นต้น.

บทว่า อารทฺโธแปลว่ายินดีแล้ว. บทว่า อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยาคือ เพื่อบรรลุพระอรหัตที่ยังไม่ได้บรรลุ แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็มีเนื้อความดังกล่าวนี้เหมือนกัน ดิถีที่มีพระจันทร์เพ็ญครบ ๔ เดือน ท้ายเดือน ๑๒ชื่อว่า โกมุทีจาตุมาลินี. แท้จริงดิถีนั้น ชื่อว่า โกมุที เพราะมีดอกโกมุทบาน. เรียกว่า จาตุมาสินี (ครบ ๔ เดือน) เพราะเป็นวันสุดท้ายของเดือนอันมีในฤดูฝน ๔ เดือน. บทว่า อาคเมสฺสามิ ความว่า เราจักคอยอธิบายว่า เราปวารณาในวันนี้แล้วยังไม่ไป๑ที่ไหน จักอยู่ในที่นี้แหละจนกว่าดิถีนั้น (คือวันเพ็ญเดือน ๑๒) จะมาถึง.พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตปวารณาสงเคราะห์ (สงเคราะห์ด้วยปวารณากรรม) แก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการดังนี้ จึงได้ตรัสอย่างนั้น.


๑. บาลีเป็น อาคนฺตฺวา ฉบับพม่า เป็น อคนฺตฺวา แปลตามคําหลัง.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 377

ธรรมดาปวารณาสงเคราะห์ สงฆ์ย่อมให้ด้วยญัตติทุติยกรรม.

ถามว่า ปวารณาสงเคราะห์นี้สงฆ์จะให้แก่ใคร ไม่ให้แก่ใคร?

ตอบว่า เบื้องต้น ไม่ให้แก่พาลปุถุชนผู้ไม่ใช่การกบุคคล ภิกษุผู้เริ่มบําเพ็ญวิปัสสนา และพระอริยสาวก ก็ไม่ให้เหมือนกัน อนึ่ง ไม่ให้แก่ภิกษุผู้มีสมถะหรือวิปัสสนายังอ่อน. ในคราวนั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงพิจารณาวาระจิตของภิกษุทั้งหลาย ทรงทราบว่าสมถะและวิปัสสนายังอ่อน จึงทรงพระดําริว่า เมื่อเราไม่ปวารณาในวันนี้ ภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้ว จักเที่ยวไปในกรุงสาวัตถีนี้ (ต่างรูปต่างไป) ในทิศทั้งหลายแต่นั้นภิกษุเหล่านี้จักไม่สามารทําคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้ ในเมื่อภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษากว่า ถือเอาเสนาสนะเสียเต็มหมด (ธรรมเนียมที่ทรงอนุญาตให้ผู้แก่พรรษากว่าจับจองเสนาสนะได้ก่อน) ถ้าแม้เราออกจาริกไป ภิกษุเหล่านี้ก็จักหาสถานที่อยู่ได้ยาก แต่เมื่อเราไม่ปวารณา แม้ภิกษุเหล่านี้จักไม่เที่ยวไปตลอดกรุงสาวัตถีนี้ แม้เราก็จักยังไม่ออกจาริก เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุเหล่านี้ก็จักไม่เป็นกังวล (เรื่อง) สถานที่อยู่ เธอทั้งหลายจักอยู่เป็นผาสุกในสถานที่อยู่ของตนๆ สามารถเพื่อจะทําสมถะและวิปัสสนาให้แก่กล้า แล้วยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้. พระองค์จึงไม่ทรงทําปวารณาในวันนั้น ทรงอนุญาตปวารณาสงเคราะห์แก่ภิกษุทั้งหลายว่า เราจักปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ก็เมื่อภิกษุทั้งหลายได้ปวารณาสงเคราะห์แล้ว อาจารย์และอุปัชฌาย์ของภิกษุรูปใด ผู้ยังถือนิสัย พากันหลีกไปเสีย แม้ภิกษุรูปนั้นก็จะอยู่ได้จนถึงเดือนสุดท้ายของฤดูร้อน ด้วยความหวังว่า ถ้า (จักมี) ภิกษุผู้สมควรให้นิสัยมา เราจักถือนิสัยในสํานักของภิกษุนั้น. ถึงแม้จะมีภิกษุ ๖๐ พรรษามา ก็จะถือเอาเสนาสนะของเธอไม่ได้. ก็แหละปวารณาสงเคราะห์ นี้แม้จะให้แก่ภิกษุรูปเดียว ก็ย่อมเป็นการให้แก่ภิกษุทุกรูปทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 378

บทว่า สาวตฺถึ โอสรนฺติ นี้ ตรัสโดยถือพวกผู้อยู่ได้เดือนหนึ่งตามภาวะของตน ในที่ที่พอได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประปวารณาสงเคราะห์ จึงพากันทําอุโบสถกรรม ในวันเพ็ญเดือน ๑๑ แล้วพากันหลั่งไหลมา บทว่า ปุพฺเพนาปรํ ความว่า ภิกษุทั้งหลายกระทํากรรมในสมถะและวิปัสสนาที่ยังอ่อน ได้ทําให้สมถะและวิปัสสนาทั้งหลายมีกําลังขึ้นในที่นี้ นี้ชื่อว่าคุณวิเศษในกาลก่อน. ต่อแต่นั้นภิกษุทั้งหลายมีจิตตั้งมั่นพิจารณาสังขารทั้งหลาย บางเหล่าทําให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ บางเหล่าทําให้แจ้งอรหัตตผล. นี้ชื่อว่า คุณวิเศษอันกว้างขวางยิ่ง.

บทว่า อลํ แปลว่า ควร. บทว่า โยชนคณนานิ ความว่าโยชน์เดียวก็เรียกว่าโยชน์เหมือนกัน แม้๑๐ โยชน์ก็เรียกว่าโยชน์เหมือนกันเกินกว่านั้นเรียกว้า โยชนคณนานิ (นับเป็นโยชน์ๆ) แต่ในที่นี้ประสงค์เอาร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง เสบียงสําหรับผู้เดินทาง ท่านเรียกว่า ปูโฏสในคําว่า ปูโฏเสนาปิ อธิบายว่า แม้การถือเอาเสบียงนั้นเข้าไปหาก็ควรแท้.ปาฐะว่า ปูฏํ เสน ดังนี้ก็มี อธิบายความของปาฐะนั้นว่า ชื่อว่า ปูฏํ ส (ผู้มีเสบียงคล้องบ่า) เพราะที่บ่าของเขามีเสบียงอันบุคคลผู้มีเสบียงคล้องบ่านั้นอธิบายว่า แม้เอาห่อเสบียงสพายบ่า.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายเห็นปานนี้ มีอยู่ ในที่นี้ จึงตรัสคํามีอาทิว่า สนฺติ ภิกฺขเว ดังนี้ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุนฺน สติปฏานานํ ดังนี้เป็นต้น ตรัสเพื่อทรงแสดงกรรมฐานที่ภิกษุทั้งหลายนั้นสนใจมาก บรรดาธรรมเหล่านั้น ตรัสโพธิ-ปักขิยธรรม ๓๗ ประการอันเป็นทั้งโลกิยะ และโลกุตระ ก็ในข้อนั้น ภิกษุเหล่าใดยังมรรคให้เกิดในขณะนั้น โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นย่อมเป็นโลกุตระสําหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เป็นโลกิยะสําหรับภิกษุทั้งหลายผู้เจริญวิปัสสนา.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 379

ในบทว่า อนิจฺจสฺาภาวนานุโยคํ นี้ ตรัสวิปัสสนาโดยมีสัญญาเป็นตัวการสําคัญ. ก็เพราะเหตุที่ในที่นี้ภิกษุทั้งหลายสนใจมาก ด้วยอํานาจแห่ง อานาปานกรรมฐานเท่านั้น มี (จํานวน) มาก เพราะฉะนั้นเมื่อจะตรัสกรรมฐานที่เหลือโดยสังเขป แล้วตรัสอานาปานกรรมฐานโดยพิสดาร จึงตรัสคําว่า อานาปานสติ ภิกฺขเว เป็นต้นไป ก็อานาปานกรรมฐานนี้ ได้กล่าวไว้อย่างพิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคโดยอาการทั้งปวงเพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความแห่งพระบาลี และนัยแห่งการเจริญอานาปานกรรมฐานนั้น โดยนัยดังกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นนั่นเทอญ.

บทว่า กายฺตรํ ความว่า เรากล่าวกายชนิดหนึ่งในบรรดากาย๔ มีปฐวีกายเป็นต้น อธิบายว่า เรากล่าวลมว่าเป็นกาย. อีกอย่างหนึ่งโกฏฐาสแห่งรูป ๒๕ คือ รูปายตนะฯลฯ กวฬิงการาหาร ชื่อว่ารูปกายบรรดาโกฏฐาสแห่งรูป ๒๕ นั้น อานาปนะ (ลมหายใจออกลมหายใจเข้า) เป็นกายชนิดหนึ่ง เพราะสงเคราะห์เข้าใน โผฏฐัพพายตนะ แม้เพราะเหตุนั้นจึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า ตสฺมาติห ความว่า เพราะเหตุที่ภิกษุย่อมตามเห็นวาโยกายอันเป็นกายอย่างหนึ่งในกาย ๔ หรือย่อมตามเห็นอานาปานะอันเป็นกายอย่างหนึ่งในโกฏฐาสแห่งรูป ๒๕ อันเป็นรูปกาย เพราะฉะนั้น จึงเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย. พึงทราบเนื้อความในที่ทุกๆ บทเหมือนอย่างนั้น. บทว่า เวทนาฺตรํ นี้ ตรัสหมายเอาสุขเวทนาอย่างหนึ่งในเวทนา๓. บทว่า สาธุกํ มนสิการํ ได้แก่การใส่ใจดีอันเกิดขึ้นแล้วด้วยอํานาจแห่งการกําหนดรู้ปีติเป็นต้น.

ก็การใส่ใจเป็นสุขเวทนาได้อย่างไร? ก็คํานี้เป็นหัวข้อเทศนา.เหมือนอย่างว่า ตรัสปัญญาโดยชื่อว่าสัญญาในคํานี้ว่า อนิจฺจสฺาภาวนานุโยคมนุยุติโต (ประกอบความเพียรในการอบรมอนิจจสัญญา) ดังนี้ฉันใด

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 380

แม้ในที่นี้ก็พึงทราบว่าตรัสเวทนาโดยชื่อว่า มนสิการ (การใส่ใจ) ฉันนั้นก็ในจตุกกะนี้ ตรัสเวทนาไว้ในบทที่ ๑ โดยหัวข้อว่า ปีติ. ตรัสเวทนาโดยรูปของตนเองว่า สุข ในบทที่ ๒. ในจิตตสังขารทั้ง ๒ บท ตรัสเวทนาไว้โดยชื่อว่า จิตตสังขาร เพราะพระบาลีว่า สัญญาและเวทนาเป็นเจตสิกธรรมเหล่านั้นเนื่องกับจิต ปรุงแต่งจิต (และ) เพราะพระบาลีว่า เว้นวิตกและวิจารเสีย ธรรมที่ประกอบพร้อมกับจิตแม้ทั้งหมด สงเคราะห์ลงในจิตตสังขาร. ทรงรวมเอาเวทนานั้นทั้งหมดโดยชื่อว่า มนสิการแล้วตรัสไว้ในที่นี้ว่า สาธุกํ มนสิการํ ดังนี้.

ถามว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุที่เวทนานี้ ไม่เป็นอารมณ์เพราะฉะนั้น เวทนาจึงไม่ถูกต้อง?

ตอบว่า ไม่ใช่ไม่ถูก เพราะแม้ในการพรรณนาสติปัฏฐานก็กล่าวว่าเวทนาย่อมเสวย (อารมณ์) เพราะทําที่ตั้งแห่งเวทนามีสุขเป็นต้นนั้นๆ ให้เป็นอารมณ์ ก็เพราะถือเอาความเป็นไปของเวทนาดังกล่าวนั้น คําที่ว่า เราเสวยอารมณ์ย่อมเป็นสักแต่ว่าพูดกันไป. อีกอย่างหนึ่ง ในการพรรณนาเนื้อความของบทว่า ปีติปฏิสํ เวทีเป็นต้น ท่านได้กล่าวเฉลยคําถามนั้นไว้แล้วทีเดียว.

สมจริงดังคําที่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า ปีติย่อมเป็นอันกําหนดรู้แล้วโดยอาการ ๒ อย่าง คือ โดยอารมณ์ ๑ โดยความไม่หลง ๑

ปีติย่อมเป็นอันกําหนดรู้แล้ว โดยอารมณ์อย่างไร

พระโยคีเข้าฌาน ๒ ฌาน (คือปฐมฌาน ทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ ในขณะที่พระโยคีนั้นเข้าสมาบัติ ปีติย่อมเป็นอันรู้แล้วโดยอารมณ์ ด้วยการได้ฌาน เพราะได้กําหนดรู้อารมณ์.

ปีติย่อมเป็นอันได้กําหนดรู้ โดยความไม่หลงอย่างไร

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 381

พระโยคีเข้าฌาน ๒ ฌานอันมีปีติ ออกจากฌานแล้วพิจารณาปีติอันสัมปยุตด้วยฌานโดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป ในขณะที่พระโยคีนั้นเห็นแจ้ง ปีติย่อมเป็นอันกําหนดรู้แล้วโดยความไม่หลง เพราะแทงตลอดไตรลักษณ์.

สมจริงดังที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรคว่า สติย่อมปรากฏแก่พระโยคีผู้รู้ทั่วถึงความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (แน่วแน่) ไม่ฟุ้งซ่าน เนื่องด้วยการหายใจเข้าออกยาว ปีตินั้นย่อมเป็นอันกําหนดรู้ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น. แม้บทที่เหลือ ก็พึงทราบความหมายโดยนัยนี้นั้นแล.ดังกล่าวมานั้น ปีติ สุข และจิตตสังขารย่อมเป็นอันกําหนดรู้โดยอารมณ์เพราะการได้ฌาน ฉันใด เวทนาย่อมเป็นอันกําหนดรู้โดยอารมณ์ เพราะการได้มนสิการ (การใส่ใจ) กล่าวคือ เวทนาอันสัมปยุตด้วยฌานแม้นี้ ก็ฉันนั้น.เพราะฉะนั้น คํานี้นั้นว่า ในสมัยนั้น ภิกษุมีปกติตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ จึงเป็นอันตรัสดีแล้ว.

ในคํานี้ที่ว่า นาหํ ภิกฺขเว มุฏสฺสติสฺส อสมฺปชานสฺส ดังนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้: -

เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ประพฤติโดยนัยเป็นต้นว่า เราจักกําหนดรู้จิตหายใจเข้า ดังนี้ชื่อว่า ทําอัสสาสปัสสาสนิมิตให้เป็นอารมณ์ก็จริงอยู่ แต่ถึงกระนั้นภิกษุนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตเหมือนกัน เพราะจิตของภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติและสัมปชัญญะในอารมณ์เป็นไป เพราะอานาปานสติภาวนาย่อมไม่มีแก่ผู้มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว เพราะฉะนั้นในสมัยนั้น ภิกษุย่อมเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่ ด้วยอํานาจความเป็นผู้กําหนดรู้จิตเป็นต้นโดยอารมณ์.ในคํานี้ที่ว่า โส ยนฺตํ อภิชฺฌาโทมนสฺสานํ ปหานํ ตํ ปฺาย

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 382

ทิสฺวา สาธุกํ อชฌเปกฺขิตา โหติ (ภิกษุนั้นเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญา ย่อมเป็นผู้วางเฉยเป็นอันดี) ดังนี้ ทรงแสดง กามฉันทนิวรณ์ ด้วยอภิชฌา ทรงแสดงพยาบาทนิวรณ์ ด้วยโทมนัส. ก็๔ หมวดนี้ ตรัสด้วยอํานาจวิปัสสนาเท่านั้น.

ก็ธัมมานุปัสสนามี๖ อย่าง ด้วยอํานาจนิวรณบรรพ (คือการแบ่งเป็นข้อมีข้อที่ว่าด้วยนิวรณ์) เป็นต้น นิวรณบรรพเป็นข้อต้นของธัมมานุปัสสนานั้น นิวรณ์๒ อย่างนี้ (คืออภิชฌาและโทมนัส) เป็นข้อต้นของธัมมานุปัสสนานั้น ดังนั้น เพื่อจะแสดงข้อต้นของธัมมานุปัสสนา จึงตรัสว่า อภิชฺฌาโทมนสฺสานํ ดังนี้ บทว่า ปหานํ ท่านประสงค์เอาญาณเป็นเครื่องทําการละอย่างนี้ว่าละนิจจสัญญา (ความหมายว่าเที่ยง) ด้วยอนิจจานุปัสสนา (การตามเห็นความไม่เที่ยง) ด้วยบทว่า ตํ ปฺายทิสฺวา ท่านแสดงวิปัสสนาที่สืบต่อกันอย่างนี้ คือ (แสดง) ปหาน-าณ นั้น กล่าวคือ อนิจจญาณ. วิราคญาณ. นิโรธญาณ. และปฏินิลสัคคญาณนั้น ด้วยวิปัสสนาปัญญาอื่นอีก แสดงปหานญาณแม้นั้นด้วยวิปัสสนาปัญญาอื่นอีกต่อไป. บทว่า อชฺฌุเปกฺขิตา โหติ ความว่าชื่อว่าย่อมเพ่งดูโดยส่วนสอง คือ เพ่งดูผู้ปฏิบัติสมถะและเพ่งดูความปรากฏรวมกัน ในการเพ่งดูสองส่วนนั้น การเพ่งดูสหชาตธรรม ก็มี การเพ่งดูอารมณ์ก็มีในที่นี้ประสงค์เอาการเพ่งดูอารมณ์. บทว่า ตสฺมาติห ภิกฺขเวความว่า เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ประพฤติโดยนัยเป็นต้นว่า เราจักตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก ย่อมเป็นผู้เห็นธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นแล้วเพ่งดูอย่างเดียวหามิได้แต่แม้ญาณเป็นเครื่องละธรรมทั้งหลายที่กล่าวโดยหัวข้อ คืออภิชฌาและโทมนัส ก็ย่อมเป็นของอันภิกษุเห็นด้วยปัญญาแล้วเพ่งดูอยู่. เพราะ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 383

ฉะนั้น พึงทราบว่า ภิกษุมีปกติตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ในสมัยนั้น.

บทว่า ปวิจินติ ได้แก่ ย่อมไตร่ตรอง ด้วยอนิจจลักษณะเป็นต้น.สองบทนอกนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า ปวิจินตินี้นั่นแหละ. บทว่า นิรามิสาแปลว่า หมดกิเลส. บทว่า ปสุสมฺภติ ความว่า เพราะกิเลสทางกายและทางใจสงบ แม้กายและจิตก็ย่อมสงบ บทว่า สมาธิยติ ได้แก่ ตั้งไว้โดยชอบ คือ เป็นเหมือนถึงความแนบแน่น (อัปปนา) . บทว่า อชฺฌุเปกฺขิตาโหติ ความว่า ย่อมเป็นผู้เพ่งดูด้วยการเพ่งดูสหชาตธรรม.

สติในกายนั้นของภิกษุนั้น ผู้กําหนดกายด้วยอาการ ๑๔ อย่างด้วยประการอย่างนี้ เป็นสติสัมโพชฌงค์. ญาณอันสัมปยุตด้วยสติ เป็นธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์. ความเพียรทางกายและทางใจอันสัมปยุตด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นนั่นแหละ เป็น วิริยสัมโพชฌงค์. ปีติ ปัสสัทธิและเอกัคคตาจิต เป็น สมาธิสัมโพชฌงค์ อาการเป็นกลางๆ กล่าวคือสัมโพชฌงค์๖ ประการ ดังพรรณนามานี้ ไม่ถดถอยและไม่ดําเนินเกินไปเป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เหมือนอย่างว่า เมื่อม้าทั้งหลายวิ่งไปได้เรียบสารถีย่อมไม่มีการกระตุ้นว่า ม้านี้วิ่งช้า หรือไม่มีการรั้งไว้ว่า ม้านี้วิ่งเร็วไปสารถีจะมีอาการมองดูอย่างนั้นอย่างเดียวเท่านั้น ฉันใด อาการเป็นกลางๆ กล่าวคือสัมโพชฌงค์ ๖ ประการเหล่านี้ไม่ถดถอยและไม่ดําเนินเกินไป เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ ย่อมชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์.

ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ท่านกล่าวถึงอะไร?

กล่าวถึงวิปัสสนา พร้อมด้วยลักษณะต่างๆ ที่เป็นชั่วขณะจิตเดียวว่า ชื่อว่าสัมโพชฌงค์ บทเป็นต้นว่า วิเวกนิสฺสิตํ มีเนื้อความดังกล่าว

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 384

แล้วนั่นแล. ก็ในที่นี้ สติกําหนดลมหายใจเข้าออกเป็นโลกิยะ. อานาปานสติอันเป็นโลกิยะ ย่อมทําสติปัฏฐานอันเป็นโลกิยะให้บริบูรณ์ โลกิยสติ-ปัฏฐานทําโลกุตรโพชฌงค์ให้บริบูรณ์ โลกุตรโพชฌงค์ทํา วิชชาวิมุตติ ผล และนิพพานให้บริบูรณ์. ดังนั้น จึงเป็นอันท่านกล่าวถึงโลกิยะในอาคตสถานของโลกิยะ กล่าวถึงโลกุตระในอาคตสถานของโลกตระแล. ล้วนพระเถระกล่าวว่า ในสูตรอื่นเป็นอย่างนั้น แต่ในสูตรนี้ โลกุตระจะมาข้างหน้า (ต่อไป) โลกิยอานาปานะทําโลกิยสติปัฏฐานให้บริบูรณ์ โลกิยสติปัฏฐานทําโลกิยโพชฌงค์ให้บริบูรณ์ โลกิยโพชฌงค์ทําวิชชาวิมุตติ ผล และนิพพานอันเป็นโลกุตระให้บริบูรณ์. เพราะในพระสูตรนี้วิชชา ผล และนิพพาน ท่านประสงค์เอาด้วยบทว่า วิชชาและวิมุตติแล.

จบ อรรถกถาอานาปานสติสูตรที่ ๘