พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. กายคตาสติสูตร วิธีเจริญกายคตาสติที่มีผลมาก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36124
อ่าน  884

[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 385

๙. กายคตาสติสูตร

วิธีเจริญกายคตาสติที่มีผลมาก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 22]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 385

๙. กายคตาสติสูตร

วิธีเจริญกายคตาสติที่มีผลมาก

[๒๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายน่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ว่ามีผลานิสงส์มากนี้ ข้อสนทนากันในระหว่างของภิกษุเหล่านั้น ค้างอยู่เพียงเท่านี้แล.

[๒๙๒] ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จออกจากสถานที่ทรงหลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลานั้น ครั้นแล้วจึงประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันเรื่องอะไรและพวกเธอสนทนาเรื่องอะไรค้างอยู่ในระหว่าง.

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ โอกาสนี้ พวกข้าพระองค์กลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั่งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ผู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสกายคตา-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 386

สติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ว่ามีผลอานิสงส์มากนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อสนทนากัน ในระหว่างของพวกข้าพระองค์ได้ค้างอยู่เพียงนี้ พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จมาถึง.

วิธีเจริญกายคตาสติที่มีผลานิสงส์มาก

[๒๙๔] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กายคตาสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทําให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลอานิสงส์มาก?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่ควงไม้ก็ดี อยู่ในเรือนร้างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดํารงสติมั่นเฉพาะหน้า.เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น. สําเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออกว่าเราจักเป็นผู้กําหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า. สําเหนียกอยู่ว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า. เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความดําริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้. เพราะละความดําริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.

[๒๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่ากําลังเดิน หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากําลังยืน หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากําลังนั่งหรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากําลังนอน. หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆ อยู่ ก็รู้ชัดว่ากําลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 387

ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดําริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้.เพราะละความดําริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.

[๒๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งกลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทําความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลา เดินยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดําริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้. เพราะละความดําริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.

[๒๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา ข้างล่างแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้คือ ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูกเยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืดไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด น้ำเหลืองเลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปากทั้งสองข้าง เต็มไปด้วยธัญชาตินานาชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วทอง งา และข้าวสาร บุรุษผู้มีตาดี แก้ไถ้นั้นออกแล้วพึงเห็นได้ว่านี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเหลือง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 388

นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างแต่ปลายผมลงมามีหนึ่งหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ ในกายนี้คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้ามหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่าดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูกไขข้อ มูตร เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดําริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้ เพราะละความดําริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.

[๒๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดํารงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้คือ ธาตุดินธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโค ผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งเป็นส่วนๆ ใกล้ทางใหญ่๔ แยก ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดํารงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม. เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความดําริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดําริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดงขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 389

[๒๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า อันตายได้วันหนึ่ง หรือสองวัน หรือสามวัน ที่ขึ้นพองเขียวช้ำมีน้ำเหลืองเยิ้ม จึงนําเขามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แลก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป ในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดําริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดําริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ.

[๓๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขป่ากัดกินอยู่บ้าง สัตว์เล็กสัตว์น้อยต่างๆ ชนิดย่อมกินอยู่บ้าง จึงนําเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แลก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป ในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดําริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้. เพราะละความดําริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้นย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ.

[๓๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างอยู่ด้วยกระดูก มีทั้งเนื้อและเลือดเส้นเอ็นผูกรัดไว้...

เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูกไม่มีเนื้อ มีแต่เลือดเปรอะเปื้อนอยู่ เส้นเอ็นยังผูกรัดไว้...

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 390

เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว แต่เส้นเอ็นยังผูกรัดอยู่...

เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นท่อนกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นเครื่องผูกรัดแล้ว กระจัดกระจายไปทั่วทิศต่างๆ คือ กระดูกมืออยู่ทางหนึ่ง กระดูกเท้าอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าขาอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสะเอวอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสันหลังอยู่ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางหนึ่งกระดูกหน้าอกอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแขนอยู่ทางหนึ่ง กระดูกไหล่อยู่ทางหนึ่งกระดูกคออยู่ทางหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางหนึ่ง กระดูกฟันอยู่ทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะอยู่ทางหนึ่ง จึงนําเข้ามาเปรียบเทียบกับกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้. เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป ในธรรมอย่างนี้ ย่อมละความดําริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้ เพราะละความดําริพล่านนั้นได้จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.

[๓๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นแต่กระดูก สีขาวเปรียบดังสีสังข์...

เห็นศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นท่อนกระดูกเรี่ยราดเป็นกองๆ มีอายุเกินปีหนึ่ง...

เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นแต่กระดูกผุเป็นจุณ จึงนําเข้ามาเปรียบเทียบกับกายนี้ว่า แม้กายนี้แลก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียรส่งตนไปในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความดําริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้เพราะละความดําริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 391

เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ.

[๓๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอยังกายนี้แล ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือของพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด โรยจุณสําหรับสรงสนานลงในภาชนะสําริดแล้ว เคล้าด้วยน้ำให้เป็นก้อนๆ ก้อนจุณสําหรับสรงสนานนั้นมียางซึมเคลือบ จึงจับกันทั้งข้างในข้างนอกและกลายเป็นผลึกด้วยยาง ฉันใดดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุกเคล้าบริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุข เกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง. เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาทมีความเพียร ส่งตนไปในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความดําริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้. เพราะละความดําริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้นย่อมคงที่แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.

[๓๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอยังกายนี้แล ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง. ดูก่อนภิกษุ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 392

ทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำพุ ไม่มีทางระบายน้ำทั้งในทิศตะวันออกทั้งในทิศตะวันตก ทั้งในทิศเหนือ ทั้งในทิศใต้เลย และฝนก็ยังไม่หลั่งสายน้ำโดยชอบตามฤดูกาล ขณะนั้นแล ธารน้ำเย็นจะพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้น แล้วทําห้วงน้ำนั้นเอง ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งห้วงน้ำทุกส่วนนั้นที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใดดูก่อนภิกษุทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง. เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียรส่งตนไปในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความดําริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้.เพราะละความดําริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.

[๓๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกายย่อมเข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ เธอยังกายนี้แลให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว แต่ละชนิดในกอบัวขาบ หรือในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว เกิดแล้วในน้ำ เนื่องอยู่ในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ คลุก เคล้า บริบูรณ์ซึมซาบด้วยน้ำเย็นจนถึงยอดและเง่า ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดู

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 393

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุก ส่วนของเธอที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง. เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความ เพียร ส่งตนไปแล้วในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความดําริพล่านที่อาศัย เรือนเสียได้. เพราะละความดําริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่งเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ.

[๓๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัส ก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เธอย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์ ผุดผ่องแผ่ไปทั่วกายนี้แล ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ใจอัน บริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนบุรุษนั่งเอาผ้า ขาวคลุมตลอดทั้งศีรษะ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของบุรุษนั้นที่ผ้า ขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุ ย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องแผ่ไปทั่วกายนี้แล ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง เมื่อภิกษุนั้นไม่ ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปแล้ว ในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความ ดําริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดําริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็น ไปภายในเท่านั้นย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ.

[๓๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติ แล้ว ทําให้มากแล้ว ชื่อว่าเจริญและทําให้มากซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่าง

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 394

ใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลไรๆ ก็ตาม นึกถึงมหาสมุทรด้วยใจแล้ว ชื่อว่านึกถึงแม่น้ำน้อยที่ไหลมาสู่สมุทรสายใดสายหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายฉันนั้นก็เหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทําให้มากแล้วชื่อว่าเจริญและทําให้มาก ซึ่ง กุศลธรรมส่วนวิชชา อย่างใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย.

ผู้ไม่เจริญกายคตาสติมารจะได้ช่อง

[๓๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทําให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเหวี่ยงก้อนศิลาหนักไปที่กองดินเหนียวที่เปียก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสําคัญความนั้นเป็นไฉน? ก้อนศิลาหนักนั้น จะพึงได้ช่องในกองดินเปียก (เจาะให้เป็นรู) บ้างไหม?

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ได้ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามไม่เจริญ ไม่ทําให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์

[๓๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะ จึงมีบุรุษมาถือเอาเป็นไม้สีไฟด้วยตั้งใจว่าจักติดไฟ จักก่อไฟ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะสําคัญความข้อนี้เป็นไฉน? บุรุษนั้นถือเอาไม้แห้งเกราะโน้นเป็นไม้สีไฟแล้วสีกันไป จะพึงติดไฟ จะพึงก่อไฟ ได้บ้างไหม?

ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามไม่เจริญ ไม่ทําให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 395

เจริญกายคตาสติชื่อว่าเจริญกุศลธรรมฝ่ายวิชชา

[๓๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อน้ำว่างเปล่าอันเขาตั้งไว้บนเซิงรอง. จึงมีบุรุษมาถือเอาเป็นเครื่องตักน้ำ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? บุรุษนั้นจะพึงได้น้ำเก็บไว้บ้างไหม?

ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามไม่เจริญ ไม่ทําให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์.

ผู้เจริญกายคตาสติมารไม่ได้ช่อง

[๓๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้วทําให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนบุรุษโยนกลุ่มด้ายเบาๆ ลงบนแผ่นกระดานเรียบอันสําเร็จด้วยไม้แก่นล้วน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?บุรุษนั้นจะพึงได้ช่อง บนแผ่นกระดานเรียบอันสําเร็จด้วยไม้แก่นล้วน (จาก) กลุ่มด้ายเบาๆ นั้น บ้างไหม?

ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามเจริญกายคตาสติแล้ว ทําให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์.

[๓๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้สดมียาง จึงมีบุรุษมาถือเอาเป็นไม้สีไฟด้วยตั้งใจว่า จักติดไฟ จักก่อไฟ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นถือเอาไม้สดมียางโน้นเป็นไม้สีไฟแล้วสีกันไป จะพึงติดไฟ จะพึงก่อไฟได้บ้างไหม

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 396

ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามเจริญกายคตาสติแล้ว ทําให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์.

เปรียบเทียบผู้เจริญกายคตาสติเหมือนหม้อน้ำเต็ม

[๓๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อน้ำ มีน้ำเต็มเปียมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้อันเขาตั้งไว้บนเชิงรอง. จึงมีบุรุษมาถือเอาเป็นเครื่องตักน้ำ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?บุรุษนั้นจะพึงได้น้ำเก็บไว้ บ้างไหม?

ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามเจริญกายคตาสติแล้ว ทําให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์.

[๓๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทําให้มากแล้ว เธอน้อมจิตไปในธรรมใดๆ ที่ควรทําให้แจ้งด้วยอภิญญาจะถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมนั้นๆ นั่นแหละ เพราะการทําให้แจ้งด้วยอภิญญาได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนหม้อน้ำมีน้ำเต็มเปียมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้ อันเขาตั้งไว้บนเชิงรองบุรุษมีกําลังมายังหม้อน้ำนั้นโดยทางใดๆ จะพึงมาถึงน้ำโดยทางนั้นๆ ได้หรือ?

ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามเจริญกายคตาสติแล้ว ทําให้มากแล้ว เธอน้อมจิตไปในธรรมใดๆ ที่ควรทําให้แจ้งด้วยอภิญญา จะถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมนั้นๆ นั่นแหละเพราะการทําให้แจ้งด้วยอภิญญาได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 397

เปรียบเทียบผู้เจริญกายคตาสติเหมือนสระโบกขรณี

[๓๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสระโบกขรณีสี่เหลี่ยมในภูมิภาคที่ราบ เขาพูนคันไว้ มีน้ำเต็มเปียมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้บุรุษมีกําลังเจาะคันสระโบกขรณีนั้นทางด้านใดๆ น้ำจะพึงไหลมาทางด้านนั้นๆ ได้หรือ?

ภิ. ไหลมาได้ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามเจริญกายคตาสติแล้ว ทําให้มากแล้ว เธอน้อมจิตไปในธรรมใดๆ ที่ควรทําให้แจ้งด้วยอภิญญา จะถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมนั้นๆ นั่นแหละ เพราะการกระทําให้แจ้งด้วยอภิญญาได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ.

เปรียบเทียบผู้เจริญกายคตาสติเหมือนสารถีขับรถ

[๓๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนรถม้าอาชาไนยเขาเทียมม้าแล้ว มีแส้เสียบไว้ในที่ระหว่างม้าทั้งสองจอดอยู่บนพื้นที่เรียบตรงทางใหญ่ ๔แยก. นายสารถีผู้ฝึกม้า เป็นอาจารย์ขับขี่ผู้ฉลาด ขึ้นรถนั้นแล้ว มือซ้ายจับสายบังเหียน มือขวาจับแส้ ขับรถไปยังที่ปรารถนาได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้วทําให้มากแล้ว เธอย่อมน้อมจิตไปในธรรมใดๆ ที่ควรทําให้แจ้งด้วยอภิญญาจะถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมนั้นๆ นั่นแหละ เพราะการกระทําให้แจ้งด้วยอภิญญาได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 398

อานิสงส์การเจริญกายคตาสติ ๑๐ ประการ

[๓๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ทําให้เป็นยานแล้ว ทําให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดํารงอยู่เนืองๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ําเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์๑๐ ประการนี้ คือ

(๑) อดกลั้นต่อความยินร้ายและความยินดีได้ ไม่ถูกความยินร้ายครอบงํา ย่อมครอบงําความยินร้ายที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย.

(๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงํา ย่อมครอบงําภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย.

(๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อนความหิว ความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด. และสัตว์เสือกคลาน ต่อทํานองคําพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจําสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ เผ็ดร้อน ไม่ใช่ความสําราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้.

(๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัตคตจิต เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลําบาก.

(๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการคือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกําแพงนอกภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทําการผุดขึ้นและดําลงในแผ่นดินเหมือนน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศโดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้ ลูบคลําพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากปานฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อํานาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 399

(๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์.

(๗) ย่อมกําหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ คือจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคคตะ หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าจิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น.

(๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการคือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้างสิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้างร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏวิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกําหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้นเราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกําหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินี้แล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศเช่นนี้.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 400

(๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้.

(๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทําให้แจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญแล้วทําให้มากแล้ว ทําให้เป็นยานแล้ว ทําให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดํารงอยู่เนืองๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ําเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการได้ดังนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ กายคตาสติสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 401

อรรถกถากายคตาสติสูตร

กายคตาสติสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เคหสิตา ได้แก่ อาศัยกามคุณความดําริอันแล่นไป ชื่อว่า สรสงฺกปฺปา (ความดําริพล่าน) ก็ธรรมชาติชื่อ สร เพราะพล่านไป อธิบายว่าแล่นไป. บทว่าอชฺฌตฺตเมวความว่าในอารมณ์อันเป็นภายในเท่านั้น. บทว่ากายคตาสติได้แก่ สติอันกําหนด (พิจารณา) กายบ้าง มีกายเป็นอารมณ์บ้าง. เมื่อกล่าวว่า กําหนด (พิจารณา) กาย ย่อมเป็นอันกล่าวถึงสมถะ เมื่อกล่าวว่า มีกายเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นอันกล่าวถึงวิปัสสนา ย่อมเป็นอันกล่าวถึงทั้งสมถะ และวิปัสสนา ด้วยบททั้งสอง. ตรัสกายานุปัสสนา ๑๔ อย่าง ในมหาสติปัฏฐาน มีคําว่า ปุน จปรํ ฯเปฯ เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุกายคตํ สตึ๑ภาเวติ (ข้ออื่นยังมีอีก ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญกายคตาสติ อย่างนี้แล) ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า อนฺโตคธา ตสฺส ความว่า (กุศลธรรม) ย่อมเป็นอันรวมลงในภายในแห่งภาวนาของภิกษุนั้น. ในบทว่าวิชฺชาภาคิยา นี้มีอธิบายว่า ชื่อว่า ส่วนวิชชา เพราะส้องเสพ (คือได้) วิชชาด้วยอํานาจสัมปโยคดังนี้บ้าง. ชื่อว่า ส่วนวิชชา เพราะเป็นไปในส่วนวิชชา คือในกลุ่มวิชชาดังนี้บ้าง. ในกุศลธรรมอันเป็นส่วนวิชชานั้น วิชชา ๘ คือวิปัสสนาญาณ ๑มโนมยิทธิ๑ อภิญญา๖ ด้วยอรรถวิเคราะห์ข้อแรก แม้ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยวิชชา ๘ เหล่านั้น ก็เป็นส่วนแห่งวิชชา. (วิชชาภาคิยะ).ด้วยอรรถวิเคราะห์ข้อหลัง วิชชาอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงวิชชาเดียว ในบรรดาวิชชา ๘ เหล่านั้น ชื่อว่าวิชชา วิชชาที่เหลือทั้งหลายเป็นส่วนแห่ง


๑. ม. กายคตาสตึ.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 402

วิชชา. เมื่ออธิบายอย่างนี้ วิชชาก็ดี ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิชชาก็ดี พึงทราบว่า เป็นส่วนแห่งวิชชาทั้งนั้น. ในบทว่า เจตสา ผุโฏ นี้มีอธิบายว่า การแผ่มี๒ อย่าง คือ แผ่ด้วยอาโปกสิณ, แผ่ด้วยทิพยจักษุ, ในการแผ่ ๒ อย่างนั้น การเข้าอาโปกสิณแล้วแผ่ไปด้วยน้ำ ชื่อว่า แผ่ด้วยอาโปกสิณ แม่น้ำสายเล็กๆ (แคว) ที่ไหลลงสู่ทะเลทั้งหมด ย่อมเป็นอันรวมอยู่ภายในทะเลใหญ่ แม้ที่อาโปกสิณถูกต้องแล้วอย่างนี้. ส่วนการเจริญอาโลกกสิณแล้วแลดูทะเลทั้งหมดด้วยทิพยจักษุ ชื่อว่าแผ่ไปด้วยทิพยจักษุเมื่อทะเลใหญ่แม้ที่ทิพยจักษุถูกต้องแล้วอย่างนี้ แม่น้ำสายเล็กๆ ที่ไหลลงสู่ทะเลทั้งหมด ย่อมเป็นอันรวมอยู่ภายในทั้งนั้น.

บทว่า โอตารํ ได้แก่ ระหว่าง คือ ช่อง. บทว่า อารมฺมณํได้แก่ เป็นปัจจัยแห่งการบังเกิดกิเลส. บทว่า ลเภถ โอตารํ ความว่าพึงได้การเข้าไป อธิบายว่า พึงแทงตลอดไปจนถึงที่สุด.

บทว่า นิกฺเขปนํ ได้แก่ (เนื้อ) ที่ที่จะเก็บน้ำไว้.

ทรงเปรียบบุคคลผู้ไม่เจริญกายคตาสติ ด้วยกองดินเปียกเป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะทรงเปรียบบุคคลผู้เจริญกายคตาสติด้วยแผ่นไม้แก่นเป็นต้นจึงตรัสคําว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้เป็นต้นไป.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคฬผลกํ ได้แก่ บานประตู.

บทว่า กากเปยฺโย ความว่า อันกาจับที่ขอบปากแล้วก้มคอดื่มได้.

บทว่า อภิฺาสจฺฉิกรณียสฺส แปลว่า พึงทําให้แจ้งด้วยอภิญญา.

บทว่า สกฺขิพฺยตํ ปาปุณาติ ได้แก่ ถึงความประจักษ์. บทว่าสติ สติอายตเน คือ เมื่อเหตุแห่งสติมีอยู่.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 403

ถามว่า ก็อะไรเป็นเหตุในที่นี้.

ตอบว่า อภิญญานั่นแหละเป็นเหตุ.

บทว่า อาฬิพทฺธา ได้แก่ กั้นเขื่อน.

บทว่า ยานีกตาย คือ ทําให้เหมือนยานที่เทียมไว้แล้ว บทว่าวตฺถุกตาย คือ ทําให้เป็นที่พึ่งอาศัย (ที่จอด) . บทว่า อนุฏิตาย คือเป็นไปเนืองๆ . บทว่า ปริจิตาย คือ ทําการสั่งสมไว้. บทว่าสุสมารทฺธาย ได้แก่ ปรารภสม่ําเสมอดีแล้ว คือ ประคับประคองไว้อย่างดี. คําที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถากายคตาสติสูตรที่ ๙