พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. สังขารูปปัตติสูตร ว่าด้วยปฏิปทาให้สําเร็จความปรารถนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36125
อ่าน  1,072

[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 404

๑๐. สังขารูปปัตติสูตร

ว่าด้วยปฏิปทาให้สําเร็จความปรารถนา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 22]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 404

๑๐. สังขารูปปัตติสูตร

ว่าด้วยปฏิปทาให้สําเร็จความปรารถนา

[๓๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธดํารัสแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดงความเกิดขึ้นแห่งสังขารแก่เธอทั้งหลาย. เธอทั้งหลายจงฟังความเกิดขึ้นแห่งสังขารนั้น จงใส่ใจให้ดี เราตถาคตจักกล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า.

ปฏิปทาเพื่อเป็นกษัตริย์มหาศาล

[๓๑๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาเธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ! เราเมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาลเถิด ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จในภาวะนั้นดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสําเร็จในความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 405

ปฏิปทาเพื่อเป็นพราหมณ์มหาศาล

[๓๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก คือภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาลเถิด ดังนี้ก็มี ... ว่า ไฉนหนอ! เราเมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งคฤหบดีมหาศาลเถิดดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้นอธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จในภาวะนั้นๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสําเร็จในความเป็นสหายแห่งคฤหบดีมหาศาล

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นดาวดึงส์

[๓๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์ มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์เถิด. เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น.ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จในภาวะนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสําเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์.

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นยามา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นยามา ...

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 406

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นดุสิต

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นดุสิต..

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นนิมมานรดี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะจาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นนิมมานรดี..

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะจาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข. เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น.ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จในภาวะนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสําเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.

ปฏิปทาเพื่อเป็นสหัสสพรหม

[๓๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า สหัสสพรหม มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสหัสสพรหม ย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุพันหนึ่งอยู่. แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 407

เปรียบเหมือนบุรุษมีนัยน์ตาดี วางมะขามป้อมผลหนึ่งในมือแล้วพิจารณาได้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุพันหนึ่งอยู่. แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วใน สหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้. เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ!เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งสหัสสพรหมเถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น. ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จในภาวะนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสําเร็จในความเป็นสหายแห่งสหัสสพรหม.

ปฏิปทาเพื่อเป็นทวิสหัสสพรหม ... ปัญจสหัสสพรหม

[๓๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่าทวิสหัสสพรหม ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า ติสหัสสพรหม ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า จตุสหัสสพรหม ... .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่า ปัญจสหัสสพรหมมีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญจสหัสสพรหม ย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุห้าพันอยู่. แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในปัญจสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้. เปรียบเหมือนบุรุษมีนัยน์-ตาดี วางผลมะขามป้อม ๕ ผลในมือแล้วพิจารณาดูได้ ฉันใด. ดูก่อนภิกษุ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 408

ทั้งหลาย ปัญจสหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกันแลย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุห้าพันอยู่. แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในปัญจสหัสสพรหมก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้. เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งปัญจสหัสสพรหมเถิด. เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น. ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความสําเร็จในภาวะนั้น.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสําเร็จในความเป็นสหายแห่งปัญจสหัสสพรหม.

ปฏิปทาเพื่อเป็นทสสหัสพรหม

[๓๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะจาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า ทสสหัสสพรหม มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทสสหัสสพรหมย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุหมื่นหนึ่งอยู่. แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในทสสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์ งามโชติช่วง แปดเหลี่ยมอันเขาเจียระไนดีแล้ววางไว้บนผ้ากัมพลเหลือง ย่อมส่องแสงเรืองไพโรจน์ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทสสหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุหมื่นหนึ่งอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในทสสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้. เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งทสสหัสสพรหมเถิด เธอจึงตั้งจิตนั้นอธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จใน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 409

ภาวะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสําเร็จในความเป็นสหายแห่งทสสหัสสพรหม.

ปฏิปทาเพื่อเป็นสตสหัสสพรหม

[๓๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก คือภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่าสตสหัสสพรหม มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สตสหัสสพรหมย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุแสนหนึ่งอยู่. แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในสตสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนแท่งทองชมพูนุท ที่เขาหลอมด้วยความชํานาญดีในเบ้าของช่างทองผู้ฉลาดแล้ว วางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง ย่อมส่องแสงเรือง ไพโรจน์ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สตสหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุแสนหนึ่งอยู่. แม้สัตว์ทั้งหลายเกิดแล้วในสตสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้. เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งสตสหัสสพรหมเถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ... ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จในภาวะนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทาเป็นไปเพื่อความเป็นสหายแห่งสตสหัสสพรหม.

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นอาภา ๓ ชั้น

[๓๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นอาภา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข. เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 410

ไฉนหนอ! เราเมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นอาภาเถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น. ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จในภาวะนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทาเป็นไปเพื่อความสําเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นอาภา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะจาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นปริตตาภา ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นอัปปมาณาภา ... .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นอาภัสสรามีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข. เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นอาภัสสราเถิด. เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น. ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จในภาวะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสําเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นอาภัสสรา.

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นสุภา ๓ ชั้น

[๓๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นสุภา ...

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 411

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอันยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นปริตตสุ-ภา ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นอัปปมาณสุภา ...

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นสุภกิณหา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นสุภกิณหามีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น สุภกิณหาเถิด. เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น. ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จในภาวะนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสําเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นสุภกิณหา.

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นเวหัปผลา

[๓๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นเวหัปผลา ...

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นอวิหา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นอวิหา ...

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 412

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นอตัปปา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่าเทวดาชั้นอตัปปา ... ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นสุทัสสาดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะจาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่าเทวดาชั้นสุทัสสา ...

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นสุทัสสี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่าเทวดาชั้นสุทัสสี ...

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นอกนิฏฐา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นอกนิฏฐามีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่าไฉนหนอ! เมื่อเราตายไปแล้วพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นอกนิฏฐาเถิด.เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น. ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จในภาวะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสําเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นอกนิฏฐา.

ปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ

[๓๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ มีอายุยืน ดํารงอยู่นาน มากด้วยความสุข.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 413

เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ! เมื่อเราตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพเถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น. ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จในภาวะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสําเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานญจายตนภพ.

ปฏิปทาเพื่อเข้าถึงวิญญานัญจายตนภพ

[๓๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ มีอายุยืน ดํารงอยู่นาน มากด้วยความสุขเธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่าไฉนหนอ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพเถิด. เธอจึงตั้งจิตนั้นอธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จในภาวะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสําเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ.

ปฏิปทาเพื่อเข้าอากิญจัญญายตนภพ

[๓๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่า เทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ..

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 414

ปฏิปทาเพื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่า เทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ มีอายุยืน ดํารงอยู่นาน มากด้วยความสุข เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพเถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จในภาวะนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสําเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ.

ปฏิปทาเพื่อให้บรรลุเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ

[๓๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ! เราพึงเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทําให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่. เธอจึงเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทําให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ย่อมไม่เกิดในที่ไหนๆ.พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ สังขารูปปัตติสูตรที่ ๑๐

จบ อนุปทวรรคที่ ๒

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 415

หัวข้อเรื่องของอนุปทวรรคนั้น ดังนี้

เรื่องบทโดยลําดับ ๑ เรื่องความบริสุทธิ์ ๑ เรื่องธรรมของคนดี๑เรื่องธรรมที่ควรเสพ ๑ เรื่องแจกธาตุมากอย่าง ๑ เรื่องประกาศชื่อพระพุทธะ ๑ กับเรื่องจัตตารีสะ ๑ เรื่องลมหายใจ ๑ เรื่องกายคตาสติ ๑ เรื่องสุดท้ายคือเรื่องความสําเร็จเกิดขึ้นในวันเพ็ญ ๒ เพ็ญ คราวที่พระจันทร์บริสุทธิ์ปราศจากมลทิน และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภ เป็นธรรมมิใช่กิจของพระองค์ รวมเป็นวรรคสําคัญชื่ออนุปทวรรคที่ ๒ มีธรรมอันประเสริฐที่ชนจํานวนมากเสพแล้ว.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 416

อรรถกถาสังขารูปปัตติสูตร

สังขารูปปัตติสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

พึงทราบวินิจฉัย ในสังขารูปปัตติสูตรนั้นดังต่อไปนี้. ความว่าความเกิดขึ้นแห่งสังขารทั้งหลายเท่านั้น ชื่อว่า สงฺขารูปปตฺติ ไม่ใช่การอุปบัติของสัตว์ ของบุคคล. อีกอย่างหนึ่ง อุปปัตติภพ คือความอุบัติแห่งขันธ์ทั้งหลาย ด้วยปุญญาภิสังขาร ชื่อว่า สงฺขารูปปตฺติ.

บทว่า สทฺธาย สมนฺนาคโต ความว่าธรรม ๕ ประการ มีศรัทธาเป็นต้น เป็นโลกิยะ. บทว่า ทหติ แปลว่า ตั้งไว้. บทว่าอธิฏฺาติได้แก่ประดิษฐานไว้. บทว่า สงฺขาราจวิหาราจ (แปลว่าความปรารถนาและวิหารธรรม) ได้แก่ ธรรม ๕ ประการมีศรัทธาเป็นต้นนั่นแหละ พร้อมด้วยความปรารถนา.บทว่า ตตฺรูปปตฺติยาคือเพื่อต้องการเกิดในที่นั้น. บทว่า มคฺโค ปฏิปทาได้แก่ธรรม ๕ ประการนั่นแหละพร้อมกับความปรารถนา. อธิบายว่า บุคคลใดมีธรรม ๕ ประการ แต่ไม่มีความปรารถนา คติของบุคคลนั้นไม่ต่อเนื่องกัน.บุคคลใด มีความปรารถนา แต่ไม่มีธรรม ๕ ประการ คติแม้ของบุคคลนั้นก็ไม่ต่อเนื่องกัน บุคคลเหล่าใดมีธรรม ๕ ประการ และความปรารถนาทั้งสองอย่าง คติของบุคคลเหล่านั้นต่อเนื่องกัน อุปมาเหมือนบุคคลยิงลูกศรไปในห้วงอากาศ กําหนดไม่ได้ว่าจะเอาปลาย หรือตรงกลาง หรือเอาโคนลงฉันใด การถือปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็ฉันนั้น เอาแน่นอนไม่ได้เพราะฉะนั้น กระทํากุศลกรรมแล้วทําความปรารถนาในที่แห่งหนึ่งย่อมควร.

บทว่า อามณฺฑํ ได้แก่ ผลมะขามป้อม. ผลมะขามป้อมนั้นย่อมปรากฏโดยประการทั้งปวงทีเดียว แก่บุรุษผู้มีตาดี ฉันใด พันแห่งโลกธาตุ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 417

พร้อมทั้งสัตว์ผู้เกิดในนั้น ย่อมปรากฏแก่พรหมนั้น ฉันนั้น. ในทุกบทก็มีนัยดังกล่าวนี้.

บทว่า สุโภ แปลว่า งาม. บทว่า โชติมา คือ ถึงพร้อมด้วยอาการ. บทว่า สุปริกมุมกโต ได้แก่ มีบริกรรมอันทําไว้ดีแล้ว ด้วยการเจียระไนเป็นต้น. บทว่า ปณฺฑุกมฺพเล นิกฺขิตฺโต ได้แก่ วางไว้บนผ้ากัมพลแดง.บทว่า สตสหสฺโส ได้แก่ พรหมผู้แผ่แสงสว่างไปในแสนโลกธาตุ.บทว่า นิกฺขํ ได้แก่ เครื่องประดับที่ทําด้วยทองนิกขะ ๕ สุวัณณะ ทองเนื้อห้า ชื่อว่า นิกขะ ก็เครื่องประดับที่ทําด้วยทองหย่อนนิกขะ จะไม่ทนต่อการตี และการขัดสี แต่ที่ทําด้วยทองเกินนิกขะ จะทนต่อการตีและการขัดสี แต่มีสีไม่สวย ปรากฏเป็นธาตุหยาบ. ที่ทําด้วยทองนิกขะจะทนต่อการตีและการขัดสี บทว่า ชมฺโพนทํ คือ เกิดในแม่น้ำชมพู. ก็กิ่งหนึ่งๆ ของต้นหว้าใหญ่ (มหาชมพู) แผ่กว้างไปกิ่งละ ๕๐ โยชน์. แม่น้ำสายใหญ่ๆ ไหลผ่านไปทางพื้นที่ทั้งหลายเหล่านั้น หน่อทองคําเกิดขึ้นในที่ที่ผลชมพูตกลงณ สองฟากฝังของแม่น้ำเหล่านั้น ถูกน้ำในแม่น้ำนั้นพัดพาไหลเข้าไปสู่มหาสมุทรโดยลําดับ. ท่านหมายถึงทองเกิดดังกล่าวนั้น จึงกล่าวว่า ชมฺโพนทํ (ทองนิกขะที่เกิดในแม่น้ำชมพู) ดังนี้.

บทว่า ทกฺขกมฺมารปุตฺตอุกฺกามุขสุกุสลสมฺปหฏํ ความว่าอันบุตรช่างทองผู้ฉลาด ผู้ขยัน หลอมในเบ้าให้ได้ที่แล้ว บทว่า อุกฺกามุเขได้แก่ ในเตา. บทว่า สมฺปหฏํ คือ ทั้งสุม (ไล่ขี้) ทั้งตีและขัด. ก็ในวัตถูปมสูตร และธาตุวิภังคสูตร ตรัสการทําทองทั้งก้อนให้บริสุทธิ์แต่ในพระสูตรนี้ ตรัสการทําทองรูปพรรณให้บริสุทธิ์ ก็ในคําว่า ผริตฺวาอธิมุจฺจิตฺวา ซึ่งตรัสไว้ในทุกวาระนั้น การแผ่ไปมี ๕ อย่าง คือ แผ่ไป

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 418

ด้วยจิต ๑ แผ่ไปด้วยกสิณ ๑ แผ่ไปด้วยทิพยจักษุ ๑ แผ่ไปด้วยแสงสว่าง ๑ แผ่ไปด้วยสรีระ ๑ ในการแผ่ ๕ อย่างนั้น การรู้จิตของสัตว์ทั้งหลายในพันโลกธาตุ ชื่อว่า แผ่ไปด้วยจิต. การแผ่กสิณไปในพันโลกธาตุ ชื่อว่า แผ่ไปด้วยกสิณ. การขยายแสงสว่างออกไปแล้วดูพันโลกธาตุ ชื่อว่า แผ่ไปด้วยทิพยจักษุ. แม้การแผ่ไปด้วยแสงสว่างก็คือการแผ่ไปด้วยทิพยจักษุนั่นแหละ การแผ่รัศมีแห่งสรีระไปในพันโลกธาตุ ชื่อว่า การแผ่ไปด้วยสรีระ. ในที่ทุกแห่ง ควรกล่าวการแผ่ ๕ประการนี้ ไม่ให้แตกแยกกัน.

ส่วนพระติปิฎกจุลลาภยเถระ กล่าวว่า ในการเปรียบด้วยแก้วมณีการแผ่ไปย่อมปรากฏเหมือนแผ่ด้วยกสิณ ในการเปรียบด้วยทองนิกขะ การแผ่ย่อมปรากฏเหมือนแผ่ไปด้วยรัศมีแห่งสรีระ ดูเหมือนท่านจะปฏิเสธวาทะของท่านติปิฎกจุลลาภยเถระว่า ชื่อว่าอรรถกถา (การอธิบายความอย่างที่ท่านว่านั้น) ไม่มี แล้วกล่าวว่า การแผ่รัศมีแห่งสรีระไม่มีตลอดกาล ควรกล่าวโดยไม่ทําให้การแผ่ ๔ ประการเสียหาย. บทว่าอธิมุจฺจติ เป็นไวพจน์ (คําใช้แทนกันได้) ของบทว่า ผรณะ (คือการแผ่) . อีกอย่างหนึ่ง บทว่าผรติ ได้แก่ แผ่ไป. บทว่า อธิมุจฺจติ ได้แก่ รู้อยู่.

ในบทว่า อาภา เป็นต้น เทวดาอีกเหล่าหนึ่งต่างหาก ชื่อว่า อาภาเป็นต้น ไม่มี (มีแต่) เทวดา ๓ เหล่า มีเหล่าปริตตาภาเป็นต้น ชื่อว่าอาภา. เทวดาเหล่าปริตตาสุภา เป็นต้น และเหล่าสุภกิณหา เป็นต้น ชื่อว่า สุภา เทวดาเหล่าเวหัปผลา เป็นต้น ปรากฏชัดแล้ว.บุคคลอบรมธรรม ๕ ประการเหล่านี้ จะเกิดในสวรรค์ชั้นกามาวจรได้ (ก็ไม่ว่ากระไร) ก่อน แต่ท่านจะบังเกิดในพรหมโลก และถึงความสิ้นอาสวะได้ อย่างไร

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 419

ธรรม ๕ ประการ (คือศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา) เหล่านี้เป็นศีล. บุคคลนั้นตั้งอยู่ในศีลนี้แล้วกระทํากสิณบริกรรม ทําสมาบัติทั้งหลายเหล่านั้นให้เกิดขึ้นในกาลนั้น ย่อมบังเกิดในพรหมโลกที่มีรูป.ทําอรูปฌานทั้งหลายให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมบังเกิดในพรหมโลกที่ไม่มีรูป.เจริญวิปัสสนา อันมีสมาบัติเป็นปทัฏฐานแล้วทําให้แจ้งอนาคามิผล ย่อมเกิดในชั้นสุทธาวาส ๕. เจริญมรรคให้สูงขึ้น ย่อมถึงความสิ้นอาสวะแล.

จบ อรรถกถาสังขารูปปัตติสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนุปทสูตร

๒. ฉวิโสธนสูตร

๓. สัปปุริสสูตร

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

๕. พหุธาตุกสูตร

๖. อิสิคิลิสูตร

๗. มหาจัตตารีสกสูตร

๘. อานาปานสติสูตร

๙. กายคตาสติสูตร

๑๐. สังขารูปปัตติสูตร