พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. จูฬสุญญตสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36126
อ่าน  770

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 1

สุญญตวรรค

๑. จูฬสุญญตสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 1

๑. จูฬสุญญตสูตร

[๓๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับ มาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดา ในวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ออกจากสถานทีหลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่สักยนิคมชื่อนครกะ ในสักกชนบท ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้สดับ ได้รับพระดํารัสนี้เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดูก่อนอานนท์ บัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจําไว้ดีแล้วหรือ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 2

[๓๓๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งว่าดูก่อนอานนท์ แน่นอน นั่นเธอสดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจําไว้ดีแล้ว ดูก่อนอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ว่างเปล่าจากช้าง โค ม้า และลา ว่างเปล่าจากทองและเงิน ว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษ มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฉันใด ดูก่อนอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจสัญญาว่าบ้าน ไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่า จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าป่า เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าป่านี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าบ้าน และชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์เลย มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าบ้าน สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูก่อนอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริงไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น.

ว่าด้วยปฐวีสัญญา

[๓๓๕] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่า ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดิน จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าแผ่นดินเปรียบเหมือนหนังโคที่เขาขึงดีแล้วด้วยหลักตั้งร้อย เป็นของปราศจากรอยย่น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 3

ฉันใด ดูก่อนอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจแผ่นดินนี้ ซึ่งจะมีชั้นเชิง มีแม่น้ำลําธาร มีที่เต็มด้วยตอหนาม มีภูเขาและพื้นที่ไม่สม่ําเสมอทั้งหมด ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดิน จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าแผ่นดิน เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในสัญญาว่าแผ่นดินนี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์และชนิดที่อาศัยสัญญาว่าป่า มีอยู่ก็แค่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าป่า และรู้ชัดว่า มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละเธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งทีเหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูก่อนอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น.

[๓๓๖] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่าไม่ใส่ใจสัญญาว่าแผ่นดิน ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในอากาสานัญจายตนสัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในอากาสานัญจายตนสัญญานี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าป่าและชนิดที่อาศัยสัญญาว่าแผ่นดิน มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญาเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าป่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าแผ่นดิน และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญาเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ. เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูก่อนอานนท์

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 4

แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาดบริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น.

[๓๓๗] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่าแผ่นดิน ไม่ใส่ใจอากาสานัญจายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในวิญญาณัญจายตนสัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในวิญญาณัญจายตนสัญญานี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาลัยสัญญาว่าแผ่นดิน และชนิดที่อาศัยอากาสานัญจายตนสัญญา มีอยู่ก็แค่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญาเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าแผ่นดิน สัญญานี้ว่างจากอากาสานัญจายตนสัญญาและรู้ชัดว่า มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญาเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูก่อนอานน ที่แม้อย่างนี้ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ของภิกษุนั้น.

ว่าด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา

[๓๓๘] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากาสานัญจายตนสัญญา ไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะอากิญจัญญายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในอากิญจัญญายตนสัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในอากิญจัญญายตนสัญญานี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยอากาสานัญจายตนสัญญาและชนิดที่อาศัยวิญญาณัญจายตนสัญญา มีอยู่ก็แค่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะอากิญจัญญายตนสัญญาเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากอากาสานัญจายตน-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 5

สัญญา สัญญานี้ว่างจากวิญญาณัญจายตนสัญญา และรู้ชัดว่า มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะอากิญจัญญายตนสัญญาเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูก่อนอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาดบริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น.

[๓๓๙] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญานี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยวิญญาณัญจายตนสัญญาและชนิดที่อาศัยอากิญจัญญายตนสัญญา มีอยู่ก็แค่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากวิญญาณัญจายตนสัญญา สัญญานี้ว่างจากอากิญจัญญายตนสัญญาและรู้ชัดว่ามี ไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามีดูก่อนอานนท์แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาดบริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น.

[๓๔๐] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเจโตสมาธินี้ ไม่มีความ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 6

กระวนกระวายชนิดที่อาศัยอากิญจัญญายตนสัญญาและชนิดที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา มีอยู่แค่เพียงความกระวนกระวายคือความเกิดแห่งอายตนะ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากอากิญจัญญายตนสัญญา สัญญานี้ว่างจากเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาและรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัยด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูก่อนอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น.

ว่าด้วยอนิมิตตเจโตสมาธิ

[๓๔๑] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้แล ยังมีปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้ ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้นั้น ไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้จักย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําได้ทําเสร็จแล้ว กิจอันเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยกามาสวะ ชนิดที่อาศัยภวาสวะ และชนิดที่อาศัยอวิชชาสวะ มีอยู่ก็แค่เพียงความกระวนกระวาย คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 7

เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากกามาสวะ สัญญานี้ว่างจากภวาสวะ สัญญานี้ว่างจากอวิชชาสวะ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี ดูก่อนอานนท์ แม้อย่างนี้เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น.

ว่าด้วยสุญญตาวิหาร

[๓๔๒] ดูก่อนอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่เข้าถึงสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็ได้เข้าถึงสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่จะเข้าถึงสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็จักเข้าถึงสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในบัดนี้ ไม่ว่าพวกใดๆ ที่เข้าถึงสุญญตสมาบัติอัน บริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้นย่อมเข้าถึงสุญญตสมาบัติอัน บริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักเข้าถึงสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ จูฬสุญญตสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 8

อรรถกถาสุญญตาวรรค

อรรถกถาจูฬสุญญตาสูตร

จูฬสุญญตาสูตร (๑)

มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกมิทํ ความว่าได้ยินว่า พระเถระกระทําวัตรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วไปสู่ที่พักกลางวันของตน กําหนดเวลาแล้วนั่งเจริญสุญญตาผลสมาบัติ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วออกตามเวลาที่กําหนด. ลําดับนั้น สังขารของท่านปรากฏโดยความเป็นของว่างเปล่า ท่านใคร่สดับสุญญตากถา แล้วได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เรามีธุระยุ่งเหยิง ไม่อาจไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ได้โปรดตรัสสุญญตากถาแก่ข้าพระองค์ เอาละเราจะให้พระองค์ระลึกถึงข้อที่พระองค์เข้าไปอาศัยนิคมชื่อนครกะ ตรัสกถาเรื่องหนึ่งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจักตรัสสุญญตากถาแก่เราอย่างนี้. เมื่อพระอานนท์จะให้พระทศพลทรงระลึกได้จึงกล่าวคำว่า เอกมิทํ เป็นต้น. บทว่า อิทํ ในบทว่า อเกมิทํ เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น. บทว่า กิจจิ เมตํ ภนฺเต ความว่า พระเถระจําไค้เพียงบทเดียวก็สามารถจะค้นคว้าทรงจําไว้ได้ถึงหกหมื่นบท เพราะฉะนั้น ท่านจักไม่สามารถเพื่อจะมีสุญญตาวิหารธรรม แล้วทรงจําบทเพียงบทเดียว ฉะนั้น การที่ผู้ประสงค์จะฟัง ทําเป็นเหมือนคนรู้แล้วถามไม่สมควร. พระเถระประสงค์จะฟังสุญญตากถาที่พระองค์ทรงแสดงไว้อย่างพิสดารให้แจ่มแจ้ง จึงกราบทูลอย่างนี้เหมือนไม่รู้ บางคนแม้ไม่รู้ ก็ทําเป็นเหมือนคนรู้. พระเถระจะการทําการ


(๑) พระสูตร เป็น จูฬสุญญสูตร

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 9

หลอกลวงอย่างนี้ได้อย่างไรเล่า. พระเถระแสดงความเคารพต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงกราบทูล คําเป็นต้นว่า กจฺจิ เมตํ ดังนี้ แม้ในฐานะที่คนรู้.บทว่า ปุพฺเพ ความว่า แม้ในเวลาที่เข้าไปอาศัยนิคมชื่อว่า นครกะ ในปฐมโพธิกาล บทว่า เอตรหิ แปลว่า แม้ในบัดนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงมีพระพุทธดําริว่า อานนท์ประสงค์จะสดับสุญญตากถา ก็คนบางคนสามารถสดับ แต่ไม่สามารถที่จะเรียน บางคนสามารถทั้งสดับทั้งเรียน แต่ไม่อาจจะแสดง แต่สําหรับพระอานนท์ สามารถทั้งสดับ ทั้งเรียน ทั้งแสดง เราจะกล่าวสุญญตากถาแก่เธอ. เมื่อจะตรัสสุญญตากถานั้นจึงตรัสคํามีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุฺโ หตฺถิคฺวาสฺสวฬเวน นั้นความว่า ช้างเป็นต้นที่เขาทําเป็นช้างไม้ ช้างดินปั้น ช้างภาพเขียน มีอยู่ในปราสาทนั้น เงินทองที่ทําเป็นจิตรกรรมในที่ตั้งของท้าวเวสวัณ ท้าวมันธาตุราชเป็นต้นบ้าง ทีเขาประกอบเป็นหน้าต่าง ประตู และเตียงตั้งที่ประดับด้วยเงินทองนั้น ที่เก็บไว้เพื่อปฏิสังขรณ์ของเก่าก็มี. แม้หญิงชายที่มาฟังธรรมและถามปัญหาเป็นต้น การทําด้วยรูปไม้เป็นต้นมีอยู่ ฉะนั้น ปราสาทนั้นจึงไม่ว่างจากหญิงและชายเหล่านั้น. ท่านกล่าวคํานี้หมายถึงความไม่มีแห่งช้างเป็นต้นที่มีวิญญาณ เนื่องด้วยอินทรีย์ เงินและทองที่ใช้สอยในขณะต้องการและหญิงชายทีอยู่เป็นนิตย์. บทว่า ภิกฺขุสงฺฆํ ปฏิจฺจ ความว่า ด้วยว่าถึงแม้ภิกษุทั้งหลายจะเข้าไปบิณฑบาต ปราสาทนั้นก็ไม่ว่างจากภิกษุผู้ยินดีภัตรในวิหาร และภิกษุผู้เป็นใช้ ภิกษุพยาบาลใช้ ภิกษุนักศึกษา ภิกษุผู้ขวนขวายจีวรกรรมเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ เพราะมีภิกษุอยู่ประจํา. บทว่า เอกตฺตํ แปลว่า ความเป็นหนึ่ง อธิบายว่า ไม่ว่างเลยท่านอธิบายว่า มีความไม่ว่างอย่างเดียว. บทว่า อมนสิกริตฺวา แปลว่า

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 10

ไม่กระทําไว้ในใจ. บทว่า อนาวชฺชิตวา แปลว่าไม่พิจารณา. บทว่า คามสฺํ ความว่า สัญญาว่าบ้านเกิดขึ้น โดยยึดว่าเป็นบ้าน หรือโดยเป็นกิเลส. แม้ใน มนุสสสัญญาก็มีนัยอย่างเดียวกันนี้แหละ. บทว่า อรฺสฺํ ปฏิจฺจมนสิกโรติ เอกตฺตํ ความว่า กระทําไว้ในใจซึ่งป่านี้ว่า เป็นอรัญญสัญญาเฉพาะป่าอย่างเดียวเท่านั้น อย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้ภูเขา นี้ไพรสณฑ์ที่เขียวชะอุ่ม. บทว่า ปกฺขนฺทติ แปลว่า หยั่งลง. บทว่า อธิมุจฺจติ แปลว่าน้อมไปว่าอย่างนี้. บทว่า เย อสฺสุ ทรถา ความว่า ความกระวนกระวายที่เป็นไปแล้วก็ดี ความกระวนกระวายเพราะกิเลสก็ดี ที่จะพึงมีเพราะอาศัยคามสัญญาเหล่านั้น ย่อมไม่มีด้วยอรัญญสัญญาในป่านี้. แม้ในบทที่สอง ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อตฺถิ เจวายํ ความว่า แต่มีเพียงความกระวนกระวายที่เป็นไป ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอาศัยอรัญญสัญญาอย่างเดียว. บทว่ายํ หิ โข ตตฺถ น โหติ ความว่า ความกระวนกระวายที่เป็นไปแล้วและความกระวนกระวายเพราะกิเลสซึ่งเกิดขึ้นโดยคามสัญญา และมนุสสสัญญานั้น ย่อมไม่มีในอรัญญสัญญานี้ เหมือนช้างเป็นต้นไม่มีในปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา. บทว่า ยํ ปน ตตฺถ อวสิฏฺํ ความว่า จะมีเหลืออยู่ก็เพียงแค่ความกระวนกระวายที่เป็นไปในอรัญญสัญญานั้น. เหมือนภิกษุสงฆ์ที่อยู่ในปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา. บทว่า ตํ สนฺตมิทํ อตฺถีติปชานาติ ความว่า รู้ชัดสิ่งนั้นที่มีอยู่เท่านั้นว่า นี้มีอยู่. บทว่า สุฺตรวกฺกนฺติ แปลว่า ความบังเกิดขึ้นแห่งสุญญตา. บทว่า อมนสิกริตฺวา มนุสฺสสฺํ คือ ไม่ถือเอาคามสัญญาในบทนี้ เพราะเหตุไร. เพราะได้ยินว่า ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะยังคามสัญญาให้เกิดด้วยมนุสสสัญญายังมนุสสสัญญาให้เกิดด้วยอรัญญสัญญา ยังอรัญญสัญญาให้เกิดด้วยปฐวีสัญญา ยังปฐวีสัญญาให้เกิดด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ฯลฯ ยังอากิญญจัญญายตนสัญญาให้เกิดด้วย

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 11

เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ยังเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ให้เกิดด้วยวิปัสสนา ยังวิปัสสนาให้เกิดด้วยมรรค จักแสดงอัจจันตสุญญตาโดยลําดับฉะนั้น จึงเริ่มเทศนาอย่างนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฐวีสฺญํ ความว่า เพราะเหตุไรจึงละอรัญญสัญญาใส่ใจปฐวีสัญญา. เพราะบรรลุคุณพิเศษด้วยอรัญญสัญญา.เปรียบเหมือนบุรุษเห็นที่นา ซึ่งน่ารื่นรมย์และที่นาตั้งเจ็ดครั้ง ด้วยคิดว่าข้าวสาลีเป็นต้น ที่หว่านลงในนานี้ จักสมบูรณ์ด้วยดี เราจักได้ลาภใหญ่ข้าวสาลีเป็นต้น ย่อมไม่สมบูรณ์เลย แต่ถ้าเขาทําที่นั้น ให้ปราศจากหลักตอและหนามแล้ว ไถ หว่าน เมื่อเป็นอย่างนี้ ข้าวสาลีย่อมสมบูรณ์ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ใส่ใจป่านี้ให้เป็นอรัญญสัญญาถึงเจ็ดครั้งว่า นี้ป่า นี้ต้นไม้ นี้ภูเขา นี้ไพรสนฑ์เขียวชะอุ่ม ย่อมบรรลุอุปจารสมาธิ. สําหรับปฐวีสัญญาภิกษุนั้นกระทําปฐวีกสิณ บริกรรมให้เป็นกัมมัฏฐานประจํา ยังฌานให้เกิดเจริญวิปัสสนา ซึ่งมีฌานเป็นปทัฎฐาน สามารถจะบรรลุพระอรหัตได้เพราะฉะนั้น เธอย่อมละอรัญญสัญญาใส่ใจปฐวีสัญญา. บทว่า ปฏิจฺจ แปลว่าอาศัยกันเกิดขึ้น.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงข้อเปรียบเทียบปฐวีกสิณที่ภิกษุมีความสําคัญว่าปฐวีในปฐวีกสิณ จึงตรัสคํามีอาทิว่า ปิเสยฺยถาปิ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสุภสฺส เอตํ คือ โคผู้องอาจ ความว่า โคเหล่าอื่น ถึงจะมีฝีบ้าง รอยทิ่มแทงบ้าง หนังของโคเหล่านั้น เมื่อคลี่ออก ย่อมไม่มีริ้วรอย ตําหนิเหล่านั้นย่อมไม่เกิดแก่โคอุสภะ เพราะสมบูรณ์ด้วยลักษณะ. ฉะนั้น จึงถือเอาหนังของโคอุสภะนั้น บทว่า สํกุสฺเตน ได้แก่ ขอร้อยเล่ม. บทว่า สุวิหตํ ได้แก่

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 12

เหยียดออกแล้ว ขูดจนเกลี้ยงเกลา. แท้จริงหนังโคที่เขาใช้ขอไม่ถึงร้อยเล่มขูดออก ยังไม่เกลี้ยงเกลา ใช้ขอถึงร้อยเล่มย่อมเกลี้ยงเกลา เหมือนพื้นกลอง เพราะฉะนั้นจึงตรัสอย่างนี้. บทว่า อุกฺกุลวิกุลํ แปลว่า สูงๆ ต่ําๆ คือเป็นที่ดอนบ้าง เป็นที่ลุ่มบ้าง. บทว่า นทีวิทุคฺคํ ได้แก่ แม่น้ำและที่ซึ่งเดินไม่สะดวก บทว่า ปฐวีสฺญํ ปฏจฺจ มนสิกโรติ เอกตฺตํ ความว่าใส่ใจสัญญาอย่างเดียวที่อาศัยกันเกิดขึ้นในปฐวีกสิณ. บทว่า ทรถมตฺตา ความว่า จําเดิมแต่นี้ พึงทราบความกระวนกระวาย โดยความกระวนกระวายที่เป็นไปในวาระทั้งปวง. บทว่า อนิมิตฺตํ เจโต สมาธิ ได้แก่ วิปัสสนาจิตตสมาธิ. เจโตสมาธิที่เว้นจากนิมิตว่าเที่ยงเป็นต้นนั้น ท่านกล่าวว่า อนิมิต.บทว่า อิมเมวกายํ ท่านแสดงวัตถุด้วยวิปัสสนา. ในบทเหล่านั้น บทว่าอิมเมว ได้แก่ มหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้. บทว่า สฬายตนิกํ แปลว่า ปฎิสังยุตด้วยสฬายตนะ. บทว่า ชีวิตปจฺจยา ความว่า ชีวิตยังเป็นอยู่ได้ ก็ชั่วชีวิตตินทรีย์ยังเป็นไป อธิบายว่า ปฐวีสัญญานั้น ยังมีความกระวนกระวายที่เป็นไป.เพื่อจะทรงแสดงความเห็นแจ้งโดยเฉพาะของวิปัสสนาจึงตรัสว่าอนิมิตฺตํ อีก.บทว่า กามาสวํ ปฏจฺจ แปลว่า อาศัยกามาสวะ. อธิบายว่า ความกระวนกระวายที่จะเกิดขึ้นและที่เป็นไปแล้ว ไม่มีในที่นี้ คือไม่มีในอริยมรรคและอริยผล. บทว่า อมิเมว กายํ นี้ ตรัสเพื่อแสดงความกระวนกระวายของเบญจขันธ์ที่ยังเหลืออยู่. ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันทรงเปลี่ยนมนุสสสัญญาเป็นคามสัญญา ฯลฯ มรรคเป็นวิปัสสนา แล้วทรงแสดงความว่างเปล่าล่วงส่วนโดยลําดับ. บทว่า ปริสุทฺธํ ได้แก่ ปราศจากอุปกิเลส. บทว่า อนุตฺตรํ แปลว่า เว้นจากสิ่งอื่นที่ยอดเยี่ยม คือประเสริฐสุดกว่าทุกอย่าง บทว่า สุฺญตํ ได้แก่สุญญตาผลสมาบัติ บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะสมณพราหมณ์

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 13

คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าในอดีตก็ดีสมณพราหมณ์คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้าในอนาคตก็ดี สมณพราหมณ์คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกแห่งพระพุทธเจ้าในปัจจุบันก็ดีเข้าสุญญตะอันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้อยู่แล้ว จักอยู่และกําลังอยู่ ฉะนั้นคําที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาจูฬสุญญตาสูตร ที่ ๑