๒. มหาสุญญตสูตร
[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 14
๒. มหาสุญญตสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 14
๒. มหาสุญญตสูตร
[๓๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับ มาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธารามกรุงกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งสบงทรงบาตรจีวรแล้ว เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ในเวลาเช้า ครั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้ากาฬเขมกะ ศากยะ มีเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกันแล้ว จึงมีพระดําริดังนี้ว่า ในวิหารของเจ้ากาฬเขมกะ ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้มากด้วยกัน ที่นี้มีภิกษุอยู่มากมายหรือหนอ.
[๓๔๔] สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์กับภิกษุมากรูป ทําจีวรกรรมอยู่ในวิหารของเจ้าฆฏายะ ศากยะ ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่ทรงหลีกเร้นอยู่แล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้าฆฏายะ ศากยะ แล้วประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้วจึงตรัสสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ในวิหารของเจ้ากาฬเขมกะ ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้มากด้วยกัน ที่นั่นมีภิกษุอยู่มากมายหรือ.
ท่านพระอานนท์ทูลว่า มากมาย พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จีวรกาลสมัยของพวกพระองค์กําลังดําเนินอยู่.
ว่าด้วยฐานะและอฐานะ
[๓๔๕] พ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน ประกอบเนื่องๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 15
ในหมู่ บันเทิงร่วมหมู่ ย่อมไม่งามเลย ดูก่อนอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน ประกอบเนื่องๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกันชอบเป็นหมู่ยินดีในหมู่ บันเทิงร่วมหมู่นั้นหนอ จักเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนาโดยไม่ยากไม่ลําบาก นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่อยู่ พึงหวังเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลําบาก นั้นเป็นฐานะที่มีได้.
ดูก่อนอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิงร่วมหมู่นั้นหนอ จักบรรลุเจโตวิมุตติอันปรารถนาเพียงชั่วสมัย หรือเจโตวิมุตติอันไม่กําเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั้นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้ผู้เดียวหลีกออกจากหมู่อยู่ พึงหวังบรรลุเจโตวิมุตติอันน่าปรารถนาเพียงชั่วสมัยหรือเจโตวิมุตติอันไม่กําเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั้นเป็นฐานะที่มีได้.
ดูก่อนอานนท์ เราย่อมไม่พิจารณาเห็นแม้รูปอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่ไม่เกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เพราะความแปรปรวนและความเป็นอย่างอื่นของรูป ตามที่เขากําหนัดกันอย่างยิ่งซึ่งบุคคลกําหนัดแล้ว.
[๓๔๖] ดูก่อนอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ นี้แลคือ ตถาคตเข้าถึงสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่. ดูก่อนอานนท์ ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอํามาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชคอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้นๆ ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก โน้นไปในวิเวก โอนไปในวิเวก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 16
หลีกออกแล้ว ยินดียิ่งแล้วในเนกขักมะ มีภายในปราศจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง จะเป็นผู้ทําการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้นในบริษัทนั้นๆ โดยแท้ ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า จะเข้าถึงสุญญตสมาบัติภายในอยู่ เธอพึงดํารงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบทําจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด.
ว่าด้วยสัมปชานะ
[๓๔๗] ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุจะดํารงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบทําจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร ดูก่อนอานนท์ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.
(๒) เข้าทุติยฌาณ มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.
(๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุข อยู่.
(๔) เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่.
ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดํารงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทําจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 17
ภิกษุนั้น ย่อมใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกําลังใส่ใจความว่างภายใน จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั่งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น. ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากําลังใส่ใจความว่างภายใน จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายในด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้. ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก. ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก. ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกําลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น. ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากําลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้.
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุนั้นพึงดํารงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทําจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่น ในสมาธินิมิตข้างต้นนั้นแล เธอย่อมใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกําลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้นภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากําลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้. ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกําลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 18
ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากําลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้.
[๓๔๘] ดูก่อนอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงําเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม.
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะยืน เธอย่อมยืนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงําเราผู้ยืนอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการยืน.
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนั่ง เธอย่อมนั่งด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงําเราผู้นั่งอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนั่ง.
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนอน เธอย่อมนอนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงํา เราผู้นอนอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนอน.
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะพูด เธอย่อมใส่ใจว่า เราจักไม่พูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องเลวทรามเป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นเรื่องของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกําหนัด เพื่อดับกิเลส
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 19
เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอํามาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบกัน เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องถนนหนทาง เรื่องทาสีในสถานที่ตักน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยเหตุนั้นเหตุนี้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด และเธอใส่ใจว่าเราจักพูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกําหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะตรึก เธอย่อมใส่ใจว่า เราจักไม่ตรึกในวิตกเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกที่เลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่เป็นไป เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกําหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการตรึก และเธอใส่ใจว่า เราจักตรึกในวิตกเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกของพระอริยะ เป็นเครื่องนําออก ที่นําออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ทําตาม คือ เนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในการตรึก.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 20
[๓๔๙] ดูก่อนอานนท์ กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่างเป็นไฉนคือรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด เสียงที่รู้ด้วยโสต... กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ... รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจเป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด ดูก่อนอานนท์ นี้แล กามคุณ ๕ อย่าง ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า มีอยู่หรือหนอแล ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง ดูก่อนอานนท์ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า มีอยู่แลที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกําหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เรายังละไม่ได้แล้ว แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่าไม่มีเลยที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกําหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เราละได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องกามคุณ ๕..
[๓๕๐] ดูก่อนอานนท์ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้แล ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอยู่ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 21
แห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ เธอผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้อยู่ ย่อมละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ของเราได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอุปาทานขันธ์ ๕.
ดูก่อนอานนท์ ธรรมนั้นๆ เหล่านี้แล เนื่องมาแต่กุศลส่วนเดียวไกลจากข้าศึก เป็นโลกุตตระ อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้ ดูก่อนอานนท์ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สาวกมองเห็นอํานาจประโยชน์อะไร จึงควรใกล้ชิดติดตามศาสดา.
ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเหตุ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแบบอย่าง มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย ขอได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า เนื้อความแห่งพระภาษิตนี้แจ่มแจ้งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจําไว้.
ว่าด้วยกถาวัตถุ ๑๐
[๓๕๑] พ. ดูก่อนอานนท์ สาวกไม่ควรจะติดตามศาสดาเพียงเพื่อฟังสุตตะ เคยยะ และไวยากรณ์เลย นั่นเพราะเหตุไร เพราะธรรมทั้งหลายอันพวกเธอสดับแล้ว ทรงจําแล้ว คล่องปากแล้ว เพ่งตามด้วยใจแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น เป็นเวลานาน ดูก่อนอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้ชิดติดตามศาสดาเพื่อฟังเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อความคลายกําหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 22
ความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ.
ดูก่อนอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น จะมีอุปัทวะของอาจารย์ อุปัทวะของศิษย์ อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์.
[๓๕๒] ดูก่อนอานนท์ ก็อุปัทวะของอาจารย์ย่อมมีได้อย่างไร ดูก่อนอานนท์ ศาสดาบางท่านในโลกนี้ ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งและลอมฟาง เมื่อศาสดานั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบทจะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว ศาสดานั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่นจะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูก่อนอานนท์ ศาสดานี้เรียกว่า อาจารย์มีอุปัทวะด้วยอุปัทวะของอาจารย์ อกุศลธรรมอันลามกเศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะต่อไป ได้ฆ่าศาสดานั้นเสียแล้ว ดูก่อนอานนท์อย่างนี้แล อุปัทวะของอาจารย์ย่อมมีได้.
[๓๕๓] ดูก่อนอานนท์ ก็อุปัทวะของศิษย์ย่อมมีได้อย่างไร ดูก่อนอานนท์ สาวกของศาสดานั้นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามศาสดานั้น ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งและลอมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่นจะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 23
อานนท์ สาวกนี้เรียกว่าศิษย์มีอุปัทวะด้วยอุปัทวะของศิษย์ อกุศลธรรมอันลามก เศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้วดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แลอุปัทวะของศิษย์ย่อมมีได้.
อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์
[๓๕๘] ดูก่อนอานนท์ ก็อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้อย่างไร ดูก่อนอานนท์ ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลสรู้เองโดยชอบถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ. ดําเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัดคือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และล้อมฟาง เมื่อตถาคตนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเขาไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว ตถาคตนั้นย่อมไม่ปรารถนาอย่างหมกมุ่น ไม่ถึงความวุ่นวาย ไม่เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูก่อนอานนท์ ส่วนสาวกของตถาคตผู้ศาสดานั่นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามคถาคตผู้ศาสดา ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัดคือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นย่อมปรารถนาอย่างหมกมุ่น ถึงความวุ่นวาย เวียนมา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 24
เพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูก่อนอานนท์ สาวกนี้เรียกว่าผู้ประพฤติพรหมจรรย์มีอุปัทวะด้วยอุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ อกุศลธรรมอันลามกเศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบากเป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้ว ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้.
ดูก่อนอานนท์ ในอุปัทวะทั้ง ๓ นั้น อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์นี้ มีวิบากเป็นทุกข์ มีวิบากเผ็ดร้อนกว่าอุปัทวะของอาจารย์และอุปัทวะของศิษย์ทั้งเป็นไปเพื่อความตกต่ําด้วย ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องเราด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน.
[๓๕๕] ดูก่อนอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตรอย่างไร ดูก่อนอานนท์ ศาสดาในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี้เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้นไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้และประพฤติหลีกเลี่ยงคําสอนของศาสดา ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตร.
ว่าด้วยมิตรปฏิบัติ
[๓๕๖] ดูก่อนอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึกอย่างไร ดูก่อนอานนท์ ศาสดา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 25
ในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี้เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้และไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคําสอนของศาสดา ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก.
ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน ดูก่อนอานนท์ เราจักไม่ประคับประคองพวกเธอ เหมือนช่างหม้อประคับประคองภาชนะดินดิบที่ยังดิบๆ อยู่ เราจักข่มแล้วๆ จึงบอก จักยกย่องแล้วๆ จึงบอก ผู้ใดมีแก่นสารผู้นี้จักตั้งอยู่.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ มหาสูญญตสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 26
อรรถกถามหาสูญญตาสูตร
มหาสุญญตาสูตร (๑) มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาฬเขมกสฺส ความว่า เจ้าศากยะนั้น มีผิวดํา. ก็คําว่า เขมโก เป็นชื่อของเจ้าศากยะนั้น. บทว่า วิหาโร หมายถึงที่พักซึ่งเจ้าศากยะล้อมรั้ว ณ ประเทศแห่งหนึ่ง ใกล้นิโครธารามนั้นแหละ สร้างซุ้มประตู ประดิษฐานเสนาสนะรูปหงส์เป็นต้นและมาล (เรือนยอดเดียว) มณฑลโรงฉันเป็นต้น สร้างไว้. บทว่า สมฺพหุลานิ เสนาสนานิ ได้แก่ เตียง ตั่ง ฟูก หมอน เสื่อ ท่อนหนัง สันถัต (ที่รองนั่ง ที่ปูลาด) ที่ทําด้วยหญ้า สันถัตที่ทําด้วยใบไม้ สันถัตที่ทําด้วยฟางเป็นต้น ซึ่งเขาปูลาดไว้ คือ ตั้งเตียงจดเตียง ฯลฯ ตั้งสันถัตที่ทําด้วยฟาง จดสันถัตที่ทําด้วยฟางเหมือนกัน. ได้เป็นเหมือนที่อยู่ของภิกษุที่อยู่กันเป็นคณะ. บทว่า สมฺพหุลา นุโข ความว่า ขึ้นชื่อว่า ความสงสัยย่อมไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระองค์ทรงถอนกิเลสทั้งปวงได้แล้วที่โพธิบัลลังก็นั่นแล. ปุจฉาที่มีวิตกเป็นบุพภาคก็ดี และนุอักษรที่มีวิตกเป็นบุพภาค (ส่วนเบื้องต้น) ก็ดี เป็นเพียงนิบาต เมื่อถึงวาระพระบาลี ย่อมเป็นอันไม่ต้องวินิจฉัย.
ได้ยินว่า ก่อนหน้าแต่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่เคยทอดพระเนตรเห็นภิกษุทั้งหลายจะอยู่ในที่เดียวกัน ถึง ๑๐ รูป ๑๒ รูป.
ครั้งนั้น พระองค์ได้มีพระดําริดังนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า การอยู่เป็นคณะนี้ได้ประพฤติปฏิบัติกันมาในวัฏฏะแล้ว เหมือนน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำ และการอยู่เป็นคณะก็ได้ประพฤติกันมาแล้วในนรก กําเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ปิตติวิสัยและอสุรกายก็มี ในมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลกก็มี นรกหมื่นโยชน์แน่นไปด้วยสัตว์ทั้งหลาย เหมือนทะนานที่เต็มไปด้วยผงดีบุก เหล่าสัตว์ใน
(๑) พระสูตรเป็น มหาสุญญตสูตร
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 27
สถานที่เขาลงโทษด้วยเครื่องจองจํา ๕ ประการ จะประมาณหรือกําหนดไม่ได้ เหล่าสัตว์ที่อยู่กันเป็นคณะย่อมเดือดร้อนในที่ซึ่งถูกมีดฟันเป็นต้น เหมือนอย่างนั้น. ในกําเนิดสัตว์เดียรัจฉาน หมู่ปลวกในจอมปลวกแห่งหนึ่ง ย่อมจะประมาณหรือกําหนดไม่ได้ และหมู่มดแดงเป็นต้น แม้ในรังแต่ละรังเป็นต้น ก็เหมือนกัน และแม้ในกําเนิดสัตว์เดียรัจฉานก็ย่อมอยู่รวมกันเป็นคณะ ก็นครเปรตมีคาวุตหนึ่งก็มี ครึ่งโยชน์ก็มี เต็มไปด้วยเปรต แม้ในพวกเปรตก็อยู่รวมกันเป็นคณะอย่างนี้แหละ. ภพอสูรมีประมาณหมื่นโยชน์เหมือนรูหูที่เอาเข็มเสียบไว้ที่หู แม้ในอสุรกาย ก็ย่อมอยู่กันเป็นคณะอย่างนี้. ในมนุษยโลกเฉพาะกรุงสาวัตถี มีถึงห้าล้านเจ็ดแสนตระกูล. ในกรุงราชคฤห์ทั้งภายในภายนอก มีมนุษย์อาศัยอยู่ ๑๘ โกฏิ ในฐานะแม้อื่นๆ คือ แม้ในมนุษยโลกก็อยู่กันเป็นคณะเหมือนกัน. แม้ในเทวโลก และพรหมโลก ตั้งต้นแต่ภุมมเทวดาไป ก็อยู่กันเป็นคณะ. ก็เทวบุตรแต่ละองค์ย่อมมีเทพอักษรผู้ฟ้อนรําถึงสองโกฏิครึ่ง บางองค์มีถึง ๙ โกฏิ ถึงพรหมจํานวนนับหมื่นก็อยู่รวมในที่เดียวกัน. แต่นั้นทรงดําริว่า เราบําเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ ถึง ๔ อสงไขยแสนกัปก็เพื่อกําจัดการอยู่รวมเป็นคณะ แต่ภิกษุเหล่านี้ นับจําเดิมแต่นี้ไป ภิกษุเหล่านี้ย่อมเกาะกลุ่มยินดีในหมู่กระทํากรรมไม่สมควรเลย พระองค์ทรงเกิดธรรมสังเวช เพราะภิกษุทั้งหลายเป็นเหตุ ทรงดําริว่า ถ้าเราจักบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุสองรูปไม่พึงอยู่ในที่เดียวกัน แต่ไม่สามารถจะบัญญัติได้ เอาละเราจะแสดงพระสูตรชื่อ มหาสุญญตาปฏิบัติ ซึ่งจักเป็นเหมือนการบัญญัติสิกขาบทสําหรับกุลบุตรผู้ใคร่ต่อการศึกษา และเหมือนกระจกสําหรับส่องหมู่สัตว์ทุกหมู่เหล่า ที่วางไว้ ณ ประตูเมือง แต่นั้นกษัตริย์เป็นต้น เห็นโทษของตนในกระจกบานหนึ่ง ละโทษนั้น ย่อมเป็นผู้หาโทษมิได้ ฉันใด แม้เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ล่วงไปถึง ๕,๐๐๐ ปี กุลบุตรทั้งหลายย่อมระลึกถึงพระสูตรนี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 28
จักบรรเทาความเป็นหมู่ ยินดีในเอกีภาพ (ความเป็นแห่งบุคคลผู้เดียว) จักกระทําที่สุดแห่งวัฏฏทุกข์ได้.กุลบุตรทั้งหลายระลึกถึงพระสูตรนี้แล้ว บรรเทาความเป็นหมู่ยังทุกข์ในวัฏฏะให้สิ้นไป แล้วปรินิพพาน นับไม่ถ้วน เหมือนยังมโนรถของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้บริบูรณ์. ก็แม้ในวาลิกปิฏฐิวิหาร พระอภัยเถระผู้ ชํานาญพระอภิธรรมสาธยายพระสูตรนี้ รวมกับภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก ในวัสสูปนายิกสมัย (ดิถีเข้าพรรษา) กล่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโปรดให้ทําอย่างนี้ พวกเราจะทําอย่างไรกัน.ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด บรรเทาความอยู่รวมเป็นคณะ ยินดีในเอกีภาพ แล้วบรรลุพระอรหัตภายในพรรษา. พระสูตรนี้ชื่อว่า ทําลายความอยู่รวมเป็นคณะด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ฆฏายะ ได้แก่ เจ้าศากยะผู้มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า วิหาเร ความว่า แม้ในวิหารนี้ พึงทราบว่า สร้างไว้ในเอกเทศของนิโครธารามนั้นเองเหมือนวิหารของเจ้าศากยะชื่อ กาฬเขมกะ. บทว่า จีวรกมฺมํ ความว่า การจัดแจงเอาผ้าเก่าเศร้าหมอง มาดามปะและซักเป็นต้นก็ดี ผ้าที่เกิดขึ้นเพื่อทําจีวรจะยังไม่ได้กะ และยังไม่เย็บมาจัดแจงก็ดีก็ควร. แต่ในที่นี้ประสงค์เอาส่วนที่ยังไม่ได้จัดทํา. ก็มนุษย์ทั้งหลายได้ถวายผ้าจีวรแก่พระอานนท์เถระ. เพราะฉะนั้นพระเถระจึงชวนภิกษุเป็นอันมากไปทําจีวรกรรมในวิหารนั้น. แม้ภิกษุเหล่านั้นนั่งตั้งแต่เริ่มร้อยเข็มแต่เช้าตรู่ ลุกขึ้นในเวลาไม่ปรากฏ. เมื่อเย็บเสร็จแล้วภิกษุเหล่านั้นคิดว่าจักจัดเสนาสนะแต่ยังไม่ได้จัด. บทว่า จีวรกาลสมโย โน ความว่า ได้ยินว่า พระเถระคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงเห็นเสนาสนะทั้งหลายที่ภิกษุเหล่านี้ยังไม่ได้เก็บไว้แน่แท้ด้วยประการฉะนี้ พระศาสดาจักไม่ทรงพอพระทัยประสงค์จะกําหราบ เราจักช่วยเหลือภิกษุเหล่านี้ เพราะฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวอย่างนี้. ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ พระอานนท์ทูลว่าพระเจ้าข้า ภิกษุเหล่านี้ มิใช่มุ่งแต่การงานอย่างเดียวเท่านั้น แต่อยู่อย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 29
โดยจีวรกิจ. บทว่า น โข อานนฺท ความว่า ดูก่อนอานนท์ กัมมสมัยก็ดี อกัมสมัยก็ดี จีวรกาลสมัยก็ดี อจีวรกาลสมัยก็ดี จงยกไว้ ภิกษุที่ยินดีด้วยการคลุกคลี ย่อมไม่งามเลย เธออย่าได้ช่วยเหลือ ในฐานะที่ไม่ควรช่วยเหลือ.บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺคณิกา เป็นบทรวมบริษัทของตน. บทว่า คโณ เป็นบทรวมชน ต่างๆ. ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุจะยินดีด้วยการคลุกคลีก็ตาม ยินดีในคณะก็ตาม ยินดีในความหมายแน่นของหมู่ เกี่ยวเนื่องด้วยหมู่ย่อมไม่งามโดยประการทั้งปวง. แต่ภิกษุปัดกวาดที่พักกลางวัน ในเวลาหลังภัตรแล้วล้างมือเท้าสะอาด รับมูลกัมมัฏฐาน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ย่อมงดงามในพระพุทธศาสนา.
บทว่า เนกฺขมฺมสุขํ ความว่า สุขของภิกษุผู้ออกจากกามแม้จะเป็นสุขที่เกิดแต่ความสงบ ก็จัดเป็นสุขเกิดแต่ความสงบจากกาม. ก็ที่ชื่อว่า อุปสมสุข เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อสงบกิเลสมีราคะเป็นต้น. ชื่อว่า สัมโพธิสุข เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อรู้พร้อมซึ่งมรรค. บทว่า นิกามลาภี แปลว่า ได้ตามที่ต้องการ คือได้ตามที่ปรารถนา. บทว่า อกิจฺฉลาภี แปลว่า ได้โดยไม่ยาก.บทว่า อกสิรลาภี แปลว่า ได้โดยง่าย. บทว่า สามายิกํ ได้แก่พ้นกิเลสเป็นคราวๆ. บทว่า กนฺตํ แปลว่า เป็นที่ชอบใจ. บทว่า เจโตวิมุตตึ ได้แก่เจโตวิมุตติที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ จัดเป็นวิโมกข์ชั่วสมัย. บทว่า อสามายิตํ ความว่าพ้นจากกิเลสโดยไม่เนื่องด้วยสมัย. อัจจันตวิมุตติจัดเป็นโลกุตตระแท้. สมดังที่ตรัสไว้ว่า อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ไม่เป็นไปชั่วสมัย.บทว่า อกุปฺปํ แปลว่า ไม่ยังกิเลสให้กําเริบ. ตามที่อธิบายมานี้ ท่านกล่าวหมายถึงอะไร. ภิกษุที่ชอบคลุกคลีกันและผูกพันเป็นคณะ ย่อมไม่อาจจะยังโลกิยคุณและโลกุตตรคุณให้เกิดขึ้นได้. แต่ถ้าบรรเทาการอยู่เป็นคณะ ยินดี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 30
ในเอกภาพ ก็อาจจะยังโลกิยคุณและโลกุตตรคุณให้เกิดได้ จริงอย่างนั้นแม้พระวิปัสสีโพธิสัตว์ แวดล้อมไปด้วยบรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูป เที่ยวไป ๗ ปีก็ไม่อาจจะยังสัพพัญุตญาณให้เกิดได้. ครั้นบรรเทาความเป็นอยู่เป็นคณะแล้วยินดีในเอกภาพ ขึ้นสู่โพธิมณฑล ๗ วัน. ยังคุณแห่งสัพพัญูให้เกิดแล้ว.พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย เที่ยวไปตลอด ๖ ปี กับภิกษุเบญจวัคคีย์ ก็ไม่สามารถจะยังคุณแห่งพระสัพพัญูให้เกิดขึ้นได้. เมื่อพระเบญจวัคคีย์หลีกไปแล้ว ทรงยินดีในเอกภาพ เสด็จขึ้นสู่โพธิมณฑล ยังคุณแห่งพระสัพพัญูให้เกิดแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงว่า ผู้ที่ชอบคลุกคลีไม่มีทางที่จะบรรลุคุณพิเศษได้อย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงความเกิดโทษ จึงตรัสว่า นาหํ อานนฺท เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า รูปํ ได้แก่สรีระ. บทว่า ยตฺถ รตฺตสฺส ได้แก่ ยินดีโดยกําหนัดในรูปใด. บทว่า น อุปฺปชฺเชยฺยุํ ความว่า ไม่เกิดแก่ภิกษุผู้กําหนัดในรูปใด เราไม่พิจารณาเห็นรูปนั้น ที่แท้ย่อมบังเกิดนี้ได้ เหมือนเกิดแก่ปริพพาชกชื่อว่า สัญชัย โดยความเป็นอย่างอื่น คราวเมื่อพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเป็นสาวกของพระทศพล เหมือนเกิดแก่นิครนถ์นาฏบุตร คราวอุบาลีคฤหบดีเปลี่ยนใจและเหมือนเกิดแก่เศรษฐีเป็นต้น ในปิยชาติกสูตร.
บทว่า อยํ โข ปน อานนฺท เป็นบทเชื่อมความอันหนึ่ง. ก็ถ้าภิกษุผู้บวชใหม่ ผู้มีความรู้ต่ําบางรูป จักพึงกล่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าดีแต่นําพวกเราออกจากหมู่ ประกอบไว้ในความโดดเดี่ยว เหมือนชาวนานําโคที่เข้าไปสู่นาออกจากนา ส่วนพระองค์เองแวดล้อมไปด้วยพระราชาและข้าราชบริพารเป็นต้น เพราะฉะนั้น พระตถาคตแม้จะประทับนั่งท่ามกลางบริษัทมีจักรวาลเป็นที่สุด ก็ทรงเริ่มเทศนานี้ เพื่อจะทรงแสดงว่าเป็นผู้อยู่โดดเดี่ยว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 31
เพื่อจะไม่ให้โอกาสภิกษุบางรูปนั้นพูดจ้วงจาบได้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพนิมิตฺตานํ ได้แก่ นิมิตที่ปรุงแต่งแล้วมีรูปเป็นต้น. บทว่า อชฺฌตฺตํ ความว่า ในภายในตน. บทว่า สฺุตํ ได้แก่ สุญญตาผลสมาบัติ. บทว่า ตตฺถ เจ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. อธิบายว่า เท่ากับ ตํ เจ. บทว่า ปุน ตตฺร ความว่า พระตถาคตประทับอยู่ท่ามกลางบริษัทนั้น. บทว่า วิเวกนินฺเนน ได้แก่น้อมไปในพระนิพพาน. บทว่า พฺยนฺตีภูเตน ความว่า ปราศจาก คือ สลัดออก ได้แก่ พรากจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ.บทว่า อุยฺโยชนิกปฏิสํยุตฺยํ ความว่า ประกอบด้วยวาจาที่ชักชวนอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปเถิด. ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ เวลาไหนตอบว่า ตรัสในเวลาหลังภัตกิจบ้าง ในเวลาบําเพ็ญพุทธกิจในยามต้นบ้าง.พระผู้มีพระภาคเจ้าสําเร็จสีหไสยาสน์ในพระคันกุฏีภายหลังภัตตาหารออกจากสีหไสยาสน์แล้ว ประทับนั่งเข้าผลสมาบัติ. ในสมัยนั้น บริษัททั้งหลายย่อมประชุมกันเพื่อฟังธรรม. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเวลาแล้วเสด็จออกจากพระคันธกุฏี ตรงไปยังพุทธอาสน์อันประเสริฐ ทรงแสดงธรรมไม่ให้เวลาล่วงผ่านไป เหมือนบุรุษผู้ถือเอาน้ำมันที่หุงไว้สําหรับประกอบยา ทรงส่งบริษัทไปด้วยจิตที่โน้มไปในวิเวก. เมื่อปุริมยามผ่านไป ทรงส่งบริษัทกลับ ด้วยพระดํารัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ ราตรีผ่านไปแล้วแล บัดนี้พวกท่านจงสําคัญกาลอันสมควรเถิด. นับจําเดิมแต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายบรรลุพระโพธิญาณแล้ว แม้วิญญาณทั้ง ๑๐ ของพระองค์ ก็น้อมไปเพื่อพระนิพพานอย่างเดียว.
บทว่า ตสฺมาติหานนฺท ความว่า เพราะสุญญตาวิหาร สงบประณีต ฉะนั้น. บทว่า อชฺฌตฺตเมว ได้แก่ ภายในโคจรนั่นแหละ.ภายในของตนในบทนี้ว่า อชฺฌตฺตํ สฺุตํ อธิบายว่า อาศัยเบญจขันธ์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 32
ของตน. บทว่า สมฺปชาโน โหติ ความว่า รู้สึกตัว โดยรู้ว่ากัมมัฏฐานยังไม่สมบูรณ์. บทว่า พหิทฺธา ได้แก่ ในเบญจขันธ์ของผู้อื่น. บทว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา ความว่า บางครั้งภายใน บางครั้งภายนอก. บทว่า อเนฺชํ ความว่า ใส่ใจ อเนญชสมาบัติคือ อรูปสมาบัติว่า เราจักเป็นอุภโตภาควิมุตติ.บทว่า ตสฺมึเยว ปุริมสฺมึ ท่านกล่าวหมายถึงฌานที่เป็นบาท. ก็เมื่อภิกษุนั้นออกจากฌานที่เป็นบาท ที่ยังไม่คล่องแคล่ว ใส่ใจสุญญตาในภายในจิตย่อมไม่แล่นไปในสุญญตาสมาบัตินั้น. แต่นั้น ใส่ใจไปในภายนอกว่า ในสันดานของผู้อื่นเป็นอย่างไรหนอ. จิตย่อมไม่แล่นไปในสุญญตาสมาบัตินั้น.แต่นั้น ใส่ใจทั้งภายในและภายนอกว่า ในสันดานของตนบางครั้งเป็นอย่างไร ในสันดานของผู้อื่นบางครั้งเป็นอย่างไร. จิตย่อมไม่แล่นไป แม้ในสุญญตาสมาบัตินั้น. แต่นั้น ผู้ประสงค์จะเป็นอุภโตภาควิมุตติ ใส่ใจอเนญชาสมาบัติว่า ในอรูปสมาบัติเป็นอย่างไรหนอแล. จิตย่อมไม่แล่นไป แม้ในอเนญชาสมาบัตินั้น. ภิกษุผู้ละเพียรไม่พึงประพฤติตามหลังอุปัฏฐากเป็นต้น ด้วยคิดว่า บัดนี้จิตของเรายังไม่แล่นไป แค่พึงใส่ใจถึงฌานอันเป็นบาทให้สม่ําเสมอด้วยดีอย่างเดียว. เพื่อจะทรงแสดงว่า การใส่ใจพระกัมมัฏฐานย่อมแล่นไปสะดวกเหมือนบุรุษจะตัดไม้ เมื่อขวานวิ่น ต้องลับขวานเสียก่อนแล้วจึงค่อยตัด ขวานจึงจะคม ด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสคํามีอาทิว่า ตสฺมิฺเว ดังนี้.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงว่า เมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติอย่างนี้ การใส่ใจในสมาบัตินั้นๆ ย่อมสมบูรณ์จึงตรัสว่า ปกฺขนฺทติ. บทว่า อิมินา วิหาเรน ได้แก่ ด้วยวิหารธรรมคือสมถะและวิปัสสนา. บทว่า อิติ ตตฺถ สมฺปชาโน ความว่า แม้เมื่อกําลังเดินจงกรมอยู่ ก็รู้ชัดว่า เมื่อกัมมัฏฐานนั้นสมบูรณ์ กัมมัฏฐานของเราก็สมบูรณ์. บทว่า สยติ แปลว่า ย่อมนอน. ในข้อนี้ความว่า ภิกษุจะเดินจงกรมเวลาไหนๆ ก็รู้ว่า บัดนี้เราอาจเดินจงกรมได้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 33
ตลอดเวลามีประมาณเท่านี้ ไม่พักอิริยาบถเลย ดํารงอยู่. ในวาระทั้งปวงก็นัยนี้. บทว่า อิติห ตตฺถ ความว่า ย่อมรู้ตัวในอิริยาบถนั้นๆ โดยรู้ว่าเราจักไม่กล่าวอย่างนี้. ถึงในทุติยวาระ ภิกษุก็รู้ตัว โดยรู้ว่า เราจะกล่าวถ้อยคําเห็นปานนี้. ก็ภิกษุนี้ยังมีสมถวิปัสสนาอ่อนอยู่โดยแท้. เพื่อจะตามรักษาสมถวิปัสสนาเหล่านั้น พึงปรารถนาสัปปายะ ๗ อย่าง คือ
อาวาส ๑ โคจร ๑ การสนทนา ๑ บุคคล ๑ โภชนะ ๑ ฤดู ๑ อิริยาบถ ๑
เพื่อจะแสดงสัปปายะ ๗ เหล่านั้น จึงตรัสอย่างนี้. ในวิตักกวาระทั้งหลาย พึงทราบความเป็นผู้รู้ตัว ทั้งอวิตกและวิตก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมรรคทั้งสองด้วยการละวิตกดังกล่าวมานี้แล้วบัดนี้ เพื่อจะตรัสบอกการเห็นแจ้ง ตติยมรรค จึงตรัสคํามีอาทิว่า ปฺจ โข อิเม อานนฺท กามคุณา ดังนี้. บทว่า อายตเน ความว่า ในเหตุเกิดกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกามคุณเหล่านั้น. บทว่า สมุทาจาโร ได้แก่กิเลสที่ยังละไม่ได้ เพราะยังฟุ้งซ่าน. บทว่า เอวํ สนฺตํ ความว่า มีอยู่อย่างนี้แล. บทว่า สมฺปชาโน ได้แก่รู้ชัด โดยรู้ว่ากัมมัฏฐานยังไม่สมบูรณ์ในทุติยวารมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า เอวํ สนฺตํ แปลว่า มีอยู่อย่างนี้.บทว่า เอวํ สมฺปชาโน ได้แก่ รู้ชัด โดยรู้ว่า กัมมัฏฐานสมบูรณ์ก็เมื่อภิกษุนี้พิจารณาอยู่ว่า ฉันทราคะในกามคุณทั้ง ๕ เราละได้แล้วหรือยังหนอดังนี้ รู้ว่ายังละไม่ได้ ต้องประคองความเพียร จึงจะเพิกถอนฉันทราคะนั้นได้ด้วยอนาคามิมรรค. แต่นั้น พิจารณาผลสมาบัติในลําดับแห่งมรรค ออกจากผลสมาบัติแล้วพิจารณาอยู่จึงรู้ว่าละได้แล้ว. อธิบายว่า ย่อมรู้ชัด โดยรู้ว่าละฉันทราคะนั้นได้แล้ว.
บัดนี้ เมื่อจะตรัสบอกความเห็นแจ้งอรหัตตมรรค จึงตรัสคํามีอาทิว่า ปฺจ โข อิเม อานนฺท อุปาทานกฺขนฺธา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 34
บทว่า โส ปหียติ ความว่า ละมานะว่า มีในรูป ละฉันทะว่ามีในรูปละอนุสัยว่า มีในรูป. ความรู้ชัดในเวทนาเป็นต้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วอย่างนั้นนั่นและ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า อิเม โข เต อานนฺทธมฺมา ดังนี้ ทรงหมายถึงธรรมคือสมถวิปัสสนา มรรคและผลที่ตรัสแล้วในหนหลัง. บทว่ากุสลายตฺติกา แปลว่า มาแต่กุศล. ความจริง กุศลธรรมทั้งหลาย เป็นทั้งกุศล เป็นทั้งธรรมที่เนื่องมาแต่กุศล อากิญจัญญายตนฌานเป็นกุศล เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เป็นทั้งกุศล เป็นทั้งธรรมที่เนื่องมาแต่กุศล เนวสัญญานาสัญญานฌานเป็นกุศล โสดาปัตติมรรคเป็นทั้งกุศล เป็นทั้งธรรมที่เนื่องมาแต่กุศล ฯลฯ อนาคามิมรรค เป็นกุศล อรหัตตมรรค เป็นทั้งกุศล เป็นทั้งธรรมที่เนื่องมาแต่กุศล ปฐมฌานก็จัดเป็นกุศลเหมือนกัน ธรรมที่สัมปยุตด้วยปฐมฌานนั้น เป็นทั้งกุศล เป็นทั้งธรรมที่เนื่องมาแต่กุศล ฯลฯ อรหัตตมรรค เป็นกุศล ธรรมที่สัมปยุตด้วยอรหัตตมรรคนั้น เป็นทั้งกุศล เป็นทั้งธรรมที่เนื่องมาแต่กุศล บทว่า อริยาแปลว่าไม่มีกิเลส คือบริสุทธิ์. บทว่า โลกุตฺตรา แปลว่า ยอดเยี่ยม คือบริสุทธิ์ในโลก. บทว่า อนวกฺกนฺตา ปาปิมตา แปลว่า อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้. ก็มารย่อมไม่เห็นจิตของภิกษุ ผู้นั่งเข้าสมาบัติ๘ มีวิปัสสนาเป็นบาทคือไม่อาจเพื่อจะรู้ว่าจิตของภิกษุนั้นอาศัยอารมณ์ชื่อนี้เป็นไป เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า อนุวกฺกนฺตา. เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทนี้ว่าตํ กึ มฺสิ. ความจริงในคณะก็มีอานิสงส์อย่างหนึ่ง เพื่อจะทรงแสดงอานิสงส์นั้น จึงตรัสคํานี้. บทว่า อนุพนฺธิตุํ แปลว่า ติดตามไป คือแวดล้อม. ในบทว่า น โข อานนฺท นี้ มีวินิจฉัยว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพระอริยสาวกผู้ได้สดับ แล้ว แต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมละอกุศลเจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 35
ดังนี้ เป็นอันทําคนให้เป็นพหูสูต เหมือนทหารที่พรั่งพร้อมด้วยอาวุธ ๕ อย่าง. ก็เพราะภิกษุแม้ถึงจะเรียนสุตตปริยัติ แต่ไม่ปฏิบัติอนุโลมปฏิปทาสมควรแก่ สุตตปริยัตินั้น เธอย่อมชื่อว่า ไม่มีอาวุธนั้น ส่วนภิกษุใดปฏิบัติภิกษุนั้นแหละตั้งชื่อว่ามีอาวุธ ฉะนั้น เมื่อจะแสดงความนี้ว่า ไม่ควรจะติดตาม จึงตรัสว่า น โข อานนฺท ดังนี้.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงเรื่องที่ควรติดตาม จึงตรัสคํามีอาทิว่า ยา จโข ดังนี้เป็นต้น. กถาวัตถุ ๑๐ ในฐานะทั้ง ๓ มาในพระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้. มาด้วยสามารถแห่งธรรมที่เป็นสัปปายะ และธรรมที่เป็นอสัปปายะ ดังในประโยคว่า เราจึงกล่าวกถาเห็นปานนี้ด้วยประการฉะนี้. มาด้วยสามารถแห่งสุตตปริยัติ ดังในประโยคว่า ยทิทํ สุตฺตํ เคยฺยํ แต่ในที่นี้มาแล้วโดยบริบูรณ์ เพราะฉะนั้น เมื่อจะตรัสกถาวัตถุ ๑๐ ในพระสูตรนี้ จึงตรัสรวมไว้ในฐานะนี้.
บัดนี้ เพราะเหตุที่ภิกษุบางพวกแม้จะอยู่รูปเดียว ก็ย่อมไม่เกิดประโยชน์ ฉะนั้นเพื่อจะทรงแสดงโทษในความอยู่โดดเดี่ยว. ทรงหมายถึงภิกษุบางพวกนั้น จึงตรัสคําเป็นต้นว่า เอวํ สนฺเต โข อานนฺท ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ สนฺเต ความว่า เมื่ออยู่อย่างโดดเดี่ยวอย่างนั้น มีอยู่.บทว่า สตฺถา หมายเอาศาสดาเจ้าลัทธิ นอกศาสนา. บทว่า อนฺวาวตฺตนฺติ แปลว่า คล้อยตาม คือเข้าไปหา. บทว่า มุจฺจํ นิกามยติ แปลว่า ปรารถนาความอยากพ้น อธิบายว่า ให้เป็นไป. บทว่า อาจริยูปทฺทเวน ความว่า ชื่อว่าอุปัททวะของอาจารย์ เพราะมีอันตรายคือกิเลสเกิดขึ้นในภายในของตน.แม้ในอุปัททวะที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อวธึสุ นํ แปลว่า ฆ่าศาสดานั้นเสียแล้ว. ก็ท่านกล่าวถึงความตายจากความดี ด้วยบทว่า อวธึสุ นํ นี้. บทว่า วินิปาตาย แปลว่า ให้ตกลงไปด้วยดี. ก็เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวอุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ว่า มีทุกข์เป็นวิบากกว่า มีผลเผ็ดร้อน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 36
เป็นวิบากกว่า และเป็นไปเพื่อความตกต่ํา. แท้จริงการบวชภายนอกพระศาสนามีลาภน้อย และในการบวชนอกศาสนานั้น ไม่มีทางจะให้เกิดคุณใหญ่หลวงได้เลย จะมีก็เพียงแต่สมาบัติ ๘ อภิญญา ๕ เท่านั้น. เปรียบเหมือนผู้ที่พลัดตกจากหลังลา ย่อมไม่มีทุกข์มาก จะมีก็เพียงแต่ตัวเปื้อนฝุ่นเท่านั้นฉันใด ในลัทธินอกศาสนาก็ฉันนั้น จะเสื่อมก็เพียงโลกิยคุณเท่านั้น ฉะนั้นอุปัทวะสองอย่างข้างต้น ท่านจึงไม่กล่าวไว้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. แต่การบวชในพระศาสนามีลาภมาก และในการบวชในพระศาสนานั้น มีคุณอันจะพึงได้บรรลุใหญ่หลวงนัก คือมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑. ขัตติยกุมารผู้อุภโตสุชาต ประทับบนคอช้าง เสด็จเลียบพระนคร เมื่อตกจากคอช้างย่อมถึงทุกข์มาก ฉันใด ผู้ที่เสื่อมจากพระศาสนาก็ฉันนั้น ย่อมเสื่อมจากโลกุตตรคุณ ๙ ประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวอุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ไว้อย่างนี้.
บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะอุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์มีทุกข์เป็นวิบากมากกว่า อุปัททวะที่เหลือ หรือเพราะข้อปฏิบัติของผู้เป็นศัตรูย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน ข้อปฏิบัติของผู้เป็นมิตร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ ฉะนั้น พึงประกอบการเรียกร้องด้วยความเป็นมิตร และไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นศัตรู ด้วยอรรถทั้งก่อนแลหลังอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ บทว่า มิตฺตวตฺตาย แปลว่า ด้วยการปฏิบัติฉันมิตร. บทว่า สปตฺตวตฺตาย แปลว่า ด้วยการปฏิบัติอย่างศัตรู. บทว่าโอกฺกมฺม จ สตฺถุ สาสเน ความว่า เมื่อจงใจล่วงอาบัติ แม้เพียงทุกกฏและทุพภาษิต ชื่อว่า ประพฤติหลีกเลี่ยง เมื่อไม่จงใจล่วงเช่นนั้น ชื่อว่าไม่ประพฤติหลีกเลี่ยง. บทว่า น เต อหํ อานนฺท ตถา ปรกฺกมิสฺสามิ ความว่า เราไม่ปฏิบัติในเธอทั้งหลายอย่างนั้น. บทว่า อามเก แปลว่า ยัง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 37
ไม่สุก. บทว่า อามกมตฺเต แปลว่า ในภาชนะดิบ คือยังไม่แห้งดี. แท้จริงช่างหม้อ ค่อยๆ เอามือทั้งสองประคองภาชนะดิบ ที่ยังไม่แห้งดี ยังไม่สุกด้วยคิดว่า อย่าแตกเลย. ขยายความว่า เราจักไม่ปฏิบัติในเธอทั้งหลายเหมือนช่างหม้อปฏิบัติในภาชนะดิบนั้น ด้วยประการฉะนี้. บทว่า นิคฺคยฺหนิคฺคยฺห ความว่า เราจักไม่สั่งสอนหนเดียว แล้วนิ่งเสีย แต่จะตําหนิแล้ว แล้วสั่งสอนคือพร่ําสอนบ่อยๆ. บทว่า ปเวยฺห ปเวยฺห แปลว่า เราจักยกย่อง จักยกย่อง. เปรียบเหมือนช่างหม้อ คัดภาชนะที่เสียๆ ในภาชนะที่สุกออกรวมกองไว้ ทุบๆ คือเอาแต่ส่วนที่ดีเท่านั้น ฉัน ใด แม้เราก็ฉันนั้น จักสนับสนุนยกย่อง กล่าวสอนตักเตือน พร่ําสอนบ่อยๆ. บทว่า โย สาโรโส สฺสติ ความว่า บรรดาเธอทั้งหลายที่เรากล่าวสอนอยู่ ผู้ใดมีแก่นสารคือ มรรคผล ผู้นั้น จักดํารงอยู่ได้ อีกอย่างหนึ่ง แม้โลกิยคุณ ก็ประสงค์เอาว่า เป็นแก่นสารในที่นี้เหมือนกัน. คําที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถามหาสุญญตาสูตรที่ ๒