พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36139
อ่าน  611

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 226

๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 226

๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารตโปทาราม เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิลุกขึ้นในราตรีตอนใกล้รุ่งเข้าไปยังสระตโปทะเพื่อสรงสนานร่างกาย. ครั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงกลับขึ้นมานุ่งสบงผืนเดียว ยืนผึ่งตัวให้แห้งอยู่. ฉะนั้นล่วงปฐมยามไปแล้ว มีเทวดาตนหนึ่ง มีรัศมีงาม ส่องสระตโปทะให้สว่างทั่ว เข้าไปหาท่านพระสมิทธิยังที่ที่ยืนอยู่นั้น แล้วได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๕๔๙] เทวดานั้น พอยืนเรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวกะท่านพระสมิทธิดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านทรงจําอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม.

ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจําไม่ได้ ก็ท่านทรงจําได้หรือ.

เท. ดูก่อนภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจําไม่ได้ และท่านทรงจําคาถาแสดงราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม.

ส. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจําไม่ได้ ก็ท่านทรงจําได้หรือ.

เท. ดูก่อนภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจําไม่ได้ ขอท่านจงเล่าเรียน และทรงจําอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญเถิด เพราะอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 227

เทวดานั้น กล่าวดังนี้แล้ว จึงหายไป ณ ที่นั้นเอง.

[๕๕๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิ พอล่วงราตรีนั้นไปแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อคืนนี้ตอนใกล้รุ่ง ข้าพระองค์ลุกขึ้นเข้าไปยังสระตโปทะเพื่อสรงสนานร่างกาย ครั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงกลับมานุ่งแต่สบงผืนเดียวยืนผึ่งตัวให้แห้งอยู่. ขณะนั้นล่วงปฐมยามไปแล้วเทวดาองค์หนึ่ง มีรัศมีงามส่องสระตโปทะให้สว่างทั่ว เข้าไปหาข้าพระองค์ยังที่ที่ยืนอยู่นั้น แล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะข้าพระองค์ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านทรงจําอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทวดานั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ข้าพระองค์ได้กล่าวกะเทวดานั้นดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจําไม่ได้ท่านทรงจําได้หรือ. เทวดานั้นกล่าวว่า ดูก่อนภิกษุแม้ข้าพเจ้าก็ทรงจําไม่ได้และท่านทรงจําคาถาแสดงราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม. ข้าพระองค์ตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจําไม่ได้ ก็ท่านทรงจําได้หรือ. เทวดานั้นกล่าวว่า ดูก่อนภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจําไม่ได้ ขอท่านจงเล่าเรียน และทรงจําอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญเถิด เพราะอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์.เทวดานั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงหายไป ณ ที่นั้นเอง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดแสดงอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ แก่ข้าพระองค์เถิด.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 228

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงพึง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป. ท่านพระสมิทธิทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

[๕๕๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นเป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้น พึงเจริญธรรมนั้นเนื่องๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทําความเพียรเสียในวันนี้แหละใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้นย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลายพระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ ครั้นแล้วพระสุคตจึงทรงลุกจากอาสนะ เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 229

พวกภิกษุปรึกษากันถึงอุเทศ

[๕๕๒] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึงได้มีข้อปรึกษากันอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกเราว่า.

บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิดพึงทําความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

ดังนี้แล มิได้ทรงจําแนกเนื้อความโดยพิสดาร ก็ทรงลุกออกจากอาสนะเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอแลจะพึงจําแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้. ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่าท่านพระมหากัจจานะนี้แล อันพระศาสดาและพวกภิกษุ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 230

ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว ก็ท่านพระมหากัจจานะ พอจะจําแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่แล้ว พึงสอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะเถิด.

[๕๕๓] ต่อนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะ ครั้นผ่านคําทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า ดูก่อนท่านกัจจานะ พระผู้มีพระเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกกระผมว่า

บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคล... นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ

ดังนี้แล มิได้ทรงจําแนกเนื้อความโดยพิสดาร ก็ทรงลุกจากอาสนะเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ดูก่อนท่านกัจจานะ ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พวกกระผมนั้นได้มีข้อปรึกษากันอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกเราว่า

บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคล... นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ

ดังนี้แล มิได้ทรงจําแนกเนื้อความโดยพิสดาร ก็ทรงลุกจากอาสนะเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอแลจะพึงจําแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ดูก่อนท่านกัจจานะ พวกกระผมนั้นได้มีความ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 231

คิดอย่างนี้ว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้แล อันพระศาสดาและพวกภิกษุผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว ก็ท่านพระมหากัจจานะ พอจะจําแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่แล้วพึงสอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะเถิด ขอท่านพระมหากัจจานะโปรดจําแนกเนื้อความเถิด.

อุปมาด้วยผู้ต้องการไม้แก่น

[๕๕๔] ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายเปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้พึงสําคัญแก่นของต้นไม้ใหญ่ที่มีแก่นตั้งอยู่ว่า ควรหาได้ที่กิ่งและใบ ละเลยรากและลําต้นเสีย ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาประทับอยู่พร้อมหน้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านพากันสําคัญเนื้อความนั้นว่า พึงสอบถามเราได้ ล่วงเลยพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเสีย ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้. ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ทรงมีจักษุ มีญาณ มีธรรม มีความประเสริฐ ตรัส บอก นําออกซึ่งประโยชน์ ประทานอมตธรรม ทรงเป็นเจ้าของธรรม ทรงดําเนินตามนั้นและก็เป็นกาลสมควรแก่พระองค์แล้วที่ท่านทั้งหลายจะพึงสอบถามเนื้อความนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่เราอย่างใด พวกท่านพึงทรงจําไว้อย่างนั้นเถิด.

ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ดูก่อนท่านกัจจานะ แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ทรงมีจักษุ มีญาณ มีธรรม มีความประเสริฐ ตรัส บอก นําออกซึ่งประโยชน์ ประทาน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 232

อมตธรรม ทรงเป็นเจ้าของธรรม ทรงดําเนินตามนั้น และก็เป็นกาลสมควรแก่พระองค์แล้วที่พวกกระผมจะพึงสอบถามเนื้อความนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่พวกกระผมอย่างใด พวกกระผมพึงทรงจําได้อย่างนั้น แต่ว่าท่านพระมหากัจจานะ อันพระศาสดาและพระภิกษุผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว และท่านพอจะจําแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ขอท่านพระมหากัจจานะอย่าทําความหนักใจ โปรดจําแนกเนื้อความเถิด.

กัจจานะ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดีข้าพเจ้าจักกล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นรับคําท่านพระมหากัจจานะว่าชอบแล้วท่านผู้มีอายุ.

[๕๕๕] ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุเทศโดยย่อแก่เราทั้งหลายว่า

บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคล... นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ

ดังนี้ มิได้ทรงจําแนกเนื้อความโดยพิสดาร แล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร นี้แล ข้าพเจ้าทราบเนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้.

[๕๕๖] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายก็บุคคลย่อมคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปว่า จักษุของเราได้เป็นดังนี้ รูปได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 233

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียงว่า โสตของเราได้เป็นดังนี้ เสียงได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่นว่า ฆานะของเราได้เป็นดังนี้ กลิ่นได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรสว่า ชิวหาของเราได้เป็นดังนี้ รสได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะว่า กายของเราได้เป็นดังนี้ โผฏฐัพพะได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว... มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ว่า มโนของเราได้เป็นดังนี้ ธรรมารมณ์ได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินมโมและธรรมารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินจึงชื่อว่า คํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

ผู้ไม่คํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

[๕๕๗] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่คํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปว่า จักษุของเราได้เป็นดังนี้ รูปได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะจึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่า ไม่คํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียงว่า โสตของเราได้เป็นดังนี้ เสียงได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 234

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่นว่า ฆานะของเราได้เป็นดังนี้ กลิ่นได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรสว่า ชิวหาของเราได้เป็นดังนี้ รสได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะว่า กายของเราได้เป็นดังนี้ โผฏฐัพพะได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในกายและธรรมารมณ์ว่า มโนของเราได้เป็นดังนี้ ธรรมารมณ์ได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ จึงไม่เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่คํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่คํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

[๕๕๘] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือ บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่คนยังไม่ได้ว่า ขอจักษุของเราพึงเป็นดังนี้ ขอรูปพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต เพราะความตั้งใจเป็นปัจจัยจึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่คนยังไม่ได้ว่า ขอโสตของเราพึงเป็นดังนี้ขอเสียงพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...

บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่คนยังไม่ได้ว่า ขอฆานะของเราพึงเป็นดังนี้ขอกลิ่นพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...

บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอชิวหาของเราพึงเป็นดังนี้ขอรสพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...

บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอกายของเราพึงเป็นดังนี้ขอโผฏฐัพพะพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 235

บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอมโนของเราพึงเป็นดังนี้ขอธรรมารมณ์พึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต เพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย จึงเพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์ เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

[๕๕๙] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือ บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอจักษุของเราพึงเป็นดังนี้ ขอรูปพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต เพราะความไม่ตั้งใจเป็นปัจจัยจึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่า ไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอโสตของเราพึงเป็นดังนี้ขอเสียงพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...

บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอฆานะของเราพึงเป็นดังนี้ ขอกลิ่นพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต.

บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอชิวหาของเราพึงเป็นดังนี้ ขอรสพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...

บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอกายของเราพึงเป็นดังนี้ขอโผฏฐัพพะพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...

บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอมโนของเราพึงเป็นดังนี้ ขอธรรมารมณ์พึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต เพราะความไม่จงใจเป็นปัจจัย จึงไม่เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 236

ผู้ไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน

[๕๖๐] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไรคือ มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปทั้ง ๒ อย่างที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแล เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะจึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียง...

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่น...

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรส...

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ...

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ อย่างที่เป็นปัจจุบันด้วยกันแล เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

[๕๖๑] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรม.ปัจจุบันอย่างไร คือ มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปทั้ง ๒อย่างที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแล เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ จึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลินจึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียง...

มีความร้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่น...

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรส...

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ...

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 237

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในมโนแลธรรมารมณ์ทั้ง ๒ อย่างที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแล เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ จึงไม่เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

[๕๖๒] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศ โดยย่อแก่เราทั้งหลายว่า

บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคล... นั้นแลว่า ผู้มีราตีหนึ่งเจริญ

ดังนี้ มิได้ทรงจําแนกเนื้อความโดยพิสดาร แล้วทรงลุกจากอาสนะ เสด็จเข้าไปยังพระวิหารนี้แล ข้าพเจ้าทราบเนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้ ก็แหละท่านทั้งหลายหวังอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลสอบถามเนื้อความนั้นเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่ท่านทั้งหลายอย่างใด พวกท่านพึงทรงจําเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น.

[๕๖๓] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น ยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่านพระมหากัจจานะแล้วลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกข้าพระองค์ว่า

บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคล... นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 238

ดังนี้ มิได้ทรงจําแนกเนื้อความโดยพิสดาร แล้วทรงลุกจากอาสนะ เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร พอพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พวกข้าพระองค์นั้น ได้มีข้อปรึกษากันอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกเราว่า

บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังมีมาถึงก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิดพึงทําความเพียรเสียในวันนี้แหละใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่ นั้นย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลาง-คืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ

ดังนี้แล มิได้ทรงจําแนกเนื้อความโดยพิสดาร ก็ทรงลุกจากอาสนะ เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอแลจะพึงจําแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้แล อันพระศาสดาและพวก

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 239

ภิกษุร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้อันวิญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว ก็ท่านพระกัจจานะนี้พอจะจําแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วพึงสอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะเถิด ลําดับนั้นแลพวกข้าพระองค์จึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนั้นกะท่าน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระมหากัจจานะ จําแนกเนื้อความแก่พวกข้าพระองค์นั้นแล้วโดยอาการดังนี้ โดยบทดังนี้ โดยพยัญชนะดังนี้.

[๕๗๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หากพวกเธอสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา เราก็จะพยากรณ์เนื้อความนั้นอย่างเดียวกับที่มหากัจจานะพยากรณ์แล้วเหมือนกัน ก็แหละเนื้อความของอุเทศนั้นเป็นดังนี้แล พวกเธอจงทรงจําเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ มหากัจจนภัทเทกรัตตสูตร ที่ ๓

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 240

อรรถกถามหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตรเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับ มาอย่างนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโปทาราเม ความว่า ในอารามที่มีชื่ออย่างนี้ ด้วยอํานาจแห่งสระชื่อ ตโปทะ คือ มีน้ำร้อน. ได้ยินว่า ภายใต้เวภารบรรพตมีภพนาคประมาณห้าร้อยโยชน์ของนาคที่อยู่ ในแผ่นดินทั้งหลายเป็นเช่นกับเทวโลก ถึงพร้อมด้วยพื้นอันสําเร็จด้วยแก้วมณี และสวนอันเป็นที่รื่นรมย์ทั้งหลาย. ในสถานที่เป็นที่เล่นของนาคทั้งหลายในภพนาคนั้น มีสระน้ำให้ แม่น้ำชื่อ ตโปทา มีน้ำร้อนเดือดพล่านไหลจากสระนั้น. ก็เพราะเหตุไรแม่น้ำนั้นจึงเป็นเช่นนี้. ได้ยินว่า โลกแห่งเปรตใหญ่ล้อมกรุงราชคฤห์.แม่น้ำตโปทา นี้มาในระหว่างมหาโลหกุมภีนรก ทั้งสองในมหาเปรต โลกนั้น.เพราะฉะนั้น แม่น้ำตโปทานั้น จึงเดือดพล่านไหลมา. สมจริงดังพระดํารัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำตโปทานี้ย่อมไหลโดยประการที่สระนั้น มีน้ำใสสะอาด. เย็น ขาว มีท่าดี รื่นรมย์ มีปลาและเต่ามาก และมีปทุมประมาณวงล้อบานสะพรั่ง อนึ่ง แม่น้ำตโปทานี้ไหลผ่านระหว่างมหานรกทั้งสอง เพราะเหตุนั้น แม่น้ำตโปทานี้จึงเดือดพล่านไหลมาดังนี้. ก็สระน้ำใหญ่ เกิดข้างหน้าพระอารามนี้ ด้วยอํานาจแห่งชื่อ สระน้ำใหญ่นั้น วิหารนี้ จึงเรียกว่า ตโปทาราม. บทว่า สมิทฺธิ (พระสมิทธิ) ความว่า นัยว่าอัตภาพของพระเถระนั้น ละเอียด มีรูปสวย น่าเลื่อมใส เพราะฉะนั้น จึงถึงอันนับว่า สมิทธิ. บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยโก ได้แก่เป็นเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์ คือเป็นข้อปฏิบัติ ในส่วนเบื้องต้น. บทว่า อทํ ว วา สุคโต อฏฺายาสนา (พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สุคตศาสดา ตรัสคาถาประพันธ์นี้แล้ว ทรงลุกจากอาสนะ) เป็นต้น พึงให้พิสดารโดยนัยที่กล่าวแล้วในมธุบิณฑิกสูตร.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 241

บทว่า อิติ เม จกฺขุํ (เรามีจักษุอย่างนี้) ความว่า นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งมาติกา ด้วยอํานาจแห่งอายตนะ ๑๒ ในสูตรนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทํามาติกาและวิภังค์ด้วยอํานาจแห่งขันธ์ห้า ในสามสูตรนี้ คือ ในหนก่อนสองสูตร และในข้างหน้าหนึ่งสูตรซึ่งเป็นสูตรที่สี่ แต่ในสูตรนี้ ฝ่ายพระเถระได้นัยว่า มาติกาว ปิตา จึงกล่าวอย่างนี้ เพื่อจําแนกอายตนะสิบสอง. ก็พระเถระเมื่อได้นัยนี้ได้ทําภาระหนัก. คือ แสดงรอยเท้าในที่ไม่มีรอยเท้า การทํารอยเท้าในอากาศด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงพระสูตรนี้ นั้นเทียว จึงทรงตั้งพระเถระนั้นไว้ในตําแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของเราที่จําแนกเนื้อความแห่งภาษิตโดยย่อให้พิสดารได้.

ก็ในสูตรนี้ บทว่า จกฺขุํ ได้แก่จักษุประสาท. บทว่า รูปา ได้แก่รูปทั้งหลายอันมีสมุฏฐานสี่. พึงทราบแม้อายตนะที่เหลือ โดยนัยนี้ บทว่า วิฺาณํ (ความรู้สึก) ได้แก่วิญญาณอันเที่ยง. บทว่า ตทภินนฺทติ (จึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น) ความว่า เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น ด้วยอํานาจแห่งตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า อนฺวาคเมติ ความว่าไปตามด้วยตัณหาและทิฏฐิทั้งหลาย. ก็ในบทว่า อิติ เม มโน อโหสิ อิติ ธมฺมา (เรามีมโนอย่างนี้ เรามีธัมมารมณ์อย่างนี้ ในกาลที่ล่วงไปแล้ว) นั้นบทว่า มโน ได้แก่ ภวังคจิต. บทว่า ธมฺมา ได้แก่ธัมมารมณ์อันเป็นไปในภูมิสาม. บทว่า ปณิทหติ (ตั้ง) คือตั้งไว้ด้วยอํานาจแห่งความปรารถนา บทว่า ปณิธานปจฺจยา (เพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย) ได้แก่ เพราะตั้งความปรารถนาไว้คือเพราะเหตุ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามหากัจจานภัทเทกรัตตสูตรที่ ๓