พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร ว่าด้วยลักษณะผู้มีราตรีเดียวเจริญ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36140
อ่าน  484

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 242

๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

ว่าด้วยลักษณะผู้มีราตรีเดียวเจริญ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 242

๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

ว่าด้วยลักษณะผู้มีราตรีเดียวเจริญ

[๕๖๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล ท่านพระโลมสกังคิยะอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท. ครั้งนั้นแล ล่วงปฐมยามไปแล้ว จันทนเทวบุตร มีรัศมีงามยิ่ง ส่องพระวิหารนิโครธารามให้สว่างทั่ว เข้าไปหาท่านพระโลมสกังคิยะยังที่อยู่ แล้วได้ยืน ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๕๖๖] จันทนเทวบุตรพอยืนเรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวกะท่านพระโลมสกังคิยะดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านทรงจําอุเทศและวิภังค์ ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม.

ท่านพระโลมสกังคิยะกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจําไม่ได้ ก็ท่านทรงจําได้หรือ.

จันทนะ. ดูก่อนภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจําไม่ได้ และท่านทรงจําคาถาแสดงราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม.

โลม. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจําไม่ได้ ก็ท่านทรงจําได้หรือ.

จันทนะ. ดูก่อนภิกษุ ข้าพเจ้าทรงจําได้.

โลม. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็ท่านทรงจําได้อย่างไรเล่า.

[๕๖๗] จันทนะ. ดูก่อนภิกษุสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ที่ควงไม้ปาริฉัตร ในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 243

ณ ที่นั้นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า

บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ไห้ปรุโปร่งเถิดพึงทําความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้นย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติเป็นอยู่อย่างนี้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

[๕๖๘] ดูก่อนภิกษุ ข้าพเจ้าทรงจําคาถาแสดงราตรีหนึ่งเจริญได้อย่างนี้แล ขอท่านจงเล่าเรียน และทรงจําอุเทศและวิภังค์ของบุรุษผู้มีราตรีหนึ่งเจริญเถิด เพราะอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ จันทนเทวบุตรกล่าวดังนี้แล้ว จึงหายไป ณ ที่นั้นเอง.

[๕๖๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระโลมสกังคิยะ. พอล่วงราตรีนั้น ไปแล้วจึงเก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวรมุ่งจาริกไปยังพระนครสาวัตถี. เมื่อจาริกไปโดย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 244

ลําดับ ถึงพระนครสาวัตถี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประทับพระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์อยู่ที่พระวิหารนิโคร ธารามเขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท ขณะนั้นล่วงปฐมยามไปแล้วเทวบุตรองค์หนึ่ง มีรัศมีงามยิ่ง ส่องพระวิหารนิโครธารามให้สว่างทั่ว เข้าไปหาข้าพระองค์ยังที่อยู่ แล้วได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งพอยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะข้าพระองค์ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านทรงจําอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเมื่อเทวบุตรนั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะเทวบุตรนั้นดังนี้ว่าดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจําไม่ได้ ก็ท่านทรงจําได้หรือ เทวบุตรนั้นกล่าวว่าดูก่อนภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจําไม่ได้และท่านทรงจําคาถาแสดงราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม ข้าพระองค์ตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจําไม่ได้ ก็ท่านทรงจําได้หรือ เทวบุตรนั้นกล่าวว่า ดูก่อนภิกษุ ข้าพเจ้าทรงจําได้ ข้าพระองค์ถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ท่านทรงจําได้อย่างไรเล่า เทวบุตรนั้นกล่าวว่า ดูก่อนภิกษุ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ที่ควงไม้ปาริฉัตร ในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า

บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล... นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

ดูก่อนภิกษุ ข้าพเจ้าทรงจําคาถาแสดงราตรีหนึ่งเจริญได้อย่างนี้แล ท่านจงเล่าเรียนและทรงจําอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญเถิด เพราะอุเทศ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 245

และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวบุตรนั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงหายไปณ ที่นั้นเอง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดแสดงอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่ข้าพระองค์เถิด.

[๕๗๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ก็เธอรู้จักเทวดานั้นหรือไม่.

ท่านพระโลมสกังคิยะกราบทูลว่า ไม่รู้จักเลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ เทวบุตรนั้นชื่อว่าจันทนะ จันทนเทวบุตรย่อมมุ่งประโยชน์ใส่ใจ เอาใจฝักใฝ่สิ่งทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรม ดูก่อนภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป. ภิกษุนั้นทูลรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่าชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

[๕๗๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้น เนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทําความเพียรเสียในวันนี้แหละใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 246

สงบ ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

[๕๗๒] ดูก่อนภิกษุ ก็บุคคลย่อมคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือรําพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว.ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แล ชื่อว่า คํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

[๕๗๓] ดูก่อนภิกษุ ก็บุคคลไม่คํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือไม่รําพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่คํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

[๕๗๔] ดูก่อนภิกษุ ก็บุคคลจะมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือรําพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคตพึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แล ชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

[๕๗๕] ดูก่อนภิกษุก็ภิกษุจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือไม่รําพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคตพึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต. ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 247

[๕๗๖] ดูก่อนภิกษุ ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไรคือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมสัตบุรุษ ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้างดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แล ชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

[๕๗๗] ดูก่อนภิกษุ ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไรคือ อรยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้างไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้างไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง. ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 248

[๕๗๘] บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล... นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระโลมสกังคิยะจึงชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 249

อรรถกาโลมสกังคยภัทเทกรัตตสูตร

โลมสกังคิยภัตเทกรัตตสูตร มีคําขึ้นต้น ว่าข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลมสกงฺคิโย คือได้ยินว่าโลมสกังคิยะนั้น เป็นชื่อพระอังคเถระ. ก็พระเถระนั้น ปรากฏชื่อว่าโลมสกังคิยะ เพราะความที่กายมีอาการแห่งขน นิดหน่อย. บทว่า จนฺทโน เทวปุตฺโต (จันทนเทพบุตร) ความว่าได้ยินว่า ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะอุบาสก ชื่อว่าจันทนะ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก บูชาพระรัตนะทั้งสาม ด้วยปัจจัยสี่ ตายไปเกิดในเทวโลก ถึงอันนับว่า จันทนเทพบุตรโดยชื่อที่มีในชาติก่อน.บทว่า ปณฺฑุกัมพลศิลาอาสน์ (ในบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์) . ได้แก่ ณ กัมพลศิลาอาสน์สีแดง. ได้ยินว่าสีของกัมพลศิลาอาสน์สีแดงนั้น มีสีเหมือนกองดอกชบา เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์. ถามว่า ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์นั้นในกาลใด. ตอบว่า ในปีที่เจ็ดจากการตรัสรู้ ทรงกระทํายมกปาฏิหาริย์ ในท่ามกลางแห่งบริษัทประมาณสิบสองโยชน์ ในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ใกล้กรุงสาวัตถี เสด็จลงประทับ นั่ง ณ พุทธาสนะที่ปูไว้แล้วใกล้โคนต้นคัณฑามพะ ทรงถอนมหาชนออกจากทุกข์ใหญ่ ด้วยพระธรรมเทศนา เพราะธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ครั้นทรงทําปาฏิหาริย์แล้ว จะไม่ประทับอยู่ในถิ่นมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงทรงทําให้พ้นจากชนมาเฝ้า เสด็จไปจําพระพรรษา ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ใกล้ต้น ปาริฉัตร ในภพดาวดึงส์ ประทับอยู่ในสมัยนั้น.

บทว่า ตตฺร ภควา (ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า) ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับ อยู่ ณ ภพดาวดึงส์นั้น อันเทวดาหมื่นจักรวาลโดยมาก มาประชุมแวดล้อมแล้ว

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 250

ทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎกแก่พระมารดาให้เป็นกายสักขี ได้ตรัสอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ตามลําดับ เพื่อทรงให้เกิดความสังเวชแก่ทวยเทพที่ไม่อาจเพื่อแทงตลอดซึ่งกถาที่กําหนดรูปและอรูป อันลึกซึ่งละเอียดประกอบด้วยไตรลักษณ์. ณ ที่นั้น เทวบุตร เมื่อจะเรียน ได้เรียนคาถาเหล่านี้พร้อมกับวิภังค์ แต่เพราะความที่เทวบุตรตั้งอยู่ในความประมาท ถูกอารมณ์อันเป็นทิพย์ทั้งหลายครอบงํา จึงลืมพระสูตรโดยลําดับ ทรงจําได้เพียงคาถาเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น เทวบุตรจึงกล่าวว่า ดูก่อนภิกษุ ข้าพเจ้าทรงจําคาถาราตรีเดียวเจริญอย่างนี้แล. ในบทว่า อคฺคณฺห ตฺวํ (ท่านจงเล่าเรียน) เป็นต้นเป็นผู้นิ่ง นั่ง ฟัง ชื่อว่า เรียน. เมื่อกระทําการสาธยายด้วยวาจา ชื่อว่าเล่าเรียน. เมื่อบอกแก่บุคคลเหล่าอื่น ชื่อว่า ทรงจํา. บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาโสมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตรที่ ๔