พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร ว่าด้วยกฏแห่งกรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36141
อ่าน  1,566

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 251

๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

ว่าด้วยกฏแห่งกรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 251

๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

ว่าด้วยกฏแห่งกรรม

[๕๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล สุภมาณพ โตเทยยบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านคําทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๕๘๐] สุภมาณพ โตเทยยบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีตมนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏมีอายุสั้น มีอายุยืน มีโรคมาก มีโรคน้อย มีผิวพรรณทราม มีผิวพรรณงาม มีศักดาน้อย มีศักดามาก มีโภคะน้อย มีโภคะมาก เกิดในสกุลต่ํา เกิดในสกุลสูง ไร้ปัญญา มีปัญญา ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ปรากฏความเลวและความประณีต.

[๕๘๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกําเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึงอาศัย กรรมย่อมจําแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้

สุภ. ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดารของอุเทศที่พระโคดมผู้เจริญตรัสโดยย่อ มิได้จําแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ได้ ขอพระโคดม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 252

ผู้เจริญ ได้โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยประการที่ข้าพระองค์จะพึงทราบเนื้อความ แห่งอุเทศนี้โดยพิสดารได้เถิด.

พ. ดูก่อนมาณพ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวต่อไป. สุภมาณพ โตเทยยบุตร ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าชอบแล้วพระเจ้าข้า.

[๕๘๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงเป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต เขาตายไปจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้ คือ เป็นผู้มักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต.

ว่าด้วยการละขาดจากปาณาติบาต

[๕๘๓] ดูก่อนมาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตามบุรุษก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญาวางศาสตราได้มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง ละเป็นคนมีอายุยืน. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืนนี้ คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 253

ขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาสตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่.

[๕๘๔] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้หรือศาสตรา. เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคมาก. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้ คือ เป็นผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา.

[๕๘๕] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตามบุรุษก็ตาม เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้หรือศาสตรา. เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ. ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคน้อย. ดูก่อนมาณพปฏิปทาเป็นไป เพื่อมีโรคน้อยนี้ คือ เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา.

[๕๘๖] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจโกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทําความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ. เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตาย ป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง. จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทรามนี้ คือ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 254

เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคืองพยาบาท มาดร้าย ทําความโกรธ ความร้ายและความขึ้งเคียดให้ปรากฏ.

ความเป็นผู้ไม่มักโกรธ

[๕๘๗] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทําความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ. เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใสนี้ คือ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาทไม่มาดร้าย ไม่ทําความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ.

[๕๘๘] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น. เขาตายไป จะเข้าถึงอบายทุคติวินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดาน้อย. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อยนี้ คือ มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น.

[๕๘๙] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 255

สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดามาก. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามากนี้คือ มีใจไม่ริษยาย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น.

[๕๙๐] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ที่นอน ที่อาศัยเครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์. เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะน้อย. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้ คือ ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์.

การให้ข้าวเป็นต้น

[๕๙๑] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์. เขาตายไปจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะมาก. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 256

มากนี้ คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์.

[๕๙๒] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็น สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา. เขาตายไป จะเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิดที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ํา. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ํานี้ คือ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา.

[๕๙๓] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา. เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป. ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีสกุลสูงนี้ คือเป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 257

ที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทางสักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือบูชาคนที่ควรบูชา.

ความไม่สอบถาม

[๕๙๔] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทํา ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทํา ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน.เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม.ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทรามนี้คือไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษอะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทํา ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทํา ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน.

[๕๙๕] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศลอะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพอะไรเมื่อทํา ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทํา ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน. เขาตายไป

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 258

จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญามาก. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามากนี้ คือ เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพอะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทํา ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานหรือว่าอะไรเมื่อทําย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน.

[๕๙๖] ดูก่อนมาณพ ด้วยประการฉะนั้นแล ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้น ย่อมนําเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุสั้น ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืนย่อมนําเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุยืน ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมาก ย่อมนําเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อย ย่อมนําเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทราม ย่อมนําเข้าไปสู่ความเป็นคนมีผิวพรรณทราม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใส ย่อมนําเข้าไปสู่ความเป็นคนน่าเลื่อมใส ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อย ย่อมนําเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดาน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามาก ย่อมนําเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดามาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อย ย่อมนําเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมาก ย่อมนําเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ํา ย่อมนําเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลต่ํา ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลสูง ย่อมนําเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลสูง ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทราม ย่อมนําเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญาทราม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามาก ย่อมนําเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญามาก. ดูก่อนมาณภพ สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เป็น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 259

ทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกําเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจําแนกสัตว์ให้เลวและประณีต.

[๕๙๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ สุภมาณพ โตเทยยบุตรได้กราลทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อยเปรียบเหมือนหงายของที่คว่ํา หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทางหรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจํา ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป.

จบ จูฬกัมมวิภังคสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 260

อรรถกถาสุภสูตร

สุภสูตร (๑) มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

ในสูตรนั้น บทว่า สุโภ ความว่า ได้ยินว่า เขาเป็นคนน่าดูน่าเลื่อมใส. ด้วยเหตุนั้นญาติทั้งหลายจึงตั้งชื่อเขาว่า สุภะ เพราะความที่เขามีอวัยวะงาม แต่ได้เรียกเขาว่า มาณพในกาลเป็นหนุ่ม. เขาถูกเรียกโดยโวหารนั้นแล แม้ในกาลเป็นคนแก่. บทว่า โตเทยฺยปุตฺโต ได้แก่บุตรของพราหมณ์ปุโรหิต ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ชื่อว่า โตเทยยะ. ได้ยินว่า เขาถึงอันนับว่าโตเทยยะ เพราะเขาเป็นใหญ่แห่งบ้านชื่อว่า ตุทิคาม ซึ่งมีอยู่ใกล้กรุงสาวัตถี. ก็เขาเป็นผู้มีทรัพย์มาก มีสมบัติถึง ๘๗ โกฏิ แต่มีความตระหนี่จัด.เมื่อจะให้ก็คิดว่า ขึ้นชื่อว่าความไม่สิ้นเปลืองของโภคะทั้งหลายไม่มี จึงไม่ให้อะไรแก่ใครๆ. สมดังคําที่ท่านกล่าวไว้ว่า

บัณฑิตเห็นความสิ้นไปแห่งยาหยอดตาทั้งหลาย การสะสมของตัวปลวกทั้งหลาย และการรวบรวมของตัวผึ้งทั้งหลายแล้ว พึงอยู่ครองเรือน.

เขาให้สําคัญอย่างนี้ ตลอดกาลนานทีเดียว. เขาไม่ให้วัตถุสักว่ายาคูกระบวยหนึ่งหรือภัตสักทัพพีแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประทับอยู่ในวิหารใกล้ ทํากาละด้วยความโลภในทรัพย์ไปเกิดเป็นสุนัขในเรือนนั้นเทียว. สุภะรักสุนัขนั้นมากเหลือเกิน ให้กินภัตที่คนบริโภคนั้นแหละ ยกขึ้นให้นอนในที่นอนอันประเสริฐ.


(๑) บาลีว่า จูฬกัมมวิภังคสูตร

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 261

อยู่มาวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลก ในสมัยใกล้รุ่งทรงเห็นสุนัขนั้นแล้ว ทรงดําริว่า โตเทยยพราหมณ์ตายไปเกิดเป็นสุนัขในเรือนของตนเทียว เพราะความโลภในทรัพย์ วันนี้ เมื่อเราไปสู่เรือนของสุภะ สุนัขเห็นเราแล้ว จักทําการเห่าหอน ลําดับนั้น เราจักกล่าวคําหนึ่งแก่สุนัขนั้นสุนัขนั้นจะรู้เราว่าเป็นสมณโคดม แล้วไปนอนในที่เตาไฟ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ สุภะจักมีการสนทนาอย่างหนึ่งกับเรา สุภะนั้นฟังธรรมแล้ว จักตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย ส่วนสุนัขตายไปแล้วจักเกิดในนรก ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความที่มาณพจะตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลายนี้แล้ว ในวันนั้น ทรงปฏิบัติพระสรีระ เสด็จไปสู่เรือนนั้นเพื่อทรงบิณฑบาต โดยขณะเดียวกันกับมาณพออกไปสู่บ้าน. สุนัขเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทําการเห่าหอน ไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า. แต่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคํานี้กะสุนัขนั้นว่า แนะโตเทยยะ เจ้าเคยกล่าวกะเราว่า ผู้เจริญๆ ไปเกิดเป็นสุนัข แม้บัดนี้ ทําการเห่าหอนแล้ว จักไปสู่อเวจี ดังนี้. สุนัขฟังพระดํารัสนั้นแล้ว รู้เราว่าเป็นสมณโคดม มีความเดือดร้อน ก้มคอไปนอนในขี้เถ้า ในระหว่างเตาไฟ.มนุษย์ไม่อาจเพื่อจะยกขึ้นให้นอนบนที่นอนอันประเสริฐได้. สุภะมาแล้วพูดว่าใครยกสุนัขขึ้นลงจากที่นอนเล่า. มนุษย์พูดว่า ไม่มีใคร แล้วบอกเรื่องราวเป็นมานั้น. มาณพฟังแล้วโกรธว่า บิดาของเราไปเกิดในพรหมโลก ไม่มีสุนัขชื่อโตเทยยะ แต่พระสมณโคดมทรงทําบิดาให้เป็นสุนัข พระสมณโคดมนั้น พูดพล่อยๆ ดังนี้ เป็นผู้ใคร่จะข่มพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคําเท็จ จึงไปสู่วิหารทูลถามประวัตินั้น.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนั้นเทียวแก่สุภมาณพนั้น เพื่อไม่ให้โต้เถียงกัน จึงตรัสว่า ดูก่อนมาณพ ก็ทรัพย์ที่บิดาของเธอไม่ได้บอกไว้มีอยู่หรือ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ มีหมวกทองคําราคาหนึ่งแสน รองเท้าทองคํา

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 262

ราคาหนึ่งแสน และกหาปณะหนึ่งแสน. เจ้าจงไป จงถามสุนัขนั้นในเวลาให้กินข้าวปายาสมีน้ำน้อย แล้วยกขึ้นในที่นอนก้าวสู่ความหลับนิดหน่อย มันจะบอกทรัพย์ทั้งหมดแก่เจ้า ลําดับนั้น เจ้าจะพึงรู้สุนัขนั้นว่า มันเป็นบิดาของเรา. มาณพดีใจแล้วด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ถ้าจักเป็นความจริง เราจะได้ทรัพย์ ถ้าไม่เป็นความจริง เราจักข่มพระสมณโคดมด้วยคําเท็จ ดังนี้ แล้วไปทําอย่างนั้น. สุนัขรู้ว่า เราอันมาณพนี้รู้แล้ว ทําเสียงร้อง หุง หุง ไปสู่สถานที่ฝังทรัพย์ ตะกุยแผ่นดินด้วยเท้าแล้ว ให้สัญญา. มาณพถือเอาทรัพย์แล้ว มีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ธรรมดาสถานที่ปกปิดทรัพย์ปรากฏเป็นของละเอียด อยู่ในระหว่างปฏิสนธิอย่างนี้ นั้นเป็นสัพพัญูของพระสมณโคดมแน่แท้ จึงรวบรวมปัญหา ๑๔ ปัญหา. นัยว่า มาณพนั้นเป็นนักปาฐกในวิชาทางร่างกาย. ด้วยเหตุนั้น มาณพนั้น จึงมีความคิดว่า เราถือธรรมบรรณาการนี้แล้ว จักทูลถามปัญหากะพระสมณโคดม. โดยการไปครั้งที่สอง จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้ปัญหาทั้งหลายที่มาณพนั้นทูลถามแก่เขา เพียงครั้งเดียวเท่านั้น จึงตรัสว่า กมฺมสฺสกา (มาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน) เป็นต้น. ในบทนั้น กรรมเป็นของสัตว์เหล่านั้น คือเป็นภัณฑะของตน เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า มีกรรมเป็นของตน.สัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า เป็นทายาทแห่งกรรม อธิบายว่า กรรมเป็นทายาทคือเป็นภัณฑะของสัตว์เหล่านั้น.กรรมเป็นกําเนิดคือเป็นเหตุของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น.ชื่อว่า มีกรรมเป็นกําเนิด. กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้นสัตว์เหล่านั้นชื่อว่า มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ อธิบายว่า มีกรรมเป็นญาติ. กรรมเป็นที่พึ่งอาศัย คือ เป็นที่ตั้งของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า มีกรรมเป็นที่พึงอาศัย. บทว่า ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย ความว่ากรรม

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 263

ใด จําแนกโดยให้เลว และประณีตอย่างนี้ว่า ท่านเลว ท่านประณีต ท่านมีอายุน้อย ท่านมีอายุยืน ท่านมีปัญญาทราม ท่านมีปัญญา ดังนี้ ใครอื่นไม่ทํากรรมนั้น กรรมนั้นเทียว ย่อมจําแนกสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้. มาณพไม่รู้เนื้อความแห่งอุเทศที่ทรงแสดง. เป็นเหมือนพันปากของมาณพนั้นด้วยแผ่นผ้าเนื้อหนาแล้ววางของหวานไว้ข้างหน้า. ได้ยินว่า มาณพนั้นอาศัยมานะ ถือตัวว่า เป็นบัณฑิตย่อมพิจารณาเห็นตน.

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงหักมานะของมาณพนั้นว่ามานะนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอะไร เราย่อมรู้สิ่งที่ตรัสนั้นแล อย่าได้มีดังนี้จึงตรัสทําให้แทงตลอดได้โดยยากว่า เราจักแสดง ทําให้แทงตลอดได้ยากตั้งแต่เบื้องต้นเทียว แต่นั้น มาณพจักขอเราว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ ขอพระองค์จงทรงแสดงทําให้ปรากฏแก่ข้าพระองค์โดยพิสดาร ลําดับนั้นเราจักแสดงแก่เขาในเวลาร้องขอ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จักเป็นประโยชน์แก่มาณพนั้น ดังนี้. บัดนี้ มาณพนั้น เมื่อจะประกาศความที่ตนเป็นผู้ไม่แทงตลอดจึงทูลว่า น โขหํ ดังนี้เป็นต้น. บทว่า สมตฺเตน ได้แก่ บริบูรณ์. บทว่า สมาทินฺเนน ได้แก่ถือเอาแล้วคือลูบคลําแล้ว. บทว่า อปฺปายุกสํวตฺตนิกา เอสา มาณว ปฏิปทา ยทิทํ ปาณาติปาตี ความว่า กรรมในการยังชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงนี้ใด นั้นปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้น.

ก็ปฏิปทานั้น ย่อมทําให้มีอายุสั้นอย่างไร. ก็กรรมมี ประเภท คืออุปปีฬกกรรม อุปัจเฉทกกรรม ชนกกรรม อุปัตถัมภกกรรม. ก็อุปปีฬกกรรมในประวัติที่เกิดด้วยกรรมอันมีกําลัง มาพูดโดยเนื้อความอย่างนี้ว่า ถ้าเราพึงรู้ก่อน ไม่พึงให้กรรมนั้นเกิดในที่นี้ พึงให้มันเกิดในอบายทั้งสี่ จงยกไว้ เจ้าเกิดในที่ใดที่หนึ่ง เราบีบคั้นกรรมที่ชื่อว่า อุปปีฬกกรรมนั้น จักทําให้ปราศจากรส ปราศจากยางเหนียวให้ไร้ค่า จําเดิมแต่นั้น จะทํามันให้เป็นเช่นนั้น.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 264

ทําอย่างไรคือ นําอันตรายเข้ามายังโภคะให้พินาศ. ในเพราะกรรมนั้น จําเดิมแต่กาลที่ทารกเกิดในท้องมารดา มารดาย่อมไม่มีความเบาใจ หรือไม่มีความสุขและความบีบคั้นย่อมเกิดแก่บิดามารดา ย่อมนําอันตรายเข้ามาอย่างนี้. ก็จําเดิมแต่กาลที่ทารกเกิดในท้องมารดาโภคะทั้งหลายในเรือน ย่อมฉิบหายด้วยอํา นาจแห่งราชาเป็นต้น เหมือนเกลือถูกน้ำ. แม่โคทั้งหลายที่รีดนมลงในภาชนะก็ไม่ให้น้ำมัน ฝูงโคจะกล้าดุร้าย มีตาบอดเป็นง่อย โรคจะระบาดในคอกโค บริวารชนมีทาสเป็นต้น ไม่เชื่อฟัง ข้าวกล้าที่หว่านไว้จะไม่เกิด ข้าวกล้าที่อยู่ในเรือนย่อมพินาศในเรือน ที่อยู่ในป่าก็พินาศในป่า วัตถุสักว่าบําบัดความหิวกระหายก็หาได้ยาก โดยลําดับ. เครื่องบริหารครรภ์ก็ไม่มี. เวลาทารกคลอดแล้วน้ำนมของมารดาก็จะขาด. ทารกเมื่อไม่ได้บริหาร ก็ถูกบีบคั้น ปราศจากรสเหี่ยวแห้ง ไร้ค่า นี้ชื่อว่า อุปปีฬกกรรม. ส่วนเมื่อบุคคลเกิดแล้ว ด้วยกรรมที่ทําให้มีอายุยืน อุปัจเฉทกกรรมก็มาตัดรอนอายุ. เหมือนบุรุษทําการไปสู่วัวผู้แปดตัว ยิงลูกศร อีกคนก็ดีลูกศรนั้น ที่สักว่าหลุดออกจากแห่งธนู ด้วยไม้ค้อนให้ตกลงในที่นั้น ฉันใด อุปัจเฉทกกรรมย่อมตัดรอนอายุของคนที่เกิดแล้วด้วยกรรมที่ทําให้มีอายุยืน ฉันนั้น. ทําอย่างไร. โจรให้บุคคลนั้นเข้าไปสู่ดงให้ลุยน้ำที่มีปลาร้าย. ก็หรือนําเข้าสู่สถานที่อันตรายอื่น. นี้ชื่อว่า อุปัจเฉทุกกรรม อุปัจเฉทกกรรมนั้นเทียว นี้ชื่อว่าอุปฆาฏกกรรม ดังนี้บ้าง. ส่วนกรรมที่ให้เกิดปฏิสนธิ ชื่อว่า ชนกกรรม. กรรมที่อุ้มชูด้วยการทําให้ถึงพร้อมด้วยโภคะเป็นต้น แก่บุคคลผู้เกิดในตระกูลทั้งหลาย มีตระกูลมีโภคะน้อยเป็นต้นชื่อว่าอุปัตถัมภกกรรม.

ในกรรม ๔ ประเภทนี้ กรรม ๒ ประเภทข้างต้น เป็นอกุศลอย่างเดียว ในกรรมเหล่านั้น ปาณาติบาตกรรมย่อมเป็นไปเพื่อมีอายุสั้น ด้วยความเป็นอุปัจเฉทกกรรม. หรือกุศลกรรมที่บุคคลนี้ปกติยิ่งชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงย่อมไม่โอฬาร ย่อมไม่อาจเพื่อยังปฏิสนธิที่มีอายุยืนเกิดขึ้น. ปาณาติบาตย่อมเป็น

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 265

ไปเพื่อให้อายุสั้นด้วยประการฉะนี้. หรือกําหนดปฏิสนธิเท่านั้น ทําให้มีอายุสั้นหรือย่อมเกิดในนรกด้วยสันนิฏฐานเจตนา. เป็นเหตุให้มีอายุสั้นโดยนัยกล่าวแล้ว ด้วยบุพเจตนาและอปรเจตนา.

ในบทว่า ทีฆายุกสํวตฺตนิกา เอสา มาณว ปฏิปทา (มานพ... นี้เป็นปฏิปทาเป็นไปเพื่ออายุยืน) นี้ กรรมที่งดเว้นจากปาณาติบาตอย่างนี้ ในประวัติ ซึ่งเกิดด้วยกรรมนิดหน่อย มากล่าวอย่างนี้โดยเนื้อความว่า ถ้าเรารู้ก่อน ไม่พึงให้เจ้าเกิดในที่นี้ จะพึงให้เจ้าเกิดในเทวโลกเท่านั้น ช่างเถิด เจ้าจะเกิดในที่ใดก็ตาม เราจักทําการอุ้มชู. ทําอย่างไร. คือยังอันตรายให้พินาศ ยังโภคะทั้งหลายให้เกิดขึ้น. ในเพราะอุปัตถัมภกกรรมนั้น บิดามารดาย่อมมีความสุขอย่างเดียว ย่อมเบาใจอย่างเดียวจําเดิมแต่กาลที่ทารกเกิดในท้องมารดา. อันตรายจากมนุษย์และอมนุษย์ โดยปกติแม้เหล่าใด อันตรายเหล่านั้น ทั้งหมดย่อมไปปราศ. ย่อมยังอันตรายให้พินาศอย่างนี้. ประมาณแห่งโภคะทั้งหลายในเรือน ย่อมไม่มีจําเดิมแต่กาลที่ทารกเกิดในท้องมารดา. ขุมทรัพย์ทั้งหลายย่อมมารวมอยู่ในเรือน ทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง. บิดามารดาย่อมไปสู่ความพร้อมหน้ากับทรัพย์ที่บุคคลเหล่านั้นนํามาวางไว้. แม่โคนมทั้งหลายย่อมมีน้ำนมมาก. ฝูงโคย่อมอยู่เป็นสุข. ข้าวกล้าทั้งหลายในที่หว่านย่อมสมบูรณ์. บุคคลทั้งหลายที่ไม่มีใครเตือน ย่อมนําทรัพย์ที่ประกอบด้วยความเจริญ หรือทรัพย์ที่เขาให้ชั่วคราวมาให้เองแล. บริวารชนทั้งหลายมีทาสเป็นต้น ก็จะเป็นผู้ว่าง่าย. การงานทั้งหลายก็ไม่เสื่อมเสียทารกย่อมได้บริหารจําเดิมแต่อยู่ในครรภ์. แพทย์เกี่ยวกับเด็กทั้งหลายก็จะมาชุมนุน. ทารกที่เกิดในตระกูลคหบดีจะได้ตําแหน่งเศรษฐี ที่เกิดในตระกูลทั้งหลายมีตระกูลอํามาตย์เป็นต้น ก็จะได้ตําแหน่งทั้งหลาย มีตําแหน่งเสนาบดีเป็นต้น. ย่อมให้โภคะทั้งหลายเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้. เขาไม่มีอันตรายมีโภคะย่อมมีชีวิตนาน. กรรมคือการไม่ฆ่าสัตว์ ย่อมเป็นไปเพื่อให้มีอายุยืนอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า ๒๖๖

หรือ กุศลแม้อื่น อันบุคคลผู้ไม่ฆ่าสัตว์ทําไว้ ย่อมโอฬาร. ย่อมอาจเพื่อยังปฏิสนธิที่ให้มีอายุยืนเกิดขึ้น. ย่อมเป็นไปเพื่อให้มีอายุยืนแม้อย่างนี้. หรือกําหนด ปฏิสนธิเท่านั้น ทําให้มีอายุยืน. หรือย่อมเกิดในเทวโลก ด้วยสันนิฏฐานเจตนา. ย่อมให้มีอายุยืนโดยนัยกล่าวแล้ว ด้วยบุพเจตนา. พึงทราบเนื้อความในการแก้ปัญหาทั้งปวง โดยนัยนี้.

ก็กรรมทั้งหลายแม้มีการเบียดเบียนเป็นต้น มาในปวัตตกาลแล้ว เป็นเหมือนกล่าวอย่างนี้ โดยเนื้อความ ย่อมทํากิจทั้งหลายมีความอาพาธมากเป็นต้นด้วยเหตุทั้งหลายมีการยังโรคให้เกิดขึ้นเป็นต้น แก่บุคคลผู้ถึงความปราศจากโภคะด้วยการบีบคั้น ไม่ได้การปฏิบัติ หรือ ด้วยความที่กุศลอันบุคคลผู้เบียดเบียนเป็นต้นทําแล้วเป็นธรรมชาติไม่โอฬาร หรือด้วยการกําหนดปฏิสนธิตั้งแต่เบื้องต้นเทียว หรือด้วยอํานาจแห่งบุพเจตนา และอปรเจตนา โดยนัยกล่าวแล้วนั้นเทียว กรรมทั้งหลายมีการไม่เบียดเบียนเป็นต้น ย่อมทําแม้ซึ่งความเป็นผู้มีอาพาธน้อยทั้งหลาย ดุจการไม่ฆ่าสัตว์ฉะนั้น. ก็ในบทเหล่านั้น บทว่า อิสฺสามนโก (มีใจริษยา) ได้แก่ มีจิตประกอบด้วยความริษยา. บทว่า อุปทุสฺสติผผผผ (มุ่งร้าย) ความว่า ด่าด้วยอำนาจแห่งความริษยานั้นเทียวประทุษร้ายอยู่.บทว่า อิสฺสํ พนฺธติ (ผูกใจอิจฉา) ความว่า ย่อมตั้งริษยาไว้เหมือนผูกกําข้าว เหมือนผูกโดยประการไม่ให้เสื่อมเสีย. บทว่า อปฺเปสกฺโข (มีศักดาน้อย) ความว่า มีบริวารน้อย คือ ไม่ปรากฏเหมือนลูกศรที่ยิงในกลางคืน. มีมือสกปรกนั่งแล้ว ย่อมไม่ได้ซึ่งผู้ให้น้ำ. บทว่า น ทาตา โหติ (ย่อมไม่เป็นผู้ให้) ความว่า เป็นผู้ไม่ให้ด้วยอํานาจแห่งความตระหนี่. บทว่า เตน กมฺเมน (เพราะกรรมนั้น) ได้แก่ กรรมคือความตระหนี่นั้น. บทว่า อภิวาเทตพฺพํ (คนที่ควรกราบไหว้) คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือ พระอริยสาวก ผู้สมควรแก่การอภิวาท.ในบททั้งหลายแม้มีผู้ควรลุกขึ้นต้อนรับเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ไม่ควรถืออุปปีฬกกรรม และอุปัตถัมภกกรรมในการแก้ปัญหานี้. เพราะไม่อาจเพื่อทําแก่

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 267

ผู้มีตระกูลต่ํา ผู้มีตระกูลสูงในปวัตตกาล. แต่กรรมของผู้เกิดในตระกูลต่ํากําหนดปฏิสนธิเทียว ให้เกิดในตระกูลต่ํา กรรมที่อํานวยให้เกิดในตระกูลสูงย่อมให้เกิดในตระกูลสูง. ย่อมเกิดในนรกด้วยการไม่ได้ไต่ถามในบทนี้ว่า น ปริปุจฺฉิตา โหติ. (ย่อมไม่ เข้าไปหาสมณธหรือพราหมณ์แล้ว สอบถาม) ก็ผู้ไม่ไต่ถามย่อมไม่รู้ว่า นี้ควรทํา นี้ไม่ควรทํา. เมื่อไม่รู้ย่อมไม่ทําสิ่งที่ควรทํา ย่อมทําสิ่งที่ไม่ควร ย่อมเกิดในนรกด้วยกรรมนั้น.บุคคลนอกนี้ ย่อมเกิดในสวรรค์.

บทว่า อิติ โข มาณว ฯเปฯ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย (มาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ฯลฯ ให้เลวและประณีต) ความว่า พระศาสดาทรงยังเทศนาให้จบตามอนุสนธิ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสุภสูตรที่ ๘

จุลลกัมมวิภังคสูตรก็เรียก