พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. อุทเทสวิภังคสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36144
อ่าน  647

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 304

๘. อุทเทสวิภังคสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 304

๘. อุทเทสวิภังคสูตร

[๖๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดํารัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอย่างนี้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราจักแสดงอุเทสวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงพึงอุเทสวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

[๖๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ทั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่นย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตดังนี้ ครั้นแล้วพระองค์ผู้สุคตจึงเสด็จลุกจากอาสนะ เข้าไปยังพระวิหาร. [๖๔๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึงได้มีข้อปรึกษากันอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกเราว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอกไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอกไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 305

ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป ดังนี้แล มิได้ทรงจําแนกเนื้อความโดยพิสดาร ก็เสด็จเข้าไปยังพระวิหารแล้ว ใครหนอแลจะพึงจําแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้. ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้แล อันพระศาสดาและพวกภิกษุผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว ก็ท่านพระมหากัจจานะ พอจะจําแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วพึงสอบถามเนื้อความนั้นกะท่านพระมหากัจจานะเถิด.

[๖๔๑] ต่อจากนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงพากันเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะ ครั้นผ่านคําทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า ดูก่อนท่านกัจจานะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุเทศโดยย่อแก่พวกกระผมว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป ดังนี้แล มิได้ทรงจําแนกเนื้อความโดยพิสดารก็เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหารดูก่อนท่านกัจจานะ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พวกกระผมนั้น ได้มีข้อปรึกษากันอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกเราว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 306

ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป ดังนี้แล มิได้ทรงจําแนกเนื้อมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วพึงสอบถามเนื้อความนั้นกะท่านพระมหากัจจานะเถิดขอท่านพระมหากัจจานะโปรดจําแความโดยพิสดาร ก็เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอแล จะพึงจําแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ดูก่อนท่านกัจจานะ พวกกระผมนั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่าท่านพระมหากัจจานะนี้แล อันพระศาสดาและพวกภิกษุผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญูชนยกย่องสรรเสริญแล้ว ก็ท่านพระมหากัจจานะพอจําแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระนกเนื้อความเถิด.

[๖๔๒] ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายเปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้พึงสําคัญแก่นของต้นไม้ใหญ่ที่มีแก่นตั้งอยู่ว่า ควรหาได้ที่กิ่งและใบ ละเลยรากและลําต้นเสียฉันใด ข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาประทับอยู่พร้อมหน้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านพากันสําคัญเนื้อความนั้นว่าพึงสอบถามเราได้ ล่วงเลยพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเสีย ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ทรงมีจักษุ มีญาณ มีธรรม มีความประเสริฐ ตรัส บอก ทรงนําออกซึ่งประโยชน์ ประทานอมตธรรม ทรงเป็นเจ้าของธรรม ทรงดําเนินนั้น และก็เป็นกาลสมควรแก่พระองค์แล้วที่ท่านทั้งหลายจะพึงสอบถามเนื้อ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 307

ความนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่เราอย่างใดพวกท่านพึงทรงจําไว้อย่างนั้นเถิด.

ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ดูก่อนกัจจานะ แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ทรงมีจักษุ มีญาณ มีธรรมมีความประเสริฐ ตรัส บอก ทรงนําออกซึ่งประโยชน์ ประทานอมตธรรมทรงเป็นเจ้าของธรรม ทรงดําเนินตามนั้น และก็เป็นกาลสมควรแก่พระองค์แล้วที่พวกกระผมจะพึงสอบถามเนื้อความนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่พวกกระผมอย่างใด พวกกระผมพึงทรงจําไว้อย่างนั้นแต่ว่าท่านพระมหากัจจานะ อันพระศาสดาและพวกภิกษุผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว และท่านพอจะจําแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ ให้พิสดารได้ ขอท่านพระมหากัจจานะอย่าทําความหนักใจ โปรดจําแนกเนื้อความเถิด

กัจจานะ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย. ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงฟังจงใส่ใจให้ดี ข้าพเจ้าจักกล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นรับคําท่านพระมหากัจจานะว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ.

[๖๔๓] ท่านพระมหากกัจจานะจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่าดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงอุเทศโดยย่อแก่เราทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไปไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป ดังนี้ มิได้ทรงจําแนกเนื้อความโดยพิสดาร แล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร นี้แล ข้าพเจ้าทราบเนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 308

[๖๔๔] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเรียกว่าความรู้สึกฟุ้งไปซ่านไปภายนอก. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ แล่นไปตามนิมิตคือรูป กําหนัดด้วยยินดีนิมิตคือรูป ผูกพันด้วยยินดีนิมิตคือรูป ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีนิมิตคือรูป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ความรู้สึกฟุ้งไป ซ่านไปภายนอก.

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต...

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ...

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา...

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล่นไปตามนิมิตคือธรรมารมณ์ กําหนัดด้วยยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์ ผูกพันด้วยยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์ ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่าความรู้สึกฟุ้งไป ซ่านไปภายนอก.ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล เรียกว่าความรู้สึกฟุ้งไป ซ่านไปภายนอก

[๖๔๕] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเรียกว่า ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ไม่แล่นไปตามนิมิตคือรูป ไม่กําหนัดด้วยยินดีนิมิตคือรูป ไม่ผูกพันด้วยยินดีนิมิตคือรูป ไม่ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีนิมิตคือรูป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ความรู้สึกไม่ฟุ้งไปไม่ซ่านไปภายนอก.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 309

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต...

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ...

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา...

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนไม่แล่นไปตามนิมิตคือธรรมารมณ์ ไม่กําหนัดด้วยยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์ ไม่ผูกพันด้วยยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์ ไม่ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ความรู้สึกไม่ฟุ้งไปไม่ซ่านไปภายนอก. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล เรียกว่า ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก.

[๖๔๖] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น แล่นไปตามปีติและสุขเกิดแต่วิเวก กําหนัดด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ผูกพันด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่าจิตตั้งสงบอยู่ภายใน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น แล่นไปตามปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ กําหนัดด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ผูกพันด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ประกอบด้วยสัญโญชน์คือ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 310

ความยินดีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น แล่นไปตามอุเบกขา กําหนัดด้วยยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขา ผูกพันด้วยยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขา ประกอบด้วยสัญโญชน์ คือ ความยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขาพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น แล่นไปตามอทุกขมสุขเวทนา กําหนัดด้วยยินดีอทุกขมสุขเวทนา ผูกพันด้วยยินดีอทุกขมสุขเวทนา ประกอบด้วยสัญโญชน์ คือความยินดีอทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้แล เรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน.

[๖๔๗] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น ไม่แล่นไปตามปิติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่กําหนัดด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกผูกพันด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีปิติและสุขเกิดแต่วิเวก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น ไม่แล่นไปตามปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 311

กําหนัดด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่ผูกพันด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ฯลฯ อยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น ไม่แล่นไปตามอุเบกขา ไม่กําหนัดด้วยยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขา ไม่ผูกพันด้วยยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขา ไม่ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่าจิตไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น ไม่แล่นไปตามอทุกขมสุขเวทนา ไม่กําหนัดด้วยยินดีอทุกขมสุขเวทนา ไม่ผูกพันด้วยยินดีอทุกขมสุขเวทนา ไม่ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีอทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แลเรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน.

[๖๔๘] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายก็อย่างไรย่อมเป็นอันสะดุ้งเพราะตามถือมั่น ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง รูปนั้นของเขาย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นได้. เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นของรูป เขาย่อม

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 312

มีความรู้สึกปรวนแปรไปตามความแปรปรวนของรูป. ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเกิดแต่ความปรวนแปรไปตามความแปรปรวนของรูปย่อมตั้งครอบงําจิตของเขาได้ เพราะจิตถูกครอบงํา เขาจึงเป็นผู้หวาดเสียวคับแค้น ห่วงใย และสะดุ้งเพราะตามถือมั่น. ย่อมเล็งเห็นเวทนา... ย่อมเล็งเห็นสัญญา... ย่อมเล็งเห็นสังขาร... ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง. วิญญาณนั้นของเขาย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นได้เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นของวิญญาณ เขาย่อมมีความรู้สึกปรวนแปรไปตามความแปรปรวนของวิญญาณ ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเกิดแต่ความปรวนแปรไปตามความแปรปรวนของวิญญาณ ย่อมตั้งครอบงําจิตของเขาได้ เพราะจิตถูกครอบงํา เขาจึงเป็นผู้หวาดเสียว คับแค้นห่วงใย และสะดุ้งเพราะตามถือมั่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แลเป็นอันสะดุ้งเพราะตามถือมั่น.

[๖๔๙] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรย่อมเป็นอันไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายอริยสาวก ผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง. รูปนั้นของท่านย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นได้. เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นของรูปท่านย่อมมีความรู้สึกไม่ปรวนแปรไปตามความแปรปรวนของรูป ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเกิดความปรวนแปรไปตามความแปรปรวน

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 313

ของรูป ย่อมไม่ตั้งครอบงําจิตของท่านได้. เพราะจิตไม่ถูกครอบงํา ท่านจึงเป็นผู้ไม่หวาดเสียว ไม่คับแค้น ไม่ห่วงใยและไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น. ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนา... ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญา... ย่อมไม่เล็งเห็นสังขาร... ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง. วิญญาณของท่านย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นได้ เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นของวิญญาณ ท่านย่อมมีความรู้สึกไม่ปรวนแปรไปตามความแปรปรวนของวิญญาณ ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเกิดแต่ความแปรปรวนไปตามความปรวนแปรของวิญญาณ ย่อมไม่ตั้งครอบงําจิตของท่านได้ เพราะจิตไม่ถูกครอบงํา ท่านจึงเป็นผู้ไม่หวาดเสียวไม่คับแค้น ไม่ห่วงใยไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล เป็นอันไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น.

[๖๕๐] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศ โดยย่อแก่เราทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้ลึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป มิได้ทรงจําแนกเนื้อความโดยพิสดาร แล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้ายังพระวิหาร นี้แล ข้าพเจ้าทราบเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ ก็แหละท่านทั้งหลายหวังอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามเนื้อความนั้นเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่ท่านทั้งหลายอย่างใด พวกท่านพึงทรงจําคําพยากรณ์นั้น ไว้อย่างนั้นเถิด.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 314

[๖๕๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น ยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่านพระมหากัจจานะแล้ว ลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกข้าพระองค์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ความรู้สึกไม่ฟุ้งไปไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายในและไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่ง ชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไปดังนี้ มิได้ทรงจําแนกเนื้อความโดยพิสดารแล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พวกข้าพระองค์นั้นได้มีข้อปรึกษากันอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศนี้โดยย่อแก่พวกเราว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไปไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบภายใน และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่ง ชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไปดังนี้แล มิได้ทรงจําแนกเนื้อความ โดยพิสดาร ก็เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอแลจะพึงจําแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์นั้น.มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้แล อันพระศาสดาและพวกภิกษุร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญูชนยกย่องสรรเสริญแล้ว ก็ท่านพระมหกัจจานะนี้ พอจะจําแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 315

โดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนั้นกะท่านพระมหากัจจานะเถิด ต่อแต่นั้นแลพวกข้าพระองค์จึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความกะท่านแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระมหากัจจานะจําแนกเนื้อความแก่พวกข้าพระองค์นั้นแล้ว โดยอาการดังนี้ โดยบทดังนี้ และโดยพยัญชนะดังนี้.

[๖๕๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หากพวกเธอสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา เราก็จะพึงพยากรณ์เนื้อความนั้น อย่างเดียวกับที่มหากัจจานะพยากรณ์แล้วเหมือนกันก็แหละเนื้อความอุเทศนั้น เป็นดังนี้แล พวกเธอจงทรงจําเนื้อความนั้นไว้อย่างนี้เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ อุทเทสวิภังคสูตร ที่ ๘

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 316

อรรถกถาอุทเทสวิภังคสูตร

อุทเทสวิภังคสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทฺเทสวิภงฺคํ ได้แก่ อุเทศ และวิภังค์. อธิบายว่า มาติกาและการจําแนก. บทว่า อุปปริกฺเขยฺย (พึงพิจารณา) ความว่าพึงเทียบเคียง พึงพิจารณา พึงถือเอา พึงกําหนด. บทว่า พหิทฺธา (ภายนอก) ได้แก่ในอารมณ์ภายนอกทั้งหลาย. บทว่า อวิกฺขิตฺตํ อวิสฏํ ความว่า ความตั้งมั่นในอารมณ์ ด้วยอํานาจความใคร่ ฟุ้งไป ชื่อว่า ซ่านไป. เมื่อทรงปฏิเสธความรู้สึกซ่านไปนั้น จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า อชฺฌตฺตํ อสณฺิตํ (ไม่ตั้งมั่นอยู่ภายใน) ความว่าไม่ตั้งสงบอยู่ด้วยอํานาจแห่งความใคร่ในอารมณ์ภายใน. บทว่า อนุปาทาย น ปริตสฺเสยฺย (ไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น) มีอธิบายว่า ความรู้สึกนั้นไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น คือไม่ถือเอาความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่สงบอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่นฉันใด ภิกษุพึงพิจารณาฉันนั้น. บทว่า ชาติ-ชรา มรณทุกฺขสมุทยสมฺภโว (เหตุเกิดและความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ และทุกข์) ความว่า ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ และทุกข์ที่เหลือ. บทว่า รูปนิมิตฺตานุสารี (แล่นไปตามนิมิตคือรูป) ได้แก่ชื่อว่า แล่นไปตามนิมิต คือรูป เพราะอรรถว่า แล่นไป วิ่งไป ตามนิมิต คือรูป. บทว่า เอวํ โข อาวุโส อชฺฌตฺตํ จิตฺตํ อสณฺิตํ (ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แลเรียกว่า จิตไม่คั้งมั่นอยู่ภายใน) ความว่า ไม่สงบอยู่ด้วยอํานาจแห่งความใคร่. ก็จิตไม่ตั้งมั่นอยู่ด้วยอํานาจแห่งความใคร่ย่อมไม่เป็นส่วนในการละ แต่เป็นส่วนในคุณวิเศษอย่างเดียว. บทว่า อนุปาทา ปริตสุสนา (ความสะดุ้งเพราะยึดถือสิ่งที่ยึดถือไม่ได้) ความว่า พระศาสดาทรงแสดงความสะดุ้งเพราะยึดถือ และความสะดุ้ง เพราะไม่ยึดถือ ในขันติยวรรคอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความสะดุ้งเพราะถือมั่น และความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น. พระมหาเถระ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 317

เมื่อจะแสดงความสะดุ้งนั้น ทําความสะดุ้งเพราะความถือมั่น ให้เป็นความสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็ความสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่นเป็นอย่างไร. เพราะไม่มีสังขารที่พึงถือมั่น ก็ผิว่า สังขารไรๆ เป็นของเที่ยง หรือมั่นคง ไซร้ ก็จักเป็นของควรยึดถือว่า เป็นตน หรือ เนื่องกับตน. ความสะดุ้งนี้เป็นความสะดุ้งเพราะตามถือมั่น. ก็เพราะธรรมดาสังขารที่ควรถือมั่นอย่างนี้ ไม่มี เพราะฉะนั้น สังขารทั้งหลายแม้มีใจครองมีรูปเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่ารูป อัตตา ก็เป็นของไม่ควรถือมั่นแท้. ความสะดุ้งนั้น แม้เป็นความสะดุ้งเพราะถือมั่นอย่างนี้เทียว โดยเนื้อความพึงทราบว่าเป็นความสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น.

บทว่า อยฺถา โหติ (ย่อมเป็นอย่างอื่น) ความว่ารูปแปรปรวนไป. แต่ก็พินาศไปเพราะการละปกติ. บทว่า รูปวิปริณามานุปริวตฺติ (ปรวนแปรไปตามความแปรปรวนของรูป) ความว่ากรรมวิญญาณย่อมแปรปรวนไปตามความแตกสลายของรูปโดยนัยมีอาทิว่า รูปของเราแปรปรวนไปแล้ว หรือว่า รูปใดมีอยู่ รูปนั้นแลของเราไม่มี ดังนี้. บทว่า วิปริณามานุปริวตฺตชา ความว่า อันเกิดแต่ความแปรปรวนไปตามความแปรปรวน คือ แต่จิตซึ่งมีอารมณ์มีความแปรปรวน. บทว่า ปริตสฺสนา ธมฺมสมุปฺปาทา (ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งอกุศลกรรม) ได้แก่ ความสะดุ้งเพราะตัณหา และความเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม. บทว่า จิตฺตํ ปริยาทาย ติฏนฺติ (ย่อมตั้งครอบงำจิตของเขาได้) ความว่า ย่อมตั้งครอบงําคือ ยึดถือ เหวี่ยงไป ซึ่งอกุศลจิต. บทว่า อุตฺตาสวา (ผู้หวาดเสียว) ความว่า เขามีความหวาดเสียว เพราะความสะดุ้งจากภัยบ้าง มีความหวาดเสียว เพราะความสะดุ้งจากตัณหาบ้าง. บทว่า วิฆาฏวา (คับแค้น) ได้แก่มีความคับแค้น มีทุกข์. บทว่า อเปกฺขวา (ห่วงใย) ได้แก่ มีอาลัย มีความห่วงใย. บทว่า เอวํ โข อาวุโส อนุปทาปริตสฺสนา โหติ (ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความสะดุ้งเพราะยึดถือสิ่งที่ยึดถือไม่ได้ ย่อมมีได้อย่างนีัแล)

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 318

ความว่าความสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมมีแก่เขาเหมือนถือผอบเปล่าด้วยสําคัญว่า ผอบแก้วมณีอย่างนี้ ครั้นเมื่อผอบนั้นพินาศแล้ว จึงถึงความคับแค้นในภายหลังฉะนั้น. บทว่า รูปวิปริณามานุปริวตฺติ (ไม่แปรปรวนไปตามความแปรปรวนของรูป) ความว่ากรรมวิญญาณของขีณาสพนั้นเทียว ย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น จึงสมควรเพื่อกล่าวว่า ความแปรปรวนไปตามความแตกสลายของรูปไม่มีดังนี้. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอุทเทสวิภังคสูตรที่ ๘