พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. อรณวิภังคสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36145
อ่าน  536

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 319

๙. อรณวิภังคสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 319

๙. อรณวิภังคสูตร

[๖๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดํารัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอรณวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงพึงอรณวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

[๖๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งสุขอาศัยกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลําบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้นั้น อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทําให้มีจักษุ ทําให้มีญาณ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน. พึงรู้จักการยกย่องและการตําหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตําหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น พึงรู้ตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความสุขภายใน ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าวคําล่วงเกินต่อหน้า พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบด่วน ไม่พึงปรักปรําภาษาชนบท ไม่พึงล่วงเลยคําพูดสามัญเสีย นี้อุเทศแห่งอรณวิภังค์

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 320

[๖๕๕] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งสุขอาศัยกามอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลําบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจมีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด. การไม่ตามประกอบ ความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของตนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้านเป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ. ความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลําบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด. การไม่ตามประกอบความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลําบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งสุขอาศัยกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบคนให้ลําบาก อัน เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นั้น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๕๖] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้นั้น อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทําให้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 321

มีจักษุ ทําให้มีญาณ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว มรรคมีองค์๘ อันประเสริฐนี้แล คือ ความเห็นชอบ ความดําริชอบ วาจาชอบ การงานชอบการเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งมั่นชอบ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้นั้น อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทําให้มีจักษุ ทําให้มีญาณในรูปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั่นเราอาศัยมรรคมีองค์๘ อันประเสริฐดังนี้ กล่าวแล้ว.

ความยกย่องเป็นต้น

[๖๕๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้จักการยกย่องและการตําหนิครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตําหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเป็นการยกย่อง เป็นการตําหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม คือ เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดตามประกอบความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของตนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้น ทั้งหมดมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่าตําหนิชนพวกหนึ่ง. เมื่อกล่าวว่าชนเหล่าใดไม่ตามประกอบความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจไม่มีความแค้นใจ ไม่ความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่ายกย่องชนพวกหนึ่ง. เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่อง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 322

ประกอบคนให้ลําบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่าตําหนิชนพวกหนึ่ง. เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลําบาก อันเป็นทุกข์ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ดังนี้ชื่อว่า ยกย่องชนพวกหนึ่ง. เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังละสัญโญชน์ในภพไม่ได้แล้ว ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจมีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิดดังนี้ ชื่อว่าตําหนิชนพวกหนึ่ง. เมื่อกล่าวว่าชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งละสัญโญชน์ในภพได้แล้ว ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบดังนี้ ชื่อว่ายกย่องชนพวกหนึ่ง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล เป็นการยกย่อง เป็นการตําหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม.

[๖๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ไม่เป็นการยกย่อง ไม่เป็นการตําหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้ คือ ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดตามประกอบความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของตนที่มีความสุขโดยสืบต่อกามอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจมีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด. กล่าวอยู่ว่า อันความตามประกอบนี้แลเป็นธรรม มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น. ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 323

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ. กล่าวอยู่ว่า อันความไม่ตามประกอบนี้แล เป็นธรรม ไม่มีทุกข์ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่า แสดงแต่ธรรมเท่านั้นไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบคนให้ลําบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีด้วยความแค้นใจ มีความเร่าร้อนเป็นผู้ปฏิบัติผิด. กล่าวอยู่ว่า อันความตามประกอบนี้แล เป็นธรรมมีทุกข์มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด ดังนี้ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น. ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลําบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้น ทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ. กล่าวอยู่ว่า อันความไม่ตามประกอบนี้แล เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น. ไม่กล่าวอย่างนี้ว่าชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังละสัญโญชน์ในภพไม่ได้แล้ว ชนเหล่านั้น ทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด. กล่าวอยู่ว่า เมื่อยังละสัญโญชน์ในภพไม่ได้แล้วแล ภพย่อมเป็นอันละไม่ได้ ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งละสัญโญชน์ในภพได้แล้ว ชนเหล่านั้น ทั้งหมดไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ. กล่าวอยู่ว่าก็ เมื่อละสัญโญชน์ในภพได้แล้วแล ภพย่อมเป็นอันละได้ ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 324

ไม่เป็นการยกย่อง ไม่เป็นการตําหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้จักการยกย่องและการตําหนิ ครั้นรู้แล้วไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตําหนิพึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.

ความรู้ตัดสินความสุข

[๖๕๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้ตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว.พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความสุขภายใน นั่น เราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่าง เป็นไฉน คือ รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต... กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ... รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด นี้แลกามคุณ ๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขโสมนัสใดแล อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น สุขโสมนัสนี้ เรียกว่าสุขอาศัยกาม สุขของปุถุชน สุขอากูล ไม่ใช่สุขของพระอริยะ. เรากล่าวว่า ไม่พึงเสพ ไม่พึงให้เจริญ ไม่พึงทําให้มากพึงกลัวสุขนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุสลธรรมเข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่. เข้าทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติมีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน... อยู่ เข้าจตุตถฌาน... อยู่ นี้เรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะ. สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ เรากล่าวว่า พึงเสพให้มาก พึงให้เจริญ พึงทําให้มาก ไม่พึงกลัวสุขนี้. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้ตัดสิน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 325

ความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความสุขภายใน นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๖๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าวคําล่วงเกินต่อหน้า นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในประการแรกนั้น พึงรู้วาทะลับหลังใด ไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าววาทะลับหลังนั้นเป็นอันขาด แม้รู้วาทะลับหลังใดจริงแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็พึงสําเหนียกเพื่อจะไม่กล่าววาทะลับหลังนั้น และรู้วาทะลับหลังใด จริง แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้นพึงเป็นผู้รู้จักกาล เพื่อจะกล่าววาทะลับหลังนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในประการหลังนั้น พึงรู้คําล่วงเกินต่อหน้าใด ไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าวคําล่วงเกินต่อหน้านั้นเป็นอันขาด แม้รู้คําล่วงเกินต่อหน้าใด จริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็พึงสําเหนียกเพื่อจะไม่กล่าวคําล่วงเกินต่อหน้านั้น และรู้คําล่วงเกินต่อหน้าใด จริง แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น พึงเป็นผู้รู้จักกาลเพื่อจะกล่าวคําล่วงเกินต่อหน้านั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าวคําล่วงเกินต่อหน้า นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๖๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบด่วนนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในประการแรกนั้นเมื่อรีบด่วนพูด กายก็ลําบาก จิตก็แกว่ง เสียงก็พร่า คอก็เครือ แม้คําพูดของผู้ที่รีบด่วนพูดก็ไม่สละสลวย ไม่พึงรู้ชัดได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในประการหลังนั้น เมื่อไม่รีบด่วนพูด กายไม่ลําบาก จิตก็ไม่แกว่ง เสียงก็ไม่พร่า คอก็ไม่เครือ แม้คําพูดของผู้ที่ไม่รีบด่วนพูด ก็สละสลวย พึงรู้ชัดได้.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 326

ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบด่วน นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๖๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงปรักปรําภาษาชนบท ไม่พึงล่วงเลยคําพูดสามัญเสีย นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็อย่างไรเล่า เป็นการปรักปรําภาษาชนบท และเป็นการล่วงเลยคําพูดสามัญดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภาชนะนั้นแลในโลกนี้ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปาตี

ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปัตตะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิฏฐะ

ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า สราวะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หโรสะ

ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า โปณะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หนะ

ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิปิละ.

ภิกษุพูดปรักปรําโดยประการที่ชนทั้งหลายหมายรู้เรื่องภาชนะนั้นกันดังนี้ ในชนบทนั้นๆ ตามกําลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า อย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นการปรักปรําภาษาชนบทและเป็นการล่วงเลยคําพูดสามัญ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า เป็นการไม่ปรักปรําภาษาชนบท และเป็นการไม่ล่วงเลยคําพูดสามัญ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภาชนะนั่นแลในโลกนี้

ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปาตี ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปัตตะ

ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิฏฐะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า สราวะ

ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หโรสะในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า โปณะ

ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หนะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิปิละ.

ภิกษุพูดโดยประการที่ชนทั้งหลาย หมายรู้เรื่องภาชนะกันดังนี้ ในชนบทนั้นๆ อย่างไม่ใช่ความแน่ใจว่า เป็นอันทําผู้มีอายุทั้งหลาย พูดแก่ข้าพเจ้าหมายถึงภาชนะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นการไม่ปรักปรําภาษาชนบท และเป็นการไม่ล่วงเลยคําพูดสามัญ.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 327

ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงปรักปรําภาษาชนบท ไม่พึงล่วงเลยคําพูดสามัญนั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในอรณวิภังค์นั้น ความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของตนที่มีความสุขเพราะสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์. แต่การไม่ตามประกอบความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของตนทีมีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อนเป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.

[๖๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ความเพียรเครื่องประกอบคนให้ลําบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อนเป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์. แต่การไม่ตามประกอบความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลําบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.

[๖๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ความปฏิบัติปานกลาง อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทําให้มีจักษุ ทําให้มีญาณเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 328

นิพพาน นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.

[๖๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น การยกย่อง การตําหนิ และไม่ใช่เป็นการแสดงธรรม นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์ แต่การไม่ยกย่อง การไม่ตําหนิ การแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.

[๖๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น กามสุขนี้ใด เป็นสุขอากูล สุขของปุถุชน สุขไม่ประเสริฐ ธรรมนั้นมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงมีกิเลสต้องรณรงค์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในอรณวิภังค์นั้น สุขอาศัยเนกขัมมะสุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.

[๖๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น วาทะลับหลังซึ่งไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์มีความคับใจมีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์. แม้วาทะลับหลังซึ่งจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 329

เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ก็ยังมีกิเลสต้องรณรงค์ ส่วนวาทะลับหลังซึ่งจริง แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบเพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.

[๖๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น คํากล่าวล่วงเกินต่อหน้าซึ่งไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์. แม้คํากล่าวล่วงเกินต่อหน้าซึ่งจริงแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์. แต่คํากล่าวล่วงเกินต่อหน้าซึ่งจริง แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.

[๖๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น คําที่ผู้รีบด่วนพูด นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มิความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์. แต่คําที่ผู้ไม่รีบด่วนพูด นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.

[๖๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น การปรักปรําภาษาชนบทและการล่วงเลยคําพูดสามัญ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมี

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 330

กิเลสต้องรณรงค์ แต่การไม่ปรักปรําภาษาชนบท และการไม่ล่วงเลยคําพูดสามัญ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์

[๖๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แลว่า เราทั้งหลายจักรู้ธรรมยังมีกิเลสต้องรณรงค์ และรู้ธรรมไม่มีกิเลสต้องรณรงค์ ครั้นรู้แล้ว จักปฏิบัติปฏิปทา ไม่มีกิเลสต้องรณรงค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แหละกุลบุตรสุภูติ ปฏิบัติปฏิปทาไม่มีกิเลสต้องรณรงค์แล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส พระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ อรณวิภังคสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 331

อรรถกถาอรณวิภังคสูตร

อรณวิภังคสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

ในบทเหล่านั้น บทว่า เนวุสฺสาเทยฺย น อปสาเทยฺย (ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ) ความว่าไม่ยกยอ ไม่พึงตําหนิบุคคลใด ด้วยอํานาจอาศัยเรือน. บทว่า ธมฺมเมว เทเสยฺย (พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น) คือ พึงพูดแต่ความจริงเท่านั้น. บทว่า สุขวินิจฺฉยํ ได้แก่สุขที่ตัดสินแล้ว. บทว่า รโห วาทํ (วาทะลับหลัง) ได้แก่ กล่าวโทษลับหลัง อธิบายว่ากล่าวคําส่อเสียด. บทว่า สุมฺมุขา นาติขีณํ (คำล่วงเกินต่อหน้า) ความว่า ไม่พึงกล่าวคําล่วงเกินคําฟุ่มเฟือย คําสกปรกต่อหน้า. บทว่า นาภินิเวเสยฺยํ (ไม่พึงยึดติด) ความว่า ไม่พึงพูดรีบด่วนเอาแต่ได้. บทว่า สมฺํ (คำพูดสามัญ) ได้แก่โลกสมัญญาคือ โลกบัญญัติ.บทว่า นาติธาเวยฺยํ (ไม่พึงล่วงเลย) คือ ไม่พึงล่วงละเมิด. บทว่า กามปฏิสนฺธิสุขิโน (ของคนที่มีความสุขโดยสืบมาแต่กาม) ความว่า ผู้มีความสุข ด้วยความสุขโดยสืบต่อกาม คือ ประกอบด้วยกามบทว่า สทุกฺโข (มีทุกข์) ได้แก่ มีทุกข์ ด้วยวิบากทุกข์บ้าง ด้วยกิเลสทุกข์บ้าง บทว่า สอุปฆาโฏ (มีความคับใจ) ได้แก่มีความคับใจ ด้วยความคับใจในวิบากและความคับใจในกิเลสนั้นเทียว มีความเร่าร้อนเหมือนอย่างนั้น. บทว่า มิจฺฉาปฏิปทา (เป็นความปฏิบัติผิด) ได้แก่ความปฏิบัติไม่เป็นความจริงคือความปฏิบัติอันเป็นอกุศล. บทว่า อิตฺเถเก อปสาเทติ (ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง) ความว่า ตําหนิบุคคลบางพวก ด้วยอํานาจอาศัยเรือนอย่างนี้ แม้ในการยกยอก็มีนัยนี้เช่นกัน. บทว่า ภวสํ โยชนํ ได้แก่ ผูกพันในภพ นั่นเป็นชื่อของตัณหา. ได้ยินว่า พระสุภูติเถระ อาศัยจตุกกะนี้ ดํารงอยู่ในตําแหน่งเอตทัคคะ. จริงอยู่เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ ความยกยอและการตําหนิย่อมปรากฏแก่บุคคลทั้งหลาย. เมื่อพระเถระทั้งหลายมีพระสารีบุตรเถระเป็นต้นแสดงธรรม ความยกยอและการตําหนิก็ปรากฏอย่างนั้น.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 332

แต่ธรรมเทศนาของสุภูติเถระไม่มีว่า บุคคลนี้ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติผิด หรือว่าบุคคลนี้มีศีล มีคุณ มียางอาย มีศีลเป็นที่รัก ถึงพร้อมด้วยมรรยาท ดังนี้. ก็ธรรมเทศนาของพระสุภูติเถระนั้น ย่อมปรากฏว่า นี้เป็นการปฏิบัติผิด นี้เป็นการปฏิบัติชอบดังนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุภูติเป็นเลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้สาวกของเราผู้มีปกติอยู่ด้วยความสงบ.บทว่า กาลฺู อสฺส (พึงเป็นผู้รู้จักกาล) ความว่า ไม่กล่าวในกาลที่ยังไม่ถึง และที่ล่วงแล้ว และกล่าวถึงกาลที่ควรประกอบความเพียร อันควรกล่าวในบัดนี้ว่า มหาชนจักถือเอา ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง. แม้ในขีณาวาทะก็มีนัยเช่นเดียวกัน. บทว่า อุปหฺติ (แกว่ง) ได้แก่ กระทบกระทั่ง. บทว่า สโร อุปหฺติ (เสียงก็พร่า) คือ แม้เสียงย่อมแตกพร่า. บทว่า อาตุริยติ ได้แก่ เป็นผู้เดือดร้อน. ถึงความเป็นผู้เจ็บไข้ได้อาพาธ. บทว่า อวิสฏํ (ไม่สละสลวย) ได้แก่คําไม่สละสลวย คือ คลุมเคลือ. บทว่า ตเทว ได้แก่ ภาชนะนั้นเทียว. บทว่า อภินิวิสฺส โวหรติ (ยึดติด อย่างเหนียวแน่น พูด) ความว่า ปุถุชนคนโง่ ไปสู่ชนบทที่รู้จําว่า ปัตตะ ฟังว่า พวกเจ้าจงนํามา จงล้างปัตตะ รีบพูดว่า นี้ไม่ใช่ปัตตะ นั้นชื่อว่าปาตี เจ้าจงพูดอย่างนี้. พึงประกอบด้วยบททั้งหลายในที่ทั้งปวงอย่างนี้. บทว่า อติสาโร (การละเลย) ได้แก่ อภิวาทนะ. บทว่า ตถา ตถา โวหรติ อปราปรํ (ภิกษุก็พูดโดยประการนั้นๆ ไม่ไปในทางที่ผิด) ความว่า ภาชนะในชนบทของพวกเราเรียกว่าปาตี. ส่วนชนเหล่านี้กล่าวภาชนะนั้น ว่า ปัตตะ. จําเดิมแต่นั้น แก้คําพูดของชนบทกล่าวเนืองๆ ว่า ปัตตะ ปัตตะ ดังนี้เทียว. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เช่นกัน.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงกระทําบทมริยาทภาชนียะ จึงตรัสว่า ตตฺร ภิกฺขเว (ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น) ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สรโณ (มีกิเลสต้องรณรงค์) ได้แก่ มีธุลี มีกิเลส. บทว่า อรโณ (ไม่มีกิเลสต้องรณรงค์) ได้แก่ไม่มีธุลีปราศจากกิเลส. บทว่า

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 333

สุภูติ จ ปน ภิกขเว (ภิกษุทั้งหลาย ก็แลสุภูติกุลบุตร) ความว่า พระเถระนี้ ขึ้นสู่ตําแหน่งเอตทัคคะ ๒อย่าง คือ สุภูติเลิศในทางอรณวิหารี และเลิศในทางทักขิไณย. ได้ยินว่าพระธรรมเสนาบดี ยังวัตถุให้บริสุทธิ์. สุภูติเถระยังทักขิณาให้บริสุทธิ์. จริงอย่างนั้น พระธรรมเสนาบดีเที่ยวบิณฑบาต ยืนอยู่ใกล้ประตูเรือน กําหนดในบุพภาคแล้ว เข้านิโรธจนกว่าบุคคลทั้งหลายนําภิกษามาถวาย. ออกจากนิโรธแล้ว รับไทยธรรม. พระสุภูติเถระเข้าเมตตาฌานเหมือนอย่างนั้น. ออกจากเมตตาฌานแล้วรับไทยธรรม. ถามว่า ก็พระเถระอาจทําอย่างนี้หรือ. ตอบว่า เออ อาจ. การที่พระสาวกทั้งหลายผู้ถึงมหาภิญญา พึงทําอย่างนี้ นั้นไม่น่าอัศจรรย์เลย. จริงอยู่ ในกาลแห่งโบราณกราช ในตัมพปัณณิทวีปนั้น พระเถระชื่อปิงคลพุทธรักขิต อยู่อาศัยอุตตรคาม. ในอุตตรคามนั้น มีตระกูล ๗๐๐ ตระกูล. พระเถระไม่เคยเข้าสมาบัติที่ประตูตระกูลใด ประตูตระกูลนั้นแม้หนึ่งก็ไม่มี. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอรณวิภังคสูตรที่ ๙