พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36149
อ่าน  1,013

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 412

๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 412

๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

[๗๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก จึงเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า มาเถิดพ่อมหาจําเริญ พ่อจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วจงถวายบังคมพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าตามคําของเรา แล้วจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอถวายบังคมพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า อนึ่ง จงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่อยู่ แล้วจงกราบเท้าท่านพระสารีบุตรตามคําของเรา และเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนาเป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และเรียนอย่างนี้อีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาสเหมาะแล้วขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคําอนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๗๒๑] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนักขอถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ต่อนั้น เข้าไปหาท่าน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 413

พระสารีบุตรยังที่อยู่ กราบท่านพระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งพอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงเรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าและสั่งมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาสเหมาะแล้ว ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแลท่านพระสารีบุตรนั่งสบงทรงบาตรจีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะเข้าไปยังนิเวศน์ชองอนาถบิณฑิกคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้

[๗๒๒] พอนั่งเรียบรอยแล้ว จึงกล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีดังนี้ว่าดูก่อนคฤหบดี ท่านพอทน พอเป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กําเริบปรากฏความทุเลาเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความกําเริบละหรือ.

อ. ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ กระผมทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหวทุกขเวทนาของกระผมหนัก กําเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกําเริบเป็นที่สุดไม่ปรากฏความทุเลาเลย.

ความเป็นไปแห่งอาพาธ

[๗๒๓] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณกระทบขม่อมของกระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกําลังเอาของแหลมคมทิ่มขม่อมฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กําเริบ ไม่ทุเลาปรากฏความกําเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.

[๗๒๔] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณเวียนศีรษะกระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกําลังขันศีรษะด้วยชะเนาะมั่นฉะนั้น กระผมจึงทน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 414

ไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กําเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏมีความกําเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.

[๗๒๕] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณปันป่วนท้องของกระผมอยู่ เหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ฉลาดเอามีดแล่โคอันคมคว้านท้อง ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กําเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกําเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.

[๗๒๖] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ความร้อนในกายของกระผมเหลือประมาณ เหมือนบุรุษมีกําลัง ๒ คน จับบุรุษมีกําลังน้อยกว่าที่อวัยวะป้องกันตัวต่างๆ แล้ว นาบ ย่าง ในหลุมถ่านเพลิง ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กําเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกําเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.

[๗๒๗] สา. ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุ และวิญญาณที่อาศัยจักษุจักไม่มีแก่เรา.พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสต และวิญญาณที่อาศัยโสตจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานะ และวิญญาณที่อาศัยฆานะจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหา และวิญญาณที่อาศัยชิวหาจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกาย และวิญญาณที่อาศัยกายจักไม่มีแก่เรา.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 415

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโน และวิญญาณที่อาศัยมโนจักไม่มีแก่เรา.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสําเหนียกไว้อย่างนี้เถิด.ว่าด้วยพาหิรายตนะ

[๗๒๘] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสําเหนียกอย่างนี้ว่าเราจักไม่ยึดมั่นรูป และวิญญาณที่อาศัยรูปจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเสียง และวิญญาณที่อาศัยเสียงจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกลิ่น และวิญญาณที่อาศัยกลิ่นจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นรส และวิญญาณที่อาศัยรสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโผฏฐัพพะ และวิญญาณที่อาศัยโผฏฐัพพะจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นธรรมารมณ์ และวิญญาณที่อาศัยธรรมารมณ์จักไม่มีแก่เรา.

ดูก่อนคฤหบดี พ่านพึงสําเหนียกไว้อย่างนี้เถิด.

[๗๒๙] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสําเหนียกอย่างนี้ว่าเราจักไม่ยึดมั่นจักษุวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยจักษุวิญญาณจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสตวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยโสตวิญญาณจักไม่มีแก่เรา

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 416

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยฆานวิญญาณจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหาวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยชิวหาวิญญาณจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกายวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยกายวิญญาณจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโนวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยมโนวิญญาณจักไม่มีแก่เรา.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสําเหนียกไว้อย่างนี้เถิด.

[๗๓๐] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสําเหนียกอย่างนี้ว่าเราจักไม่ยึดมั่นจักษุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยจักษุสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสตสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยโสตสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยฆานสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมันชิวหาสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยชิวหาสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกายสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยกายสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโนสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยมโนสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสําเหนียกไว้อย่างนี้เถิด.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 417

[๗๓๑] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสําเหนียกอย่างนี้ว่าเราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่โสตสัมผัสและวิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่โสตสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่ฆานสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่ฆานสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่น เวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่กายสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่กายสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่น เวทนาเกิดแต่มโนสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่มโนสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสําเหนียกไว้อย่างนี้เถิด.

[๗๓๒] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสําเหนียกอย่างนี้ว่าเราจักไม่ยึดมั่นปฐวีธาตุ และวิญญาณที่อาศัยปฐวีธาตุจักไม่มีแก่เรา

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่น อาโปธาตุ และวิญญาณที่อาศัยอาโปธาตุจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่น เตโชธาตุ และวิญญาณที่อาศัยเตโชธาตุจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่น วาโยธาตุ และวิญญาณที่อาศัยวาโยธาตุจักไม่มีแก่เรา.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 418

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากาสธาตุ และวิญญาณที่อาศัยอากาสธาตุจักไม่มีแก่เรา.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสําเหนียกไว้อย่างนี้เถิด.

[๗๓๓] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสําเหนียกอย่างนี้ว่าเราจักไม่ยึดมั่นรูปและวิญญาณที่อาศัยรูปจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนา และวิญญาณที่อาศัยเวทนาจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นสัญญา และวิญญาณที่อาศัยสัญญาจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นสังขาร และวิญญาณที่อาศัยสังขารจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยวิญญาณจักไม่มีแก่เรา.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสําเนียกไว้อย่างนี้เถิด.

ว่าด้วยอรูป ๔

[๗๓๔] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสําเหนียกอย่างนี้ว่าเราจักไม่ยึดมั่นอากาสานัญจายตนฌาน และวิญญาณที่อาศัยอากาสานัญจายตนะฌานจักไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณัญจายคนฌานและวิญญาณที่อาศัยวิญญาณัญจายตนฌานจัก ไม่มีแก่เรา.

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากิญจัญญายตนฌานและวิญญาณที่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานจักไม่มีแก่เรา

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 419

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานและวิญญาณที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานจักไม่มีแก่เรา.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสําเหนียกไว้อย่างนี้เถิด.

[๗๓๕] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสําเหนียกอย่างนี้ว่าเราจักไม่ยึดมั่นโลกนี้ และวิญญาณที่อาศัยโลกนี้จักไม่มีแก่เรา

พึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโลกหน้า และวิญญาณที่อาศัยโลกหน้าจักไม่มีแก่เรา. ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสําเหนียกไว้อย่างนี้เถิด

[๗๓๖] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสําเหนียกอย่างนี้ว่าอารมณ์ใดที่เราได้เห็น ได้ฟัง ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้แสวงหา ได้พิจารณาด้วยใจแล้ว เราจักไม่ยึดมั่นอารมณ์แม้นั้น และวิญญาณที่อาศัยอารมณ์นั้นจักไม่มีแก่เรา ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสําเหนียกไว้อย่างนี้เถิด.

[๗๓๗] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้ อนาถบิณฑิกคฤหบดีร้องไห้ น้ำตาไหล ขณะนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะนาถบัณฑิกคฤหบดีดังนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านยังอาลัยใจจดใจจ่ออยู่หรือ.

อ. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ กระผมมิได้อาลัย มิได้ใจจดใจจ่อแต่ว่ากระผมได้นั่งใกล้พระศาสดาและหมู่ภิกษุที่น่าเจริญใจมาแล้วนาน ไม่เคยได้สดับธรรมมีกถาเห็นป่านนี้.

อา. ดูก่อนคฤหบดี ธรรมกถาเห็นปานนี้ มิได้แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว แต่แจ่มแจ้งแก่บรรพชิต

อ. ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอธรรมีกถาเห็นปานนี้จงแจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวบ้างเถิด เพราะมีกุลบุตรผู้เกิดมามีกิเลสธุสีในควงตาน้อย จะเสื่อมคลายจากธรรม จะเป็นผู้ไม่รู้ธรรม โดยมิได้สดับ.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 420

ครั้นนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์กล่าวสอนอนาถบิณฑิกคฤหบดีด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป.

การเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

[๗๓๘] ต่อนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเมื่อท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์หลีกไปแล้วไม่นาน ก็ได้ทํากาลกิริยาเข้าถึงชั้นดุสิตแล ครั้งนั้นล่วงปฐมยามไปแล้ว อนาถบิณฑิกเทพบุตรมีรัศมีงามส่องพระวิหารเชตวัน ให้สว่างทั่ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้ายืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

พระเชตวันนี้มีประโยชน์ อันสงฆ์ผู้แสวงบุญอยู่อาศัยแล้ว อันพระองค์ผู้เป็นธรรมราชาประทับ เป็นที่เกิดปิติแก่ข้าพระองค์ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕ อย่างนี้ คือ กรรม ๑ วิชชา ๑ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอุดม ๑ ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์ เพราะฉะนั้นแลบุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายจะบริสุทธิ์ในธรรมนั้นได้ด้วยอาการนี้พระสารีบุตรนั้นแล ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ด้วยศีล และด้วยความสงบ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 421

ความจริง ภิกษุผู้ถึงฝังแล้ว จะอย่างยิ่งก็เท่าพระสารีบุตรนี้.

อนาถบิณฑิกเทวบุตรกล่าวดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัยต่อนั้นอนาถบิณฑิกเทวบุตรทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกระทําประทักษิณ หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง.

[๗๓๙] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ล่วงปฐมยามไปแล้วมีเทวบุตรตนหนึ่ง มีรัศมีงาม ส่องพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่ว เข้ามาหาเรายังที่อยู่ อภิวาทแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราด้วยคาถามีว่า

พระวิหารเชตวันนี้มีประโยชน์ อันสงฆ์ผู้แสวงบุญอยู่อาศัยแล้ว อันพระองค์ผู้เป็นธรรมราชาประทับ อยู่เป็นที่เกิดปิติแก่ข้าพระองค์ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยธรรม อย่างนี้ คือ ธรรม ๑วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอุดม ๑ไม่ใช่บริสุทธิด้วยโคตร หรือด้วยทรัพย์เพราะฉะนั้นแล บุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย จะบริสุทธิ์ในธรรมนั้นได้ด้วยอาการนี้ พระสารีบุตรนั้นแลย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ด้วยศีล และด้วย

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 422

ความสงบ ความจริง ภิกษุผู้ถึงฝังแล้วจะอย่างยิ่งก็เท่าพระสารีบุตรนี้.

ภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรนั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว รู้ว่าพระศาสดาทรงพอพระทัย จึงอภิวาทเรา แล้วกระทําประทักษิณ หายตัวไป ณ ที่นั้นแล.

[๗๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทวบุตรนั้น คงจักเป็นอนาถ บิณฑิกเทวบุตรแน่ เพราะอนาถบิณฑิกคฤหบดีได้เป็นผู้เลื่อมใสแล้วในท่านพระสารีบุตร.

พ. ดูก่อนอานนท์ ถูกแล้วๆ เท่าที่คาดคะเนนั้นแล เธอลําดับเรื่องถูกแล้ว เทวบุตรนั้นคืออนาถบิณฑิกเทวบุตร มิใช่อื่น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ อนาถปิณฑิโกวาทสูตร ที่ ๑

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 423

อรรถกถาอนาถปิณฑิโกวาทสูตร

อนาถบิณฑิโกวาทสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-.

ในบทเหล่านั้น คําว่า ป่วยหนัก คือป่วยเหลือขนาด เข้าถึงการนอนรอความตาย. คําว่า เรียกหาแล้ว คือ เล่ากันมาว่า ตราบใดที่เท้าของคฤหบดี ยังพาไปได้ ตราบนั้น คฤหบดี ก็ได้ทําการบํารุง พระพุทธเจ้าวันละครั้งสองครั้งหรือสามครั้งไม่ขาด และท่านบํารุงพระศาสดาเท่าใด ก็บํารุงพวกพระมหาเถระเท่านั้นเหมือนกัน วันนี้ ท่านเข้าถึงการนอนชนิดที่ไม่มีการลุกขึ้นอีก เพราะเท้าเดินไม่ได้แล้ว อยากส่งข่าวไปจึงเรียกหาชายคนใดคนหนึ่งมา. คําว่า เข้าไปแล้วโดยส่วนแห่งทิศนั้น คือครั้นทูลอําลาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็เข้าไปหาในเวลาพระอาทิตย์ตก. คําว่า ค่อยยังชั่ว คือ ทุเลาเบาลง. คําว่า หนักขึ้น คือเจริญยิ่งได้แก่เพียบลง คือเป็นเวทนาที่กล้าแข็งคําว่า. มีแต่ความหนักขึ้นเป็นที่สุดปรากฏ ไม่มีความทุเลาลง คือก็ในสมัยที่เกิดเวทนาชนิดที่มีความตายเป็นที่สุดขึ้นมานั้น ย่อมเป็นเหมือนกระพือลมบนไฟที่ลุกโพลง ตลอดเวลาที่ไออุ่นยังไม่ดับ ต่อให้ใช้ความเพียรใหญ่ขนาดไหน ก็ไม่อาจทําให้เวทนานั้นระงับไปได้ แต่จะระงับไปได้ก็คือเมื่อไออุ่นดับไปแล้ว ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรคิดว่า เวทนาของมหาเศรษฐี เป็นเวทนาชนิดมีความตายเป็นที่สุด ไม่มีใครสามารถห้ามได้ ถ้อยคําที่เหลือ ใช้ประโยชน์ไม่ได้ เราจักกล่าวธรรมกถาแก่มหาเศรษฐีนั้น.

และแล้วเมื่อกล่าวธรรมกถามานี้ กะคฤหบดีนั้น จึงกล่าวขึ้นต้น ว่าเพราะเหตุนั้นในกรณีนี้. ในคําเหล่านั้น คําว่า เพราะฉะนั้น คือเพราะ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 424

ขึ้นชื่อว่าผู้ที่ถือเอาจักษุด้วยการถือเอาทั้งสามอย่างอยู่ สามารถป้องกันเวทนาที่มีความตายเป็นที่สุดที่บังเกิดขึ้นแล้วไม่มี. คําว่า จักไม่ยึดมั่นจักษุ คือจักไม่ถือเอาจักษุด้วยการถือเอาทั้งสามอย่าง. คําว่า และความรู้แจ้งที่อาศัยจักษุของเราก็ไม่มี คือและความรู้แจ้งที่อาศัยจักษุของเราก็จักไม่มี. รูปในอายตนะท่านได้แสดงในหนหลังว่า รูป ก็ไม่มี แล้ว. ในที่นี้เมื่อจะแสดงแม้รูปในกามภพทั้งหมด ท่านจึงกล่าวอย่างนี้.

คําว่า โลกนี้ ก็ไม่มี หมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย หรืออาหารการกินตลอดถึงเครื่องนุ่งห่ม กระผมไม่ยึดติดทั้งนั้น. ก็แหละคํานี้ท่านแสดงเพื่อการไม่มีความสะดุ้งในปัจจัยทั้งหลาย. ส่วนในคําว่า โลกหน้า ก็ไม่นี้ หมายความว่า ยกโลกมนุษย์ออกแล้ว ที่เหลือ ชื่อว่า โลกหน้า หรือโลกอื่น คํานี้ ท่านกล่าวเพื่อการละความสะดุ้งนี้ว่าเรา เมื่อเกิดในเทวโลกโน้นแล้วจะเป็นในฐานะชื่อโน้น เราจะขบจะกินจะนุ่งจะห่ม สิ่งชื่อนี้. พระเถระปลดเปลื้องจากความยึดถือทั้งสามอย่าง อย่างนี้ว่า ถึงสิ่งนั้น กระผมก็จะไม่ยึดติดและความรู้แจ้งที่อาศัยความยึดติดนั้น ก็จะไม่มีแก่กระผมด้วย แล้วจึงจบเทศน์ลงด้วยยอดคือ พระอรหัต.

คําว่า แช่ลง คือ ท่านได้เห็นสมบัติของตนแล้ว ย่อมเกิด ย่อมแช่แฉะในอารมณ์ทั้งหลาย. เมื่อท่านพระอานนท์ว่าดังที่กล่าวมานี้แล้ว ก็สําคัญอยู่ว่า ขนาดคฤหบดีนี้ ซึ่งมีความเชื่อความเลื่อมใสอย่างนี้ ยังกลัวตาย แล้วคนอื่นใครเล่า จะไม่กลัว เมื่อจะทําให้แน่ใจแล้วให้โอวาทแก่คฤหบดีนั้นจึงได้กล่าวอย่างนี้. คําว่า ธรรมกถาทํานองนี้ กระผมยังไม่เคยได้ฟังเลย.คือ อุบาสกนี้กล่าวว่า ธรรมกถาทํานองนี้ แม้จากสํานักพระศาสดา กระผมก็ยังไม่เคยได้ฟังเลย. ถามว่า พระศาสดาไม่ทรงแสดงถ้อยคําที่ละเอียดลึกซึ้ง

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 425

แบบนี้หรือ. ตอบว่า ไม่ทรงแสดงก็หาไม่. แต่ทว่าถ้อยคําที่ทรงแสดงถึงอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ พวกวิญญาณ ๖ พวกผัสสะ ๖ พวกเวทนา ๖ ธาตุ ๖ ขันธ์ ๕ อรูป ๔ โลกนี้และโลกหน้า แล้วตรัสใส่ไว้ในความเป็นพระอรหันต์ด้วยอํานาจรูปที่ตาได้เห็นแล้ว เสียงที่หูได้ยินแล้ว กลิ่นรสโผฏฐัพพะที่จมูกลิ้นกายได้ทราบแล้วและธรรมารมณ์ที่ใจได้รู้แจ้งแล้ว ท่านคฤหบดีนี้ยังไม่เคยฟัง. เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง อุบาสกนี้ ยินดียิ่งในทาน เมื่อจะไปสํานักพระพุทธเจ้าจึงไม่เคยไปมือเปล่า เมื่อจะไปก่อนฉันก็ให้คนเอาข้าวต้มและของขบเคี้ยวเป็นต้นแล้วจึงไป เมื่อจะไปหลังฉันแล้ว ก็ให้เอาเนยใส น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้นแล้วจึงไป เมื่อไม่มีสิ่งนั้น ก็ให้แบกหามทรายเอาไปเกลี่ยลงในบริเวณพระคันธกุฎี ครั้นให้ทาน รักษาศีลเสร็จแล้วจึงกลับไปสู่เรือน.เล่ากันว่า อุบาสกนี้มีคติแบบโพธิสัตว์ ฉะนั้น ตลอดเวลา ๒๔ ปี โดยมากพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส แต่ทานกถาเท่านั้นแก่อุบาสกว่า อุบาสก ธรรมดาว่าทานนี้ เป็นทางดําเนินของเหล่าโพธิสัตว์ เป็นทางดําเนินของเราด้วย เราได้ให้ทานมาเป็นเวลาสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ท่านก็ชื่อว่าดําเนินตามทางที่เราได้ดําเนินมาแล้วโดยแท้. ถึงพระมหาสาวกมีพระธรรมเสนาบดีเป็นต้น ในเวลาที่อุบาสกมาสู่สํานักของตนๆ ก็แสดงแต่ทานกถาแก่ท่านเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้นแล ท่านจึงว่า คฤหบดีธรรมกถาเห็นปานนี้ ย่อมไม่ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มขาวเลย. มีคําที่ท่านอธิบายไว้อย่างนี้ว่า คฤหบดีสําหรับ พวกคฤหัสถ์มีความพัวพันเหนียวแน่นแต่ในนา สวน เงิน ทอง คนใช้หญิง ชาย บุตรและภรรยาเป็นต้น เอาแต่ความพอใจและความกลุ้มรุมอย่างแรง ถ้อยคําว่าอย่าทําความอาลัยใยดีในสิ่งเหล่านี้ อย่าไปทําความพออกพอใจ ดังนี้ จึงไม่ปรากฏ คือ ย่อมไม่ชอบใจแก่คฤหัสถ์เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 426

คําว่า เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ความว่าทําไมจึงเข้าไปเฝ้า. เล่ากันมาว่า พอคฤหบดีนั้นเกิดในชั้นดุสิตเท่านั้น ก็เห็นอัตภาพขนาดสามคาวุต โชติช่วงเหมือนกองทอง และสมบัติมีอุทยานและวิมานเป็นต้น จึงสํารวจดูว่า สมบัติของเรานี้ยิ่งใหญ่ เราได้ทําอะไรไว้ในถิ่นมนุษย์หนอแล เห็นการกระทําอย่างยิ่งในไตรรัตน์ จึงคิดว่า ความเป็นเทพนี้เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เพราะว่าเมื่อเรามัวชื่นชมสมบัตินี้ ก็จะต้องมีความหลงลืมสติบ้างก็ได้ เอาล่ะ เราจะไปกล่าวชมพระเชตวันของเรา พระภิกษุสงฆ์พระตถาคตเจ้า อริยมรรค และพระสารีบุตรเถระ มาจากนั้นแล้วจึงจะค่อยเสวยสมบัติ เทพบุตรนั้นจึงได้ทําอย่างนั้น. เพื่อแสดงข้อความนั้น ท่านจึงกล่าวคําว่า ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกะ เป็นต้น. ในคําเหล่านั้น คําว่า ที่พวกฤษีสร้องเสพแล้ว ได้แก่ ที่หมู่ภิกษุสร้องเสพแล้ว.

ครั้น กล่าวชมพระเชตวันด้วยคาถาแรกอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะกล่าวชมอริยมรรค จึงได้กล่าวคําว่า การงานและความรู้ เป็นต้น. ในคําเหล่านั้นคําว่า การงาน หมายถึงมรรคเจตนา. คําว่า ความรู้ หมายถึงมรรคปัญญา.คําว่า ธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งสมาธิ. ท่านแสดงว่า ชีวิตของผู้ที่ตั้งอยู่ในศีลว่าเป็นชีวิตที่สูงสุด ด้วยคําว่า ศีล ชีวิตที่สูงสุด.

อีกอย่างหนึ่ง ความเห็นและความดําริ ชื่อว่า ความรู้. ความพยายามความระลึก และความตั้งใจมั่น ชื่อว่า ธรรม. การพูด การงาน และการเลี้ยงชีพ ชื่อว่า ศีล. ชีวิตของผู้ตั้งอยู่ในศีลนี้ เป็นชีวิตที่สูงสุด ชื่อว่า ชีวิตอุดม. คําว่า หมู่สัตว์ย่อมหมดจดด้วยสิ่งนี้ คือ หมู่สัตว์ย่อมบริสุทธิ์ ด้วยมรรคที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 427

คําว่า เพราะเหตุนั้น คือเพราะเหตุที่หมดจดด้วยมรรค มิใช่เพราะด้วยโคตรหรือทรัพย์. บาทคาถาว่า พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยอุบายที่แยบคาย คือพึงเลือกเฟ้นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งสมาธิอย่างแนบเนียน.บาทคาถาว่า อย่างนี้จงจะหมดจดในธรรมนั้น คือด้วยลักษณะเช่นนี้จึงจะหมดจดในอริยมรรคนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บาทคาถาว่า พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยอุบายที่แยบคาย คือ พึงเลือกเฟ้นธรรมคือขันธ์ ๕ อย่างแนบเนียน.บาทคาถาว่า อย่างนี้จึงจะหมดจดในธรรมนั้น คือ อย่างนี้จึงจะหมดจดในสัจจะทั้ง ๔ ข้อนั้น.

บัดนี้ อนาถบิณฑิกเทพบุตร เมื่อจะกล่าวชมพระสารีบุตรเถระ จึงได้กล่าวว่า พระสารีบุตรนั่นแหละ เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น คําว่า พระสารีบุตรนั่นแหละ เป็นคําอวธารณะ (ห้ามข้อความอื่น) อนาถบิณฑิกเทพบุตรย่อมกล่าวว่า พระสารีบุตรเท่านั้น เป็นผู้เลิศด้วยปัญญาเป็นต้นเหล่านี้.คําว่า ด้วยความสงบระงับ คือ ด้วยความเข้าไปสงบกิเลส. คําว่า ถึงฝัง คือถึงพระนิพพาน. อนาถบิณฑิกเทพบุตรย่อมกล่าวว่า ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งบรรลุพระนิพพาน ภิกษุรูปนั้นอย่างมากก็เท่านี้ ไม่มีใครที่เกินเลยพระเถระไปได้. ที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอนาถปิณฑิโกวาทสูตร ที่ ๑