พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ฉันโนวาทสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36150
อ่าน  510

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 428

๒. ฉันโนวาทสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 428

๒. ฉันโนวาทสูตร

[๗๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแลท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาจุนทะ และท่านพระฉันนะ อยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ เฉพาะท่านพระฉันนะอาพาธ ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก.

[๗๔๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็นเข้าไปหาท่านพระมหาจุนทะยังที่อยู่ แล้วได้กล่าวกะท่านพระมหาจุนทะดังนี้ว่าดูก่อนท่านจุนทะ มาเถิด เราจะเข้าไปหาท่านพระฉันนะยังที่อยู่ ได้ถามถึงความไข้ ท่านพระมหาจุนทะรับคําท่านพระสารีบุตรแล้ว ต่อนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ ได้เข้าไปหาท่านพระฉันนะยังที่อยู่ แล้วทักทายปราศรัยกับท่านพระฉันนะ ครั้นผ่านคําทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระฉันนะดังนี้ว่า ดูก่อนท่านฉันนะ ท่านพอทน พอเป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กําเริบ ปรากฏความทุเลาเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความกําเริบหรือ.

ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหวทุกขเวทนาของกระผมหนัก กําเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกําเริบเป็นที่สุดไม่ปรากฏความทุเลาเลย.

[๗๔๓] ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ลมเหลือประมาณกระทบขม่อมของกระผม เหมือนบุรุษมีกําลังเอาของแหลมคมทิ่มขม่อม ฉะนั้น กระผมจึงทน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 429

ไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กําเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกําเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.

[๗๔๔] ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ลมเหลือประมาณเวียนศีรษะของกระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกําลังให้การขันศีรษะด้วยชะเนาะอย่างมั่น ฉะนั้นกระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กําเริบไม่ทุเลา ปรากฏความกําเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.

[๗๔๕] ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ลมเหลือประมาณปันป่วนท้องของกระผม เหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด เอามีดแล่โคอันคมคว้านท้อง ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กําเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกําเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย

[๗๔๖] ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ความร้อนในกายของกระผมเหลือประมาณ เหมือนบุรุษมีกําลัง ๒ คน จับบุรุษมีกําลังน้อยที่อวัยวะป้องกันตัวต่างๆ แล้ว นาบ ย่าง ในหลุมถ่านเพลิง ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหวเป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กําเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกําเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมจักหาศาสตรามาฆ่าตัว ไม่อยากจะได้เป็นอยู่เลย.

[๗๔๗] สา. ท่านฉันนะอย่าได้หาศาสตรามาฆ่าตัวเลย จงเป็นอยู่ก่อนเถิด พวกเรายังปรารถนาให้ท่านฉันนะเป็นอยู่ ถ้าท่านฉันนะไม่มีโภชนะเป็นที่สบาย ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าท่านฉันนะไม่มีเภสัชเป็นที่สบาย ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าท่านฉันนะไม่มีคนบํารุงที่สมควร ผมจักคอยบํารุงท่านเองท่านฉันนะอย่าได้หาศาสตรามาฆ่าตัวเลย จงเป็นอยู่ก่อนเถิด พวกเรายังปรารถนาให้ท่านฉันนะเป็นอยู่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 430

[๗๔๘] ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ไม่ใช่กระผมไม่มีโภชนะเป็นที่สบาย ไม่ใช่ไม่มีเภสัชเป็นที่สบาย ไม่ใช่ไม่มีคนบํารุงที่สมควร ก็แหละกระผมได้ปรนนิบัติพระศาสดามาตลอดกาลนาน ด้วยความพอพระทัย มิใช่ด้วยความไม่พอพระทัย ความจริง การที่ภิกษุปรนนิบัติพระศาสดาด้วยความพอพระทัย มิใช่ด้วยความไม่พอพระทัย นั้นเป็นการสมควรแก่สาวก ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ขอท่านจงทรงจําไว้อย่างนี้ว่า ฉันภิกษุจักหาศาสตรามาฆ่าตัวอย่างมิให้ถูกตําหนิได้.

สา. พวกเราจักขอถามปัญหาท่านฉันนะสักเล็กน้อย ถ้าท่านฉันนะเปิดโอกาสพยากรณ์ปัญหาได้.

ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร โปรดถามเถิด กระผมฟังแล้วจึงจักรู้.

[๗๔๙] ดูก่อนท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเราหรือ.

ท่านพิจารณาเห็นโสต โสตวิญญาณ...

ท่านพิจารณาเห็นฆานะ ฆานวิญญาณ...

ท่านพิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ...

ท่านพิจารณาเห็นกาย กายวิญญาณ...

ท่านพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณว่านั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเราหรือ.

ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 431

กระผมพิจารณาเห็นโสต โสตวิญญาณ...

กระผมพิจารณาเห็นฆานะ ฆานวิญญาณ...

กระผมพิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ...

กระผมพิจารณาเห็นกาย กายวิญญาณ...

กระผมพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.

ปัญหาของพระสารีบุตร

[๗๕๐] สา. ดูก่อนท่านฉันนะ ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไรในจักษุ ในจักษุวิญญาณ ในธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.

ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในโสต ในโสตวิญญาณ...

ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในฆานะ ในฆานวิญญาณ...

ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ...

ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในกาย ในกายวิญญาณ...

ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในมโน มโนวิญญาณ ในธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.

ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในจักษุ ในจักษุวิญญาณ ในธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 432

กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในโสต ในโสตวิญญาณ...

กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในฆานะ ในฆานวิญญาณ...

กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ...

กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในกาย ในกายวิญญาณ

กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในมโน ในมโนวิญญาณ ในธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.

[๗๕๑] เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวกะท่านพระฉันนะดังนี้ว่า ดูก่อนท่านฉันนะ เพราะฉะนั้นแล ท่านควรใส่ใจคําสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นไว้ตลอดกาลเนืองนิตย์แม้ดังนี้ว่า บุคคลผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยอยู่แล้ว ย่อมมีความหวั่นไหว สําหรับผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย ย่อมไม่มีความหวั่นไหว เมื่อไม่มีความหวั่นไหวก็มีความสงบ เมื่อมีความสงบก็ไม่มีตัณหานําไปสู่ภพ เมื่อไม่มีตัณหานําไปสู่ภพ ก็ไม่มีการมาเกิดไปเกิดเมื่อไม่มีการมาเกิดไปเกิด ก็ไม่มีจุติและอุปบัติ เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติก็ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า ไม่มีระหว่างกลางทั้งสองโลก นี้แหละที่สุดแห่งทุกข์ ครั้นท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ กล่าวสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะ หลีกไป.

[๗๕๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระฉันนะ เมื่อท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะหลีกไปแล้วไม่นาน ได้หาศาสตรามาฆ่าตัวเสียทันทีนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระฉันนะหาศาสตรามาฆ่าตัวเสียแล้ว ท่านจะมีคติอย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 433

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ฉันนภิกษุพยากรณ์ความเป็นผู้ไม่ด้วยตําหนิต่อหน้าเธอแล้วมิใช่หรือ.

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบ้านในแคว้นวัชชีนามว่าปุพพชิระที่หมู่บ้านนั้น ท่านพระฉันนะยังมีสกุลมิตร สกุลสหาย และสกุลคนที่คอยตําหนิอยู่.

[๗๕๓] พ. ดูก่อนสารีบุตร ฉันนภิกษุยังมีสกุลมิตร สกุลสหายและสกุลที่คอยตําหนิอยู่ก็จริง แต่เราหาเรียกบุคคลว่า ควรถูกตําหนิด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่ ดูก่อนสารีบุตร บุคคลใดแล ทั้งกายนี้และยึดมั่นกายอื่นบุคคลนั้นเราเรียกว่า ควรถูกตําหนิ ฉันนภิกษุหามีลักษณะนั้นไม่ ฉันนภิกษุหาศาสตรามาฆ่าตัวอย่างไม่ควรถูกตําหนิ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ ฉันโนวาทสูตร ที่ ๒

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 434

อรรถกถาฉันโนวาทสูตร

ฉันโนวาทสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

ในคําเหล่านั้น คําว่า ฉันนะ ได้แก่พระเถระมีชื่ออย่างนั้น ไม่ใช่เป็นพระเถระที่ออกไปด้วยกันกับพระพุทธเจ้า ตอนออกอภิเนษกรมณ์. คําว่า จากการหลีกเร้น คือจากผลสมาบัติ. คําว่า ไต่ถามถึงความเป็นไข้ ได้แก่การบํารุงภิกษุไข้ ที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ ทรงพรรณนาไว้เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวอย่างนั้น. คําว่า ศัสตรา ได้แก่ศัสตราที่คร่าชีวิต. คําว่า ไม่หวัง คือไม่อยาก. คําว่า ไม่เข้าไปถึง คือไม่เกิดไม่มีปฏิสนธิ. คําว่า นั่นของเรา ป็นต้น ท่านกล่าวไว้ด้วยอํานาจความยึดถือด้วยตัณหา มานะและทิฏฐิ. คําว่า เห็นความดับอย่างสิ้นเชิง คือทราบความสิ้นและความเสื่อมไป. คําว่า นั่นไม่ใช่ตัวตนข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา คือข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน คําว่า เพราะเหตุนั้น คือเพราะเหตุที่พระเถระกล่าวว่า เมื่อข้าพเจ้าอดกลั้นเวทนาที่มีความตายเป็นที่สุดไม่ได้. จึงได้นําเอาศัสตรามานั้น ท่านเป็นปุถุชนจึงชี้แจงว่า เพราะฉะนั้น ท่านจงใส่ใจแม้ข้อนี้. คําว่าตลอดกาลเนืองนิตย์ คือนิจกาล. คําว่า ที่อาศัยแล้ว คือตัณหาและทิฏฐิอิงแล้ว. คําว่า หวั่นไหวได้แก่เป็นของกวัดแกว่ง. คําว่า ความสงบ คือความสงบกายสงบจิต อธิบายว่าถึงความสงบกิเลส ก็ย่อมมี. คําว่า นติ ได้แก่ตัณหา. คําว่า นติยา อสติ คือเมื่อไม่มีความกลุ้มรุมเพราะความอาลัยใยดีเพื่อประโยชน์แก่ภพ. คําว่า ไม่มีการมาและการไป คือ ชื่อว่าการมาด้วยอํานาจปฏิสนธิ ย่อมไม่มี ชื่อว่าการไปด้วยอํานาจจุติ ก็ย่อมไม่มี. คําว่า จุติและอุปบัติ คือ ชื่อว่าจุติด้วยอํานาจความเคลื่อน ชื่อว่าอุปบัติด้วยอํานาจการเกิดขึ้น. คําว่า ไม่มีในโลกนี้

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 435

ไม่มีในโลกหน้า ไม่มีโดยระหว่างโลกทั้งสอง คือในโลกนี้ก็ไม่มี ในโลกหน้าก็ไม่มี ในโลกทั้งสองก็ไม่มี. คําว่า นี่แลเป็นที่สุดของทุกข์ คือนี้เท่านั้นเป็นที่สุดของวัฏทุกข์และกิเลสทุกข์ นี้เป็นกําหนดโดยรอบ เป็นทางโดยรอบ. เพราะนี้เท่านั้นเป็นความประสงค์ในข้อนี้. สําหรับท่านผู้ใดถือคําว่าไม่มีโดยระหว่างโลกทั้งสอง แล้วต้องการระหว่างภพ ข้อคําที่ยิ่งไปสําหรับท่านเหล่านั้น ก็กล่าวในหนหลังเสร็จแล้วแล. คําว่า นําศัสตรามาแล้ว คือเอาศัสตราสําหรับคร่าชีวิตมาแล้ว ตัดก้านคอแล้ว.

ก็ขณะนั้น ความกลัวตายของท่านก็ก้าวลง คตินิมิตปรากฏขึ้น. ท่านรู้ว่าตัวยังเป็นปุถุชน เกิดสลดใจ ตั้งวิปัสสนา พิจารณาสังขาร สําเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นสมสีสีแล้วก็ปรินิพพาน. คําว่า ทรงพยากรณ์ความไม่เกิดต่อหน้าที่เดียว คือถึงแม้ว่าการพยากรณ์นี้ มีในเวลาที่พระเถระยังเป็นปุถุชนก็จริง ถึงอย่างนั้น การปรินิพพานที่ไม่มีอะไรมาแทรกแซงได้ของท่านก็ได้มีตามคําพยากรณ์นี้ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงถือเอาคําพยากรณ์นั่นแหละมาตรัส. คําว่า ตระกูลที่พึงเข้าไป คือตระกูลที่ควรเข้าไป ด้วยคําว่า ตระกูลที่พึงเข้าไป นี้ พระเถระย่อมทูลถามว่า พระเจ้าข้า เมื่อยังมีพวกอุปัฏฐากและพวกอุปัฏฐายิกาอยู่อย่างนี้ ภิกษุนั้น จะปรินิพพานในพระศาสนาของพระองค์หรือ ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงความที่ภิกษุนั้น ไม่มีความคลุกคลีในตระกุลทั้งหลาย จึงตรัสคําว่า สารีบุตร ก็แลเหล่านี้ ย่อมมี ดังนี้เป็นต้น. เล่ากันมาว่า ในฐานะนี้ ความไม่ข้องเกี่ยวในตระกูลทั้งหลายของพระเถระได้เป็นที่ปรากฏแล้ว. คําที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาฉันโนวาทสูตรที่ ๒