พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. นครวินเทยยสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36156
อ่าน  560

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 509

๘. นครวินเทยยสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 509

๘. นครวินเทยยสูตร

[๘๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ทรงแวะยังบ้านพราหมณ์แห่งโกศลชนบทชื่อว่านครวินทะ พวกพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะได้ทราบข่าวว่า พระสมณะผู้ศากยบุตรเสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว เสด็จจาริกไปในโกศลชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงบ้านนครวินทะโดยลําดับ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์งามฟุ้งไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้เองโดยชอบถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะดําเนินไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทําให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้ทั้งเทวดา มาร พรหม ทุกหมู่สัตว์ทั้งสมณะและพราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้รู้ทั่ว ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ทรงประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมเป็นการดีแล ครั้งนั้นแล พราหมณ์ คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะ พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ครั้นแล้วบางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประณมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตรใน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 510

สํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกมีอาการเฉยๆ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ว่าด้วยความเป็นผู้ไม่ควรสักการะ

[๘๓๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะผู้นั่งเรียบร้อยแล้วดังนี้ว่า คฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นถามท่านทั้งหลายอย่างนี้ว่า คฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เช่นไรไม่ควรสักการะเคารพ นับถือ บูชา ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่าสมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกําหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะเคารพ นับถือ บูชา นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเราก็ยังมีความกําหนัดความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูป ที่รู้ได้ด้วยจักษุ ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ ก็เมื่อเราทั้งหลายไม่เห็นแม้ความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไปดังนี้ ฉะนั้น ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือบูชา.

สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกําหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ไม่ไปปราศแล้ว...

สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกําหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ไม่ไปปราศแล้ว...

สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกําหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ไม่ไปปราศแล้ว...

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 511

สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกําหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ไม่ไปปราศแล้ว...

สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกําหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายในยังประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ สมณพราหมณ์เช่นนี้ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเราก็ยังมีความกําหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโนไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ ทางกายทางวาจา ทางใจอยู่ ก็เมื่อเราทั้งหลายไม่เห็นแม้ความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไป ดังนี้ ฉะนั้น ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่ปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างนี้เถิด.

[๘๓๔] ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นถามท่านทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เช่นไรควรสักการะเคารพ นับถือ บูชา ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่าสมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกําหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุแล้ว มีจิตสงบแล้วภายใน ประพฤติสงบทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเรายังมีความกําหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ ก็เมื่อเราทั้งหลายเห็นแม้ความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไป ดังนี้ ฉะนั้นท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 512

สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกําหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสตแล้ว...

สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกําหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะแล้ว...

สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกําหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหาแล้ว...

สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกําหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายแล้ว...

สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกําหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโนแล้ว มีจิตสงบแล้วภายใน ประพฤติสงบทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ควรสักการะ เคารพนับถือ บูชา นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเรายังมีความกําหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ก็เมื่อเราทั้งหลายเห็นแม้ความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์พวกนั้น ที่ยิ่งขึ้นไปดังนี้ ฉะนั้น ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงควรสักการะ เคารพ นับถือบูชา ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่ปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างนี้เถิด.

ว่าด้วยอาการและอันวยปัญหา

[๘๓๕] ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นถามท่านทั้งหลายอย่างนี้ว่า ก็อาการและความเป็นไปของท่านผู้มีอายุทั้งหลายเช่นไรจึงเป็นเหตุให้พวกท่านกล่าวถึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนําปราศราคะแน่ เป็นผู้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 513

ปราศจากโทสะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนําปราศโทสะ เป็นผู้ปราศจากโมหะแล้วหรือปฏิบัติเพื่อนําปราศโมหะแน่ ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความจริง ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ย่อมเสพเฉพาะเสนาสนะอันสงัด คือป่าดง เป็นที่ไม่มีรูปอันรู้ได้ด้วยจักษุ ซึ่งคนทั้งหลายเห็นแล้วๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีเสียงอันรู้ได้ด้วยโสต ซึ่งคนทั้งหลายฟังแล้วๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีกลิ่นอันรู้ได้ด้วยฆานะ ซึ่งคนทั้งหลายดมแล้วๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีรสอันรู้ได้ด้วยชิวหา ซึ่งคนทั้งหลายลิ้มแล้วๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีโผฏฐัพพะอันรู้ได้ด้วยกาย ซึ่งคนทั้งหลายสัมผัสแล้วๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย นี้แลอาการและความเป็นไปของท่านผู้มีอายุทั้งหลายของพวกข้าพเจ้า ซึ่งเป็นเหตุให้พวกข้าพเจ้ากล่าวถึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนําปราศราคะแน่ เป็นผู้ปราศจากโทสะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนําปราศโทสะแน่ เป็นผู้ปราศจากโมหะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนําปราศโมหะแน่ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่ปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างนี้เถิด.

[๘๓๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า แจ่มแจ้งแล้วพระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ํา หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูปทั้งหลายได้ ฉะนั้น พวกข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจําพวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

จบ นครวินเทยยสูตร ที่ ๘

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 514

อรรถกถานครวินเทยยสูตร

นครวินเทยยสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับแล้วอย่างนี้:-

ในสูตรนั้น คําว่า สมวิสมํ จรนฺติ (ยังประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ ) ได้แก่บางครั้งก็ประพฤติเรียบร้อย บางครั้งก็ไม่เรียบร้อย. คําว่า สมจริยํปิ เหตํ (แม้ความประพฤติสงบ... นี้) ตัดบทเป็น สมจริยํปิ หิ เอตํ แปลว่า ก็แหละแม้นี้ ก็เป็นความประพฤติที่เรียบร้อย.คําว่า อาการเหล่าไหน คือเหตุเหล่าไหน. คําว่า เก อนฺวยา (ความประพฤติ... เป็นเช่นไร) แปลว่าอะไรที่พึงตามรู้. ทําไมท่านจึงว่า ก็แหละในป่าดงนั้นไม่มีเลย กามคุณ ๕ มีรูปเป็นต้น ที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ด้วยอํานาจหญ้าเขียว และป่าจําปาเป็นต้นก็มีอยู่ในป่ามิใช่หรือ. ไม่ใช่ไม่มี. แต่คํานี้ท่านไม่ได้แสดงด้วยป่าดง. หากแต่ท่านหมายเอารูปผู้หญิงเป็นต้น จึงกล่าวคํานี้. ก็รูปของผู้หญิงเป็นต้นเหล่านั้น ยึดจิตของผู้ชายแล้วตั้งอยู่. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายเราเองยังไม่มองเห็นรูปอย่างอื่นแม้สักรูปเดียวที่ยึดจิตชายตั้งอยู่อย่างนี้ เหมือนรูปหญิงนี้เลยนะ ภิกษุทั้งหลาย รูปผู้หญิงยึดจิตชายแล้วตั้งอยู่ พึงขยายให้พิสดาร. คําที่เหลือทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถานครวินเทยยสูตรที่ ๘