๗. อัปปฏิวิทิตสูตร
[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 57
๗. อัปปฏิวิทิตสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 57
๗. อัปปฏิวิทิตสูตร
[๑๕] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ธรรมทั้งหลายอันชนพวกใดยังไม่แทงตลอดแล้ว ชนพวกนั้นย่อมถูกจูงไปในวาทะของชนพวกอื่น ชนพวกนั้นชื่อว่ายังหลับไม่ตื่น (กาลนี้) เป็นกาลสมควรเพื่อจะตื่นของชนพวกนั้น.
[๑๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ธรรมทั้งหลาย อันชนพวกใดแทงตลอดดีแล้ว ชนพวกนั้นย่อมไม่ถูกจูงไปในวาทะของชนพวกอื่น บุคคลผู้รู้ดีทั้งหลายรู้ทั่วถึงโดยชอบแล้ว ย่อมประพฤติเสมอในหมู่สัตว์ผู้ประพฤติไม่เสมอ.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 58
อรรถกถาอัปปฏิวิทิตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๗ ต่อไป :-
บทว่า ธมฺมา ได้แก่ สัจจธรรม ๔.
บทว่า อปฺปฏิวิทิตา ได้แก่ ยังมิได้แทงตลอดด้วยญาณ.
บทว่า ปรวาเทสุ ได้แก่ ในวาทะอันประกอบด้วยทิฏฐิ ๖๒ จริงอยู่วาทะเหล่านั้น ชื่อว่า วาทะของชนพวกอื่น เพราะเป็นวาทะของพวกเดียรถีย์อื่น นอกจากวาทะในศาสนานี้.
บทว่า นียเร ได้แก่ ย่อมเคลื่อนไปตามธรรมดาของตนบ้าง บุคคลอื่นย่อมจูง (นำ) ไปบ้าง.
ในบทเหล่านั้น เมื่อถือเอาวาทะว่าเที่ยง เป็นต้นเองชื่อว่า ย่อมเคลื่อนไป. เมื่อถือเอาวาทะว่าเที่ยงนั้น ตามถ้อยคำของผู้อื่น ชื่อว่าถูกผู้อื่นจูงไป.
บทว่า กาโล เตสํ ปพุชฺฌิตุํ อธิบายว่า กาลนี้ เป็นกาลสมควรเพื่อจะตื่นของบุคคลเหล่านั้น.
จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลก พระธรรมอันพระองค์ย่อมทรงแสดง พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ทั้งปฏิปทาก็เจริญ เทวดาจึงกล่าวว่า ก็มหาชนเหล่านี้หลับแล้วในวัฏฏะ ยังไม่ตื่น ดังนี้.
ในบทว่า สมฺพุทฺธา ได้แก่ ผู้ตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยเหตุ ด้วยการณ์.
จริงอยู่ ผู้ตรัสรู้ ๔ จำพวก คือ พระสัพพัญญูพุทธะ ปัจเจกพุทธะ จตุสัจจพุทธะ และ สุตพุทธะ. ในพุทธะเหล่านั้น ผู้บำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ แล้วบรรลุพระสัมมาสัมโพธิ ชื่อว่า พระสัพพัญญูพุทธะ. ผู้บำเพ็ญบารมีสิ้น ๒ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป จึงบรรลุด้วยตนเอง ชื่อ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 59
พระปัจเจกพุทธะ. พระขีณาสพผู้สิ้นอาสวะโดยไม่เหลือ ชื่อว่า จตุสัจจพุทธะ. ผู้เป็นพหูสูต ชื่อว่า สุตพุทธะ. พุทธะมีในก่อนแม้ทั้ง ๓ ย่อมสมควรในอรรถนี้.
บทว่า สมฺมทญฺาย ได้แก่ รู้ด้วยเหตุด้วยการณ์.
บทว่า จรนฺติ วิสเม สมํ อธิบายว่า ย่อมประพฤติเสมอในโลกสันนิวาสอันไม่เสมอ หรือในหมู่สัตว์อันไม่เสมอ หรือว่ากิเลสชาตอันไม่เสมอดังนี้แล.
จบอรรถกถาอัปปฏิวิทิตสูตรที่ ๗