พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. นันทิสูตร ว่าด้วยผู้ไม่มีความยินดี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36173
อ่าน  494

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 75

๒. นันทิสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่มีความยินดี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 75

๒. นันทิสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่มีความยินดี

[๒๖] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

คนมีบุตรย่อมยินดีเพราะบุตรทั้งหลาย คนมีโคย่อมยินดีเพราะโคทั้งหลายเหมือนกันฉะนั้น เพราะอุปธิเป็นความดีของคน บุคคลใดไม่มีอุปธิ บุคคลนั้นไม่มียินดีเลย.

[๒๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บุคคลมีบุตร ย่อมเศร้าโศกเพราะบุตรทั้งหลาย บุคคลมีโค ย่อมเศร้าโศกเพราะโคทั้งหลายเหมือนกันฉะนั้น เพราะอุปธิเป็นความเศร้าโศกของคน บุคคลใดไม่มีอุปธิ บุคคลนั้นไม่เศร้าโศกเลย.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 76

อรรถกถานันทิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า นนฺทติ แปลว่า ย่อมยินดี คือ ย่อมมีใจเป็นของๆ ตน.

บทว่า ปุตฺติมา ได้แก่ มีบุตรมาก.

จริงอยู่ บุตรบางพวกทำกสิกรรมแล้วย่อมยังยุ้งข้าวเปลือกให้เต็ม บางพวกทำการค้าแล้วย่อมนำเงินและทองมา บางพวกบำรุงพระราชา (รับราชการ) ย่อมได้วัตถุทั้งหลายมียาน พาหนะ คาม นิคมเป็นต้น. มารดาหรือบิดาเมื่อเสวยสิริอันเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งบุตรเหล่านั้น ย่อมยินดี.

อีกอย่างหนึ่ง มารดาหรือบิดาเห็นบุตรทั้งหลาย ผู้อันบุคคลตกแต่งประดับประดา ทำให้เกิดความยินดี เสวยอยู่ซึ่งสมบัติในวันรื่นเริงเป็นต้น ย่อมยินดี.

ด้วยเหตุนั้น เทวดา หมายเอาความเป็นไปนั้น จึงกล่าวว่า นนฺทติ ปุตฺเตหิ ปุตฺติมา แปลว่า คนมีบุตรย่อมยินดีเพราะบุตรทั้งหลายดังนี้.

บทว่า โคหิ ตเถว ความว่า คนมีบุตรย่อมยินดีเพราะบุตร ฉันใด แม้คนมีโค ก็ฉันนั้น คนมีโคเห็นมณฑลแห่งโค (สนามโค) สมบูรณ์แล้วเพราะอาศัยโคทั้งหลาย เสวยสมบัติ คือ เบญจโครส จึงชื่อว่า ย่อมยินดีเพราะโคทั้งหลาย.

บทว่า อุปธิ ในบทว่า อุปธีหิ นรสฺส นนฺทนา นี้ได้แก่ อุปธิ ๔ อย่าง คือ กามูปธิ (อุปธิ คือ กาม) ขันธูปธิ (อุปธิ คือ ขันธ์) กิเลสูปธิ (อุปธิ คือ กิเลส) และอภิสังขารูปธิ (อุปธิ คือ อภิสังขาร).

จริงอยู่ แม้กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า อุปธิ เพราะวจนัตถะนี้ว่า ความสุขที่บุคคลเข้าไปตั้งไว้ในกามคุณนี้ ก็เพราะความที่กามเหล่านี้เป็นที่อาศัยอยู่แห่งความสุขดังที่ตรัสไว้ อย่างนี้ว่า ความสุข ความ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 77

โสมนัส อันใด อาศัยกามคุณ ๕ เกิดขึ้น นี้ชื่อว่า ความพอใจในกามทั้งหลายดังนี้.

แม้ขันธ์ทั้งหลาย ก็ตรัสเรียกว่า อุปธิ เพราะความที่ขันธ์เหล่านั้นเป็นที่อาศัยอยู่ แห่งทุกข์ซึ่งมีขันธ์เป็นมูล.

แม้กิเลสทั้งหลาย ก็ตรัสเรียกว่าอุปธิ เพราะความที่กิเลสเหล่านั้นเป็นที่อาศัยอยู่แห่งทุกข์ในอบาย.

แม้อภิสังขารทั้งหลายก็ตรัสเรียกว่า อุปธิ เพราะความที่อภิสังขารเหล่านั้นเป็นที่อาศัยอยู่แห่งทุกข์ในภพ.

แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอา กามูปธิ เพราะกามคุณ ๕ อันบุคคลบำรุงบำเรอด้วยอำนาจแห่งวัตถุทั้งหลาย มีการอยู่ในปราสาท ๓ ฤดูเป็นต้น มีที่นั่งที่นอนอาภรณ์เสื้อผ้าอันโอฬาร มีบริวารคอยบำเรอด้วยการฟ้อนรำ เป็นต้น เป็นเหตุนำมาซึ่งปีติโสมนัส ย่อมยังนระให้ยินดีอยู่ ฉะนั้น บุตรทั้งหลายและโคทั้งหลาย ฉันใด พึงทราบว่า แม้อุปธิเหล่านี้ก็ฉันนั้นเพราะเป็นที่ยินดีของนระ.

บาทแห่งคาถาว่า น หิ โส นนฺทติ โย นิรูปธิ ความว่าบุคคลใด ไม่มีอุปธิ คือ เว้นจากการถึงพร้อมด้วยกามคุณ เป็นผู้ขัดสน มีอาหารและเครื่องนุ่งห่มหาได้โดยยาก บุคคลนั้นแลย่อมยินดีไม่ได้.

ถามว่า มนุษย์เพียงดังเปรต มนุษย์เพียงดังสัตว์นรก เห็นปานนี้จักยินดีอย่างไร.

ตอบว่า ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสวิสัชนาไว้แล้ว (ในคาถาที่ ๒๗)

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสดับคำ (อันเทวดากล่าว) นี้แล้ว ทรงพระดำริว่า เทวดานี้ ย่อมทำเรื่องแห่งความเศร้าโศกนั่นแหละ ให้เป็นเรื่องน่ายินดี เราจักแสดงความที่สิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องแห่งความเศร้าโศกแก่เธอ ดังนี้ เมื่อจะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 78

ทำลายวาทะของเทวดานั้น ด้วยอุปมานั้นนั่นเอง เหมือนบุคคลยังถ้อยคำอันเป็นเหตุผลให้ตกไปด้วยเหตุผล จึงทรงเปลี่ยนพระคาถานั้นนั่นแหละ แล้วตรัสว่า โสจติ เป็นอาทิ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสจติ ปุตฺเตหิ ความว่า เมื่อบุตรทั้งหลายสูญหายไปก็ดี เสื่อมเสียไปก็ดี ด้วยอำนาจแห่งการเดินทางไปต่างประเทศ แม้มีความสงสัยในบัดนี้ว่า จักสูญเสียไป มารดาและบิดาย่อมเศร้าโศก.

อนึ่ง เมื่อบุตรตายแล้วก็ดี กำลังจะตายก็ดี หรือถูกราชบุรุษหรือโจรเป็นต้นจับตัวไป หรือว่าเข้าไปสู่เงื้อมมือของข้าศึกทั้งหลาย มารดาหรือบิดาเป็นผู้มีความสงสัยว่าตายแล้วก็ดี ย่อมเศร้าโศก. เมื่อบุตรพลัดตกจากต้นไม้หรือจากภูเขาเป็นต้น มีมือและเท้าหักก็ดี บอบช้ำก็ดี มีความสงสัยว่าแตกหักแล้วก็ดี มารดาหรือบิดาย่อมเศร้าโศก. บุคคลมีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตรทั้งหลาย ฉันใด แม้คนมีโคก็ฉันนั้น ย่อมเศร้าโศกเพราะโคทั้งหลาย โดยอาการ ๙ อย่าง.

บาทพระคาถาว่า อุปธี หิ นรสฺส โสจนา ความว่า เหมือนอย่างว่าบุตรและโคทั้งหลาย ฉันใด แม้อุปธิ คือ กามคุณ ๕ ก็ฉันนั้น ย่อมยังนระให้เศร้าโศก โดยนัยที่ตรัสไว้ว่า

ตสฺส เจ กามยมานสฺส ฉนฺทชาตสฺส ชนฺตุโน เต กามา ปริหายนฺติ สลฺลวิทฺโธว รุปฺปติ

หากว่าสัตว์นั้นมีความรักใคร่ มีความพอใจเกิดแล้ว กามเหล่านั้นย่อมยังเขาให้ย่อยยับไป เหมือนบุคคลถูกลูกศรแทงแล้วย่อมพินาศ ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 79

เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ความเศร้าโศกของนระ ก็คือเรื่องความเศร้าโศกนั่นแหละ.

บทว่า น หิ โส โสจติ โย นิรูปธิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบายไว้ว่า อุปธิ ๔ เหล่านี้ ไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นย่อมไม่มีอุปธิ คือ ความเศร้าโศก.

ดูก่อนเทวดา เพราะเหตุนั้นแหละ พระมหาขีณาสพจักเศร้าโศก หรือกำลังเศร้าโศกมีหรือ ดังนี้แล.

จบอรรถกถานันทิสูตรที่ ๒