๕. สกมานสูตร ว่าด้วยเหตุเดียวแต่ความรู้สึกต่างกัน
[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 86
๕. สกมานสูตร
ว่าด้วยเหตุเดียวแต่ความรู้สึกต่างกัน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 86
๕. สกมานสูตร
ว่าด้วยเหตุเดียวแต่ความรู้สึกต่างกัน
[๓๒] เทวดากล่าวว่า
เมื่อนกทั้งหลายพักร้อน ในเวลาตะวันเที่ยง ป่าใหญ่ประหนึ่งว่าครวญคราง ความครวญครางของป่านั้น เป็นภัยปรากฏแก่ข้าพเจ้า.
[๓๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เมื่อนกทั้งหลายพักร้อน ในเวลาตะวันเที่ยง ป่าใหญ่ประหนึ่งว่าครวญครางนั้น เป็นความยินดีปรากฏแก่เรา.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 87
อรรกถาสกมานสูตร
วินิจฉัยในสกมานสูตรที่ ๕ ต่อไป :-
บทว่า ิเต มชฺฌนฺติเก แปลว่า ในเวลาเที่ยงวัน.
บทว่า สนฺนิสินฺเนสุ ได้แก่ อาศัยพักอยู่ในที่อันไม่เสมอกันเพราะเข้าไปสู่ที่ตามความสบายอย่างไร. อธิบายว่า ชื่อว่า เวลาเที่ยงวันนี้เป็นเวลาทุรพลแห่งอิริยาบถของสรรพสัตว์ทั้งหลาย. แต่ในที่นี้ ท่านแสดงความทุรพลแห่งอิริยาบถของนกทั้งหลายเท่านั้น.
บทว่า ปลาเตว ได้แก่ ดุจเสียงครวญคราง ดุจการเปล่งเสียงร้องใหญ่. ก็ในที่นี้ท่านกล่าวเอาเสียงที่รบกวนเท่านั้น เสียงนี้แหละเปรียบดังเสียงครวญคราง.
จริงอยู่ ในฤดูร้อนเวลาเที่ยงวัน พวกสัตว์ ๔ เท้า และพวกปักษีทั้งหลายมาประชุมกัน (พักเที่ยง) เสียงใหญ่ คือ เสียงแห่งโพรงต้นไม้ อันลมเป่าแล้วด้วยแห่งปล้องไม้ไผ่ที่เป็นรู อันลมเป่าแล้วด้วยแห่งต้นไม้ซึ่งต้นกับต้นเบียดสีกันและกิ่งกับกิ่งเบียดสีกันด้วย ย่อมเกิดขึ้นในท่ามกลางป่าเสียงครวญครางนั้น ท่านกล่าวหมายเอาเสียงใหญ่นี้.
บทว่า ตํ ภยํ ปฏิภาติ มํ ความว่า ในกาลเห็นปานนั้น เสียงเช่นนั้น ย่อมปรากฏเป็นภัยแก่ข้าพเจ้า.
ได้ยินว่า เทวดานั้นมีปัญญาอ่อนเมื่อไม่ได้ความสุข ๒ อย่าง คือ ความผาสุกในการนั่ง ความผาสุกในการพูดของตนในขณะนั้น จึงกล่าวแล้วอย่างนี้.
ก็เพราะในกาลเช่นนั้นเป็นเวลาสงัดของภิกษุผู้กลับจากบิณฑบาต แล้วนั่งถือเอากรรมฐานในป่าชัฏ แล้วความสุขมีประมาณมิใช่น้อยย่อมเกิดขึ้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาคำอันใดว่า
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 88
สุญฺาคารํ ปวิฏฺสฺส สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน อมานุสี รตี โหติ สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสโตติ จ ปุรโต ปจฺฉโต วาปิ อปโร เว น วิชฺชติ อติว ผาสุ ภวติ เอกสฺส วสโต วเนติ จ.
เมื่อภิกษุเข้าไปสู่สูญญาคาร (เรือนว่าง) มีจิตสงบแล้ว ยินดีอยู่ในสิ่งที่มิใช่ของมนุษย์ จึงเห็นธรรมโดยชอบ ดังนี้
และคาถาว่า บุคคลอื่นข้างหน้าหรือว่าข้างหลัง ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อเป็นผู้เดียวอยู่ในป่า ความผาสุกย่อมเกิดได้โดยเร็วดังนี้.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระคาถาที่ ๒.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สา รติ ปฏิภาติ มํ อธิบายว่าในเวลาเห็นปานนี้ ชื่อว่า การนั่งของบุคคลผู้เดียวอันใดนั้น เป็นความยินดีย่อมปรากฏแก่เรา.
คำที่เหลือ เช่นกับนัยก่อนนั่นแหละ.
จบอรรถกถาสกมานสูตรที่ ๕