พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ผุสติสูตร ว่าด้วยวิบากของกรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36183
อ่าน  596

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 126

๒. ผุสติสูตร

ว่าด้วยวิบากของกรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 126

๒. ผุสติสูตร

ว่าด้วยวิบากของกรรม

[๕๘] เทวดาทูลว่า

วิบากย่อมไม่ถูกบุคคลผู้ไม่ถูกกรรมวิบาก พึงถูกบุคคลผู้ถูกกรรมโดยแท้ เพราะฉะนั้น วิบากย่อมถูกบุคคลผู้ถูกกรรม ผู้ประทุษร้าย นรชนผู้ไม่ประทุษร้าย.

[๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บุคคลใดย่อมประทุษร้ายแก่นรชนผู้ไม่ประทุษร้าย เป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้น ผู้เป็นพาลแท้ ประดุจธุลีอันละเอียดที่ซัดไปทวนลม ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 127

อรรถกถาผุสติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในผุสติสูตรที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า นาผุสนฺตํ ผุสติ ความว่า วิบากย่อมไม่ถูกบุคคลผู้ไม่ถูกกรรม (คือผู้ไม่ทำกรรม) อีกอย่างหนึ่ง กรรมย่อมไม่ถูกบุคคลผู้ไม่ถูกกรรมนั่นแหละ. เพราะว่า กรรมย่อมไม่กระทำแก่บุคคลผู้ไม่กระทำ.

บทว่า ผุสนฺตญฺจ ตโต ผุเส ความว่า วิบากย่อมถูกบุคคลผู้ถูกกรรม อีกอย่างหนึ่งกรรมนั่นแหละ ย่อมถูกบุคคลผู้ถูกกรรม. เพราะว่า กรรมย่อมกระทำบุคคลผู้กระทำ.

บทว่า ตสฺมา ผุสนฺตํ ผุสติ อปฺปทุฏฺปฺปโทสินํ อธิบายว่าเพราะวิบากย่อมไม่ถูกบุคคล ผู้ไม่ถูกกรรม ย่อมถูกบุคคลผู้ถูกกรรม ข้อนี้เป็นธรรมดาของกรรมวิบากทั้งหลาย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่าบุคคลใด ย่อมประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ ผู้บริสุทธิ์ ผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน บุคคลผู้ประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง กรรมหรือวิบาก ย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ย่อมถูกต้องบุคคลผู้ถูกกรรมนั้นแหละ เพราะว่าบุคคลนั้น ย่อมอาจเพื่อทำการฆ่าบุคคลอื่นหรือไม่ก็ตาม แต่อัตตา ชื่อว่า ตั้งอยู่แล้วในอบาย ๔ ด้วยกรรมนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลผู้นั้นผู้เป็นพาล ประดุจธุลี อันละเอียดที่ซัดไปทวนลม ฉะนั้น.

จบอรรถกถาผุสติสูตรที่ ๒