พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. สัทธาสูตร ว่าด้วยศรัทธา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36197
อ่าน  456

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 197

๖. สัทธาสูตร

ว่าด้วยศรัทธา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 197

๖. สัทธาสูตร

ว่าด้วยศรัทธา

[๑๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกามากด้วยกัน มีวรรณะงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๑๑๓] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของคน หากว่าความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาไม่ตั้งอยู่ แต่นั้นบริวารยศและเกียรติยศย่อมมีแก่เขานั้น อนึ่ง เขานั้นละทิ้งสรีระแล้วก็ไปสู่สวรรค์ บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงทิ้งมานะเสีย พึงล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสีย กิเลสเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง ย่อมไม่เกาะเกี่ยวบุคคลนั้น ผู้ไม่เกี่ยวข้องในนามรูป ผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล.

[๑๑๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

พวกชนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมตามประกอบความประมาท ส่วนนักปราชญ์

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 198

ย่อมรักษาความไม่ประมาท เหมือนบุคคลรักษาทรัพย์อันประเสริฐ บุคคลอย่าตามประกอบความประมาท และอย่าตามประกอบความสนิทสนม ด้วยอำนาจความยินดีทางกาม เพราะว่าบุคคลไม่ประมาทแล้วเพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุบรมสุข.

อรรถกถาสัทธาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัทธาสูตรที่ ๖ ต่อไป :-

บทว่า สทฺธา ทุติยา ปุริสสฺส โหติ แปลว่า ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของคน คือได้แก่ เมื่อคนไปสู่เทวโลก และพระนิพพาน ศรัทธาย่อมเป็นเพื่อนสอง คือ ย่อมยังกิจของสหายให้สำเร็จ.

บทว่า โน เจ อสทฺธิยํ อวติฏฺติ แก้เป็น ยทิ อสทฺธิยํ น ติฏฺติ แปลว่า หากว่า ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาไม่ตั้งอยู่.

บทว่า ยโส แปลว่า ยศ ได้แก่ บริวาร.

บทว่า กิตฺติ แปลว่า เกียรติยศ ได้แก่ การกล่าวยกย่องสรรเสริญ.

บทว่า ตตฺวสฺส โหติ แปลว่า ย่อมมีแก่เขานั้น คือว่า ต่อจากนั้น ย่อมมีแก่เขา.

บทว่า นานุปตนฺติ สงฺคา แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง ย่อมไม่เกาะเกี่ยว คือ ได้แก่กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ๕ อย่าง มีราคะเป็นเครื่องเกี่ยวข้องเป็นต้น ย่อมไม่เข้าถึง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

พวกคนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมตามประกอบความประมาท ส่วนนัก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 199

ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาท เหมือนบุคคลรักษาทรัพย์อันประเสริฐ บุคคลอย่าตามประกอบความประมาท และอย่าตามประกอบความสนิทสนม ด้วยอำนาจความยินดีทางกาม เพราะว่า บุคคลไม่ประมาทแล้ว เพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุบรมสุข.

บทว่า ปมาทมนุยุญฺชนฺติ แปลว่า ย่อมตามประกอบความประมาท อธิบายว่า ชนเหล่าใดย่อมกระทำ คือย่อมให้ความประมาทเกิดขึ้น ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมประกอบตามซึ่งความประมาทนั้น.

บทว่า ธนํ เสฏฺํว รกฺขติ แปลว่า เหมือนบุคคลรักษาทรัพย์อันประเสริฐ คือได้แก่ เหมือนบุคคลรักษาทรัพย์อันอุดมมีแก้วมุกดา และแก้วมณีอันมีสาระ เป็นต้น.

บทว่า ฌายนฺโต แปลว่า เพ่งพินิจอยู่ อธิบายว่า เพ่งอยู่ด้วยลักษณูปนิชฌาน และอารัมมณูปนิชฌาน ใน ๒ อย่างนั้น วิปัสสนา มรรค และผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน.

จริงอยู่ วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งซึ่งลักษณะทั้งสาม. มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า ย่อมให้สำเร็จซึ่งปหานกิจที่มาถึงแล้วโดยวิปัสสนา. ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า ย่อมเข้าไปเพ่งซึ่งนิโรธสัจจะ อันเป็นตถลักษณะ. แต่สมาบัติ ๘ บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นอารัมมณูปนิชฌาน เพราะการเข้าไปเพ่งอารมณ์แห่งกสิณ. อรหัตสุข ชื่อว่า บรมสุข อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาแล้วดังนี้แล.

จบอรรถกถาสัทธาสูตรที่ ๖