ข้าราชการ มีระเบียบปฏิบัติในการทำงาน

 
oom
วันที่  4 พ.ค. 2550
หมายเลข  3620
อ่าน  1,046

กรณีที่เราเป็นข้าราชการ มีระเบียบปฏิบัติในการทำงาน คือต้องมาทำงานไม่เกิน ๐๘.๓๐ น. และกลับเวลา ๑๖.๓๐ น. แต่การที่เรามาทำงานสาย และอยู่ทำงาน ทดแทนให้จนครบ ตามเวลาของทางราชการ ในทางธรรมถือว่าปฏิบัติได้หรือไม่ จริงๆ แล้วก็ไม่ได้เกิดผลเสียต่องาน แต่อาจจะผิดระเบียบปฏิบัติของการมาทำงาน เท่านั้นเอง คิดว่าควรทำหรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 4 พ.ค. 2550

การตรงต่อเวลาและทำงานรับใช้ตามวันและเวลา ที่ทางการกำหนดเป็นสิ่งที่ดี แต่บางครั้งมี เหตุทำให้มาสายทำให้เวลาการทำงานขาดไป เวลาเลิกงานก็เลิกหลัง เวลา เพื่อชดเชยเวลาที่ขาดไปก็เป็นความคิดที่ดี เป็นความซื่อตรงต่อหน้าที่ และเวลาที่ทางการกำหนด การมีสัจจะ จริงใจและซื่อตรงต่อทางการ เป็นสิ่งที่ดี เป็นการสะสมความเป็นผู้ตรงต่อความจริง ผู้ที่จะรู้แจ้งความจริง (อริยสัจ) ต้องสะสมความตรง มีสัจจบารมี จึงจะรู้แจ้งได้

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ...

สัจจบารมี [พุทธวงศ์]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Sam
วันที่ 4 พ.ค. 2550

พระธรรมมีประโยชน์เกื้อกูล แม้แต่เรื่องที่เราคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน

ขออนุโมทนาท่านผู้ถาม และคำตอบของมูลนิธิฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 4 พ.ค. 2550

ถ้าเรามาสายแล้วเราทำงานชดเชยเวลาให้ ทางธรรมและทางโลกไม่ผิดค่ะ ชื่อว่าเป็นผู้ตรงต่อตัวเอง (กุศลทุกอย่างชื่อว่าตรง) ข้อความจากพระไตรปิกฏค่ะ

[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๔๐

ชื่อว่า ตรง (อุชุ) เพราะทำด้วยความไม่อวดดี ชื่อว่า ตรงดี (สุหุชู) เพราะ ไม่มีมายา. หรือว่า ชื่อว่า ตรง เพราะละความคิดทางกายและวาจา ชื่อว่า ตรงดี เพราะละความคดทางใจ หรือชื่อว่า ตรง เพราะไม่อวดคุณที่ไม่มีจริง ชื่อว่า ตรงดี เพราะไม่อดกลั้นต่อลาภที่เกิดเพราะคุณที่ไม่มีจริง พึงชื่อว่าเป็น ผู้ตรงและตรงดี ด้วยอารัมมณูปนิชฌาน (สมถภาวนา) และลักขณูปนิชฌาน (วิปัสสนาภาวนา)

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
oom
วันที่ 4 พ.ค. 2550

ขอบคุณมาก ที่ตอบให้หายข้องใจ จะได้ไม่ทำผิด

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 4 พ.ค. 2550

การเป็นผู้ตรง ซึ่งต้องเป็นไปในทางกุศล ซึ่งขึ้นอยู่กับเจตนาเป็นสำคัญมาสายด้วย ความไม่ตั้งใจ แล้วทำงานชดเชย ขณะรู้ว่าควรทำสิ่งที่ถูก คือ ทำงานชดเชย เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เป็นผู้ตรงไม่ใช่หมายถึงตรงต่อเวลา แต่ตรงเพราะรู้ว่าสิ่งใดควรไม่ควร มาสาย ด้วยเจตนาที่ต้องการมาสาย ขณะนั้นไม่ตรงแต่ถ้าคิดได้ว่าไม่ควรจึงทำงาน ชดเชย ขณะที่คิดได้อย่างนั้น ถูกต้องครับ เป็นผู้ตรงในทางธรรมะนั้น เมื่อบุคคลนั้น ทำผิด พระพุทธองค์ทรงติเตียน บุคคลนั้นก็ขออดโทษ แล้วสำรวมระวังต่อไป การทำอย่างนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องในทางธรรมะ ฉันใด แม้กรณีตัวอย่าง นี้ก็เช่นกัน รู้ว่ามาสายก็ทำ ชดเชยชื่อว่ารู้ในสิ่งที่ควรทำ และพยายามที่จะไม่มาสายอีกต่อไป

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๒๕

ข้อความบางตอนจาก ...

ภัททาลิสูตร

[๑๖๕] ดูก่อนภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอ ผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้วบัญญัติ สิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เราจึงรับโทษของเธอนั้น ข้อที่บุคคล เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรมถึงความสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 17 ก.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 15 พ.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ