พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร คาถาของธิดาท้าวปัชชุนนะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36201
อ่าน  428

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 233

๑๐. ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร

คาถาของธิดาท้าวปัชชุนนะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 233

๑๐. ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร

คาถาของธิดาท้าวปัชชุนนะ

[๑๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ธิดาของท้าวปัชชุนนะชื่อจุลลโกกนทา มีวรรณะงาม ยังป่ามหาวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๑๓๔] ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อจุลลโกกนทา ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวคาถาทั้งหลายในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อจุลลโกกนทา มีวรรณะสว่างดังสายฟ้ามาแล้วในที่นี้ ไหว้พระพุทธเจ้า และพระธรรม ได้กล่าวแล้วซึ่งคาถาทั้งหลายนี้มีประโยชน์เทียว หม่อมฉันพึงจำแนกธรรมนั้นโดยปริยายแม้มาก ธรรมเช่นนั้นมีอยู่โดยปริยาย ธรรมเท่าใดที่หม่อมฉันศึกษาแล้วด้วยใจ หม่อมฉันจักกล่าวอรรถแห่งธรรมนั้นโดยย่อ ใครๆ ไม่ควรทำกรรมอันลามกด้วยวาจา ด้วยใจ หรือด้วยกายอย่างไรๆ ในโลกทั้งปวง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 234

ใครๆ ละกามทั้งหลายแล้ว มีสติสัมปชัญญะ ไม่พึงเสพทุกข์อันไม่ประกอบด้วยประโยชน์.

จบ สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔

อรรถกถาทุติยปัชชุนนธีตุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-

บทว่า ธมฺมํ จ อธิบายว่า ธิดาของท้าวปัชชุนนะชื่อ จุลลโกกนทา กล่าวว่า หม่อมฉันมาในที่นี้ ไหว้อยู่ซึ่งพระรัตนตรัย คือ ซึ่งพระสงฆ์ด้วยคำว่า จ ศัพท์ คือว่า ซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์.

บทว่า อตฺถวตี แปลว่า มีประโยชน์.

บทว่า พหุนาปิ โข ตํ ความว่า ได้แก่ เทพธิดาชื่อจุลลโกกนทานั้น ได้กล่าวธรรมใด แม้ธรรมนั้น หม่อมฉันก็พึงจำแนกได้โดยปริยายมาก.

บทว่า ตาทิโส ธมฺโม แปลว่า ธรรมเช่นนั้น อธิบายว่า เทพธิดาชื่อจุลลโกกนทา ย่อมแสดงว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ธรรมนี้มีการดำรงอยู่อย่างนั้น มีส่วนเปรียบได้ดี เป็นธรรมควรแก่การจำแนกโดยปริยายทั้งหลายมาก ดังนี้.

บทว่า ลปยิสฺสามิ แก้เป็น กถยิสฺสามิ อธิบายว่า เทพธิดาจุลลโกกนทา กล่าวว่าธรรมอันหม่อมฉันศึกษาด้วยใจมีประมาณเท่าไร คือว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 235

ธรรมมีประมาณมากเพียงใดที่หม่อมฉันเรียนด้วยใจ จักไม่กล่าวถึงประโยชน์ของธรรมนั้นตลอดวัน คือ จักกล่าวโดยย่อ สักว่าครู่หนึ่งเท่านั้น เหมือนบุคคลบีบคั้นรังผึ้ง ฉะนั้น.

คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาทุติยปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๑๐

และจบสตุลลปกายิกวรรคที่ ๔

รวมสูตรที่กล่าวในสตุลลปกายิกวรรค คือ

๑. สัพภิสูตร

๒. มัจฉริสูตร

๓. สาธุสูตร

๔. นสันติสูตร

๕. อุชฌานสัญญิสูตร

๖. สัทธาสูตร

๗. สมยสูตร

๘. สกลิกสูตร

๙. ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร

๑๐. ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร

รวมสูตร ๑๐ สูตร

พร้อมทั้งอรรถกถา