พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. อโนมิยสูตร ว่าด้วยเทวดาสรรเสริญ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36206
อ่าน  464

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 247

๕. อโนมิยสูตร

ว่าด้วยพระนามอันไร้ตำหนิ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 247

๕. อโนมิยสูตร

ว่าด้วยเทวดาสรรเสริญ

[๑๔๒] เทวดากราบทูลว่า

ท่านทั้งหลายเชิญดูพระพุทธเจ้าพระ องค์นั้น ผู้มีพระนามไม่ทราม ผู้ทรงเห็น ประโยชน์อันละเอียด ผู้ให้ซึ่งปัญญา ไม่ทรงข้องอยู่ในอาลัยคือกาม ตรัสรู้ธรรม ทุกอย่าง มีพระปรีชาดี ทรงก้าวไปในทาง อันประเสริฐ ผู้ทรงแสวงคุณอันใหญ่.

อรรถกถาอโนมิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอโนมิยสูตรที่ ๕ ต่อไป :-

บทว่า อโนมนามํ อธิบายว่า มีพระนามอันไม่บกพร่อง มีพระนามบริบูรณ์ เพราะความที่พระองค์ทรงประกอบด้วยคุณทั้งปวง.

บทว่า นิปุณตฺถทสฺสิํ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นประโยชน์ทั้งหลายละเอียดโดยมีความแตกต่างกันแห่งขันธ์เป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทรงเห็นประโยชน์อันละเอียด.

บทว่า ปญญฺาททํ อธิบายว่า ชื่อว่า ผู้ให้ซึ่งปัญญา เพราะสามารถ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 248

บอกปฏิปทาเพื่อให้บรรลุถึงปัญญา.

บทว่า กามาลเย อสตฺตํ ได้แก่ ไม่ทรงข้องในอาลัย คือ กามคุณ ๕.

บทว่า กมมานํ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงแล้วซึ่งความผ่องใสที่มหาโพธิ์นั่นแหละ ด้วยอริยมรรค มิใช่ทรงถึงในบัดนี้. ก็คำนี้ ท่านกล่าวหมายเอาอดีตกาล.

บทว่า มเหสิํ ได้แก่ ผู้ค้นหาผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ คือ สีลขันธ์ เป็นต้น ดังนี้แล.

จบอรรถกถาอโนมิยสูตรที่ ๕