พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. มิตตสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36214
อ่าน  433

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 274

๓. มิตตสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 274

๓. มิตตสูตร

[๑๖๒] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอเป็นมิตรของคนเดินทาง อะไรหนอเป็นมิตรในเรือนของตน อะไรเป็นมิตรของคนมีธุระเกิดขึ้น อะไรเป็นมิตรติดตามไปถึงภพหน้า.

[๑๖๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

พวกเกวียน พวกโคต่างเป็นมิตรของคนเดินทาง มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน สหายเป็นมิตรของคนผู้มีธุระเกิดขึ้นเนืองๆ บุญที่ตนทำเองเป็นมิตรติดตามไปถึงภพหน้า.

อรรถกถามิตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมิตตสูตรที่ ๓ ต่อไป :-

บทว่า สตฺโถ ได้แก่ คนเดินทางร่วมกัน หรือเดินทางด้วยลำแข้งหรือว่าคนเดินทางด้วยเกวียน.

บทว่า มิตฺตํ ได้แก่ เมื่อโรคเกิดขึ้นแล้วบุคคลชื่อว่า เป็นมิตร เพราะนำไปด้วยวอ หรือว่าด้วยยานอื่นให้ถึงที่ด้วยความปลอดภัย.

บทว่า ในเรือนของตน ความว่า เมื่อโรคเห็นปานนั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 275

เกิดขึ้นแล้วในบ้านของตน ชนทั้งหลายมีบุตรและภรรยาเป็นต้น ย่อมรังเกียจ แต่มารดา ย่อมสำคัญแม้ซึ่งของไม่สะอาดของบุตร ราวกะว่าท่อนจันทน์ เพราะฉะนั้น มารดานั้น จึงชื่อว่า เป็นทั้งมิตรทั้งสหายในเรือนของตน.

บทว่า อตฺถชาตสฺส แปลว่า ของบุคคลผู้มีธุระเกิดขึ้น อธิบายว่า บุคคลใด ย่อมนำกิจนั้นไป ทำให้สำเร็จ บุคคลนั้นชื่อว่า สหาย ชื่อว่า มิตร เพราะความเป็นคือให้กิจทั้งหลายสำเร็จร่วมกัน.

แต่ว่า ชนทั้งหลายผู้เป็นสหายในการดื่มน้ำเมา มีสุรา เป็นต้น ไม่ชื่อว่า เป็นมิตร.

บทว่า สมฺปรายิกํ ได้แก่ เป็นประโยชน์เกื้อกูลในภพหน้า.

จบอรรถกถามิตตสูตรที่ ๓