๑๑. อรณสูตร
[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 317
๑๑. อรณสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 317
๑๑. อรณสูตร
[๒๑๙] เทวดาทูลถามว่า
คนพวกไหนหนอไม่เป็นข้าศึกในโลกนี้ พรหมจรรย์ที่อยู่จบแล้วของชนพวกไหน ย่อมไม่เสื่อม คนพวกไหนกำหนดรู้ความอยากได้ในโลกนี้ ความเป็นไทมีแก่คนพวกไหนทุกเมื่อ มารดาบิดาหรือพี่น้องย่อมไหว้บุคคลนั้น ผู้ตั้งมั่นในศีล คือ ใครหนอ พวกกษัตริย์ ย่อมอภิวาทใครหนอในธรรมวินัยนี้ ผู้มีชาติต่ำ.
[๒๒๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
สมณะทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นข้าศึกในโลก พรหมจรรย์ที่อยู่จบแล้วของสมณะทั้งหลายย่อมไม่เสื่อม สมณะทั้งหลายย่อมกำหนดรู้ความอยากได้ ความเป็นไทย่อมมีแก่สมณะทั้งหลายทุกเมื่อ มารดาบิดาหรือพี่น้องย่อมไหว้บุคคลนั้นผู้ตั้งมั่น (ในศีล) คือ สมณะ ถึงพวกกษัตริย์ก็อภิวาทสมณะในธรรมวินัยนี้ ผู้มีชาติต่ำ.
จบอรณสูตรที่ ๑๑
จบฆัตวาวรรคที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 318
อรรถกถาอรณสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอรณสูตรที่ ๑๑ ต่อไป :-
บทว่า ไม่เป็นข้าศึก คือได้แก่ ไม่มีกิเลส.
บทว่า วุสิตํ แปลว่า อยู่จบแล้ว.
บทว่า โภชิสิยํ ได้แก่ ความไม่เป็นทาส.
บทว่า สมณะทั้งหลาย ได้แก่ สมณะผู้มีอาสวะสิ้นแล้วทั้งหลาย. เพราะว่าสมณะผู้ขีณาสพเหล่านั้น ชื่อว่า ไม่มีกิเลสโดยสิ้นเชิง.
บทว่า พรหมจรรย์ที่อยู่จบแล้วของสมณะย่อมไม่เสื่อม อธิบายว่า การอยู่ด้วยอริยมรรค ย่อมไม่เสื่อมไป.
บทว่า ปริชานนฺติ อธิบายว่า พระเสกขะทั้งหลาย จำเดิมแต่เป็นกัลยาณปุถุชน ชื่อว่า ย่อมกำหนดรู้ด้วยปริญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ.
บทว่า โภชิสิยํ อธิบายว่า ชื่อว่า ความเป็นไท ตลอดกาลเป็นนิตย์ ย่อมมีแก่สมณะผู้เป็นพระขีณาสพเท่านั้น.
บทว่า วนฺทติ ความว่า ย่อมไหว้ตั้งแต่วันบวช.
บทว่า ปติฏฺิตํ ได้แก่ ตั้งมั่นในศีล.
บทว่า สมณีธ แปลว่า ซึ่งสมณะในโลกนี้.
บทว่า ชาติหีนํ ได้แก่ บวชมาจากตระกูลจัณฑาลก็มี.
บทว่า พวกกษัตริย์ อธิบายว่า พวกกษัตริย์เท่านั้นก็หาไม่ แม้พวกเทพก็ย่อมอภิวาทสมณะผู้สมบูรณ์แล้วด้วยศีลเหมือนกัน ดังนี้แล.
จบอรรถกถาอรณสูตรที่ ๑๑
และจบฆัตวาวรรคที่ ๘
พรรณนาเทวตาสังยุตแห่งอรรถกถาสารัตถปกาสินี
สังยุตตนิกาย จบเพียงเท่านี้
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 319
รวมสูตรที่กล่าวในฆัตวาวรรค คือ
๑. ฆัตวาสูตร
๒. รถสูตร
๓. วิตตสูตร
๔. วุฏฐิสูตร
๕. ภีตสูตร
๖. นชีรติสูตร
๗. อิสสรสูตร
๘. กามสูตร
๙. ปาเถยยสูตร
๑๐. ปัชโชตสูตร
๑๑. อรณสูตร
พร้อมทั้งอรรถกถา
จบเทวตาสังยุต