พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ทุติยกัสสปสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 ส.ค. 2564
หมายเลข  36245
อ่าน  417

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 323

๒. ทุติยกัสสปสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 323

๒. ทุติยกัสสปสูตร

[๒๒๓]... อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี... กัสสปเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ภิกษุพึงเป็นผู้เพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้นแล้ว พึงหวังธรรมอันไม่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งหฤทัย อนึ่ง ภิกษุผู้มุ่งต่อพระอรหัตนั้น พึงรู้ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งโลก พึงมีใจดี อันตัณหาและทิฏฐิไม่อิงอาศัยแล้ว.

อรรถกถาทุติยกัสสปสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกัสสปสูตรที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า ฌายี ได้แก่ เป็นผู้เพ่งพินิจ ด้วยฌานทั้ง ๒ [คือ อารัมมณูปนิชฌาน และ ลักขณูปนิชฌาน].

บทว่า วิมุตฺตจิตฺโต ได้แก่ มีจิตหลุดพ้นแล้วด้วยกัมมัฏฐาน.

บทว่า หทยสฺสานุปฺปตฺติํ ได้แก่ พระอรหัต.

บทว่า โลกสฺส ได้แก่ สังขารโลก.

บทว่า อนิสฺสิโต ได้แก่ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อิงอาศัยแล้ว อีกอย่างหนึ่ง ไม่อิงอาศัยตัณหาและทิฏฐิ.

บทว่า ตทานิสํโส ได้แก่ ผู้มุ่งต่อพระอรหัต.

ท่านอธิบายว่า ภิกษุผู้มุ่งต่อพระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 324

อรหัต เมื่อปรารถนาพระอรหัต พึงเป็นผู้เพ่งพินิจ พึงมีจิตหลุดพ้น พึงทราบความเกิด และความดับไปแห่งโลกแล้ว ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัยแล้ว.

ก็ตันติธรรม ธรรมที่เป็นแบบแผน เป็นบุพภาคส่วนเบื้องต้นแห่งธรรมทั้งปวงในพระศาสนาแล.

จบอรรถกถากัสสปสูตรที่ ๒