๒. เขมสูตร
[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 367
๒. เขมสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 367
๒. เขมสูตร
[๒๘๑] เขมเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
คนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประพฤติกับตัวเองดังศัตรู ย่อมทำกรรมชั่วที่มีผลเผ็ดร้อน บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนภายหลัง มีหน้านองด้วยน้ำตาร้องไห้อยู่ เสวยผลแห่งกรรมใด กรรมนั้นทำแล้วไม่ดีเลย บุคคลทำกรรมใดแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง มีหัวใจแช่มชื่นเบิกบานเสวยผลแห่งกรรมใด กรรมนั้นทำแล้วเป็นการดี บุคคลรู้กรรมใดว่าเป็นประโยชน์แก่ตน ควรลงมือกระทำกรรมนั้นก่อนทีเดียว อย่าพยายามเป็นนักปราชญ์เจ้าความรู้ ด้วยความคิดอย่างพ่อค้าเกวียน พ่อค้าเกวียนละหนทางสายใหญ่ที่เรียบเสีย
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 368
ไปทางไม่เรียบ เพลาเกวียนก็หักสะบั้น ต้องซบเซา ฉันใด บุคคลออกนอกธรรม หันไปประพฤติตามอธรรม ก็ฉันนั้น เป็นคนเขลาเบาปัญญา ดำเนินไปทางมฤตยู ต้องซบเซาอยู่ เหมือนพ่อค้าเกวียนมีเพลาเกวียนหัก ฉะนั้น.
อรรถกถาเขมสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในเขมสูตรที่ ๒ ต่อไป :-
บทว่า ปฏิกจฺเจว แปลว่า ก่อนทีเดียว.
บทว่า อกฺขจฺฉินฺโนว ฌายติ ความว่า พ่อค้าเกวียน มีเพลาเกวียนหักเสียแล้ว ย่อมซบเซา คือ ต้องใช้ความคิดมาก.
ในคาถาที่ ๒. บทว่า อกฺขจฺฉินฺโนว แปลว่า เหมือนพ่อค้าเกวียนมีเพลาเกวียนหักเสียแล้ว.
จบอรรถกถาเขมสูตรที่ ๒