พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. อัปปกสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 ส.ค. 2564
หมายเลข  36279
อ่าน  512

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 431

๖. อัปปกสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 431

๖. อัปปกสูตร

[๓๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามแห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ หม่อมฉันได้เข้าห้องส่วนตัวพักผ่อนอยู่ได้เกิดความคิดอย่างนี้ว่า สัตว์เหล่าใดได้โภคทรัพย์ยิ่งๆ แล้ว ย่อมไม่มัวเมา ไม่ประมาท ไม่ติดอยู่ในกามคุณ และไม่ประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนน้อยในโลก ส่วนว่าสัตว์เหล่าใดได้โภคทรัพย์ยิ่งๆ แล้วย่อมมัวเมา ประมาท ติดอยู่ในกามคุณ และประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นแลมีจำนวนมากมายในโลก.

[๓๔๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ถูกแล้วๆ มหาบพิตร สัตว์เหล่าใดได้โภคทรัพย์ยิ่งๆ แล้ว ย่อมไม่มัวเมา ไม่ประมาท ไม่ติดอยู่ในกามคุณ และไม่ประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนน้อยในโลก ส่วนว่าสัตว์เหล่าใดได้โภคทรัพย์ยิ่งๆ แล้ว ย่อมมัวเมา ประมาท ติดอยู่ในกามคุณ และประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนมากมายในโลก.

[๓๔๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์คำร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 432

สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้กำหนัดกล้าในโภคทรัพย์ที่น่าใคร่ มักมากหมกมุ่นในกามคุณ ย่อมไม่รู้สึกตัวว่าละเมิด (ประพฤติผิดในสัตว์พวกอื่น) เหมือนพวกเนื้อไม่รู้สึกตัวว่ามีแร้วโก่งดักไว้ ฉะนั้น ผลเผ็ดร้อนย่อมมีแก่สัตว์พวกนั้นในภายหลัง เพราะว่ากรรมนั้นมีวิบากเลวทราม.

อรรถกถาอัปปกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัปปกสูตรที่ ๖ ต่อไป :-

บทว่า อุฬาเร อุฬาเร ได้แก่ อันประณีตและมาก.

บทว่า มชฺชนฺติ ได้แก่ เมาด้วยความเมาด้วยมานะ.

บทว่า อติสารํ ได้แก่ ล่วงเข้าไป.

บทว่า กูฏํ ได้แก่ บ่วง.

บทว่า ปจฺฉาสํ แยกออกว่า ปจฺฉา เตสํ.

จบอรรถกถาอัปปกสูตรที่ ๖