๑. ปุคคลสูตร ว่าด้วยบุคคล ๔ ประเภท
[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 502
ตติยวรรคที่ ๓
๑. ปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๔ ประเภท
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 502
ตติยวรรคที่ ๓
๑. ปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๔ ประเภท
[๓๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท้าวเธอว่า ดูก่อนมหาบพิตร บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกเป็นไฉน บุคคล ๔ จำพวก คือ บุคคลผู้มืดมามืดไปจำพวก ๑ บุคคลผู้มืดมากลับสว่างไปจำพวก ๑ บุคคลผู้สว่างมาแล้วกลับมืดไปจำพวก ๑ บุคคลผู้สว่างมาแล้วสว่างไปจำพวก ๑.
[๓๙๔] ดูก่อนมหาบพิตร ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่ามืดมามืดไป ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาภายหลังในตระกูลอันต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลช่างจักสาน ตระกูลพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทหยากเยื่อ ซึ่งขัดสน มีข้าวน้ำโภชนาหารน้อย เป็นอยู่ฝืดเคือง เป็นตระกูลที่หาอาหารและผ้านุ่งห่มได้โดยยาก และเขาเป็นคนที่มีผิวพรรณทรามไม่น่าดูไม่น่าชม เป็นคนเล็กแคระ มีอาพาธมาก เป็นคนเสียจักษุ เป็นง่อย เป็นคนกระจอกหรือเป็นเปลี้ย (๑) มักหาข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ยวดยาน ดอกไม้
(๑) คนกระจอก คือ เดินขาเขยกฯ คนเปลี้ย คือ เป็นอัมพาต ตายแถบหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 503
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องประทีปไม่ใคร่ได้ เขาซ้ำประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นเขาประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว ครั้นตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษพึงไปจากความมืดมิดสู่ความมืดมิด หรือพึงไปจากความมืดมัวสู่ความมืดมัว หรือพึงไปจากโลหิตอันมีมลทินสู่โลหิตอันมีมลทิน ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตร ตถาคตกล่าวว่า บุคคลนี้ มีอุปไมยฉันนั้น ดูก่อนมหาบพิตร อย่างนี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มืดมามืดไป.
[๓๙๕] ดูก่อนมหาบพิตร ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มืดมาแล้วกลับสว่างไป ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเกิดมาภายหลังในตระกูลอันต่ำทราม คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลช่างจักสาน ตระกูลพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทหยากเยื่อ ขัดสน มีข้าวน้ำโภชนาหารน้อย มีความเป็นอยู่ฝืดเคือง เป็นตระกูลที่หาอาหารและผ้านุ่งห่มได้โดยยาก และเขาเป็นคนมีผิวพรรณทราม ไม่น่าดูไม่น่าชม เป็นคนเล็กแคระ มีอาพาธมาก เป็นคนเสียจักษุ เป็นคนง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นคนเปลี้ย มักหาข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องประทีปไม่ใคร่ได้ แม้กระนั้น เขาก็ประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นเขาประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษพึงขึ้นจากแผ่นดินสู่บัลลังก์ หรือพึงขึ้นจากบัลลังก์สู่หลังม้า หรือพึงขึ้นจากหลังม้าสู่คอช้าง หรือพึงขึ้นจากคอช้างสู่ปราสาท แม้ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตร ตถาคตย่อมกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น ดูก่อนมหาบพิตร อย่างนี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มืดมาแล้วกลับสว่างไป.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 504
[๓๙๖] ดูก่อนมหาบพิตร ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้สว่างมาแล้วกลับมืดไป ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดมาภายหลังในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณมหาศาล หรือตระกูลคฤหบดีมหาศาล มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีทองและเงินมากมาย มีของใช้น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย และเขาเป็นคนมีรูปงาม น่าดูน่าชม ประกอบด้วยความงามแห่งผิวเป็นเยี่ยม มักหาข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องประทีปได้สะดวก แต่เขากลับประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นเขาประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษลงจากปราสาทสู่คอช้าง หรือลงจากคอช้างสู่หลังม้า หรือลงจากหลังม้าสู่บัลลังก์ หรือลงจากบัลลังก์สู่พื้นดิน หรือจากพื้นดินเข้าไปสู่ที่มืด แม้ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตร ตถาคตกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น ดูก่อนมหาบพิตร อย่างนี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นผู้สว่างมาแล้วกลับมืดไป.
[๓๙๗] ดูก่อนมหาบพิตร ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้สว่างมาแล้วสว่างไป ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเกิดมาภายหลังในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณมหาศาล หรือตระกูลคฤหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีทองและเงินมากมาย มีของใช้น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย และเขาเป็นคนมีรูปสวย น่าดูน่าชม ประกอบด้วยความงามแห่งผิวเป็นเยี่ยม มักหาข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัยและเครื่องประทีปได้สะดวก เขาย่อมประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นเขาประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 505
ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษพึงก้าวไปด้วยดีจากบัลลังก์สู่บัลลังก์ หรือพึงก้าวไปด้วยดีจากหลังม้าสู่หลังม้า หรือพึงก้าวไปด้วยดีจากคอช้างสู่คอช้าง หรือพึงก้าวไปด้วยดีจากปราสาทสู่ปราสาท แม้ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตร ตถาคตย่อมกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น ดูก่อนมหาบพิตร อย่างนี้แลบุคคลชื่อว่าเป็นผู้สว่างมาแล้วสว่างไป. ดูก่อนมหาบพิตร บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ดังนี้.
[๓๙๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์คำร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า
ดูก่อนมหาบพิตร บุรุษเข็ญใจไม่มีศรัทธา เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น มีความดำริชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ ย่อมด่าย่อมบริภาษสมณะหรือพราหมณ์หรือวณิพกอื่นๆ เขาเป็นคนไม่มีประโยชน์ เป็นคนมักขึ้งเคียด ย่อมห้ามคนที่กำลังจะให้โภชนาหารแก่คนที่ขอ ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นใหญ่แห่งประชาราษฎร์ คนเช่นนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงนรกอันโหดร้าย นี่ชื่อว่าผู้มืดแล้วมืดไป.
ดูก่อนมหาบพิตร บุรุษ (บางคน) เป็นคนเข็ญใจ (แต่) เป็นคนมีศรัทธา ไม่มีความตระหนี่ เขามีความดำริประเสริฐ มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมให้ทาน ย่อมลุกรับ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 506
สมณะหรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่นๆ ย่อมสำเหนียกในจรรยาอันเรียบร้อย ไม่ห้ามคนที่กำลังจะให้โภชนาหารแก่คนที่ขอ ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นใหญ่แห่งประชาราษฎร์ คนเช่นนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงไตรทิพสถาน นี่ชื่อว่าผู้มืดแล้วกลับสว่างไป.
ดูก่อนมหาบพิตร บุรุษ (บางคน) ถึงหากจะมั่งมี (แต่) ไม่มีศรัทธา เป็นคนมีความตระหนี่เหนียวแน่น มีความดำริชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ ย่อมด่าย่อมบริภาษสมณะหรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่นๆ เขาเป็นคนไม่มีประโยชน์ เป็นคนมักขึ้งเคียด ย่อมห้ามคนที่กำลังจะให้โภชนาหารแก่คนที่ขอ ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นใหญ่แห่งประชาราษฎร์ คนเช่นนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงนรกอันโหดร้าย นี้ชื่อว่า ผู้สว่างมาแล้วกลับมืดไป.
ดูก่อนมหาบพิตร บุรุษ (บางคน) ถึงหากจะมั่งมี ก็เป็นคนมีศรัทธา ไม่มีความตระหนี่ เขามีความดำริประเสริฐ มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมให้ทาน ย่อมลุกรับ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 507
สมณะหรือพราหมณ์ หรือแม้วณิพกอื่นๆ ย่อมสำเหนียกในจรรยาอันเรียบร้อย ไม่ห้ามคนที่กำลังจะให้โภชนาหารแก่ผู้ที่ขอ ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นใหญ่แห่งประชาราษฎร์ คนเช่นนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงไตรทิพสถาน นี่ชื่อว่าผู้สว่างมาแล้วสว่างไป ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 508
อรรถกถาปุคคลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปุคคลสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๓ ต่อไป :-
บุคคลชื่อว่า ตมะ มืดมา เพราะประกอบด้วยความมืดมีชาติ เป็นต้น ในภายหลัง ในตระกูลที่ต่ำ ที่ชื่อว่า ตมปรายนะ มืดไป เพราะเข้าถึงความมืด คือนรกซ้ำอีก ด้วยกายทุจริต เป็นต้น. ดังนั้น จึงเป็นอันท่านกล่าวถึงความมืด คือ ขันธ์.
แม้ด้วยบททั้งสอง ที่ชื่อว่า โชติ สว่างมาก็เพราะประกอบด้วยความสว่าง มีชาติ เป็นต้น ในภายหลังในตระกูลมั่งมี. ท่านอธิบายว่าเป็นผู้สว่าง.
ที่ชื่อว่า โชติปรายนะ สว่างไป เพราะเข้าถึงความสว่าง คือการเข้าถึงสวรรค์อีกต่อ ด้วยกายสุจริต เป็นต้น. พึงทราบบุคคลทั้งสอง แม้นอกนี้โดยนัยนี้.
บทว่า เวณกุเล ได้แก่ ตระกูลช่างสาน.
บทว่า เนสาทกุเล ได้แก่ ตระกูลของพวกพรานล่าเนื้อ เป็นต้น.
บทว่า รถการกุเล ได้แก่ ตระกูลช่างหนัง.
บทว่า ปุกฺกุสกุเล ได้แก่ ตระกูลคนทิ้งดอกไม้ เป็นต้น.
บทว่า กสิรวุตฺติเก ได้แก่ ดำรงชีพลำเข็ญ.
บทว่า ทุพฺพณฺโณ ได้แก่ มีผิวดังตอไฟไหม้ เหมือนปีศาจคลุกฝุ่น.
บทว่า ทุทฺทสฺสิโก ได้แก่ ผู้พบเห็นไม่ชอบใจ แม้แต่แม่บังเกิดเกล้า.
บทว่า โอโกฏิมาโก ได้แก่ เป็นคนเตี้ย.
บทว่า กาโณ ได้แก่ เป็นคนตาบอดข้างเดียวหรือตาบอดสองข้าง.
บทว่า กุณี ได้แก่ มือง่อยข้างเดียวหรือมือง่อยสองข้าง.
บทว่า ขญฺโช ได้แก่ มีเท้าง่อยข้างเดียวหรือเท้าง่อยสองข้าง.
บทว่า ปกฺขหโต ได้แก่ คนมีสีข้าง ถูกลมขจัดเสียแล้ว คือคน
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 509
เปลี้ย [อำมะพาต].
บทว่า ปทีเปยฺยสฺส ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์แห่งประทีป มีน้ำและภาชนะน้ำมัน เป็นต้น.
ในคำว่า เอวํ โข มหาราช นี้ท่านกล่าวว่าบุคคลคนหนึ่ง ไม่ทันเห็นแสงสว่างภายนอกก็มาตายเสียในท้องแม่นั่นเอง บังเกิดในอบาย ท่องเที่ยวอยู่ตลอดกัปแม้ทั้งสิ้น บุคคลแม้นั้น ชื่อว่ามืดมามืดไปแท้.
ก็บุคคลผู้มืดมามืดไปนั้น พึงเป็นบุคคลหลอกลวง ด้วยว่าบุคคลหลอกลวง ย่อมได้รับผลิตผลเห็นปานนี้.
ก็ในคำนี้ ท่านแสดงถึงความวิบัติแห่งการมา และความวิบัติแห่งปัจจัยที่เกิดขึ้นในอดีต ด้วยคำว่า นีจกุเล ปจฺฉา ชาโต โหติ จณฺฑาลกุเลวา เป็นต้น.
แสดงถึงความวิบัติแห่งปัจจัยในปัจจุบัน ด้วยคำว่า ทลิทฺเท เป็นต้น.
แสดงถึงความวิบัติแห่งอัตภาพ ด้วยคำว่า กสิรวุตฺติเก เป็นต้น.
แสดงถึงการประจวบเหตุแห่งทุกข์ ด้วยคำว่า พหฺวาพาโธ เป็นต้น.
แสดงถึงความวิบัติเหตุแห่งสุข และความวิบัติแห่งเครื่องอุปโภค ด้วยคำว่า น ลาภี เป็นต้น.
แสดงถึงการประจวบเหตุแห่งความเป็นผู้มืดไป ด้วยคำว่า กาเยน ทุจฺจริตํ เป็นต้น.
แสดงถึงความเข้าถึงความมืดที่เป็นไปภายภาคหน้า ด้วยคำว่า กายสฺส เภทา เป็นต้น.
พึงทราบฝ่ายขาวโดยนัยตรงข้ามกับฝ่ายดำที่กล่าวมาแล้ว.
บทว่า อกฺโกสติ ได้แก่ ด่าด้วยเรื่องที่ใช้ด่า ๑๐ เรื่อง.
บทว่า ปริภาสติ ได้แก่ บริภาษด่ากระทบกระเทียบ ด้วยคำตะคอกว่า เหตุไรพวกเจ้าจึงหยุดงานกสิกรรม เป็นต้นของข้า พวกเจ้าทำกันแล้วหรือดังนี้ เป็นต้น.
บทว่า อพฺยคฺคมนโส ได้แก่ มีจิตมีอารมณ์อันเดียว.
จบอรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๑