พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. โลกสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 ส.ค. 2564
หมายเลข  36296
อ่าน  440

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 513

๓. โลกสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 513

๓. โลกสูตร

[๔๐๒] สาวัตถีนิทาน.

พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ธรรมเท่าไรหนอแลเมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.

[๔๐๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓ อย่างเมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ ธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน.

๑. ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมคือโลภะความโลภ เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.

๒. ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมคือโทสะความโกรธ เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.

๓. ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมคือโมหะความหลง เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.

ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓ อย่างนี้แล เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.

[๔๐๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์คำร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

โลภะ โทสะ และโมหะ อันบังเกิดแก่ตนย่อมทำลายบุรุษ ผู้มีใจบาป ดุจขุยไผ่ทำลายต้นไฝ่ ฉะนั้น.

อรรถกถาโลกสูตร

ในโลกสูตรที่ ๓ คำทั้งหมดมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.